210 likes | 330 Views
บทบาทเทคโนโลยีสารสนเทศ. สังคม ในยุค โลกาภิวัฒน์ เป็นสังคมที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วจนทำให้สังคม เกษตรกรรมกลายเป็นสังคมของเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม มนุษย์จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องปฏิบัติงานร่วมกับเทคโนโลยี
E N D
บทบาทเทคโนโลยีสารสนเทศบทบาทเทคโนโลยีสารสนเทศ
สังคมในยุคโลกาภิวัฒน์เป็นสังคมที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วจนทำให้สังคม เกษตรกรรมกลายเป็นสังคมของเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม มนุษย์จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องปฏิบัติงานร่วมกับเทคโนโลยี โดย เฉพาะ เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของทุกคน ซึ่งมีผลกระทบทางด้านบวกและด้านลบ ดังนั้นผู้ใช้จึงควรศึกษาผลกระทบที่เกิดจากการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อ ให้สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดหรือหลีกเลี่ยงปัญหาที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไม่เหมาะสม ให้มากที่สุด
ผลกระทบทางด้านบวก 1.ส่งเสริมความสะดวกสบาย เทคโนโลยี สารสนเทศสร้างขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการทำงานทางด้านข้อมูลหรือ สารสนเทศ ทำให้ผู้ใช้เกิดความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอุปกรณืเทคโนโลยีสมัยใหม่จะมุ่งเน้นออกแบบ และพัฒนาให้มีขนาด เล็ก น้ำหนักเบา ทำให้สามารถพกพาได้สะดวก และส่งเสริมการทำงานในรูปแบบเครือข่ายไร้สาย เช่น การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านทางเน็ตบุ๊ก(Netbook) 2.ส่งเสริมคุณภาพชีวิต เทคโนโลยี สารสนเทศ สร้างความเท่าเทียมและลดช่องว่างระหว่างชนชั้น ผู้ใช้สามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้จากทั่วโลก ตลอดเวลา ทุกคนมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นผ่านทางช่องทางต่างๆ ของเทคโนโลยีสารสนเทศได้ เช่น การแสดงความคิดเห็นผ่านทางเว็บบอร์ด
3.ส่งเสริมการค้นคว้า วิจัย และทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ เทคโนโลยี สารสนเทศมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีการค้นคว้าวิจัยเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างแพร่หลาย อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศหลายชนิดมีการแบ่งเวอร์ชั่น(Version)เป็นหลายรุ่น เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่เวอร์ชั่นN-Series มีคุณสมบัติเด่นด้านมัลติมีเดีย ส่วนเวอร์ชั่นC-Series มีคุณสมบัติเด่นด้านการสนทนาออนไลน์ 4.ส่งเสริมการเรียนรู้ ช่วย ส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งการศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบ เช่น การศึกษาข้อมูลวิชาคณิตศาสตร์ผ่านทางเว็บไซต์ของโรงเรียน การศึกษาวิธีการทำอาหารญี่ปุ่นจากบล็อกของผู้เชี่ยวชาญด้านการทำอาหาร การศึกษาวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีผ่านทางเว็บไซต์
ผลกระทบทางด้านลบ 1.เพิ่มช่องทางในการก่ออาชญากรรม เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถใช้งานได้ทุกสถานที่ทุกเวลา จึงทำให้มีผู้นำเทคโนโลยีไปใช้เป็นช่องทางในการหลอกลวง ปลอมแแปลง และขโมยข้อมูลของผู้อื่นผ่านทางเครือช่ายในรูปแบบต่างๆโดยที่ผู้ใช้ คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการก่ออาชญากรรมนี้จะเรียกว่า อาชญากรคอมพิวเตอร์ ซึ่งการกระทำความผิดนั้นจะเรียกว่า อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Crime หรือ Cyber Crime) 2.ลดปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ เทคโนโลยีสารสนเทศส่วนใหญ่เป็นระบบและอุปกรณ์ที่ส่งเสริมการใช้งานที่ มุ่งเน้นความสะดวกสบาย แม้จะมีการส่งเสริมการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นแต่ผู้ใช้ก็ยังคงไม่ได้พบหรือ สัมผัสกับผู้ใช้อื่นๆโดยตรง ถ้าไม่สามารถแบ่งเวลาในการใช้งานได้เหมาะสมยังทำให้ผู้ใช้ขาดการทำกิจกรรม ร่วมกับผู้อื่น ไม่มีมนุษยสัมพันธ์ และไม่มีความมั่นใจในการทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
3.เพิ่มความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ3.เพิ่มความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ การทำธุรกิจออนไลน์หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นการนำข้อมูลทางด้านการ เงินมาเผยแพร่ผ่านทางระบบเครือข่าย ซึ่งอาชญากรอิเล็กทรอนิกส์สามารถใช้เป็นช่องทางในการขโมยข้อมูลดังกล่าวได้ นอกจากนี้เทคโนโลยีสารสนเทศยังคงส่งเสริมการดำเนินธุรกิจสำหรับบุคคลทั่วไป ทำให้ผู้ประกอบการมีภาวะความเสี่ยงจากการมีคู่แข่งขันทางการค้าสูงขึ้น 4.มีการเผยแพร่วัฒนธรรมและข้อมูลที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากภาวะปัจจุบันไม่สามารถควบคุม เพศ วัย หรือจำกัดการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผู้ใช้ที่มีวุฒิภาวะเหมาะสมได้ ผู้ใช้ที่ขาดวุฒิภาวะจึงไม่สามารถแยกแยะความน่าเชื่อถือของข้อมูล วัฒนธรรมที่ผิด และข้อมูลที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดปัญหาทางสังคม เช่น การเลียนแบบวัฒนธรรมต่างชาติ
บุคลากรทางด้านคอมพิวเตอร์บุคลากรทางด้านคอมพิวเตอร์
บุคลากรทางด้านคอมพิวเตอร์บุคลากรทางด้านคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปภายในหน่วยงานหรือองค์การที่มีระบบคอมพิวเตอร์จะแบ่งบุคลากร เป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายวิเคราะห์และออกแบบระบบ ฝ่ายโปรแกรม และฝ่ายปฏิบัติงานเครื่องและบริการ ฝ่ายวิเคราะห์และออกแบบระบบ เป็นผู้ที่ทำหน้าที่วางระบบงานคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับหน่วยงาน ซึ่งพิจารณาจากความต้องการของผู้ใช้คอมพิวเตอร์(User) บุคลากรในฝ่ายวิเคราะห์และออกแบบระบบมีดังนี้
1.นักวิเคราะห์ระบบ(System Analyst) เป็นผู้ที่ทำหน้าที่วิเคราะห์ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ โดยศึกษาปัญหาที่เคยเกิดขึ้นในระบบ ตลอดจนหาแนวทางแก้ไขและปรับปรุงระบบงานเดิมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สาขาวิชาที่สนับสนุนการประกอบอาชีพนักวิเคราะห์ระบบ ได้แก่ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ นักวิเคราะห์ระบบแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1.1 นักวิเคราะห์ระบบที่เป็นบุคลากรภายในองค์การ(Staff employee within the organization) 1.2นักวิเคราะห์ที่เป็นที่ปรึกษาภายนอก(Outside or external consultant)
2.ผู้จัดการโครงการ(Project Manager) เป็นผู้ที่ทำหน้าที่บริหารโครงการให้ดำเนินไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ ในขณะที่โครงการดำเนินการอยู่นั้น ผู้จัดการโครงการจะต้องคอยควบคุมให้ระบบงานดำเนินไปอย่างปกติไม่ให้เกิดข้อ ผิดพลาดใดๆ 3.ผู้บริหารฐานข้อมูล(DBA: Database Administrators) เป็นผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลและจัดการเกี่ยวกับฐานข้อมูลที่เก็บรวบรวมข้อมูล ไว้ที่ศูนย์กลางให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสะดวกต่อการเรียกใช้ข้อมูล
4.ผู้จัดการฝ่ายสารสนเทศ(IT/IS Manager) เป็นผู้ที่มีความรู้และความเข้าใจในระบบบริหารขององค์กรเป็นอย่างดี เพื่อให้สามารถจัดวางบุคลากรให้เหมาะสมกับตำแหน่งงาน 5.ผู้จัดการระบบเครือข่าย(System or Network Manager) ผู้บริหารระบบ(System Administrators) หรือผู้บริหารเครือข่าย(Network Administrators) เป็นผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลและบำรุงรักษาระบบเครือข่ายให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยแก้ปัญหาในกรณีที่ระบบเกิดขัดข้อง
ฝ่ายโปรแกรม ฝ่ายโปรแกรม(Programing) เป็นผู้ที่ทำหน้าที่รับระบบงานจากฝ่ายวิเคราะห์และออกแบบระบบจัดทำไว้มา เขียนโปรแกรม เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ออกแบบไว้ บุคลากรที่อยู่ในฝ่ายนี้ ได้แก่ โปรแกรมเมอร์(Programmer) เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษาจาวา(JAVA) ภาษาซี(C) ภาษาวิชวลเบสิก(VISUAL BASIC) ภาษาเอสคิลแอล(SQL) และภาษาคอมพิวเตอร์อื่นๆที่สามารถสร้างโปรแกรมและมอดูลการทำงานเพื่อสั่งให้ คอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.โปรแกรมเมอร์ด้านโปรแกรมระบบ(System Programmer) ทำหน้าที่ดูแล ปรับปรุง และแก้ไขเกี่ยวกับโปรแกรมระบบ รวมไปถึงการจัดการ การดูแล และการตรวจสอบให้โปรแกรมระบบและโปรแกรมประยุกต์สามารถใช้งานร่วมกันได้ 2.โปรแกรมเมอร์ด้านโปรแกรมประยุกต์(Application Programmer) ทำหน้าที่เขียนโปรแกรมเฉพาะงาน โดยมุ่งเน้นให้โปรแกรมนั้นเหมาะสมและตรงกับความต้องการของหน่วยงานมากที่สุด 3.โปรแกรมเมอร์ด้านการดูแลโปรแกรม(Maintenance Programmer) ทำหน้าที่ดูแลและเก็บรักษาเอกสารเกี่ยวกับโปรแกรม และโปรแกรมที่ผ่านการทดสอบหรือโปรแกรมที่ใช้งานได้แล้ว
ฝ่ายปฏิบัติงานด้านเครื่องและบริการฝ่ายปฏิบัติงานด้านเครื่องและบริการ ฝ่ายปฏิบัติงานด้านเครื่องและบริการ(Operation and Service) ทำหน้าที่ติดตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ ฝ่ายปฏิบัติงานเครื่องและบริการจะต้องให้บริการด้านการใช้คอมพิวเตอร์ ควบคุมการทำงานและดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ให้ทำงานตามระบบที่ฝ่ายโปรแกรมผลิต ขึ้นมา 1.เว็บมาสเตอร์(Web Master) เป็นผู้ที่ทำหน้าที่สร้างเว็บไซต์สำหรับเผยแพร่ข้อมูลของหน่วยงานหรือ งอค์กรทางอินเทอร์เน็ต มีความรู้ความสามารถทางเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต สามารถใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ที่เขียนหรือสร้างงานเกี่ยวกับโฮมเพจ เช่น ภาษาจาวา(JAVA) ภาษาเอเอสพี(ASP) และภาษาเอชทีเอ็มแอล(HTML)
2.ผู้ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์(Computer Trainer) หรือเทรนเนอร์(Trainer) เป็นผู้ที่ทำหน้าที่เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้ที่เข้ารับ การอบรม ผู้ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ที่ดีจะต้องมีความรู้ใหม่ๆเกี่ยวกับเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์และแสวงหาความรู้ให้ทันเหตุการณ์อยู่ตลอดเวลา 3.ช่างเทคนิคซ่อมบำรุงฮาร์ดแวร์(Hardware Maintenance Technician) เป็นผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลรักษาและซ่อมแซมคอมพิวเตอร์ เนื่องจากปัจจุบันคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่จำเป็นของหน่วยงานทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน จึงมีปัญหาในเรื่องความเสื่อมสภาพของอุปกรณ์ ส่งผลให้เกิดความผิดพลาดไปยังระบบการทำงานได้
อาชีพด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์อาชีพด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
อาชีพด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์อาชีพด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เป็นเทคโนโลยีสำคัญที่มีบทบาทอย่างมากในปัจจุบัน ดังจะเห็นได้ว่าคนทุกเพศทุกวัยมีโอกาสได้สัมผัสกับคอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยี สารสนเทศทั้งสิ้น โดยเด็กๆจะคุ้นเคยกับเกมส์คอมพิวเตอร์ ผู้ใหญ่ในวัยทำงานจะคุ้นเคยกับโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในสำนักงาน เครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เกือบทุกชนิดก็มีระบบคอมพิวเตอร์ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยจึงทำให้หน่วยงานต่างๆเร่งศึกษาและพัฒนาบุคลากรให้มี ความรู้ความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ เพื่อรองรับภาวะการตลาดที่ต้องการบุคลากรทางคอมพิวเตอร์เข้าทำงานในหน่วยงาน องค์กร หรือบริษัท และมีการผลักดันให้บุคลากรได้พัฒนาความรู้ด้านคอมพิวเตอร์มากยิ่งขึ้น ทำให้บุคลากรสามารถปฏิบัติงานร่วมกับเทคโนโลยีที่มีความทันสมัยได้ต่อไป อย่างมีประสิทธิภาพ
สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์(Computer Engineering) ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบผังงาน ทั้งทางด้านเครือข่ายและสถาปัตยกรรมภายในระบบคอมพิวเตอร์ ระบบการผลิตอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์หรือชิ้นส่วนของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น การ์ดหรือแผงวงจรเพื่อควบคุมระบบคอมพิวเตอร์ โดยผู้ที่จบสาขาวิชานี้มักจะทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ บริษัทหรือหน่วยงานเอกชน และหน่วยงานรัฐบาลในตำแหน่งวิศวกรระบบ(System Engineer) และผู้จัดการระบบเครือข่าย (System or Network Manager)
สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science) ศึกษาเกี่ยวกับเทคนิคการทำงานของคอมพิวเตอร์ การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ประเภทต่างๆ การซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์ ผู้สนใจศึกษาสาขาวิชานี้ควรเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ผลิตอุปกรณ์ใหม่ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในวงการวิทยาศาสตร์ ซึ่งผู้ที่จบสาขาวิชานี้เป็นที่ต้องการของทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อพัฒนางานด้านวิทยาการให้ก้าวหน้าด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ โดยปฏิบัติงานในตำแหน่งนักออกแบบและวิเคราะห์ระบบ(System Analysis and Design) และโปรแกรมเมอร์ (Programmer)
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ (Business Computer) สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจจะเน้นความรู้ด้านโปรแกรมประยุกต์ (Application Software) ผู้ที่ศึกษาจบในสาขาวิชานี้มักจะทำงานอยู่ในบริษัทเอกชนที่ทำธุรกิจเกี่ยว กับการรับจ้างออกแบบและเขียนโปรแกรมในตำแหน่งต่างๆ เช่นโปรแกรมเมอร์ ช่างซ่อมบำรุง ผู้จัดการด้านสารสนเทศ ผู้ออกแบบและพัฒนาระบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถและประสบการณ์ในการทำงาน
ผู้จัดทำ • นาย ปฐมพงศ์ บุญเรืองรอด เลขที่ 6 ชั้นม.6/5 • นาย ฉัตรมณฑล เชียงกา เลขที่ 7 ชั้นม.6/5 • นาย ณภัทรฮวยแหยม เลขที่ 8 ชั้นม.6/5 • นาย ศุภณัฐ สนธิไชย เลขที่ 11 ชั้นม.6/5 • นางสาว ศศิพร มีเท เลขที่ 29 ชั้นม.6/5 • นางสาว ศิรดา ทองเอี่ยม เลขที่ 31 ชั้นม.6/5 • นางสาว อัญมณี จันทร์แก้ว เลขที่ 33 ชั้นม.6/5