1 / 23

การถ่ายโอนบุคลากรให้แก่ อปท.

การถ่ายโอนบุคลากรให้แก่ อปท. สำนักพัฒนาระบบบริหารบุคคลส่วนท้องถิ่น. หลักการและแนวคิด. หลักการ

hayley-ryan
Download Presentation

การถ่ายโอนบุคลากรให้แก่ อปท.

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การถ่ายโอนบุคลากรให้แก่ อปท. สำนักพัฒนาระบบบริหารบุคคลส่วนท้องถิ่น

  2. หลักการและแนวคิด • หลักการ แผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. ตาม พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. พ.ศ.2542 กำหนดหลักการถ่ายโอนบุคลากรจากส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคไปสู่ท้องถิ่นว่า “ต้องสอดคล้องกับการถ่ายโอนภารกิจ ภาระหน้าที่ ความพร้อมของ อปท. และหลักการตามระบบคุณธรรม” และกำหนดหลักประกันสำหรับข้าราชการถ่ายโอนให้ได้รับสิทธิประโยชน์ไม่ต่ำกว่าที่ได้รับอยู่เดิม

  3. การกระจายอำนาจ การปฏิรูประบบราชการ • กรอบแนวคิด การถ่ายโอนบุคลากร • สร้างความเข้มแข็งให้กับ อปท. • ปรับสัดส่วนกำลังคนภาครัฐ

  4. วัตถุประสงค์ • เพื่อดำเนินการตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 มาตรา 3/1 ที่กำหนดให้การบริหารราชการแผ่นดิน ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน ลดภารกิจ และยุบเลิกหน่วยงานที่ไม่จำเป็น กระจายภารกิจและงบประมาณให้แก่ อปท. • เพื่อสนองเจตนารมณ์แห่ง พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ ฯ มาตรา 32(4) ที่ให้จัดระบบบริหารงานบุคคลของ อปท.โดยกระจายบุคลากรหรือมีระบบถ่ายเทบุคลากรจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาคที่เหมาะสม

  5. กลไกบริหารการถ่ายโอนบุคลากรกลไกบริหารการถ่ายโอนบุคลากร 1. หน่วยงานที่มีการถ่ายโอนภารกิจ และบุคลากร • ศูนย์บริหารการถ่ายโอนบุคลากรสู่ท้องถิ่น ระดับกรม 2. หน่วยงานรับโอน • อปท. • ก.จ.จ. / ก.ท.จ. /ก.อบต.จังหวัด 3. หน่วยงานกลาง • คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. (กกถ.) • คณะอนุกรรมการด้านการถ่ายโอนบุคลากรและอำนาจหน้าที่

  6. คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น (ก.ถ.) และ คณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น • สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. (สกถ.) • สำนักงาน ก.พ. • กรมบัญชีกลาง • สำนักงบประมาณ 4. หน่วยงานประสานการถ่ายโอน • กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น • คณะกรรมการบริหารการถ่ายโอนภารกิจ บุคลากรและงบประมาณให้แก่ อปท. ระดับจังหวัดและกรุงเทพมหานคร

  7. กกถ. จัดทำแผนและบัญชีถ่ายโอน ส่วนราชการ คณะอนุกรรมการ ด้านการถ่ายโอน บุคลากร หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง -สำนักงบประมาณ -กรมบัญชีกลาง ก.จ. ก.ท. และ ก.อบต. สถ. จังหวัด จังหวัด จังหวัด คณะการบริหารการถ่ายโอนภารกิจ บุคลากร และงบประมาณ ระดับจังหวัด

  8. ภารกิจที่มีการถ่ายโอนบุคลากรภารกิจที่มีการถ่ายโอนบุคลากร • กลุ่มที่ 1 ภารกิจที่สามารถถ่ายโอนบุคลากรได้ทันที • กลุ่มที่ 2 ภารกิจที่ต้องมีการแก้ไขกฎหมาย • กลุ่มที่ 3 ภารกิจที่ร่วมกันทำระหว่างรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น • กลุ่มที่ 4 ภารกิจที่ถ่ายโอน แต่ไม่จำเป็นต้องถ่ายโอนบุคลากรให้ท้องถิ่น

  9. บุคลากรที่ถ่ายโอน • การถ่ายโอนบุคลากร ระยะที่ 1 ปี 2546 ถ่ายโอนบุคลากรตามภารกิจที่สามารถถ่ายโอนได้ทันที ในด้านโครงสร้างพื้นฐานและด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิต จาก 5 ส่วนราชการ คือ กรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท กรมโยธาธิการ กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน กรมทรัพยากรธรณี และกรมประชาสงเคราะห์ จำนวน 4,111 คนและการถ่ายโอนบุคลากร ระยะที่ 2 ในปี 2547 จากกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ และกรมส่งเสริมสหกรณ์ • การถ่ายโอนบุคลกรระยะต่อไป • บุคลากรที่ปฏิบัติภารกิจที่ได้แก้ไขกฎหมาย ระเบียบ หรือคำสั่งเพื่อรองรับ อปท. • บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ภารกิจที่ต้องประเมินความพร้อมของ อปท. ได้แก่ ภารกิจด้านศึกษาและสาธารณสุข อปท.ต้องผ่านเกณฑ์ประเมินความพร้อมแล้ว

  10. จำนวนบุคลากรที่ถ่ายโอนทั้งหมดในปี 2546

  11. จำนวนบุคลากรที่ถ่ายโอนทั้งหมดในปี 2550 - 2551

  12. จำนวนบุคลากรที่ถ่ายโอนทั้งหมดในปี 2547

  13. รูปแบบการจัดสรรบุคลากร • การจัดสรรให้แก่ อบจ.ที่รองรับการภารกิจถ่ายโอนในจังหวัดนั้น ให้รับการถ่ายโอนในระยะแรก หลังจากนั้นให้ อบจ.ประสานกับคณะกรรมการบริหารการถ่ายโอนฯ ระดับจังหวัด จัดสรรบุคลากรให้แก่ อปท.ประเภทอื่นในจังหวัดตามความเหมาะสม • การจัดสรรให้แก่ อปท.ประเภทต่างๆ โดยตรง • ข้อเสีย ความไม่พร้อมรับโอนของ อปท. ทำให้การถ่ายโอนล่าช้า ส่งผลกระทบต่อการจัดระบบดูแลบุคลากรในระหว่างรอการถ่ายโอน

  14. การรับโอนตามมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการรับโอนข้าราชการพลเรือนมาบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่น กรณีการถ่ายโอนบุคลากรตาม พ.ร.บ.กำหนดแผนและตอนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. พ.ศ.2542 1. กรณีที่ อปท.ได้กำหนดตำแหน่ง ตรงกับที่บุคลากรที่ประสงค์รับโอนไว้แล้วให้แจ้งรายชื่อให้ ก.จังหวัด พิจารณาให้ความเห็นชอบภายใน 15 วัน • กรณีที่ อปท.ไม่ได้กำหนดตำแหน่งไว้ตรงกับคุณสมบัติผู้ถ่ายโอนให้ อปท.สามารถขอกำหนดตำแหน่งใหม่ต่อ ก.จังหวัดได้ • กรณีที่ข้าราชการถ่ายโอนมีระดับสูงกว่ากรอบอัตรากำลังที่ อปท.กำหนด หรือดำรงตำแหน่งในสายงานผู้บริหารที่สูงกว่ากรอบอัตรากำลัง ให้เสนอ ก.จังหวัดพิจารณากำหนดตำแหน่งเป็นกรณีพิเศษ • กรณีตำแหน่งบริหารของ อปท.ว่างลง และผู้บริหารท้องถิ่นประสงค์รับโอนข้าราชการพลเรือนที่ถ่ายโอนมาดำรงตำแหน่งดังกล่าว ให้ดำเนินการได้โดยให้ข้าราชการ/พนักงานส่วนท้องถิ่นที่มีคุณสมบัติมีสิทธิได้รับการคัดเลือกในตำแหน่งดังกล่าวด้วย

  15. กรณีการกำหนดตำแหน่งใหม่เพื่อรองรับการผู้ถ่ายโอน และการกำหนดตำแหน่งรับโอนสำหรับผู้ที่มีตำแหน่งสูงกว่าหัวหน้าส่วนราชการ หากตำแหน่งดังกล่าวว่างลงให้ยุบเลิก • การรับโอนลูกจ้างประจำ ให้ ก.จังหวัดพิจารณาให้ความเห็นชอบในการยกเว้นคุณสมบัติลูกจ้างประจำที่ถ่ายโอนจากเกษียณอายุ 55 ปี เป็นเกษียณ 60 ปี

  16. การเสนอ ก.จังหวัดให้ความเห็นชอบในการรับโอน . เห็นชอบรับโอน รวบรวมเสนอ ก.จังหวัด พิจารณาให้ความเห็นชอบ - รับโอน /ไม่รับโอน อปท. ที่รับโอน กลุ่มท้องถิ่นจังหวัด (ฝ่ายเลขานุการ กก.ถ่ายโอนภารกิจ บุคลากรฯ) -แจ้งมติ -จัดให้ข้าราชการประจำ/ลูกจ้างรายงานตัว แจ้ง ออกคำสั่งรับโอนใน 3 วัน

  17. การรายงานผล รายงานผล และส่งคำสั่งแต่งตั้ง อปท. คณะกรรรมการบริหารถ่ายโอนภารกิจ บุคลากรฯ ระดับจังหวัด รายงานผล และส่งคำสั่งแต่งตั้ง สถ. ส่วนราชการต้นสังกัด

  18. การโอนเงินอุดหนุนบุคลากรถ่ายโอนให้จังหวัดการโอนเงินอุดหนุนบุคลากรถ่ายโอนให้จังหวัด • เมื่อ สถ.ได้รับรายงานผลการแต่งตั้งรับโอนแล้ว จะโอนเงินอุดหนุนทั่วไปสำหรับบุคลากรถ่ายโอนไปยังจังหวัดเพื่อเบิกจ่ายเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการแก่ข้าราชการ/ลูกจ้างประจำที่ถ่ายโอน ทั้งนี้ เงินอุดหนุนดังกล่าวไม่นับรวมในวงเงิน ร้อยละ 40 ของเพดานเงินค่าใช้จ่ายเป็นเงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนสำหรับข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างในท้องถิ่น

  19. เงินอุดหนุนทั่วไปสำหรับบุคลากรที่ถ่ายโอนไป อปท. เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายด้านเงินเดือน ค่าจ้าง และสิทธิประโยชน์ต่าง ๆให้แก่บุคลากรถ่ายโอนตลอดไปจนกว่าจะเกษียณอายุราชการ รวมทั้งสิทธิการเป็นสมาชิก กบข. และ กสจ. โดยที่ผ่านมาได้จัดสรร ดังนี้

  20. เงินอุดหนุนทั่วไปสำหรับบุคลากรที่ถ่ายโอนไป อปท. เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายด้านเงินเดือน ค่าจ้าง และสิทธิประโยชน์ต่าง ๆให้แก่บุคลากรถ่ายโอนตลอดไปจนกว่าจะเกษียณอายุราชการ รวมทั้งสิทธิการเป็นสมาชิก กบข. และ กสจ. โดยที่ผ่านมาได้จัดสรร ดังนี้

  21. เงินอุดหนุนทั่วไปสำหรับบุคลากรที่ถ่ายโอนไป อปท. เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายด้านเงินเดือน ค่าจ้าง และสิทธิประโยชน์ต่าง ๆให้แก่บุคลากรถ่ายโอนตลอดไปจนกว่าจะเกษียณอายุราชการ รวมทั้งสิทธิการเป็นสมาชิก กบข. และ กสจ. โดยที่ผ่านมาได้จัดสรร ดังนี้

  22. การจัดสรรบุคลากรที่ค้างการจัดสรรการจัดสรรบุคลากรที่ค้างการจัดสรร ภายในจังหวัดโดยประสานความต้องการของบุคลากรถ่ายโอน กับ อปท. คณะกรรมการบริหาร การถ่ายโอนภารกิจ บุคลากร และงบประมาณ ระดับจังหวัด จัดสรรบุคลากร ระหว่างจังหวัดโดยประสานกับคณะกรรมการบริหารการถ่ายโอนภารกิจ บุคลากรฯจังหวัดที่บุคลากรต้องการจะถ่ายโอนไป รายงานให้ทราบเพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรค • กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น • คณะอนุกรรมการด้านการถ่ายโอนบุคลากร • และอำนาจหน้าที่

  23. สิทธิประโยชน์

More Related