310 likes | 328 Views
โครงการ โรงเรียน คุณภาพประจำ ตำบล ตามนโยบาย “๑ ตำบล ๑ โรงเรียนคุณภาพ ”. สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. เป้าหมายโครงการ. เชิงคุณภาพ.
E N D
โครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ตามนโยบาย “๑ ตำบล ๑ โรงเรียนคุณภาพ” สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เป้าหมายโครงการ เชิงคุณภาพ 1) โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล มีความเข้มแข็งทางวิชาการและมีความพร้อมในการพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม งานอาชีพ และสุขภาพอนามัย สามารถให้บริการทางการศึกษาแก่นักเรียนและชุมชน 2) นักเรียนในตำบลได้รับโอกาสการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม สำหรับนักเรียนในท้องถิ่นชนบท 3) โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ส่งเสริมการมีส่วนร่วม ระหว่างโรงเรียน ชุมชน และหน่วยงานอื่น เชิงปริมาณ โรงเรียนจากทุกตำบลในประเทศไทย ตำบลละ 1 - 2 โรงเรียน เพื่อเข้ารับการพัฒนาเป็นโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล
1 การสร้างความมั่นคงด้านอาชีพ และรายได้ (มท./พม.) 2 การแก้ไขปัญหายาเสพติด (ปปส.) 3 การลดปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนน (มท.) แผน ตำบล มั่นคง มั่นคั่ง ยั่งยืน 4 การลด/ป้องกันปัญหาอาชญากรรม (ตำรวจ/มท.) 5 การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (มท.) การสร้างความรักความสามัคคีปรองดอง ความรักชาติ และความภูมิใจในชาติ (มท.) 6 การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในตำบล (ทส.) 7 8 การพัฒนาการเกษตรระดับตำบล (กษ) 9 การส่งเสริมสุขภาวะเพื่อตำบลเข้มแข็ง (สธ.) 10 โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล (ศธ.) 11 หนึ่งตำบลหนึ่งกีฬา (กก.)
แนวทางการคัดเลือกโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล (1 ตำบล 1 โรงเรียนคุณภาพ)
เป็นโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ที่มีความพร้อมเข้าร่วมพัฒนา เป็นโรงเรียนที่มีพื้นที่เพียงพอต่อการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมต่างๆ สามารถรองรับการเพิ่มจำนวนนักเรียนในอนาคตได้ หลักเกณฑ์การคัดเลือก เป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เป็นศูนย์กลางของชุมชน การคมนาคม และการสื่อสารสะดวก เป็นโรงเรียนที่มีความเหมาะสมและเอื้อต่อการพัฒนาโรงเรียนให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ เป็นโรงเรียนที่ได้รับการยอมรับและมีความสัมพันธ์ที่ดีกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชน เป็นโรงเรียนที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชน ยินดีให้ความร่วมมือและการสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการบริหารจัดการโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน องค์การบริหารส่วนภูมิภาค และศึกษาธิการจังหวัด มีส่วนร่วมในการพิจารณาคัดเลือกกลั่นกรอง โรงเรียนผ่านกระบวนการประชาคม การพิจารณา กลั่นกรอง ให้ความเห็นชอบ
คณะกรรมการคัดเลือกโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลคณะกรรมการคัดเลือกโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล คณะกรรมการคัดเลือกโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ระดับตำบล คณะกรรมการคัดเลือกโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ระดับตำบล แนวทางการคัดเลือกโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล (1 ตำบล 1 โรงเรียนคุณภาพ) คณะกรรมการคัดเลือก 3ระดับ คณะกรรมการคัดเลือกโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ระดับอำเภอ คณะกรรมการคัดเลือกโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ระดับอำเภอ คณะกรรมการคัดเลือกโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ระดับจังหวัด คณะกรรมการคัดเลือกโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ระดับจังหวัด
ตราสัญลักษณ์โครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลตราสัญลักษณ์โครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล (๑ ตำบล ๑ โรงเรียนคุณภาพ) โรงเรียนเป็นองค์กรทางการศึกษาที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาคุณภาพนักเรียน แนวคิดในการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนจึงเป็นความสำคัญสูงสุดในการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาโรงเรียนในท้องถิ่นชนบท โรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือก ให้เข้าร่วมโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล จึงเปรียบเสมือนการได้รับโอกาส การยกย่องเชิดชูเกียรติยศ และความรุ่งโรจน์ ที่จะมุ่งเน้นการพัฒนาให้เป็นหนึ่งในระดับตำบลมีความเข้มแข็งและมีความพร้อมในการให้บริการทางการศึกษา ตามนโยบาย 1 ตำบล 1 โรงเรียนคุณภาพ โดยจะได้รับการส่งเสริมความร่วมมือและสร้างการมีส่วนร่วมในกระบวนการบริหาร การจัดการสถานศึกษา ของภาคีเครือข่ายที่เปรียบเสมือนดาว 5 ดวง ซึ่งเป็นตัวแทนของ เอกชน บ้าน วัด รัฐ โรงเรียน ทั้งนี้เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพ ตลอดจนมีความรู้ความสามารถตรงกับความต้องการและทิศทางในการพัฒนาประเทศ อันจะเป็นการเตรียมความพร้อมในการวางรากฐานของประเทศไทย ให้มีความมั่นคงที่จะก้าวไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
ตราสัญลักษณ์โครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลตราสัญลักษณ์โครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล (๑ ตำบล ๑ โรงเรียนคุณภาพ) ดาว 5 ดวง หมายถึง โรงเรียนคุณภาพประจำตำบลเป็นโรงเรียนห้าดาว ที่เกิดจากความร่วมมือของ เอกชน บ้าน วัด รัฐ โรงเรียน โรงเรียนและเลข 1 อยู่ตรงกลางหมายถึง โรงเรียน 1 ตำบล ที่มีความมั่นคง มีความพร้อมที่จะให้บริการทางการศึกษา ตามนโยบายที่ว่า 1 ตำบล 1 โรงเรียนคุณภาพ มงกุฎ หมายถึง เกียรติยศ ความเป็นที่ 1 ความเป็นเลิศ และชัยชนะ อย่างมีคุณภาพ หนังสือลายธงชาติ หมายถึง การศึกษาเป็นรากฐานสำคัญของประเทศ องค์ความรู้ ความเป็นไทย มีความอ่อนน้อมพร้อมที่จะพัฒนาประเทศสู่ความเจริญรุ่งเรือง ช่อมะกอก หมายถึง ชัยชนะและความสำเร็จ ความเจริญงอกงาม ด้านอารมณ์ สังคม และสติปัญญา
พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ MOU กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน โครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
บันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล • 1. เสนอแนะแนวทางการดำเนินการ แนวทางการแก้ไขปัญหา • 2. ส่งเสริม สนับสนุน การดำเนินงานและร่วมติดตามการปฏิบัติงาน • 3. สนับสนุนทรัพยากรและงบประมาณ • 4. ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาด้านการศึกษา • 5. ส่งเสริมสนับสนุนความร่วมมือ เพื่อสร้างเครือข่ายการพัฒนาโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ
บันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล 1. ส่งเสริม สนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน และด้านส่งเสริมการศึกษา 2. ส่งเสริม สนับสนุนแหล่งเรียนรู้ขององค์กร และการจัดแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน 3. ส่งเสริม สนับสนุนการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม กระทรวงมหาดไทย *** ส่งเสริม สนับสนุนภายใต้กรอบอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ***
บันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล 1. สนับสนุนด้านเทคโนโลยี ด้านดิจิทัลสื่อดิจิทัล และการสื่อสารรวมทั้งการตรวจสอบคุณภาพอินเทอร์เน็ต 2.สนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลเครื่องมือ สื่อรูปแบบต่างๆ 3.สนับสนุนแหล่งเรียนรู้ผ่านสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล และการถ่ายทอดองค์ความรู้ 4. สนับสนุนการจัดการเรียนการสอน หลักสูตร และอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการจัดแหล่งเรียนรู้ รวมถึงการฝึกอบรม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
บันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล • 1. ส่งเสริมสนับสนุนด้านสุขภาพและโภชนาการ • 2. สนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการหรือผู้มีความต้องการพิเศษ • 3. ส่งเสริมสนับสนุนแหล่งเรียนรู้ด้านสุขภาพขององค์กร และการจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการส่งเสริมด้านสุขภาพ (Health Literacy) กระทรวงสาธารณสุข
บันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล • 1. ส่งเสริมสนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนและบริเวณโดยรอบโรงเรียน • 2. ส่งเสริมสนับสนุนแหล่งเรียนรู้ขององค์กร และการจัดแหล่งเรียนรู้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
บันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล • 1. ส่งเสริมสนับสนุนด้านพลังงาน ทั้งโครงสร้างพื้นฐาน งบประมาณ บุคลากร สถานที่ และอุปกรณ์ • 2. ส่งเสริมสนับสนุนแหล่งเรียนรู้ขององค์กร และการจัดแหล่งเรียนรู้
บันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล • 1. ศึกษา วิเคราะห์ และรวบรวมปัญหาความต้องการพื้นฐานต่างๆ • 2. วางแผนการขับเคลื่อนแผนพัฒนา มาตรการ แนวทางการดำเนินการการแก้ไขปัญหารวมทั้งส่งเสริม สนับสนุน กำกับดูแล ติดตามการปฏิบัติงาน • 3. ส่งเสริมสนับสนุนองค์ความรู้ วัสดุอุปกรณ์ และร่วมพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศให้เชื่อมโยงเครือข่ายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง • 4. ส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาทักษะที่สำคัญและทักษะจำเป็นของนักเรียน ครู และผู้บริหาร • 5. ส่งเสริมสนับสนุนให้ครู และบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาทักษะการจัดกระบวนการเรียนรู้ • 6. ส่งเสริมสนับสนุนการสร้างเครือข่ายการพัฒนาโรงเรียน • 7. ส่งเสริมสนับสนุนการสร้างสื่อและนวัตกรรมด้านการบริหารและด้านการจัดการเรียนรู้ เพื่อเป็นคลังความรู้ • 8. ส่งเสริมสนับสนุนการถอดบทเรียนการพัฒนาและการสร้างเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
คณะกรรมการ ขับเคลื่อนโครงการ โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ด้านพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับคุณภาพทางการจัดการศึกษา บุคลากรทางการศึกษา และแผนงานงบประมาณ ด้านแผนงานงบประมาณ การเงิน การคลัง และสินทรัพย์ ด้านการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล ด้านพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษา ด้านวิชาการ พัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ สื่อ การวัดและประเมินผลกิจกรรมส่งเสริมด้านคุณธรรม จิตสาธารณะ ด้านออกแบบ กราฟิก การเผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ ด้านพัฒนาการมีส่วนร่วมและความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศและสร้างแรงจูงใจให้กับผู้ปกครอง หน่วยงานในท้องถิ่น และชุมชน สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้านบริหารงานบุคคลและนิติการ คณะกรรมการอำนวยการ ด้านพัฒนาความเป็นเลิศในด้านการศึกษา ค้นคว้า วิจัยเทคโนโลยีแห่งอนาคตและสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมของผู้นำเยาวชนรุ่นใหม่ เพื่อมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางแห่งภูมิภาค ฝ่ายเลขานุการ
“ ประชาชนจะได้อะไรจากโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ” ตอบโจทย์การพัฒนาระดับภูมิภาค ตอบโจทย์การพัฒนาในโรงเรียน ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ 1. กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนกลาง 2. กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 3.กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2 4. กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย 5. กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน 6. กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน 7. กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 8. กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 9. กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 10. กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง 11.กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 12. กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 13. กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 14. กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 15. กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 16. กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 1. ความเป็นพลเมืองดี 2. พัฒนาการทางสติปัญญา 3. ความฉลาดทางอารมณ์ ทัศนคติที่ดี 4. ทักษะชีวิต ทักษะผู้เรียนในอนาคต 5. พัฒนาการด้านร่างกายสมวัย 6. ภาษาและการสื่อสาร อย่างน้อย 2 ภาษาไทย - อังกฤษ 7. จบการศึกษา-ประกอบอาชีพได้ (ได้รับการแนะแนวถูกต้องและรอบด้าน) 8. เด็กเก่ง ICT 9. โครงงาน STEM การเรีนยนรู้ผ่านกิจกรรมอิเลคทรอนิกส์ FabricationLab Coding ฯลฯ 1. อยากให้โรงเรียนคุณภาพประจำตำบลเป็นอย่างไร 2. อยากเห็นผู้บริหารโรงเรียนเป็นอย่างไร 3. อยากเห็นครูเป็นอย่างไร 4. อยากเห็นนักเรียนเป็นอย่างไร (ระหว่างเรียน และเมื่อจบการศึกษาจากโรงเรียนนี้ไปแล้ว) เก็บข้อมูล : จากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานผู้ปกครองนักเรียน ศิษย์เก่า และนักเรียนปัจจุบัน เอกชนบ้านวัด รัฐ โรงเรียน
กลุ่มที่ 1 ด้านพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับคุณภาพทางการจัดการศึกษา บุคลากรทางการศึกษา และแผนงานงบประมาณ (สนผ. สนก.) มีหน้าที่ 1.จัดทำและพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ การบริหารงบประมาณ และผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาทั้งโรงเรียน 2.ผู้บริหาร ครู นักเรียน บุคลากรทางการศึกษา และชุมชน สามารถเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศได้โดยง่าย 3. สนับสนุนข้อมูลสารสนเทศในการขับเคลื่อนโครงการ 4. จัดทำข้อเสนอนโยบายและแผนพัฒนาเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน และอื่นๆ 5. จัดทำข้อเสนอการจัดตั้ง จัดสรรงบประมาณด้านการจัดการศึกษา
กลุ่มที่ 2 ด้านพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษา (สพค. สนก.) มีหน้าที่ • 1. จัดหลักสูตรและอบรมพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา พัฒนาทักษะที่สำคัญและจำเป็น • 2. จัดหลักสูตรและอบรมครู และบุคลากรทางการศึกษา เพิ่มสมรรถนะในการจัดการเรียน สร้างแรงจูงใจพัฒนาทักษะการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งผู้เรียนเป็นสำคัญ
กลุ่มที่ 3 ด้านวิชาการ พัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ สื่อ การวัดและประเมินผลกิจกรรมส่งเสริมด้านคุณธรรม จิตสาธารณะ (สวก. สนก.) มีหน้าที่ • 1. ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูล กำหนดกรอบงาน ด้านวิชาการ จัดทำเอกสาร คู่มือแนวทางการดำเนินงาน • 2. ส่งเสริมและพัฒนาการวัดและประเมินผลคุณภาพการศึกษา • 3. ให้บริการเครื่องมือวัดและประเมินผลคุณภาพการศึกษา • 4. ประเมินคุณภาพของผู้เรียนในระดับชาติ ทั้งด้านความรู้ และด้านคุณลักษณะหรือค่านิยม • 5. ประสานความร่วมมือสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง • 6. ส่งเสริมและพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนการสอน กิจกรรมการถอดบทเรียน (Best Practice) • 7. ส่งเสริมและพัฒนาการเรียนการสอนที่ส่งเสริม • ด้านคุณธรรม จริยธรรม และจิตสาธารณะ
กลุ่มที่ 3 ด้านวิชาการ พัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ สื่อ การวัดและประเมินผลกิจกรรมส่งเสริมด้านคุณธรรม จิตสาธารณะ (สวก. สนก.) มีหน้าที่ • 8. พัฒนารูปแบบการเรียนการสอน (Active Learning, Critical Thinking) จัดทำคู่มือการจัดการเรียนการสอน และการจัดทำกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เน้นพัฒนาจิตสาธารณะเพื่อการบริการชุมชนและสังคม • 9. ส่งเสริมและพัฒนาคลังความรู้ในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ • 10. ยกระดับและพัฒนาหลักสูตร – เทคนิค – วิธีการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ • 11. พัฒนาความสามารถด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษและภาษาอื่นๆในสถานศึกษา • 12. วิจัยและพัฒนาสื่อต้นแบบและนวัตกรรมสื่อการศึกษา รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนการวิจัย • 13. พัฒนาระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพภายใน ระบบการเรียนรู้ที่บูรณาการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และกีฬา เครือข่ายการเรียนรู้และการวิจัยทางการศึกษา รวมทั้งการพัฒนาระบบและมาตรฐานการแนะแนว
กลุ่มที่ 4 ด้านพัฒนาความเป็นเลิศในด้านการศึกษา ค้นคว้า วิจัยเทคโนโลยีแห่งอนาคตและสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมของผู้นำเยาวชนรุ่นใหม่ เพื่อมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางแห่งภูมิภาค(สทร.สนก.) มีหน้าที่ • 1. ค้นคว้าและวิจัยเทคโนโลยีแห่งอนาคต โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำต่างๆ • 2. ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาระบบ ICT • 3. ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไปใช้ในการเรียนการสอน • 4. วิจัยและพัฒนาต้นแบบการใช้สื่อด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร เทคโนโลยี • 5. พัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพเพื่อความเสมอภาคในการใช้และการผลิตเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร • 6. สนับสนุนการดำเนินงานด้านสื่อเทคโนโลยี • 7. ให้คำปรึกษา แนะนำ ติดตามและประเมินผลการนำรูปแบบและนวัตกรรมด้านสื่อเทคโนโลยี
กลุ่มที่ 5 ด้านพัฒนาการมีส่วนร่วมและความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญ ทั้งในและต่างประเทศและสร้างแรงจูงใจให้กับผู้ปกครอง หน่วยงานในท้องถิ่น และชุมชน สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา (สพว. สกก. สมป. สนผ. สนก.) มีหน้าที่ • 1. วางแผนการดำเนินงานการศึกษาวิจัยนวัตกรรมและการมีส่วนร่วม • 2. จัดทำกรอบการศึกษา วิจัย วิเคราะห์ รูปแบบและนวัตกรรม สร้างเครื่องมือ การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ และจัดทำรายงานผลการศึกษาวิจัยนวัตกรรมและการมีส่วนรวม • 3. เผยแพร่และการประชาสัมพันธ์ผลการศึกษาวิจัยนวัตกรรมและการมีส่วนร่วม • 4. ประสานเครือข่ายความร่วมมือจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน องค์กรทุกภาคส่วนในการส่งเสริมและสนับสนุนคุณภาพการศึกษา • 5. ประสานความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาจาก • ภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ
กลุ่มที่ 5 ด้านพัฒนาการมีส่วนร่วมและความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญ ทั้งในและต่างประเทศและสร้างแรงจูงใจให้กับผู้ปกครอง หน่วยงานในท้องถิ่น และชุมชน สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา (ศพว. สกก. สมป. สนผ. สนก.) มีหน้าที่ • 6. กำหนดนโยบายด้านมาตรการจูงใจให้กับผู้ปกครอง หน่วยงานในท้องถิ่นและชุมชน ในการสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการศึกษา • 7. เปิดพื้นที่ให้นักวิจัยและผู้นำรุ่นใหม่ สามารถพัฒนาและขยายผลงานวิจัย • 8. ดำเนินการนำร่องในการนำรูปแบบและนวัตกรรมไปใช้ในโรงเรียน • 9. แสวงหาความร่วมมือหรือทุน เพื่อการพัฒนารูปแบบและนวัตกรรมในการจัดการศึกษา
กลุ่มที่ 6ด้านแผนงานงบประมาณ การเงิน การคลัง และสินทรัพย์ (สคส. สนก.) มีหน้าที่ • 1. วางแผนและจัดทำแนวทางการดำเนินงานด้านการเงิน การคลัง การพัสดุ และการบริหารสินทรัพย์ • 2. ประสานความร่วมมือด้านการเงิน การจัดการเงินสนับสนุน • 3. ตรวจสอบและจัดระบบการควบคุมการใช้จ่ายเงิน • 4. ดำเนินการเกี่ยวกับเครือข่ายข้อมูลทางการเงิน การคลัง การพัสดุ
กลุ่มที่ 7 ด้านการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล (สตผ. ศนฐ. สนก.) มีหน้าที่ • 1. นิเทศ ติดตาม และประเมินผล โครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล และสรุปรายงานผลพร้อมทั้งเผยแพร่ผลการดำเนินงานต่อสาธารณชน • 2. เสนอแนวทางการปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินโครงการ • 3. ส่งเสริม และประสานการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการ
กลุ่มที่ 8ด้านออกแบบ กราฟิก การเผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ (สอ. สทร. สนก.) มีหน้าที่ • 1. พิจารณาวางแผนออกแบบ กราฟิก การประชาสัมพันธ์ และกำหนดรูปแบบการประชาสัมพันธ์ • 2. ประสานติดตามรวบรวมข้อมูลเพื่อการแถลงข่าว/การจัดทำข่าว รับรองสื่อมวลชน พร้อมทั้งเผยแพร่ข่าวทางสื่อต่างๆ • 3. บันทึกภาพนิ่ง และภาพวิดีโอของโครงการ • 4. ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่การดำเนินโครงการ
กลุ่มที่ 9ด้านบริหารงานบุคคลและนิติการ (สพร. สนก.) มีหน้าที่ • 1. วางแผนการดำเนินงานด้านบริหารงานบุคคลและนิติการ • 2. จัดทำข้อเสนอนโยบาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและนิติการ • 3. ดำเนินการเกี่ยวกับงานกฎหมาย งานนิติกรรมและสัญญา งานเกี่ยวกับความรับผิดทางแพ่ง อาญา งานคดีปกครอง และงานคดีอื่น • 4. เสนอแนะและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ • 5. ติดตาม ประเมินผล และจัดทำรายงานเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านบริหารงานบุคคลและนิติการ
กลุ่มที่ 10 ฝ่ายเลขานุการ(สนก.) มีหน้าที่ • 1. วางแผน กำหนดกรอบงาน ขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบาย กำกับ ติดตามคณะกรรมการด้านต่างๆ และรายงานผลการดำเนินงานให้ผู้บริหารทราบ • 2. ประสานการดำเนินงานกับคณะกรรมการทุกฝ่ายในการดำเนินการตามนโยบาย • 3. ปฏิบัติงานอื่นตามที่คณะกรรมการอำนวยการมอบหมาย