520 likes | 1.19k Views
บทที่ 5.2 แนวความคิดทางการเมือง สมัยอยุธยาและสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นและตอนกลาง. คำถามที่ท้าทายให้คุณตอบ. แนวคิดทางการเมืองในสมัยอยุธยาเป็นแบบใด ? เทวราชาหมายถึงแนวความคิดอย่างไร ? แนวคิดทางการเมืองแบบเทวราชาได้รับการสืบทอดและพัฒนาต่อไปอย่างไร ?
E N D
บทที่ 5.2 แนวความคิดทางการเมือง สมัยอยุธยาและสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นและตอนกลาง
คำถามที่ท้าทายให้คุณตอบคำถามที่ท้าทายให้คุณตอบ • แนวคิดทางการเมืองในสมัยอยุธยาเป็นแบบใด ? • เทวราชาหมายถึงแนวความคิดอย่างไร ? • แนวคิดทางการเมืองแบบเทวราชาได้รับการสืบทอดและพัฒนาต่อไปอย่างไร ? • ความสำเร็จและความล้มเหลวของความคิดทางการเมืองแบบ เทวราชาเป็นอย่างไร ? • รัชกาลที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 6 ทรงมีความเห็นในเรื่องรัฐธรรมนูญอย่างไร ? • แนวความคิดทางการเมืองของกลุ่มเจ้านายและข้าราชการ ร.ศ. 103 เป็นอย่างไร ? • แนวความคิดทางการเมืองของกบฏ ร.ศ. 130 เป็นอย่างไร ?
วัตถุประสงค์เพื่อให้นิสิตวัตถุประสงค์เพื่อให้นิสิต • สามารถสรุปหรืออธิบายความหมายของเทวราชาและสาเหตุที่ไทยนำคติเทวราชามาใช้ได้ • อธิบายถึงลักษณะเทวราชาแบบไทยได้ • อธิบายถึงความสำเร็จและความล้มเหลวของคติเทวราชาได้ • อธิบายถึงเหตุผลที่ทำให้คติเทวราชากับธรรมราชาผสมผสานกันได้ • สามารถอธิบายพระราชดำริของรัชกาลที่ 5 - 6 เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ • อธิบายแนวความคิดทางการเมืองของกลุ่มเจ้านายและข้าราชการ ร.ศ. 103 และแนวความคิดทางการเมืองของกบฏ ร.ศ. 130 ได้
สมัยอยุธยา พ.ศ. 1893 – 2310 ระยะเวลา 417 ปี
กษัตริย์ 33 พระองค์ 5 ราชวงศ์ อู่ทอง สุพรรณภูมิ สุโขทัย ปราสาททอง บ้านพลูหลวง เสียเอกราชให้แก่พม่า 2 ครั้ง กรุงศรีอยุธยา
การกอบกู้เอกราชจากพม่าการกอบกู้เอกราชจากพม่า ครั้งที่ 1 (พ.ศ.2112) : พระมหินทราธิราช ครั้งที่ 2 (พ.ศ.2310) : พระเจ้าเอกทัศน์ พระนเรศวรมหาราชทรงกอบกู้เอกราช คืนมาได้เมื่อ พ.ศ. 2127 พระเจ้าตากสินทรงกอบกู้เอกราช คืนมาได้ในอีก 9 เดือนต่อมา
สมัยอยุธยา ความคิดทางการเมือง กษัตริย์ + เทวราชา ธรรมราชา • เป็นเรื่องของประเพณีนิยม • ทำให้กษัตริย์มีความศักดิ์สิทธิ์ดุจดังเทพเจ้า • เป็นผู้มีพระราชอำนาจสูงสุด ใครจะละเมิดมิได้ • เทวราชาไม่มี ความใกล้ชิดกับประชาชน ไม่ได้กล่าวถึงภารกิจ ในการสั่งสอนและดูแล ประชาชนให้พ้นจาก วัฏสงสาร
การผสมผสานแนวคิดเทวราชาและธรรมราชาโดยไม่มีข้อขัดแย้งกันสืบเนื่องมาจากเหตุผล 2 ประการคือ 1. คนไทยนับถือศาสนาพุทธ แต่ก็มีอิทธิพลของพราหมณ์ ปนอยู่ด้วย ดังนั้น แม้ว่ากษัตริย์จะมีฐานะเป็นเทพเจ้า แต่ก็สามารถมองเห็นเป็นพระโพธิสัตว์ ผู้คนย่อมให้ความเคารพ 2. ทั้งเทวราชาและธรรมราชาล้วนมีกุศโลบายที่จะเสริมสร้างพระราชอำนาจของกษัตริย์
เทวราชา = กษัตริย์ที่เป็นเทพเจ้า ในศาสนาพราหมณ์ถือว่าเทพเจ้า คือพระศิวะ และพระนารายณ์ได้อวตารลงมาเป็นกษัตริย์ กษัตริย์จึงเป็นผู้มีพระราชอำนาจ สูงสุดเด็ดขาดเหนือทุกสิ่งทุกอย่าง มีความศักดิ์สิทธิ์ ผู้ใดจะละเมิดไม่ได้
ความคิดเทวราชาแบบไทยเดิมอยู่ในอินเดีย ต่อมาเมื่ออินเดียติดต่อกับเอเซียอาคเนย์ ความคิดดังกล่าวจึงแพร่ขยายเข้ามาในชวาและอาณาจักรโบราณต่าง ๆ ในแหลมอินโดจีน ไทยอาจรับมาจากเขมรโดยตรงก็ได้หรืออาจจะรับจากวัฒนธรรมของพื้นเมืองเดิมในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาโดยตรงก็ได้
เจตนารมณ์ทางการเมือง อิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์ อิทธิพลจากราชสำนักเขมร สาเหตุที่รับความคิดทางการเมืองแบบเทวราชามาใช้ในอยุธยา พระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง)ได้นำความคิดแบบเทวราชามาใช้เพราะเหตุผล 3 ประการ 1) เจตนารมณ์ทางการเมืองในการประกาศตนเป็นอิสระไม่ยอมรับอำนาจและอิทธิพลของสุโขทัยซึ่งมีการปกครองแบบธรรมราชาเป็นเอกลักษณ์ 2) การได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเคยอยู่ใต้อิทธิพลของเขมรมาก่อน 3) อาจได้รับอิทธิพลจากราชสำนักของเขมรโดยตรง เทวราชา
ลักษณะแนวคิดเทวราชาของไทยไม่ได้เคร่งครัดเหมือนของเขมรแต่ก็ไม่ได้เป็นคนธรรมดาสามัญแบบพ่อขุนของสุโขทัย ทั้งนี้เพราะคนไทยยึดถือครอบครัวเป็นหลักในการดำรงชีวิตจึงทำให้ถือกษัตริย์เป็นเหมือนผู้นำครอบครัว แม้กษัตริย์จะมีฐานะเหมือนเทพเจ้าแต่ก็ทรงนับถือพระรัตนตรัยเช่นเดียวกับประชาชนทั่วไป ความรู้สึกจึงถือว่ากษัตริย์เป็นอันเดียวกันกับตน คือ ทั้งเคารพทั้งกลัว
แนวคิดแบบเทวราชามิได้ประสบความสำเร็จเสมอไปเพราะพระมหากษัตริย์ผู้ที่จะมีอำนาจจริง ๆ ต้องมีคุณสมบัติหลายประการ เช่น มีฝีมือในการรบ มีความสามารถในการบริหารราชการแผ่นดิน มีพระชนมายุที่ยิ่งยืนนาน ตัวอย่างเช่น ราชวงศ์สุพรรณภูมิ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถครองราชย์ 40 ปี และสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ครองราชย์ 38 ปี ส่วนที่มีบุญญาธิการน้อย เช่น สมเด็จพระอาทิตยวงศ์ แห่งราชวงศ์สุโขทัย (พระร่วง) ครองราชย์ 30 วันราชวงศ์สุพรรณภูมิ พระเจ้าทองลั่น ครองราชย์ 7 วัน และราชวงศ์บ้านสวนพลู สมเด็จ พระเจ้าอุทุมพร ครองราชย์ 19 วัน
ความคิดทางการเมืองแบบเทวราชาสามารถผสมผสานกับความคิดกับธรรมราชาได้โดยไม่ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อกันเพราะเหตุผล 2 ประการ 1. คนไทยมักนับถือศาสนาพุทธโดยมีศาสนาพราหมณ์เจือปนอยู่ด้วย 2. ทั้ง 2 แนวความคิดล้วนแต่มีกุศโลบายที่จะเสริมสร้างราชอำนาจ ความชอบธรรม และสิทธิธรรมทางการเมืองของพระมหากษัตริย์จึงสามารถให้การเกื้อกูลกันได้
เทวราชาผสมผสานกับธรรมราชาเทวราชาผสมผสานกับธรรมราชา
สมัยธนบุรี ครองราชย์ 15 พรรษา 2310 – 2325 มีพระชนมายุ 48 พรรษา
ธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ความคิดแบบเทวราชาที่อิงหนักไปในทางธรรมราชา ปฏิบัติพระองค์ เป็นหัวหน้าชุมชน ทรงย้ำถึงความสำพันธ์ เชิงญาติกับข้าทูลละออง พระบาท ปฏิบัติพระองค์ ประหนึ่งว่า เป็นพ่อและครู ภราดรภาพ
อันตัวพ่อชื่อว่าพระยาตาก ทนทุกข์ยากกู้ชาติพระศาสนา ถวายแผ่นดินให้เป็นพุทธบูชา แด่พระศาสดาสมณะพระพุทธโคดม ให้ยืนยงคงถ้วนห้าพันปี สมณะพราหมณ์ชีปฏิบัติให้พอสม เจริญสมถะและวิปัสสนาพ่อชื่นชม ถวายบังคมรอยบาทพระศาสดา คิดถึงพ่อพ่ออยู่คู่กับเจ้า ชาติของเราคงอยู่คู่พระศาสนา พระพุทธศาสนาอยู่ยงคู่องค์กษัตรา พระศาสดาฝากไว้ให้คู่กัน ฯ (มโนปณิธานของพระเจ้าตากสินมหาราชจารึกไว้ที่ศาลวัดอรุณราชวราราม)
2325 - 2352 2352 - 2367 2367 - 2394 2411 - 2453 2453 - 2468 2394 - 2411 2468 - 2477 2477 - 2489 2489 - ปัจจุบัน สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พ.ศ. 2325 – 2394 รวม 69 ปี ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 – รัชกาลที่ 3 สมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลาง พ.ศ. 2394 – 2468 รวม 74 ปี ตั้งแต่รัชกาลที่ 4 – รัชกาลที่ 6 สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2468 – ปัจจุบัน รวม 82 ปี ตั้งแต่รัชกาลที่ 7 – รัชกาลที่ 9 กษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ
สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ความคิดแบบธรรมราชา
เน้นรูปแบบ การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์เพื่อจะนำสัตว์โลกไปสู่พระนิพพาน ทรงเน้นอุดมการณ์ ธรรมราชาเพื่อชักจูงคนไทยให้ชื่นชมผู้นำคนใหม่ การขยายอาณาจักร และแข่งขันกับพม่าทางการเมือง “ตั้งใจจะอุปถัมภก ยอยกพระพุทธศาสนา ป้องกันขอบขัณฑสีมา รักษาซึ่งประชาและมนตรี” เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๒๗๙ สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๒ ครองราชย์ ๒๗ พรรษา พระชนมายุ ๗๔ พรรษา สมัยรัชกาลที่ ๑
สมัยรัชกาลที่ ๒ มีเจตนารมณ์อันแน่วแน่ในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาทรงจัดให้มีการสอบเปรียญธรรม ๙ ประโยค ทรงสืบทอดพระราชปณิธานตามเบื้องพระยุคลบาทของพระราชบิดา เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๑๐ สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๗ ครองราชย์ ๑๕ พรรษา พระชนมายุ ๕๘ พรรษา
สมัยรัชกาลที่ ๓ เน้นการค้าขายกับยุโรป นำแพทย์แผนใหม่เข้ามา เปิดโรงพิมพ์หนังสือพิมพ์ คนไทยได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษเป็นครั้งแรก เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๓๐ สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๔ ครองราชย์ ๒๖ ปี พระชนมายุ ๖๔ พรรษา
รัตนโกสินทร์ตอนกลาง ความคิดแบบธรรมราชา + ความคิดแบบเทวราชา เตรียมการปฏิรูป ปฏิรูป สานต่อ
เตรียมการปฏิรูป สมัยรัชกาลที่ ๔ เผชิญการคุกคามจากลัทธิจักรวรรดินิยม ปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย เตรียมกษัตริย์รุ่นใหม่สำหรับสยาม ให้การศึกษาแบบตะวันตก แด่เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ เสียดินแดนครั้งแรกให้แก่ ฝรั่งเศส คือเขมรทั้งประเทศ ยกเว้นพระตะบอง ศรีโสภณ และเสียมราฐ รวมเนื้อที่ประมาณ ๑๒๔,๐๐๐ ตร.กม. เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๓๔๗สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๑ ครองราชย์ ๑๖ ปีพระชมมายุ ๖๖ พรรษา(ทรงผนวช ๒๖ พรรษา)
การปฏิรูปเพื่อให้สยามทันสมัยการปฏิรูปเพื่อให้สยามทันสมัย สมัยรัชกาลที่ ๕ สมัยรัชกาลที่ 5 ทรงตั้ง ๑๒ กระทรวง ส่งโอรสและข้าราชการไปศึกษาต่อต่างประเทศ ทรงเลิกทาส เสียดินแดนไทยให้แก่ฝรั่งเศสและอังกฤษมากมาย เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ ๒๐กันยายน พ.ศ. ๒๓๙๖ สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓ ครองราชย์ ๔๒ ปี พระชมมายุ ๕๘ พรรษา (ครองราชย์เมื่อพระชนมายุแค่เพียง ๑๕ พรรษาเท่านั้น)
ยังคงเผชิญกับ การล่าอาณานิคม เสียดินแดนเป็น จำนวนมาก ส่งพระราชโอรส และข้าราชการ ไปเรียนเมืองนอก ปฏิรูปการ ปกครอง แคว้นสิบสองจุไทย ดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง พระตะบอง,เสียมราฐ,ศรีโสภณ ดินแดนเขตมลายู อังกฤษ ตั้งกระทรวง 12 กระทรวง ยกเลิกประเพณีที่คร่ำครึ ฝรั่งเศส
สมัยรัชกาลที่ 6 สานต่อการปฏิรูป สมัยรัชกาลที่ ๖ เป็นกษัตริย์นักเรียนนอกพระองค์แรก จบนายร้อยที่โรงเรียนทหารแซนด์เฮิสต์ และมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด ประเทศอังกฤษ มีการทดลองการปกครองระบอบประชาธิปไตย ดุสิตธานี กบฎ ร.ศ.๑๓๐ เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๑ ใน พ.ศ. ๒๔๕๗ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๓ สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๘ ครองราชย์ ๑๖ ปี พระชนมายุ ๔๖ พรรษา
พระราชดำริของรัชกาลที่ 5 และ 6 เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ รัชกาลที่ 5 ทรงเห็นด้วยกับการมีรัฐธรรมนูญแต่ต้องพ้น รัชสมัยของพระองค์ไปแล้ว เนื่องจาก ทรงเห็นว่าประชาชนยังไม่มีความรู้เพียงพอ ดังนั้น จึงควรปฏิรูปการปกครองก่อนสิ่งใดทั้งหมดจึงโปรดเกล้าให้ตั้ง 12 กระทรวงขึ้นมาเพื่อรองรับการปฏิรูปนั้น รัชกาลที่ 6 ทรงเห็นด้วยกับพระราชบิดาโดยทรงเห็นว่า การมีรัฐสภานั้น ประชาชนจะต้องมีความรู้และพร้อมที่จะเลือกผู้แทนของตนเองเข้าไปนั่งในสภาได้ ถ้ายังไม่พร้อมจะเกิดผลเสียมากกว่าเพราะจะนำไปสู่ความสั่นคลอนสถาบันพระมหากษัตริย์
แนวคิดทางการเมืองของ “กลุ่มเจ้านายและข้าราชการ ร.ศ. ๑๐๓” และ “กบฏ ร.ศ. ๑๓๐” กลุ่มนี้มีความเห็นว่า บ้านเมืองไทยในขณะนั้น สมควรจะต้องมีการปกครองโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขต่อไป แต่จะต้องถูกจำกัดพระราชอำนาจให้อยู่ภายใต้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ โดยที่ในระยะแรก ๆ ไม่จำเป็นต้องมีรัฐสภาก็ได้ พระมหากษัตริย์ทรงมี พระราชอำนาจสูงสุดในการวินิจฉัยและทรงมีพระบรมราชโองการในเรื่องใด ๆ ก็ได้โดยมอบหมายให้ขุนนางผู้ใหญ่รับไปปฏิบัติ โดยที่พระองค์ไม่ต้องทรงราชการนั้น ๆ ทุกอย่างด้วยพระองค์เอง
แนวคิดทางการเมืองของ“กบฏ ร.ศ. ๑๓๐” (๒๔๕๔) แนวคิดทางการเมืองของ “คณะผู้ก่อการ ร.ศ.๑๓๐”มีลักษณะที่ยินยอมให้พระมหากษัตริย์ยังคงดำรงตำแหน่งพระประมุขของประเทศตต่อไปได้แต่ต้องทรงใช้พระราชอำนาจภายในขอบเขตที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ หลังจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ขึ้นครองราชย์ได้ไม่ถึง ๒ปี ทรงเคยแสดงความคิดเห็นว่า พระองค์นิยมระบอบรัฐธรรมนูญ แต่ที่ทรงยังไม่พระราชทาน เพราะเสนาบดีและที่ปรึกษาราชการทั้งชาวอังกฤษและอเมริกาทัดทานไว้จึงทรงตั้งดุสิตธานีเป็นการรจำลองประชาธิปไตย
แนวคิดทางการเมืองของ“กบฏ ร.ศ. ๑๓๐” (๒๔๕๔) (ต่อ) อย่างไรก็ตามมีผู้วิจารณ์ว่า ดุสิตธานีเป็นเพียงการละเล่นอย่างหนึ่งของรัชกาลที่ ๖ ทรงหาได้ตั้งใจที่จะก่อตั้งรูปการปกครองแบบประชาธิปไตยอย่างจริงจังแต่อย่างใดไม่ กลุ่มคนบางพวกยังได้เพ่งเล็งเข้าไปยังราชสำนักเห็นว่า มีความฟุ้งเฟ้อ ข้าราชการบริหารและพระบรมวงศานุวงศ์บางส่วนซึ่งใกล้ชิดสนิทสนมพระเจ้าอยู่หัว ก็ทรงโปรดปรานประทานความดีความชอบด้วยยศถาบรรดาศักดิ์ ส่วนบุคคลที่มีความรู้ความสามารถทำงานในหน้าที่ตนอย่างพากเพียรกลับถูกมองข้าม แม้แต่พวกที่มีหน้าที่ฟ้อนรำทำเพลง ก็กลับได้ยศถาบรรดาศักดิ์และเป็นที่โปรดปรานให้เข้าเฝ้าใกล้ชิด ความไม่สม่ำเสมอและเป็นธรรมดังนี้ เป็นที่วิจารณ์กันเอิกเกริกทั้งในพระราชสำนักและนอกพระราชสำนัก
แนวคิดทางการเมืองของ“กบฏ ร.ศ. ๑๓๐” (๒๔๕๔) (ต่อ) ด้วยเหตุนี้ จึงมีกลุ่มคนที่คิดร้ายหมายโค่นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เพื่อเปลี่ยนรูปแบบการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมีการเตรียมการมาตั้งแต่ปี พ.ศ ๒๔๕๒ ก่อนกระทำการถึง ๒ ปี บุคคลที่เป็นหัวหน้าขบวนการปฏิวัติในครั้งนี้ คือร.อ. ขุนทวยหาญพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์),ร.ต.เหรียญ ศรีจันทร์, ร.ต. เนตร์ พูนวิวัฒน์, ร.ต. จรูญ ษตะเมษ, ร.ท จรูญ ณ บางช้าง, ร.ต.เจือ ศิลาอาสน์และมีนายทหารหนุ่มจากกองทัพบกอีกหลายคน และพลเรือนอีกจำนวนหนึ่งร่วมมือด้วย รวมผู้คิดก่อการทั้งสิ้น ๙๑ คน โดยกำหนดเอาวันที่ ๑ มีนาคม ๒๔๕๔ เป็นวันกระทำการ ซึ่งวันนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เสด็จกลับจากการซ้อมรบจากพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม
แนวคิดทางการเมืองของ“กบฏ ร.ศ. ๑๓๐” (๒๔๕๔) (ต่อ) ในที่สุดพวกก่อการกบฏต่อพระราชบัลลังก์ก็ได้รับโทษานุโทษ แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ แทนที่จะทำการประหารชีวิตกลุ่มกบฏเหล่านั้น กลับได้รับการลดหย่อนผ่อนโทษลงมาเป็นแต่เพียงจำคุกตลอดชีวิตเท่านั้น ถึงแม้การคิดปฏิวัติของกลุ่มทหารหนุ่มจะกลายเป็นโศกนาฏกรรมย้อนมาเล่นงานตนเองในที่สุด แต่การกบฏครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่า .... การคิดล้มล้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น ได้แพร่หลายมากขึ้นและก่อให้เกิดกลุ่มที่จะดำเนินการอย่างจริงจังขึ้นมา
หัวหน้าขบวนการปฏิวัติในครั้งนี้ คือ ร.อ. ขุนทวยหาญพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์) พ.ศ. ๒๔๕๔
การเรียกร้องต้องการรัฐธรรมนูญของกลุ่มเจ้านายการเรียกร้องต้องการรัฐธรรมนูญของกลุ่มเจ้านาย และข้าราชการในร.ศ. ๑๐๓(๒๔๒๗) เป็นปีที่ ๑๗ของการครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีเจ้านายและข้าราชการ จำนวนหนึ่งที่รับราชการ ณ สถานทูตไทย ณ กรุงลอนดอน และกรุงปารีส ได้ร่วมกันลงชื่อในเอกสารกราบบังคมทูลความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงการปกครองราชการแผ่นดิน ร.ศ. ๑๐๓ทูลเกล้าฯ ถวาย ณ วันพฤหัสบดี แรม ๘ค่ำ เดือน ๒ปีวอก ฉอศอ ศักราช ๑๒๔ตรงกับวันที่ ๙เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๒๗
เจ้านายและข้าราชการที่จัดทำหนังสือกราบบังคมทูลความเห็นครั้งนั้น มีพระนามชื่อปรากฏอยู่ท้ายเอกสาร ได้แก่ 1. พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนเรศร์วรฤทธิ์ (พระเจ้าบรมวงเธอกรมพระนเรศร์ วรฤทธิ์ ) 2. พระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้าโสณบัณฑิต (พระเจ้าบรมวง เธอกรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดา) 3. สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ (สมเด็จกรมพระสวัสดิ์วัฒน วิศิษฏ์) 4. พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ (พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าปฤษฎางค์) 5.นายนกแก้ว คชเสนี {พระยามหาโยธา) 6. หลวงเดชนายเวร(สุ่น สาตราภัย ต่อมาเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาอภัยพิพิธ) 7. บุศย์ เพ็ญกุล (จมื่นไวยวรนาถ) 8. ขุนปฏิภาณพิจิตร (หุ่น) 9. หลวงวิเสศสาลี (นาค) 10. นายเปลี่ยน 11. สัปเลฟเตอร์แนนสะอาด
แนวคิดทางการเมืองแบบจำกัดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์แนวคิดทางการเมืองแบบจำกัดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ หมายถึง ให้พระมหากษัตริย์ใช้อำนาจด้านบริหาร นิติบัญญัติ และ ตุลาการโดยผ่านทางคณะรัฐมนตรี รัฐสภา และผู้พิพากษาตามลำดับโดยอำนาจอธิปไตยที่แท้จริงจะต้องเป็นของปวงชน เหตุผลที่มีแนวความคิดเช่นนี้เพราะ 1. อิทธิพลของลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตกที่ขยายอำนาจมาทางเอเซียทำให้ต้องปฏิรูปการปกครองให้ทันสมัยเพื่อรับมือกับลัทธิดังกล่าว 2. ความก้าวหน้าทางด้านสติปัญญาของข้าราชการไทยที่ไปศึกษาต่อในตะวันตกจึงต้องการเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองการปกครองของไทยให้เจริญก้าวหน้าเหมือนอย่างตะวันตก
ความคิดเห็นทางการเมืองความคิดเห็นทางการเมือง รัตนโกสินทร์ตอนกลาง ธรรมราชา + เทวราชา กษัตริย์เสมือนพระโพธิสัตว์ พาชาติให้พ้นภัย กษัตริย์ต้องเป็นผู้นำประชาชน ต่อสู้กับการล่าอาณานิคม
สรุป สมัยอยุธยา มีรูปแบบการปกครองแบบเทวราชาผสมกับธรรมราชา ราษฎรเคารพพระราชาในฐานะผู้นำครอบครัวที่นับถือพระรัตนตรัยร่วมกัน สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นและตอนกลาง มีรูปแบบการปกครองแบบเทวราชาที่เน้นหนักไปในทางธรรมราชาแบบพระโพธิสัตว์ พระมหากษัตริย์มีหน้าที่คุ้มครองป้องกันและนำพาราษฎรให้หลุดพ้นจากวัฏฏสงสาร