1 / 64

กรมบัญชีกลาง

การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ กับงานก่อสร้าง ชุณห จิต สังข์ใหม่ รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง. กรมบัญชีกลาง. หลักการบริหารพัสดุ. กระบวนการบริหารงานพัสดุ. กำหนดความต้องการ. งบประมาณ. จัดทำแผน. จัดหาพัสดุ. เบิกจ่ายเงิน. การบริหารสัญญา. การควบคุมและจำหน่ายพัสดุ.

helen-mayo
Download Presentation

กรมบัญชีกลาง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐกับงานก่อสร้างการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐกับงานก่อสร้าง ชุณหจิต สังข์ใหม่ รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง กรมบัญชีกลาง

  2. หลักการบริหารพัสดุ

  3. กระบวนการบริหารงานพัสดุกระบวนการบริหารงานพัสดุ กำหนดความต้องการ งบประมาณ จัดทำแผน จัดหาพัสดุ เบิกจ่ายเงิน การบริหารสัญญา การควบคุมและจำหน่ายพัสดุ

  4. การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุแบ่งออกเป็น 5 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ระยะที่ 2 ระยะที่ 3 ระยะที่ 4 ระยะที่ 5 วางแผน/ จัดทำโครงการ และการของบประมาณ การเตรียมการจัดซื้อจัดจ้าง การจัดซื้อจัดจ้าง การบริหารสัญญา การควบคุมและจำหน่ายพัสดุ

  5. ประเภทของการจัดหา การจ้างออกแบบและควบคุมงาน การเช่า การแลกเปลี่ยน การจ้างที่ปรึกษา การจ้าง การซื้อ การจัดทำเอง

  6. การมอบอำนาจ ผู้มีอำนาจ ดำเนินการ ตามระเบียบฯ (ส่วนกลาง: อธิบดี/ หน.สรก ที่เรียกชื่อ อย่างอื่น และมีฐานะ เป็นนิติบุคคล ส่วนภูมิภาค : ผู้ว่า-ราชการจังหวัด) คำนึงถึงระดับ ตำแหน่งหน้าที่และ ความรับผิดชอบของ ผู้ที่จะได้รับมอบอำนาจเป็นสำคัญ (ผู้รับมอบอำนาจจะมอบ อำนาจให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่ง อื่นต่อไปไม่ได้) มอบอำนาจ เป็นหนังสือ ให้แก่ผู้ดำรง ตำแหน่งใดก็ได้

  7. วิธีการจัดซื้อหรือจ้างวิธีการจัดซื้อหรือจ้าง • วิธีตกลงราคา ไม่เกิน 100,000 บาท • วิธีสอบราคา เกิน100,000 บาท ไม่เกิน 2,000,000 บาท • วิธีประกวดราคา เกิน 2,000,000 บาท • วิธีพิเศษ เกิน 100,000 บาท แต่มีเงื่อนไข • วิธีกรณีพิเศษ ไม่มีกำหนดวงเงิน แต่มีเงื่อนไข • วิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction) • ตามระเบียบฯ พัสดุ ปี 49

  8. ขั้นตอนการจัดจ้าง

  9. ความหมาย: งานก่อสร้าง • หมายถึง - งานก่อสร้างตามหลักทั่วไปที่มีกฎหมาย ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรีหรือหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องอ้างอิงได้ • งานก่อสร้าง ตามความหมายของระเบียบฯ ให้รวมถึง • 1. งานเคลื่อนย้ายอาคาร • 2. งานดัดแปลง งานต่อเติม งานรื้อถอนและงานซ่อมแซมซึ่งส่วนราชการเห็นว่ามีความจำเป็นจะต้องมีการควบคุม และดูแลการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างตลอดเวลาดำเนินการตามความเหมาะสม • (ที่ นร (กวพ)1204/ว 1939 ลว 24 ก.พ.2537)

  10. งานก่อสร้างที่อยู่ในบังคับต้องคำนวณราคากลางงานก่อสร้างที่อยู่ในบังคับต้องคำนวณราคากลาง ตามหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง • หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2555 บังคับใช้กับโครงการ/งานจ้างก่อสร้าง ดังนี้ • 1. งานก่อสร้างตามความหมายของงานก่อสร้าง ที่กำหนดในส่วนของแนวทางและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง • 2. ต้องเป็นโครงการ/งานก่อสร้างที่จัดจ้างก่อสร้างตามระเบียบฯ ว่าด้วยการพัสดุ • 3. ไม่คำนึงถึงวงเงิน มูลค่า และหรือวงเงินงบประมาณของโครงการ/งานก่อสร้าง

  11. งานก่อสร้างที่อยู่ในบังคับต้องคำนวณราคากลางตามหลักเกณฑ์ฯงานก่อสร้างที่อยู่ในบังคับต้องคำนวณราคากลางตามหลักเกณฑ์ฯ งานก่อสร้างที่ต้องคำนวณราคากลางตามหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างนี้ หมายถึง 1. กิจกรรม การกระทำ การประกอบ การติดตั้ง และหรือการดำเนินการอื่นใด เพื่อก่อให้เกิดเป็นสิ่งก่อสร้าง อันได้แก่ อาคาร โครงสร้าง ระบบสาธารณูปโภค หรือสิ่งอื่นใด ซึ่งมีลักษณะคงทน ถาวร และใช้ประโยชน์ได้ และให้หมายความรวมถึง การปรับปรุง การรื้อถอน การต่อเติม และการซ่อมแซมสิ่งที่ก่อสร้างดังกล่าวด้วย การปรับปรุง หมายถึง การแก้ไข การกระทำ และหรือการดำเนินการอื่นใด เพื่อให้สิ่งก่อสร้างซึ่งได้ก่อสร้างไว้แล้วคงสภาพเดิมหรือให้มีสภาพที่ดียิ่งขึ้น การรื้อถอน หมายถึง การรื้อหรือการดำเนินการอื่นใด เพื่อนำส่วนประกอบอันเป็นโครงสร้างของสิ่ง ก่อสร้างหรือสิ่งก่อสร้างทั้งหมดออกไป การต่อเติม หมายถึง การดัดแปลง เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม ลดหรือขยาย ซึ่งลักษณะ ขอบเขต แบบ รูปทรง สัดส่วน น้ำหนัก เนื้อที่ ของโครงสร้างหรือส่วนต่างๆ ของสิ่งก่อสร้างซึ่งได้ก่อสร้างไว้แล้ว ให้ผิดไปจากเดิม แต่มิใช่เป็นกรณีของการซ่อมแซม การซ่อมแซม หมายถึง การซ่อม การดำเนินการ และหรือการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบอันเป็นโครงสร้างของสิ่งก่อสร้างหรือสิ่งก่อสร้างทั้งหมดให้คงสภาพและหรือใช้งานได้ตามปกติดังเดิม ทั้งนี้ การปรับปรุง การรื้อถอน การต่อเติม และการซ่อมแซม ดังกล่าว ต้องมีแบบรูปรายการและจำเป็นต้องมีการควบคุมดูแลการปฏิบัติงานตลอดระยะเวลาดำเนินการด้วย 2. งานก่อสร้างดังกล่าวตามข้อ 1 ต้องดำเนินการจัดจ้างก่อสร้างตามระเบียบว่าด้วยการพัสดุ และหรือระเบียบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดจ้างก่อสร้าง

  12. งานก่อสร้าง • งานก่อสร้าง จะต้องกำหนดค่า K ? • มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2532แจ้งตาม หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร 0203/ ว 109 ลงวันที่ 24 สิงหาคม 2532 เรื่อง การพิจารณาช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพงานก่อสร้าง

  13. ขั้นตอนและกระบวนการจ้างก่อสร้าง และการบริหารงานจ้างก่อสร้าง

  14. ภาพรวมของกระบวนการจ้างก่อสร้างภาพรวมของกระบวนการจ้างก่อสร้าง แบบรูป/รายการก่อสร้าง การจัดทำราคากลาง การจัดจ้างก่อสร้าง ตรวจการจ้างและควบคุมงาน ใช้ในการประเมินราคางานก่อสร้างฯ ก่อสร้าง เบิกจ่ายเงินตามสัญญาจ้าง/ลงทะเบียนคุมทรัพย์สิน

  15. กระบวนการก่อนการดำเนินการจ้างก่อสร้างกระบวนการก่อนการดำเนินการจ้างก่อสร้าง • ขั้นตอนการออกแบบ อาจแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ คือ • 1. การออกแบบเอง กรณีที่ส่วนราชการเจ้าของโครงการมีหน่วยงานในสังกัดที่มีอำนาจหน้าที่ในการออกแบบโดยตรง เช่น กองออกแบบ กองสถาปัตยกรรม เป็นต้น • 2. ให้ส่วนราชการอื่น ซึ่งทำหน้าที่ด้านช่าง เช่น กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมศิลปากร กรมธนารักษ์ ทำการออกแบบให้ • 3. จ้างบริษัทเอกชนมาดำเนินการออกแบบ โดยถือปฏิบัติตามส่วนที่ 4 ของระเบียบฯ (ทั้งนี้ ต้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2536 แจ้งตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร 0205/ว 44 ลว. 22 มี.ค. 2536 ก่อน)

  16. กระบวนการก่อนการดำเนินการการจ้างก่อสร้าง (ต่อ) • การกำหนดแบบรูปรายการละเอียด • เมื่อผู้ทำการออกแบบ ออกแบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะทำการถอดแบบนั้น ขั้นตอนการถอดแบบถือว่าเป็นขั้นตอนการแยกงานก่อสร้างทั้งโครงการออกเป็นปริมาณงานย่อยต่าง ๆ ซึ่งเมื่อดำเนินการแล้วจะประกอบด้วยเอกสาร 2 ส่วน คือ แบบรูปรายการละเอียด และบัญชีแสดงปริมาณงานและราคา (BOQ) เพื่อให้ผู้มีหน้าที่คำนวณราคากลาง คือ คณะกรรมการกำหนดราคากลาง

  17. การกำหนดขอบเขตของงานจ้างก่อสร้างการกำหนดขอบเขตของงานจ้างก่อสร้าง

  18. กระบวนการก่อนการดำเนินการจ้างก่อสร้าง (ต่อ) • การกำหนดรายละเอียดหรือคุณลักษณะเฉพาะและการกำหนดยี่ห้อของวัสดุ • - การกำหนดคุณลักษณะเฉพาะและการกำหนดยี่ห้อวัสดุในการก่อสร้าง : การกำหนดคุณภาพ คุณสมบัติของวัสดุ ที่จะนำมาใช้ในการก่อสร้างเพื่อให้เป็นไปตามแบบ บางกรณีอาจจำเป็นต้องกำหนดยี่ห้อของวัสดุที่ใช้ด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้งานก่อสร้างมีความคงทนถาวร สวยงาม ตามความต้องการใช้งานของส่วนราชการผู้ใช้อาคาร

  19. กระบวนการก่อนการดำเนินการจ้างก่อสร้าง (ต่อ) • โดยมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้ • - ให้พิจารณาสนับสนุนการใช้พัสดุที่ผลิตในประเทศ • - กรณีพัสดุที่ต้องการใช้มี มอก. หรือสำนักงบประมาณได้กำหนดมาตรฐานไว้ ให้ระบุคุณลักษณะเฉพาะตามมาตรฐานนั้น • - กรณีเป็นพัสดุที่ไม่มี มอก. หรือมาตรฐานที่ส่วนราชการกำหนด และมีความจำเป็นต้องระบุยี่ห้อ ให้ระบุยี่ห้อของสิ่งของนั้นได้ แต่ต้องให้มากยี่ห้อที่สุดเท่าที่จะสามารถระบุได้ และต้องให้ใช้สิ่งของที่มีคุณภาพเทียบเท่ายี่ห้อที่ระบุนั้นได้ด้วย

  20. กระบวนการก่อนการดำเนินการจ้างก่อสร้าง (ต่อ) • โดยในการพิจารณาสิ่งของเทียบเท่านั้น • ส่วนราชการต้องแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่า • 3 คน เป็นผู้พิจารณา เมื่อผู้ทรงวุฒิยอมรับสิ่งของ • ที่ผู้รับจ้างเสนอขอเทียบเท่า ย่อมถือว่าสิ่งของนั้น • เป็นสิ่งของที่นำมาใช้ในการก่อสร้างครั้งนั้นได้ • เช่นเดียวกับสิ่งของที่ระบุยี่ห้อไว้ • (มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 มีค. 2520 แจ้งตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนมาก ที่ สร 0203/ว 52 ลว. 28 มีค.2520 เรื่อง การกำหนดรายการพัสดุในการก่อสร้าง)

  21. งานจ้างก่อสร้าง การกำหนดคุณสมบัติของผู้เสนอราคา *** ตัวอย่างเอกสารประกวดราคาที่ กวพ. กำหนด *** 1. ผู้เสนอราคาต้องเป็นผู้มีอาชีพรับจ้างงานที่ประกวดราคาจ้าง 2. ผู้เสนอราคาต้องไม่เป็นผู้ที่ถูกระบุชื่อไว้ในบัญชีรายชื่อผู้ทิ้งงานของทางราชการ และได้แจ้งเวียนชื่อแล้ว หรือไม่เป็นผู้ได้รับผลของการสั่งให้นิติบุคคลหรือบุคคลอื่นเป็นผู้ทิ้งงาน

  22. *** ตัวอย่างเอกสารประกวดราคาจ้าง *** 3. ผู้เสนอราคาต้องไม่เป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันกับผู้เสนอราคาอื่น ณ วันประกาศประกวดราคา 3.1 การจ้าง ตามระเบียบพัสดุฯ 35 ผู้เสนอราคารายอื่น 3.2 การจ้าง ตามระเบียบพัสดุฯ 49 ผู้เสนอราคารายอื่น , ผู้ให้บริการกลางอิเล็กทรอนิกส์ คุณสมบัติของผู้เสนอราคา หรือไม่เป็นผู้กระทำการอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม

  23. คุณสมบัติของผู้เสนอราคาคุณสมบัติของผู้เสนอราคา *** ตัวอย่างเอกสารประกวดราคา *** 4. ผู้เสนอราคาต้องไม่เป็นผู้ได้รับเอกสิทธิ์หรือความคุ้มกัน ซึ่งอาจปฏิเสธไม่ยอมขึ้นศาลไทย เว้นแต่รัฐบาลของผู้เสนอราคาได้มีคำสั่งให้สละสิทธิ์ และความคุ้มกันเช่นว่านั้น ** 5. ผู้เสนอราคาต้องผ่านการคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นในการจ้าง ของกรม ** 6. ผู้เสนอราคาต้องเป็น นิติบุคคลและ มี ผลงานก่อสร้างประเภทเดียวกันกับงานที่ประกวดราคาจ้าง ในวงเงินไม่น้อยกว่า.....บาทและ เป็นผลงานที่เป็นคู่สัญญาโดยตรงกับส่วนราชการ หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือ หน่วยงานเอกชนที่กรมเชื่อถือ

  24. กรณีความเป็นนิติบุคคลกรณีความเป็นนิติบุคคล งานก่อสร้าง วงเงินตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป ผู้เสนอราคา ต้องเป็นนิติบุคคล ตามกฎหมาย (มติ ครม. 6 มิ.ย. 21 – แจ้งตามหนังสือสำนัก เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนมาก ที่ สร 0203/ว 80 ลว. 8 มิ.ย. 21) คุณสมบัติของผู้เสนอราคา

  25. กวพ. ได้กำหนดแนวทางและวิธีปฏิบัติเพิ่มเติม ในการดำเนินการประกวดราคาจ้างก่อสร้าง ส่วนราชการจะกำหนดคุณสมบัติของผู้เสนอราคาได้เฉพาะตามตัวอย่างเอกสารประกวดราคา และการกำหนดคุณสมบัติของผู้เสนอราคา ในเรื่องของผลงานก่อสร้าง แจ้งตามหนังสือสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ นร (กวพ) 1305/ว 7914 ลว. 22 ก.ย. 43 ข้อห้าม !! ในกำหนดคุณสมบัติผู้เสนอราคางานจ้างก่อสร้าง - ทุนจดทะเบียน - เป็นผู้ประกอบการที่มีผลกำไร - ต้องมีเครื่องมือ เครื่องจักรอยู่ก่อน หรือขณะเข้าเสนอราคา - ต้องมีหนังสือรับรองทางการเงินจากสถาบันการเงินมาแสดง คุณสมบัติของผู้เสนอราคา

  26. กรณีผลงานก่อสร้าง กำหนดผลงานก่อสร้างได้ไม่เกินร้อยละ 50 ของวงเงินงบประมาณ หรือวงเงินประมาณการตามมติ ครม. 28 ธ.ค. 36 – แจ้งตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนมาก นร 0202/ว 1 ลว. 3 ม.ค. 37 การกำหนดผลงานก่อสร้างตามหนังสือสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ นร (กวพ) 1204/ว 11441 ลว. 28 พ.ย. 39 กำหนดเงื่อนไขไว้ในตัวอย่างเอกสารประกวดราคา 1. ต้องมีผลงานประเภทเดียวกันกับงานที่ประกวดราคาจ้าง 2. ต้องเป็นผลงานที่ผู้รับจ้างได้ทำงานแล้วเสร็จตามสัญญาที่ได้มีการส่งมอบงานและตรวจรับเรียบร้อยแล้ว ภายใต้การจ้างสัญญาเดียว มิใช่การจ้างหลาย ๆ ครั้งมารวมกัน 3. ต้องเป็นผลงานที่กระทำสัญญากับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชนที่กรมเชื่อถือได้ ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างโดยตรง ไม่ใช่ผลงานอันเกิดจากรับจ้างช่วง (แนววินิจฉัยของ กวพ.) คุณสมบัติของผู้เสนอราคา

  27. คุณสมบัติของผู้เสนอราคาคุณสมบัติของผู้เสนอราคา ** ผลงาน กรณีกิจการร่วมค้า ที่ นร (กวพ) 1305/ว 2457 ลว. 16 มี.ค.43 • จดทะเบียน • คุณสมบัติครบถ้วนตามเงื่อนไข • คุณสมบัติด้านผลงานก่อสร้าง ..... ใช้ผลงานของผู้เข้าร่วมค้าได้ • ไม่จดทะเบียน • คุณสมบัติทุกรายต้องครบถ้วนตามเงื่อนไข • ข้อยกเว้น • ตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร ให้ใครเป็นผู้รับชอบหลักในการเข้าเสนอราคาและแสดงหลักฐานพร้อมซองข้อเสนอราคา / ซองข้อเสนอทางเทคนิค • ใช้ผลงานของผู้เข้าร่วมค้าหลักได้

  28. การจัดทำประกาศจัดจ้างด้วยวิธีสอบราคา / ประกวดราคา และประกวดราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (ให้ลงทะเบียนเพื่อขอรหัสผู้ใช้และรหัสผ่านเข้าสู่ระบบ และสามารถศึกษาการใช้งานในระบบผ่านทาง www.gprocurement.go.thของกรมบัญชีกลาง)

  29. ขั้นตอนการดำเนินการจัดจ้างก่อสร้างขั้นตอนการดำเนินการจัดจ้างก่อสร้าง

  30. การดำเนินการโดยวิธีสอบราคาการดำเนินการโดยวิธีสอบราคา คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา (ข้อ 42) ขั้นที่ 1ตรวจสอบผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน + ประกาศชื่อผู้ผ่านการตรวจสอบ ขั้นที่ 2 เปิดซองใบเสนอราคาเฉพาะผู้ไม่มีผลประโยชน์ร่วมกัน + อ่านแจ้งราคา บัญชีรายการเอกสารหลักฐาน + ลงชื่อกำกับ ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคา ใบเสนอราคา แคตตาล็อกหรือแบบรูปรายการละเอียด แล้วคัดเลือกผู้เสนอราคาที่ถูกต้องตามเงื่อนไขในเอกสารสอบราคา

  31. ขั้นที่ 3คัดเลือกพัสดุหรืองานจ้างที่ผ่านขั้นตอนที่ 2 ที่มีคุณภาพและคุณสมบัติเป็นประโยชน์ต่อทางราชการ ** หนังสือ ที่ นร (กวพ) 0901/ว 48 ลว. 14 ก.ค. 29 การคัดเลือกคุณภาพและคุณสมบัติดังกล่าว มุ่งหมายถึง การพิจารณาจากเกณฑ์ในส่วนที่ ไม่สามารถกำหนดไว้เป็นเงื่อนไขในประกาศ ** ข้อสังเกต รายที่เลือกไม่ยอมเข้าทำสัญญา ให้พิจารณารายต่ำถัดไป ราคาเท่ากันหลายราย ให้ผู้ที่เสนอราคาดังกล่าวยื่นซองใหม่ ถูกต้องตามเอกสารสอบราคารายเดียว ให้ดำเนินการตามขั้นที่ 3 โดยอนุโลม การดำเนินการโดยวิธีสอบราคา ขั้นที่ 4เสนอให้ซื้อหรือจ้างจากรายที่คัดเลือกไว้แล้ว ซึ่งเสนอราคาต่ำสุด ขั้นที่ 5รายงานผลและความเห็น ต่อหัวหน้าส่วนราชการเพื่อสั่งการ

  32. การจัดทำเอกสารประกวดราคาการจัดทำเอกสารประกวดราคา • รูปแบบ : เอกสารประกวดราคา • กวพ. กำหนด • แบบที่ผ่านการตรวจสอบจากสำนักงานอัยการสูงสุด

  33. การดำเนินการโดยวิธีประกวดราคาการดำเนินการโดยวิธีประกวดราคา คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา - ตรวจสอบคุณลักษณะเฉพาะ ยกเลิก/ดำเนินการต่อไป - คัดเลือกสิ่งของ/งานจ้าง - ถูกต้องรายเดียว (51) - พิจารณาราคา เกณฑ์ปกติ ยกเลิก - ไม่มีผู้เสนอราคา หรือไม่ถูกต้องตาม spec (52) - เท่ากันหลายราย - สูงกว่าวงเงิน รายต่ำสุด - ประกวดราคาใหม่ จะไม่ได้ผลดี ยื่นซองใหม่ อนุโลมข้อ 43 ใช้วิธีพิเศษ

  34. 1 1 กิจกรรมที่ดำเนินการตามระเบียบฯ 2549 ร่าง TOR และเอกสารประกวดราคา 6 ผู้มีสิทธิเสนอราคา เข้าเสนอราคาในระบบประมูล แต่งตั้งคณะกรรมการประกวดราคา และคัดเลือกผู้ให้บริการตลาดกลาง 12 คณะกรรมการประกวดราคา พิจารณาผลการเสนอราคา 11 ดำเนินการตามระเบียบพัสดุฯ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ต่อไป ทำประกาศเชิญชวน 2 รับซองข้อเสนอด้านเทคนิค ผลการเสนอราคา 3 13 14 อุทธรณ์ ไม่อุทธรณ์ การคัดเลือกเบื้องต้นเพื่อเป็นผู้มีสิทธิเสนอราคา 4 ผลการอุทธรณ์ 5 ผลการคัดเลือก 16 15 7 ไม่อุทธรณ์ อุทธรณ์ ฟังไม่ขึ้น ฟังขึ้น ดำเนินการตามระเบียบฯ 2549 17 ผลการอุทธรณ์ สั่งดำเนินกระบวนการเสนอราคาใหม่ 9 8 ดำเนินการตามระเบียบพัสดุฯ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ต่อไป ฟังไม่ขึ้น ฟังขึ้น 10 เพิ่มชื่อผู้มีสิทธิเสนอราคา

  35. การประเมินราคาในการจ้างก่อสร้างการประเมินราคาในการจ้างก่อสร้าง

  36. สัญญาและหลักประกัน

  37. วัตถุประสงค์ เพื่อให้งานที่จ้างเป็นไปตามลำดับขั้นตอน ตามหลักวิชาการของการก่อสร้าง และการแบ่งจ่ายเงินเมื่อผู้รับจ้างส่งมอบงานในแต่ละงวด เพื่อให้ผู้รับจ้างเกิดสภาพคล่องทางการเงิน และใช้เป็นทุนหมุนเวียนในการก่อสร้าง การกำหนดจ่ายเงินเป็นงวดนั้น จึงต้องกำหนดให้สัมพันธ์กันระหว่างงวดงานกับงวดเงิน กรณีที่มีการแบ่งงวดงานและงวดเงินแล้ว โดยหลัก ผู้ว่าจ้างไม่อาจรับมอบงานและจ่ายเงินข้ามงวดได้ เว้นแต่ ตามข้อเท็จจริงของหลักวิชาการของการก่อสร้าง งานที่ส่งมอบนั้น เป็นอิสระไม่เกี่ยวข้องกับงานในงวดก่อนหน้านั้น และมีการกำหนดไว้ในสัญญาว่า สามารถส่งมอบงานข้ามงวดได้ การแบ่งงวดงานและงวดเงิน

  38. สัญญาจ้างก่อสร้าง ราคาต่อหน่วย (Unit Cost) จ่ายค่าจ้างตามเนื้องานที่ทำเสร็จจริง ราคาเหมารวม (Lump Sum) จ่ายตามวงเงินที่กำหนดในสัญญา ค่าจ้างและการจ่ายเงิน

  39. หลัก จ่ายไม่ได้ ข้อยกเว้น มีความจำเป็นจะต้องจ่าย มีกำหนดเงื่อนไขไว้ในเอกสารสอบราคา หรือประกวดราคา ก่อนการทำสัญญาหรือข้อตกลง จ่ายได้เฉพาะกรณีและตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด การจ่ายเงินล่วงหน้า

  40. เมื่อครบกำหนดสัญญา /ข้อตกลง ยังไม่มีการส่งมอบต้องแจ้งการเรียกค่าปรับตามสัญญา เมื่อคู่สัญญาได้ส่งมอบพัสดุ(ส่งมอบของ/งานจ้าง) ให้แจ้งสงวนสิทธิ การเรียกค่าปรับในขณะที่รับมอบพัสดุนั้นด้วย การนับวันปรับ ให้นับถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญา/ข้อตกลง จนถึงวันที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างส่งมอบสิ่งของถูกต้องครบถ้วน หรือจนถึงวันที่บอกเลิกสัญญา/ข้อตกลง (หักด้วยระยะเวลาที่คณะกรรมการตรวจรับใช้ไปในการตรวจรับออกจากจำนวนวันที่ต้องถูกปรับด้วย) การคิดค่าปรับตามสัญญา

  41. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา ข้อ 136 • หลัก • ห้ามแก้ไข เปลี่ยนแปลง • ข้อยกเว้น • กรณีจำเป็น ไม่ทำให้ราชการเสียประโยชน์ • กรณีแก้ไขเพื่อประโยชน์ของทางราชการ

  42. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา ข้อ 136 (ต่อ) • อำนาจอนุมัติแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา • หัวหน้าส่วนราชการ • ** หลักการแก้ไขฯ ** • การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา สามารถที่จะพิจารณาดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาในช่วงเวลาใดก็ได้ แม้จะล่วงเลยกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จตามสัญญาก็ตาม แต่อย่างช้าจะต้องดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงก่อนที่คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ/ตรวจการจ้าง ได้ทำการตรวจรับพัสดุหรืองานจ้างไว้ใช้

  43. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา ข้อ 136 (ต่อ) • การแก้ไขสัญญา ถ้าจำเป็นต้องเพิ่ม/ลดวงเงิน/ ขยายเวลาการส่งมอบ ให้ตกลงไปพร้อมกัน • กรณีงานเกี่ยวกับความมั่นคงแข็งแรง/งานเทคนิค เฉพาะอย่าง ต้องได้รับการรับรองจากสถาปนิก/ วิศวกรฯ ที่รับผิดชอบก่อนการแก้ไข

  44. การงด ลดค่าปรับ หรือการขยายเวลา ทำการตามสัญญา ข้อ 139 • อำนาจอนุมัติ • หัวหน้าส่วนราชการ • สาเหตุ • (1) เหตุเกิดจากความผิด ความบกพร่องของส่วนราชการ(2) เหตุสุดวิสัย(3) เหตุเกิดจากพฤติการณ์ ที่คู่สัญญาไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย

  45. การงด ลดค่าปรับ หรือการขยายเวลา ทำการตามสัญญาข้อ 139 (ต่อ) • วิธีการ • - คู่สัญญาต้องแจ้งเหตุให้ส่วนราชการทราบภายใน 15 วัน นับแต่เหตุนั้นได้สิ้นสุดลง หากไม่แจ้งตามที่กำหนด จะยก • มากล่าวอ้างเพื่อขอลดหรืองดค่าปรับ หรือขยายเวลามิได้ • เว้นแต่กรณีความผิดความบกพร่องของส่วนราชการ ซึ่งมี • หลักฐานชัดแจ้งหรือส่วนราชการทราบดีอยู่แล้วตั้งแต่ต้น • - พิจารณาได้ตามจำนวนวันที่มีเหตุเกิดขึ้นจริง

  46. การบอกเลิกสัญญา หลัก1)มีเหตุเชื่อได้ว่า ผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จ ภายในเวลาที่กำหนด (137 วรรคหนึ่ง) 2) ไม่ปฏิบัติตามสัญญา/ข้อตกลง และค่าปรับจะเกิน 10 % ของวงเงินทั้งสัญญา เว้นแต่ จะยินยอมเสียค่าปรับ ก็ให้ผ่อนปรนได้เท่าที่จำเป็น (138) การตกลงเลิกสัญญาต่อกันทำได้เฉพาะเป็นประโยชน์ /หรือเพื่อแก้ไขข้อเสียเปรียบของราชการหากปฏิบัติตามสัญญา/ข้อตกลงต่อไป (137 วรรคสอง) การบอกเลิก / ตกลงกันเลิกสัญญา หรือข้อตกลง

More Related