210 likes | 620 Views
หน่วยการศึกษาที่ 1 เรื่อง ความเป็นมาของวิชาพันธุศาสตร์. พันธุศาสตร์( Genetics ). พันธุศาสาตร์ (Genetics) เป็นวิชาที่ว่าด้วยการถ่ายทอดพันธุกรรม (heredity) ของลักษณะต่างๆในสิ่งมีชีวิต. 1. ยุคเริ่มแรก
E N D
หน่วยการศึกษาที่ 1เรื่อง ความเป็นมาของวิชาพันธุศาสตร์
พันธุศาสตร์(Genetics) พันธุศาสาตร์(Genetics) เป็นวิชาที่ว่าด้วยการถ่ายทอดพันธุกรรม (heredity) ของลักษณะต่างๆในสิ่งมีชีวิต
1. ยุคเริ่มแรก มนุษย์รู้จักผสมพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์มาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ แต่ไม่มีการบันทึกเป็นแบบแผนการถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่เรียกว่าพันธุประวัติ หรือพงศาวลี หรือ เพดดิกรี (pedigree)ไว้เป็นหลักฐาน เพิ่งเริ่มเมื่อประมาณหกพันปีมานี่เอง โดยชาวบาบิโลนได้ทำการผสมและปรับปรุงพันธุ์ม้า และผลอินทผาลัม ก่อนคริสตกาลชาวยีนเริ่มรู้จักวิธีการปรับปรุงพันธุ์ข้าว มนุษย์พยายามจะตอบปัญหาเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะ โดยตั้งทฤษฎีหรือสมมติฐานต่าง ๆ ขึ้นอธิบาย สมมติฐานและทฤษฎีต่าง ๆ ที่พอจะรวบรวมได้ มีดังนี้ ประวัติวิชาพันธุศาสตร์
ประมาณ 500 ปีก่อนคริสต์ศักราช ไพราโกรัส เสนอว่า เวเปอร์ ซึ่งสร้างขึ้นโดยอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายเกิดการเรียงตัวต่อกันเป็นคนขึ้นมา และเป็นผู้ตั้งทฤษฎีเวเปอร์และฟลูอิด (Vapors and Fluids) • 384-322 ปีก่อนคริสต์ศักราช อริสโตเติล เสนอว่า ในน้ำอสุจิของฝ่ายชายนั้น มีคนขนาดเล็กสำเร็จรูปอยู่แล้วและเป็นตัวที่ก่อให้เกิดมนุษย์ในครรภ์ขึ้น • ค. ศ. 1694 นักวิทยาศาสตร์ชาวดัทช์ ชื่อ แจน สแวมเมอร์แดม (Jan Swammerdam) เสนอทฤษฎีพรีฟอร์เมชัน (preformation) ที่กล่าวว่า มีคนตัวเล็ก ๆอยู่ในไข่ของฝ่ายหญิงและถูกกระตุ้นให้เจริญเติบโตขึ้นโดยอสุจิของฝ่ายชายทฤษฎีนี้เป็นที่ยอมรับและเชื่อถือกันโดยทั่วไป
ค. ศ. 1738-1794 ซี.เอฟ.วอล์พ (C.F.Walff) และ เค. อี. วอน แบร์ (K.E.VonBear)นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันได้เสนอทฤษฎี อีพิเจเนซีส (Epigenesis) ซึ่งมีใจความสำคัญว่าสิ่งมีชีวิตประกอบด้วยการเจริญเติบโต (growth) และกระบวนการพัฒนาการ (development) เซลล์สืบพันธุ์เป็นเพียงหยดของเหลว ซึ่งภายในปราศจากตัวตนและรูปร่างของสิ่งมีชีวิตแต่เมื่อเซลล์สืบพันธุ์รวมตัวกันหรือที่เรียกว่า การปฏิสนธิ (fertilization) จึงจะเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นลำดับ จนกลายเป็นตัวอ่อนของสิ่งมีชีวิต เขาได้พิสูจน์ให้เห็นว่า ในไข่ของไก่ไม่มีลูกไก่ขนาดเล็กอยู่ในนั้นซึ่งเป็นการหักล้างเกี่ยวกับ ทฤษฎี พรีฟอร์เมชัน แต่ทฤษฎีนี้ก็ไม่เป็นที่ยอมรับเนื่องจากไม่มีการพิสูจน์ให้เห็นจริง
ค. ศ. 1744-1829 ชอง บัปตีสต์ เดอ ลามาร์ก (Jean Baptiste de Lamarck) ได้เสนอทฤษฎีการใช้และไม่ใช้ (used and disused theory) โดยอธิบายว่าลักษณะต่างๆในสิ่งมีชีวิตเกิดจากการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมอวัยวะใดมีการใช้งานมากก็จะเจริญเติบโตและแข็งแรง ส่วนอวัยวะใดไม่ถูกใช้งานก็จะฝ่อและสูญหายไปและลักษณะเหล่านี้สามารถถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้ • ค. ศ. 1809-1882 ชาลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) ได้ตั้งทฤษฎีวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตซึ่งมีใจความว่า สปีชีส์ใหม่ของสิ่งมีชีวิต เกิดจากการคัดเลือก โดยธรรมชาติสิ่งมีชีวิตที่แข็งแรงมีลักษณะเหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมจะประสบความสำเร็จในการต่อสู้เพื่อความอยู่รอดและสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ย่อมมีความแปรผันของลักษณะเกิดขึ้นตามธรรมชาติ นอกจากนี้ ดาร์วินยังได้เขียนและพิมพ์เผยแพร่หนังสือเรื่องจุดกำเนิดของสิ่งมีชีวิต (The origin of species) เมื่อ ค. ศ.1865 ด้วย
ค. ศ. 1823-1913 อัลเฟรด รัสเซล วอลเลซ (Alfred Russel Wallace) ได้ตั้งทฤษฎีการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ซึ่งตรงกับ ชาลส์ ดาร์วินโดยที่ไม่รู้กันมาก่อน • ค. ศ.1834-1914 เอากุสต์ ไวส์มันน์ (August Weismann) ได้ทำการทดลองตัดหางหนู รุ่นพ่อแม่ ถึง 22 รุ่นก็ยังปรากฏว่าลูกหนูทุกตัวที่เกิดจากพ่อแม่ที่ถูกตัดหางยังคงมีหางยาว เป็นการแสดงว่าลักษณะหางกุด ซึ่งเกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมไม่สามารถถ่ายทอดไปสู่รุ่นลูกหลานได้นอกจากนี้ เขายังได้ตั้งทฤษฎีเจิร์มพลาซึม (Germplasm theory) ซึ่งกล่าวว่าร่างกายของสิ่งมีชีวิตประกอบด้วยเนื้อเยื่อสองชั้น คือ โซมาโทพลาซึม (somatoplasm) และเจิร์มพลาซึม โดยที่ โซมาโทพลาซึม คือส่วนที่ประกอบกันขึ้นเป็นร่างกาย และเจิร์มพลาซึม คือส่วนที่เป็นอวัยวะสืบพันธุ์ • ค. ศ. 1849-1922 เฮิร์ทวิก (Hertwig) ได้ทำการศึกษาในหอยเม่น (sea urchin) และพบว่ากระบวนการปฏิสนธิเกิดจากการรวมกันระหว่างนิวเคลียสของไข่และสเปิร์ม
ค. ศ. 1862-1915 โบเฟรี (Boveri), เฮนกิง (Henking) และมอนท์โกเมอรี (Montgomery) ได้ศึกษาและอธิบายกลไกของการแบ่งเซลล์แบบไมโทซีส (mitosis) และไมโอซีส (meiosis) • ค. ศ. 1822-1884 เกรกอร์ โยฮันน์ เมนเดล (Gregor Johann Mendel) อธิบายและสรุปผลการทดลองว่า ลักษณะต่าง ๆ จะถูกควบคุมโดยแฟกเตอร์ (factors) ต่อมาเรียกว่า ยีน (gene) ซึ่งมีอยู่เป็นคู่ และสามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อไปได้โดยผ่านทางเซลล์สืบพันธุ์ • ค. ศ. 1844-1895 โยฮันน์ ฟรีดริช มีเชอร์ (Johann Friedrich Miescher) สามารถแยกนิวเคลียสออกจากไซโทพลาซึม (cytoplasm) ของเซลล์ที่เกิดหนอง (pus cell) จึงเรียกว่า นิวคลีอิน(nuclein) ต่อมาศึกษาพบว่ามีคุณสมบัติเป็นกรด และตั้งชื่อใหม่ว่า กรดนิวคลีอิก (nucleic acid) จึงถือว่า มีเชอร์ เป็นบุคคลแรกที่พบ ดีเอ็นเอ
ค. ศ. 1848-1935 เด ฟรีส์ ฮูโก (De Vries Hugo) ได้ทำการทดลอง และค้นพบกฎการถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรม ตรงตามที่เมนเดลรายงานไว้และยกย่องให้เกียรติแก่เมนเดลเป็นบิดาแห่งวิชาพันธุศาสตร์ นอกจากนี้เขายังได้เสนอทฤษฎีการกลายของสิ่งมีชีวิต (mutation theory) • ค.ศ. 1861-1926 วิลเลียม เบตสัน (William Bateson) เป็นผู้ค้นพบลักษณะพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับโครโมโซมและเป็นผู้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์สาขานี้ว่า พันธุศาสตร์ • ค. ศ. 1862-1915 เทโอดอร์ ไฮน์ริช โบเฟรี (Theodor Heinrich Boveri) ค้นพบการแยกตัวของโครโมโซมในไข่ของแอสคารีส เวอร์มิคูลารีส ( Ascaris vermicularis)
ค. ศ.1871-1962 เอริช แชร์มาค ฟอนไซเซเนกก์ (Erich Tschermak von Seysenegg) ค้นพบหลักการถ่ายทอดกรรมพันธุ์เช่นเดียวกับเมนเดล โดยไม่รู้กันมาก่อน ซึ่งต่อมาเรียกว่า กฎของเมนเดล • ค. ศ. 1877-1916 วอลเตอร์ สแตนบะระ ซัตตัน (Walter Stanborough Sutton) ได้เสนอทฤษฎีโครโมโซมโดยได้พิสูจน์ให้เห็นว่าสิ่งมีชีวิตชั้นสูงมีโครโมโซม (chromosome) ที่เหมือนกันและอยู่กันเป็นคู่ ๆ เรียกว่า โฮโมโลกัสโครโมโซม (homologous chromosome) โครโมโซมที่เป็นคู่กันนี้ ถ้าหากมียีนเหมือนกันทุกตำแหน่ง เรียกว่า โฮโมไซกัสโครโมโซม (homozygous chromosome) หากมียีน ต่างกันบางตำแหน่ง หรือมีรูปร่างต่างกันแต่ยังเป็นคู่กันอยู่ เรียกว่าเฮเทโรไซกัส โครโมโซม (heterozygous chromosome) ซัตตันได้รับการยกย่อง ว่าเป็นผู้ค้นพบยีนอยู่บนโครโมโซม • ค. ศ. 1902 การ์รอด (Garrod) ได้ค้นพบโรคพันธุกรรมในมนุษย์เป็นครั้งแรก คือ โรคโลหิตไหลไม่หยุด (haemophillia) จากตระกูลของพระนางเจ้าวิกตอเรีย ราชินีแห่งราชวงศ์อังกฤษ
ค. ศ. 1908 ฮาร์ดี และ ไวน์ เบิร์ก (Hardy and Weinberg) เป็นผู้เสนอ กฎเกี่ยวกับความสมดุลของประชากร เรียกว่า กฎของฮาร์ดีและไวน์เบิร์ก • ค. ศ. 1909 โจฮันเซน (Johansen) เป็นผู้นำคำว่า ยีน มาใช้แทนคำว่า แฟกเตอร์ในสมัยของเมนเดล • ค. ศ.1910 ทอมัส ฮันต์ มอร์แกน (Thomas Hunt Morgan) ศึกษาเกี่ยวกับโครโมโซมเพศของแมลงหวี่ โดยสรุปว่าลักษณะตาสีขาวของแมลงหวี่ถูกควบคุมด้วยยีนด้อยที่มีตำแหน่งอยู่บนโครโมโซมเพศและต่อมาในปี ค.ศ.1911 เขายังแสดงให้เห็นอีกว่าบนโครโมโซมแต่ละแท่งประกอบด้วยยีนหลาย ๆ ตำแหน่งรวมกันอยู่ (linkage) และตั้งทฤษฎีโครโมโซมเกี่ยวกับพันธุกรรม • ค. ศ. 1913 สเทอร์ทีวันต์ (Sturtevant) เป็นบุคคลแรกที่สร้างแผนที่ยีน (genetic map) • ค.ศ. 1927 เฮอร์มันน์ โจเซฟ มัลเลอร์ (Hermann Joseph Muller) ค้นพบว่า รังสีเอกซ์ (x-rays) ก่อให้เกิดการกลายของยีน
ค.ศ. 1928 เอฟ. กริฟฟิต (F. Griffith) ได้ค้นพบปรากฏการณ์ ทรานสฟอร์เมชัน (transformation) จากการทดลองกับแบคทีเรียนิวโมคอกคัส (pneumococcus bacteria) สาเหตุของโรคปอดอักเสบ (pneumonia) ซึ่งเกิดจากเชื้อนิวมอเนีย (Diplococcus neumoniae) • ค. ศ. 1931 คริกทัน แมกซ์ คลินทอกและสเทิร์น (Creighton, Mc Clintock and Stern) พบการจัดเรียงตัวใหม่ของยีนบนโครโมโซม (genetic recombination) สัมพันธ์กับการแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนของโครโมโซม • ค. ศ. 1941 จอร์จ เวลส์ บีเดิล (George Wells Beadle) ร่วมกับ ทาทัม และเลเดอร์เบิร์ก (Tatum and Lederberg)ได้เสนอสมมติฐาน "1 ยีน 1 เอ็นไซม์" (one gene one enzyme hypothesis) จากการทดลองในเชื้อรานิวโรสปอรา (neurospora) • ค. ศ. 1944 โอ. ที. เอเวอรี, ซี. แมกลอยด์ และ เอ็ม. แมกคาร์ที (O. T. Avery, C.Macleodand M. Mc Carty) ได้ทำการทดลองทำนองเดียวกับที่ กริฟฟิต ทำการทดลองในปี ค.ศ.1928 พบว่าสารที่ทำให้เกิดการทรานสฟอร์เมชันในแบคทีเรียคือ ดีเอ็นเอและสรุปว่าดีเอ็นเอเป็นสารพันธุกรรม
ค. ศ.1946 เลเดอร์เบิร์กและทาทัม (Lederberg and Tatum) พบการสืบพันธุ์ของแบคทีเรีย เรียกว่า การคอนจูเกชัน (conjugation) โดยมันจะใช้ร่องของลำตัวมาประกอบกันแล้วเกิดการแลกเปลี่ยนนิวเคลียสซึ่งกันและกัน • ค. ศ. 1950 แมกซ์คลินทอก (Mc Clintock) ได้ค้นพบว่า ดีเอ็นเอ ในข้าวโพดเคลื่อนที่ได้และตั้งชื่อว่า ทรานส์โพสเบิล อีลีเมนต์ (transposable element) • ค. ศ. 1952 เฮอร์ชีส์ และเชส (Hershey and Chase) ทำการทดลองในฝาจ T2 (phageT2) ซึ่งเป็นไวรัสชนิดหนึ่ง พบว่ามี ดีเอ็นเอ เช่นเดียวกัน จึงสรุปว่า ดีเอ็นเอ เป็นสารพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด • ค. ศ. 1952 ซินเดอร์และเลเดอร์เบิร์ก (Zinder and Lederberg) พบการเกิดทรานสดักชัน(transduction) ในแบคทีเรีย • ค. ศ. 1953 เจมส์ ดิวอีย์ วอตสัน (James Dewey Watson ) เสนอโครงสร้าง 3 มิติของดีเอ็นเอ ร่วมกับฟรานซิส คริก และ มอริช วิลคินส์
ค. ศ. 1955 เบนเซอร์ (Benzer) ศึกษาไวรัสฝาจ T4 และรายงานโครงสร้างอย่างละเอียดของยีนที่ตำแหน่ง r II • ค. ศ. 1955 ฟรังเกล คอนรัท และซิงเกอร์ (Fraenkel Conrat and Singer) ได้ทำการทดลองในไวรัสที่ทำให้เกิดโรคใบด่างในยาสูบ (tobaeco mosaic virus) พบว่า อาร์เอ็นเอ (RNA = ribonucleic acid) ก็เป็นสารพันธุกรรม เช่นเดียวกับ ดีเอ็นเอ • ค. ศ. 1956 ทะจิโอะและเลแวน (Tjio and Levan) แสดงให้เห็นว่าโครโมโซมของมนุษย์มี 46 โครโมโซม • ค. ศ.1958 มีเซลสันและสเทาล์ (Meselson and Stahl) พิสูจน์ให้เห็นว่าแบบแผนการจำลองตัวเองของดีเอ็นเอ เป็นแบบกึ่งอนุรักษ์ (semiconservative type) • ค. ศ. 1958 คอร์นเบิร์ก (Kornberg) สามารถแยกเอ็นไซม์ ดีเอ็นเอโพลีเมอเรส I (DNA polymerase I) ออกจากเอสเชอริเชีย คอไล (Escherichia coli) ได้สำเร็จ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมหาศาลในวงการพันธุวิศวกรรมในปัจจุบัน
ค. ศ. 1959 ออกโค (Ochoa) ค้นพบเอ็นไซม์ อาร์เอ็นเอโพลีเมอเรส (RNA polymerase) นับเป็นพื้นฐานให้เกิดความก้าวหน้าทางด้านพันธุวิศวกรรมอย่างรวดเร็ว • ค. ศ. 1961 เบรนเนอร์ ยาคบ และมีเซลสัน (Brenner, Jacob and Meselson) ค้นพบเอ็มอาร์เอ็นเอ (mesenger = mRNA) • ค. ศ. 1961 ยาคบและโมนอด (Jacob and Monod) ได้เสนอทฤษฎี ที่อธิบายกลไกการควบคุมการแสดงออกของยีน (gene expression) หรือกลไกการควบคุมกระบวนการลอกรหัส (transcription) เรียกว่า ทฤษฎีโอเปรอน (operon theory) • ค. ศ.1964ยานอฟสกีและคนอื่นๆ (Yanofskyetal) พร้อมทั้งเบรนเนอร์และคนอื่นๆ (Brenneretal) ได้ร่วมกันเสนอผลงานแสดงความสัมพันธ์ระหว่างยีน และโพลีเปปไทด์ที่ยีนนั้นผลิตขึ้น • ค. ศ. 1966 นิเรนเบิร์กและโครานา (Nirenberg and Khorana) สามารถหารหัสพันธุกรรม(genetic code) สำหรับควบคุมการสร้างกรดอะมิโนแต่ละชนิดจนครบสมบูรณ์
ค. ศ. 1970 นาธานและสมิธ (Nathans and Smith) แยกเอ็นไซม์ตัดจำเพาะ (restriction enzyme) ชนิดแรกได้สำเร็จนับเป็นก้าวแรกที่เข้าสู่ยุคแห่งการปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์ • ค. ศ. 1970 บัลติมอร์ (Baltimore) ได้ศึกษาอาร์เอ็นเอ ทูเมอร์ ไวรัส (RNA tumor virus) และสามารถแยกเอ็นไซม์รีเวอร์สทรานสคริพเทส (reverse transcriptase) ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก • ค. ศ. 1972 เบิร์ก (Berg) สังเคราะห์ดีเอ็นเอสายผสม (recombinant DNA) ในหลอดแก้วได้สำเร็จ • ค. ศ. 1973 โบเวอร์และโคเฮ็น (Boyer and Cohen) ศึกษาการใช้พลาสมิดจากแบคทีเรียในการโคลนดีเอ็นเอได้สำเร็จ • ค. ศ. 1977 แมกซัม, กิลเบิร์ท, แซงเกอร์, คริกเคลน และคูลสัน (Maxam, Gilbert,Sanger, Kicklen and Coulson) ได้ร่วมกันเสนอกรรมวิธีในการหาลำดับเบสในโมเลกุลของดีเอ็นเอ
ค. ศ. 1977 แซงเกอร์และคนอื่น ๆ (Sanger et al) สามารถหาลำดับเบสในดีเอ็นเอของฝาจ แลมบ์ดา 174 ได้จำนวน 5,387 เบส และต่อมาในปี ค.ศ. 1982 นักวิทยาศาสตร์คณะนี้ก็ได้หาลำดับเบสของดีเอ็นเอในฝาจแลมบ์ดาได้สมบูรณ์ถึง 48,502 เบส • ค. ศ. 1983 คีชและอัลท์มัน (Cech and Altman) ค้นพบเอ็นไซม์ไรโบไซม์ (ribozyme) จากอาร์เอ็นเอ แสดงว่า อาร์เอ็นเอ มีคุณสมบัติในการผลิตเอ็นไซม์ เช่นเดียวกับ ดีเอ็นเอ • ค. ศ. 1985 มัลเลสและฟาลูนากับคนอื่น ๆ (Mulles and Faloona et al) ได้ค้นพบเทคนิคพีซีอาร์ (PCR หรือ polymerase chain reaction) ซึ่งเป็นวิธีการเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอโดยไม่ต้องโคลนอีกต่อไป • ค. ศ. 1988 วอตสัน (Watson) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ประสานงานโครงการจีโนมของมนุษย์ ซึ่งใช้นักวิทยาศาสตร์สาขาอณูพันธุศาสตร์ (molecular genetics) จากทั่วโลกร่วมกันหาลำดับเบสในดีเอ็นเอของมนุษย์ออกมาให้ปรากฏแก่สายตาชาวโลก
ค. ศ. 1988 โมชิ (Moyzis) ได้ค้นพบเทโลเมียร์ (telomere) ในโครโมโซมของมนุษย์ซึ่งมีลำดับเบสซ้ำ ๆ กันเป็น TTAGGG และมีซ้ำ ๆ กันตั้งแต่ 250 ถึง 1,000 ซ้ำ • ค. ศ. 1989 ทะสุอิ, ริโอดัน และคอลลินกับคนอื่น ๆ (Tsui, Riordan and Collin et al) สามารถแยกและโคลนยีน ซีสติกไฟโบรซีส (cystic fibrosis gene) ได้สำเร็จ • ค. ศ. 1990 วอตสันและคนอื่น ๆ (Watson et al) และนักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลกได้ร่วมกันทำแผนที่ยีนและหาลำดับเบสของจีโนมที่สมบูรณ์ในมนุษย์ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก รวมทั้งของสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ อีกหลายชนิด • ค. ศ. 1993 มัลลีสและสมิธ (Mullis and Smith) ปรับปรุงเทคนิค PCR (polymerase chain reaction) และ SDM (site-directed mutagenesis) และในปีเดียวกันนี้ โรเบิร์ทและชาร์ป (Robertsand Sharp) ค้นพบกลไกควบคุมการทำงานของ RNA (RNA processing of split genes)
ค. ศ. 1994 นักวิทยาศาสตร์แห่งบริษัทคาลยีน (Calgene) เมืองเดวิส แคลิฟอร์เนีย ได้ผลิตมะเขือเทศตัดแต่งยีน ชื่อ เฟลเวอร์ ซาเวอร์ (Flav'r Sav'r) ซึ่งทำโดยการสอดใส่ยีนยับยั้งการสร้างเอ็นไซม์ PG (poly-galacturonase) เข้าไปในเซลล์ของมะเขือเทศเอ็นไซม์นี้จะสลายเพกตินที่ผนังเซลล์ซึ่งทำให้ผลนิ่มเละเมื่อผลสุก แต่เมื่อเอ็นไซม์ถูกยับยั้งผลมะเขือเทศจะสุกแต่มีรสชาติดีและไม่เละนับเป็นพืชแต่งพันธุ์ชนิดแรกของโลกที่นำออกจำหน่าย • ค. ศ. 1995 ลิวอีสและคนอื่น ๆ (Lewis et al) ค้นพบยีนที่ควบคุมการพัฒนาเบื้องต้นในแมลงหวี่ • ค. ศ. 1997 แอน วิลมัท (Ian Wilmut) สร้างแกะดอลลี่ได้สำเร็จ • ค. ศ. 1998 นักวิทยาศาสตร์จากหลายประเทศทั่วโลก สามารถโคลนสัตว์ชนิดต่าง ๆ ได้เช่น แกะ วัว หมี ฯลฯ • ค. ศ. 2001 บริษัท ACT (Applied Cell Technology) แห่งประเทศสหรัฐอเมริกาสามารถโคลนเซลล์ต้นแบบ (stem cell) จากมนุษย์ได้สำเร็จเป็นครั้งแรกในโลก