1 / 28

บทที่ 9

บทที่ 9. Photomorphogenesis. รองศาสตราจารย์ ดร.ดนัย บุณยเกียรติ ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2. 1. Phototropism 2. Photoperiodism 3. Photomorphogenesis. 3. 1. ไฟโตโครม (Phytochrome) 2. คริพโตโครม (Cryptochoe) 3. UV-B photoreceptor

helena
Download Presentation

บทที่ 9

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 9 Photomorphogenesis รองศาสตราจารย์ ดร.ดนัย บุณยเกียรติ ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  2. 2 1. Phototropism 2. Photoperiodism 3. Photomorphogenesis

  3. 3 1. ไฟโตโครม (Phytochrome) 2. คริพโตโครม (Cryptochoe) 3. UV-B photoreceptor 4. โปรโตคลอโรฟิลด์ เอ (Protochlorophyllide a)

  4. 4 • Photomorphogenesis มี 2 ระยะ คือ Pattern specification เป็นระยะที่เซลล์และเนื้อเยื่อพัฒนาให้มีความสามารถที่จะตอบสนองต่อแสง และ Pattern realization เป็นระยะที่เป็นกระบวนการที่ตอบสนองต่อแสง • ไฟโตโครม เป็นระยะของสารสี ซึ่งพบทั่วไปในพืชชั้นสูงและสาหร่ายมีมวลประมาณ 120,000 ดัลตัน พบในปริมาณที่น้อยมากประมาณ 0.1% ของโปรตีน ทั้งหมดประกอบด้วยโปรตีนที่มีกลุ่มพรอสทิติค (Prosthetic Group) 1 กลุ่ม ซึ่งเป็นเตตราไพโรลที่เป็นลูกโซ่เปิด (Open-chain tetrapyrrole type) ซึ่งเป็นส่วนที่ดูดแสงได้

  5. 5 • ไฟโตโครมที่สามารถดูดแสงสีแดงซึ่งมีความยาวคลื่น 660 nm อยู่ในรูป Pr ซึ่งเป็นรูปที่สังเคราะห์โดยพืชเมื่อได้รับแสงสีแดงPrจะเปลี่ยนอย่างรวดเร็วเป็น Pfr ซึ่งจะดูดซับแสง Far Red ซึ่งมีความยาวคลื่น730 nm  รูป Pr ของไฟโตโครมเป็นรูปที่ค่อนข้างอยู่ตัวส่วน Pfr นั้นสลายตัวง่ายในพืชใบเลี้ยงคู่บางชนิด เช่นกะหล่ำดอก Pfr จะสามารถเปลี่ยนกลับไปเป็น Pr  ได้ในขณะที่อยู่ในที่มืดเรียกว่า เกิด "Dark Reversion"  

  6. 6 • Pfr  นั้นเมื่อได้รับแสง Far Red จะเปลี่ยนกลับเป็น  Pr  อย่างรวดเร็วภายในเวลา 20-30 มิลลิเซคกัน (milliseconds) ส่วน Pr จะกลับเป็น Pfr เมื่อได้รับแสงสีแดงเป็นเวลาหลายวินาที • โดยทั่วไปแสงสีแดงจะทำให้เกิด   Pfr ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์และ Pr 20 เปอร์เซ็นต์

  7. 7 สาหร่ายBryophytes และPteridophytes • การงอกของสปอร์ • การเคลื่อนที่ของคลอโรพลาสต์ • การเจริญและพัฒนาของ Protonema

  8. 8 Gymnosperms • การงอกของเมล็ด • การโค้งของส่วนใต้ใบเลี้ยงของต้นอ่อน • การขยายตัวของปล้อง • การพักตัวของตา

  9. 9 Angiosperms • การงอกของเมล็ด • การโค้งของส่วนใต้ใบเลี้ยงของต้นอ่อน • การขยายตัวของปล้อง • การเกิดส่วนที่เจริญเป็นราก • การเกิดใบและการเจริญเติบโต • การเคลื่อนที่ของใบย่อย • การยอมให้สารผ่านเข้าออกของเยื่อหุ้มเซลล์ • การโค้งเข้าหาและออกจากแสง • การตอบสนองต่อแรงดึงดูดของโลก • การสังเคราะห์แอนโธไซยานิน

  10. 10 • ไฟโตโครมนั้นมีสองชนิดเรียกว่าชนิดที่ 1 (Type I) และชนิดที่ 2 (Type II) ชนิดที่ 1 นั้นพบมากในต้นอ่อนที่เจริญเติบโตในที่มืด  (Etiolated seeding) และชนิดที่ 2  พบมากในพืชสีเขียวและเมล็ด (อย่างน้อยพบในเมล็ดของข้าวโอ๊ต) • จากการศึกษาปฏิกิริยาทาง  Immunology โปรตีนของไฟโตโครมชนิดที่  1 และ 2 ต่างกันอย่างชัดเจน

  11. 11 • การสลายตัวของ  Pfr ของไฟโตโครมชนิดที่ 1 นั้นในปัจจุบันทราบแน่ชัดแล้วว่าเกิดโดยกระบวนการซึ่ง  Pfr จะไปเกาะติดกับโปรตีนขนาดเล็กซึ่งชื่อว่า Ubiquitin ซึ่งพบในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตชนิด   Eucaryote   ทั่วไปแต่ไม่พบใน ProcaryoteUbiq uitin เป็นโปรตีนขนาดเล็กซึ่งมีกรดอะมิโนเพียง 76 ลำดับการเกาะติดกับ Ubiquitin ของ Pfr มีผลทำให้เกิดการทำลาย Pfr โดยการคะตะไลท์ของเอนไซม์ 3 ชนิดและเป็นกระบวนการซึ่งต้องการ ATP

  12. 12

  13. 13 ผลของแสงต่อการเรียงตัวของคลอโรพลาสต์13 • เมื่อความเข้มของแสงสูง ตามปกติคลอโรพลาสต์จะเรียงตัวในแนวตรงไปตามรัศมีของผนังเซลล์ เพื่อให้บังร่มกันเองป้องกันการถูกทำลายจากแสง ในสภาพแสงความเข้มน้อยหรือในที่มืดคลอโรพลาสต์จะแยกออกเป็นสองกลุ่มกระจายไปตามผนังเซลล์ที่ใกล้ที่สุดจากแหล่งแสงเพื่อให้ดูดรับแสงให้ได้มากที่สุด

  14. 14 ผลของแสงในการกระตุ้นการสังเคราะห์ฟลาโวนอยส์ (Flavonoid) • ผลแอปเปิลที่อยู่ทางด้านใต้ทรงพุ่มจะสังเคราะห์แอนโธไซยานินได้มากกว่าและเร็วกว่าผลที่อยู่ทางด้านเหนือของทรงพุ่ม • การสังเคราะห์ฟลาโวนอยส์ต้องการน้ำตาลเพื่อเกิดเป็น Phosphoenolpyruvate และ Erythrose-4-phosphate ซึ่งเป็นแหล่งของคาร์บอนในวงแหวน B และเป็นแหล่งของกลุ่มอะซีเตทซึ่งอยู่ในวงแหวน A

  15. 15 ผลของแสงในการกระตุ้นการสังเคราะห์ฟลาโวนอยส์ (Flavonoid) 15 • การใช้ Phenylalanine ในการสร้างวงแหวน B เพราะว่า Phenylalanine นั้นสามารถถูกนำไปใช้ในกระบวนการเมตาบอลิสม์เป็นจำนวนมาก การควบคุมของแสงเป็นขั้นตอนแรกในการเปลี่ยน Phenylalanine ให้เกิดวงแหวน B ขั้นตอนนี้ต้องการเอนไซม์ชื่อ Phenylalanine ammonia lyase และแสงจะกระตุ้นกิจกรรมของเอ็นไซม์นี้ในพืชหลายชนิด • ในทำนองเดียวกันลิกนินซึ่งเกิดโดย Shikimic pathway เหมือนฟลาโวนอยด์ก็เกี่ยวข้องกับเอนไซม์ Phenylalanine ammonia lyase

  16. 16 ผลของแสงในการงอกของเมล็ด • เมล็ดที่ต้องการแสงในการงอกเรียกว่า Photodormant • ระดับอุณหภูมิก่อนและหลังการได้รับแสงจะมีความสำคัญมากกว่าในระหว่างการได้รับแสงโดยตรง • กระบวนการทางเคมีซึ่งควบคุมโดย Phytochrome จะมีความไวต่ออุณหภูมิ • เมล็ดของผักสลัดพันธุ์ Grand Rapids ซึ่งปกติแสงจะกระตุ้นการงอกแต่ถ้าให้เมล็ดอยู่ที่อุณหภูมิ 35 oC หลังจากการได้รับแสงหรือในขณะได้รับแสงจะทำให้เมล็ดนี้พักตัว • เมล็ดของผักสลัดพันธุ์ Great Lakes ไม่ต้องการแสงในการงอก แต่ถ้าหากเมล็ดที่ชื้นอยู่ภายใต้อุณหภูมิ 35 oC เมล็ดนี้จะกลายเป็นเมล็ดชนิด Photodormant

  17. 17 กลไกการทำงานของไฟโตโครม • การเปลี่ยนแปลงการยอมให้สารผ่านเข้าออกของเยื่อหุ้มเซลล์ (Change in Membrane Permeability) • ผลในขั้นทีสองของไฟโตโครม คือ การควบคุมระบบเอนไซม์

More Related