1 / 72

การบริหารจัดการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเป็นระบบ

การบริหารจัดการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเป็นระบบ. โดย นายยืนยง ราชวงษ์ ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต ๑. “ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน

heller
Download Presentation

การบริหารจัดการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเป็นระบบ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การบริหารจัดการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเป็นระบบ การบริหารจัดการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเป็นระบบ โดย นายยืนยง ราชวงษ์ ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต ๑

  2. “ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับ บ้านเรือนตัวอาคารไว้นั้นเอง สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็ม และลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำ” พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

  3. คนเราถ้าพอใจในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าทุกประเทศมีความคิด อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ มีความคิดว่า ทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข” พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

  4. แนวพระราชดำริในการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง๑. ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดละ ความฟุ่มเฟือยในการใช้ชีวิต ๒. ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง ซื่อสัตย์สุจริต ๓. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกันในทางการค้า แบบต่อสู้กันอย่างรุนแรง ๔. ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยาก ด้วยการขวนขวายใฝ่หาความรู้ให้มีรายได้เพิ่มพูนขึ้น จนถึงขั้นพอเพียง เป็นเป้าหมายสำคัญ ๕. ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ลดละสิ่งชั่ว ประพฤติตนตามหลักศาสนา

  5. ความเข้าใจของคนไทย ปัญหาหนึ่งของการนำปรัญชาเศรษฐกิจพอเพียง ไปใช้ก็คือ ผู้นำไปใช้อาจยังไม่ได้ศึกษาหรือไม่มีความรู้เพียงพอ ทั้งยังไม่กล้าวิเคราะห์หรือตั้งคำถามต่อตัวปรัชญา เนื่องจากเป็นปรัชญาของพระมหากษัตริย์ ความชอบธรรมให้กับการพัฒนารูปแบบใดหรือมีนัยยะ ทางการเมืองอะไรอยู่เบื้องหลัง

  6. คำถามยอดนิยมของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คำถามข้อ ๑. เกษตรทฤษฏีใหม่คือปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงใช่หรือไม่ ตอบ เป็นแนวคิดส่วนหนึ่ง ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะภาคการเกษตรนำไปทำได้เป็นรูปธรรม ชัดเจนจึงเป็นตัวอย่างที่ดีในการขยายผล

  7. คำถามข้อ ๒. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวคิดอุดมคติหรือไม่ ตอบไม่ใช่ เป็นหลักการที่เป็นรูปธรรม ไม่สุดโต่ง นำสู่การลงมือทำได้จริง

  8. คำถามข้อ ๓. เศรษฐกิจพอเพียงส่งเสริมให้ผลิตเพื่อบริโภคเองเลิกค้าขายกับภายนอกใช่ ขัดต่อหลักการทางธุรกิจ ที่เน้นการหากำไรหรือไม่ ตอบไม่ใช่ เราต้องจัดการให้เหมาะ เริ่มจากทำมาหากิน ทำมาค้าขาย ทำขายส่งนอกได้

  9. คำถามข้อ ๔. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไม่สนใจสาขาการผลิตที่ทันสมัย ไม่การถ่ายโอนเทคโนโลยี จริงหรือไม่ ตอบไม่จริง ให้เริ่มจากรากฐานการผลิตที่เริ่มจากพึ่งตนเอง แล้วเพิ่มเทคโนโลยีได้อย่างมีเหตุผล

  10. คำถามข้อ ๕. การดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงควรเริ่มต้นจากอะไร ตอบเริ่มจากเข้าใจความหมายและหลักการ ใช้กับตนเองและครอบครัวก่อนให้พึ่งตนเองได้

  11. คำถามข้อ ๖. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำไปใช้ได้กับคนทุกวัย ทุกอาชีพและทุกศาสนาหรือไม่ ตอบ ใช้ได้กับคนทุกวัย ทุกอาชีพและทุกชาติศาสนา เพราะเริ่มจากความดีงามของจิตใจและคำนึงประโยชน์สุขส่วนรวม

  12. คำถามข้อ ๗. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จะประยุกต์ใช้กับการพัฒนาระบบการศึกษาของไทยได้ อย่างไร ตอบได้ เพราะการศึกษาคือเครื่องมือพัฒนาคนให้รู้จักคิด ทำเป็นอย่างมีเหตุผล

  13. คำถามข้อ ๘. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จะต้องมีพื้นที่ทางการเกษตร ใช่หรือไม่ อย่างไร ตอบไม่ใช่ เพราะหลักปรัชญาเรื่องวิถีชีวิตเรื่องการเรียนการสอน การสร้างความรอบรู้ นำไปสู่การมีเหตุผล(คิด) และนำไปสู่การสร้างคุณลักษณะนิสัยที่ดีให้เกิดขึ้นในตัวนักเรียน

  14. มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี พอประมาณ มีเหตุผล หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทางสายกลาง ความรู้ รอบรู้, ระลึกรู้, รู้แจ้ง คุณธรรม ซื่อสัตย์, ขยัน, อดทน,แบ่งปัน ชีวิตสมดุล เศรษฐกิจมั่นคง สังคมยั่งยืน

  15. ๑. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การประกอบกิจกรรม การทำงาน การผลิตและ การบริโภค ที่อยู่ในระดับพอประมาณ

  16. หลักของความพอประมาณ (พอดี)5ประการข้อสรุปของสภาพัฒน์ฯ เข็มแข็ง มีจิตสำนึกที่ดี เอื้ออาทร ประนีประนอม นึกถึงประโยชน์ส่วนรวม 1.พอดีด้านจิตใจ 2.พอดีด้านสังคม ช่วยเหลือเกื้อกูล รู้รักสามัคคี สร้างความเข้มแข็ง ให้ครอบครัวและชุมชน 3.พอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาดและรอบคอบ และเกิดความยั่งยืนสูงสุด รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและสอดคล้องต่อความต้องการเป็นประโยชน์ต่อสภาพแวดล้อมและเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมและพัฒนาจากภูมิปัญญาชาวบ้านก่อน 4.พอดีด้านเทคโนโลยี 5. พอดีด้านเศรษฐกิจ เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ดำรงชีวิตอย่างพอควร พออยู่ พอกิน สมควรตามอัตตาภาพและฐานะของตน

  17. ๒. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่าง มีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัย ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ

  18. หลักของความมีเหตุผล ๕ ประการ ๑. ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดความฟุ่มเฟือย ในการดำรงชีพ ๒. ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง สุจริต แม้จะตกอยู่ในภาวะขาดแคลน ในการดำรงชีพ ๓. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันในทางการค้าขาย ประกอบอาชีพ แบบต่อสู้กันอย่างรุนแรง ๔. ไม่หยุดนิ่งที่หาทางในชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยาก ๕. ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ลด เลิก สิ่งยั่วกิเลสให้หมดสิ้นไป ไม่ก่อความชั่วให้เป็นเครื่องทำลายตัวเอง ทำลายผู้อื่น พยายามเพิ่มพูนรักษาความดี ที่มีอยู่ให้งอกงามสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ๖. หลักการปฏิบัติกิจกรรม ในสถานศึกษาทุกกิจกรรม

  19. ๓. ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต

  20. เงื่อนไข ของการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง ๒ ประการ   ๑. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน มีความรอบคอบและความระมัดระวังที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นการปฏิบัติความรู้เป็นองค์ประกอบสำคัญในการตัดสินใจอย่างถูกต้องและเป็นประโยชน์ ต้องแสวงหา KM รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง

  21. ๒. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย ด้านจิตใจ มีความตระหนักในคุณธรรม รู้ผิดชอบชั่วดี ซื่อสัตย์สุจริต ใช้สติปัญญาอย่างถูกต้อง/เหมาะสมในการดำเนินชีวิต ด้านการกระทำ มีความขยันหมั่นเพียร อดทน ไม่โลภ ไม่ตระหนี่ รู้จักแบ่งปัน และรับผิดชอบในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม

  22. วัตถุประสงค์ เพื่อ ให้สถานศึกษานำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และการบริหารจัดการสถานศึกษา เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติในทุกระดับได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผล เกิดการปรับเปลี่ยน กระบวนทัศน์ ในการดำเนินชีวิตบนพื้นฐานของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อย่างต่อเนื่อง

  23. ด้านการบริหารสถานศึกษาด้านการบริหารสถานศึกษา ๑. กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ ๒. ปรับหลักสูตรที่สอดแทรกหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทุกกลุ่มสาระเรียนรู้ ทุกระดับชั้นเรียน ๓. ประยุกต์หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ๔. จัดทำโครงการ/กิจกรรมสนับสนุน

  24. วิธีจัดการให้เกิดเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาวิธีจัดการให้เกิดเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา • 1. วางระบบบริหารจัดการของโรงเรียนให้ เป็นไปตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง • 2. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นเศรษฐกิจพอเพียงบูรณาการเพื่อสร้างค่านิยม • 3. จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

  25. ตัวอย่างกิจกรรม ด้านเศรษฐกิจ ในสถานศึกษา

  26. แนวทางการจัดกิจกรรม ด้านสังคม ในสถานศึกษา

  27. แนวทางการจัดกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม ในสถานศึกษา

  28. แนวทางการจัดกิจกรรมด้านวัฒนธรรม ในสถานศึกษา

  29. แนวทางการจัดกิจกรรมด้านศาสนา ในสถานศึกษา

  30. ตัวอย่างโครงการ/งาน/กิจกรรมตัวอย่างโครงการ/งาน/กิจกรรม

  31. ตัวอย่างโครงการ

  32. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ Standard Based Curriculum ๑. Standard ๒. Indicator

  33. standards ทำอะไรได้ “What student should know and be able to do.” (Marzano, 1998) รู้อะไร

  34. ด้านการจัดการเรียนรู้ด้านการจัดการเรียนรู้ บทบาทของครู ๑. วิเคราะห์หลักสูตร มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๒. วิเคราะห์คุณลักษณะตามหลักปรัชญา ที่สอดคล้อง

  35. มาตรฐานเรียนรู้กลุ่มสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่ ๓ : เศรษฐศาสตร์ ในชั้นต่างๆ สาระที่ ๓ เศรษฐศาสตร์ มาตรฐาน ส ๓.๑ เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภคการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ มาตรฐาน ส ๓.๒ เข้าใจระบบ และสถาบันทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและความจำเป็นของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในสังคมโลก

  36. สาระที่ ๓ เศรษฐศาสตร์ มาตรฐาน ส ๓.๑ เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภคการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ

  37. สาระที่ ๓ เศรษฐศาสตร์ มาตรฐาน ส ๓.๒ เข้าใจระบบ และสถาบันทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและความจำเป็นของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในสังคมโลก

  38. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ สาระที่ ๕วรรณคดีและวรรณกรรมมาตรฐาน ท ๕.๑เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดี และวรรณกรรมไทยอย่างเห็นคุณค่าและนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

  39. กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ มาตรฐาน ง ๑.๑ เข้าใจการทำงาน มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะการจัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานร่วมกัน และทักษะการแสวงหาความรู้ มีคุณธรรมและลักษณะนิสัยในการทำงาน มีจิตสำนึกในการใช้พลังงาน ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมเพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว

More Related