820 likes | 1.03k Views
การแนะแนวการศึกษา. การเพิ่ม ขอลด และขอเพิกถอนวิชา การพ้นสภาพนักศึกษา การลงโทษนักศึกษาที่ทุจริตในการสอบ การย้ายคณะหรือเปลี่ยนสาขาวิชา การขอย้ายรอบการศึกษา. การลงทะเบียนเรียนข้ามภาค การลงทะเบียนเรียนเพื่อปรับคะแนน เฉลี่ยสะสม การสำเร็จการศึกษา การให้ทุนการศึกษา.
E N D
การเพิ่ม ขอลด และขอเพิกถอนวิชา • การพ้นสภาพนักศึกษา • การลงโทษนักศึกษาที่ทุจริตในการสอบ • การย้ายคณะหรือเปลี่ยนสาขาวิชา • การขอย้ายรอบการศึกษา
การลงทะเบียนเรียนข้ามภาค การลงทะเบียนเรียนข้ามภาค • การลงทะเบียนเรียนเพื่อปรับคะแนน เฉลี่ยสะสม • การสำเร็จการศึกษา • การให้ทุนการศึกษา
การขอเพิ่มวิชา และการขอลดวิชา
ให้กระทำได้ภายในสองสัปดาห์แรกนับจากวันเปิดภาคการศึกษาที่ 1 หรือภาคการศึกษาที่ 2 หรือภายในสัปดาห์แรกนับจากวันเปิดภาคการศึกษาภาคฤดูร้อน และการขอเพิ่มวิชาการขอลดวิชานั้น จะต้องไม่ขัดกับจำนวนหน่วยกิตที่มหาวิทยาลัยกำหนด สำหรับรายวิชาที่ขอลดนั้นจะไม่บันทึกในใบรายงานผลการศึกษา
การขอเพิกถอนวิชา(Withdrawal) มหาวิทยาลัยได้พัฒนาระบบการเพิกถอนวิชาทางอินเตอร์เน็ตสำหรับนักศึกษาและได้เปิดให้บริการตั้งแต่ในภาคฤดูร้อน/2545 เป็นต้นไปโดยมีข้อตกลงดังนี้
1. การเพิกถอนวิชาทางอินเทอร์เน็ต สามารถ กระทำได้ ตั้งแต่วันแรกของกำหนดการ เพิกถอนวิชาที่มหาวิทยาลัยประกาศไว้ ในปฏิทินการศึกษาจนถึงวันสุดท้ายของ การเรียนในภาคการ ศึกษานั้น
2. นักศึกษาต้องเพิกถอนวิชาทางอินเตอร์เน็ต ด้วยตนเอง ไม่สามารถมอบหมายให้ผู้อื่น ทำแทนได้โดยใช้รหัสประจำตัวนักศึกษา และรหัสผ่าน และถือว่าการกระทำใด ๆ ที่ทำให้เกิดการเพิกถอนวิชาทาง อินเตอร์เน็ต เป็นการกระทำที่เกิดขึ้น โดยนักศึกษาเอง
3. นักศึกษาสามารถเพิกถอนวิชาที่ลงทะเบียนเรียนแต่ละภาคการศึกษาได้หลายครั้ง โดยต้อง เหลือไว้อย่างน้อย 1 วิชา(ในกรณีทีนักศึกษามีบางวิชาที่ระบุว่าห้ามเพิกถอน จะเพิกถอนไม่ได้ แต่สามารถเพิกถอนวิชาอื่นที่ไม่ได้ห้ามได้ทุกวิชา)
4. กรณีที่นักศึกษาต้องการเพิกถอนทุกวิชาที่ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาใดต้องติดต่อที่สำนักทะเบียนนักศึกษาเท่านั้น ยกเว้นการเพิกถอนทุกวิชาในภาคฤดูร้อนของนักศึกษาหลักสูตร 4 ปี ภาคปกติ
5. นักศึกษาต้องตรวจสอบรหัสและชื่อวิชา ที่ต้องการเพิกถอนให้ถูกต้อง เนื่องจาก ไม่สามารถแก้ไขข้อมูลการเพิกถอนวิชา ทางอินเตอร์เน็ตได้ ไม่ว่ากรณีใดๆ 6. นักศึกษาที่เพิกถอนวิชาใดทางอินเทอร์เน็ต สมบูรณ์แล้ว จะไม่มีสิทธิ์เข้าสอบวิชานั้น หากนักศึกษาฝ่าฝืน จะถือว่าการสอบวิชา นั้นเป็นโมฆะ
7. นักศึกษาที่ทำการเพิกถอนวิชาทาอินเตอร์เน็ตตามขั้นตอนเรียบร้อยแล้ว มหาวิทยาลัยจะส่งข้อมูลกลับให้นักศึกษาทางอีเมล์เพื่อเป็นการยืนยันการเพิกถอนวิชา 8. กรณีที่นักศึกษาต้องการหลักฐานการเพิกถอนวิชา สามารถพิมพ์ได้เองทางอินเตอร์เน็ตที่หัวข้อ“ตรวจสอบวิชาที่เพิกถอน” หรือพิมพ์จากอีเมล์ ของนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยส่งข้อมูลตอบกลับ
การเพิกถอนวิชากรณีพิเศษการเพิกถอนวิชากรณีพิเศษ ในกรณีที่นักศึกษาขาดสอบปลายภาควิชาใดต้องเขียนคำร้องขออนุมัติเพิกถอนวิชากรณีพิเศษที่สำนักทะเบียนนักศึกษาพร้อมแนบหลักฐานประกอบ ภายหลังจากวันที่ขาดสอบไม่เกิน 5 วันทำการของมหาวิทยาลัย มิฉะนั้น นักศึกษาจะได้เกรด F ในวิชาดังกล่าว โดยการเพิกถอนวิชากรณีพิเศษ สามารถทำได้ในกรณีที่นักศึกษาขาดสอบเนื่องจากเหตุผลจำเป็น ต่อไปนี้
1. เจ็บป่วยหนักหรือเข้ารับการผ่าตัดใน โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล โดย ต้องมีใบรับรองแพทย์ ระบุชัดเจนว่า ไม่สามารถมาสอบได้ 2. ประสบอุบัติเหตุทำให้ได้รับบาดเจ็บ หรือต้องอยู่ในที่เกิดเหตุเพื่อแก้ไขปัญหา
3. บิดา/มารดาหรือผู้ปกครอง เจ็บป่วยหนัก หรือประสบอุบัติเหตุร้ายแรงต้องนอน รักษาตัวในโรงพยาบาลหรือเสียชีวิต 4. เกิดภัยพิบัติแก่ทรัพย์สินของนักศึกษา หรือครอบครัว นอกเหนือจากเหตุผลข้างต้น ไม่อนุญาตให้ทำเรื่องขอเพิกถอนวิชากรณีพิเศษ
1. นักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีภาคปกติ ที่สอบได้ คะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 1.50 ยกเว้นนักศึกษา ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1 ซึ่งการพ้นสภาพ นักศึกษาจะกระทำเมื่อสิ้นภาคการศึกษาฤดูร้อน (ถ้าลงทะเบียนเรียนในภาคฤดูร้อน) ของปีการ ศึกษาแรกที่เข้าศึกษา 2. นักศึกษารอพินิจที่สอบได้คะแนนเฉลี่ยสะสม ต่ำกว่า 1.75 เมื่อสิ้นภาคการศึกษาฤดูร้อนของ ปีการศึกษาที่มีสถานภาพรอพินิจ
3. นักศึกษาที่มีระยะเวลาการศึกษาครบตามที่ระเบียบ มหาวิทยาลัยกรุงเทพว่าด้วยการศึกษาขั้นปริญญาตรี คือ 3.1 นักศึกษาภาคปกติที่เรียนครบ 8 ปีการศึกษาแต่ สอบได้หน่วยกิตยังไม่ครบตามหลักสูตรคณะ ที่นักศึกษาสังกัด 3.2 นักศึกษาภาคค่ำที่เรียนครบ 10 ปีการศึกษาแต่ สอบได้หน่วยกิตยังไม่ครบตามหลักสูตรคณะ ที่นักศึกษาสังกัด
3.3 นักศึกษาภาคปกติ (หลักสูตรต่อเนื่อง) ที่เรียนครบ 4 ปีการศึกษา แต่สอบได้ หน่วยกิตยังไม่ครบตามหลักสูตรคณะ ที่ศึกษาสังกัด 3.4 นักศึกษาภาคค่ำ (หลักสูตรต่อเนื่อง) ที่เรียนครบ 6 ปีการศึกษา แต่สอบได้ หน่วยกิตยังไม่ครบตามหลักสูตรคณะ ที่นักศึกษาสังกัด
4. นักศึกษาที่ถูกตัดคะแนนความประพฤติ ครั้งเดียวหรือหลายครั้ง รวมกันเกิน 20 คะแนน 5. สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร 6. ตาย 7. ลาออก
8. ถูกจำหน่ายชื่อออก หรือถูกถอนสภาพนักศึกษา เพราะ - ใช้หลักฐานการศึกษาปลอมสมัครเข้าเป็นนักศึกษา - ประพฤติผิดระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย อย่างร้ายแรง - ไม่ลงทะเบียนเรียนและไม่ได้ยื่นคำร้องขอลาพัก การศึกษาเพื่อรักษาสถานภาพนักศึกษาต่อสำนัก ทะเบียนนักศึกษา และไม่ชำระค่าธรรมเนียม ภายใน 30 วัน นับจากวันเปิดภาคการศึกษา
การลงโทษนักศึกษาที่ทุจริตในการสอบการลงโทษนักศึกษาที่ทุจริตในการสอบ นักศึกษาที่กระทำการทุจริตในการสอบจะต้องได้รับโทษซึ่งคณะกรรมการวินิจฉัยความผิด ได้กำหนดโทษตามลักษณะของความผิด
1. คณะกรรมการวินิจฉัยความผิด การวินิจฉัยความผิดให้กระทำโดยคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วย - ประธานกรรมการสอบไล่ หรือ ผู้ที่ประธาน กรรมการสอบไล่มอบหมายทำหน้าที่เป็นประธาน - กรรมการคุมสอบตึก อย่างน้อย 3 ท่าน - ผู้แทนจากสำนักทะเบียนนักศึกษา - ผู้แทนจากฝ่ายบริการการศึกษาและสวัสดิการ มติของคณะกรรมการวินิจฉัยความผิดในการกำหนดโทษนักศึกษาที่กระทำ หรือพยายามกระทำทุจริตให้ถือเป็นที่สุด
2. ลักษณะความผิดและบทลงโทษจะขึ้นอยู่กับลักษณะของการกระทำความผิด ดังต่อไปนี้ 2.1 ความผิดลักษณะที่หนึ่ง เป็นการกระทำโดย (1) นำเอกสารหรือสิ่งใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิชานั้นเข้าไปในห้องสอบโดยที่ผู้ออกข้อสอบไม่ได้อนุญาตไว้ในข้อสอบ หรือเข้าลักษณะตระเตรียมกระทำทุจริต
(2) ส่งคำตอบให้ผู้อื่นลอก หรือกำลังลอกหรือจะลอกคำตอบจากผู้อื่น ซึ่งส่งให้โดยวิธีส่งเอกสาร หรือมีการส่ง หรือรับข้อความโดยวิธีอื่นให้แก่กัน และมีหลักฐานอย่างเด่นชัด (3) สอบแทนกันในวิชาที่มีหรือไม่มีการบันทึกหน่วยกิต
นักศึกษาจะถูกลงโทษดังนี้นักศึกษาจะถูกลงโทษดังนี้ - ได้ F เฉพาะวิชาที่ทุจริตนั้น และได้ W ในวิชาอื่นที่ได้ลงทะเบียนไว้ในภาคการศึกษานั้นทุกวิชา และ - ถูกพักการเรียนหนึ่งปีการศึกษา (สองภาคการศึกษาปกติและหนึ่งภาคการศึกษาฤดูร้อน) โดยให้เริ่มพักการเรียนในภาคการศึกษาถัดไป ถ้าการกระทำความผิดนั้นมีบุคคลภายนอกร่วมด้วยมหาวิทยาลัยจะแจ้งให้สถาบันที่บุคคลนั้นสังกัดทราบเพื่อพิจารณาโทษต่อไป
2.2 ความผิดลักษณะที่สอง เป็นการกระทำความผิดโดยการลอกหรือพยายามลอกผู้อื่น หรือยินยอมให้ผู้อื่นลอกโดยมิได้ส่งเอกสารหรือข้อความให้แก่กัน โดยมีกรรมการคุมสอบอย่างน้อยสองคนเห็นพฤติกรรมดังกล่าวอย่างแน่ชัด โทษความผิดในลักษณะดังกล่าวนักศึกษาจะได้ F เฉพาะวิชาที่ทุจริตนั้น
2.3 ความผิดลักษณะที่สาม เป็นการกระทำความผิดโดยมีเอกสารหรือสิ่งใด ๆที่ไม่เกี่ยวข้องกับวิชานั้นไว้ในครอบครองเวลาสอบโดยพฤติกรรมที่ส่อว่า มีไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในการกระทำทุจริตไม่ชัดเจนโทษความผิดลักษณะดังกล่าว นักศึกษาจะถูกลงโทษอย่างใดอย่างหนี่งหรือหลายอย่างดังนี้
- ปรับตกในวิชาที่กระทำนั้น - เพิกถอนวิชาที่กระทำนั้น - ทำทัณฑ์บน - ตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร
2.4 ความผิดลักษณะที่สี่ ผู้ใดกระทำตามลักษณะที่หนึ่งถึงสามในการทดสอบย่อยหรือเก็บคะแนนระหว่างภาคการศึกษา ให้กรรมการวิชาการของแต่ละคณะเป็นผู้พิจารณาลงโทษอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างดังนี้
- ปรับตกในวิชาที่กระทำนั้น - เพิกถอนในวิชาที่กระทำนั้น - ได้คะแนน “ 0 ” ในการสอบย่อยหรือ เก็บคะแนน ครั้งนั้น - ทำทัณฑ์บน - ตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร
2.5 ความผิดลักษณะที่ห้า ในกรณีเกิดการกระทำทุจริตในการสอบอื่น นอกจากที่ระบุไว้แล้วหรือมีการกล่าวหาในภายหลังการสอบได้เสร็จสิ้นไปแล้วว่า ได้เกิดการกระทำทุจริตขึ้นในการสอบครั้งใด ให้คณะกรรมการวินิจฉัยความผิดพิจารณากำหนดโทษนักศึกษาที่กระทำหรือพยายามกระทำทุจริตได้ตามความร้ายแรงแล้วแต่กรณี
การย้ายคณะหรือเปลี่ยนสาขาวิชาการย้ายคณะหรือเปลี่ยนสาขาวิชา นักศึกษาที่มีความประสงค์จะขอย้ายคณะหรือเปลี่ยนสาขาวิชาสามารถทำคำร้องขอย้ายคณะหรือสาขาวิชาได้ที่ สำนักทะเบียนนักศึกษาโดยมีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
โดยปกติจะไม่อนุมัติให้ย้ายคณะจากคณะอื่นเข้าคณะนิเทศศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ และคณะมนุษยศาสตร์สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม
1. นักศึกษาภาคปกติ หลักสูตร 4 ปี จะต้องศึกษาอยู่ในคณะหรือสาขาวิชาเดิม ไม่น้อยกว่า 2 ภาคการศึกษา ทั้งนี้ไม่นับภาคการศึกษาที่ลาพักหรือให้พักการศึกษา 2. ในการยื่นคำร้องขอย้ายคณะหรือสาขาวิชานักศึกษาจะต้องแสดงเหตุผลประกอบการอนุมัติหรือให้อยู่ในดุลยพินิจของคณบดีที่เกี่ยวข้อง
3. การย้ายคณะหรือสาขาวิชาสามารถกระทำได้ไม่เกินสองครั้งตลอดการมีสถานสภาพเป็นนักศึกษา โดยยื่นคำร้องขออนุมัติจากคณบดีที่เกี่ยวข้อง และต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นก่อนการลงทะเบียนเรียนประจำภาคการศึกษานั้น ๆ
4. เมื่อได้รับอนุมัติให้ย้ายคณะหรือสาขาวิชาใหม่แล้ว นักศึกษาจะต้องแสดงความจำนงว่าวิชาต่าง ๆ ที่ได้ศึกษามาแล้ววิชาใดจะนำมาคำนวณเพื่อหาคะแนนเฉลี่ยสะสมโดยผ่านการอนุมัติจากคณบดีที่นักศึกษาขอย้ายเข้าสังกัดใหม่ และการคำนวณคะแนนเฉลี่ยสะสมใหม่ จะคำนวณเมื่อคะแนนของคณะหรือสาขาวิชาใหม่ได้แสดงผลการเรียนแล้ว
5. นักศึกษาที่ย้ายคณะหรือสาขาวิชาจะต้องชำระค่าธรรมเนียมตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
การขอย้ายรอบการศึกษา นักศึกษาขอย้ายรอบจากภาคปกติไปเรียนภาคค่ำ หรือจากภาคค่ำไปเรียนภาคปกติ โดยมีหลักเกณฑ์ ดังนี้
1. ลงทะเบียนเรียนมาแล้วไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต ไม่นับวิชาที่ขอเพิกถอน “ W ” 2. สอบได้คะแนนเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 2.00 ขึ้นไป 3. เมื่อได้รับอนุมัติให้ย้ายรอบแล้วจะต้องมีวิชา ที่เหลือลงทะเบียนต่อไปอีกอย่างน้อย 1 ปี การศึกษาตามหลักสูตรคณะที่นักศึกษาสังกัด
4. คณบดีคณะวิชาที่เกี่ยวข้องจะเป็นผู้พิจารณา อนุมัติการขอย้ายรอบของนักศึกษา 5. การขอย้ายรอบจะย้ายได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น เมื่อได้รับอนุมัติ ให้ย้ายแล้ว จะขอย้ายกลับไม่ได้ โดยเด็ดขาด 6. นักศึกษาชายที่ได้รับอนุมัติให้ย้ายรอบจะไม่มี สิทธิเรียนวิชาทหาร
7. นักศึกษาขอย้ายรอบที่มีผลการเรียนดี เมื่อ สำเร็จการศึกษาสอบได้คะแนนเฉลี่ยสะสม ตั้งแต่ 3.25 ขึ้นไป มีสิทธิได้รับปริญญา เกียรตินิยมตามระเบียบที่กำหนดไว้ 8. ผู้ที่ประสงค์ขอย้ายรอบต้องติดต่อที่ สำนัก ทะเบียนนักศึกษา ตามระยะเวลาที่กำหนด ไว้ในคู่มือลงทะเบียน
การลงทะเบียนข้ามภาค นักศึกษาภาคปกติและภาคค่ำที่ลงทะเบียนเรียนครบตามหลักสูตรปริญญาตรีที่คณะวิชากำหนดไว้แต่ยังไม่สำเร็จการศึกษา สามารถลงทะเบียนข้ามภาคในวิชาต่าง ๆ ที่เปิดสอนตามหลักสูตรภาคปกติหรือภาคค่ำได้ตามระเบียบมหาวิทยาลัยกรุงเทพว่าด้วยการศึกษาขั้นปริญญาตรีพุทธศักราช 2538โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
1. การลงทะเบียนข้ามภาค หมายถึง นักศึกษา ภาคปกติจะลงทะเบียนเรียนวิชาที่เปิดสอน ในภาคค่ำ หรือนักศึกษาภาคค่ำจะลงทะเบียน เรียนวิชาที่เปิดสอนในภาคปกติ
2. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิลงทะเบียนเรียนข้ามภาค 2.1 เป็นนักศึกษาที่ยังไม่สำเร็จการศึกษาเมื่อพ้นภาคการศึกษาสุดท้ายที่ควรจะสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรที่นักศึกษาสังกัด 2.2 เป็นนักศึกษาที่ลงทะเบียนในภาคการศึกษานั้น เป็นภาคสุดท้ายที่จะสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรที่นักศึกษาสังกัด
3. ถ้ามีวิชาใดที่เปิดสอนวิชาเดียวกันทั้งภาคปกติ และภาคค่ำ นักศึกษาจะลงทะเบียนเรียนวิชานั้น พร้อมกันทั้งภาคปกติและภาคค่ำไม่ได้ 4. ในกรณีที่มีการเปิดสอนวิชาเดียวกันทั้งภาคปกติ และภาคค่ำ นักศึกษาจะลงทะเบียนเรียนวิชาที่ เปิดสอนในภาคที่ตนสังกัดอยู่ เว้นแต่มีเหตุจำเป็น อันสมควรซึ่งอยู่ในดุลยพินิจของคณบดีคณะที่ นักศึกษาสังกัด
5. การลงทะเบียนเรียนข้ามภาค นักศึกษาภาคปกติ ลงทะเบียนทุกวิชารวมกันแล้วต้อง - ไม่เกิน 22 หน่วยกิต ในภาคปกติ หรือ - ไม่เกิน 10 หน่วยกิต ในภาคฤดูร้อน นักศึกษาภาคค่ำ ลงทะเบียนทุกวิชารวมกันแล้วต้อง - ไม่เกิน 18 หน่วยกิต ในภาคปกติ หรือ - ไม่เกิน 10 หน่วยกิต ในภาคฤดูร้อน
6. นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนข้ามภาค จะลงทะเบียน เรียนวิชาต่าง ๆ ได้เฉพาะวิชาที่มหาวิทยาลัย ประกาศเปิดสอนในภาคการศึกษาเท่านั้น 7. นักศึกษาที่มีคุณสมบัติเรียนข้ามภาคได้ และประสงค์ จะใช้สิทธิดังกล่าวนี้ ต้องขออนุมัติลงทะเบียนเรียน ข้ามภาคจากคณบดีที่นักศึกษาสังกัด และต้องติดต่อ ร้องขอลงทะเบียนเรียนข้ามภาคที่สำนักทะเบียน นักศึกษาภายในระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด
8. การลงทะเบียนเรียนข้ามภาคทุกกรณี ต้องได้ รับอนุมัติจากคณบดีที่นักศึกษาสังกัด 9. วิชาที่นักศึกษาขอลงทะเบียนเรียนข้ามภาค จะ ถือเป็นโมฆะในกรณี ดังต่อไปนี้ 9.1 มีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามประกาศนี้ 9.2 ลงทะเบียนเรียนโดยไม่ยื่นคำร้องขอ ลงทะเบียนข้ามภาคที่สำนักทะเบียนนักศึกษา