180 likes | 565 Views
การควบคุมภายใน. 1. สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน มีหนังสือที่ ตผ. 0007/ว300 ลง 3 ก.ย.52 แจ้งว่า สตง. ได้จัดทำหนังสือแนวทางการจัดวางระบบการควบคุมภายในและการประเมินผลการควบคุมภายในขึ้นใหม่และให้หน่วยใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติตั้งแต่ ปีงบประมาณ 52 เป็นต้นไป
E N D
การควบคุมภายใน 1. สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน มีหนังสือที่ ตผ. 0007/ว300 ลง 3 ก.ย.52 แจ้งว่า สตง. ได้จัดทำหนังสือแนวทางการจัดวางระบบการควบคุมภายในและการประเมินผลการควบคุมภายในขึ้นใหม่และให้หน่วยใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติตั้งแต่ปีงบประมาณ 52 เป็นต้นไป 2. ให้ยกเลิกหนังสือคำแนะนำการจัดทำรายงานการควบคุมภายในตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ.2544 เล่มที่ 1 (รายงานตามระเบียบฯ ข้อ 5) และเล่มที่ 2 (รายงานตามระเบียบฯ ข้อ 6)
คำรับรองการปฏิบัติราชการคำรับรองการปฏิบัติราชการ แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี (แผนบริหารราชการแผ่นดิน) ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล พัฒนา องค์กร คุณภาพ Vision Mission Strategic เป้าประสงค์ การปรับกระบวนทัศน์ (I am Ready) ลักษณะสำคัญขององค์กร สภาพแวดล้อม ความสัมพันธ์ และความท้าทาย 2. การวางแผน เชิงยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์ 5. การมุ่งเน้น ทรัพยากรบุคคล แผนแม่บทด้านทรัพยากรบุคคล 3-5 ปี (Competency) ระบบควบคุมภายใน 1. การนำ องค์กร 7. ผลลัพธ์ การดำเนินการ Blueprint for Change 3. การให้ความสำคัญ กับผู้รับบริการและ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 6. การจัดการ กระบวนการ Redesign Process การลดขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติงาน Capacity Building 4. การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ Knowledge Management e-government MIS เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ทร.ให้ นขต.ทร.เริ่ม งป.54
เป้าหมายการควบคุมภายใน 3 เป้าหมายหลัก การควบคุมภายใน หมายถึง กระบวนการที่ผู้กำกับดูแลฝ่ายบริหารและบุคลากรทุกระดับ กำหนดให้มีขึ้นเพื่อให้มีความมั่นใจอย่างสมเหตุผลว่า การปฏิบัติงานจะบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. การดำเนินงาน(Operation : O) หมายถึงการบริหารจัดการ การใช้ทรัพยากรให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผล รวมถึงการดูแลรักษาทรัพย์สิน การป้องกันหรือลดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล การสิ้นเปลือง หรือการทุจริตของหน่วย 2. การรายงานทางการเงิน(Financial : F) หมายถึง รายงานทางการเงินที่จัดทำขึ้น เป็นไปอย่างถูกต้อง เชื่อถือได้ และทันเวลา 3. การปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง(Compliance : C)
แนวคิดการควบคุมภายใน 1. การควบคุมภายในเป็นกระบวนการที่ รวมไว้หรือเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงานตามปกติ 2. การควบคุมภายในเกิดขึ้นได้โดยบุคลากรของหน่วย - ผู้บริหาร เป็นผู้รับผิดชอบในการกำหนดและจัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่มีประสิทธิผล - บุคลากรอื่น มีหน้าที่รับผิดชอบโดยการปฏิบัติตามระบบการควบคุมภายในที่ฝ่ายบริหารกำหนดขึ้น 3. การควบคุมภายในให้ความมั่นในอย่างสมเหตุผลว่าการปฏิบัติงานจะบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด
มาตรฐานการควบคุมภายในมาตรฐานการควบคุมภายใน เป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติงาน ซึ่งมี 5 องค์ประกอบดังนี้ 1. สภาพแวดล้อมของการควบคุม 2. การประเมินความเสี่ยง 3. กิจกรรมการควบคุม 4. สารสนเทศและการสื่อสาร 5. การติดตามประเมินผล
การจัดวางระบบการควบคุมภายใน มี 7 ขั้นตอน 1. กำหนดวัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน โดย 1.1 กำหนดภารกิจ 1.2 กำหนดวัตถุประสงค์(ผลลัพธ์ที่ต้องการ) ในระดับภารกิจ 1.3 กำหนดกิจกรรมที่ทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ 1.4 กำหนดวัตถุประสงค์(ผลลัพธ์ที่ต้องการ) ในระดับกิจกรรม 2. ค้นหาความเสี่ยงต่างๆ ที่มีนัยสำคัญ ที่อาจทำให้การดำเนินงานไม่บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์
3. พิจารณาการควบคุมที่มีอยู่แล้วว่าสามารถป้องกันหรือลดความเสี่ยงได้ในระดับใด 4. ระบุกิจกรรมการควบคุมใหม่ เพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยงที่เหลือ ให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ 5. ประมาณการต้นทุนที่ต้องใช้ในการจัดให้มีและดำรงรักษากิจกรรมการควบคุม ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายต้องไม่สูงกว่าประโยชน์ที่จะได้รับจากการมีกิจกรรมการควบคุม 6. จัดทำแผนการนำกิจกรรมการควบคุมนั้นมาใช้ 7. นำกิจกรรมการควบคุมไปปฏิบัติ และติดตามผล
การควบคุมภายใน ระดับบริหาร: จะเป็นการกำหนดแนวทางหรือวิธีการในการควบคุมเพื่อให้หน่วยระดับปฏิบัตินำไปปฏิบัติ ระดับปฏิบัติ: จะเป็นการดำเนินการควบคุมหรือบริหารความเสี่ยงในแต่ละกระบวนงานที่สำคัญ
การควบคุมภายในเป็นกระบวนการที่รวมไว้หรือเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงานตามปกติการควบคุมภายในเป็นกระบวนการที่รวมไว้หรือเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงานตามปกติ
การประเมินผลการควบคุมภายในการประเมินผลการควบคุมภายใน แนวทางฯ ฉบับใหม่ได้จัดทำเครื่องมือสำหรับให้หน่วยใช้ในการประเมินการควบคุมภายในของหน่วย เพื่อให้หน่วยรู้ว่าการควบคุมขณะนี้เป็นอย่างไร และจะต้องพัฒนาการควบคุมภายในต่อไปอย่างไร เช่นเดียวกับเกณฑ์คุณภาพของ PMQA หรือ HA = เป็นเครื่องมือในการพัฒนาการควบคุมภายใน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน เนื่องจากเกณฑ์การประเมินที่เหมาะสมของแต่ละหน่วยไม่เหมือนกัน 100% เพราะมีบริบทต่างกัน สตง. จึงเสนอเกณฑ์การประเมินที่ทุกหน่วยควรจะมี เป็นตัวอย่างไว้ดังนี้(เพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม) ผนวก ก. ตัวอย่าง แบบประเมินองค์ประกอบการควบคุมภายใน ตามมาตรฐานการควบคุมภายใน ผนวก ข. ตัวอย่าง แบบสอบถามการควบคุมภายใน ด้านต่างๆ ซึ่ง เพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม และสามารถใช้เกณฑ์ของ PMQA , ISO , HA ในด้านที่เกี่ยวข้องได้
ผนวก ก. ตัวอย่างแบบประเมินองค์ประกอบการควบคุมภายใน(หน้า 85) • เป็นรายละเอียดสิ่งที่ควรจะเป็น/มี ในแต่ละองค์ประกอบการควบคุมภายใน • สามารถปรับปรุงเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม
ผนวก ข. ตัวอย่างแบบสอบถามการควบคุมภายใน ด้านต่างๆ (หน้า 99) ชุดที่ 1 ด้านการบริหาร ชุดที่ 2 ด้านการเงิน ชุดที่ 3 ด้านการผลิต / บริการ ชุดที่ 4 ด้านอื่นๆ ได้แก่ - การบริหารงานบุคคล - ระบบสารสนเทศ - การบริหารพัสดุ
การสรุปและรายงานผลการประเมินการสรุปและรายงานผลการประเมิน เหลือแบบรายงาน 2 แบบ จาก 6 แบบ - แบบ ปย.1รายงานผลการประเมินองค์ประกอบการควบคุมภายใน - แบบ ปย.2 รายงานการประเมินผลและการปรับปรุงการควบคุมภายใน
กำหนดการรายงาน 1. ภายใน 31 มี.ค.53 แบบ ปย.2 2. ภายใน 30 ก.ย.53 แบบ ปย.1 และ ปย.2