420 likes | 489 Views
อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล. PPE. “ ทุกสิ่งทุกอย่างต้องดำเนินไปด้วย ความปลอดภัยเสมอ ”. ความปลอดภัยในทีม. ต้องใช้ PPE ในกรณีที่มีความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิด การบาดเจ็บได้ การใช้ PPE ไม่สามารถใช้เป็นหลักแทนการควบคุมทางวิศวกรรม และ/หรือการควบคุมของฝ่ายบริหารจัดการได้
E N D
อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล PPE
“ทุกสิ่งทุกอย่างต้องดำเนินไปด้วย“ทุกสิ่งทุกอย่างต้องดำเนินไปด้วย ความปลอดภัยเสมอ ” ความปลอดภัยในทีม
ต้องใช้PPE ในกรณีที่มีความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิด การบาดเจ็บได้ การใช้ PPEไม่สามารถใช้เป็นหลักแทนการควบคุมทางวิศวกรรม และ/หรือการควบคุมของฝ่ายบริหารจัดการได้ การใช้ PPEมิได้เป็นการขจัดอันตรายให้หมดไปอย่างสิ้นเชิง ดังนั้น ถ้าหากว่าอุปกรณ์มีการชำรุดเสียหาย หมายความว่าอันตรายสามารถ เกิดขึ้นได้เสมอ เพื่อเป็นการป้องกันอันตราย จะต้องสวมใส่PPEอยู่เสมอ PPE
ประเมินหาความเสี่ยงในการเกิดอันตรายในสถานที่ทำงาน ประเมินหาความเสี่ยงในการเกิดอันตรายในสถานที่ทำงาน เลือกและจัดหาPPEที่มีความเหมาะสมสำหรับการปฏิบัติงาน ของพนักงานแต่ละฝ่าย ฝึกอบรมพนักงานให้สามารถใช้ PPEได้อย่างถูกวิธี มาตรฐานการใช้ PPE
นายจ้างต้องประเมินความเสี่ยงในสถานที่ทำงาน ที่มีความ จำเป็นต้องใช้PPE อันตรายที่เกิดขึ้น รวมถึงการรั่วไหลของสารเคมี วัสดุตก หล่น ความผิดปกติต่างๆ อุณหภูมิที่สูงมาก รังสี การ ทำงานของอุปกรณ์และอุปกรณ์ควบต่างๆ หรือของมีคม เป็นต้น การประเมินความเสี่ยง
จะต้องสามารถป้องกันความเสี่ยงในการเกิดอันตรายที่เหมือนกันให้แก่ พนักงานแต่ละคนที่ปฏิบัติงานเหมือนกันได้ มีการออกแบบและผลิตที่ปลอดภัย ถูกต้องตามหลักอาชีวอนามัยและมีความคงทน ต้องมีความกระชับและพอดีกับพนักงานแต่ละคน ตรงตามมาตรฐานที่กำหนด หรือมาตรฐานอื่นที่ผ่านการรับรองแล้ว การเลือกใช้ PPE
เพื่อให้ทราบว่าเมื่อใดจำเป็นต้องใช้ PPE เพื่อให้ทราบถึงความสำคัญของPPE เพื่อให้ทราบถึงวิธีการสวมใส่ การถอด และการปรับแต่งต่างๆ เพื่อให้ทราบถึงข้อจำกัดต่างๆของPPEแต่ละชนิด เพื่อให้ทราบถึงวิธีการบำรุงรักษา วิธีใช้และการทำความสะอาด ที่ถูกต้องเหมาะสม จุดประสงค์ในการฝึกอบรมการใช้ PPE
เมื่อมีการการเปลี่ยนแปลงลักษณะงาน เมื่อมีการการเปลี่ยนแปลงลักษณะงาน มีการเปลี่ยนแปลงของประเภทของ PPEที่นำมาใช้ พนักงานมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ PPEยังไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าพนักงานไม่ได้ให้ความเอาใจใส่กับการ ฝึกอบรมในครั้งที่ผ่านมาเท่าที่ควร เมื่อใดที่ต้องมีการฝึกอบรมการใช้ PPE ซ้ำ
ช่องทางของการเกิดอันตรายช่องทางของการเกิดอันตราย • การสูดดม • การซึมผ่านทางผิวหนัง • การกลืน • หัวใจสำคัญของความปลอดภัยก็คือ การมีความรู้ความเข้าใจในอันตรายและวิธีการป้องกันตนเอง
ป้องกันใบหน้าและดวงตา ป้องกันใบหน้าและดวงตา ป้องกันการสูดดม ป้องกันศีรษะ ป้องกันเท้า อุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้า ป้องกันผิวหนังและมือ ป้องกันเสียง ประเภทของอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล
เพื่อป้องกันพนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในบริเวณที่มีอันตรายต่อใบหน้าและดวงตา จากการกระเด็นของวัสดุต่างๆ โลหะที่มีความร้อน สารเคมีเหลว กรด ด่าง ไอของสารเคมีหรือรังสี การป้องกันใบหน้าและดวงตา
LENS-ทำหน้าที่รวมแสง IRIS-ควบคุมปริมาณแสงที่จะเข้ามาที่ดวงตา RECEPTORS-จับภาพ OPTIC NERVE-ทำหน้าที่เป็นสายส่งข้อมูลจาก RECEPTORS ในดวงตาไปยังสมอง ดวงตาประกอบด้วยเนื้อเยื่อและเส้นเลือดจำนวนมาก ดวงตา
ในแต่ละปีมีผู้คนจำนวนมากต้องตาบอด เนื่องจากการทำงานที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตราย ซึ่งถ้าหากมีการป้องกันใบหน้าและดวงตาที่ดีแล้วนั้น ก็จะสามารถป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นได้ การป้องกันใบหน้าและดวงตา
แว่นตา แว่นตาสำหรับกันลมและฝุ่น ฝาครอบสำหรับบังใบหน้า หมวก/แว่นตาสำหรับงานเชื่อม ประเภทของการป้องกันใบหน้าและดวงตา
เพื่อป้องกันอันตรายให้กับพนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในบริเวณที่การควบคุมทางด้านวิศวกรรมไม่สามารถป้องกันพนักงานจากอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากฝุ่นละออง หมอก ควัน หรือไอของสารเคมีได้ การป้องกันการสูดดม
การสูดดมสารที่เป็นพิษต่อร่างกายเป็นผลทำให้ปอดได้รับอันตรายการสูดดมสารที่เป็นพิษต่อร่างกายเป็นผลทำให้ปอดได้รับอันตราย เมื่อปอดได้รับอันตราย ก็มีความเสี่ยงในการเกิดโรคทางระบบหายใจได้ง่ายขึ้น สารพิษส่วนใหญ่ที่สูดดมเข้าสู่ร่างกายจะเข้าสู่กระแสเลือด อันตรายต่อปอด
ระดับของอันตรายเกินกว่า PEL ในระหว่างการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆทางด้านวิศวกรรม หรือการ ควบคุมการปฏิบัติงาน การซ่อมแซมและบำรุงรักษาอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลประเภทนี้ ต้องให้อุปกรณ์สามารถใช้งานได้ดีมากกว่าที่ PELกำหนดไว้ มีการตอบสนองฉุกเฉินเมื่อไม่ทราบประเภท และ/หรือความ เข้มข้นของสารพิษ ใช้อย่างสม่ำเสมอ การป้องกันการสูดดม
แบบฟอกอากาศ แบบให้ออกซิเจนเพิ่ม แบบผสมทั้ง 2 ประเภท ประเภทของเครื่องกรองอากาศ
การตรวจทางการแพทย์ คัดเลือกตามอันตรายที่จะเกิดขึ้น ทดสอบการสวมใส่ให้กระชับ ขนที่ใบหน้า ตรวจสอบสภาพของอุปกรณ์ ฝึกอบรมเป็นการเฉพาะตามแต่ลักษณะของการปฏิบัติงาน ข้อจำกัดต่างๆ การป้องกันการสูดดม
เพื่อป้องกันอันตรายให้กับพนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในบริเวณที่มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดอันตรายแก่ศีรษะ จากการตกหรือเคลื่อนที่ของวัสดุต่างๆ หรือในบริเวณที่กระแสไฟฟ้าสามารถมาสัมผัสที่ศีรษะได้ การป้องกันศีรษะ
การป้องกันศีรษะ อันตรายที่เกิดขึ้นต่อศีรษะ อาจรวมถึงอันตรายต่อ—สมอง—ดวงตา—จมูก—ปาก—ซึ่งจากประเด็นนี้ การป้องกันความปลอดภัยให้แก่ศีรษะจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง
อันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้อันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ การถูกไฟฟ้าช็อต การถูกกระแทกที่ศีรษะ การโดนสารเคมี การตกหล่นหรือกระเด็นของวัสดุต่างๆจะทำให้ศีรษะเกิดอาการเคล็ด แตกและสมองได้รับการกระทบกระเทือน ทำให้กระตุกเกร็งและเกิดแผลไฟไหม้ขึ้น สารเคมีต่างๆจะทำให้ดวงตาและผิวเกิดอาการแสบและระคายเคืองได้
หมวกกันกระแทกและหมวกแข็งหมวกกันกระแทกและหมวกแข็ง ประเภท 1—มีขอบรอบ ประเภท 2—ไม่มีขอบรอบ ระดับ 1—ลดแรงกระแทกจากวัสดุที่ตกหล่น และลดอันตรายจากการสัมผัสสื่อไฟฟ้าแรงดันต่ำ (ผ่านการทดสอบการป้องกันกระแสไฟฟ้าที่ 2, 200 โวลต์) ระดับ 2—ลดแรงกระแทกจากวัสดุที่ตกหล่น และลดอันตรายจากการสัมผัสสื่อไฟฟ้าแรงดันสูง (ผ่านการทดสอบการป้องกันกระแสไฟฟ้าที่ 22, 000 โวลต์) ระดับ 3—ลดแรงกระแทกจากวัสดุที่ตกหล่น แต่ไม่สามารถป้องกันกระแสไฟฟ้าได้ การป้องกันศีรษะ
ข้อจำกัดคือ การลดแรงกระแทกของวัสดุขนาดเล็กที่ตกลงมาแทงหรือทะลุส่วนบนของหมวกได้ (ข้อนี้ความหมายไม่ชัดเจนครับ) ไม่มีการป้องกันการกระแทก หรือการแทงมาจากด้านหน้า ด้านข้างหรือด้านหลัง ตรวจสอบสภาพของหมวกทุกวัน เพื่อดูรอยแตกร้าว หรือความเสียหายที่เกิดขึ้นกับหมวกจากการกระแทกหรือจากการปฏิบัติงาน ถ้าตรวจสอบพบความเสียหายใดๆ ให้ยกเลิกการใช้อุปกรณ์นั้นและนำไปซ่อมแซม การป้องกันศีรษะ
• เพื่อป้องกันอันตรายให้กับพนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในบริเวณที่อาจเกิดอันตรายต่อเท้า จากการตกหล่นหรือการกลิ้งของวัสดุ การลื่นหรือวัสดุที่สามารถแทงพื้นรองเท้าได้ และในบริเวณที่อาจเกิดอันตรายจากกระแสไฟฟ้า การป้องกันเท้า
อันตรายที่อาจเกิดขึ้นอันตรายที่อาจเกิดขึ้น การกระแทก สารเคมีที่หยดลงมา การโดนทับ ไฟฟ้า ลื่นไถล อุณหภูมิ
ป้องกันนิ้วเท้าจากการถูกกระแทกและโดนทับป้องกันนิ้วเท้าจากการถูกกระแทกและโดนทับ ป้องกันความปลอดภัยให้กับกระดูกเท้า ป้องกันอันตรายจากกระเสไฟฟ้า (ไม่เกิน 600 โวลต์ภายใต้สภาวะแห้ง) ป้องกันการเป็นสื่อไฟฟ้า (ลดปริมาณไฟฟ้าสถิตให้เหลือน้อยที่สุด) ป้องกันพื้นรองเท้าจากการถูกเจาะหรือแทง การป้องกันเท้า
มีพื้นรองเท้าที่ป้องกันการลื่นมีพื้นรองเท้าที่ป้องกันการลื่น ใช้ได้กับสิ่งแวดล้อมต่างๆ เลือกขนาดที่เหมาะสมกับตนเอง ตรวจสอบร่องรอยการฉีดขาด แตก การสึกของพื้นรองเท้าตลอดจนความเสียหายอื่นๆ ดูแลรักษาตามคำแนะนำของผู้ผลิต กระบวนการแลกเปลี่ยนรองเท้า การป้องกันเท้า
เพื่อป้องกันอันตรายให้กับพนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในบริเวณที่อาจได้รับอันตรายจากกระแสไฟฟ้าเพื่อป้องกันอันตรายให้กับพนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในบริเวณที่อาจได้รับอันตรายจากกระแสไฟฟ้า วัสดุที่ดีที่สุดก็คือ ยาง ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของ ANSI ซึ่งได้แก่ถุงมือยาง วัสดุปูพื้น ผนัง ฝาครอบอุปกรณ์ต่างๆ ถุงเท้าและเสื้อซับใน อุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้า
เพื่อป้องกันอันตรายให้กับพนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในบริเวณที่ร่างกายและมืออาจได้รับอันตรายจากสารเคมีที่จะซึมเข้าสู่ผิวหนัง การถูกบาดหรือถลอก หรือการเผาไหม้จากความร้อนหรือสารเคมี เป็นต้น การป้องกันต้องมีความเหมาะสมตามแต่อันตรายที่จะเกิดขึ้น การป้องกันผิวหนังและมือ
อันตรายที่อาจเกิดขึ้นอันตรายที่อาจเกิดขึ้น การเกิดแผล อันตรายจากการสัมผัส การทำซ้ำๆ ถูกบาด เจาะ อาการเคล็ดหรือถูกกระแทกจากอุปกรณ์ต่างๆ สัมผัสกับสารเคมีที่เป็นพิษ สารชีวเคมี กระแสไฟฟ้าหรืออุณหภูมิที่สูงมากๆ การเคลื่อนไหวของมือที่ซ้ำมากๆในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
ขึ้นอยู่กับประเภทของอันตรายขึ้นอยู่กับประเภทของอันตราย ตรวจสอบกับ MSDS เพื่อศึกษาอันตรายจากสารเคมี ถุงมืออาจไม่จำเป็นสำหรับงานทุกประเภท ซึ่งในบางงานนั้น การใส่ถุงมืออาจก่อให้เกิดอันตรายได้ อาการแพ้ ต่อยางไม้สดหรือฝุ่นละออง เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ การเลือกถุงมือ / เครื่องแต่งกาย
ทำมาจากวัสดุที่เหมาะสม อย่างไรก็ตามไม่มีวัสดุใดที่สามารถป้องกันสารเคมีทุกชนิดได้ อาจใช้ป้องกันสารเคมีชนิดหนึ่งได้ดี แต่อาจเกิดอันตรายหากใช้ป้องกันสารเคมีชนิดอื่น คำแนะนำของโรงงานผู้ผลิตในการป้องกันสารเคมี ควรระมัดระวังการรวมกันของสารเคมี การทำความสะอาดและการเลิกใช้ อนามัยส่วนบุคคล : การทำความสะอาดส่วนบุคคล การเลือกถุงมือ / เครื่องแต่งกาย
ความสามารถในกานป้องกันสารเคมีแต่ละชนิดความสามารถในกานป้องกันสารเคมีแต่ละชนิด • ความสามารถในการป้องกันสารเคมีแต่ละชนิด • วัสดุที่ใช้ทำถุงมือ (NITRILE)—สารเคมีที่ใช้ในการทดสอบ (ไอโซโพรพานอล)—การเสื่อมสภาพ (E)—ระยะเวลาการเจาะทะลุ (>480 นาที)—อัตราการแทรกซึม (.001) • ระยะเวลาการเจาะทะลุ: คือระยะเวลาระหว่างที่สารเคมีเริ่มสัมผัสพื้นผิวของถุงมือ และ ระยะเวลาที่มีการตรวจพบสารเคมีในถุงมือ โดยทั่วไปจะแสดงไว้โดยเครื่องหมาย “มากกว่า” (>) จากตัวอย่างนี้พบว่า ใช้เวลาทั้งสิ้น 480 นาทีจากนั้นก็หยุดลง และอาจจะแสดงค่านี้ไว้ว่า ND เมื่อไม่มีการตรวจพบสารเคมีนั้นๆ • การเสื่อม: คือการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางกายภาพอย่างใดอย่างหนึ่งของถุงมือเมื่อสัมผัสกับสารเคมี ซึ่งได้แก่ การพองนูน อ่อนนุ่มลง หดหรือฉีกขาด จากตัวอย่างนี้ มีค่าอยู่ที่ E ซึ่งคือดีมาก หมายความว่าถุงมือชนิดนี้ไม่มีการเสื่อมสภาพหรือมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเมื่อสัมผัสกับสารเคมีที่นำมาทดสอบ ทั้งนี้อัตราการเสื่อมสภาพที่ดีไม่ได้เป็นการรับประกันว่าระยะเวลาการเจาะทะลุจะดีไปด้วย • อัตราการแทรกซึม: คือระยะเวลาที่สารเคมีชนิดหนึ่งๆสามารถซึมผ่านถุงมือเข้าไปได้ กระบวนการนี้เกี่ยวข้องกับการซึมที่พื้นผิวของถุงมือ ตลอดจนการแพร่กระจายของสารเคมีไปทั่วทั้งถุงมือ และการออกทางผิวด้านในของถุงมือ ทั้งนี้มีหน่วยเป็น pg/cm2/MIN (ไม่โครกรัม/ตารางเซนติเมตร/นาที) ควรมีค่าไม่เกิน LDL หรือ Lower Detection Limit ของอุปกรณ์ จากตัวอย่างนี้ มีค่าเท่ากับ 0.001 แต่บางครั้งอาจแสดงค่าเป็น E หรือ P ซึ่งคือ ดีมาก หรือ ไม่ดี ตามลำดับ
ความหนา—ต้องพิจารณาเรื่องความยึดหยุ่นและความรู้สึก (ของมือ) ที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน ความคงทน ผ้าซับในและผิวหน้าของถุงมือ การเลือกถุงมือ
เพื่อป้องกันอันตรายให้กับพนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในบริเวณที่อาจเกิดอันตรายจากเสียงที่มีระดับความดังมาก (8 ชม. TWA> 85 เดซิเบล) แนะนำให้ใช้ในบริเวณที่มีเสียงสูงมากๆ เช่น MER และสำหรับใช้ในขณะที่ปฏิบัติงานที่ก่อให้เกิดเสียงสูง ต้องมี NNR ที่เหมาะสม การป้องกันเสียง
การป้องกันเสียง เป็นอันตรายต่อโครงสร้างที่อ่อนแอของหู ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการสูญเสียประสิทธิภาพการได้ยิน 2 ประเภท ดังนี้ • การสื่อ—ขัดขวางการส่งถ่ายเสียงไปยังหูชั้นใน—ส่วนใหญ่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด • ประสาทสัมผัส—เกี่ยวกับอวัยวะที่เรียกว่า Corti และเส้นประสาทที่ใช้สำหรับการฟัง—ส่วนใหญ่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ ในสถานที่ทำงานนั้น การสูญเสียประสิทธิภาพในการฟังส่วนใหญ่คือการสูญเสียของประสาทสัมผัส
ควรตรวจสอบสภาพของ PPEอย่างสม่ำเสมอ เพื่อดูความเสียหายต่างๆทั้งก่อนและหลังการใช้งาน จะต้องทำความสะอาด PPEก่อนนำไปเก็บ จัดเก็บ PPE อย่างเหมาะสมและหลีกเลี่ยงสภาวะต่างๆที่อาจก่อความเสียหายได้ เช่นความร้อน แสง หรือความชื้น เป็นต้น การดูแลรักษา PPE
หัวหน้าแผนกเป็นผู้จัดหา PPE ให้แก่พนักงาน หากพนักงานไม่มี PPEใช้เมื่อต้องปฏิบัติงาน ให้แจ้งหัวหน้าแผนกทันที พนักงานจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายหรือสูญหายของ PPE พนักงานจะต้องปฏิบัติตามนโยบายการใช้ PPE การรับและการเปลี่ยนPPE
พนักงานต้องใช้PPEให้ถูกต้อง ตามที่ได้รับการฝึกอบรมมาและตามคำแนะนำต่างๆ การปฏิบัติงานส่วนใหญ่จำเป็นต้องใช้PPEแทบทั้งสิ้น การใช้ PPE เป็นข้อกำหนดหนึ่งในการปฏิบัติงาน กรณีพนักงานไม่สามารถใช้ PPE ใดได้ ต้องเลือก PPEชนิดอื่นให้ใช้แทน ทั้งนี้อุปกรณ์ดังกล่าวต้องสามารถป้องกันอันตรายในการปฏิบัติงานนั้นได้ หรือพนักงานผู้นั้นต้องเปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่ไป ความรับผิดชอบของพนักงาน
พนักงานไม่มีสิทธิเลิกใช้PPE โดยจะยอมรับความเสี่ยงจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน พนักงานไม่สามารถหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบได้ ไม่อนุญาตให้พนักงานเข้าไปปฏิบัติงานในสถานที่ที่อาจเกิดอันตรายโดยไม่มีการป้องกันใดๆ PPE มีไว้สำหรับเพื่อป้องกันอันตรายให้กับพนักงาน ความรับผิดชอบของพนักงาน
นายจ้างควรแน่ใจว่า พนักงานได้รับและใช้PPE อย่างเหมาะสมถูกต้องแล้ว เมื่อจะเข้าไปปฏิบัติงานในสถานที่ที่เป็นอันตราย การใช้PPEควรเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานของพนักงาน และต้องมีการบังคับใช้ให้เป็นเช่นเดียวกับกฎข้อบังคับอื่นๆ ความรับผิดชอบของนายจ้าง