560 likes | 864 Views
ค่าเช่าบ้าน โดย พ.ต.ต.หญิง กาญจนา สงวนเขียว สว. งานงบดำเนินงาน 3 ฝ่ายการเงิน 2 โทร. 02-205-2103,02-205-2339. กฎหมายที่ใช้บังคับในปัจุบัน. พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2547 หนังสือเวียน ด่วนทีสุด ที่ กค 0409.5/ ว 32 ลง 19 มกราคม 2548
E N D
ค่าเช่าบ้านโดย พ.ต.ต.หญิง กาญจนา สงวนเขียวสว. งานงบดำเนินงาน 3 ฝ่ายการเงิน 2โทร. 02-205-2103,02-205-2339
กฎหมายที่ใช้บังคับในปัจุบัน • พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2547 • หนังสือเวียน ด่วนทีสุด ที่ กค 0409.5/ ว 32 ลง 19 มกราคม 2548 • พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 • หนังสือเวียน ที่ กค 0409.5/ ว 450 ลง 27 ธันวาคม 2550 • ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับ การเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2549 • หนังสือเวียน ด่วนทีสุด ที่ กค 0409.5/ ว 162 ลง 10 พฤศจิกายน 2550 • หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการจัดข้าราชการเข้าพักอาศัยในที่พัก ของทางราชการ • หนังสือเวียน ที่ กค 0409.5/ ว 2 ลง 29 มกราคม 2550
บุคคลผู้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านตามกฎหมายนี้บุคคลผู้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านตามกฎหมายนี้ 1.ข้าราชการพลเรือน 2.ข้าราชการฝ่ายตุลาการ 3.ข้าราชการอัยการ 4.ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย 5.ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา 6.ข้าราชการตำรวจ 7.ข้าราชการทหาร 8.ข้าราชการครู
คำนิยามตามกฏหมายที่สำคัญคำนิยามตามกฏหมายที่สำคัญ “เงินเดือน” หมายความว่า เงินเดือนสุทธิที่ข้าราชการได้รับ ทั้งนี้ เมื่อหักเงินเบิกลดเนื่องจาก การปรับชั้นเงินเดือนออกแล้ว และรวมกับเงินเพิ่มพิเศษรายเดือน สำหรับค่าวิชา (พ.ค.ว.) หรือเงินเพิ่มการเลื่อนฐานะ (พ.ล.ฐ.) หรือสำหรับประจำตำแหน่งที่ต้องฝ่าอันตรายเป็นปกติหรือสำหรับ การสู้รบ (พ.ส.ร.)
การพิจารณาว่าเป็นการย้ายต่างท้องที่หรือไม่ การพิจารณาว่าเป็นการย้ายต่างท้องที่หรือไม่ คำนิยามว่า “ท้องที่” คือ 1.กรุงเทพมหานคร 2. กรณีเป็นต่างจังหวัดคือ อำเภอ กิ่งอำเภอ 3.ท้องที่ที่กระทรวงการคลังกำหนดให้เป็นท้องที่เดียวกันตามมาตรา ๕ ยังไม่มีเคยกำหนด
การเกิดสิทธิได้รับค่าเช่าบ้าน มี 2 กรณี 1.ข้าราชการได้รับคำสั่งให้เดินทางเฉพาะบุคคล ตามมาตรา 7 2. ข้าราชการได้รับคำสั่งให้เดินทางทั้งสำนักงาน ตามมาตรา 8
การเกิดสิทธิได้รับค่าเช่บ้าน กรณีที่ 1 • มาตรา7แห่งพรฎ 2547 ข้าราชการผู้ใดได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเท่าที่ต้องจ่ายจริงตามที่สมควรแก่สภาพแห่งบ้าน แต่อย่างสูงไม่เกินจำนวนเงินที่กำหนดไว้ตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ทั้งนี้ เว้นแต่ผู้นั้น • (1) ทางราชการได้จัดที่พักอาศัยให้อยู่แล้ว • (2) มีเคหสถานอันเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองหรือคู่สมรสในท้องที่ที่ไปประจำสำนักงานใหม่ โดยไม่มีหนี้ค้างชำระกับสถาบันการเงิน • (3) ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานใหม่ในท้องที่ที่เริ่มรับราชการครั้งแรกหรือท้องที่ที่กลับเข้ารับราชการใหม่ถูกยกเลิกโดยพรฎ ฉ 2 2551 วันที่ 11 ธันวาคม 2550 • (4) ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานใหม่ในต่างท้องที่ตามคำร้องขอของตนเอง
มาตรา 3แห่งพรฎ ฉบับที่ 2 2550แก้ไขมาตรา 7 ที่ (1) ทางราชการได้จัดที่พักอาศัยให้อยู่แล้ว มาตรา 7 ข้าราชการผู้ใดได้รับคำสั่งให้เดินทาง ไปประจำสำนักงาน ในต่างท้องที่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเท่าที่ต้องจ่ายจริงตามที่สมควรแก่สภาพแห่งบ้าน แต่อย่างสูงไม่เกินจำนวนเงินที่กำหนดไว้ตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ทั้งนี้ เว้นแต่ผู้นั้น (2) มีเคหสถานอันเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองหรือคู่สมรสในท้องที่ที่ไปประจำสำนักงานใหม่โดยไม่มีหนี้ค้างชำระกับสถาบันการเงิน (3) ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานใหม่ในต่างท้องที่ตาม คำร้องขอของตนเอง ความในวรรคหนึ่ง ให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการผู้ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่ ที่เป็นท้องที่ที่เริ่มรับราชการครั้งแรกหรือท้องที่ที่กลับเข้ารับราชการใหม่ด้วย
จังหวัดนครราชสีมา กรุงเทพ ไม่กำหนดระยะเวลา หรือ 1 ปี อ.เมือง สาธร อ.สีคิ้ว บางแค อ.วังน้ำเขียว บางเขน 9 เดือน ดอนเมือง มีนบุรี
มาตรา 7 แห่งพรฎ ฉบับที่ 2 2550 สิทธิของข้าราชการผู้ที่ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในท้องที่ที่เริ่มรับราชการครั้งแรกหรือท้องที่ที่กลับเข้ารับราชการใหม่ ให้เริ่มมีสิทธิการได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเมื่อได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่ตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับ มีผลใช้บังคับวันที่วันที่ 11 ธันวาคม 2550 ย้ายกลับมาในท้องที่บรรจุครั้งแรกก่อนวันที่ 11 ธค 50 ไม่เกิดสิทธิ ย้ายกลับมาในท้องที่บรรจุครั้งแรกหลังวันที่ 11 ธค 50 เกิดสิทธิ 11 ธค 50
การพิจาณาคำร้องขอย้ายของตนเอง มาตรา 7 (3) • การร้องขอย้ายไปในท้องที่ใด จังหวัดใด สำนักงานใดแล้วส่วนราชการมีคำสั่งให้ย้ายตามคำร้องที่ประสงค์ ย่อมให้ไม่เกิดสิทธิค่าเช่าบ้าน เว้นแต่เป็นการย้ายไปไม่ตรงกับที่ได้แจ้งความประสงค์ไว้ • การร้องขอย้ายที่ต้องห้ามตามมาตรา 7 (3) พิจารณาตามข้อเท็จจริง ซึ่งการที่คำสั่งย้ายไม่ได้ระบุว่าเป็นการย้ายตามคำร้อง แต่ข้อเท้จจริงมีการร้องขอย้ายที่เกิดจากตัวข้าราชการ ย่อมไม่เกิดสิทธิค่าเช่าบ้าน • การโอนไปรับราชการอีกส่วนราชการหนึ่งไม่ถือเป็นการย้ายตามคำร้องขอของตนเองทุกกรณี เว้นแต่การโอนนั้นตนเองได้สละสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านตามหนังสือเวียน ด่วนที่สุด ที่ กค 0526.5/ว 109 ลว 20 ธ.ค. 2542 • การสอบเลื่อนระดับ แล้วให้แจ้งความประสงค์เลือกท้องที่ไม่ถือเป็นการร้องของย้าย • ร้องขอย้ายในท้องที่เดิมสิทธิไม่เปลี่ยน
ประเด็นสำคัญ มาตรา 7 • ข้าราชการขอลาออกไปประกอบธุรกิจของตนเองแล้วกลับเข้ารับราชการใหม่หน่วยงานเดิมหรือหน่วยงานใหม่ สิทธิยังไม่เกิด • ลักษณะของค่าเช่าบ้าน แยกจากค่าไฟฟ้า น้ำ เฟอร์นิเจอร์ • ท้องที่ที่ตั้งสำนักงานชั่วคราวเป็นท้องที่ที่ข้าราชาการรับราชการประจำด้วยสามารถเบิกค่าเช่าบ้านได้ • มีหรือใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านในท้องที่เดียวกับที่มีบ้านของบิดามารดา หากต่อมาบิดาหรือมารดาเสียชีวิต ไม่ได้ทำพินัยกรรมในเรื่องบ้านไว้ บ้านจะตกทอดเป็นมรดกแก่ทายาท ข้าราชการหมดสิทธิเบิกค่าเช่าบ้าน ด่วนมาก ที่ กค 0526.5/ ว 25 31 มี.ค. 2543
หนังสือเวียน ด่วนที่สุด 0409.5/ ว 19 13 มี.ค. 2549 • ข้าราชการร้องขอย้ายก่อน 26 มิ.ย.41 ให้ดูว่า ก่อน 26 มิ.ย.41 ไม่ติดข้อต้องห้าม ก็ให้มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านได้ต่อไปจนกว่าจะหมดสิทธิ เช่น ต่อมาถูกจัดบ้านพักหลัง 26 มิ.ย. 41 แล้วภายหลังถูกจัดออกอีกก็มีสิทธิเบิกได้ต่อไป • แต่กรณีข้าราชการรายใดก่อนวันที่ 26 มิ.ย. 41 ติดข้อต้องห้าม แม้ต่อมาหลัง 26 มิ.ย. 41 ไม่ได้จัดบ้านพักให้ ก็ยังคงไม่มีสิทธิเบิกเพราะติดหลักการร้องขอย้ายของตนเอง ประเด็นนี้มีความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 139/2544 • กรณีจัดบ้านพักให้แก่คู่สมรส ที่อยู่คนละส่วนราชการ ไม่ถือว่าข้าราชการถูกจัด แม้วันที่26 มิ.ย. 41 จะอยู่บ้านพักของคู่สมรสด้วย
มาตรา 14 • ให้ข้าราชการมีสิทธิได้รับเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการตั้งแต่วันที่ข้าราชการ ผู้นั้นได้เช่าอยู่จริง แต่ไม่ก่อนวันที่รายงานตัวเพื่อเข้ารับหน้าที่ • ให้สิ้นสุดในวันที่ขาดจากอัตราเงินเดือนหรือวันที่อยู่ในข่ายหมดสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ • ถ้าผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ไปรับราชการในท้องที่อื่นไม่สามารถออกเดินทางไปได้ในวันที่ส่งมอบหน้าที่ให้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการต่อไปอีกไม่เกินสิบวันนับแต่วันส่งมอบหน้าที่ เว้นแต่มีความจำเป็นจะต้องอยู่ต่อไปอีก ให้เบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการต่อไปได้เท่าที่จำเป็นโดยได้รับ การอนุมัติจากผู้ออกคำสั่งแต่งตั้ง
ประเด็นสำคัญมาตรา 14 • ทำสัญญาเช่าก่อนไปรายงานตัว ช่วงก่อนไปรายงานตัวเบิกไม่ได้ • รายงานตัวกับหน่วยงานแล้ว แต่ยังไม่ได้เช่าบ้าน ก็ไม่มีสิทธิมาเบิกเงินค่าเช่าบ้านจากทางราชการ • ไม่ได้อยู่จริงเพราะพฤติกรรมพิเศษ สามารถเบิกต่อไปได้ วันที่ขาดจากอัตราเงินเดือนหรือวันที่ที่อยู่ในข่ายหมดสิทธิได้รับค่าเช่าบ้าน เช่น • วันที่ได้รับแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งใหม่ โดยขาดจากอัตราเงินเดือนเดิม และไปตั้งเบิกเงินเดือน ณ สำนักงานเบิกเงินเดือนแห่งใหม่ • วันถัดจากวันที่ข้าราชการถึงแก่ความตาย • วันพ้นจากราชการตามกฎหมายบำเหน็จบำนาญ • วันที่ได้รับอนุญาตให้ออกจากราชการ • วันที่ผ่อนชำระบ้านหมดตามนัยมาตรา 17 • วันที่ไปทำงานองค์กรระหว่างประเทศ แม้บางกรณีจะสามารถให้นับระยะเวลาราชการเหมือนเต็มเวลาราชการได้ก็ตาม ถือว่าขาดจากอัตราเงินเดือนตั้งแต่วันที่มีคำสั่งให้ออกจากราชการ
หลักเกณฑ์การเบิกค่าเช่าซื้อบ้านมาตรา 17 • ข้าราชการต้องมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้าน • ได้เช่าซื้อหรือผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชื้อบ้าน • ต้องเป็นบ้านที่ตั้งอยู่ในท้องที่ที่ไปประจำสำนักงานใหม่ หรือที่ทำงาน • ต้องใช้เป็นที่อยู่อาศัยและได้อาศัยอยู่จริง
เงื่อนไขการใช้สิทธิเบิกค่าเช่าชื้อเงื่อนไขการใช้สิทธิเบิกค่าเช่าชื้อ (1) ตนเอง หรือคู่สมรส ได้ทำการผ่อนชำระค่าเช่าซื้อหรือผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านในท้องที่นั้น จะเบิกจ่ายได้เฉพาะบ้านหลังแรกเท่านั้น เว้นแต่บ้านหลังที่เคยใช้สิทธิถูกทำลายหรือเสียหายเนื่องจากภัยพิบัติจนไม่สามารถพักอาศัยอยู่ได้ ม. 17 (1) (2) หากเช่าซื้อหรือกู้เงินเพื่อชำระราคาบ้านร่วมกับบุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่คู่สมรสและมีกรรมสิทธิ์รวมกับบุคคลอื่นในบ้านนั้น จะเบิกจ่ายค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้ได้ตามสัดส่วนแห่งกรรมสิทธิ์สำหรับบ้านหลังดังกล่าว ม. 17 (2)
เงื่อนไขการใช้สิทธิเบิกค่าเช่าชื้อ ต่อ • (3) จะต้องเป็นการผ่อนชำระกับสถาบันการเงิน และสัญญาต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด • (4) จะต้องไม่เคยใช้สิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้สำหรับบ้านหลังหนึ่งหลังใดในท้องที่นั้นมาแล้ว เว้นแต่เป็นกรณีที่ได้รับแต่งตั้งให้กลับไปรับราชการในท้องที่ที่เคยใช้สิทธินั้นอีก และเป็นการใช้สิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้ตามที่ได้เคยใช้สิทธิมาแล้ว หรือขณะที่ย้ายมารับราชการในท้องที่นั้นบ้านที่เคยใช้สิทธิได้โอนกรรมสิทธิ์ไปแล้ว • (5) หากเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านสูงกว่าราคาบ้าน ให้นำค่าผ่อนชำระเงินกู้มาเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการได้ โดยให้คำนวณตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
เงื่อนไขการใช้สิทธิเบิกค่าเช่าชื้อ ต่อ • ให้นำบทบัญญัติมาตรา 9 ถึงมาตรา 14 มาใช้บังคับกับการเช่าซื้อหรือการผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านโดยอนุโลม
ประเด็นสำคัญมาตรา 17 • ซื้อบ้านแล้วยังไม่ได้เข้าอยู่จริง สามารถเบิกค่าเช่าบ้านมาตรา 7 ได้ต่อไป จนกว่าจะใช้สิทธิเบิกค่าเช่าซื้อมาตรา 17 หนังสือ 0526.5/ว25 ลง 31 มี.ค.43 • ใช้สิทธิเบิกค่าเช่าซื้ออยู่ สามารถนำบ้านออกให้เช่าได้ ผู้เช่าสามารถนำหลักฐานการเช่ามาเบิกค่าเช่าบ้านได้ด้วย • ซื้อคอนโด 2 ห้องเจาะทะลุฝาเป็นที่อยู่อาศัยในลักษณะ 1 หลัง เบิกได้ในวงเงินที่ซื้อ 2 ห้อง ทำสัญญาในคราวเดียวกันและสัญญาซื้อขายฉบับเดียวกัน
ประเด็นสำคัญ • บ้านเป็นสินส่วนตัวของภริยา นับเป็นบ้านหลังแรก ข้าราชการเบิกไม่ได้ เนื่องจากไม่มีกรรมสิทธิ์ในบ้านหลังนั้น • ซื้อบ้าน 2 หลังมาในคราวเดียวกัน เลือกหลังใดหลังหนึ่ง แต่ถ้าเป็นซื้อช่วงเช่าและบ่าย ถือว่าคนละคราวเดียวกัน
ประเด็นสำคัญมาตรา 17 ต่อ • เบิกย้อนหลังส่วนที่ขาดได้ หนังสือ ด่วนที่สุด 0409.5/ ว 15 ลว 6 ก.พ. 2547 และ ว 49 พ.ศ.2534 • คู่สมรสมีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านทั้งคู่ในท้องที่เดียวกัน เบิกค่าเช่าซื้อได้คนเดียว ต่อมาฝ่ายหนึ่งย้ายไปในท้องที่อื่นและมีสิทธิ สามารถใช้สิทธิเช่าซื้อต่อเนื่อง มาตรา 18และอีกฝ่ายหนึ่งสามารถให้สิทธิเช่าซื้อในท้องนั้นมาตรา 7ได้ต่อไป
ประเด็นสำคัญมาตรา 17 ต่อ • กู้เงินสร้างบ้านหลายครั้ง ยังไม่เสร็จในคราวเดียว ให้ถือจำนวนเงินค่าสร้างจนถึงวันที่เข้าอยู่อาศัยบ้านหลังนั้นจริงเป็นหลัก ไม่ว่าจะกู้ครั้งเดียวหรือหลายครั้ง แต่การกู้ภายหลังจากสร้างบ้านเสร็จแล้ว ไม่ใช้การกู้เงินเพื่อชำระราคาบ้าน ด่วนมาก 0502/ ว 49 ลง 29 มี.ค.2534 • กรณีมีสัดส่วนของกรรมสิทธิ์เกิดขึ้น จะเป็นกรณีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านต่ำกว่าต่ำกว่าสัญญากู้เงิน ต้องสถาบันการเงินคำนวณ เช่น ราคาบ้าน 1 ล้าน กู้เงิน 1 ล้าน มีกรรมสิทธิ์ 2 คน คนละครึ่ง ต้องให้ธนาคารคำนวณหากกู้เงิน 5 แสนบ้าน จะต้องผ่อนชำระเดือนละเท่าไร (ระเบียบข้อ 7)
ประเด็นสัดส่วนกรรมสิทธิ์ประเด็นสัดส่วนกรรมสิทธิ์ • กรณีข้าราชการซื้อบ้านที่มีกรรมสิทธิ์ 3 คน คือ สามี ภริยา และบิดา หลังโฉนดที่ดิน การแบ่งสัดส่วนกรรมสิทธิ์ข้าราชการในการเบิกค่าเช่าซื้อ คิดเป็น ⅔ และฝ่ายบิดา⅓ • กรณีข้าราชการซื้อบ้านที่มีกรรมสิทธิ์ 2 ฝ่าย คือ กรณีที่สามีหรือภริยาเพียงฝ่ายเดียวทำสัญญาร่วมกับบิดา การแบ่งสัดส่วนกรรมสิทธิ์คิดเป็น ½
ประเด็น • มาตรา 17 (5) ราคาบ้านต่ำกว่าสัญญากู้เงิน ต้องให้สถาบันการเงินคำนวณ ตามระเบียบข้อ 7 ตัวอย่าง • ซื้อบ้าน 9 แสน กู้เงินจริง 7 แสน ระยะเวลา 20 ปี ผ่อนเดือนละ 5 พัน มีสิทธิ 3 บ้าน สรุปเบิกได้ 7 แสน ระยะเวลา 20 ปี เดือนละ 3 พัน • ซื้อบ้านราคาจริง 5 แสน ทำสัญญาซื้อขายต่อที่ดิน 1 แสน สิทธิ 3 พัน ต้องให้ธนาคารคำนวณ ซึ่งหากคำนวณได้เดือนละ 2,500 บาท ก็เบิกได้ 2,500 บาท • ซื้อต่ำกว่ากู้ ยึด วงเงินการซื้อขายเป็นหลัก • กู้ต่ำกว่าซื้อ ยึก วงเงินกู้เป็นหลัก
ประเด็นสำคัญ • จดทะเบียนหย่าแล้วยกบ้านให้คู่สมรสหรือบุตรหมดสิทธิได้รับค่าเช่าบ้าน • คู่สมรสของข้าราชการทำสัญญาซื้อขายบ้านในระหว่างสมรสเพียงฝ่ายเดียว ข้าราชการนำหลักฐานมาเบิก ค่าเช่าซื้อได้ โดยแสดงหลักฐานการสมรส ตามระเบียบ ข้อ 21
หลักเกณฑ์การใช้สิทธิเช่าชื้อต่อเนื่องมาตรา 18 • ในท้องที่เดิมข้าราชการต้องเคยได้ใช้สิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อฯ มาเบิกค่าเช่าบ้านตามมาตรา 17 • ย้ายไปในท้องที่ใหม่ตนเองมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้าน • มีสิทธินำหลักฐานในท้องที่เดิมมาเบิกค่าเช่าบ้านในท้องที่ใหม่ได้
ประเด็นสำคัญมาตรา 18 • หากเป็นกรณีมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านและได้ซื้อแต่ยังไม่นำมาเบิก ต่อมาเมื่อได้ย้ายไปต่างท้องที่ สามารถนำสิทธิในที่เดิมมาเบิกในที่ใหม่ได้ตามระเบียบข้อ18 และข้อ 19 แต่จะใช้สิทธิเช่าซื้อต่อเนื่องตามมาตรา 18
การเกิดสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านกรณีสำนักงานย้ายการเกิดสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านกรณีสำนักงานย้าย • มาตรา 8 ข้าราชการผู้ใดต้องไปปฏิบัติราชการประจำสำนักงานในต่างท้องที่เนื่องจากสำนักงานที่ปฏิบัติราชการประจำอยู่เดิมได้ย้ายสถานที่ทำการไปตั้งในท้องที่ใหม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้เช่นเดียวกับข้าราชการซึ่งได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่ตามมาตรา 7 เว้นแต่ท้องที่ใหม่ที่สำนักงานได้ย้ายไปนั้นอยู่ใกล้เคียงกับท้องที่ที่ตั้งสำนักงานเดิมตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด อธิบาย หากส่วนราชการใดย้ายสำนักงานไปตั้งในท้องที่ใหม่ข้าราชการทั้งสำนักงานจะเกิดสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านถ้าติดข้อต้องห้ามที่ทำให้ไม่เกิดสิทธิ เว้นแต่ท้องที่ที่สำนักงานย้ายไปเป็นท้องที่ใกล้เคียงตามหลักเกณฑ์ข้างต้น อย่างไรก็ตามแม้ว่ากรณีดังกล่าวข้าราชการของสำนักงานที่ย้ายไปจะไม่เกิดสิทธิได้รับค่าเช่าบ้าน แต่ไม่ตัดสิทธิข้าราชการผู้ที่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านอยู่ในท้องที่เดิมอยู่ก่อนแล้วเว้นแต่จะเข้าข้อต้องห้ามตามมาตรา 7 ในท้องที่ใหม่
ท้องที่ใกล้เคียงของกรุงเทพฯท้องที่ใกล้เคียงของกรุงเทพฯ เมื่อย้ายสำนักงานไปไม่ทำให้เกิดสิทธิ ๑.จังหวัดนนทบุรี ๑.๑ อำเภอเมืองนนทบุรี ๑.๒อำเภอบางกรวย ๑.๓อำเภอบางบัวทอง ๑.๔อำเภอบางใหญ่ ๑.๕อำเภอปากเกร็ด ๒. จังหวัดปทุมธานี ๒.๑อำเภอเมืองปทุมธานี ๒.๒อำเภอคลองหลวง ๒.๓อำเภอธัญบุรี ๒.๔อำเภอลำลูกกา ๓.จังหวัดสมุทรปราการ ๓.๑อำเภอเมืองสมุทรปราการ ๓.๒อำเภอบางบ่อ ๓.๓อำเภอบางพลี ๓.๔อำเภอพระประแดง ๓.๕อำเภอพระสมุทรเจดีย์ ๔.จังหวัดสมุทรสาคร ๔.๑อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดนครปฐม ๕.๑อำเภอพุทธมณฑล
หลักเกณฑ์ท้องที่ใกล้เคียงกรณีต่างจังหวัดหลักเกณฑ์ท้องที่ใกล้เคียงกรณีต่างจังหวัด • กรณีสำนักงานได้ย้ายที่ตั้งสำนักงานภายในจังหวัดเดียวกันหรือระหว่างจังหวัดจะต้องเป็นท้องที่ติดต่อกันและมียานพาหนะประจำทางให้บริการ
มาตรา 9 • ข้าราชการผู้ใดไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเพราะเหตุที่มีเคหสถานอันเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองหรือคู่สมรสตามมาตรา 7(2) แม้ว่ากรรมสิทธิ์ในเคหสถานได้โอนไปด้วยเหตุใด ก็ไม่ทำให้เกิดสิทธิที่จะได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการในระหว่างรับราชการในท้องที่นั้น เว้นแต่เคหสถานนั้นถูกทำลายหรือเสียหายเนื่องจากภัยพิบัติจนไม่สามารถพักอาศัยอยู่ได้ -รวมทั้งการถูกเวียนคืนที่ดินก็ไม่เกิดสิทธิ -คู่สมรสมีบ้านสินส่วนตัวอยู่ในท้องที่ที่ข้าราชการรับราชการ ขายออกไป ข้าราชการก็ไม่เกิดสิทธิได้รับค่าเช่าบ้าน
มาตรา 10 • ข้าราชการและคู่สมรสรับราชการในท้องที่เดียวกันและ ต่างก็มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านให้เบิกจ่ายได้เฉพาะคนใดคนหนึ่ง • ข้าราชการผู้ใดมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตาม พระราชกฤษฎีกานี้และมีคู่สมรสเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานคร พนักงานส่วนท้องถิ่น หรือพนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ ถ้าคู่สมรสของผู้นั้นได้ใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านหรือข้าราชการผู้นั้นได้อยู่ในที่พักอาศัยที่ทางราชการจัดให้แก่คู่สมรสในท้องที่เดียวกัน ข้าราชการผู้นั้นไม่มีสิทธิ
มาตรา 12 • การลดหรืองดเบิกจ่ายเงินเดือนแก่ข้าราชการผู้ใด เนื่องจากการถูกตัดเงินเดือนหรือ การลาโดยไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือน • ไม่กระทบต่อสิทธิของผู้นั้นที่จะได้รับค่าเช่าบ้าน • ให้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเสมือนหนึ่งไม่มีการลดหรืองดเบิกจ่ายเงินเดือน • เว้นแต่เป็นการลาติดตามคู่สมรสซึ่งย้ายไปรับราชการในต่างประเทศ • การลาไปศึกษาต่อ ไม่ใช้การได้รับคำสั่งให้เดินทางไปต่างท้องที่ • ไปเช่าบ้านที่อื่นที่ไม่ใช่ในท้องที่เคยปฏิบัติงานไม่ได้ • (ถ้าอ้างว่าเดินทางไปกลับที่ทำงานได้ เบิกได้หรือไม่) • - ถ้ายังคงมีความจำเป็นต้องเช่าเก็บสัมภาระ หรือครอบครัวไม่ได้ย้ายไปอยู่ด้วยเบิกได้ • - แต่ให้ผู้อื่นเช่าช่วงรอรับส่วนต่างเบิกไม่ได้เพราะเป็นกรณีไม่มีความเดือนร้อนในเรื่องที่อยู่อาศัย
มาตรา 13 ข้าราชการผู้ใดซึ่งมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการถูกสั่งพักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน หรือมีกรณีอื่นใดอันเป็นเหตุให้ถูกงดเบิกจ่ายเงินเดือนให้งดเบิกจ่ายค่าเช่าบ้านข้าราชการ เมื่อกรณีถึงที่สุด ถ้าปรากฏว่าผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินเดือนในระหว่างกรณีเช่นว่านั้นสำหรับเดือนใด ให้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้าน -กรณีถูกไล่ออกแล้วอุทธรณ์ผ่านไม่ถือว่าเป็นการกลับเข้ารับราชการใหม่ ตามหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กค 0409.5/ ว 87 ลง 30 กรกฎาคม 2547
มาตรา 15 • ในกรณีที่ข้าราชการซึ่งได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการอยู่แล้วในท้องที่หนึ่งและต่อมาได้รับแต่งตั้งให้ไปรับราชการในท้องที่อื่นซึ่งตนมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ข้าราชการผู้นั้นมีสิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าบ้านในท้องที่เดิมมาเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการในท้องที่ใหม่ได้ ถ้าคู่สมรสหรือบุตรซึ่งอยู่ในอุปการะของข้าราชการผู้นั้นไม่อาจติดตามข้าราชการผู้นั้นไปได้ และมีความจำเป็นต้องอาศัยอยู่ในบ้านในท้องที่เดิมต่อไป • ใช้ หลักเกณฑ์หนังสือเวียน ด่วนที่สุด ที่ กค 0409.5/ ว 15 ลว 6 ก.พ. 47 ประเด็น 4 ได้หรือไม่ ซึ่ง ว 15 เป็นกรณีทางราชการกลับแนววินิจฉัย
หลักเกณฑ์การจัดบ้านพัก ว 2 • ความเป็นมา มติ คณะรัฐมนตรี วันที่ 8 เม.ย. 2546 สรุปได้ว่า กรณี ศธ เสนอให้ไม่ต้องจัดให้กับผู้ที่เบิกค่าเช่าซื้ออยู่ ซึ่มติเห็นควรให้ไม่ต้องจัดให้กับผู้เช่าซื้อไปพลางก่อนในระหว่างรอผลการศึกษา ของ กค และให้ กค ร่วมกับ กพ.กพร รับไปพิจารณาทั้งระบบ ให้เชิญผู้แทน ปปช และ สตง มาร่วมพิจารณาให้เสร็จภายใน 6 เดือน เป็นที่มา ว7
การกำหนดที่พักสำหรับข้าราชการระดับใด เป็นอำนาจของใคร ?- เป็นอำนาจของผู้มีอำนาจจัดที่พัก ของส่วนราชการ 3
หลักเกณฑ์ในการใช้ดุลพินิจกำหนดที่พักของทางราชการหลักเกณฑ์ในการใช้ดุลพินิจกำหนดที่พักของทางราชการ ความจำเป็นและเหมาะสม ความประหยัดและประโยชน์ของ ทางราชการเป็นสำคัญ สามารถปรับเปลี่ยนได้ (ข้อ 3 วรรคแรก) 4
ขั้นการจัดบ้านพัก • กำหนดคุณสมบัติผู้มีสิทธิในบ้านพักแต่ละหน่วย • จัดข้าราชการเข้าพัก
รูปแบบการกำหนดคุณสมบัติผู้มีสิทธิเข้าพักรูปแบบการกำหนดคุณสมบัติผู้มีสิทธิเข้าพัก • แบ่งตามระดับ ซี หรือ ชั้นยศ • กำหนดตามตำแหน่งบริหาร เช่น ผวจ นายอำเภอ ผู้ช่วยต่างๆ • กำหนดแบบทั่วไป ทุกหน่วยสามารถจัดทุกคนเข้าพักได้ • กำหนดตามลักษณะพิเศษของข้าราชการแต่ละคน เช่น ลักษณะครอบครัว สภานภาพสมรส
การจัดข้าราชการเข้าพักแบ่งเป็น 2 กรณี กรณีที่ 1 ข้าราชการระดับ 7 ขึ้นไปหรือเทียบเท่า (ข้าราชการทหารตำรวจ ยศชั้นพันโท) เมื่อถูกจัดต้องเข้าอยู่ • เป็นข้าราชการระดับ 7 มีบ้านพักที่กำหนดระดับ 7 หรือสามารถจัดระดับ 7 เข้าพักได้ • ไม่ว่าข้าราชการผู้จะมีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านหรือไม่สามารถเข้าบ้านพักได้ • ไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้สิทธิเบิกค่าเช่าซื้ออยู่ก่อนแล้วหรือไม่ • หากเป็นบ้านพักกำหนดแบบทั่วไป c7 ที่มีไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้าน จะเรียกร้องบ้านพักไม่ได้ ทั้งนี้เพราะการตัดสินใจให้ข้าราชการผู้ใดเข้าอยู่เป็นอำนาจของผู้มีสิทธิจัดบ้านพักเป็นผู้พิจารณา กรณีดังกล่าวบ้านพักสำหรับ c7 ยังไม่ได้ถูกกำหนดไว้อย่างแน่นอนว่าหลังใด
การจัดข้าราชการเข้าบ้านพักกรณีที่ 2 ข้าราชการ c6 ลงมาหรือเทียบเท่า • จัดผู้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านเป็นหลัก ผู้ไม่มีสิทธิจัดให้อยู่ชั่วคราว • ถ้าเป็นผู้ใช้สิทธิเช่าซื้ออยู่ ไม่ต้องจัด • ย้ายภายในท้องที่ที่เช่าซื้ออยู่ไม่ต้องจัดเข้า • ย้ายต่างท้องที่จัดเข้าบ้านพักได้ แม้ท้องที่เดิมเคยใช้สิทธิเบิกค่าเช่าซื้อ แต่ถ้าได้ใช่สิทธิมาตรา 17 หรือ 18 ในท้องที่ใหม่แล้วไม่ต้องจัดเข้าบ้านพัก ←
สละบ้านพักหมดสิทธิได้รับค่าเช่าบ้าน ข้อ 3 (6) วรรคสอง ลักษณะการสละบ้านพัก • จัดบ้านพักให้แล้ว ไม่ได้เข้าใช้ประโยชน์ไม่พักอาศัยในที่อื่น • แจ้งเหตุผลขอออกจากบ้านพัก ยังไม่ได้รับผลการพิจารณาให้ออกหรือไม่ ได้ออกจากบ้านพักไปก่อน สิทธิกลับคืนมาเมื่อรื้อถอนทั้งหมด ข้อ 5 หรือจัดใหม่ทั้งหมด ข้อ 10 ข้าราชการที่สละบ้านพักไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้าน ภายหลังสามารถขอเข้าบ้านพักได้ ถ้าบ้านพักว่าง แต่เป็นการจัดบ้านพักลักษณะชั่วคราว ข้อ 4 ←
ประเด็นสำคัญ • จัดให้กับข้าราชการผู้ไม่มีสิทธิเป็นการจัดชั่วคราว ข้อ 4 • จัดบ้านพักให้ก่อนหลักเกณฑ์ ว 7 วันที่ 20 มกราคม 2547 ไม่ว่ามีสิทธิหรือไม่ อยู่ได้ต่อไปจนกว่าจะย้ายหรือพ้นจากตำแหน่ง ข้อ 9 • การจัดบ้านพักใหม่ทั้งหมดตามหลักเกณฑ์ข้อ 10 ←
ระเบียบการเบิกเงินค่าเช่าบ้านระเบียบการเบิกเงินค่าเช่าบ้าน ระเบียบ กค ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้าน ข้าราชการ พ.ศ. 2549 การเบิกจ่ายค่าเช่าบ้านแบ่งเป็น 2 กรณี • กรณีปกติหรือข้าราชการทำงานในสำนักงานตรงกับสำนักเบิกเงินเดือน • กรณีข้าราชการทำงานต่างสำนักเบิกเงินเดือน มีขั้นตอนการเบิกจ่ายแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน • การขอใช้สิทธิขอรับเงินค่าเช่าบ้านในครั้งแรก • การขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านรายเดือน
กรณีปกติหรือข้าราชการทำงานในสำนักงานตรงกับสำนักเบิกเงินเดือนกรณีปกติหรือข้าราชการทำงานในสำนักงานตรงกับสำนักเบิกเงินเดือน • ขั้นตอนการขอรับเงินค่าเช่าบ้านในครั้งแรก ใช้แบบ 6005 1. ผู้รับรองสิทธิ คือ ผู้บังคับบัญชาที่สำนักงานที่ข้าราชการปฏิบัติราชการ ข้อ 8 2. คณะกรรมการตรวจสอบสิทธิตามข้อ 9 ผู้มีอำนาจแต่งตั้ง คกก คือ บุคคลตามข้อ 10 ที่สำนักงานที่ข้าราชการปฏิบัติราชการ 3. การอนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้านจากทางราชการได้ คือ บุคคลข้อ 10 ที่สำนักงานที่ข้าราชการปฏิบัติราชการ • ขั้นตอนการขอเบิกค่าเช่าบ้านรายเดือน • การรับรองตนเอง • ผู้อนุมัติตามข้อ 10
กรณีข้าราชการทำงานต่างสำนักเบิกเงินเดือนกรณีข้าราชการทำงานต่างสำนักเบิกเงินเดือน • ขั้นตอนการขอรับเงินค่าเช่าบ้านในครั้งแรก ใช้แบบ 6005 1. ผู้รับรองสิทธิ คือ ผู้บังคับบัญชาที่สำนักงานที่ข้าราชการปฏิบัติราชการ ข้อ 8 2. คณะกรรมการตรวจสอบสิทธิตามข้อ 9 ผู้มีอำนาจแต่งตั้ง คกก คือ บุคคลตามข้อ 10 ที่สำนักงานที่เบิกเงินเดือนของข้าราชการ 3. การอนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้านจากทางราชการได้ คือ บุคคลข้อ 10 สำนักงานที่เบิกเงินเดือนของข้าราชการ • ขั้นตอนการขอเบิกค่าเช่าบ้านรายเดือน ใช้แบบ 6006 • การรับรองตนเอง • ผู้อนุมัติคือบุคคลตามข้อ 10 สำนักงานที่เบิกเงินเดือนของข้าราชการ
ประเด็นสำคัญของระเบียบประเด็นสำคัญของระเบียบ • ค่าเช่าบ้านถือเป็นค่าใช้จ่ายเมื่อส่วนราชการได้รับแบบ 6006 ตามข้อ 12 ความสัมพันธ์กับการจัดบ้านพัก • กรณีการยื่นแบบ 6005 ใหม่ตามข้อ 15 มีข้อ 17 เป็นข้อยกเว้น • กรณีซื้อที่ดินหลายแปลง นำมาเบิกได้กี่แปลง • กรณีซื้อบ้านแฝด นำมาเบิกได้กี่หลัง • เบิกจ่ายค่าเช่าบ้านให้ก่อนสิ้นเดือนได้หรือไม่
ประเด็นสำคัญของระเบียบประเด็นสำคัญของระเบียบ • ค้างชำระหลายเดือนกับธนาคาร นำไปจ่ายครั้งเดียวถ้าไม่แยกเดือน จำนวนเงิน เบิกได้เพียงเดือนเดียว ที่ กค 0526.5/ ว 25 30 มี.ค. 2541 • ใบเสร็จรับเงินต้องใช้ต้นฉบับ และให้หมายรวมถึง หลักฐานการจ่ายเงินของธนาคารแต่ไม่ได้ใช่กรณีใบเสร็จหาย ว 6589 14 ก.พ. 2528 • สัญญาเช่าบ้านจะทำในรูปแบบบันทึกหรือข้อตกลงก็ได้ แต่ต้องมีรายการตามระเบียบข้อ 13 (1)