250 likes | 783 Views
การขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ในประเทศ. ฝ่ายบุตรบุญธรรมในประเทศ โดย นางสาว อภิรชญา ชัยติกุล. คุณสมบัติของผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม. คุณสมบัติทางด้านกฎหมาย 1. ต้องมีอายุไม่ ต่ำกว่า 25 ปี และมีอายุ แก่กว่าเด็ก ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม อย่างน้อย 15 ปี
E N D
การขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมในประเทศการขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมในประเทศ ฝ่ายบุตรบุญธรรมในประเทศ โดยนางสาวอภิรชญา ชัยติกุล
คุณสมบัติของผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมคุณสมบัติของผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม • คุณสมบัติทางด้านกฎหมาย 1. ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และมีอายุแก่กว่าเด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี 2. ต้องเป็นผู้ที่ไม่ต้องห้ามที่จะเป็นผู้ปกครองเด็กตามมาตรา 1587 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ( ได้แก่ - ผู้ที่ศาลสั่งว่าเป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนคนไร้ความสามารถ - ผู้ซึ่งเป็นบุคคลล้มละลาย - ผู้ซึ่งไม่เหมาะสมจะเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์หรือทรัพย์สินของผู้เยาว์ - ผู้ซึ่งมีหรือเคยมีคดีในศาลกับผู้เยาว์ ผู้บพการีหรือพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมบิดาหรือร่วมมารดากับผู้เยาว์ - ผู้ซึ่งบิดาหรือมารดาที่ตายได้ทำหนังสือระบุชื่อห้ามไว้มิให้เป็นผู้ปกครอง )
คุณสมบัติของผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม(ต่อ)คุณสมบัติของผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม(ต่อ) • คุณสมบัติทางด้านสังคม 1. ผู้ขอรับเด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรมไม่ควรมีอายุมากเกินไป หรือห่างจากเด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรมมากเกินไป โดยเฉพาะกรณีขอรับเด็กกำพร้าที่ถูกทอดทิ้ง เป็นบุตรบุญธรรม • 2. เป็นผู้มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ • 3. เป็นผู้มีรายได้ และอยู่ในฐานะที่จะอุปการะเลี้ยงดูเด็ก ให้มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี
คุณสมบัติของผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม(ต่อ)คุณสมบัติของผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม(ต่อ) • 4. ต้องมีเวลาดูแลเอาใจใส่เด็ก • 5. ต้องเป็นครอบครัวที่เหมาะสม มีเหตุผลอันสมควร และมีความคิดที่ต่อการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ตามที่ปรากฏในรายละเอียดของรายงานการศึกษาสภาพครอบครัว • 6. สถานภาพการสมรสในกรณีขอรับเด็กในความอุปการะของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ผู้ขอฯ ควรจะมีคู่สมรส เพื่อเด็กจะได้มีครอบครัวที่สมบูรณ์
สถานที่ยื่นคำขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมสถานที่ยื่นคำขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม • 1. ผู้มีภูมิลำเนา (ทะเบียนบ้าน) อยู่ในเขตกรุงเทพฯ ให้ยื่นคำขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมได้ที่ ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม • 2.ผู้มีภูมิลำเนา (ทะเบียนบ้าน) อยู่ในจังหวัดอื่นๆ ให้ยื่นคำขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมได้ที่ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด • กรณีสามีภรรยามีทะเบียนบ้านคนละแห่ง ให้สามีภรรยายื่นคำขอพร้อมกัน ตามภูมิลำเนาของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยไม่ต้องย้ายทะเบียนบ้านมาอยู่ด้วยกัน
การรับบุตรบุญธรรมมี 4 ประเภท • 1. การขอรับเด็กในความอุปการะของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ - ไม่เป็นครอบครัวอุปถัมภ์ - เป็นครอบครัวอุปถัมภ์มาก่อน • 2. การขอรับเด็กที่มีบิดามารดามอบให้ • 3. การขอรับเด็กที่ศาลให้ความยินยอม • 4. การขอรับเด็กในความอุปการะขององค์การสวัสดิภาพเด็ก
การให้ความยินยอมในการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมการให้ความยินยอมในการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม • 1. กรณีผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม ถ้ามีคู่สมรสอยู่ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสก่อน ในกรณีที่คู่สมรสไม่อาจให้ความยินยอมได้ หรือไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และหาตัวไม่พบเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี ต้องร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตแทนการให้ความยินยอมของคู่สมรสนั้น (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๙๘/๒๕)
การให้ความยินยอมในการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (ต่อ) • 2. ถ้าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีผู้นั้นต้องให้ความยินยอมด้วย • 3. กรณีบิดามารดาเด็กไม่ได้จดทะเบียนสมรส - มารดาให้ความยินยอม บิดาเด็กให้ความเห็นชอบ - หากมารดาเด็กแจ้งว่าไม่สามารถติดตามบิดาเด็กได้ และบิดาเด็กไม่ได้จดทะเบียนรับรองบุตร มารดาเด็กให้ความยินยอมเพียงคนเดียวได้ โดยมารดาเด็กบันทึกถ้อยคำเกี่ยวกับสถานภาพการสมรส ตามแบบ ป.ค. 14 พร้อมพยาน 2 คน - มารดาเด็กเสียชีวิต หรือ ทอดทิ้ง >> ร้องศาล - บิดาเด็กจดทะเบียนรับรองบุตร + มารดาเด็ก >> บิดามารดาให้ความยินยอม - บิดาเด็กจดทะเบียนรับรองบุตร + มารดาเด็กเสียชีวิต >> บิดา - บิดาเด็กจดทะเบียนรับรองบุตร + มารดาเด็กทอดทิ้ง >> บิดา + ร้องศาล
การให้ความยินยอมในการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (ต่อ) • 4. กรณีบิดามารดาเด็กจดทะเบียนสมรส - บิดามารดาให้ความยินยอมทั้ง 2 คน - เสียชีวิต + มีชีวิตอยู่ >> ฝ่ายมีชีวิตอยู่เป็นผู้ให้ความยินยอม - ทอดทิ้งทั้ง 2 คน >> ร้องศาล - เสียชีวิตทั้ง 2 คน >> ร้องศาล - ทอดทิ้ง + มีชีวิตอยู่ >> ร้องศาลให้ความยินยอมแทนฝ่ายที่ทอดทิ้ง + ฝ่ายมีชีวิตอยู่ให้ความยินยอม
การให้ความยินยอมในการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (ต่อ) • 5. กรณีบิดามารดาเด็กจดทะเบียนหย่า - ไม่มีบันทึกการหย่าเรื่องบุตร >> ให้ความยินยอมทั้ง 2 คน - บันทึกการหย่าให้บุตรอยู่ในอำนาจปกครองของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง >> ฝ่ายที่มีอำนาจปกครองให้ความยินยอมเพียงคนเดียว ( บันทึกการหย่าให้บุตรอยู่ในอำนาจปกครองของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หากต่อมาฝ่ายที่มีอำนาจปกครองบุตรตามบันทึกข้อตกลงการหย่าถึงแก่กรรม ให้อำนาจปกครองบุตรนั้นกลับไปเป็นของอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งยังมีชีวิตอยู่ ) - แต่หากฝ่ายที่มีอำนาจปกครองทอดทิ้ง >> ร้องศาล - บันทึกการหย่าให้บุตรอยู่ในความอุปการะ/ดูแล>> บิดามารดาเด็ก (คณะกรรมการกฤษฎีกา มีความเห็นว่าถ้าระบุว่าบุตรอยู่ในความดูแลของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนั้น มิได้มีข้อความโดยชัดแจ้งว่าทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันให้ใครเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร จึงยังไม่อาจถือได้ว่าบิดามารดาได้ทำความตกลงกันให้ฝ่ายใดเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่ผู้เดียว ดังนั้น ให้ถือว่าอำนาจปกครองยังอยู่กับทั้งสองฝ่าย)
การอ้างข้อกฎหมายเพื่อยกเว้นการทดลองเลี้ยงดูการอ้างข้อกฎหมายเพื่อยกเว้นการทดลองเลี้ยงดู • ผู้ขอรับเด็กเป็นญาติฝ่ายมารดา เช่น ตา ยาย ลุง ป้า น้า พี่ พี่สาวหรือน้องสาวร่วมมารดาเดียวกันกับเด็ก หรือพี่เขยพี่สาวของเด็ก • กรณีผู้ขอรับเด็กเป็นญาติฝ่ายบิดา และบิดามารดาเด็กจดทะเบียนสมรส หรือบิดาเด็กจดทะเบียนรับรองบุตร เช่น ปู่ ย่า ลุง ป้า หรืออาของเด็ก (ตามมาตรา 19 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2522 และแก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2533)
การอ้างข้อกฎหมายเพื่อยกเว้นการทดลองเลี้ยงดู (ต่อ) • 2. ผู้ขอรับเด็กเป็นญาติสืบสายโลหิตกับเด็ก และมีคู่สมรส ซึ่งจดทะเบียนอย่างน้อย 6 เดือน และประสงค์จะขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมร่วมกัน เช่น ตาเลี้ยงยายแท้ ปู่เลี้ยงย่าแท้ ลุงเขยป้าแท้ ลุงและป้าสะใภ้ อาเขยอาแท้จริงของเด็ก เป็นต้น • (ตามมาตรา 19 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2522 และแก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2533 และกฎกระทรวงฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2543) หมวด 4 ข้อ 27 (2) ออกตามความในพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2522)
การอ้างข้อกฎหมายเพื่อยกเว้นการทดลองเลี้ยงดู (ต่อ) • ผู้ขอรับเด็กเป็นญาติสืบสายโลหิตทางฝ่ายบิดาของเด็ก ซึ่งบิดามารดาเด็กไม่ได้จดทะเบียนสมรส หรือบิดาเด็กไม่ได้จดทะเบียนรับรองบุตร ได้แก่ ทวด ปู่ ย่า ลุง ป้า หรืออาของเด็ก • (ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2543) หมวด 4 ข้อ 27 (1) ออกตามความในพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2522)
การอ้างข้อกฎหมายเพื่อยกเว้นการทดลองเลี้ยงดู (ต่อ) • กรณีขอรับบุตรของคู่สมรส • (ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2543) หมวด 4 ข้อ 27 (3) ออกตามความในพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2522) • 5. กรณีขอรับเด็กถูกทอดทิ้งไว้กับผู้ขอรับเด็ก โดยผู้ขอรับเด็กได้อุปการะเลี้ยงดูเด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรมนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี และศาลได้มีคำสั่งอนุญาตแทนการให้ความยินยอมของบิดามารดาเด็ก • (ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2543) หมวด 4 ข้อ 27 (5) ออกตามความในพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2522)
การอ้างข้อกฎหมายเพื่อยกเว้นการทดลองเลี้ยงดู (ต่อ) • กรณีผู้ได้รับอนุญาตจากกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการให้อุปการะเลี้ยงดูเด็กที่ถูกทอดทิ้งแบบครอบครัวอุปถัมภ์ และได้อุปการะเลี้ยงดูเด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรมนั้นมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี โดยมีผลการเลี้ยงดูเป็นที่น่าพอใจ • (ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2543) หมวด 4 ข้อ 27 (4) ออกตามความในพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2522)
การตรวจสภาพจิตตามกระบวนการทดสอบทางจิตวิทยาการตรวจสภาพจิตตามกระบวนการทดสอบทางจิตวิทยา • โรงพยาบาลของรัฐ / เอกชน ที่มีนักจิตวิทยาคลินิก ที่สามารถทำแบบทดสอบทางจิตวิทยาได้ ไม่จำเป็นต้องมีจิตแพทย์ประจำอยู่โรงพยาบาลนั้น
กรณีขอรับเด็กกำพร้าในความอุปการะของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการกรณีขอรับเด็กกำพร้าในความอุปการะของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ 3. พมจ. ส่งคำขอรับบุตรบุญธรรมให้ศูนย์ฯ บุตรบุญธรรม 4. ศดบ. เสนอเรื่องต่ออธิบดีเพื่อขออนุมัติคุณสมบัติ 2. เยี่ยมบ้านเพื่อสอบสภาพครอบครัว 1.รับเรื่อง/ตรวจสอบหลักฐาน 8. ศดบ. เสนอเรื่องต่ออธิบดีเพื่อขออนุมัติทดลองเลี้ยงดู 7. สถานสงเคราะห์แจ้งประวัติเด็กให้ ศดบ. 6. ศดบ. แจ้งสถานสงเคราะห์ เพื่อขอให้ผู้ขอฯ ไปพิจารณาดูเด็ก 5. ศดบ. แจ้ง พมจ. ประสานงานแจ้งผู้ขอฯ ไปพิจารณาดูเด็กที่สถานสงเคราะห์ 9. ศดบ. แจ้งพมจ. ประสานงานแจ้งผู้ขอฯ รับมอบเด็กที่สถานสงเคราะห์ - แจ้งสถานสงเคราะห์ มอบเด็ก และลงนามในแบบ บธ. 8 10. ศดบ. แจ้ง พมจ. ติดตามผลการทดลองเลี้ยงดูนับตั้งแต่ผู้ขอฯ ลงนามในแบบ บธ. 8 11. พมจ. ส่งรายงานผลการทดลองเลี้ยงดู 3 ครั้ง 12. ศดบ. เสนออธิบดีเห็นชอบผลการทดลองเลี้ยงดู 14. ศดบ. แจ้ง พมจ. ประสานงานแจ้งผู้ขอรับเด็กให้ดำเนินการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม 13. ศดบ. เสนอคณะกรรมการพิจารณาอนุมัติจดทะเบียนบุตรบุญธรรม 16. ศดบ. แจ้งสถานสงเคราะห์เพื่อย้ายชื่อเด็กออกจากสถานสงเคราะห์ 15. พมจ. นำส่งทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
กรณีขอรับเด็กกำพร้าในความอุปการะของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (เป็นครอบครัวอุปถัมภ์มาก่อน) 1.พมจ / สถานสงเคราะห์อนุญาตให้ผู้ขอฯ เป็นผู้อุปการะเด็กแบบครอบครัวอุปถัมภ์ 2. พมจ. / สถานสงเคราะห์ ติดตามผลการเลี้ยงดูแบบครอบครัวอุปถัมภ์ 4 ครั้งต่อปี 3. ผู้ขอฯ ยื่นคำขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม 4. พมจ. ส่งคำขอรับบุตรบุญธรรมให้ศูนย์ฯ บุตรบุญธรรมพร้อมบันทึกอนุมัติให้เป็นครอบครัวอุปถัมภ์และรายงานผลการเลี้ยงดู 6. ศดบ. เสนอเรื่องต่ออธิบดีเพื่อขออนุมัติคุณสมบัติ 5. ศดบ. ประสานสถานสงเคราะห์ส่งประวัติเด็ก 9. พมจ. นำส่งทะเบียนรับบุตรบุญธรรม 8. ศดบ. แจ้ง พมจ. ประสานงานแจ้งผู้ขอรับเด็กให้ดำเนินการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม 7. ศดบ. เสนอคณะกรรมการพิจารณาอนุมัติจดทะเบียนบุตรบุญธรรม 10. ศดบ. แจ้งสถานสงเคราะห์เพื่อย้ายชื่อเด็กออกจากสถานสงเคราะห์
ขั้นตอนการดำเนินการ กรณีขอรับเด็กที่มีบิดามารดา / เด็กที่มีคำสั่งศาล ยื่นคำขอ - ตรวจสอบเอกสาร สอบสภาพครอบครัว อนุมัติคุณสมบัติของผู้ขอรับเด็ก กรณียกเว้นการทดลองเลี้ยงดู กรณีต้องทดลองเลี้ยงดู อนุมัติคุณสมบัติให้ทำการทดลองเลี้ยงดูไม่น้อยกว่า 6 เดือน คณะอนุกรรมการพิจารณาอนุมัติให้จดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม เสนอเห็นชอบผลการทดลองเลี้ยงดู แจ้งอำเภอดำเนินการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม ภายใน 6 เดือน
การเก็บแฟ้มประวัติการรับบุตรบุญธรรมการเก็บแฟ้มประวัติการรับบุตรบุญธรรม