340 likes | 524 Views
Digital Library. An Overview. Jhfljlhvlhblj. ห้องสมุดดิจิทัล คือ 1 ใน 10 เทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนชีวิตของคุณ. อันดับ 10 http://www.libraryhub.in.th/2011/05/16/digital-library-1-10-technologies-that-will-transform-your-life /. 10 เทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนชีวิตของคุณ.
E N D
Digital Library An Overview Jhfljlhvlhblj
ห้องสมุดดิจิทัล คือ 1 ใน 10 เทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนชีวิตของคุณ อันดับ 10http://www.libraryhub.in.th/2011/05/16/digital-library-1-10-technologies-that-will-transform-your-life/
10 เทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนชีวิตของคุณ อันดับที่ 10 Digital Libraries (ห้องสมุดดิจิทัล)อันดับที่ 9 Gene Therapy and/or Stem Cells (เซลล์ต้นกำเนิด)อันดับที่ 8 Pervasive Wireless Internet (อินเทอร์เน็ตไร้สาย)อันดับที่ 7 Mobile Robots (หุ่นยนต์ที่สามารถควบคุมได้)อันดับที่ 6 Cheaper Solar Cells (เครื่องเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า)อันดับที่ 5 Location-Based Computing (เทคโนโลยีการระบุพื้นที่)อันดับที่ 4 Desktop 3-D Printing (การพิมพ์ภาพแบบสามมิติ)อันดับที่ 3 Moore’s Law Upheld (กฎของมัวร์ในเรื่องประสิทธิภาพและขนาดของชิป)อันดับที่ 2 Therapeutic Cloning (การโคลนนิ่ง)อันดับที่ 1 The Hydrogen Economy (พลังงานน้ำ, พลังงานทดแทน)
ความแตกต่าง anytime anywhere ห้องสมุดแบบเดิม -Walk in -Printed materials -Keep and preservation ห้องสมุดดิจิทัล -Internet -Digital content -Real time
สิ่งที่เหมือนกัน การจัดหา การรวบรวม การจัดเก็บ การเข้าถึง
Definition • ห้องสมุดดิจิทัล (Digital Library: DL) คือ การเก็บรวบรวมเอกสารในฟอร์แมตดิจิทัลเป็นหมวดหมู่ เพื่อสะดวกในการสืบค้นและเข้าถึง โดยอาจจะพัฒนาระบบหรือซอฟต์แวร์บริหารจัดการ (DL Management System: DLMS) ขึ้นมาเอง หรือจะใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปก็ได้ • ห้องสมุดดิจิทัล คือ Collection ของวัตถุดิจิทัล –ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง ข้อมูล ที่มีการจัด มีวิธีการสืบค้น และเมทาเดทา ที่ช่วยให้สามารถค้นพบ และนำเสนอที่สนับสนุนการวิจัยและการสอน โดยให้ความสนใจกับสถาปัตยกรรม การคงอยู่ ความยั่งยืน และการสงวนรักษาดิจิทัล
ห้องสมุดดิจิทัลเป็นห้องสมุดแห่งอนาคต และมีหน้าที่ในการสนองตอบผู้ให้ และสร้างความพึ่งพอใจให้กับผู้ใช้ ห้องสมุดดิจิทัล ให้สารนิเทศได้ทุกเวลาและในทุกที่ที่ต้องการ และต่างก็มีความพยายามในการทำให้ผู้ใช้รู้สึกมีความพอใจที่เข้ามาใช้ระบบแต่ ก็จพิจารณาการใช้ระบบของผู้ใช้ไปพร้อมๆ กันด้วย
Digital library • ห้องสมุดที่มีการจัดหาหรือสร้างข้อมูล Information contents ให้เป็น Digital objects. • ห้องสมุดที่มีการจัดการข้อมูลในรูปแบบดิจิตอลที่เรียกว่า เป็น Digital objectsเริ่มจากมีการจัดการ การเผยแพร่ข้อมูลและการใช้ข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์หลักหรือในหลาย ๆ แหล่งจัดเก็บข้อมูล (Repositories) ผ่านระบบเครือข่าย • ผู้ใช้เรียกใช้ข้อมูลได้โดยตรงเป็นเนื้อหาเต็มรูปโดยผู้ใช้ไม่ต้องมาที่อาคารห้องสมุดและไม่ใช้ข้อมูลผ่านผู้ให้บริการหรือบรรณารักษ์ • ห้องสมุดดิจิตอล มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง เช่น เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสาร การจัดการสารสนเทศ และการติดต่อกับผู้ใช้ • ห้องสมุดดิจิตอลมีการจัดหมวดหมู่ให้เป็นระบบในลักษณะMetadata เพื่อความสะดวก ในการค้นหาและเพื่อให้การจัดการข้อมูลดิจิตอลมีมาตรฐานในการใช้ข้อมูลดิจิตอลร่วมกัน รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูล
Digital library • ในมุมมองของบรรณารักษ์ มีจุดเน้นที่แนวคิดหรือมุมมองใหม่ เปลี่ยนไปจากห้องสมุดที่เน้นกายภาพคือสถานที่สู่การเป็นห้องสมุดไร้พรมแดน ไม่มีพรมแดนทางกายภาพ เป็นแหล่งเข้าถึงและสืบค้นผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้โดยไม่จำกัดสถานที่ ระยะทางและระยะเวลา • เป็นแหล่งรวมทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลทั้งในรูปแฟ้มข้อมูลข้อความ แฟ้มข้อมูลเสียง แฟ้มข้อมูลภาพลักษณ์ • มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นหลักในการสร้าง จัดหา แปลงรูป การจัดเก็บ จัดทำเครื่องมือช่วยค้น สงวนรักษา และอนุรักษ์ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงและค้นคืนสารสนเทศได้อย่างเป็นระบบ
ห้องสมุดดิจิตอล (Digital library)ใช้ในความหมายที่ใกล้เคียงกับคำว่า ห้องสมุดเสมือน (Virtual library) และห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic library)
ห้องสมุดยุคใหม่ • ห้องสมุดยุคใหม่ ได้พยายาม ปรับระบบการบริหารการจัดการทรัพยากร และการสงวนรักษาโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ และมีการใช้เครือข่ายโดยเฉพาะ Internet ในการให้บริการเข้าถึงทรัพยากรต่างๆ • Digital Library • Hybrid Library • Virtual Library
ความแตกต่างคือเป็นห้องสมุด ที่มีการจัดการและให้บริการเนื้อหาของข้อมูลอยู่ในรูปแบบดิจิตอลที่ผู้ใช้เข้าถึงเนื้อหาเอกสารเต็มรูป (Full – text) ได้ โดยตรง • มีการสร้างหรือจัดหาข้อมูลดิจิตอลมาจัดเก็บอย่างเป็นระบบเพื่อความ สะดวกในการสืบค้นและให้บริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต • มีเป้าหมายเพื่อให้บริการข้อมูลเช่นเดียวกับ ห้องสมุดแบบดั้งเดิม
ทรัพยากร ในห้องสมุดดิจิตอลมาจากหลายสื่อทั้งที่อยู่ในรูปสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และข้อมูลดิจิตอลในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ • ข้อมูลที่อยู่รูปแบบดิจิตอลมีหลายรูปแบบได้แก่ ข้อมูลที่แปลงมาจากข้อมูลในสิ่งพิมพ์ ข้อมูลที่สร้างขึ้นใหม่ให้อยู่ในรูปแบบดิจิตอลข้อมูลจากซีดีรอม ข้อมูลในวารสารอิเล็กทรอนิกส์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์และจากฐานข้อมูลออนไลน์ • ในห้องสมุดดิจิตอลมีการผสมผสานการให้บริการข้อมูลจากสื่อทุกประเภททั้งรูปแบบ ของการใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติในการจัดการระบบงานห้องสมุดและการพัฒนาห้องสมุด ดิจิตอลเพื่อจัดเก็บและให้บริการข้อมูลที่ผู้ใช้เข้าถึงเนื้อหาได้โดยตรง
ห้องสมุดยุคใหม่ที่ผสมผสานการจัดการสื่อการเรียนรู้ทุกรูปแบบทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่เรียกว่าห้องสมุดผสมหลายสื่อ (Hybrid Library) โดยใช้โปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติในการจัดการทรัพยากรตามมาตรฐานและกระบวนการทำงาน เพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการได้สะดวกและรวดเร็ว
ห้องสมุดมหาวิทยาลัยและห้องสมุดเฉพาะทุกแห่ง ของไทยมีการบริการทรัพยากรในรูป Hybrid Library และมีการบริการสืบค้นข้อมูลดิจิทัลในรูป Digital Library รวมเรียกว่า Electronic Library หรือ e-Library เช่นเดียวกับห้องสมุดโรงเรียนและห้องสมุดประชาชนอีกหลายแห่งกำลังพัฒนาเพื่อไปสู่จุดนั้นในการบริการผู้ใช้ และมากไปกว่านั้นคือความร่วมมือกันเป็นเครือข่ายเพื่อประโยชน์ในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน
ห้องสมุดติจิตอล เกิดขึ้นเนื่องจากสารสนเทศปัจจุบัีนบันทึกในรูปแบบดิจิตอล(ดิจิทัล)มากขึึ้น ในขณะเดียวกันสารสนเทศใหม่ๆก็มีแนวโน้มที่จะบันทึกอยู่ในรูปดิจิทัลแทนสื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการสืบค้น การประมวลผล ประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บ และสามารถส่งถ่ายข้อมูลความรู้ เผยแพร่ไปสู่บุคคลต่างๆได้ทุกสถานที่ ทุกเวลาบนโลกนี้โดยผ่านเครือข่ายการสื่อสารสากล หรืออินเทอร์เน็ต • ห้องสมุดดิจิทัล ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ และห้องสมุดเหมือน จึงเป็นห้องสมุดอีกรูปแบบหนึ่งที่เกิดขึ้นในยุคดิจิทัลที่มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อตอบสนองความต้องการสารสนเทศของผู้อ่านได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่จำกัด เวลา และสถานที่
เมื่อเรารู้ว่าห้องสมุดดิจิทัลสำคัญต่อการใช้ชีวิตของคนแล้วพวกเราในฐานะคนทำงานห้องสมุดและบรรณารักษ์ขอสัญญาว่าจะพัฒนาวิชาชีพนี้ต่อไปเพื่อให้ห้องสมุดตอบสนองการใช้ชีวิตของคนในสังคมต่อไปเมื่อเรารู้ว่าห้องสมุดดิจิทัลสำคัญต่อการใช้ชีวิตของคนแล้วพวกเราในฐานะคนทำงานห้องสมุดและบรรณารักษ์ขอสัญญาว่าจะพัฒนาวิชาชีพนี้ต่อไปเพื่อให้ห้องสมุดตอบสนองการใช้ชีวิตของคนในสังคมต่อไป
33 เหตุผลที่บรรณารักษ์และห้องสมุดยังคงมีความสำคัญ http://www.libraryhub.in.th/2010/01/22/33-reasons-why-libraries-and-librarians-are-still-important/