240 likes | 752 Views
สำนักโครงการขนาดใหญ่ กรมชลประทาน. ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก ที่ตั้ง ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ลุ่มน้ำ ภูมิอากาศ ปริมาณน้ำท่า-น้ำฝน - ตารางเปรียบเทียบในกลุ่มลุ่มน้ำ ทรัพยากรดิน การใช้ประโยชน์ที่ดิน พื้นที่ทำการเกษตร. พื้นที่ที่มีศักยภาพพัฒนาระบบชลประทาน การประเมินความต้องการน้ำ
E N D
สำนักโครงการขนาดใหญ่ กรมชลประทาน ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก • ที่ตั้ง • ลักษณะภูมิประเทศ • พื้นที่ลุ่มน้ำ • ภูมิอากาศ • ปริมาณน้ำท่า-น้ำฝน - ตารางเปรียบเทียบในกลุ่มลุ่มน้ำ • ทรัพยากรดิน • การใช้ประโยชน์ที่ดิน • พื้นที่ทำการเกษตร. • พื้นที่ที่มีศักยภาพพัฒนาระบบชลประทาน • การประเมินความต้องการน้ำ • ปัญหาของลุ่มน้ำ • ด้านภัยแล้ง • แนวทางแก้ไข ส่วนอำนวยการและติดตามประเมินผล
25. ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก ที่ตั้ง ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก อยู่ทางใต้ของประเทศไทย ครอบคลุมพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ ระนอง พังงา กระบี่ ตรัง สตูล และนครศรีธรรมราช ทิศตะวันออกติดกับลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก ลุ่มน้ำตาปีและลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ทิศใต้ติดกับทะเลอันดามันและชายแดนประเทศมาเลเซีย และทิศตะวันตกติดกับทะเลอันดามัน (ตามรูปที่ 25-1) รูปที่ 25-1 แสดงที่ตั้ง ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก
ลักษณะภูมิประเทศ ตามรูปที่ 25-2 ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก เป็นพื้นที่ชายฝั่งติดทะเลอันดามัน มีเทือกเขาภูเก็ต พาดผ่านจากจังหวัดระนองมาจนถึงจังหวัดพังงา ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำหลายสายที่มีความยาวไม่มากนัดและไหลลงสู่ทะเลอันดามัน ภูมิประเทศส่วนใหญ่เกิดจากแผ่นดินยุบตัวลงไป ชายฝั่งทะเลเว้าแหว่ง มีอ่าวและเกาะต่างๆ มากมาย มีป่าชายเลนขึ้นอยู่ ตั้งแต่จังหวัดพังงาลงไปถึงจังหวัดสตูล รูปที่ 25-2 สภาพภูมิประเทศในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก
พื้นที่ลุ่มน้ำ ตารางที่ 25-1 ขนาดของพื้นที่ลุ่มน้ำย่อย ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 20,473 ตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็น 13 ลุ่มน้ำย่อย ตามตารางที่ 25-1 และรูปที่ 25-3 แสดงลุ่มน้ำย่อย 25.01 25.02 25.03 25.04 25.05 25.07 25.06 25.08 25.09 25.10 25.11 25.13 25.12 รูปที่ 25-3 แสดงลุ่มน้ำย่อย พื้นที่ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก
ภูมิอากาศ ข้อมูลภูมิอากาศที่สำคัญของลุ่มน้ำได้แสดงไว้แล้ว ตามตารางที่ 25-2 ซึ่งแต่ละรายการจะเป็นค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และค่าเฉลี่ยเป็นรายปี ตารางที่ 25-2 แสดงข้อมูลภูมิอากาศที่สำคัญ
ปริมาณน้ำฝนลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีปริมาณฝนผันแปรตั้งแต่ 1,600 มิลลิเมตร จนถึงประมาณ 4,400 มิลลิเมตร โดยมีปริมาณน้ำฝนทั้งปีเฉลี่ยประมาณ 2,558.9 มิลลิเมตร ลักษณะการผันแปรของปริมาณฝนรายเดือนเฉลี่ยได้แสดงไว้ ตามตารางที่ 25-3 และมีลักษณะการกระจายของปริมาณน้ำฝนของแต่ละลุ่มน้ำ ตามรูปที่ 25-4 ตารางที่ 25-3 ปริมาณน้ำฝนและน้ำท่ารายเดือนเฉลี่ย รูปที่ 25-5 ปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยรายเดือนในแต่ละลุ่มน้ำย่อย รูปที่ 25-4 ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายเดือนในแต่ละลุ่มน้ำย่อย ปริมาณน้ำท่าลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีพื้นที่รับน้ำทั้งหมดประมาณ 20,473 ตารางกิโลเมตร มีปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ยประมาณ 22,396.7 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามตารางที่ 25-3 หรือมีปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ยต่อหน่วยพื้นที่รับน้ำฝน 34.69 ลิตร/วินาที/ตารางกิโลเมตร ตามรูปที่ 25-5 แสดงปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยรายเดือนของแต่ละลุ่มน้ำ
ตารางเปรียบเทียบ ปริมาณน้ำฝน - ปริมาณน้ำท่า
ทรัพยากรดิน พื้นที่ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก สามารถจำแนกชนิดดินตามความเหมาะสมของการปลูกพืชออกได้ 4 ประเภท ซึ่งมีลักษณะการกระจายของกลุ่มดิน ตามรูปที่ 25-5 และแต่ละกลุ่มดินจะมีจำนวนพื้นที่ ตามตารางที่ 25-4 ตารางที่ 25-4 รูปที่ 25-5 การแบ่งกลุ่มดินจำแนกตามความเหมาะสมใช้ปลูกพืช
● การใช้ประโยชน์จากที่ดิน 1) พื้นที่ทำการเกษตร..............36.93 % พืชไร่.................................... 70.80 % ไม้ผล–ยืนต้น............................ 7.83 % ข้าว....................................20.59 % พืชผัก................................. 0.78 % รูปที่ 25-6 การทำเกษตร 2) ป่าไม้.................................58.07 % เขตอนุรักษ์พันธ์สัตว์ป่า.............. 12.63 % เขตอุทยานแห่งชาติ..................13.81 % พื้นที่ป่าอนุรักษ์.........................74.19 % รูปที่ 25-7 พื้นที่ป่าไม้และเพื่อการอนุรักษ์ 3) ที่อยู่อาศัย...........................1.28 % 4) แหล่งน้ำ.............................0.04 % 5) อื่นๆ...................................3.68 % รูปที่ 25-8 การใช้ประโยชน์จากที่ดิน
ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีพื้นที่การเกษตรทั้งหมดประมาณ7,560.29 ตารางกิโลเมตร และมีพื้นที่ที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก ประมาณ 4,063.24 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 53.74 พื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกข้าว 863.86 ตารางกิโลเมตร (21.26%) พื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกพืชผัก 5.28 ตารางกิโลเมตร ( 0.13%) พื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกพืชไร่ - ตารางกิโลเมตร ( - %) พื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกไม้ผล-ไม้ยืนต้น 3,194.10 ตารางกิโลเมตร(78.61%) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมกับการเพาะปลูก ส่วนใหญ่จะกระจายอยู่บริเวณตอนกลางและตอนล่างของพื้นที่ลุ่มน้ำ โดยเฉพาะสองฝั่งลำน้ำ ซึ่งรวมแล้วประมาณร้อยละ 19.85 ของพื้นที่ทั้งลุ่มน้ำ ในการทำการเกษตร พบว่าการใช้พื้นที่ปลูกพืช ส่วนใหญ่เป็นการปลูกไม้ผล-ไม้ยืนต้น และพืชผักบนพื้นที่ดินที่ไม่มีความเหมาะสม ส่วนข้าวมีสัดส่วนพื้นที่ที่มีความเหมาะสมต่อพื้นที่เพาะปลูกในปัจจุบันเหมาะสมดีอยู่แล้ว รูปที่ 25-9 การใช้ประโยชน์ที่ดินหลักด้านการเกษตร
พื้นที่ที่มีศักยภาพพัฒนาระบบชลประทานพื้นที่ที่มีศักยภาพพัฒนาระบบชลประทาน พื้นที่ที่มีศักยภาพการพัฒนาระบบชลประทานในพื้นที่ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก ส่วนใหญ่จะกระจายอยู่บริเวณตอนล่างของพื้นที่ลุ่มน้ำ โดยมีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 1,012.36 ตารางกิโลเมตร และคิดเป็นร้อยละ 24.92 ของพื้นที่การเกษตรที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก หรือร้อยละ 13.39 ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมด ตารางที่ 25-5 ตารางเปรียบเทียบพื้นที่การเกษตรกับพื้นที่ที่มีศักยภาพสำหรับพัฒนาระบบชลประทาน
การประเมินความต้องการน้ำการประเมินความต้องการน้ำ จากการศึกษาด้านเศรษฐกิจและสังคมได้คาดคะเนอัตราการเจริญเติบโตของประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองและนอกเขตเมือง รวมทั้งความต้องการใช้น้ำสำหรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม ช่วงปี 2544-2564 สรุปได้ตามรูปที่ 25-10 รักษาระบบนิเวศ ปริมาณน้ำ (ล้าน ลบ.ม.) ชลประทาน อุตสาหกรรม อุปโภค-บริโภค รูปที่ 25-10 สรุปแนวโน้มปริมาณความต้องการน้ำแต่ละประเภท
ปัญหาของลุ่มน้ำ • ด้านอุทกภัย สภาพการเกิดอุทกภัยในลุ่มน้ำนี้ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ∶- 1) อุทกภัยที่เกิดในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนและลำน้ำสาขาต่าง ๆ เกิดจากการที่มีฝนตกหนักและน้ำป่าไหลหลากจากต้นน้ำลงมามากจนลำน้ำสายหลักไม่สามารถระบายน้ำได้ทัน ประกอบกับสิ่ง กีดขวางจากเส้นทางคมนาคมขวางทางน้ำ และมีอาคาระบายน้ำไม่เพียงพอ พื้นที่ที่เกิดน้ำท่วมเป็นประจำได้แก่ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง และอำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา 2) อุทกภัยที่เกิดในพื้นที่ราบลุ่ม เกิดบริเวณที่เป็นพื้นที่ราบลุ่มและแม่น้ำสายหลักตื้นเขิน มีความสามารถระบายน้ำไม่เพียงพอ ทำให้ไม่สามารถ ระบายน้ำลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ พื้นที่ที่เกิดน้ำท่วมเป็นประจำ ได้แก่ อำเภอทุ่งสง อำเภอกันตัง อำเภอวังวิเศษ และอำเภอย่านตาขาว จังหวัดพังงา
ด้านภัยแล้ง ปัญหาภัยแล้งที่เกิดจากภาวะฝนทิ้งช่วงยาวนาน ทำให้พื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทานเกิดความแห้งแล้ง ขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภคและการเกษตร รวมทั้งการใช้น้ำในกิจกรรมอื่นๆ ด้วย จากข้อมูล กชช.2ค. ปี2542 หมู่บ้านในลุ่มน้ำนี้มีทั้งหมด 1,765 หมู่บ้าน พบว่ามีหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้ง จำนวน 881 หมู่บ้าน (ร้อยละ 49.92) โดยแยกเป็นหมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำเพื่อทำการเกษตร จำนวน 364 หมู่บ้าน (ร้อยละ 20.62)และหมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภคและการเกษตร จำนวน 517 หมู่บ้าน (ร้อยละ 29.29) หมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดตรัง 338 หมู่บ้าน หรือคิดเป็นร้อยละ 38.37 ของหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งทั้งหมด หมู่บ้านที่มีน้ำอุปโภค-บริโภค แต่ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร หมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค และน้ำเพื่อการเกษตร รูปที่ 25-11 แสดงลักษณะการกระจายตัวของหมู่บ้านที่ประสบปัญหาภัยแล้ง
แนวทางการแก้ไข ปัญหาการเกิดอุทกภัย และภัยแล้งในลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีลักษณะคล้ายกับพื้นที่ลุ่มน้ำอื่นๆ คือการผันแปรของปริมาณน้ำฝน ส่งผลให้เกิดความแห้งแล้งในช่วงที่ฝนทิ้งช่วง ในทางกลับกันเมื่อมีฝนตกหนักก็ทำให้เกิดน้ำไหลหลากท่วมพื้นที่อยู่อาศัย และพื้นที่การเกษตร การแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงมีแนวทางแก้ไขในภาพรวมโดยสรุปดังนี้ 1) การก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดและขนาดเล็กในพื้นที่ตอนบนของลำน้ำสาขาที่สำคัญ ได้แก่ ลำภาชี และแม่น้ำแม่กลอง เพื่อเก็บกักและชะลอปริมาณน้ำหลากในช่วงที่ฝนตกหนัก และปล่อยน้ำที่เก็บกักลงทางด้านท้ายน้ำในช่วงฤดูแล้งเพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้งให้พื้นที่สองฝั่งลำน้ำ 2) การก่อสร้างระบบส่งน้ำและกระจายน้ำในพื้นที่ที่ได้รับความเดือดร้อนจากภัยแล้งและอยู่ไม่ห่างจากลำน้ำสายหลักมากนัก โดยอาจดำเนินการในลักษณะก่อสร้างฝาย/ประตูระบายน้ำ พร้อมระบบคลองส่งน้ำ/ระบบสูบน้ำและส่งน้ำด้วยท่อ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากปัญหาภัยแล้ง 3) การขุดลอกลำน้ำสายหลักในช่วงที่ตื้นเขินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ (ควรดำเนินการควบคุมไปกับการก่อสร้างฝาย/ประตูระบายน้ำ เพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง หรือใช้วิธีขุดเป็นช่วง) 4) การปรับปรุงฝาย ประตูระบายน้ำ สะพาน ท่อลอดถนน และอาคารอื่น ๆ ที่กีดขวางทางน้ำและเป็นอุปสรรคต่อการระบายน้ำให้มีความสามารถในการระบายน้ำที่พอเพียงและเหมาะสมกับสภาพทางน้ำ 5) ควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณเขตตัวเมืองและพื้นที่โดยรอบให้เป็นไปตามผังเมืองที่วางไว้และควบคุมการรุกล้ำแนวคลองและลำน้ำสาธารณะ 6) ส่งเสริมการขุดสระน้ำประจำไร่นา ขุดบ่อน้ำตื้น/บ่อบาดาล ก่อสร้างถังเก็บน้ำ สำหรับพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลจากแหล่งน้ำตามสภาพความเหมาะสมของพื้นที่