200 likes | 331 Views
ความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา ของประเทศไทย. “หลักสูตรเทคนิคการสืบสวนทางการเงินระดับกลาง” นายศรัณย์ ถิรพัฒน์ อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานต่างประเทศ สำนักงานอัยการสูงสุด 17 กรกฎาคม 2555, ILEA - Bangkok. หัวข้อในการบรรยาย. บททั่วไป ช่องทางการติดต่อกับต่างประเทศ
E N D
ความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญาของประเทศไทยความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญาของประเทศไทย “หลักสูตรเทคนิคการสืบสวนทางการเงินระดับกลาง” นายศรัณย์ ถิรพัฒน์ อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานต่างประเทศ สำนักงานอัยการสูงสุด 17 กรกฎาคม 2555, ILEA - Bangkok
หัวข้อในการบรรยาย • บททั่วไป • ช่องทางการติดต่อกับต่างประเทศ • กระบวนการในการดำเนินการ - กรณีการให้ความช่วยเหลือแก่ต่างประเทศ - กรณีการขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศ • สรุป
บททั่วไป • กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง -พระราชบัญญัติความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ. 2535 - ประมวลกฎหมายอาญา (มาตรา 32-35) - ระเบียบของผู้ประสานงานกลางว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือและการ ขอความช่วยเหลือตามกฎหมายว่าด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศ ในเรื่องทางอาญา พ.ศ. 2537 -สนธิสัญญาระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ (Treaty) (ถ้ามี)
บททั่วไป (2) • หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง - กระทรวงการต่างประเทศ, สำนักงานอัยการสูงสุด, สำนักงานตำรวจ แห่งชาติ,ศาลยุติธรรม, กรมราชทัณฑ์ • เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง (มาตรา 12) - ผู้ประสานงานกลาง= อัยการสูงสุด (มาตรา 7) -เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ =ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ, อธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญา, อธิบดีกรมราชทัณฑ์ (มาตรา 12)
บททั่วไป (3) • เรื่องที่ขอความร่วมมือระหว่างประเทศในทางอาญา เป็นการช่วยเหลือกันระหว่างประเทศในเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินการทางอาญา ไม่ว่าจะในชั้นการสืบสวนสอบสวนของพนักงานสอบสวน การดำเนินการในชั้นศาล การเริ่มกระบวนการคดีทางอาญา หรือการดำเนินการอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เช่น การส่งเอกสารทางกฎหมาย การโอนตัวบุคคลที่ถูกคุมขังเพื่อการสืบพยาน บุคคล (ไม่เกี่ยวกับการจับกุมคุมขังเพื่อการส่งผู้ร้ายข้ามแดน) เหตุที่ไม่อาจให้ความช่วยเหลือได้: - เกี่ยวเนื่องกับความผิดทางการเมือง หรือความผิดทางทหาร - กระทบต่ออธิปไตย ความมั่นคง สาธารณประโยชน์ที่สำคัญของประเทศ
ช่องทางการติดต่อ • การติดต่อประสานงานอย่างไม่เป็นทางการ (Informal Cooperation) เป็นช่องทางที่สะดวกและรวดเร็วเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลเบื้องต้นที่ต้องการ ไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะใช้ในทางศาล • การติดต่อขอความร่วมมืออย่างเป็นทางการโดยอาศัยหลัก ต่างตอบแทน (Reciprocity Base Cooperation) สามารถกระทำได้แม้ไม่มีสนธิสัญญาว่าด้วยความร่วมมือทางอาญา ระหว่างกัน หรือไม่มีอนุสัญญาระหว่างประเทศกำหนดไว้
ช่องทางการติดต่อ (2) - หลักเกณฑ์: ต้องมีคำรับรองว่าจะให้ความช่วยเหลือในทำนองเดียวกันเมื่ออีกฝ่ายหนึ่งร้องขอ, ต้องเป็นความผิดทางอาญาของทั้งสองประเทศ, กรอบการใช้ดุลยพินิจเป็นไปตามที่กฎหมายภายในของแต่ละประเทศกำหนด -ช่องทางในการติดต่อ:เป็นการติดต่อโดยวิถีทางการทูต (ผ่านกระทรวงการ ต่างประเทศของแต่ละประเทศ) ประเทศผู้ร้องขอ:หน่วยงานที่ร้องขอ >>> ผู้ประสานงานกลาง (ถ้ามี) >>> กระทรวงการต่างประเทศ >>> ประเทศผู้รับคำร้องขอ:กระทรวงการต่างประเทศ >>> ผู้ประสานงานกลาง (ถ้ามี) >>> เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ -เมื่อดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว: ส่งกลับทางช่องทางเดิม
ช่องทางการติดต่อ (3) • การติดต่อขอความร่วมมืออย่างเป็นทางการโดยอาศัยสนธิสัญญาระหว่างกัน (Treaty Base Cooperation) -หลักเกณฑ์: ต้องมีสนธิสัญญาว่าด้วยความร่วมมือทางอาญาระหว่างกัน, มักจะ ยกเว้นหลักการเป็นความผิดทางอาญาของทั้งสองประเทศ, มีข้อกำหนดเฉพาะเพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วและความชัดเจนในการให้ความช่วยเหลือระหว่างกัน -เส้นทางในการติดต่อ: รัฐผู้ร้องขอ:หน่วยงานที่ร้องขอ >>>ผู้ประสานงานกลาง >>> รัฐผู้รับคำร้องขอ:ผู้ประสานงานกลาง >>> เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ - เมื่อดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว:ส่งกลับทางช่องทางเดิม
ช่องทางการติดต่อ (4) หมายเหตุพยานหลักฐานที่ได้มาจากการขอความร่วมมือทางอาญาอย่างเป็นทางการ สามารถใช้รับฟังในศาลได้ (มาตรา 41)
กระบวนการในการดำเนินการกระบวนการในการดำเนินการ • การให้ความช่วยเหลือแก่ต่างประเทศ - ประเทศไทยสามารถให้ความช่วยเหลือในเรื่องทางอาญาตามคำร้องขอของต่างประเทศได้แม้ไม่มีสนธิสัญญาว่าด้วยความร่วมมือทางอาญาระหว่างกัน(มาตรา 9, 10) กรณีอาศัยหลักต่างตอบแทน(Reciprocity base cooperation)ประเทศผู้ร้อง ขอต้องส่งคำร้องขอโดยผ่านวิถีทางการทูต พร้อมคำมั่นว่าจะให้ความช่วยเหลือ ในทำนองเดียวกันเมื่อประเทศไทยร้องขอ และต้องเป็นเรื่องที่เป็นความผิดทาง อาญาในประเทศไทยด้วย กรณีมีสนธิสัญญา(Treaty base cooperation) ประเทศภาคีสามารถส่งเรื่องไปยังอัยการสูงสุดผู้ประสานงานกลางเพื่อพิจารณาได้โดยตรง
กระบวนการในการดำเนินการ (2) - สิ่งที่ต้องระบุในคำร้องขอ (ระเบียบของผู้ประสานงานกลางฯ ข้อ 5) 1) ชื่อของหน่วยงานของประเทศที่ร้องขอความช่วยเหลือ 2) เรื่องที่ขอความช่วยเหลือรวมทั้งรายละเอียดที่อาจเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการตามคำร้องขอ (เช่น ข้อเท็จจริงแห่งคดี ข้อกฎหมาย) 3) วัตถุประสงค์และความจำเป็นที่ต้องขอความช่วยเหลือ 4) รายละเอียดสำหรับคำร้องขอแต่ละประเภทตามที่กำหนดไว้ในระเบียบฯ ข้อ 6 - 13 5) คำแปลเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ (แต่เป็นภาษาไทยจะสะดวกกว่า)
กระบวนการในการดำเนินการ (3) กรณีขอให้ริบหรือยึดทรัพย์สิน ต้องระบุรูปพรรณของทรัพย์สิน สถานที่ตั้งของ ทรัพย์สิน หรือที่อยู่ของบุคคลที่ครอบครองทรัพย์สินนั้น -ขอให้ริบ ต้องแนบต้นฉบับคำพิพากษาของศาลต่างประเทศถึงที่สุดหรือสำเนาที่รับรองความถูกต้องส่งมาด้วย (มาตรา 33) (ระเบียบฯ ข้อ 13) -ขอให้ยึด (เพื่อการริบในภายหลัง) ต้องแนบต้นฉบับคำสั่งของศาลต่างประเทศหรือสำเนาที่รับรองความถูกต้องส่งมาด้วย (มาตรา 33) (ระเบียบฯ ข้อ 13) นอกจากนี้ยังต้องมีพยานหลักฐานยืนยันได้ว่าทรัพย์นั้นเป็นทรัพย์ที่ได้มาโดยการ กระทำความผิด และทรัพย์สินที่ถูกริบต้องตกเป็นของแผ่นดิน (มาตรา 34, 35, ป.อ. มาตรา 33, 35) ถ้ามีสนธิสัญญา ต้องพิจารณาหลักเกณฑ์ตามสนธิสัญญาประกอบด้วย
กระบวนการในการดำเนินการ (4) อัยการสูงสุดผู้ประสานงานกลางเป็นผู้พิจารณาว่าคำร้องขอเข้าหลักเกณฑ์ที่อาจ ให้ความช่วยเหลือได้หรือไม่ หากเข้าหลักเกณฑ์จะส่งเรื่องให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ ดำเนินการต่อไป ดังนี้ (ตามมาตรา 11, 12) 1) คำร้องขอให้ดำเนินการในชั้นสอบสวน >>> ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ 2) คำร้องขอให้ดำเนินการในชั้นศาล >>> อธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญา 3) คำร้องขอให้โอนบุคคลที่ถูกคุมขัง >>> อธิบดีกรมราชทัณฑ์ 4) คำร้องขอให้เริ่มกระบวนการคดีทางอาญา >>> ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ, อธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญา เมื่อดำเนินการเสร็จแล้ว >>> ผู้ประสานงานกลาง (มาตรา 13, 14)
กระบวนการในการดำเนินการ (5) • การขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศ หน่วยงานของรัฐที่ประสงค์ขอความช่วยเหลือ เสนอเรื่องที่ต้องการขอความ ช่วยเหลือจากต่างประเทศต่ออัยการสูงสุด (มาตรา 36, 38) สิ่งที่ต้องระบุในคำร้องขอ(ระเบียบของผู้ประสานงานกลางฯ ข้อ 17) 1) ชื่อของ “หน่วยงาน” ที่ร้องขอความช่วยเหลือ 2) เรื่องที่ขอความช่วยเหลือรวมทั้งรายละเอียดที่อาจเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการตามคำร้องขอ (ข้อเท็จจริงแห่งคดี) 3) วัตถุประสงค์และความจำเป็นที่ต้องขอความช่วยเหลือ 4) รายละเอียดสำหรับคำร้องขอแต่ละประเภทตามที่กำหนดไว้ในระเบียบฯ ข้อ 6 – 13 โดยอนุโลม
กระบวนการในการดำเนินการ (6) 5) คำแปลเป็นภาษาของประเทศผู้รับคำร้องขอหรือภาษาอังกฤษที่รับรองความ ถูกต้อง (ควรเป็นภาษาท้องถิ่นของประเทศผู้รับคำร้องขอ) - กรณีขอให้ริบหรือยึดทรัพย์สิน ต้องระบุรูปพรรณของทรัพย์สิน สถานที่ตั้งของ ทรัพย์สิน หรือที่อยู่ของบุคคลที่ครอบครองทรัพย์สินนั้น -ขอให้ริบ ต้องแนบต้นฉบับคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดหรือสำเนาที่รับรอง ความถูกต้องส่งไปด้วย (มาตรา 37) (ระเบียบฯ ข้อ 13, 17) -ขอให้ยึด (เพื่อการริบในภายหลัง) ต้องแนบต้นฉบับคำสั่งของศาลหรือสำเนาที่ รับรองความถูกต้องส่งไปด้วย (มาตรา 37) (ระเบียบฯ ข้อ 13, 17)
กระบวนการในการดำเนินการ (7) นอกจากนี้ยังควรมีพยานหลักฐานยืนยันได้ว่าทรัพย์นั้นเป็นทรัพย์ที่ได้มาโดยการ กระทำความผิด (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีใช้ช่องทางหลักต่างตอบแทน) ถ้ามีสนธิสัญญา ต้องพิจารณาหลักเกณฑ์ตามสนธิสัญญาประกอบด้วย เส้นทางจากอัยการสูงสุด กรณีไม่มีสนธิสัญญา: อัยการสูงสุด >>> กระทรวงการต่างประเทศของไทย >>> กระทรวงการต่างประเทศของประเทศผู้รับคำร้องขอ >>> ผู้ประสานงานกลางของ ประเทศผู้รับคำร้องขอ (ถ้ามี) >>> เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ กรณีมีสนธิสัญญา: อัยการสูงสุด >>> ผู้ประสานงานกลางของประเทศ ผู้รับคำร้องขอ >>> เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ
สรุป - ประเด็นพิจารณาด้านกฎหมาย - ประเด็นพิจารณาด้านการบริหารคดี - ประเด็นพิจารณาด้านการมีเจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานประจำสถานทูต
THANK YOU ข้อมูลเพิ่มเติม: สำนักงานต่างประเทศ สำนักงานอัยการสูงสุด โทร. 0 2142 1632, โทรสาร 0 2143 9798