360 likes | 596 Views
กฎหมายลักษณะมรดก. อ.จักรภพ ศิริภากรกาญจน์. กองมรดก. ปพพ. มาตรา 1600 “กองมรดกของผู้ตายได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้”.
E N D
กฎหมายลักษณะมรดก อ.จักรภพ ศิริภากรกาญจน์
กองมรดก • ปพพ. มาตรา 1600 • “กองมรดกของผู้ตายได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้”
ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต้องเป็นของผู้ตายอยู่แล้วในเวลาตาย • ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่และความรับผิดซึ่งไม่เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้
การตกทอดแห่งทรัพย์มรดกการตกทอดแห่งทรัพย์มรดก • ปพพ. มาตรา 1599 • “เมื่อบุคคลตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท” • ปพพ. มาตรา 1602 • “เมื่อบุคคลใดต้องถือว่าถึงแก่ความตายตามความในมาตรา 62 แห่งประมวลกฎหมายนี้ มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท” • ปพพ. มาตรา 62 • “บุคคลซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญ ให้ถือว่าถึงแก่ความตายเมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังที่ระบุไว้ในมาตรา 61”
ทายาท • ปพพ. มาตรา 1603 • “กองมรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยสิทธิตามกฎหมายหรือโดยพินัยกรรม • ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมาย เรียกว่า “ทายาทโดยธรรม” • ทายาทที่มีสิทธิตามพินัยกรรม เรียกว่า “ผู้รับพินัยกรรม”
ปพพ. มาตรา 1604 • “บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคลหรือสามารถมีสิทธิได้ตามมาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายนี้ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย • เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ให้ถือว่าเด็กที่เกิดมารอดอยู่ภายในสามร้อยสิบวันนับแต่เวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายนั้น เป็นทารกในครรภ์มารดาอยู่ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย” • ปพพ. มาตรา 15 วรรคสอง • “ทารกในครรภ์มารดาก็สามารถมีสิทธิต่าง ๆ ได้ หากว่าภายหลังคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก”
ทายาทโดยธรรม • ปพพ. มาตรา 1629 • ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้คือ • (1) ผู้สืบสันดาน • (2) บิดามารดา • (3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน • (4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน • (5) ปู่ ย่า ตา ยาย • (6) ลุง ป้า น้า อา • + คู่สมรส
ส่วนแบ่งของทายาทโดยธรรมส่วนแบ่งของทายาทโดยธรรม • ปพพ. มาตรา 1630 • “ตราบใดที่มีทายาทซึ่งยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ยังไม่ขาดสาย ทายาทที่อยู่ในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายเลย • แต่ความในวรรคก่อนนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีเฉพาะที่มีผู้สืบสันดาน (1)คนใดยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่กัน แล้วแต่กรณี และมีบิดามารดา (2) ยังมีชีวิตอยู่ ในกรณีเช่นนี้ ให้บิดามารดาได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร”
กรณีเป็นทายาทโดยธรรมในลำดับเดียวกัน ให้ทุกคนในลำดับนั้น ๆ ได้รับส่วนแบ่งเท่ากันทุกคน แต่ในระหว่างชั้นผู้สืบสันดาน (1) ซึ่งต่างชั้นกันนั้น บุตรของเจ้ามรดกอันอยู่ในชั้นสนิทที่สุดเท่านั้นมีสิทธิรับมรดก ผู้สืบสันดานที่อยู่ในชั้นถัดลงไปจะรับมรดกได้ก็แต่โดยอาศัยสิทธิในการรับมรดกแทนที่”
คู่สมรส จะต้องแบ่งทรัพย์สินระหว่างเจ้ามรดกกับคู่สมรสก่อน สินสมรสแบ่งคนละครึ่ง สินส่วนตัวของฝ่ายใดฝ่ายนั้นก็เอาไป สินสมรสที่แบ่งครึ่งแล้วและสินส่วนตัวของผู้ตายเป็นกองมรดกที่จะนำมาแบ่งแก่ทายาท ซึ่งคู่สมรสก็ยังมีสิทธิอยู่อีกด้วยในฐานะทายาทโดยธรรม
ลำดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสลำดับและส่วนแบ่งของคู่สมรส • 1. ถ้ามีทายาทตาม (1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น มีสิทธิได้ส่วนแบ่งเหมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร • 2. ถ้ามีทายาทตาม (2) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่ หรือ (3)ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น มีสิทธิได้รับมรดกกึ่งหนึ่ง
3.ถ้ามีทายาทตาม (5)ซึ่งยังมีชีวิตอยู่ หรือ (4) หรือ (6) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น มีสิทธิได้รับมรดกสองในสามส่วน • 4.ถ้าไม่มีทายาทตาม (1)-(6) คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้รับมรดกทั้งหมด
การรับมรดกแทนที่ • การที่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดกแล้วผู้สืบสันดานของทายาทเข้ารับมรดกแทนที่
ทายาทโดยธรรมเท่านั้นที่จะมีสิทธิรับมรดกแทนที่ และมีเพียง 4 ลำดับเท่านั้น • (1) ผู้สืบสันดาน – ลูก หลาน เหลน......... • (3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน • (4) พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน • (6) ลุง ป้า น้า อา • ทายาทลำดับ (2) บิดามารดา และ (5) ปู่ ย่า ตา ยาย กฎหมายไม่ให้มีการรับมรดกแทนที่
ปพพ. มาตรา 1646 • “บุคคลใดจะแสดงเจตนาโดยพินัยกรรมกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนเอง หรือในการต่าง ๆ อันจะก่อให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายก็ได้”
ปพพ. มาตรา 1703 • “พินัยกรรมซึ่งบุคคลที่มีอายุยังไม่ครบสิบห้าปีบริบูรณ์ทำขึ้นนั้น เป็นโมฆะ”
ปพพ. มาตรา 1704 • “พินัยกรรมซึ่งบุคคลผู้ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถทำขึ้นนั้นเป็นโมฆะ • พินัยกรรมซึ่งบุคคลผู้ถูกอ้างว่าเป็นคนวิกลจริต แต่ศาลยังไม่ได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถทำขึ้นนั้น จะเป็นอันเสียเปล่าก็แต่เมื่อพิสูจน์ได้ว่าในเวลาที่ทำพินัยกรรมนั้นผู้ทำจริตวิกลอยู่”
1. พินัยกรรมแบบธรรมดา • ทำได้โดยทำเป็นหนังสือลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำขึ้นและผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน ซึ่งพยานทั้งสองคนนั้นต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ขณะนั้น
2. พินัยกรรมชนิดที่ผู้ทำเขียนเองทั้งฉบับ • ผู้ทำพินัยกรรมเขียนเองทั้งฉบับ ต้องลงวัน เดือน ปี แล้วลงลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรม โดยไม่จำเป็นต้องมีพยานในพินัยกรรม
3. พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง • ผู้ทำพินัยกรรมต้องไปแจ้งข้อความที่ตนประสงค์จะให้ใส่ไว้ในพินัยกรรมของตนแก่นายอำเภอต่อหน้าพยานอีกอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน นายอำเภอต้องจดข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมแจ้งให้ทราบนั้นลงไว้ และอ่านข้อความนั้นให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานฟัง และผู้ทำพินัยกรรม พยาน และนายอำเภอลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ
4. พินัยกรรมแบบเอกสารลับ • ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อในพินัยกรรม แล้วผนึกพินัยกรรมนั้นแล้วลงลายมือชื่อตามรอยผนึกนั้น และนำไปแสดงต่อนายอำเภอและพยานอีกอย่างน้อยสองคน ให้นายอำเภอและพยานลงลายมือชื่อบนซองนั้น
พินัยกรรมซึ่งได้ทำเป็นแบบเอกสารฝ่ายเมืองหรือเอกสารลับนั้น กรมการอำเภอจะเปิดเผยแก่บุคคลอื่นใดไม่ได้ในระหว่างที่ผู้ทำพินัยกรรมยังมีชีวิตอยู่ และผู้ทำพินัยกรรมจะเรียกให้กรมการอำเภอส่งมอบพินัยกรรมนั้นแก่ตนในเวลาใด ๆ กรมการอำเภอจำต้องส่งมอบให้ • ถ้าพินัยกรรมนั้นเป็นแบบเอกสารฝ่ายเมือง ก่อนส่งมอบพินัยกรรม ให้กรมการอำเภอคัดสำเนาพินัยกรรมไว้แล้วลงลายมือชื่อประทับตราตำแหน่งเป็นสำคัญ สำเนาพินัยกรรมนั้นจะเปิดเผยแก่บุคคลอื่นใดไม่ได้ในระหว่างที่ผู้ทำพินัยกรรมยังมีชีวิตอยู่
5. พินัยกรรมทำด้วยวาจา • ต้องมีพฤติการณ์พิเศษ เช่น ตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตายหรือมีโรคระบาด สงคราม และบุคคลนั้นไม่สามารถจะทำพินัยกรรมตามแบบอื่นที่กำหนดไว้ได้ ผู้ทำพินัยกรรมทำต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคน แล้วพยานสองคนนั้นต้องไปไปแจ้งข้อความต่อนายอำเภอโดยไม่ชักช้า นายอำเภอต้องจดข้อความที่พยานแจ้งนั้นไว้ และพยานลงลายมือชื่อไว้
6. พินัยกรรมทำในต่างประเทศ • ถ้าเลือกทำตามแบบต่างประเทศก็ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามแบบพินัยกรรมของประเทศนั้น ๆ มิฉะนั้นพินัยกรรมตกเป็นโมฆะ • ถ้าหากเลือกตามแบบที่กฎหมายไทยกำหนดไว้ อำนาจของนายอำเภอจะเป็นพนักงานทูต กงสุลฝ่ายไทย
พยานและผู้เขียนพินัยกรรมพยานและผู้เขียนพินัยกรรม
ปพพ. มาตรา 1670 • “บุคคลต่อไปนี้จะเป็นพยานในการทำพินัยกรรมไม่ได้ • (1) ผู้ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ • (2) บุคคลวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ • (3) บุคคลที่หูหนวก เป็นใบ้หรือจักษุบอดทั้งสองข้าง
ปพพ. มาตรา 1668 • “ผู้ทำพินัยกรรมไม่จำเป็นต้องเปิดเผยข้อความในพินัยกรรมให้พยานทราบ”
ปพพ. มาตรา 1671 • “เมื่อบุคคลใดนอกจากผู้ทำพินัยกรรมเป็นผู้เขียนข้อความแห่งพินัยกรรม บุคคลนั้นต้องลงลายมือชื่อของตน ทั้งระบุว่าเป็นผู้เขียน” • ถ้าบุคคลนั้นเป็นพยานด้วย ให้เขียนข้อความระบุว่าตนเป็นพยานไว้ต่อท้ายลายมือชื่อของตนเช่นเดียวกับพยานอื่น ๆ
ปพพ. มาตรา 1653 • “ผู้เขียน หรือพยานในพินัยกรรมจะเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมนั้นไม่ได้ • ให้ใช้บทบทบัญญัติในวรรคก่อนบังคับแก่คู่สมรสของผู้เขียนหรือพยานในพินัยกรรมด้วย”
การตั้งผู้จัดการมรดก • ผู้จัดการมรดกอาจได้รับการแต่งตั้งโดย • 1. โดยพินัยกรรม • 2. โดยคำสั่งศาล ผู้มีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้แก่ ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก ผู้มีส่วนได้เสีย หรือพนักงานอัยการ
ปพพ. มาตรา 1718 • “บุคคลต่อไปนี้จะเป็นผู้จัดการมรดกไม่ได้ • “(1) ผู้ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ • (2) บุคคลวิกลจริต หรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ • (3) บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนล้มละลาย”
อายุความคดีมรดก • ปพพ. มาตรา 1754 • “ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 193/27 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกมีกำหนดอายุความยาวกว่าหนึ่งปี มิให้เจ้าหนี้นั้นฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก” • ปพพ. มาตรา 193/27 • “ผู้รับจำนอง ผู้รับจำนำ ยังคงมีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนอง จำนำ หรือที่ได้ยึดถือไว้ แม้ว่าสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นประธานจะขาดอายุความแล้วก็ตาม”