340 likes | 578 Views
การปฐมนิเทศ วิชาการฝึกสมาธิฯ เทอมต้น ปีการศึกษา ๒๕๕๓. กรุณาติดตามข่าวสารกิจกรรม http :// philos - reli . hum . ku . ac . th /. และ http :// budhasamati . hum . ku . ac . th /. http://www.facebook.com/komentr. ติดตามข่าวสารกิจกรรมวิชา 01388323 ได้ทาง
E N D
การปฐมนิเทศวิชาการฝึกสมาธิฯการปฐมนิเทศวิชาการฝึกสมาธิฯ เทอมต้น ปีการศึกษา ๒๕๕๓ กรุณาติดตามข่าวสารกิจกรรม http://philos-reli.hum.ku.ac.th/ และ http://budhasamati.hum.ku.ac.th/ http://www.facebook.com/komentr
ติดตามข่าวสารกิจกรรมวิชา 01388323 ได้ทาง http://philos-reli.hum.ku.ac.th/ http://budhasamati.hum.ku.ac.th/ http://www.facebook.com/komentr
แผนการเรียนการสอนและการสอบแผนการเรียนการสอนและการสอบ กรุณาติดตามข่าวสารกิจกรรมทาง http://philos-reli.hum.ku.ac.th/ http://budhasamati.hum.ku.ac.th/ http://www.facebook.com/komentr
หลักเกณฑ์การเรียนและการเข้าฝึกอบรมสมาธิหลักเกณฑ์การเรียนและการเข้าฝึกอบรมสมาธิ คุณสมบัติของผู้สมัครเรียน ๑.เป็นผู้ที่มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาและยินดีในการปฏิบัติ ตามคำสอนตามแนวมหาสติปัฏฐาน ๔ อย่างเคร่งครัด๒.เป็นนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ได้ลงทะเบียนแล้ว๓.เป็นผู้มีสุขภาพจิตดีและมีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง ๔.เป็นผู้ที่สามารถรักษาศีล ๘ ได้อย่างเคร่งครัด๕.เป็นผู้ที่สามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบในการปฏิบัติอบรม ภาวนาของทางวัดได้อย่างเคร่งครัด(ไม่ได้ไปพักผ่อนนะครับ)
โครงการอบรมสมาธิตามแนวพุทธศาสนาโครงการอบรมสมาธิตามแนวพุทธศาสนา • จัดตามหลักสูตรวิชา ๐๑๓๘๘๓๒๓ (Buddhist Meditation) • รับนิสิตโดยการชำระค่าลงทะเบียนเรียน ภาคต้น ปีการศึกษา ๒๕๕๓ จำนวน 130 คน • ระยะเวลาอบรม ๗ วัน (วันที่ 11- 17 ตุลาคม 2553 ) • ช่วงการอบรมนิสิตทุกคนต้องสมาทานรักษาศีล ๘ อย่างเคร่งครัด • รับประทานอาหารเพียงวันละ๑ มื้อ: (เวลา 08.30) หลังจากนั้นมีน้ำปานะ 2 มื้อ • กิจกรรมอบรมสมาธิภาวนาเริ่มเวลา 05.30 -21.00 น. ทุกวัน • (โปรดดูรายละเอียดในตารางกิจกรรม) • สถานที่จัด: วัดป่าสุนันทวนาราม อ.ไทรโยค จ. กาญจนบุรี • วิทยากร : พระอาจารย์ มิตซูโอะ คเวสโก(พระวิปัสสนาจารย์สายหลวงปู่ชา) • จัดโดย : ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
กิจกรรมการเรียน ๑. การเข้าอบรมหลักสูตร “การปฏิบัติสมาธิเบื้องต้น”( 25 คะแนน ) นิสิตเลือกสถานที่เองตามความสะดวก เพื่อไปเข้าอบรมสมาธิเบื้องต้น(ต้องมีกิจกรรมการอบรมแบบมีการพักค้างถือศีลภาวนาอย่างน้อย 1 คืน คือรวมเป็น 2 วัน 1 คืน) ระยะเวลาให้ไปทำกิจกรรมเริ่มตั้งแต่ ช่วงเดือน มิถุนายน- สิ้นกันยายน 2553 โดยนิสิตจะต้องขอใบรับรองผ่านการเข้าร่วมอบรมจากสำนักปฏิบัติธรรมซึ่งมีลายเซ็นหรือการรับรองจากเจ้าสำนักนั้น และนิสิตจะต้องนำหลักฐานใบรับรองตัวจริงนั้น(พร้อมถ่ายสำเนา) มาส่งที่ ผศ.โกเมนทร์ ชินวงศ์ ภาควิชาปรัชญาและศาสนา มก.(ได้ทุกวันในเวลาราชการ ภายในเดือน มิถุนายน จนสิ้นเดือน กันยายน 2553 เท่านั้น) ๒.การสอบไล่ (ภาคทฤษฎี) ( 25 คะแนน) นัดสอบวันพุธที่ 15 เดือนกันยายน2553 เวลา ๑๖. ๓๐- ๑๘.๓๐ น. ณ ศร. ๓ ห้อง 404 จะนัดสอบในวันพุธที่ 15 เดือนกันยายน 2553 เวลา ๑๖. ๓๐ - ๑๘.๓๐ น. ณ ศร. ๓ ห้อง 404 -นิสิตทุกคนที่จะเข้าสอบได้ต้องชำระค่าเอกสาร ประกอบการเรียนและค่ากิจกรรม(ตามที่กำหนดในข้อ ข.) เรียบร้อยแล้วเท่านั้น มิฉะนั้นจะไม่มีสิทธิทำกิจกรรมต่าง ๆในรายวิชา- ข้อสอบจากเนื้อหาในหนังสือ ประกอบการเรียน(ที่ได้รับจากการชำระเงินแล้ว) - ข้อสอบ แบบปรนัย 80 ข้อมีตัวเลือก 4 ตัวเลือก ( 20 คะแนน ) - และอัตนัย 5 ข้อ ( 5 คะแนน ) โดยกำหนดให้ดังนี้ 1. จงเขียนคำอาราธนาศีล ๘ 2. จงเขียนคำสมาทานศีล ๘ ข้อ 3. จงเขียนคำถวายสังฆทาน 4. จงอธิบายกิจเบื้องต้นของการปฏิบัติสมาธิ 5. จงอธิบายวิธีการเดินจงกรมภาวนา ๓. การร่วมกิจกรรมโครงการ อบรมสมาธิครบ ๗ วันภาคปฏิบัติ :( 50 คะแนน)
หนังสือที่ใช้ประกอบการเรียนและการสอบหนังสือที่ใช้ประกอบการเรียนและการสอบ ให้นิสิตไปรับได้ที่ธุรการภาควิชาฯ พร้อมกับชำระเงินค่ากิจกรรม (ทุกคน) ภายในเดือน กรกฎาคม 2553นี้ +
เวลา๗วัน: ชั่วโมงการปฏิบัติอบรมภาวนา ดังต่อไปนี้ • เวลาการบรรยายธรรมตลอดการฝึก (วันละ๓ ชม.) รวม๒๑ ชั่วโมง • เวลาการนั่งสมาธิภาวนาตลอดการฝึก(วันละ ๔ ชม.) รวม ๒๘ ชั่วโมง • เวลาการเดินจงกรมภาวนาตลอดการฝึก( วันละ๒ ชม.) รวม๑๔ ชั่วโมง • เวลาทำวัตรสวดมนต์เช้า-เย็น(วันละ ๒ ชม.) รวม๑๒ ชั่วโมง • เวลาการฝึกปฏิบัติอบรมภาวนา รวม ๗๕ ชั่วโมง หมายเหตุ:ในคืนที่ตรงกับวันพระ นิสิตทุกคนต้องถือการภาวนาปฏิบัติตลอดทั้งคืนร่วมกับพระภิกษุ อุบาสกและอุบาสิกาโดยไม่มีการนอน ( การปฏิบัติเนสัสชิกะ)
ตารางการสอบ นัดสอบวันพุธที่ 15 เดือนกันยายน2553 เวลา ๑๖. ๓๐- ๑๘.๓๐ น. ณ ศร. ๓ ห้อง 404 กรุณาติดตามข่าวสารกิจกรรมทาง http://philos-reli.hum.ku.ac.th/ http://budhasamati.hum.ku.ac.th/
ศาลาอบรมการปฏิบัติธรรม 7 วัน 11 – 17 ตุลาคม 2553
สวดมนต์ภาวนาทำวัตรเช้า - ทำวัตรเย็น • คลิปวีดีโอการนั่งสวดมนต์
การแต่งกาย ให้เตรียมชุดขาว - ดำ และชุดขาว เพื่อแสดงความเคารพต่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์และสถานที่ นิสิตผู้เข้าฝึกอบรมสมาธิภาวนา ต้องแต่งกายดังนี้ สุภาพบุรุษ -สวมเสื้อสีขาว และกางเกงขายาวสีขาว - เทา - ดำ -ไม่ให้สวมกางเกงขาสั้น ขาสามส่วน และไม่คาดผ้าขาวม้า สุภาพสตรี -สวมชุดสีขาวหรือสี เทา -ดำ (ใช้กางเกงผ้าถุงหรือกระโปรงยาวเหนือข้อเท้า) -ไม่ให้สวมเสื้อผ้ารัดรูป เสื้อเอวลอยไม่มีแขน เสื้อบาง เสื้อคอกว้าง เสื้อคอลึก กางเกงขาสั้นและขาสามส่วน (ห้ามประกวดการแต่งตัว)(ทุกคน ห้ามสวมชุดนอน และเสื้อผ้ามีสีฉูดฉาดลวดลาย)
กิจกรรมกายบริหารเจริญสติกิจกรรมกายบริหารเจริญสติ
กิจกรรมกายบริหารเจริญสติกิจกรรมกายบริหารเจริญสติ
ฟังธรรมบรรยายปุจฉาและวิสัชชนาฟังธรรมบรรยายปุจฉาและวิสัชชนา • คลิปวีดีโอการอบรมฟังบรรยายธรรม
พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก ( พระอาจารย์ผู้นำฝึกอบรม )
โครงการอบรมสมาธิตามแนวพุทธศาสนาโครงการอบรมสมาธิตามแนวพุทธศาสนา ณ.วัดป่าสุนันทวนาราม อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี
ประโยชน์ที่มากมายของสมาธิประโยชน์ที่มากมายของสมาธิ • สหรัฐอเมริกาใช้การเข้าฌานสมาธิ ช่วยชีวิตคนไข้ โรคหัวใจล้มเหลว • นักวิจัยอเมริกัน รู้สึกตื่นเต้นเมื่อค้นพบว่า การเข้าฌานสมาธิช่วยให้คนไข้โรคหัวใจล้มเหลว มีอาการทุเลาสบายดีขึ้นได้อย่างประหลาด คณะนักวิจัยของมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนียที่เมืองฟิลาเดลเฟีย ได้ศึกษากับกลุ่มคนไข้โรคหัวใจล้มเหลวที่เป็นคนผิวสี 23 คน และเลือกเอาจำนวนครึ่งหนึ่ง ให้เข้าฝึกเข้าฌานสมาธิ เป็นเวลา 6 เดือน รายงานผลการศึกษาแจ้งว่า หลังจากนั้นทำการทดสอบโดยให้ออกกำลังเดินกันนาน 6 นาที เปรียบเทียบกัน ปรากฏว่ากลุ่มที่ทำสมาธิอาการทุเลาขึ้นอย่างสังเกตเห็นได้ และไม่ต้องกลับเข้านอนโรงพยาบาลอีกน้อยรายกว่ากันด้วย หมอโรเบิร์ต ชไนเดอร์ นักวิจัยอาวุโสของมหาวิทยาลัยการจัดการ ที่เมืองแฟรฟิลด์ รัฐไอโอวา กล่าวว่า โรคหัวใจวายเป็นปัญหาสุขภาพใหญ่อันหนึ่งของสหรัฐฯ “ถ้าหากเราสามารถทำอะไรสักอย่าง โดยที่การแพทย์สมัยใหม่ไม่อาจทำได้ จะเป็นคุณประโยชน์กับวงการแพทย์อย่างใหญ่หลวง” หมอโรเบิร์ตกล่าวว่า การเข้าฌานสมาธิเป็นสิ่งที่ฝึกได้ง่าย เพียงแต่ปฏิบัติวันละ 2 หน หนละ 15-20 นาทีเท่านั้น โดยการทำจิตให้ว่าง ลืมสิ่งต่างๆไปเสีย ปล่อยใจให้สงบนิ่ง เป็นสภาวะทางด้านสรีรวิทยา ร่างกายตกอยู่ในสภาพพักผ่อนอย่างแท้จริง และซ่อมแซมรักษาตัวเองได้ ผู้เชี่ยวชาญที่ทำการศึกษาได้กล่าวว่า การเข้าฌานสมาธิ จะช่วยยกคุณภาพชีวิตและความสามารถในการปฏิบัติของคนไข้โรคหัวใจล้มเหลว ขณะนี้กำลังเตรียมจะจัดตั้งศูนย์ศึกษาอิทธิพลของการทำฌานสมาธิ ของคนไข้โรคหัวใจล้มเหลว ขนาดใหญ่ขึ้นอีกหลายแห่ง.
โครงการอบรมสมาธิตามแนวพระพุทธศาสนา๗วันณ วัดป่าสุนันทวนาราม จ. กาญจนบุรี จัดโดยภาควิชาปรัชญาและศาสนา มก.
การประเมินผลคะแนนภาคปฏิบัติ(ใช้วิธีการตัดคะแนนออกถ้าละเมิดกฎ)การประเมินผลคะแนนภาคปฏิบัติ(ใช้วิธีการตัดคะแนนออกถ้าละเมิดกฎ) • การเตรียมตัวก่อนไปสู่วัด • ๑. นำเสื้อผ้าไปไม่เหมาะสมกับสถานปฏิบัติธรรม (๑๐ คะแนน) • ๒.นำอาหารไปเก็บไว้บริโภคเอง(๕ คะแนน) • ๓. นำของมีค่าอันอาจสูญหายได้ (๑ คะแนน) • ๔.ไม่เตรียมความพร้อม (๑ คะแนน) • ๕.ไม่ตรงต่อเวลานัดหมาย (๕ คะแนน) • ๖ . ไม่สำรวมอิริยาบถ ( ๑๐ คะแนน)
การประเมินผลคะแนนภาคปฏิบัติ(ใช้เกณฑ์การให้คะแนน 50 คะแนน) • การปฏิบัติตนช่วงอยู่ในวัด ๗ วัน • สวดมนต์ภาวนาทำวัตรเช้า – เย็น (10 คะแนน) • สมาทานรักษาศีล ๘ ตลอดการฝึกอบรม (10 คะแนน) • การปฏิบัติตนตามมารยาทที่ ดีงาม ในการอบรม (30 คะแนน)เช่น • ๑.ไม่พูดคุย ไม่ทำเสียงดัง (๕ คะแนน) • ๒.มารยาทในการกราบ/การเดิน/นั่งเรียบร้อยถูกต้อง (๕ คะแนน) • ๓.การทำความสะอาดและเก็บภาชนะที่ใช้เรียบร้อย (๕ คะแนน) • ๔.เข้าร่วมกิจกรรมครบทุกช่วงและตรงเวลา (๕ คะแนน) • ๕.มีความตั้งใจในการนั่งสมาธิ /เดินจงกรม (๑๐ คะแนน)
มาตรการการลงโทษ ๑.ไม่รักษาศีล ๘ และไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบของวัด (ตัดครั้งละ5 คะแนน) ๒.ไม่ทำวัตรเช้า-เย็นและขาดอบรมสมาธิตามตารางอบรม(ตัดครั้งละ 5 คะแนน) ๓.ไม่สำรวมอิริยาบถในขณะอบรม (คุยและใช้เครื่องสื่อสาร)(ตัดครั้งละ 5คะแนน) ๔. เครื่องแต่งกายไม่เรียบร้อย ไม่ถูกต้อง(ตัดครั้งละ 10 คะแนน) ๕.ยืนดื่มน้ำ, ยืนรับประทานอาหารและรับประทานเสียงดัง(ตัดครั้งละ 1 คะแนน) ๖. ทำกิจกรรมไม่กราบพระประธานในสถานที่ด้วยความเคารพ(ตัดครั้งละ1คะแนน) ๗. ทำตัวน่ารำคาญ (ตัดครั้งละ 5 คะแนน) ๘.สูบบุหรี่ (ตัดครั้งละ 5 คะแนน) ๙.ผู้ที่ไม่สามารถปฏิบัติตามระเบียบได้ครบหลักสูตร 7 วัน :อาจจะไม่ได้รับการตัดเกรดจากภาควิชาฯ
การให้บริการอาหารและเครื่องดื่มการให้บริการอาหารและเครื่องดื่ม กินเพื่ออยู่กินน้อย นอนน้อยปฏิบัติมาก • ๑. อาหารเช้า ( เครื่องดื่ม)เวลา ๐๗.๓๐-๐๘.๐๐ น. • ๒.อาหารกลางวัน เวลา ๐๘-๐๙.๓๐ น. • ๓.น้ำปานะ เวลา ๑๓.๐๐-๒๑.๐๐ น • อาหารเช้า - กลางวัน , น้ำปานะ ทางวัดจัดให้ที่ศาลาตามกำหนดเวลา • เมื่อรับประทานเสร็จต้องทำความสะอาดและเก็บภาชนะตามที่กำหนดให้เรียบร้อย
เรื่องการรักษาความสะอาดเรื่องการรักษาความสะอาด • ผู้เข้าอบรมจะต้องทำความสะอาดบริเวณอาคารที่พัก และธรรมสถานและห้องน้ำทุกวัน • ทิ้งเศษขยะและเศษอาหารในสถานที่ที่กำหนดให้ การเตรียมของใช้ • ต้องเตรียมเสื้อผ้าให้พอดีกับวันอบรม 7 วัน (โดยไม่มีการนำไปซักที่วัด) • เตรียมของใช้ส่วนตัวเช่น สบู่ แปรงสีฟัน ยาสีฟัน หวี ผ้าเช็ดตัว ยาประจำตัว ผ้าอนามัย ไฟฉาย นาฬิกาปลุก รองเท้ายาง เสื้อกันหนาว
การแต่งกาย ให้เตรียมชุดสีขาว - ดำ 7 วัน เพื่อแสดงความเคารพต่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์และสถานที่ นิสิตผู้เข้าฝึกอบรมสมาธิภาวนา ต้องแต่งกายดังนี้ สุภาพบุรุษ -สวมเสื้อสีขาว และกางเกงขายาวสีขาว - เทา - ดำ -ไม่ให้ใช้กางเกงขาสั้น หรือขาสามส่วน และไม่คาดผ้าขาวม้า สุภาพสตรี -สวมชุดสีขาวหรือสี เทา -ดำ (ใช้กางเกงผ้าถุงหรือกระโปรงยาวเหนือข้อเท้า) -ไม่ให้สวมเสื้อผ้ารัดรูป ห้ามใส่เสื้อเอวลอยไม่มีแขน เสื้อบาง เสื้อคอกว้าง เสื้อคอลึก กางเกงขาสั้นและขาสามส่วน (ห้ามประกวดการแต่งตัว) (นิสิตทุกคน ห้ามสวมชุดนอน และเสื้อผ้ามีสีฉูดฉาดลวดลาย)
ไม่อนุญาตให้นิสิตที่ไปเข้าอบรมใช้รถส่วนตัวเดินทางไม่อนุญาตให้นิสิตที่ไปเข้าอบรมใช้รถส่วนตัวเดินทาง • ทุกคนต้องเดินทางไปและกลับโดยรถบัสปรับอากาศของโครงการฯที่ภาควิชาจัดให้
กำหนดการวันเปิดอบรม • วันที่11 ตุลาคม2553 • เวลา ๐๘.๑๕ น. รถออกจากบริเวณศร.3 หน้าข้างอาคารจักพันธ์ฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ • เวลา๑๓.๓๐ น. ถึงวัดป่าสุนันทวนาราม กาญจนบุรี • กราบรายงานตัวกับพระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก • ตรวจเช็ครายชื่อ และเข้าที่พัก • ๑๗.๐๐ น. ปฐมนิเทศ จัดที่นั่งสวดมนต์ สอนวิธีนั่งสมาธิ-เดินจงกรม • ๑๘.๐๐-๒๑.๐๐ น.พิธีรับศีล-สมาทานกรรมฐาน(เริ่มการอบรม)
ตารางกิจกรรมการฝึกอบรม12-16 ตุลาคม 2553 • เวลา ๐๕.๐๐ น. ตื่นนอน ปฏิบัติสรีระกิจส่วนตัว • เวลา ๐๕.๓๐-๐๗.๓๐ น. ทำวัตรเช้า(สวดมนต์แปล) • เวลา ๐๗.๓๐-๐๘.๑๕ น. เดินจงกรม(กายบริหาร: ชี่กง) • เวลา ๐๘.๓๐ -๐๙.๓๐ น. รับประทานอาหาร (มื้อเดียว) • เวลา ๑๐.๐๐ -๑๒.๐๐ น. อบรมธรรมและอบรมสมาธิ • เวลา ๑๒.๐๐ -๑๔.๐๐ น. ชั่วโมงปิดวาจา (อ่านหนังสือ/ปลีกวิเวก) เวลา ๑๔.๐๐ -๑๗.๐๐ น. ไขปัญหาธรรมและอบรมสมาธิ • เวลา ๑๗.๐๐ -๑๘.๐๐ น. ทำสรีระกิจและทำความสะอาดที่พัก • เวลา ๑๘.๐๐ -๒๐.๐๐ น. เดินจงกรม -ทำวัตรค่ำ-อบรมธรรม • เวลา ๒๐.๐๐ -๒๑.๐๐ น. นั่งสมาธิ/เจริญสติปัฏฐาน ๔
กำหนดการวันปิดอบรม • วันที่ 17 ตุลาคม 2553 • เวลา ๐๕.๐๐ น. ตื่นนอน ปฏิบัติสรีระกิจส่วนตัว • เวลา ๐๕.๓๐-๐๗.๐๐ น. ทำวัตรเช้าและเดินจงกรม( ฝึกชี่กง) • เวลา ๐๘.๓๐ -๐๙.๓๐ น. รับประทานอาหารเช้า • เวลา ๑๐.๐๐- ๑๑.๐๐ น. -นิสิตผู้เข้าอบรมกล่าวขอขมาพระอาจารย์ และออกจากศีล 8 สมาทานศีล ๕ -ทุกคนร่วมถวายจตุปัจจัยชำระหนี้สงฆ์ - พระอาจารย์มิตซูโอะให้โอวาทและให้พร • ๑๑.๓๐ น. เดินทางขึ้นรถกลับมหาวิทยาลัย • ๑๖.๐๐ น. ถึงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์โดยสวัสดิภาพ
ประกาศผลสอบวันพุธที่ 20 ตุลาคม 2553 ที่ภาควิชาปรัชญาและศาสนา ชั้น ๕ คณะมนุษยศาสตร์ มก.
กรรมฐานประจำวันเกิด • ลักษณะจริตนิสัยของคนที่เกิดในแต่ละวันนั้นเราสามารถเอาเรื่องของกรรมฐานเข้าไปประยุกต์ใช้ได้ เพื่อบั่นทอนลักษณะนิสัยที่ไม่ดีและส่งเสริมลักษณะนิสัยที่ดีอยู่แล้ว ให้ดียิ่งขึ้น • กรรมฐานคืออะไรกรรมฐาน มาจากคำ ๒ คำ คือคำว่า กรรม + ฐานกรรม แปลว่า การกระทำก็ได้ หรือแปลว่าการงานก็ได้ส่วน ฐาน นั้นแปลว่า ที่ตั้ง ฉะนั้น ในเมื่อเอาคำ ๒ คำนี้ มารวมกันแล้วแปลให้ได้ความ ก็ควรจะแปลว่า อารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งการงาน ทางใจคือพูดง่ายๆ หางานให้ใจมันทำซะ อย่าปล่อยใจให้ว่างงาน ไม่เช่นนั้นเดี๋ยวมันจะฟุ้งซ่านแล้วนำความรำคาญ มาสู่จิตใจกรรมฐานมี ๒ ขั้นกรรมฐาน หรืองานทางใจนี้ มีถึง ๒ ขั้นขั้นแรก เป็นงานทางใจในระดับต้น ที่จะช่วยกวาดล้างอารมณ์ฟุ้งซ่านต่างๆให้ออกไปจากใจ ทำใจให้สงบ ประณีต ไปโดยลำดับ ซึ่งมีวิธีการฝึก อยู่หลายอย่างหลายวิธี ซึ่งจะได้แนะนำกันต่อไป… ขั้นนี้ เราเรียกว่า ขั้นสมถกรรมฐาน หรือสมาธิ
ขั้นต่อมาก็เป็นขั้นของการพัฒนาความเห็น ให้ถูกต้อง ตรงตามความเป็นจริง..สิ่งใดไม่เที่ยง ก็เห็นโดย ความจริง ว่าไม่เที่ยง… สิ่งใดเป็นทุกข์ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ก็เห็นโดยความจริง ว่าเป็นทุกข์….สิ่งใดเป็นอนัตตาบังคับบัญชา ให้เป็นไปอย่างใจไม่ได้ ก็เห็นโดยความจริงว่าเป็นอนัตตา… การเห็นความจริงอย่างนี้ ในทุกสิ่งทุกอย่าง จะทำให้เกิดความเบื่อหน่าย (นิพพิทา ) และคืนคลายถ่ายถอน ความยึดมั่นติดใจ ( อุปาทาน ) ในสิ่งทั้งหลายลงได้และเมื่อนั้นความทุกข์ทางใจ ก็จะมลาย หายไปสิ้น… ขั้นนี้แหละ ที่ท่านเรียกว่าขั้นของ วิปัสสนากรรมฐาน • คนเกิดวันไหนควรฝึกกรรมฐานอย่างใดติดตามดูได้จากเว็บไซด์ • คัดลอกมาจากกรรมฐานประจำวันของ อาจารย์บรรเจิด สังข์สวน