250 likes | 356 Views
ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ Southern Border Provinces Administrative Centre. ประวัติความเป็นมา.
E N D
ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้Southern Border Provinces Administrative Centre
ประวัติความเป็นมา ศูนย์อํานวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ได้เข้ามามีบทบาทในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๔ ในสมัยรัฐบาลที่มี ฯพณฯพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง
วิสัยทัศน์/พันธกิจ เป็นองค์กรในการเร่งนำสันติสุข ความปลอดภัยในชีวิตแลทรัพย์สิน เกียรติยศศักดิ์ศรี ความเสมอภาค และความเจริญรุ่งเรือง กลับคืนสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
บทบาทภารกิจหน้าที่แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือส่วนที่ 1 • จัดทำ “ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้” ให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ • จัดทำแผนปฏิบัติการที่จะดำเนินการในจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ • เสนอแนะและบูรณาการ แผนงาน และโครงการในด้านการพัฒนาของกระทรวง ทบวง กรมและหน่วยงานอื่นของรัฐ • ดำเนินการตามแผนงานและโครงการต่อเนื่องจากแผนงานและโครงการที่หน่วยงานของรัฐ ไม่อาจดำเนินการต่อไปได้ • กำกับ เร่งรัด และติดตามการปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐฝ่ายพลเรือนให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ
ส่วนที่ 2 • คุ้มครองสิทธิเสรีภาพและอำนวยความเป็นธรรมแก่ประชาชน • ให้ความช่วยเหลือเยียวยา • เสนอแนะมาตรการสร้างขวัญและกำลังใจสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ • เสนอแนะหรือแนะนำต่อหน่วยงานของรัฐเกี่ยวกับลักษณะอันพึงประสงค์ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ • ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหา ใน จชต. • ส่งเสริม สนับสนุน อำนวยความสะดวกและแก้ไขปัญหาแก่คนไทย ใน จชต.ที่เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ • ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการการศึกษาใน จชต. • ประชาสัมพันธ์นโยบาย และการดำเนินงานของ ศอ.บต. • ร่วมมือกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ • ส่งเสริมแนวคิดด้านพหุวัฒนธรรม • ปฏิบัติการอื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ ของ ศอ.บต. หรือตามที่คณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีมอบหมาย
ส่วนที่ 3 การเชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้กับยุทธศาสตร์ของ กอ.รมน. ศอ.บต. ต้องดำเนินการมาตรา 9 (16) วรรคสาม ที่บัญญัติไว้ว่าในการจัดทำแผนปฏิบัติการตาม (2) คือจัดทำแผนปฏิบัติการที่จะดำเนินการในจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้ ศอ.บต. หารือกับหัวหน้าหน่วยงานที่กำกับดูแลยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงด้วย เพื่อให้แผนปฏิบัติการดังกล่าวสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการด้านความมั่นคงตามกฎหมายว่าด้วยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
กองกิจกรต่างประเทศ ศอ.บต.
ภารกิจงานด้านการต่างประเทศ กองกิจการต่างประเทศ • ร่วมจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้กับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในมิติการต่างประเทศ • จัดทำคำชี้แจงประเด็นเกี่ยวกับข้อกล่าวหาด้านสิทธิมนุษยชนต่อรายงานของคณะมนตรีความมั่นคง แห่งสหประชาชาติ (SC) และคณะมนตรีความมั่นคงด้านสิทธิมนุษยชน แห่งสหประชาชาติ (HRC) ที่สำคัญได้แก่
รายงานขององค์กรนิรโทษกรรมสากล (Amnesty international) • รายงานของสหประชาชาติเกี่ยวกับเด็กและความขัดแย้งทางอาวุธ (โดยเฉพาะข้อกล่าวหาเรื่องเด็กมีความเกี่ยวข้องกับชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) โดยเฉพาะรายงานขององค์กรพันธมิตรเพื่อยุติการใช้ทหารเด็ก (Coalition to Stop the Use of Child Soldiers) และมูลนิธิความยุติธรรมเพื่อสันติภาพ • รายงานของสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิเด็กและสตรี
การจัดทำคำชี้แจง / รายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับการดำเนินคดีการต่อคดีการสูญหายโดยถูกบังคับหรือไม่สมัครใจของบุคคลต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ • ส่งเสริมความสัมพันธ์กับประเทศโลกมุสลิม อาทิ องค์กรความร่วมมืออิสลาม (OIC) องค์การ วิทยาศาสตร์ การศึกษา และวัฒนธรรมอิสลาม (ISESCO) • ส่งเสริมความร่วมมือกับหน่วยงานระหว่างประเทศของสหประชาชาติ อาทิ UNDP UNICEF • ส่งเสริมภาพลักษณ์ของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ให้การต้อนรับคณะทูตต่างประเทศในการเยือนพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (สหรัฐอเมริกา ยุโรป เอเชีย อาเซียน ฯลฯ ) ซึ่งนำโดยรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ • ให้การต้อนรับคณะสื่อมวลชนจากทั้งในและต่างประเทศโดยเฉพาะสื่อมวลชนประเทศมุสลิม • ให้การต้อนรับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งประเทศไทย • ดำเนินการกระชับความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ฯลฯ
การส่งเสริมความสัมพันธ์กับประเทศมาเลเซีย มีกรอบความร่วมมือต่างๆ ได้แก่ • คณะกรรมการว่าด้วยยุทธศาสตร์ความร่วมมือในการพัฒนาพื้นที่ชายแดนไทย-มาเลเซีย (Thailand – Malaysia Committee on Joint Developement Strategy for Border Areas: JDS)
ยุทธศาสตร์ Lima Dasar ๕-๕-๕ ( ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ๕ รัฐตอนเหนือของมาเลเซีย ๕ ตลาด) • การสนับสนุนโครงการส่งเสริมความสัมพันธ์ท้องถิ่นไทย - มาเลเซีย • การประชุมเชิงปฏิบัติการกับทีมประเทศไทยในมาเลเซีย • การประชุมร่วมกับคณะบริหาร สถานกงสุลใหญ่โกตา บารู และปีนัง • ประชุมแก้ปัญหาความขัดแย้งด้านชายแดน อาทิ ปัญหา รถตู้ การเดินทางไปทำงานที่มาเลเซียโดยใช้บัตรอนุญาตผ่านแดน (border pass)
การส่งเสริมความสัมพันธ์กับประเทศอินโดนีเซียการส่งเสริมความสัมพันธ์กับประเทศอินโดนีเซีย • โครงการส่งนักศึกษาจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ไปศึกษาต่อที่ ประเทศอินโดนีเซีย โดยทุน Muhammadiyah • จัดคณะผู้แทน ศอ.บต. และ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ไปร่วมประชุมกับทีมประเทศไทยในอินโดนีเซีย • หาลู่ทางร่วมมือกับอินโดนีเซีย ในการพัฒนาสินค้าฮาลาลเพื่อป้อนตลาดโลกมุสลิม
หน้าที่ได้รับมอบหมาย งานหลัก • ลงทะเบียนหนังสือรับภายนอก-ภายใน • เสนอแฟ้มหน้าห้องรองเลขาธิการ • รับแฟ้มหน้าห้องเลขาธิการ/รองเลขาธิการ • ถ่ายเอกสาร • เวียนหนังสือภายในสำนัก/กอง • พิมพ์งาน
งานรอง สแกนเอกสารราชการ ส่งแฟกซ์ พิมพ์เอกสารราชการ เขียนข้อความขึ้นบอร์ด แปลเอกสารภาษาอังกฤษ เตรียมการประชุม
พ.ต.อ. ทวี สอดส่อง เลขาธิการ ศอ.บต
นายมงคล สินสมบูรณ์ นักการทูตชำนาญการ รก.ผอ.กต.ศอ.บต.
นำป้ายไปวางในห้องประชุมนำป้ายไปวางในห้องประชุม
รับสมัคร นร./นศ. จากจังหวัดชายแดนภาคใต้ไปศึกษาต่อที่ประเทศอินโดนีเซีย โดยทุน Muhammadiyah
คีย์ข้อมูลของผู้สมัครทุน Muhammadiyah
เข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการคัดเลือก นร./นศ. ทุน Muhammadiyah
นางสาวมารีแย เก็งมะลาพี รหัส 5220710143 เอกความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ