1 / 31

การกักเรือ Arrest of Sea Ships 

การกักเรือ Arrest of Sea Ships . ดร. พรชัย วิสุทธิศักดิ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. การกักเรือคือ. การกัก มาจากภาษาอังกฤษว่า Arrest โดยมีแนวความคิดเพื่อให้ได้มาซึ่ง หลักประกันในการเรียกร้องค่าเสียหายจากเจ้าของเรือในหนี้ที่เกิดขึ้น

hisa
Download Presentation

การกักเรือ Arrest of Sea Ships 

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การกักเรือArrest of Sea Ships  ดร. พรชัย วิสุทธิศักดิ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  2. การกักเรือคือ • การกัก มาจากภาษาอังกฤษว่า Arrest โดยมีแนวความคิดเพื่อให้ได้มาซึ่ง หลักประกันในการเรียกร้องค่าเสียหายจากเจ้าของเรือในหนี้ที่เกิดขึ้น • ตามหลักของ กฎหมายอังกฤษนั้น การกักเรือถือเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินคดีต่อตัวทรัพย์

  3. หลักการดำเนินคดีในทางพาณิชย์นาวีหลักการดำเนินคดีในทางพาณิชย์นาวี • 2 ประเภทคือ • การดำเนินคดีต่อตัวบุคคล (Action in Personam) และ • การดำเนินคดีต่อตัวทรัพย์ (Action in Rem)

  4. การดำเนินคดีต่อตัวบุคคล หรือ Action in Personam • คือการฟ้องร้องดำเนิน คดีต่อตัวบุคคล หรือลูกหนี้ให้ตกเป็นจำเลย เพื่อบังคับให้ลูกหนี้ หรือจำเลยปฏิบัติการ ชำระหนี้ในสิทธิเรียกร้องทางแพ่ง

  5. การดำเนินคดีต่อตัวทรัพย์ หรือ Action in Rem • การดำเนินคดีต่อตัวทรัพย์ หรือ Action in Remเป็นรูปแบบการดำเนินคดีที่ แยกเป็นอิสระออกจากการดำเนินคดีแบบ In Personamคือเป็นรูปแบบการฟ้องร้อง ดำเนินคดีกับตัวทรัพย์ในฐานะที่ทรัพย์นั้นเป็นจำเลย เช่น การดำเนินคดีกับเรือเดินทะเล หรือการดำเนินคดีต่อตัวทรัพย์อื่น เช่น สินค้า ค่าระวางการขนส่ง เป็นต้น ไม่ใช่เป็นการ ดำเนินคดีกับเจ้าของทรัพย์

  6. In Remมีประโยชน์สำคัญอยู่ 2 ประการ • คือ ในการดำเนินคดีต่อตัวทรัพย์นั้นจะทำให้โจทก์มีหลักประกันในการชำระหนี้ โดย ทรัพย์ที่ถูกดำเนินคดีจะถูกกัก (Arrest) ตามคำสั่งศาลและถูกบังคับขายเพื่อชำระหนี้ตาม คำพิพากษา ส่วนประโยชน์อีกประการหนึ่งคือ ในกรณีที่ลูกหนี้เป็นชาวต่างชาติ มีถิ่นที่ อยู่และภูมิลำเนาอยู่ในต่างประเทศ เจ้าหนี้ไม่อาจดำเนินคดีกับลูกหนี้ที่อยู่นอกเขตอำนาจ ศาลของประเทศเจ้าหนี้แบบ In Personamได้ • ต่อมาปรากฏมีทรัพย์ของลูกหนี้ เช่น เรือเดินทะเลของลูกหนี้เดินทางเข้ามาในประเทศเจ้าหนี้ กรณีเช่นนี้เจ้าหนี้ย่อมสามารถ ดำเนินคดี In Remกับเรือเดินทะเลของลูกหนี้ได้แม้ลูกหนี้จะไม่ปรากฏตัว หรือไม่เข้ามา อยู่ในเขตอำนาจของศาลในประเทศเจ้าหนี้ก็ตาม

  7. พระราชบัญญัติการกักเรือ พ.ศ. 2534 เพื่อก่อให้เกิดข้อบังคับและอำนาจในการกักเรือเพื่อชำระหนี้ • เป็นการสร้างเขตอำนาจศาล กรณีการบังคับให้เจ้าของทรัพย์ที่เป็นบุคคลต่างชาติที่อยู่ นอกเขตอำนาจศาลยอมตนเข้ามาอยู่ในเขตอำนาจศาลยอมรับหมายเรียกและเข้าต่อสู้คดี และก่อให้เกิดประโยชน์แก่เจ้าหนี้

  8. เงื่อนไขการกักเรือ • ศาลจะสั่งกักเรือตามพระราชบัญญัติการกักเรือ พ.ศ. 2534 นั้น จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่ปรากฏอยู่ในมาตรา 3, 4, 5, 6, 7 และ 8

  9. การเป็นเจ้าหนี้เพื่อขอกักเรือการเป็นเจ้าหนี้เพื่อขอกักเรือ • ผู้ร้องขอกักเรือร้องเอง บุคคลดังกล่าวจะต้องเป็นเจ้าหนี้ กล่าวคือ มีสิทธิอย่างใด อย่างหนึ่ง และต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าตนเองมีสิทธิเรียกร้องดังกล่าวด้วย • สิทธิเรียกร้องที่เจ้าหนี้มี จะต้องเป็นสิทธิเรียกร้องประเภทใดประเภทหนึ่งดังที่กำหนด ไว้ในมาตรา 3

  10. หากไม่ใช่สิทธิเรียกร้องประเภทใดประเภทหนึ่งดังกล่าว เจ้าหนี้ก็จะมากักเรือตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ไม่ได้ • หากเจ้าหนี้มีความประสงค์ก็ต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเรื่องวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา)

  11. สิทธิเรียกร้องอันเกิดจาก • 1) ความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินของบุคคลใดๆ ที่มีเหตุมาจากเรือหรือการดำเนินงานของเรือ เช่น เรือชนกันมีคนบาดเจ็บ หรือ ได้รับความเสียหาย • 2) การช่วยเหลือกู้ภัย • 3) สัญญาเกี่ยวกับการใช้ เช่า เช่าซื้อ หรือยืมเรือ การให้บริการ บรรทุกหรือสัญญาอื่นทำนองเดียวกัน • 4) สัญญาเกี่ยวกับการรับขนของทางทะเลที่มีการออกใบตราส่ง

  12. 5) การเฉลี่ยความเสียหายทั่วไป ในกรณีที่เจ้าของเรือผู้ขนส่งและเจ้าของของที่บรรทุกมาในเรือนั้น มีหน้าที่ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่เจ้าของทรัพย์สินที่สูญหายหรือเสียหาย จากการกระทำโดยเจตนาด้วยความจำเป็นตามสมควรเพื่อความปลอดภัยร่วมกันของเรือ และของที่บรรทุกมาในเรือนั้นหรือต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายที่ได้เสียไปด้วยความจำ เป็นเป็นกรณีพิเศษเพื่อประโยชน์ร่วมกันของทุกฝ่ายหรือเพื่อความปลอดภัยร่วม กันของเรือ และของที่บรรทุกมาในเรือนั้น ทั้งนี้ เมื่อมีบทบัญญัติแห่งกฎหมาย หรือสัญญาระหว่างคู่กรณีกำหนดความรับผิดในเรื่องนี้ไว้

  13. 6) การสูญหายหรือเสียหายอันเกิดแก่ทรัพย์สินที่บรรทุกมาในเรือ • 7) การให้บริการลากจูงเรือไม่ว่าโดยวิธีใด • 8) การให้บริการนำร่อง • 9) การจัดหาของหรือวัสดุใดๆ เพื่อใช้ในการดำเนินงานลงเรือหรือการซ่อม บำรุงเรือ • 10) การต่อ ซ่อมหรือจัดเครื่องบริภัณฑ์ให้แก่เรือหรือค่าธรรมเนียมการใช้อู่เรือ

  14. 11) การให้บริการทางท่าเรือ หรือค่าภาระ หรือค่าบริการในการใช้ท่าเรือ • 12) ค่าจ้างขนของลงเรือหรือขึ้นจากเรือ • 13) ค่าจ้างนายเรือหรือคนประจำเรือ • 14) ค่าใช้จ่ายของเรือที่นายเรือ ผู้เช่าเรือ ตัวแทนหรือผู้ส่งของได้ทดรองจ่ายไปแทนเจ้าของเรือ หรือผู้ครอบครองเรือ

  15. 15) ข้อพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในตัวเรือ • 16) ข้อพิพาทระหว่างเจ้าของรวมเกี่ยวกับการครอบครองการใช้เรือ หรือรายได้จากเรือ • 17) การจำนองเรือ

  16. กระบวนการขอกักเรือ • พนักงานอัยการสามารถยื่นคำร้องขอให้กักเรือ แทนเจ้าหนี้ได้ (ทางปฏิบัติไม่ค่อยจะปรากฏ) แต่เฉพาะสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับเรือเกิดจากความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกายหรือทรัพย์สินทางบุคคลใดๆ ที่มีสาเหตุมาจากเรือหรือ การดำเนินงานของเรือ เมื่อพนักงานอัยการเห็นสมควรจะรับดำเนินคดีตามสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับเรือดังกล่าวแทนเจ้าหนี้ก็ได้ ซึ่งหากพนักงานอัยการเป็นผู้ยื่นก็จะได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมกักเรือ ดังนั้นโดยหลักแล้วพนักงานอัยการจะยื่นคำร้องขอกักเรือเพื่อสิทธิเรียกร้องอื่นไม่ได้ (เว้นแต่เป็นกรณีที่เป็นสิทธิเรียกร้องของส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ)

  17. เจ้าหนี้ผู้ยื่นคำร้องขอให้กักเรือต้องมีภูมิลำเนาในราชอาณาจักร

  18. เรือที่ถูกกักจะเป็นเรือลำใดลำหนึ่งของลูกหนี้ก็ได้ไม่จำเป็นต้องเป็นเรือที่ก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้อง แต่ถ้าเป็นสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับข้อพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในตัวเรือข้อพิพาทระหว่างเจ้าของรวมเกี่ยวกับครอบครองเรือ การใช้เรือ หรือรายได้จากเรือ หรือข้อพิพาทเกี่ยวกับการจำนองเรือ เจ้าหนี้จะขอให้ศาลศาลสั่งเรือลำอื่นที่เป็นของลูกหนี้หรือลูกหนี้เป็นผู้ครองครอง นอกจากเรือลำที่เกี่ยวกับข้อพิพาทนั้นมิได้

  19. การกักเรือที่ไม่ได้เป็นของลูกหนี้การกักเรือที่ไม่ได้เป็นของลูกหนี้ การกักเรือที่ไม่ได้เป็นของลูกหนี้ แต่ลูกหนี้เป็นผู้ครอบครอง มีเงื่อนไข 3 ประการ • 1. เหตุแห่งสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับเรือเกิดจากเรือหรือธุรกิจของเรือนั้น • 2. ลูกหนี้เป็นผู้ครอบครองเรือในเวลาที่เกิดสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับเรือ • 3. ลูกหนี้เป็นผู้ครอบครองเรือในเวลาที่ขอให้ศาลสั่งกักเรือ

  20. เรือที่ถูกกักได้ต้องเป็นเรือเดินทะเลที่ใช้ในการขนส่งสินค้าหรือคนโดยสารระหว่างประเทศเท่านั้น

  21. วิธีการในการดำเนินการกักเรือ • 1เตรียมร่างคำขอกักเรือ โดยคำขอต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่ง ก. สภาพแห่งสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับเรือ ข. หนี้ที่จะใช้สิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับเรือ ค. รายละเอียดเกี่ยวกับชื่อเจ้าหนี้ ชื่อลูกหนี้ ชื่อเรือ หมายเลขทะเบียนเรือ ขนาดเรือ สัญชาติและเมืองท่าขึ้นทะเบียนเรือ ชื่อนายเรือ หรือผู้ควบคุมเรือ (หากทราบ) และทำเลหรือถิ่นที่ทอดจอดเรือ

  22. 2.ยื่นคำร้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง

  23. 3.เตรียมพยานหลักฐานมาสืบในเบื้องต้นเพื่อทำให้ศาลเห็นว่าสิทธิเรียกร้องที่เจ้าหนี้ยื่นคำร้องขอให้กักเรือมีมูล และหากเรือที่จะถูกกักยังมิได้เข้ามาในราชอาณาจักร เจ้าหนี้จะต้องนำสืบให้เห็นว่าเรือจะเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักร

  24. 4.เจ้าหนี้ต้องวางหลักประกันเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการกักเรือ ในกรณีที่ศาลสั่ง • 5.ติดต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ชำระค่าธรรมเนียมการกักเรือในอัตราร้อยละหนึ่งของหนี้ที่เจ้าหนี้จะให้สิทธิเรียกร้อง

  25. 6.นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปปิดหมายกักเรือและช่วยเหลือเจ้าพนักงานบังคับคดีในการปฏิบัติตามหมายกักเรือ • 7.นำคดีเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องที่ขอให้กักเรือฟ้องศาลทรัพย์สินทางปัญยาและการค้าระหว่างประเทศกลางภายใน 30 วัน นับแต่ปิดหมายกักเรือ

  26. 4.ความเสียหายจากการกักเรือ อยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าหนี้ เว้นแต่เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ได้กระทำการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติกักเรือ พ.ศ. 2534 หรือ กฎหมายอื่น • 5.ลูกหนี้ หรือบุคคลที่ได้รับความเสียหายสามารถยื่นคำร้องขอปล่อยเรือได้โดยนำหลักประกันมาวางศาล

  27. ปัญหาเกี่ยวกับการกักเรือตาม พ.ร.บ. การกักเรือ พ.ศ. 2534 นั้นก็จะกล่าวได้ว่ามีดังนี้ คือ • 1. นอกจากการกักเรือตาม พ.ร.บ. การกักเรือ พ.ศ. 2534 แล้ว การกักเรือจะกระทำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เรื่องวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาได้หรือไม่ • 2. ศาลจะกำหนดถึงจำนวนหลักประกันที่เจ้าหนี้จะต้องมาวางศาลเท่าใด • 3. ศาลจะกำหนดถึงจำนวนหลักประกันที่ลูกหนี้จะต้องมาวางศาลเท่าใด • 4. การขอกักเรือซ้ำจะทำได้หรือไม่

  28. 5. การขอกักเรือจะทำที่ศาลอื่นนอกจากศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้หรือไม่ • 6. คดีที่ไม่ใช่คดีเกี่ยวกับการยื่นคำขอให้กักเรือและการฟ้องคดีตามสิทธิเรียก ร้องที่เจ้าหนี้ยื่นคำร้องขอกักให้กักเรือ แต่เป็นคดีที่ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการกักเรือโดยไม่ชอบจะ ฟ้องที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้หรือไม่ • 7. เมื่อเรือได้ถูกกักแล้ว การเคลื่อนย้ายเรือที่มิใช่เพื่อความสะดวกในการขนถ่ายสินค้า หรือความปลอดภัยของเรือและการเดินเรือ แต่เพื่อความสะดวกของเจ้าของท่าเรือที่เรือจอดอยู่จะทำได้หรือไม่ และจะนำเรือไปจอดที่ใด ที่ไม่กีดขวางทางเดินเรือ และไม่ทำให้เรือหนี ไป

  29. ผลของการกักเรือ • 1.คำสั่งกักเรือเป็นที่สุด • 2.เรือที่ถูกกักห้ามเคลื่อนย้าย และถือว่าเป็นทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานยึกไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง • 3.การก่อให้เกิดการโอนกรรมสิทธิ หรือการเปลี่ยนแปลงใดๆ เกี่ยวกับกรรมสิทธิในตัวเรือ หรือ สิทธิครอบครองจะใช้ยันแก่เจ้าหนี้ หรือเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้

  30. กฎหมายต่างประเทศ • ประเทศไทยเดิมยังไม่มีกฎหมายเฉพาะที่ใช้สำหรับการกักเรือ ต่อมาในปี พ.ศ. 2534 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการกักเรือ พ.ศ. 2534 ขึ้น โดยมีหลักการ สำคัญเทียบเคียงมาจากอนุสัญญาระหว่างประเทศ Brussels Convention 1952 • International Convention Relating to the Arrest of Sea-Going Ships (Brussels, May 10, 1952) 

  31. เชิงอรรถ • ไผทชิต เอกจริยกร,การกักเรือ,http://www.marinerthai.net/marinelaw/viewmlaw120.php • เจษฎา คงรอด, ประวัติและแนวความคิดเกี่ยวกับการกักเรือ

More Related