430 likes | 741 Views
นายณรงค์ศักดิ์ พรมวัง 533 JCe201 นายพิเชษฐ เทบำรุง 533 JCe207. การวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล
E N D
นายณรงค์ศักดิ์ พรมวัง 533JCe201 นายพิเชษฐ เทบำรุง 533JCe207
การวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอลการวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล หมายถึง เทคนิคการวิเคราะห์ตัวแปรพหุคูณวิธีหนึ่ง ซึ่งพัฒนามาจากการวิเคราะห์แบบ ถดถอยพหุคูณ(Multiple Regression Analysis) การวิเคราะห์ไม่มีการแบ่งแยกตัวแปรออกเป็นตัวแปรอิสระและตัวแปรตามในลักษณะเป็นรายตัว แต่เป็นการแบ่งตัวแปรทั้งหมดในข้อมูลชุดเดียวกันออกเป็น 2 ชุด คือ ชุดของตัวแปรอิสระหรือตัวแปรทำนายและชุดของตัวแปรตามหรือตัวแปรเกณฑ์
วัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอลวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล การสร้างตัวแปรคาโนนิคอล โดยให้ตัวแปรคาโนนิคอลเป็นฟังก์ชันเชิงเส้นของตัวแปรเดิมในแต่ละชุด แล้วคำนวณหาค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรคาโนนิคอล หรือเรียกว่า สหสัมพันธ์คาโนนิคอล (Canonical Correlation)
ข้อตกลงเบื้องต้นการวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอลข้อตกลงเบื้องต้นการวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล • กลุ่มตัวอย่างต้องได้มาจากการสุ่ม • ข้อมูลเป็นเชิงปริมาณ หรือเป็นอันตรภาค(Interval Scale) • กลุ่มตัวอย่างต้องมีขนาดใหญ่เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนตัวแปรเช่นตัวแปร 7 ตัว กลุ่มตัวอย่างจะต้องมากกว่าอย่างน้อย 7 เท่า • ตัวแปรในแต่ละกลุ่มต้องมีการกระจายแบบ Multivariate Normal Distribution
ตัวแปรกลุ่มที่ 2 Y1 ,Y2.… Yq ตัวแปรกลุ่มที่ 1 X1 , X2 ,X3… Xp การวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล : การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มตัวแปร 2 กลุ่ม 1. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของกลุ่มตัวแปร 2 เชตโดยไม่ระบุว่ากลุ่มใดเป็นตัวแปรอิสระหรือตัวแปรตาม 2. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของกลุ่มตัวแปร 2 เชตโดยระบุว่ากลุ่มตัวแปรอิสระและกลุ่มตัวแปรตาม
ตัวอย่าง การวิจัยเกี่ยวกับบุคลิกภาพของนักเรียนที่มีต่อผลการเรียนของนักเรียนห้อง ม. 6/1 รร.นานา
การทดสอบนัยสำคัญของสหสัมพันธ์คาโนนิคอลการทดสอบนัยสำคัญของสหสัมพันธ์คาโนนิคอล สมมติฐานH0 : RC1= RC2 = RC3 …RCm =0 H1 : มี RCi ≠ 0 อย่างน้อย 1 ค่า ; i = 1,2,3,…m 1. ทดสอบว่ามีความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงอย่างมีนัยสำคัญระหว่างตัวแปรสองชุดเหล่านั้น - ถ้าพบว่าไม่มีนัยสำคัญ แสดงว่ากลุ่มตัวแปรไม่มีความสัมพันธ์กันในเชิงเส้น(ยอมรับ H0) -ถ้าพบว่ามีนัยสำคัญ ก็จะทดสอบต่อในขั้นที่ 2 (ปฏิเสธ H0) 2. ทดสอบเพื่อตัดสินใจว่าสัมประสิทธิ์คาโนนิคอลค่าใดบ้างที่มีนัยสำคัญ นั่นคือ มีกลุ่มตัวแปรอิสระและกลุ่มตัวแปรตามกี่คู่ที่มีนัยสำคัญ
การหาสหสัมพันธ์คาโนนิคอลการหาสหสัมพันธ์คาโนนิคอล Independent Variables Dependent Variables สมมุติว่า ผู้วิจัยต้องการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มตัวแปรอิสระ (X) มี p ตัว กับกลุ่มตัวแปรตาม (Y) มี q ตัว X1 Y1 Canonical Variables W V X2 Y2 Y3 X3 Xp Xq V1 =a1X1+ a2X2+…+ a1pXpV2 =a2X1 + a2X2 +…+ a2pXp …………..Vp =apX1 + apX2 +…+ appXp W1 =b1X1+ b2X2+…+ b1qXqW2 =b2X1 + b2X2 +…+ b2qXq ………….. Wq =bqX1 + bqX2 +…+ bqqXq
เมื่อแปลงเป็นตัวแปรคาโนนิคอลแล้วหาความสัมพันธ์คล้ายสูตรของ เพียร์สัน (rxy) หรือ rvw= Rc = (Canonical correlation coefficient) ในการหาค่า Rcอาจหาในรูปของเมตริกซ์จะง่ายกว่าดังสูตร
เมื่อกำหนด RC แทน เมตริกซ์ของสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ทั้งหมด R-1XX แทน inverse เมตริกซ์ของสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ R-1YYแทน inverse เมตริกซ์ของสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ RXY แทน เมตริกซ์ของสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระตามกับตัวแปร RYX แทน เมตริกซ์ของสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตัวแปรอิสระ
ลักษณะการจัดรูปข้อมูลการวิเคราะห์ลักษณะการจัดรูปข้อมูลการวิเคราะห์ ตัวแปรอิสระ (X) มีจำนวน P ตัว ตัวแปรตาม (Y) มีจำนวน q ตัว
จากเมตริกซ์ข้อมูลเบื้องต้น คำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายโดยจับคู่ระหว่างตัวแปรทุกตัวเป็นคู่ ๆ ไป แล้วนำค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ทั้งหมดมาจัดเป็นรูปเมตริกซ์ ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม
เขียนเป็นสมการได้ ดังสมการที่
เมื่อได้ค่า RCให้นำมาคำนวณหา eigen values () ดังสูตร เมื่อ I คือ เมตริกซ์เอกลักษณ์ (indentity matrix) ค่า eigen values เป็นสัมประสิทธิ์กำลังสองของ RC เมื่อถอดรากที่สองของ จะได้ค่าสัมประสิทธิ์คาโนนิคอล ดังสมการ
การทดสอบนัยสำคัญของการวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอลการทดสอบนัยสำคัญของการวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล
การพิจารณาค่า ที่คำนวณได้ เมื่อคำนวณ เสร็จแล้ว ก็นำค่า V นั้นไปเทียบกับค่าวิกฤตของไคสแคว์ในตารางแจกแจงแบบไคสแคว์ - ถ้าค่า V คำนวณมีค่าน้อยกว่าค่าวิกฤต ก็แสดงว่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์คาโนนิคอลทุกค่าไม่มีนัยสำคัญ ระหว่างตัวแปร 2 ชุด - ถ้าค่า V คำนวณมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับค่าวิกฤต ก็แสดงว่า สัมประสิทธ์สหสัมพันธ์คาโนนิคอลมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญที่กำหนด จากนั้นก็ทดสอบว่ากลุ่มตัวแปรคู่ใดที่มีความสัมพันธ์เชิงเส้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ตัวอย่างการวิเคราะห์การคำนวณตัวอย่างการวิเคราะห์การคำนวณ จากคะแนนการวัดของกลุ่มตัวอย่าง 5 คน ตัวแปรอิสระมี 2 ตัว ตัวแปรอิสระ มี 2 ตัว คือ X1กับ X2 ตัวแปรตาม มี 2 ตัว คือ Y1กับ Y2 ข้อมูลดังตารางต่อไปนี้
วิธีทำคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายระหว่างตัวแปรแต่ละตัวเป็นคู่ ๆ แล้วจัดให้อยู่ในรูปเมตริกซ์
จากสมการ ...........(1) แทนค่าได้
inverse เมตริกซ์ R-1XX inverse เมตริกซ์ R-1YY
คำนวณหา eigenvalues • หาค่า จากการแก้ • สมการกำลังสอง • a2+b +C =0 • = หา determinant ของเมตริกซ์ จะได้ดังนี้ (.877 - )(.982 - ) – (0.010(0.066) = 0 .861 – 1.859 + 2 – 0.001 = 0 ดังนั้น 1 = .993 และ 2= .867
Eigenvalues เป็นกำลังสองของสัมประสิทธิ์คาโนนิคอล ดังนั้นถ้าถอดรากที่สองของ eigenvalues จะได้ค่าสัมประสิทธิ์คาโนนิคอล ดังนี้
ทดสอบนัยสำคัญระหว่างตัวแปรทั้ง 2 ชุด โดยมีรายละเอียด ดังนี้ หาค่า จากสมการที่ 5 M คือจำนวน eigenvalues ในตัวอย่างนี้ = 2 ดังนั้น =
นำค่า แทนค่าในสมการที่ 4 ค่าวิกฤตที่ระดับ .01 มีค่าเท่ากับ 13.28 ดังนั้น V คำนวณมีค่าน้อยกว่า ค่า V วิกฤตของไคสแควร์ นั้นหมายความว่า ไม่มีนัยสำคัญ จึงสรุปได้ว่า ตัวแปรทั้งสองชุดไม่สัมพันธ์เชิงเส้น อย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ .01
เมื่อพบว่า V ไม่มีนัยสำคัญ แสดงว่าสัมประสิทธิ์คาโนนิคอลทุกค่าไม่มีนัยสำคัญ จึงสรุปได้อย่างครบถ้วน และตามหลักการก็จะหยุดการทดสอบนัยสำคัญลงแค่นี้ แต่เพื่อแสดงวิธีการทดสอบสหสัมพันธ์แต่ละค่า ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ ถ้าพบว่า V มีนัยสำคัญทางสถิติ หาค่า ดังนี้
ค่าวิกฤตของไคสแควร์จากตาราง เมื่อ df = p x q -1=3 ที่ระดับ .01 มีค่าเท่ากับ 11.34 ดังนั้น V1 (7.44) คำนวณมีค่าน้อยกว่า ค่าวิกฤต นั้นหมายความว่า ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปได้ว่า ตัวแปรทั้งสองชุดไม่มีความสัมพันธ์เชิงเส้นอย่างมีนัยสำคัญระหว่างตัวแปรสองชุดในมิติที่หนึ่ง หาค่า ดังนี้
ค่าวิกฤตของไคสแควร์จากตาราง เมื่อ df = p x q -3 =1 ที่ระดับ .01 มีค่าเท่ากับ 6.64 ดังนั้น V2 (3.03) มีค่าน้อยกว่าค่าวิกฤต นั้นหมายความว่า ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปได้ว่า ตัวแปรทั้งสองชุดไม่มีความสัมพันธ์เชิงเส้นอย่างมีนัยสำคัญระหว่างตัวแปรสองชุดในมิติที่สอง
การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย SPSS ขั้นตอนที่ 1 เปิดโปรแกรม SPSS แล้วลงข้อมูล
ขั้นตอนที่ 2 ลงข้อมูลตามตัวอย่าง
ขั้นตอนที่ 3 เนื่องจาก SPSS ไม่มีคำสั่งวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอลโดยตรง ต้องสั่งผ่าน คำสั่ง syntax ใน spss ให้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้ เลือก Newsyntax
ขั้นตอนที่ 4เขียนคำสั่งใน syntax Manova x1 to x3 with y1 to y3 /discrim all alpha(1) /print=sig(eigen dim).
ผลการวิเคราะห์ด้วย คำสั่ง syntax ใน SPSS
การหาสัมประสิทธิ์ภายใน (correlation Coefficients)) Analye -> Correlate ->Bivariste
การหาสัมประสิทธิ์ภายใน (correlation) Options->กำหนดค่าใน Bivariate Correlation: Options->Continue
การหาสัมประสิทธิ์ภายใน (correlation) ผลการวิเคราะห์ Correlation OK
ตัวอย่างงานวิจัยที่ใช้สถิติคาโนนิคอลตัวอย่างงานวิจัยที่ใช้สถิติคาโนนิคอล ผลกระทบของอินเทอร์เน็ตต่อสุขภาพกาย และสุขภาพจิตของเด็กและเยาวชนไทย : กรณีศึกษากรุงเทพมหานคร The Effect of Internet upon the Physical and Mental health of Thai Children and Youth : Case study in Bangkok. โดย ประพิมพ์พรรณ สุวรรณกูฏ อัจศรา ประเสริฐสิน ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.) และผลงานนี้เป็นความรับผิดชอบของผู้วิจัยแต่เพียงผู้เดียว ปีงบประมาณ 2550
ความมุ่งหมายของการวิจัยความมุ่งหมายของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรับข้อมูลข่าวสารทางอินเทอร์เน็ตของเด็กและเยาวชน โดยแยกตามวัตถุประสงค์การใช้อินเทอร์เน็ตในด้านต่าง ๆ 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการรับสื่ออินเทอร์เน็ตในด้านต่าง ๆ กับสุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่เป็นผลมาจากการใช้อินเทอร์เน็ตของเด็กและเยาวชน 3. เพื่อศึกษาผลกระทบของอินเทอร์เน็ตทั้งทางบวกและทางลบ ที่มีต่อสภาพร่างกาย และสภาพจิตใจ ของเด็กและเยาวชน 4. เพื่อศึกษาแนวทางการรณรงค์ส่งเสริมให้ใช้อินเทอร์เน็ตในรูปแบบและระยะเวลาที่เหมาะสมกับตนเอง ช่วยให้ไม่เกิดผลเสียต่อสุขภาพกาย และสุขภาพจิต ของเด็กและเยาวชน
ขอบเขตของการวิจัย 1. กลุ่มตัวอย่าง เด็กและเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2550 ทั้งหมดจำนวน 1,584 คน แบ่งเป็นนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาของโรงเรียน จำนวน 851 คน และนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีในระดับอุดมศึกษา จำนวน 733 คน 2. ตัวแปรที่ศึกษา (ศึกษาเฉพาะข้อที่ใช้สหสัมพันธ์คาโนนิคอล) 2.1 ตัวแปรอิสระ คือ พฤติกรรมการรับสื่ออินเทอร์เน็ต 4 ด้าน 2.1.1สื่ออินเทอร์เน็ตด้านบันเทิง 2.1.2 สื่ออินเทอร์เน็ตด้านลบ 2.1.3 สื่ออินเทอร์เน็ตด้านเพื่อการศึกษา 2.1.4 สื่ออินเทอร์เน็ตด้านธุรกิจ 2.2 ตัวแปรตามคือ ผลต่อสุขภาพกาย และสุขภาพจิต 2.2.1 สุขภาพกายทางลบ 2.2.2 สุขภาพจิตทางบวก 2.2.3 สุขภาพจิตทางบวก
ผลการวิจัย สหสัมพันธ์คาโนนิคอลระหว่างชุดตัวแปรอิสระคือพฤติกรรมการรับสื่ออินเทอร์เน็ต 4 ด้าน กับชุดตัวแปรตามคือผลต่อสุขภาพกาย และสุขภาพจิต มีค่าเท่ากับ .500, .325 และ .108 ตามลำดับ ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ทุกชุด โดยพบว่า 1. สื่ออินเทอร์เน็ตด้านบันเทิงสามารถอธิบายผลดีต่อสุขภาพจิตได้สูงที่สุดถึงร้อยละ 25.0 2. สื่ออินเทอร์เน็ตด้านลบสามารถอธิบายการเสียต่อสุขภาพจิตได้ ถึงร้อยละ 10.6 3.สื่ออินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา หรือด้านธุรกิจ สามารถอธิบายการส่งผลเสียต่อสุขภาพกายได้เพียงร้อยละ 1.2
ตัวอย่างการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย SPSS for Windows • ถ้ามีตัวแปร 2 กลุ่ม โดยตัวแปร X มี x1 x2 และ x3 เป็นการวัดน้ำตาลในเลือดของคนไข้นที่กินน้ำตาลไปลแล้ว 1 ชั่วโมงและตัวแปร Y มี y1 y2 และ y3 เป็นการวัดน้ำตาลในเลือดดของคนไข้นที่งดอาหาร จากตัวอย่าง 52 คน • ข้อมูล sugar.sav