1 / 57

หลักเกณฑ์การกู้เงินทางการจากต่างประเทศ

หลักเกณฑ์การกู้เงินทางการจากต่างประเทศ. สิริภา สัตยานนท์ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เป็นมืออาชีพในการบริหารหนี้สาธารณะ เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน. หัวข้อ กฎหมาย ระเบียบ ขั้นตอน แหล่งเงินกู้ เงื่อนไข ข้อดี ข้อพึงสังเกต. กฎหมาย. พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548

hoshi
Download Presentation

หลักเกณฑ์การกู้เงินทางการจากต่างประเทศ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หลักเกณฑ์การกู้เงินทางการจากต่างประเทศหลักเกณฑ์การกู้เงินทางการจากต่างประเทศ สิริภา สัตยานนท์ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เป็นมืออาชีพในการบริหารหนี้สาธารณะ เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

  2. หัวข้อ กฎหมาย ระเบียบ ขั้นตอน แหล่งเงินกู้ เงื่อนไข ข้อดี ข้อพึงสังเกต

  3. กฎหมาย พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 - มาตรา 22 การกู้เงินเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้กระทำได้เมื่อมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินนอกเหนือจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีและต้องใช้จ่ายเป็นเงินตราต่างประเทศหรือจำเป็นต้องกู้เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางการเงินของประเทศ โดยให้กระทรวงการคลังกู้เป็นเงินตราต่างประเทศได้ไม่เกินร้อยละสิบของ งปม. รายจ่ายประจำปี

  4. กฎหมาย พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 มาตรา 25 ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานในกำกับดูแลของรัฐ องค์ปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการเงินภาครัฐ มีความจำเป็นต้องใช้เงินสำหรับโครงการหรือแผนงานที่รัฐบาลเห็นว่ามีความจำเป็นเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และหากกระทรวงการคลังเป็น ผู้กู้และนำมาให้หน่วยงานดังกล่าวกู้ต่อจะเป็นการประหยัดและทำให้การบริหารหนี้สาธารณะมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

  5. กฎหมาย พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 มาตรา 25 (ต่อ) ให้กระทรวงการคลังมีอำนาจกู้เงินเพื่อให้หน่วยงานดังกล่าวกู้ต่อได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง การกู้เงินตามวรรคหนึ่งให้นับรวมในวงเงิน ดังต่อไปนี้ (1) ถ้ากู้เป็นเงินตราต่างประเทศ ให้นับรวมในวงเงินตามมาตรา 22 (2) ถ้ากู้เป็นเงินบาท ให้นับรวมในวงเงินตามมาตรา 28

  6. กฎหมาย พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 มาตรา 27 ภายใต้บังคับมาตรา 19 ให้กระทรวงการคลังมีอำนาจค้ำประกันการชำระหนี้ของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือสถาบันการเงินภาครัฐ โดยจะค้ำประกันเต็มจำนวน หรือแต่บางส่วนก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนดโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี มาตรา 28 ในปีงบประมาณหนึ่ง กระทรวงการคลังจะค้ำประกันได้ไม่เกินร้อยละยี่สิบของงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ใช้บังคับอยู่ขณะนั้นและงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม

  7. ระเบียบ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการบริหาร หนี้สาธารณะ พ.ศ. 2549 ข้อ 4 (3) ประมาณภาระหนี้ต่างประเทศต่อรายได้จากการส่งออกสินค้าและบริการ (Debt Service Ratio : DSR) ไม่เกินร้อยละ 9

  8. หลักเกณฑ์ หลักเกณฑ์การพิจารณาการกู้เงินจากต่างประเทศ 1. เป็นโครงการที่สอดคล้องกับทิศทาง ยุทธศาสตร์ นโยบาย การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ 2. เป็นโครงการที่มีรายงานศึกษาความเหมาะสมด้านเทคนิค เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการเงิน 3. เป็นโครงการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติแล้ว หรือ สศช. เห็นชอบแล้ว หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาโครงการ ทั้งนี้ คาดว่าจะ สามารถดำเนินการกู้เงินได้ในปี งปม. ที่เสนอโครงการเข้าแผน

  9. หลักเกณฑ์ หลักเกณฑ์การพิจารณาการกู้เงินจากต่างประเทศ (ต่อ) 4. เป็นการลงทุนที่ได้รายได้ตอบแทนเป็นเงินตราต่างประเทศ หรือสามารถ ประหยัดเงินตราต่างประเทศ หรือมีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคมอย่าง คุ้มค่า โดยคำนึงถึงผลกระทบของความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนด้วย 5. รัฐวิสาหกิจและสถาบันการเงินภาครัฐที่จะก่อหนี้ต้องมีฐานะทางการเงิน ที่มั่นคง หรือมีความสามารถในการชำระหนี้คืนได้ โดยมีสัดส่วนความสามารถ ในการทำรายได้เทียบกับภาระหนี้องกิจการนับแต่มีการก่อหนี้ในอัตรา ไม่ต่ำกว่า 1.5 เท่า

  10. หลักเกณฑ์ หลักเกณฑ์การพิจารณาการกู้เงินจากต่างประเทศ (ต่อ) 6. หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการเงินภาครัฐ ต้องมีความสามารถในการดำเนินโครงการและแผนงานเงินกู้ ตามที่เสนอ โดยมีความพร้อมทางด้านบุคลากร และ งบประมาณสมทบ

  11. กรอบความยั่งยืนทางการคลังกรอบความยั่งยืนทางการคลัง สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ไม่เกินร้อยละ 60 ภาระหนี้ต่องบประมาณไม่เกินร้อยละ 15

  12. แหล่งเงินกู้ ธนาคารโลก หรือ World Bank ธนาคารพัฒนาเอเชีย หรือ Asian Development Bank รัฐบาลญี่ปุ่นโดยกู้ผ่านองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น หรือ Japan International Cooperation Agency อื่นๆ

  13. World Bank • ความเป็นมา • ธนาคารโลกก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2487 เป็นองค์การระหว่างประเทศที่มีประเทศสมาชิก 187 ประเทศทั่วโลก • ธนาคารโลกเป็นสถาบันระดับพหุภาคีที่ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาทั้งในด้านการเงินและการให้คำปรึกษาทางวิชาการ • ธนาคารโลกให้ความช่วยเหลือแก่รัฐบาลของประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ ในรูปแบบของเงินกู้ เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เงินกู้ปราศจากดอกเบี้ย และเงินให้เปล่าเพื่อใช้สนับสนุนโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม • ในด้านต่างๆ

  14. World Bank • ความเป็นมา (ต่อ) • ธนาคารโลกมีชื่อเต็มว่า กลุ่มธนาคารโลก (World Bank Group) ประกอบด้วย 5 องค์กร ซึ่งมีบทบาทที่แตกต่างกัน ดังนี้

  15. World Bank • ความเป็นมา (ต่อ) • ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกของ World Bank เมื่อวันที่ 3 • พฤษภาคม 2492 เป็นสมาชิกลำดับที่ 48 • ประเทศไทยได้รับเงินกู้จากธนาคารโลกครั้งแรกปี 2493 • เป็นจำนวน 25 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับโครงการบูรณะ • รางรถไฟ โครงการปรับปรุงท่าเรือกรุงเทพฯ และโครงการ • พัฒนาระบบชลประทานของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นโครงการ • ที่ช่วยเร่งฟื้นฟูและสร้างเสถียรภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจของ • ประเทศ

  16. World Bank ความร่วมมือด้านการพัฒนาระหว่างประเทศไทยกับธนาคารโลก นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 เป็นต้นมา ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับธนาคารโลกมีความก้าวหน้าจากความสัมพันธ์ในลักษณะผู้กู้และผู้ให้กู้ มาสู่การเป็นภาคพัฒนาอย่างแท้จริง คือ ในรูปแบบการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการพัฒนา และการให้คำปรึกษาด้านนโยบายในประเด็นหลักๆ ที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของไทย ซึ่งจะเป็นการให้คำปรึกษาทางด้านวิชาการผ่านโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาประเทศที่เรียกว่า Country Development Partnership (CDP)

  17. World Bank ความร่วมมือด้านการพัฒนาระหว่างประเทศไทยกับธนาคารโลก • ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาประเทศ หรือ Country Development Partnership (CDP) เป็นแผนความร่วมมือที่ธนาคารโลกจัดทำร่วมกับรัฐบาลไทย ซึ่งเป็นแผนระยะกลาง คือ 3 ปี เพื่อดำเนินการในเรื่องหลักๆ ของการพัฒนาประเทศ โดยส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ การวิเคราะห์และการติดตามประเมินผลโดยจะสอดคล้องกับแผนพัฒนาฯ ของประเทศ สามารถแบ่งเป็นสาขาต่างๆ ดังนี้ • 1. การพัฒนาภาคการเงิน • 2. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน • 3. การบรรเทาความยากจนและลดช่องว่าง • 4. การพัฒนาการศึกษา

  18. World Bank • ความร่วมมือด้านการพัฒนาระหว่างประเทศไทยกับธนาคารโลก (ต่อ) • 5. การคุ้มครองทางสังคม • 6. การพัฒนาบริการสาธารณสุข • 7. การปฏิรูปราชการและส่งเสริมธรรมาภิบาล • 8. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม • ปัจจุบันได้พัฒนาแนวทางความร่วมมือเป็น Country Partnership Strategy (CPS) คือ เป็นรายงานที่ประเมินการดำเนินงานของธนาคารโลกในการให้ความช่วยเหลือประเทศไทยภายใต้ยุทธศาสตร์ความเป็นหุ้นส่วนระหว่างรัฐบาลไทยกับธนาคารโลก (Thailand-World Bank Group Partnership for Development) ซึ่งแนวทางในการกำหนดกรอบการจัดทำ CPS จะเน้นการวิเคราะห์การดำเนินงานสนับสนุนแผนการพัฒนาในภาพรวมของประเทศ โดยยึดแนวทางตามนโยบายของรัฐบาลและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

  19. World Bank รูปแบบการสนับสนุนทางการเงินจากธนาคารโลก • เงินกู้ (Loan) แบ่งเป็น • เงินกู้ Project Loan • เงินกู้ Program Loan • เงินกู้ภายใต้กองทุน Clean Technology Fund (CTF) • ความช่วยเหลือทางวิชาการ (Technical Assistance: TA)

  20. World Bank • เงินกู้ Project Loan • ธนาคารโลกได้ให้ความช่วยเหลือด้านการเงินในรูปแบบเงินกู้สำหรับโครงการพัฒนาแก่ประเทศไทยตั้งแต่ปี 2493 ถึงปัจจุบันประมาณ 132 โครงการ รวมเป็นเงินมากกว่า 8,300 ล้านเหรียญสหรัฐ • ปัจจุบันเงินกู้โครงการที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ มี 2 โครงการ คือ • โครงการปรับปรุงและพัฒนาทางหลวงของกรมทางหลวง • วงเงิน 84.29 ล้านเหรียญสหรัฐ • โครงการก่อสร้างทางสายหลักให้เป็น 4 ช่องจราจร • วงเงิน 79.30 ล้านเหรียญสหรัฐ

  21. World Bank • เงินกู้ Program Loan • ลักษณะและรูปแบบ • เป็นรูปแบบที่แหล่งเงินกู้จะพิจารณาให้กู้จากปัจจัยโดยรวมของประเทศ โดยจะ อนุมัติให้เงินกู้ทั้งวงเงิน และให้ประเทศผู้กู้เป็นผู้บริหารจัดการเงินกู้ และเป็นผู้ พิจารณาคัดเลือกโครงการที่เหมาะสมและมีความพร้อม • วิธี/ขั้นตอนการดำเนินงาน • ประเทศผู้กู้จะต้องทำกรอบนโยบายมาตรการ Policy Matrix เพื่อประกอบการพิจารณา การกู้เงิน • ปัจจุบันประเทศไทยมีเงินกู้ Public Sector Reform Development Policy Loan วงเงิน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐที่อยู่ระหว่างการอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารฯ ธนาคารโลก เพื่อนำมาสนับสนุนโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 และโครงการตาม นโยบายรัฐบาล

  22. World Bank อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ Project Loan และ Program Loan

  23. World Bank เงินกู้ภายใต้กองทุน Clean Technology Fund (CTF) • ลักษณะและรูปแบบ • การสนับสนุนทางการเงินในรูปแบบการกู้ผสมระหว่างกองทุน CTF ที่มีเงื่อนไขให้เงินกู้แบบไม่มีดอกเบี้ยแต่มีค่าธรรมเนียม โดยจะเป็นการกู้ร่วมกับธนาคารโลก หรือ IFC ที่มีเงื่อนไขเงินกู้ทั่วไปของแต่ละสถาบันการเงิน ซึ่งจะทำให้มีต้นทุนในการกู้เงินที่ต่ำ และเงินดำเนินโครงการส่วนที่เหลือจะได้มาจากการจัดสรรเงินงบประมาณจากภาครัฐ การสมทบเงินลงทุนโดยภาคเอกชน/รัฐวิสาหกิจ • ใช้ในการสนับสนุนการลงทุนในโครงการที่ช่วยลดและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งมีส่วนช่วยในการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน • วิธี/ขั้นตอนการดำเนินงาน • ประเทศที่ขอรับการสนับสนุนจะต้องจัดทำแผนการลงทุน (Investment Plan) • โครงการที่กองทุน CTF จะสนับสนุนเงินทุน ต้องมีลักษณะสำคัญ ดังนี้

  24. World Bank เงินกู้ภายใต้กองทุน Clean Technology Fund (CTF) • วิธี/ขั้นตอนการดำเนินงาน • มีความสอดคล้องและส่งเสริมแผนพัฒนาฯ และแผนชาติที่เกี่ยวข้อง อาทิ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 และแผนพัฒนาพลังงานทดแทน พ.ศ. 2551-2565 เป็นต้น • โครงการต้องมีศักยภาพในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งในระยะสั้นและระยะยาว • โครงการและเทคโนโลยีที่ใช้ต้องมีความพร้อมในการนำมาปฏิบัติจริงและมีความคุ้มทุน • เป็นโครงการขนาดใหญ่ในสาขาพลังงานและการขนส่งที่สะอาด เช่น โครงการในสาขาการผลิตพลังงานทดแทน โครงการด้านการขนส่ง และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในสิ่งปลูกสร้าง และอาคารที่อยู่อาศัย เป็นต้น • มีแผนการเงิน กรอบเวลาการลงทุน และแหล่งที่มาของเงินทุนที่ชัดเจน

  25. World Bank อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ภายใต้กองทุน CTF

  26. World Bank ความช่วยเหลือทางวิชาการ (Technical Assistance: TA) • ความช่วยเหลือแบบให้เปล่า (Grant) จากกองทุนต่างๆอาทิ • ASEM Trust Fund • Japan Social Development Fund (JSDF) • Institutional Development Fund (IDF) • Global Environment Facility (GEF) • ปัจจุบันมีโครงการที่ได้รับความช่วยเหลือแบบให้เปล่าจากธนาคารโลก • ที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ 9 โครงการ • ตั้งแต่ปี 2543 ถึงปัจจุบันประเทศไทยรับความช่วยเหลือแบบให้เปล่าจาก • ธนาคารโลก วงเงินประมาณ 85 ล้านเหรียญสหรัฐ

  27. ADB ความเป็นมา ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีสมาชิกในความตกลงว่าด้วยการ สถาปนาธนาคารพัฒนาเอเชีย เมื่อปี พ.ศ. 2509 และได้มี การออกพระราชบัญญัติให้อำนาจปฏิบัติการเกี่ยวกับธนาคาร พัฒนาเอเชีย พ.ศ. 2509 เพื่อให้อำนาจรัฐบาลปฏิบัติการ เกี่ยวกับธนาคารพัฒนาเอเชียตามข้อผูกพัน ซึ่งประเทศภาคี สมาชิกจะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวและเพื่อให้รัฐบาล มีอำนาจถือประโยชน์จากการเป็นภาคีสมาชิกด้วย

  28. ADB • ความร่วมมือด้านการพัฒนาระหว่างประเทศไทยกับ ADB • รัฐบาลไทยและ ADB ร่วมกันจัดทำยุทธศาสตร์หุ้นส่วนการพัฒนาระดับประเทศ (Country Partnership Strategy: CPS) ที่ระบุกรอบความร่วมมือสำคัญในช่วงเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2550-2554) เพื่อกำหนดทิศทางเชิงยุทธศาสตร์ที่ส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาภายในประเทศ ทั้งนี้ ภายใต้ CPS จะมีการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อการดำเนินงานของประเทศ (Country Operations Business Plan: COBP) ระหว่างประเทศไทยกับ ADB เพื่อใช้เป็นกรอบแผนงานในการดำเนินงานในแต่ละปี โดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และ ADB ร่วมกันจัดการประชุมเพื่อสอบถามความเห็นกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศในการจัดทำ COBP ดังกล่าว

  29. ADB • การจัดทำยุทธศาสตร์หุ้นส่วนการพัฒนาระดับประเทศ (CPS) จะส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนา 2 ระดับ ดังนี้ • ระดับชาติ: เน้นการเพิ่มขีดความสามารถแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ โดย (1) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (2) การพัฒนาตลาดทุน และ (3) การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน • ระดับภูมิภาค: เน้นความริเริ่มร่วมกัน ได้แก่ (1) การให้กู้ร่วมในโครงการของประเทศเพื่อนบ้าน (2) การส่งเสริมการค้าและการลงทุน และ (3) การสร้างความแข็งแกร่งของตลาดพันธบัตรเอเชีย ซึ่งความร่วมมือเหล่านี้จะเป็นการเพิ่มบทบาทของไทยในการสนับสนุนความร่วมมือระดับอนุภูมิภาคและบูรณาการเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค บนพื้นฐานการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างประเทศ

  30. ADB รูปแบบการสนับสนุนจาก ADB • เงินกู้ (Loan) แบ่งเป็น • เงินกู้ Program Loan • เงินกู้ Project Loan • เงินกู้ Multitranche Financing Facility: MFF) • ความช่วยเหลือทางวิชาการ (Technical Assistance: TA)

  31. ADB • เงินกู้ Program Loan • ลักษณะและรูปแบบ • เป็นรูปแบบที่แหล่งเงินกู้จะพิจารณาให้กู้จากปัจจัยโดยรวมของประเทศ โดยจะอนุมัติให้เงินกู้ทั้งวงเงิน และให้ประเทศผู้กู้เป็นผู้บริหารจัดการเงินกู้ และเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกโครงการที่เหมาะสมและมีความพร้อม • วิธี/ขั้นตอนการดำเนินงาน • ประเทศผู้กู้จะต้องทำกรอบนโยบายมาตรการ Policy Matrix เพื่อประกอบการพิจารณาการกู้เงิน

  32. ADB • เงินกู้ Project Loan • ลักษณะและรูปแบบ • เป็นโครงการตามนโยบายรัฐบาลและบรรจุในแผนบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ • วิธี/ขั้นตอนการดำเนินงาน • แหล่งเงินกู้ส่งคณะเจ้าหน้าที่มารวบรวมข้อมูลและประเมินรายละเอียดและ ความเหมาะสมโครงการ

  33. ADB • เงินกู้ MFF • ลักษณะและรูปแบบ • เป็นเครื่องมือทางการเงินรูปแบบใหม่ ใช้สำหรับ (1) โครงการขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยโครงการย่อยใน sector หลัก (2) ใช้ดำเนินงานใน sector เดียว หรือหลาย sector และ (3) ให้วงเงินสินเชื่อ (credit lines) สำหรับ SMEs และรัฐบาลท้องถิ่น • เป็นลักษณะ line of credit ซึ่งคณะกรรมการ ADB จะอนุมัติกรอบวงเงินสูงสุดภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด • เป็นเงินกู้/การค้ำประกัน/การให้สินเชื่อ สำหรับโครงการที่มีความพร้อม • ใช้ดำเนินงานใน sector เดียว หรือหลาย sector ในสกุลเงินที่ตกลงกัน • วิธี/ขั้นตอนการดำเนินงาน • ประเทศผู้กู้ต้องจัดทำ road map/policy framework/แผนการลงทุน/แผนการใช้เงิน • ดำเนินงานโครงการให้สอดคล้องกับกรอบการดำเนินงาน roadmap

  34. ADB อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ Program Loan และ Project Loan LIBOR + Spread - Rebate LIBOR:อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบลอยตัว 6 เดือน Spread:0.20 Rebate (อัตราส่วนลด): ADB จะปรับ Rebate ทุก 6 เดือน ซึ่งปัจจุบัน Rebate เท่ากับ 0.28 อัตราดอกเบี้ย ณ 27 กย. 53 0.38406

  35. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MFF

  36. เงื่อนไขเงินกู้ของ Program Loan Project Loan และ MFF

  37. ADB • ADB ให้เงินกู้แก่ประเทศไทยรวมทั้งสิ้น 82 สัญญา เป็นวงเงินรวม 5,393.74 ล้านเหรียญสหรัฐ (ไม่นับรวมเงินกู้ที่ ADB ให้กู้ตรงแก่ภาคเอกชน) โดยแบ่งตามภาคการผลิต ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 มีดังนี้ • ล่าสุด ADB ให้เงินกู้ให้แก่ภาครัฐจำนวน 1 โครงการ ได้แก่ โครงการก่อสร้างทางสายหลักเป็น 4 ช่องจราจร • (ระยะที่ 2) (GMS Highway Expansion Project) ของกรมทางหลวง วงเงิน 77.1 ล้านเหรียญสหรัฐ

  38. ADB ความช่วยเหลือทางวิชาการ (Technical Assistance: TA) • ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 จนถึงกุมภาพันธ์ 2551 ประเทศไทยได้รับความช่วยเหลือทางวิชาการจาก ADB ในรูปแบบของการเตรียมโครงการ (Project Preparatory) และการให้คำปรึกษาและการดำเนินงาน (Advisory and Operational) ซึ่งเป็นความช่วยเหลือด้านการแก้ไขปัญหาความยากจนและการกระจายรายได้ การพัฒนาทรัพยากรบุคคล การพัฒนาสิ่งแวดล้อม การพัฒนาด้านการปรับโครงสร้างองค์กร การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการพัฒนาด้านตลาดการเงิน • โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 ADB ได้ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ประเทศไทยรวมแล้วทั้งสิ้นมากกว่า 165 โครงการรวมเป็นเงินประมาณ 61.619 ล้านเหรียญสหรัฐ

  39. การกู้เงินจากรัฐบาลญี่ปุ่นผ่านองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่นJapan International Cooperation Agency หรือJICA JICA

  40. สัดส่วนของการให้กู้สำหรับประเทศไทย JICA สามารถปล่อยกู้ได้ไม่เกินร้อยละ 85 ของมูลค่าโครงการนั้นๆ วงเงินลงทุนโครงการ ประกอบด้วย Construction Work Consulting Services Price Escalation Physical Contingency Land Acquisition Administration Cost VAT Importing Tax Interest during Construction Commitment Charge JICA

  41. Basic Flow of ODA Loans Project Preparation Loan Request Fact Finding (F/F)Appraisal Prior Notification、E/N, L/A Implementation、 mid-term review Completion post-evaluation ODA charter Mid-term policy Embassy receives request Govt mission Report, Consultation Prior Notification GOJ E/N Implementation, Monitoring JICA Country Assistance Strategy L/A TA by JICA (training, TA by expert) Preparatory Survey (M/P, F/S etc.) Post-evaluation JICA F/F Appraisal Concurrence for procurement Disbursement Info. collection Policy Dialogue Project Completion Loan Request Recipient Country F/S Prior Notification E/N L/A Bid Procurement, Construction Co-finance/periodical dialogue/study/seminar with other donors(WB. ADB, AfDB, UNDP. AFDKfW, new donors, etc.) TA by other donors Harmonization with other donors Other Donors Consultation, Info. gathering Monitoring, TA NGO etc. Collaboration with NGO, Japanese Local Govt, Japanese University ODA Task Force

  42. ขั้นตอนและวิธีการในการกู้เงินจากรัฐบาลญี่ปุ่นขั้นตอนและวิธีการในการกู้เงินจากรัฐบาลญี่ปุ่น กค. นำเสนอคณะรัฐมนตรี และรัฐสภาพิจารณาเห็นชอบกรอบการเจรจาเงินกู้จากต่างประเทศ กค. ทาบทามเงินกู้จากรัฐบาลญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย คณะผู้แทน JICA รวบรวมข้อมูลและรับทราบสถานะโครงการ คณะผู้แทนรัฐบาลญี่ปุ่น คณะผู้แทน JICA ประเมินโครงการ รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศการให้เงินกู้อย่างเป็นทางการ หมายเหตุ-ระยะเวลาการกู้เงินขึ้นอยู่กับความพร้อมของโครงการ ระยะเวลาการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาของไทย รวมทั้งระยะเวลาการพิจารณาเงินกู้ของรัฐบาลญี่ปุ่น รวมระยะเวลาดำเนินการ 1-2 ปี เจรจาในหนังสือแลกเปลี่ยนฯ & สัญญาเงินกู้ กค. นำเสนอคณะรัฐมนตรี และรัฐสภาพิจารณาเห็นชอบร่างสัญญาเงินกู้และเอกสารที่เกี่ยวข้อง ลงนามในหนังสือแลกเปลี่ยนฯ & สัญญาเงินกู้ สัญญาเงินกู้มีผลใช้บังคับ

  43. เงื่อนไขเงินกู้ สำหรับประเทศไทยMiddle-Income Countries JICA

  44. 1. Project Identification and Preparation รัฐบาลไทยส่ง Official Requestมาที่สถานทูตญี่ปุ่น JICAส่ง Fact Finding Missionมาสำรวจความเป็นไปได้ของโครงการ JICA กลับไปรายงานผลเบื้องต้นให้รัฐบาลญี่ปุ่น(MOF, MOFA, METI) หากผลการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการไม่เพียงพอ JICA สามารถให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่า (Special Assistance for Project Formulation = SAPROF) แก่หน่วยงานในการทำการศึกษาเพิ่มเติมได้ JICA

  45. 2. Appriasal and Ex-Ante Evaluation - รัฐบาลญี่ปุ่นเห็นชอบให้ส่ง JICA Appraisal Mission องค์ประกอบหลักๆคือ JICA (และอาจมีเจ้าหน้าที่จาก กค. กต. ร่วมด้วย) มาประเมินความเป็นไปได้ และรวบรวมรายละเอียดทุกอย่าง รวมถึงจำนวนเงินกู้ และเงื่อนไข จากนั้นจะมีการลงนามใน Minutes of Discussion ระหว่าง JICA และหน่วยงาน และผู้กู้ (สบน.)หลังจากนั้นรัฐบาลญี่ปุ่นจะตัดสินใจว่าจะให้กู้หรือไม่ JICA

  46. 3. Prior Notification, Exchange of Notes and Loan Agreement รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศและแจ้งอย่างเป็นทางการกับรัฐบาลไทยและ OECD ว่าจะให้ความช่วยเหลืออย่างเป็นทางการ (Official Development Assistance = ODA) เข้าสู่กระบวนการเจรจาเงินกู้ระหว่าง JICA และผู้กู้ (สบน.) มีการลงนามใน Record of Discussions ระหว่าง JICA และผู้กู้ (สบน.)สำหรับร่างสัญญาเงินกู้ รัฐบาลไทยโดย กค. และรัฐบาลญี่ปุ่นโดยสถานทูตญี่ปุ่นลงนามใน Exchange of Notes ผู้กู้ (รัฐบาลไทยโดย กค. หรือรัฐวิสาหกิจนั้นๆ)และ JICA ลงนามในสัญญากู้เงิน หากเป็นเงินกู้ของรัฐวิสาหกิจ JICA จะขอให้ กค. ค้ำประกัน JICA

  47. 4. Project Implementation - เริ่มโครงการ - จัดซื้อจัดจ้าง - เบิกจ่าย - ในระหว่างดำเนินโครงการ JICA สามารถให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่า (Special Assistance for Project Implementation = SAPI)  หากจำเป็น เพื่อให้การดำเนินโครงการเป็นไปอย่างราบรื่นได้ JICA

  48. 5. Project Completion and Ex-post Evaluation - โครงการแล้วเสร็จ หลังจากนั้นประมาณ 3-5 ปี JICA จะส่ง Third Party Evaluator เข้ามาประเมินผลโครงการ - ผลการประเมินจะถูกนำไปเปิดเผยแก่สาธารณะ และนำไปใช้ในการปรับปรุงโครงการในอนาคต JICA

  49. ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่นJapan Bank for International Cooperation: JBIC • ความเป็นมาของ JBIC • เป็นหน่วยงานในรูปสถาบันการเงินของรัฐบาลญี่ปุ่น • ก่อตั้งเมื่อปี 2542 จากการรวม JEXIM และ OECF เข้าไว้ด้วยกัน • แบ่งงานออกเป็น 2 ส่วน คือ (1) เกี่ยวกับการเงินระหว่างประเทศ IFOs และ • (2) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจโพ้นทะเล OCEO • โดยให้เงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรนที่ OECF รับผิดชอบ • ปี 2551 ออกกฎหมายปรับโครงสร้างสถาบันการเงิน รวมถึง JBIC ด้วย Overview of JBIC (FX rate: JPY to USD=0.01079 on March 31, 2010)

More Related