220 likes | 484 Views
โรงพยาบาลสุโขทัย. นวัตกรรม. ปฏิทินกำกับวันผลิตวันหมดอายุ . นุชนาฏ เหล็กตั๋ว หัวหน้างานจ่ายกลาง อติพร แดงบุบผา ICN. ที่มาของปัญหา กระบวนการติดฉลากเพื่อระบุวันผลิต-วันหมดอายุ เพื่อให้ได้มาตรฐาน ระยะคงความปราศจากเชื้อของอุปกรณ์ที่ผ่านการ Autoclave โรงพยาบาลสุโขทัยกำหนดไว้ 7 วัน
E N D
โรงพยาบาลสุโขทัย นวัตกรรม ปฏิทินกำกับวันผลิตวันหมดอายุ นุชนาฏ เหล็กตั๋ว หัวหน้างานจ่ายกลาง อติพร แดงบุบผา ICN
ที่มาของปัญหา กระบวนการติดฉลากเพื่อระบุวันผลิต-วันหมดอายุ เพื่อให้ได้มาตรฐาน ระยะคงความปราศจากเชื้อของอุปกรณ์ที่ผ่านการAutoclave โรงพยาบาลสุโขทัยกำหนดไว้ 7 วัน การปฏิบัติยังมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้แม้ว่าจะมีกระบวนการตรวจสอบซ้ำ จากการสำรวจ 3 เดือน พบมีการผิดพลาด 7 ครั้ง ฉลากที่ปิดผิดพลาดมักเกิดในช่วงต่อเดือนและด้วยว่าจำนวนวันของแต่ละเดือนไม่เท่ากัน เป็นสาเหตุทำให้การคำนวณผิดพลาดได้ ในการสำรวจครั้งนี้อุปกรณ์ 615 ชิ้นที่มี Labelผิด คิดเป็นเงิน 12,300 บาท เมื่อนำกลับมา Re-sterile เพื่อให้การปฏิบัติถูกต้อง ลดค่าใช้จ่าย และภาระงาน จึงคิดค้นนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ ปฏิทินกำกับวันผลิต-วันหมดอายุของอุปกรณ์ที่ทำให้ปราศจากเชื้อด้วย Autoclave
การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ เดิมใช้การเปิดดูปฏิทินและนับนิ้วมือ คำนวณวันหมดอายุ
วัตถุประสงค์ของการพัฒนา “นวัตกรรม” เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการปฏิบัติงาน การระบุวันผลิต-วันหมดอายุของอุปกรณ์ที่ผ่าน Autoclave เพื่อลดค่าใช้จ่ายและลดภาระงานที่ต้องนำอุปกรณ์ที่ผิดพลาดจากการติดฉลากกำกับวันผลิต-วันหมดอายุ มาจัดทำให้ปราศจากเชื้อใหม่
กระบวนการพัฒนานวัตกรรมกระบวนการพัฒนานวัตกรรม 1.คำนวณวันผลิต-วันหมดอายุของอุปกรณ์อายุการใช้งาน 7 วัน ในแต่ละเดือน ครบ 12 เดือน 2.นำมาจัดทำปฏิทิน ตั้งชื่อว่า ปฏิทินกำกับการ ( ขั้นที่1)
การจัดทำปฏิทินกำกับการ นำปฏิทินตั้งโต๊ะที่ไม่ได้ใช้แล้วมา เป็น แกนกลาง เพื่อนำกระดาษที่ได้จัดพิมพ์ วันที่ผลิต วันที่หมดอายุ มาประกอบไว้เป็นปฏิทินคำนวณ วันผลิต-วันหมดอายุ หลังจากนำมาใช้ 2 เดือน พบว่า ใช้ง่าย สะดวก แล มีความถูกต้องในการปฏิบัติ แต่ต้องผลิตปฏิทินนี้ ทุกๆเดือน ดังนั้น จึงคิดประดิษฐ์ ปฏิทินกำกับการวันผลิต-วันหมดอายุ (ขั้นที่2) ที่สามารถใช้ได้ตลอดไป
การจัดทำปฏิทินกำกับการ วันผลิต-วันหมดอายุ นำปฏิทินตั้งโต๊ะที่ไม่ได้ใช้แล้วมา เป็น แกนกลาง เหมือนเดิม เปลี่ยนแปลงในส่วนของข้อความ ในกระดาษที่ได้จัดพิมพ์ โดยส่วนของ ปี พ.ศ. ที่แยกออกมาจาก วันที่ และเดือน
การทดลองใช้นวัตกรรมก่อนนำไปใช้จริงการทดลองใช้นวัตกรรมก่อนนำไปใช้จริง หลังจากนำมาใช้ ปฏิทินผู้กำกับการวันผลิต-วันหมดอายุ พบว่า ใช้ง่าย สะดวก และ มีความถูกต้องในการปฏิบัติจากการติดตามผลไม่พบว่ามีความผิดพลาดของการระบุวันหมดอายุของอุปกรณ์ที่ผ่านการAutoclave ผลของการใช้นวัตกรรม ความพึงพอใจต่อการใช้ปฏิทินผู้กำกับการวันผลิต-วันหมดอายุ ของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานหน่วยจ่ายกลาง พบว่า มีความพึงพอใจต่อการใช้ ร้อยละ 100
ความคุ้มค่าคุ้มทุนของนวัตกรรมความคุ้มค่าคุ้มทุนของนวัตกรรม หลังการใช้ปฏิทินผู้กำกับการวันผลิต-วันหมดอายุ ได้มีการติดตาม สำรวจอุปกรณ์ปราศจากเชื้อ 772 ชิ้น 22 ประเภท ใน 17 หน่วยงาน ไม่พบว่ามีการระบุวันผลิต-วันหมดอายุ ผิดพลาด จึงไม่สูญเสียค่าใช้จ่ายและไม่เพิ่มภาระงาน
นวัตกรรมมีความปลอดภัยในการนำไปใช้นวัตกรรมมีความปลอดภัยในการนำไปใช้ การระบุวันผลิต-วันหมดอายุ ที่ถูกต้องในอุปกรณ์ที่ปราศจากเชื้อ ถือเป็นบริการที่ปลอดภัย Safety Careช่วยป้องกันการติดเชื้อจากการบริการดูแลรักษา
การใช้ปฏิทินกำกับการวันผลิต-วันหมดอายุ และเจ้าหน้าที่ Set วัน เดือน ปี ในเครื่องปั๊มฉลาก เมื่อ Label ฉลากลงที่ set เครื่องมือ มีการตรวจสอบซ้ำ
การตรวจสอบการคำนวณที่สำคัญของปฏิทินกำกับการคำนวณวันผลิต-วันหมดอายุ 7 วันที่ถูกต้อง จุดสำคัญที่ 1ตัวอย่าง วันผลิต 1 มกราคม 2554 นำ 7 มาบวกวันที่ผลิต จะได้ เป็นวันหมดอายุ ได้แก่ วันที่ เดือน ปี วันผลิต 01 01 54 วันหมดอายุ 08 01 54 ทุกวันที่ 1 ของทุกเดือน วันหมดอายุ ต้องเป็นวันที่ 8 เสมอ กรณีนำ 7 มาบวกวันที่ผลิตค่าตัวเลขที่คำนวณได้เกินวันสิ้นเดือนของเดือนนั้นๆ ให้นำค่าที่คำนวณได้เป็นตัวตั้งแล้วนำวันที่สิ้นเดือนของเดือนนั้นมาลบออกจะได้ค่าที่ถูกต้องของวันหมดอายุ เช่น วันผลิตที่ 22 ก.พ.นำ 7 มาบวก จะได้ 29 นำวันที่สิ้นเดือนมาลบคือ 28 วันหมดอายุที่ถูกต้องคือ วันที่ 1 มีนาคม
จุดสำคัญที่ 2 เดือนที่มี จำนวนวัน 28 ,29,30,31 วิธีคำนวณนำ เลข 7 มาลบวันที่ของสิ้นเดือน + ด้วย 1 จะได้ค่าวันผลิตที่มีวันหมดอายุเปลี่ยนวันที่-เดือนใหม่เสมอ เดือนที่มี จำนวนวัน 28 ตัวอย่างวันที่ 22 ก.พ. 54 ผลลัพธ์คือ 28-7+1=22 วันที่ เดือน ปี วันผลิต 22 02 54 วันหมดอายุ 01 03 54 ดังนั้น เดือนที่มี จำนวนวัน 28 วันทุกวันผลิตที่ 22 ของเดือนวันหมดอายุต้องเปลี่ยนวันที่-เดือนใหม่เสมอ
เดือนที่มี จำนวนวัน 29 ตัวอย่างวันที่ 23 ก.พ. 54 ผลลัพธ์คือ 29-7+1=23 วันที่ เดือน ปี วันผลิต 23 02 54 วันหมดอายุ 01 03 54 ดังนั้น เดือนที่มี จำนวนวัน 29 วันทุกวันผลิตที่ 23 ของเดือนวันหมดอายุต้องเปลี่ยนวันที่-เดือนใหม่เสมอ
เดือนที่มี จำนวนวัน 30 ตัวอย่างวันที่ 24 เม.ย. 54 ผลลัพธ์คือ 30-7+1=24 วันที่ เดือน ปี วันผลิต 24 04 54 วันหมดอายุ 01 05 54 ดังนั้น เดือนที่มี จำนวนวัน 30 วัน ทุกวันผลิตที่ 24 ของเดือนวันหมดอายุต้องเปลี่ยนวันที่-เดือนใหม่เสมอ
เดือนที่มี จำนวนวัน 31 ตัวอย่างวันที่ 25 ม.ค. 54 ผลลัพธ์คือ 31-7+1=25 วันที่ เดือน ปี วันผลิต 25 01 54 วันหมดอายุ 01 02 54 ดังนั้นเดือนที่มี จำนวน 31 วัน ทุกวันผลิตที่ 25 ของเดือนวันหมดอายุต้องเปลี่ยนวันที่-เดือนใหม่เสมอ
การตรวจสอบการคำนวณจุดสำคัญที่ 5 ทุกวันที่สิ้นเดือน วันหมดอายุจะต้องตรงกับวันที่ 7 เสมอ จุดเด่นของนวัตกรรม :สามารถใช้ได้ตลอดชีพเปลี่ยน LOCK ปีพุทธศักราชทุกวันที่ 25 ของเดือนธันวาคม และวันที่ 1 ของเดือน มกราคมเท่านั้น Warning ในปฏิทินกำกับการคำนวณวันผลิต-วันหมดอายุ