1 / 71

วิธีวิทยาการวิจัยของงานวิจัยในโรงพยาบาล

วิธีวิทยาการวิจัยของงานวิจัยในโรงพยาบาล. น.ท.หญิง ดร. วัชราพร เชยสุวรรณ วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ.

howe
Download Presentation

วิธีวิทยาการวิจัยของงานวิจัยในโรงพยาบาล

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วิธีวิทยาการวิจัยของงานวิจัยในโรงพยาบาลวิธีวิทยาการวิจัยของงานวิจัยในโรงพยาบาล น.ท.หญิง ดร. วัชราพร เชยสุวรรณ วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ

  2. วิธีวิทยาการวิจัย หมายถึง ระเบียบวิธีดำเนินการทุกขั้นตอนในการวิจัย ได้แก่ การกำหนดปัญหาการวิจัย การรายงานเอกสารที่เกี่ยวข้อง การกำหนดสมมติฐาน การกำหนดกลุ่มประชากร และการเลือกกลุ่มตัวอย่าง การสร้างเครื่องมือ การรวบรวม การวิเคราะห์และการแปลความหมาย การนำเสนอ วิธีวิทยา หมายถึง วิธีการหรือการศึกษาที่มีระบบเกี่ยวกับวิธีการหรือเทคนิควิธี

  3. แนวคิดของการวิจัย • กระบวนทัศน์การวิจัยประกอบด้วย 2 ส่วน คือ • โลกทัศน์ (World View) + เทคนิควิธีการวิจัย • การทำวิจัยมิใช่เพียงเพื่อสร้างองค์ความรู้ แต่เพื่อพัฒนาระบบการคิดด้วย • การทำวิจัยให้เป็นหนึ่งเดียวกับการปฏิบัติงาน • การนำผลวิจัยไปปฏิบัติใช้ประโยชน์

  4. ขั้นตอนการวิจัย กำหนดปัญหาการวิจัย ทบทวนวรรณกรรม กำหนดกรอบทฤษฎี การเลือกแบบแผนการวิจัย กำหนดสมมติฐาน กำหนดตัวแปร การกำหนดประชากรและการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง การเตรียมเครื่องมือ การเก็บรวบรวมข้อมูล การแปลผลและอภิปรายผล การเขียนรายงานการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล

  5. ความคลาดเคลื่อนในการวิจัยความคลาดเคลื่อนในการวิจัย คำถามของการวิจัย ดำเนินการทำวิจัย ค่าความเท็จ (Error) ค่าความจริง (True Value) ผลการวิจัย แบบสุ่ม (Random E.) อย่างเป็นระบบ(Systematic E.) การลดความคลาดเคลื่อน รูปแบบการวิจัยและระเบียบวิธีวิจัยที่เหมาะสม สถิติที่เหมาะสม

  6. แบบแผนการวิจัย แบบแผนหรือรูปแบบการวิจัย (Research Design) เปรียบเสมือนแบบร่างหรือแบบแปลน (Blueprint) สำหรับใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการวิจัย แบบแผนการวิจัยที่ดีต้องกำหนดให้เหมาะสมกับปัญหาการวิจัยและวัตถุประสงค์ของการวิจัย รวมทั้งการควบคุม ตัวแปรแทรกซ้อน เพื่อให้ผลการวิจัยมีความตรงและน่าเชื่อถือ

  7. ประเภทของแบบแผนการวิจัยประเภทของแบบแผนการวิจัย • จำแนกตามวิธีการรวบรวมข้อมูล • จำแนกตามการนำผลการวิจัยไปใช้ • จำแนกตามเวลาความเกี่ยวพันของปรากฏการณ์ • จำแนกตามมิติเวลาที่ศึกษา • จำแนกตามการจัดกระทำ • จำแนกตามระดับการควบคุมตัวแปร • จำแนกตามทางการแพทย์/วิทยาศาสตร์สุขภาพ

  8. ประเภทของแบบแผนการวิจัยประเภทของแบบแผนการวิจัย • จำแนกตามวิธีการรวบรวมข้อมูล • 1.1 การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) • เป็นการวิจัยที่มุ่งศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรม ทัศนคติ • วัฒนธรรมของคนในสังคม รวมทั้งเหตุการณ์ต่าง ๆ • เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ของประเด็นปัญหาการวิจัย • ที่ศึกษา โดยการตีความจากข้อมูลที่รวบรวมได้ • และสร้างข้อสรุปของปัญหาการวิจัยที่ศึกษา

  9. วิธีการรวบรวมข้อมูลในงานวิจัยเชิงคุณภาพ นิยมใช้ • วิธีการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก (In-dept Interview) • การสังเกต (Observation) • การสนทนากลุ่ม (Focus Group Interview) • ข้อมูลที่รวบรวมได้ส่วนใหญ่เป็นการบันทึกตามคำพูดหรือข้อความที่ได้ยิน ได้ฟัง ได้เห็น โดยบันทึกอย่างละเอียด ไม่เน้นข้อมูลที่เป็นตัวเลข • ตัวอย่าง งานวิจัย ดอกไม้ในพายุ: กรณีศึกษาผ่านมุมมองประสบการณ์ ของผู้หญิงที่ถูกกระทำความรุนแรงซ้ำซากในครอบครัว

  10. จำแนกตามวิธีการรวบรวมข้อมูลจำแนกตามวิธีการรวบรวมข้อมูล • 1.2 การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) • วิธีรวบรวมข้อมูลในงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยส่วนใหญ่ • จะใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง • แบบสังเกตที่มีโครงสร้าง ละบันทึกข้อมูลในลักษณะ • ตัวเลข

  11. 2. จำแนกตามการนำผลการวิจัยไปใช้ 2.1 การวิจัยบริสุทธิ์ หรือการวิจัยพื้นฐาน (Basic Research) เป็นการวิจัยที่มุ่งค้นหาความรู้ใหม่ ได้แก่ การศึกษาค้นคว้าทฤษฏี การทดสอบสมมติฐานของปรากฏการณ์ ความรู้ใหม่ที่ค้นพบจะเป็นฐานความรู้สำหรับนำไปใช้วิจัย เพื่อต่อยอดองค์ความรู้

  12. 2. จำแนกตามการนำผลการวิจัยไปใช้ 2.2 การวิจัยประยุกต์ (Applied Research)เป็นการวิจัยที่มุ่งค้นหาความรู้ใหม่ เพื่อนำผลการวิจัยมาใช้ประโยชน์ได้จริงในทางปฏิบัติ เช่น แก้ปัญหาในหน่วยงาน พัฒนาคุณภาพของหน่วยงาน ฯลฯ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ เป็นการวิจัยที่ทำการ ศึกษาค้นคว้าไปพร้อมกับการปฏิบัติงาน  การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

  13. ระดับของการนำผลงานไปใช้ประโยชน์ระดับของการนำผลงานไปใช้ประโยชน์ • ศึกษาปัญหาในหน่วยงาน ยังไม่ได้นำผลงานไปพัฒนาหรือแก้ปัญหา • นำผลงานไปแก้ปัญหาให้ดีขึ้นในระยะเริ่มต้น ผลกระทบที่เกิดขึ้นยังอยู่ในวงจำกัด • มีการขยายผลข้ามหน่วยงาน หรือมีนวัตกรรมเกิดขึ้นจากการพัฒนางาน • มีการประชาสัมพันธ์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวงกว้าง • เกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบาย

  14. ตัวอย่างผลงาน R 2 R  การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานในชุมชนแบบองค์รวม กรณีศึกษา: บ้านทางสาย ต.หนองกินเพล อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี วัตถุประสงค์:เพื่อหารูปแบบและแนวทางตลอดจนเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพชุมชนอย่างมีส่วนร่วม ในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานในชุมชนแบบองค์รวม การรวบรวมข้อมูล:การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสนทนากลุ่ม เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้

  15. ตัวอย่างผลงาน R 2 R  “ลงทะเบียนรับบริการทุกจุด ไม่สะดุดทันเวลา โรงพยาบาลภูเขียว จ. ชัยภูมิ” • วัตถุประสงค์: • เพื่อลดระยะเวลาในการรอคอยทำบัตรตรวจรักษา • เพื่อลดขั้นตอนการให้บริการ • เพื่อลดการส่งบัตรตรวจรักษาผิดแผนก กระบวนการวิจัย: 1) ระยะเตรียมการ / ประเมินสถานการณ์ 2) ระยะปฏิบัติการ และ 3) ระยะสรุปและประเมินผล

  16. 2. จำแนกตามการนำผลการวิจัยไปใช้ • 2.3 การวิจัยและพัฒนา (Research & Development) เป็นการวิจัยที่มุ่งค้นหาความรู้ใหม่ หรือการนำความรู้ที่มีอยู่ไปพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิม นิยมนำมาใช้ในการคิดค้น และผลิตสิ่งประดิษฐ์ พัฒนากระบวนการ รูปแบบหรือระบบบริการ และระบบบริหารจัดการที่เป็นนวัตกรรม • ตัวอย่าง: การพัฒนาบริการรักษาโรคตาในโรงพยาบาลชุมชน เพื่อลดการส่งต่อผู้ป่วยไปโรงพยาบาลศูนย์

  17. 3. จำแนกตามเวลาความเกี่ยวพันของปรากฏการณ์ 3.1 การศึกษาย้อนหลัง (Retrospective Studies) เป็นการวิจัยเกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันว่ามีความเกี่ยวพันกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตอย่างไรบ้าง หรือมีปัจจัยใดบ้างในอดีตที่มีความเกี่ยวพันกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยการศึกษาจากผลที่เกิดขึ้นไปยังสาเหตุที่ทำให้เกิดผลนั้น ๆ ซึ่งเป็นการศึกษาย้อนหลัง (Ex-post Facto)

  18. ตัวอย่าง “วิถีชีวิตและโรคความดันโลหิตสูงในประชากรชาวเขา อ.แม่ฟ้าหลวง จ. เชียงราย” วัตถุประสงค์:เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างวิถีชีวิตและโรคความดันโลหิตสูงในประชากรชาวเขาฯ กลุ่มตัวอย่าง: กลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 196 คน กลุ่มเปรียบเทียบจำนวน 196 คน

  19. 3. จำแนกตามเวลาความเกี่ยวพันของปรากฏการณ์ 3.2 การศึกษาความคืบหน้า (Prospective Studies / Cohort studies) เป็นการศึกษาวิจัยในปรากฏการณ์ที่ต้องใช้การติดตามผล เพื่อให้ได้คำตอบว่าปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมีผลต่อเนื่องไปยังอนาคตอย่างไร ซึ่งเป็นการวิจัย เพื่อติดตามความคืบหน้าของปรากฏการณ์

  20. 4. จำแนกตามมิติเวลาที่ศึกษา 4.1 การศึกษาแบบตัดขวาง (Cross Sectional Studies) เป็นการวิจัยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์ ที่ศึกษา โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างหลาย ๆ กลุ่ม และรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างทุกกลุ่มในช่วงเวลา เดียวกัน

  21. ตัวอย่าง: “ความชุกและปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับ ในหมู่บ้านพื้นที่ติดลำน้ำพลับพลา อ. ชุมพลบุรี จ. สุรินทร์” วัตถุประสงค์:เพื่อเปรียบเทียบความชุกของการติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับฯ และหาปัจจัยเสี่ยง ระเบียบวิธีวิจัย:กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนอายุ 9 ปีขึ้นไป และเปรียบเทียบความชุกของโรคพยาธิระหว่างชุมชนคนไทย-ลาว และ ไทย-เขมร

  22. 4. จำแนกตามมิติเวลาที่ศึกษา 4.2 การศึกษาแบบระยะยาว (Longitudinal Studies) เป็นการวิจัยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์ ที่ศึกษา โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดิมตลอดช่วงที่วิจัย จุดอ่อนของการวิจัยระยะยาว คือ สิ้นเปลืองเวลา และงบประมาณ และการสูญหายของตัวอย่าง

  23. 5. จำแนกตามการจัดกระทำ  การวิจัยแบบไม่ทดลอง เป็นการวิจัยที่ไม่ได้จัดกระทำสิ่งทดลองให้กับกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การศึกษาย้อนหลัง การศึกษาความคืบหน้า การวิจัยเชิงสำรวจ การวิจัยแบบบรรยาย ฯลฯ  การวิจัยแบบทดลอง เป็นการวิจัยที่เน้นความเป็นเหตุและผลของตัวแปรได้แก่ การวิจัยแบบทดลองที่แท้จริง การวิจัยกึ่งทดลอง

  24. 6. จำแนกตามระดับการควบคุมตัวแปร ระดับที่ 1การควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนในระดับน้อยที่สุด ได้แก่ การวิจัยเชิงสำรวจ การวิจัยเชิงบรรยายการวิจัยสหสัมพันธ์ ระดับที่ 2การควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนในระดับมากกว่าระดับที่ 1 ได้แก่ การวิจัยเชิงเปรียบเทียบสาเหตุ ระดับที่ 3 การควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนได้ในระดับมากที่สุด ได้แก่ การวิจัยแบบทดลองที่แท้จริง การวิจัยกึ่งทดลอง

  25. 7. จำแนกตามทางการแพทย์/วิทยาศาสตร์สุขภาพ งานวิจัยสถานการณ์และการดำเนินโรค งานวิจัยคุณค่าของการรักษา งานวิจัยสาเหตุและปัจจัยเสี่ยง งานวิจัยวิธีการวินิจฉัย งานวิจัยเศรษฐศาสตร์คลินิก งานวิจัยเพื่อประเมินและพัฒนาคุณภาพบริการ

  26. ใช้เมื่อต้องการอธิบายความผิดปกติหรือโรคที่พบ เช่น รายงานกลุ่มผู้ป่วยโรคใดโรคหนึ่ง งานวิจัยนี้จะกล่าวถึง ความบ่อย ความรุนแรง ลักษณะ การเปลี่ยนแปลง และผลของโรคนั้นต่อตัวผู้ป่วยและประชาชนทั่วไป 1. งานวิจัยสถานการณ์และการดำเนินโรค รูปแบบการวิจัยที่ใช้: การวิจัยเชิงสำรวจ หรือ การวิจัยแบบบรรยาย

  27. ใช้เมื่อต้องการเปรียบเทียบผลการรักษาตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป คำว่าการรักษาอาจหมายถึง ยา วิธีการ อุปกรณ์ที่ใช้ เพื่อการรักษาหรือป้องกันโรค 2. งานวิจัยคุณค่าของการรักษา รูปแบบการวิจัยที่ใช้: การวิจัยเชิงทดลอง

  28. ใช้เมื่อต้องการทราบความสัมพันธ์ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีต่อโรค หรือความผิดปกติอื่น ๆ เช่น ศึกษาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดอาการแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ว่ามีอะไรบ้าง 3. งานวิจัยสาเหตุและปัจจัยเสี่ยง รูปแบบการวิจัยที่ใช้: การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบศึกษาไปข้างหน้า การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบย้อนกลับ การศึกษาแบบภาคตัดขวาง

  29. เพื่อตอบคำถามที่เกี่ยวกับวิธีวินิจฉัยต่าง ๆ เช่น การตรวจทางรังสีช่วยในการวินิจฉัย pulmonary emboli ได้ดีเพียงใด รูปแบบงานวิจัยที่ดีจะต้องมีการเปรียบเทียบกับวิธีการมาตรฐาน 4. งานวิจัยวิธีการวินิจฉัย

  30. เป็นงานวิจัยที่ประเมินประสิทธิภาพของเทคโนโลยี เช่น ยา อุปกรณ์ที่ใช้ในการรักษาหรือวินิจฉัยโรค โดยเปรียบเทียบทั้งต้นทุนและผลที่ได้รับว่าต่างกันอย่างไร 5. งานวิจัยเศรษฐศาสตร์คลินิก

  31. เป็นงานวิจัยที่ประยุกต์ใช้หลักการวิจัยเข้ากับการบริหาร และบริการ เพื่อพัฒนาให้ได้บริการที่มีคุณภาพที่ต้องการ อาจประเมินในลักษณะโครงสร้าง กระบวนการ หรือผลลัพธ์ 6. งานวิจัยเพื่อประเมินและพัฒนาคุณภาพบริการ

  32. แบบแผนการวิจัย การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) การวิจัยโดยการสังเกต (Observational Research) การวิจัยเชิงทดลอง การวิจัยกึ่งทดลอง การวิจัยแบบบรรยาย (Descriptive R.) การวิจัยเชิงวิเคราะห์ (Analytical R.) การศึกษาไปข้างหน้า (Cohort or Prospective) การศึกษาย้อนหลัง (Case-control or Retrospective) การศึกษา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง (Cross-Sectional Study)

  33. การวิจัยโดยการสังเกต การวิจัยใดก็ตามที่ผู้วิจัยไม่มีการกำหนดสิ่งทดลอง/ สิ่งแทรกแซงให้กับตัวอย่างที่นำมาศึกษา แต่ตัวอย่างเหล่านั้นได้รับหรือสัมผัสกับปัจจัยเสี่ยงนั้น ๆ อยู่แล้ว ในการดำเนินชีวิตประจำวันของเขา โดยผู้วิจัยเป็นเพียงเฝ้าติดตาม สังเกตดูผลที่เกิดขึ้น

  34. การวิจัยโดยการสังเกต ไม่มีกลุ่มเปรียบเทียบ มีกลุ่มเปรียบเทียบ การวิจัยเชิงวิเคราะห์ - การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบไปข้างหน้า - การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง - การวิจัยเชิงวิเคราะห์ ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง/ การศึกษาแบบตัดขวาง • การวิจัยแบบบรรยาย หรือเชิงพรรณนา • การวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง • การวิจัยเชิงพรรณนาระยะยาว ภาพที่2 การจำแนกการวิจัยโดยการสังเกต

  35. ผล (Outcome/ Effect Health Problem) Prospective (cohort) เหตุ (Exposure/ Risk Factor) Retrospective (Case-Control) Cross-sectional Analytic ภาพที่ 3 การจำแนกการวิจัยเชิงวิเคราะห์

  36. การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบศึกษาไปข้างหน้าการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบศึกษาไปข้างหน้า เกิดโรค กลุ่มที่ได้รับปัจจัยเสี่ยง ไม่เกิดโรค ประชากรกลุ่มเสี่ยง เกิดโรค กลุ่มที่ไม่ได้รับปัจจัยเสี่ยง ไม่เกิดโรค แผนภาพที่ 4รูปแบบการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบศึกษาไปข้างหน้า

  37. การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบศึกษาย้อนหลังการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบศึกษาย้อนหลัง เป็นโรค สัมผัสปัจจัยเสี่ยง ไม่สัมผัสปัจจัยเสี่ยง ไม่เป็นโรค สัมผัสปัจจัยเสี่ยง ไม่สัมผัสปัจจัยเสี่ยง อดีต ปัจจุบัน แผนภาพที่ รูปแบบการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบศึกษาย้อนหลัง

  38. การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-Sectional Study) การวิจัยใดก็ตามที่ผู้วิจัยทำการเก็บข้อมูลของผู้ป่วยทั้งปัจจัยเสี่ยงและโรคในเวลาเดียวกัน ตัวอย่าง การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโรคความดันโลหิตสูง และการสูบบุหรี่

  39. การวิจัยเชิงทดลอง การวิจัยใดก็ตามที่ผู้วิจัยมีการกำหนดสิ่งทดลอง/สิ่งแทรกแซงให้กับตัวอย่างที่นำมาศึกษา โดยผู้วิจัยติดตาม สังเกตดูผลที่เกิดขึ้นในอนาคต ใช้ตรวจสอบความเป็นเหตุและผลของตัวแปรต้นและตัวแปรตาม มีทั้งแบบแผนการวิจัยแบบอ่อน การวิจัยเชิงทดลองที่แท้จริง และแบบแผนการวิจัยกึ่งทดลอง

  40. วัตถุประสงค์ • เพื่อค้นหาข้อเท็จจริงของสาเหตุที่ทำให้เกิดผล • เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสาเหตุและผลของปรากฏการณ์ต่าง ๆ • เพื่อนำผลการวิจัยไปสร้างเป็นกฏเกณฑ์ สูตร ทฤษฎี • เพื่อวิเคราะห์หรือหาข้อบกพร่องของงาน • ต่าง ๆ เพื่อนำไปปรับปรุง พัฒนา

  41. การวิจัยเชิงทดลอง • ลักษณะของการวิจัยเชิงทดลอง ประกอบด้วย • การจัดกระทำ/ การกำหนดสิ่งทดลอง (Manipulation/ Intervention/ Treatment) • 2. การควบคุมตัวแปรแทรกซ้อน/ การควบคุมสิ่งทดลอง/ การมีกลุ่มควบคุม (Control) • 3. การสุ่ม (Randomization) – การสุ่มจากประชากร การสุ่มเข้ากลุ่ม และการสุ่มสิ่งทดลองให้แต่ละกลุ่ม

  42. การควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนการควบคุมตัวแปรแทรกซ้อน • การสุ่ม (Randomization) R. Selection - การสุ่มจากประชากร R. Assignment – การสุ่มเข้ากลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม R.Treatment - การสุ่มสิ่งทดลอง • การเพิ่มตัวแปร (Add to the design) การเพิ่มเป็นตัวแปรอิสระที่จะต้องศึกษา

  43. การควบคุมตัวแปรแทรกซ้อน (ต่อ) • การจับคู่ (Matching) - จับกลุ่ม (Matched group) เป็นการจัดให้ทั้ง ๒ กลุ่มมีคุณสมบัติเหมือนกัน โดยไม่คำนึงว่า สมาชิกในกลุ่มจะเท่ากันเป็นรายบุคคลหรือไม่ - จับคู่รายบุคคล (Matched subjects) • การใช้สถิติ (Statistical control) Analysis of Covariance • การตัดทิ้ง (Elimination) คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีความสนใจเหมือน ๆ กัน

  44. หลักการออกแบบแผนการวิจัยเชิงทดลองหลักการออกแบบแผนการวิจัยเชิงทดลอง MAX – MIN- CON Principle (Kerlinger, 1986) • Maximization of experimental variance • Minimization of error variance random error, systematic error ๓.Control External factors, Intrinsic to the subjects, Experimenter and subjects

  45. ความแตกต่างของแบบแผนการวิจัยเชิงทดลอง แบบกึ่งทดลอง และแบบไม่ทดลอง

  46. จุดแข็งของแบบแผนการวิจัยเชิงทดลองจุดแข็งของแบบแผนการวิจัยเชิงทดลอง * ความตรงภายใน จุดอ่อนของแบบแผนการวิจัยเชิงทดลอง • แหล่งทดลองการวิจัย • ขนาดกลุ่มตัวอย่าง • การสุ่ม • ประเด็นจริยธรรม

  47. หลักการเลือกใช้แบบแผนการวิจัยเชิงทดลองหลักการเลือกใช้แบบแผนการวิจัยเชิงทดลอง ๑. จำนวนตัวแปรอิสระหรือสิ่งทดลอง มีกี่ชนิด ๒. ระดับของตัวแปรอิสระหรือสิ่งทดลองมีกี่ระดับ ๓. หน่วยทดลองแต่ละหน่วย ได้รับอิทธิพลของสิ่งทดลองทุกระดับหรือไม่

  48. ประเภทของแบบแผนการวิจัยเชิงทดลองประเภทของแบบแผนการวิจัยเชิงทดลอง ๑. รูปแบบการทดลองอย่างอ่อน (Pre Experimental Design) ๒. รูปแบบการทดลองที่แท้จริง (True Experimental Design) ๓. รูปแบบกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Design)

  49. แบบแผนการทดลองขั้นต้น (Pre-experimental design) เป็นการวิจัยเชิงทดลองอย่างอ่อน (leaky design) ควบคุมอิทธิพลแทรกได้น้อยกว่าแบบอื่น ขาดน้ำหนักในการอธิบายความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ มีความเป็นธรรมชาติสูง ประกอบด้วย ๑. The One-Shot Case Study ๒. TheOne-Group Pretest-posttest Design ๓. TheStatic Group Comparison Design

  50. One-Shot Case Study ลักษณะ – ศึกษาเพียง 1 กลุ่ม - มีการวัดผลการทดลองครั้งเดียว X O ตัวอย่าง ข้อดี –ไม่ซับซ้อน ข้อจำกัด – ขาดข้อมูลสำหรับเปรียบเทียบกับตนเอง - ขาดข้อมูลการเปรียบเทียบกับกลุ่มอื่น

More Related