520 likes | 1.05k Views
โครงงานด้านวิศวกรรม. การศึกษาความสัมพันธ์ของดินและน้ำภายในสถานีทดลองบริหารจัดการน้ำด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่. เสนอ. อาจารย์ช วลี เฌอกิจ ประธาน อาจารย์ชวกร ริ้วตระกูลไพบูลย์ กรรมการ อาจารย์ กรต สุวรรณ โพธิ์สุวรรณ กรรมการ. จัดทำโดย.
E N D
โครงงานด้านวิศวกรรม การศึกษาความสัมพันธ์ของดินและน้ำภายในสถานีทดลองบริหารจัดการน้ำด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่
เสนอ อาจารย์ชวลี เฌอกิจ ประธาน อาจารย์ชวกร ริ้วตระกูลไพบูลย์ กรรมการ อาจารย์กรตสุวรรณ โพธิ์สุวรรณ กรรมการ จัดทำโดย นางสาวชุติมา กลยนีย์ นางสาวรัชนีกร พรมแสง
ที่มาและความสำคัญของปัญหาที่มาและความสำคัญของปัญหา • ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมที่มีชื่อเสียงทางด้านอู่ข้าว • อู่น้ำ ของประชาชน • ปัจจุบันทางด้านเกษตรกรรมได้มีปัญหาหลายประการทั้งทางด้าน • ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ผลผลิต และปัญหาอีกประการหนึ่งคือ • การจัดการน้ำในแปลงเกษตร • จึงได้ทำการศึกษาสมบัติของดินและการซาบซึมของน้ำในดินใน พื้นที่ปลูกพืชชนิดต่างๆในแปลงทดลอง • เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงดิน บริหารจัดการน้ำให้แก่พื้นที่เพาะปลูกและยังช่วยให้มีการวางแผนส่งน้ำให้พืชแบบประหยัดและคุ้มค่าที่สุด
วัตถุประสงค์ของการวิจัยวัตถุประสงค์ของการวิจัย • เพื่อศึกษาอัตราการซาบซึมของน้ำในดิน (InfiltrationRate) ของแปลง ทดลอง ปลูกพืชต่างชนิดกัน • เพื่อศึกษาสมบัติและแนวทางการแก้ไขปัญหาของดินในแปลงทดลอง • เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลและหาปริมาณน้ำที่ใช้ในพื้นที่การเกษตร
สมมติฐานในการวิจัย • สมบัติของดินมีผลต่อระบบอัตราการซาบซึม และการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ปลูกพืชชนิดต่าง ๆ ขอบเขตการวิจัย • ศึกษาสมบัติของดินและข้อมูลการไหลซึมผ่านผิวดินของน้ำในบริเวณ • ปลูกพืชชนิดต่างๆ ในแปลงทดลองของวิทยาลัยการชลประทาน • เพื่อศึกษาการใช้เครื่อง Double ring infiltrometer
นิยามศัพท์ที่ใช้ในการศึกษาวิจัยนิยามศัพท์ที่ใช้ในการศึกษาวิจัย • การซาบซึมผ่านผิวดิน (Infiltration)หมายถึง การเคลื่อนที่ของน้ำจากผิวดินเข้าไปในดินตามช่องว่างระหว่างเม็ดดินหรือตามรอยแตกระแหงด้วยแรงดึงดูดของโลก • การรั่วซึมของน้ำในดิน (Percolation)หมายถึง การไหลซึมของน้ำในระหว่างช่องว่างระหว่างเม็ดดินที่เกิดจากแรงดึงดูดของโลก แรงดูดซับ และจากความกดดันของน้ำที่ขังอยู่บนผิวดิน
Infiltration percolation c a b d gravity force > cohesion force CN Creative cohesionforces a > b > c > d Water Storage in Soil Soil Professor Kasem Chunkao:College of EnvironmentKasetsart University 21/07/2552
นิยามศัพท์ที่ใช้ในการศึกษาวิจัย (ต่อ) • ดิน(Soil) หมายถึง วัตถุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจากการสลายตัวทางกายภาพ และทางเคมีของหินและแร่ รวมกับสารอินทรีย์ ที่เกิดจากการสลายตัวของซากพืชซากสัตว์เป็นผิวชั้นบนที่หุ้มห่อโลก • ความชื้นชลประทาน (Field Capacity) หมายถึง ความชื้นที่อยู่ในช่องว่างของดินหลังจากน้ำส่วนเกินไหลลงด้านล่างตามแรงโน้มถ่วงของโลก
นิยามศัพท์ที่ใช้ในการศึกษาวิจัย (ต่อ) • ความชื้นที่เป็นประโยชน์ (Available Moisture) หมายถึง ความชื้นที่อยู่ระหว่างความชื้นชลประทาน และความชื้นที่จุดเหี่ยวถาวร • สภาพจุดเหี่ยวถาวรของพืช (permanent wilting point) เป็นสภาพที่เกิดขึ้นเนื่อง จากในช่องว่างขนาดเล็กของดินมีปริมาณน้ำอยู่น้อยประกอบกับมีแรงยึดเพิ่มขึ้น
นิยามศัพท์ที่ใช้ในการศึกษาวิจัย (ต่อ) • Double ring infiltrometerหมายถึง เครื่องวัดอัตราการซึมน้ำของดินแบบถังกลม ภาพ : Double ring infiltrometer
ประโยชน์ที่จะได้รับ • ป้องกันน้ำท่วมขังหรือการขาดแคลนน้ำในพื้นที่การเกษตร • ทราบถึงอัตราการซาบซึมของน้ำในพื้นที่การเกษตร • สามารถวางแผนการใช้น้ำอย่างเป็นระบบ • ใช้เป็นข้อมูลในการบริหารจัดการน้ำ • สามารถคำนวณหาปริมาณน้ำที่จะส่งให้พื้นที่ปลูกพืชของแปลงทดลอง • สามารถวางแผนการให้น้ำได้ • เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงดิน
กรอบแนวความคิดในการวิจัยกรอบแนวความคิดในการวิจัย การหาอัตราการซาบซึมของน้ำในดิน แปลงปลูกพืชชนิดต่างๆ หาค่า Infiltration โดยใช้ถัง Double ring infiltrometer วิเคราะห์ข้อมูลโดย • สมการ Horton (1940) วางแผนการให้น้ำ
กรอบแนวความคิดในการวิจัย (ต่อ) การศึกษาคุณสมบัติของดินในแปลงทดลอง แปลงปลูกพืชชนิดต่างๆ เก็บตัวอย่างดินในแปลงทดลอง ตาก บดและร่อนผ่านตะแกรงเบอร์ 10 ทำตัวอย่างดินให้เป็น paste วิเคราะห์ชนิดของเนื้อดิน ( Texture ) Available Moisture ( FC – PWP ) ค่า Field Capacity วัดค่า pH ของดินโดย pH meter สกัดสารละลายออกจากดินโดยเครื่อง Filter press ค่าPermanent Wilting Point วัดค่าความเค็มโดยเครื่อง Electrical Conductivity Meter ค่า percolation rate วิเคราะห์ข้อมูล วางแผนการให้น้ำและแนวทางการปรับปรุงดิน
ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การส่งน้ำโดยใช้ความชื้นในดินเป็นเกณฑ์ การส่งน้ำให้พืชไร่ พืชผัก และไม้ผล นั้นจะคำนึงถึงปริมาณความชื้นในดินเป็นเกณฑ์ซึ่งก็คือความจุความชื้นในสนาม (Fieldcapacity, FC) และความชื้นที่เป็นประโยชน์ต่อพืช (AvailablemoistureCapacity, AMCA) ถ้า PWP เป็นจุดเหี่ยวเฉาถาวรของดิน (permanentwiltingpoint) จะได้ AMCA = FC – PWP ปกติแล้วเราจะขาดน้ำชลประทานก็ต่อเมื่อความชื้นในดินลดลงจนเหลือความชื้นที่เป็นประโยชน์ต่อพืชเพียง 50 % เพื่อให้พืชดูดความชื้นไปจากดินได้อย่างสะดวก
ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง(ต่อ)ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง(ต่อ) ทฤษฎี การคำนวณหาความชื้นที่เป็นประโยชน์ AMCA = Available Moisture Capacity (ความชื้นที่เป็นประโยชน์) FC = Field Capacity(ความชื้นชลประทาน) PWP = Permanent wilting point (สภาพจุดเหี่ยวถาวรของพืช) AMCA = FC - PWP
ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (ต่อ) ทฤษฎี (ต่อ) สมการ Horton (1940) เมื่อ f t เป็นอัตราการซึมน้ำผ่านผิวดินที่เวลา t f oเป็นอัตราการซึมน้ำผ่านผิวดินสูงสุด f c เป็นอัตราการซึมน้ำผ่านผิวดินคงที่ e คือ naperian base k คือ ค่าคงที่ t คือเวลานับจากเริ่มฝนตก f t = f c + (f o – f c ) e-kt
ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (ต่อ) ระดับความรุนแรงของความเป็นกรดเป็นด่างของดิน
ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (ต่อ) ค่าการนำไฟฟ้าและระดับความเค็มของดิน
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง • การศึกษาปริมาณการใช้น้ำในพืชไร่ ที่ศูนย์วิจัยข้าวโพดข้าวฟ่างแห่งชาติ อ. ปากช่อง จ.นครราชสีมา ราเชนทร์ และสดใส (2530) • ศึกษาการใช้ท่อน้ำซึมในงานเกษตร สุมนา และคณะ (2552) • ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพดินในอ่าวคุ้งกระเบน ชนินทร์ และคณะ (2540) • ศึกษางานผลของการใช้ที่ดินประเภทต่างๆ ต่อสมรรถนะการซึมน้ำผ่านผิวดิน บริเวณสถานีวิจัยเพื่อรักษาต้นน้ำห้วยหินลาด จ.ระยอง พีรชัย (2537)
งานวิจัยเรื่อง ศึกษาคุณสมบัติของดินภายในสถานีทดลองบริหารจัดการน้ำด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่มีขั้นตอนการดำเนินงานดังในภาพ ศึกษาคุณสมบัติของดินภายในสถานีทดลองบริหารจัดการน้ำด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ วัตถุประสงค์ที่ 2: เพื่อศึกษาสมบัติและแนวทางการแก้ไขปัญหาของดินในแปลงทดลอง • วัตถุประสงค์ที่ 1: เพื่อศึกษาอัตราการซาบซึมของน้ำในดิน (InfiltrationRate) ของแปลงทดลอง ปลูกพืชต่างชนิดกัน วิธีการทดลองและอุปกรณ์ เก็บตัวอย่างดินในสถานีทดลอง ทำการบดและร่อนดินผ่านตะแกรงเบอร์ 10 ทำการวิเคราะห์เนื้อดิน ค่า FC ค่า PWP ค่า percolation rate และค่า pH ของดิน • Filter press • Electrocal Conductivity Meter • pHmeter วิธีการทดลองและอุปกรณ์ 1. ทำการฝังถัง Double ring ในแปลงพืชไร่ทุกแปลงทำการวัดปริมาณน้ำหาอัตราการซึมน้ำผ่านผิวดิน • Double ring เก็บข้อมูลการทดลอง • จดบันทึกข้อมูลจากทดลอง เก็บข้อมูลการทดลอง • จดบันทึกข้อมูลจากทดลอง
งานวิจัยเรื่อง ศึกษาคุณสมบัติของดินภายในสถานีทดลองบริหารจัดการน้ำด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่มีขั้นตอนการดำเนินงานดังในภาพ วัตถุประสงค์ที่ 3: เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลและหาปริมาณน้ำที่ใช้ในพื้นที่การเกษตร • 1. นำข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากวัตถุประสงค์ที่ 1 มาหาอัตราการไหลซึมน้ำผ่านผิวดินด้วยสมการ Horton (1940) • 2. นำข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากวัตถุประสงค์ที่ 2 มาวิเคราะห์หาแนวทางในการแก้ปัญหาดินภายในสถานีทดลอง • 3. วางแผนการใช้น้ำภายในสถานีทดลอง และสามารถที่จะเป็นแนวทางในการบริหารจัดการน้ำของการเกษตรต่อไปได้ สรุปผล
ผลการวิเคราะห์ดินภายในแปลงผักผลการวิเคราะห์ดินภายในแปลงผัก ลักษณะดินเป็นดินเหนียว มีเปอร์เซ็นต์ความชื้นที่พืชสามารถนำไปใช้ได้เท่ากับ 16.4 %ปฏิกิริยาของดินเป็นกรดจัดมากวัดค่า pH ของดินได้เท่ากับ 4.8 ค่าการนำไฟฟ้าของน้ำที่สกัดจากดินที่อิ่มตัวด้วยน้ำมีค่าเท่ากับ 4.1 แสดงว่าดินมีค่าความเค็มในระดับปานกลาง ปริมาณอินทรียวัตถุภายในดินในแปลงผักมีค่าเท่ากับ 2 % มีปริมาณอยู่ในระดับปานกลาง ปริมาณธาตุหลักในดินได้แก่ปริมาณฟอสฟอรัสในดินภายในแปลงผักมีค่าเท่ากับ 28 ppmอยู่ในเกณฑ์สูง ปริมาณโพแทสเซียมในดินภายในแปลงผักมีค่าเท่ากับ 215 ppmจัดอยู่ในเกณฑ์สูงมาก ความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวกมีค่าเท่ากับ 25meq/100 gm อยู่ไนระดับสูง ดินสามารถเก็บรักษาธาตุอาหารไว้ได้ดี
กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการไหลและเวลา ของแปลงผักทั้ง 3 แปลง
คำนวณหาอัตราการซึมน้ำผ่านผิวดินด้วยสมการ Horton (1940) f t = f c + (f o– f c ) e-kt ft = 4 + (960 – 4) e -0.0004t
การออกแบบการให้น้ำในแปลงผักการออกแบบการให้น้ำในแปลงผัก • ออกแบบเป็นหัวน้ำหยดโดยมีอัตราการให้น้ำหัวน้ำหยด 2.55 มิลลิเมตร/ชั่วโมง ใช้หัวน้ำหยดขนาด 8 ลิตร/ชั่วโมง • 1) จำนวนโซนมากที่สุด 4 โซน • 2) คาบการให้น้ำ วันละ 2 คาบ/วัน • 3) ให้น้ำคาบละ 4 ชม. • 4) จำนวนวันในแต่ละรอบเวร 2 วัน
แนวทางการแก้ไขปัญหาดินในแปลงผักแนวทางการแก้ไขปัญหาดินในแปลงผัก 1) การให้น้ำแบบน้ำหยด ช่วยลดปัญหาดินเค็มเป็นวิธีที่จะแก้ไขปัญหาการปลูกพืชในดินเค็มได้ เพราะโดยหลักการให้น้ำแก่พืชที่ปลูกในดินเค็มคือการให้น้ำครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง เพื่อให้ดินมีความชื้นสูงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นหลักการเดียวกันกับการให้น้ำแบบน้ำหยด กล่าวคือการให้น้ำแบบน้ำหยดเป็นการให้น้ำแก่พืชครั้งละน้อย ๆ ตามเวลาและปริมาณที่ต้องการ โดยการปล่อยน้ำไปตามท่อผ่านหัวปล่อยน้ำลงไปสู่พื้นดินบริเวณรากพืช พยายามรักษาความชื้นในดินบริเวณรากพืชให้มีความชื้นอยู่ตลอดเวลา ซึ่งหลักการดังกล่าวพอจะสรุปได้ว่า การให้น้ำแบบน้ำหยดช่วยแก้ปัญหาการปลูกพืชในดินเค็ม 2) การปลูกพืชผักที่สามารถทนความเค็มได้ในระดับปานกลางได้แก่ บวบ กะหล่ำดอก พริกยักษ์ กะหล่ำปลี ถั่วลันเตา มันฝรั่ง น้าเต้า กระเทียม หอมใหญ่ หอมแดง ข้าวโพดหวาน แตงโม ผักกาดหอม องุ่น แคนตาลูป สับปะรด ผักชี
ผลการวิเคราะห์ดินภายในแปลงมะม่วงผลการวิเคราะห์ดินภายในแปลงมะม่วง ลักษณะดินเป็นดินเหนียว ค่าเปอร์เซ็นต์ค่าชื้นที่พืชสามารถนำไปใช้ได้เท่ากับ 16.9 %ปฏิกิริยาของดินเป็นกรดจัดมากวัดค่า pH ของดินได้เท่ากับ 4.5 ค่าการนำไฟฟ้าของน้ำที่สกัดจากดินที่อิ่มตัวด้วยน้ำมีค่าเท่ากับ 5.5 ดินมีค่าความเค็มในระดับปานกลาง ปริมาณอินทรียวัตถุภายในดินในแปลงมะม่วงมีค่าเท่ากับ 2 % มีปริมาณอยู่ในระดับปานกลาง ปริมาณธาตุหลักในดินได้แก่ปริมาณฟอสฟอรัสในดินภายในแปลงมะม่วงมีค่าเท่ากับ 9.1 ppmอยู่ในระดับต่ำ ปริมาณโพแทสเซียมในดินภายในแปลงมะม่วงมีค่าเท่ากับ 219 ppmอยู่ในระดับสูงมาก ความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวกมีค่าเท่ากับ 27meq/100 gm อยู่ไนระดับสูง ดินสามารถเก็บรักษาธาตุอาหารไว้ได้ดี มะม่วงปลูกได้ในดินทั่วไป ดินที่มะม่วงชอบคือ ดินร่วน ดินร่วนปนทรายที่อุดมสมบูรณ์ด้วยอินทรียวัตถุ มีธาตุ อาหารอย่างเพียงพอที่สำคัญคือดินปลูกต้องระบาย น้ำดี มะม่วงไม่ชอบดินที่เหนียวจัด มะม่วงไม่ชอบดินที่เป็นด่างมากหรือดินที่มี หินปูนมาก ดินที่เป็นด่างจะทำให้มะม่วงเติบโต ช้า โดยเฉพาะต้นอ่อนจะตายง่าย ดินที่เหมาะสำหรับ มะม่วงคือดินที่มีสภาพเป็นกรดอ่อน ๆ ถึงเป็นกลาง (pH. 6.5 - 7.5)
กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการไหลและเวลา ของมะม่วงทั้ง 3 แปลง
คำนวณหาอัตราการซึมน้ำผ่านผิวดินด้วยสมการ Horton (1940) f t = f c + (f o– f c ) e-kt ft = 0.03 + (1.29 – 0.03) e -0.00001t
การออกแบบการให้น้ำในแปลงมะม่วงการออกแบบการให้น้ำในแปลงมะม่วง • ให้น้ำแบบร่องคูราบ (Level Furrow Method) การให้น้ำวิธีนี้เหมาะสำหรับดินที่มีอัตราการซึมเฉลี่ยน้อยกว่า 50 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง และมีความสามารถเก็บน้ำไว้ได้ขนาดปานกลางจนถึงเก็บน้ำไว้ได้ดี พื้นที่ควรจะเรียบและมีความลาดเทสม่ำเสมอ พืชที่จะให้น้ำโดยวิธีนี้ควรจะเป็นพืชที่ปลูกเป็นแถว สำหรับพืชหว่านเมล็ดก็อาจจะให้น้ำโดยวิธีนี้ได้ ถ้าหากมีการยกกรองและให้น้ำเสียก่อน
แนวทางการแก้ไขปัญหาดินในแปลงมะม่วงแนวทางการแก้ไขปัญหาดินในแปลงมะม่วง 1) การปรับปรุงดินเค็ม โดยใช้โสนอัฟริกัน เป็นพืชปุ๋ยสดวิธีการหนึ่งในการรักษาระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน และเพิ่มผลผลิตของพืช ในพื้นที่ดินเค็ม คือการเพิ่ม อินทรียวัตถุและธาตุอาหารพืช โดยเฉพาะธาตุไนโตรเจน ให้แก่ดิน แต่เนื่องจากปุ๋ยไนโตรเจนมีราคาแพง เกษตรกรที่มีฐานะยากจน ไม่สามารถซื้อมาใช้ให้เพียงพอ กับความต้องการของพืชได้ และมีปัญหาการขาดแคลนวัสดุที่จะใช้ทำปุ๋ยหมัก ดังนั้น "ปุ๋ยพืชสด" จึงเป็นวัสดุปรับปรุงดินเค็มที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุ และธาตุไนโตรเจนแก่ดิน เพราะมีราคาถูก เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้อินทรียวัตถุชนิดอื่น และไม่มีผลตกค้าง ที่เป็นผลเสียต่อสภาพแวดล้อม ควรปรับปรุงดินให้ร่วน ซุยโดยการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ให้มาก ๆ ก่อนที่จะ ลงมือปลูก
ผลการวิเคราะห์ดินภายในแปลงทุเรียนผลการวิเคราะห์ดินภายในแปลงทุเรียน ลักษณะดินเป็นดินเหนียว มีเปอร์เซ็นต์ความชื้นที่พืชสามารถนำไปใช้ได้เท่ากับ 16.0 %ปฏิกิริยาของดินเป็นกรดเล็กน้อยวัดค่า pH ของดินได้เท่ากับ 6.2 ค่าการนำไฟฟ้าของน้ำที่สกัดจากดินที่อิ่มตัวด้วยน้ำมีค่าเท่ากับ 3.4 ดินมีค่าความเค็มเล็กน้อย ปริมาณอินทรียวัตถุภายในดินในแปลงทุเรียนมีค่าเท่ากับ 1.2 % มีปริมาณอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ ปริมาณธาตุหลักในดินได้แก่ปริมาณฟอสฟอรัสในดินภายในแปลงทุเรียนมีค่าเท่ากับ 8.8 ppmอยู่ในระดับต่ำ ปริมาณโพแทสเซียมในดินภายในแปลงผักมีค่าเท่ากับ 223 ppmอยู่ในระดับสูงสูงมาก ความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวกมีค่าเท่ากับ 24meq/100 gm อยู่ไนระดับสูง ดินสามารถเก็บรักษาธาตุอาหารไว้ได้ดี ควรเป็นดินร่วน ดินร่วนปนทราย ดินเหนียวปนทราย ที่มีการระบายนํ้าดีและมีหน้าดินลึกเพราะทุเรียนเป็นพืชที่อ่อนแอต่อสภาพนํ้าขัง ความเป็นกรดด่างของดินอยู่ระหว่าง 5.5-6.5
กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการไหลและเวลา ของทุเรียนทั้ง 3 แปลง
คำนวณหาอัตราการซึมน้ำผ่านผิวดินด้วยสมการ Horton (1940) f t = f c + (f o– f c ) e-kt ft = 2 + (1400 – 2) e -0.0014t
การออกแบบการให้น้ำในแปลงทุเรียนการออกแบบการให้น้ำในแปลงทุเรียน • ออกแบบเป็นมินิสปริงเกอร์ โดยมีขนาดหัว 70 ลิตร/ชั่วโมง มีอัตราการซาบซึม 2.32 มิลลิเมตร/ชั่วโมง • จำนวนโซนมากที่สุด 1 โซน • คาบในการให้น้ำ วันละ 2 คาบ/ วัน • ให้น้ำคาบละ 3ชั่วโมง • จำนวนวันในแต่ละรอบเวร 2 วัน
แนวทางการแก้ไขปัญหาดินในแปลงทุเรียนแนวทางการแก้ไขปัญหาดินในแปลงทุเรียน 1) การใส่อินทรียวัตถุการใส่อินทรียวัตถุเพื่อปรับสภาพดินให้มีความร่วนซุยระบายน้ำและอากาศได้ดีและเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซับธาตุอาหารและการเก็บความชื้นให้กับดินโดยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในรูปของ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสดหรือวัสดุเศษเหลือจากโรงงานอุตสาหกรรมการใส่ปุ๋ยหมักควรใช้ในอัตรา 2-3 ตัน / ไร่ 2) การใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสจากผลการวิเคราะห์ดินพบว่าดินมีปริมาณฟอสฟอรัสต่ำควรใช้ปุ๋ยที่ละลายช้าเช่น หินฟอสเฟต ส่วนดินที่มีการใส่ปูนเพื่อปรับ pH ของดินแล้วควรใส่ปุ๋ยฟอสเฟตที่ละลายเร็ว เช่น ทริบเปิลซูเปอร์ฟอสเฟต 3) การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอินทรียวัตถุเป็นแหล่งไนโตรเจนในดินดังนั้นดินขาดธาตุไนโตรเจน จึงควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในรูปของปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกหรือ ปุ๋ยพืชสดร่วมกับปุ๋ยเคมีที่ให้ไนโตรเจนซึ่งไม่ควรเป็นปุ๋ยที่มีผลตกค้างเป็นกรด เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต แต่ควรเลือกใช้ปุ๋ยยูเรียซึ่งให้ผลตกค้างเป็นกรดน้อยกว่าหรืออาจใช้ปุ๋ยที่มีผลตกค้างเป็นด่าง เช่น แคลเซียมไนเทรต และโพแทสเซียมไนเทรต เป็นต้น 4) การใช้พันธุ์พืชที่ทนต่อสภาพดินเค็มเล็กน้อยการเลือกพืชที่ทนต่อสภาพดินเค็มเล็กน้อยมาปลูกในพื้นที่ดินเค็มเล็กน้อยจะช่วยลดต้นทุนในการปรับปรุงดินได้มาก เช่น อาโวกาโด กล้วย ลิ้นจี่ มะนาว ส้ม มะม่วง เป็นต้น