100 likes | 241 Views
ศึกษาประสิทธิภาพการผลิตสื่อ จานรับสัญญาณดาวเทียมแบบเคลื่อนที่ ระบบเค ยู แบนด์ ประกอบการสอนวิชาสายส่งสายอากาศ ชาติชาย สุวรรณ ชัญ Chartchai Suwanachan วิทยาลัยเทคโนโลยีลำปาง( แลมป์ - เทค ) Lampang Techonlogy College ( Lamp-Tech ) ถนน วชิราวุธดำเนิน ตำบลพระบาท อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง.
E N D
ศึกษาประสิทธิภาพการผลิตสื่อ จานรับสัญญาณดาวเทียมแบบเคลื่อนที่ ระบบเคยูแบนด์ประกอบการสอนวิชาสายส่งสายอากาศ ชาติชาย สุวรรณชัญ ChartchaiSuwanachan วิทยาลัยเทคโนโลยีลำปาง(แลมป์-เทค) LampangTechonlogy College (Lamp-Tech) ถนน วชิราวุธดำเนิน ตำบลพระบาท อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
ปัญหาการวิจัย - การใช้สื่อการเรียนการสอนที่ไม่เพียงพอ - การบริหารงานด้านการเรียนการสอน - ขั้นตอนการดำเนินงานด้านต่างๆที่เกี่ยวข้อง
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการผลิตสื่อจานรับสัญญาณดาวเทียมแบบเคลื่อนที่ ระบบเคยูแบนด์โดยใช้กระทะหรือฝาหม้อหุงข้าวประกอบการเรียนการสอนวิชาสายส่งสายอากาศ ขอบเขตของการศึกษาวิจัย
ตาราง แสดงประสิทธิภาพของการใช้สื่อ จานรับสัญญาณดาวเทียมแบบเคลื่อนที่ ระบบเคยูแบนด์ โดยใช้กระทะหรือฝาหม้อหุงข้าว โดยผู้บริหารหัวหน้าและนักศึกษา
สรุป พบว่าผลการประเมินสื่อเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน เรื่อง “ ชุดติดตั้งจานรับสัญญาณดาวเทียมแบบเคลื่อนที่ ระบบเคยูแบนด์โดยภาพรวมสื่อมีระดับคุณภาพดีมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49 คะแนน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ครูเป็นผู้สร้างสื่อประกอบการเรียนการสอนด้วยตนเองสื่อช่วยให้เข้าใจในบทเรียนได้ง่ายขึ้นสื่อสร้างความสนใจให้กับผู้เรียนสื่อสะท้อนให้เห็นความพยายามและความตั้งใจของครูผู้สอนสื่อสะท้อนให้เห็นความคิดสร้างสรรค์ของครูผู้สอนอยู่ในระดับดีมากค่าเฉลี่ยอยู่ในช่วง 4.40 – 5.00 คะแนน และสื่อยังสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่จะสอนและมีการประเมินผลงานโดยผู้บริหารหัวหน้าแผนกและผู้เรียน
-4- ข้อดีของสื่อชิ้นนี้ 1. ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่ายและเข้าใจได้ชัดเจน 2. เป็นสื่อประกอบการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้เห็นของจริงและสามารถ ปฏิบัติตาม ขั้นตอนต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง 3. สามารถนำสื่อที่ผลิตได้ไปประยุกต์ใช้งานร่วมกับรายวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้ 4. ผู้เรียนเรียนรู้เองและปฏิบัติได้ด้วยตนเอง นวัตกรรมการเรียนการสอน จานรับสัญญาณดาวเทียมแบบเคลื่อนที่ ระบบ KU-BAND โดย... นายชาติชาย สุวรรณชัญ ครูผู้สอน สาขาช่างอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคโนโลยีลำปาง (แลมป์-เทค) ข้อควรระวังในการใช้สื่อ ด้านโครงสร้างของสื่อยังไม่แข็งแรงพอ เมื่อมีการเคลื่อนย้ายต้องระมัดระวัง หากโครงสร้างเปลี่ยนไปจากเดิม จะทำให้การรับสัญญาณภาพคุณภาพด้อยลง หรืออาจจะรับสัญญาณภาพไม่ได้เลย ข้อเสนอแนะนำต่อยอด มีแนวทางการพัฒนารูปแบบด้านโครงสร้างให้มีรูปแบบที่กะทัดรัด พับเก็บได้ ง่ายต่อการใช้งาน และสามารถพกพาไปในที่ต่าง ๆ ได้สะดวก
-3- -2- ขั้นตอนการสร้างสื่อ หลักการและเหตุผล กระทรวงศึกษาธิการได้ให้ความสำคัญ และส่งเสริมให้ครูผู้สอนจะต้องมีการค้นคว้า เพื่อหาความรู้หรือวิธีการใหม่ ๆ ที่นำไปประยุกต์ใช้กับสภาพการณ์ของการเรียนการสอนและพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน รวมทั้งการแก้ปัญหาการเรียนการสอน สื่อการสอนเป็นตัวกลางซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการเรียนการสอน ครูผู้สอนจะต้องมีการสร้างสรรค์สื่อ ทำหน้าที่นำความต้องการของครูไปสู่ผู้เรียนอย่างถูกต้องและรวดเร็ว เป็นผลให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และยังช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมอย่างหลากหลาย เป็นการเปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้ตามความความสามารถของตนเอง และสามารถช่วยพัฒนาการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เจาะรูตรงกลางที่ก้นกระทะ เพื่อล็อกให้เข้ากับฐานด้วยน้อตเบอร์ 10 วิธีการล็อกปรับมุมก้มเงยและมุมส่าย วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการผลิตสื่อ จานรับสัญญาณดาวเทียมแบบเคลื่อนที่ระบบ KU-BAND โดยใช้กระทะหรือฝาหม้อหุงข้าว 2. เพื่อพัฒนารูปแบบการใช้สื่อจานรับสัญญาณดาวเทียมแบบเคลื่อนที่ ระบบ KU-BAND โดยใช้กระทะหรือฝาหม้อหุงข้าว การปรับระยะโฟกัสระหว่าง LNB กับก้นกระทะคำนวณจากสูตรระยะโฟกัส = เส้นผ่าศูนย์กลาง * ส้นผ่าศูนย์กลาง 16*ความลึกของหน้าจาน หมายเหตุ ทิศการปรับหัว LNB ให้ปรับหัว F-type ไปที่ 4.30 น. ใช้เหล็กรูรัดประกบระหว่างเสากับเหล็กฉาก และใช้เหล็กรูอีก1อันปรับมุมก้มเงยเพื่อให้การปรับเลื่อนขึ้นลงได้อย่างอิสระ จนสามารถรับสัญญาณได้หลังจากนั้นจึงทำการล็อกให้แน่น อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตสื่อ 1. กระทะ หรือ ฝาหม้อ 2. หัว LNB 3. รีซีพเวอร์ 4. สาย RG 6 5. หัว F-type 6. เหล็กรู 7. เหล็กฉาก 8. น้อต 9. สายรัด การตั้งค่าความถี่ 1. ค่า LNB แบบ single 11300 และแบบ universal 10600 – 10750 – 09750 2. ค่า ความถี่ 12123/30000/Hและ 12164/30000/Hและ12206/30000/H 3. ค่าความถี่ 12272/30000/Hและ 12355/30000/Hและ 12323/30000/H สำหรับมุมก้มเงยประมาณ 50 องศา มุมส่าย ประมาณ 231 องศา โดยการสังเกตแถบค่า Strength ถ้าเป็นสีเขียว ไม่ขึ้นแสดงว่ามีปัญหาที่หัว LNBหรือเป็นที่สายต่อ F-type ถ้ามีค่าขึ้นแล้วให้สังเกตค่า Quality ของสัญญาณ จะต้องขึ้นถ้าไม่ขึ้นให้ปรับมุมส่ายและมุมก้มเงยจนกว่าค่า Quality ของสัญญาณ จะขึ้นซึ่งจะมีระดับสัญญานอยู่ 3 ระดับ 1. ระดับสัญญาณต่ำ จะเป็นสีแดง 2. ระดับสัญญาณที่รับได้ จะเป็นสีเหลือง3. ระดับสัญญาณที่รับได้ดีมาก จะเป็นสีเขียว