250 likes | 792 Views
สำนักโครงการขนาดใหญ่ กรมชลประทาน. ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ที่ตั้ง ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ลุ่มน้ำ ภูมิอากาศ ปริมาณน้ำท่า-น้ำฝน - ตารางเปรียบเทียบในกลุ่มลุ่มน้ำ ทรัพยากรดิน การใช้ประโยชน์ที่ดิน พื้นที่ทำการเกษตร. พื้นที่ที่มีศักยภาพพัฒนาระบบชลประทาน การประเมินความต้องการน้ำ
E N D
สำนักโครงการขนาดใหญ่ กรมชลประทาน ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา • ที่ตั้ง • ลักษณะภูมิประเทศ • พื้นที่ลุ่มน้ำ • ภูมิอากาศ • ปริมาณน้ำท่า-น้ำฝน - ตารางเปรียบเทียบในกลุ่มลุ่มน้ำ • ทรัพยากรดิน • การใช้ประโยชน์ที่ดิน • พื้นที่ทำการเกษตร. • พื้นที่ที่มีศักยภาพพัฒนาระบบชลประทาน • การประเมินความต้องการน้ำ • ปัญหาของลุ่มน้ำ • ด้านภัยแล้ง • แนวทางแก้ไข ส่วนอำนวยการและติดตามประเมินผล
23. ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ที่ตั้ง ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา มีพื้นที่ครอบคลุม 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสงขลา พัทลุง และนครศรีธรรมราช ทิศเหนือติดกับลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก ทิศตะวันออกติดกับอ่าวไทย ทิศตะวันตกติดกับลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก และทิศใต้ติดกับชายแดนประเทศมาเลเชีย (ตามรูป 23-1) รูปที่ 23-1 แสดงที่ตั้ง ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
ลักษณะภูมิประเทศ ตามรูปที่ 23-2 ต้นกำเนิดของแม่น้ำสาขาย่อยของลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดพัทลุง ทางทิศตะวันตกมีเทือกเขานครศรีธรรมราชทอดยาวจากทิศเหนือจรดทิศใต้ ซึ่งเป็นเขตติดต่อระหว่างจังหวัดตรังกับจังหวัดพัทลุง และประเทศมาเลเซีย และลาดเทลงมาสู่ทะเลสาบสงขลา ส่วนทิศตะวันออกเป็นสันทรายยาวจากทิศเหนือจรดทิศใต้ โดยมีทะเลสาบสงขลาตั้งอยู่กลางลุ่มน้ำค่อนไปทางตะวันออก รูปที่ 23-2 สภาพภูมิประเทศในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก
พื้นที่ลุ่มน้ำ ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา มีพื้นที่รวมทั้งสิ้นประมาณ 8,495 ตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็น 3 ลุ่มน้ำย่อย ตามตารางที่ 23-1 และ รูปที่ 23-3 แสดงลุ่มน้ำย่อย 23.02 ตารางที่ 23-1 ขนาดของพื้นที่ลุ่มน้ำย่อย 23.03 23.01 รูปที่ 23-3 แสดงลุ่มน้ำย่อย
ภูมิอากาศ ข้อมูลภูมิอากาศที่สำคัญของลุ่มน้ำนี้ได้แสดงไว้แล้ว ตามตารางที่ 23-2 ซึ่งแต่ละรายการเป็นค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และค่าเฉลี่ยเป็นรายปี ตารางที่ 23-2 แสดงข้อมูลภูมิอากาศที่สำคัญ
ปริมาณน้ำฝนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา มีปริมาณน้ำฝน ตั้งแต่ 1,500 มิลลิเมตร จนถึงประมาณ 2,900 มิลลิเมตร โดยมีปริมาณน้ำฝนทั้งปีเฉลี่ยประมาณ 1,992.2 มิลลิเมตร ตามตารางที่ 23-3 และมีลักษณะการกระจายของปริมาณน้ำฝนของแต่ละลุ่มน้ำ ตามรูปที่ 23-4 ตารางที่ 23-3 ปริมาณน้ำฝนและน้ำท่ารายเดือนเฉลี่ย 23.02 23.03 23.01 รูปที่ 23-4 ปริมาณน้ำฝนและน้ำท่าเฉลี่ยรายเดือนในแต่ละลุ่มน้ำย่อย ปริมาณน้ำท่าลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา มีพื้นที่รับน้ำทั้งหมด 8,495 ตารางกิโลเมตรและมีปริมาณน้ำท่าตามธรรมชาติ เฉลี่ยประมาณ 6,628.4 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามตารางที่ 23-3หรือคิดเป็นปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ยต่อหน่วยพื้นที่รับน้ำฝนประมาณ 24.74 ลิตร/วินาที/ตารางกิโลเมตร ตามรูปที่ 23-4 แสดงปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยรายเดือนของแต่ละลุ่มน้ำย่อย
ตารางเปรียบเทียบ ปริมาณน้ำฝน - ปริมาณน้ำท่า
ทรัพยากรดิน พื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาสามารถจำแนกชนิดของดินตามความเหมาะสมของการปลูกพืชออกได้ 4 ประเภท ซึ่งมีลักษณะการกระจายของกลุ่มดิน ตามรูปที่ 23-5 และแต่ละกลุ่มดินจะมีจำนวนพื้นที่ ตามตารางที่ 23-4 ตารางที่ 23-4 รูปที่ 23-5 การแบ่งกลุ่มดินจำแนกตามความเหมาะสมใช้ปลูกพืช
การใช้ประโยชน์จากที่ดิน 1) พื้นที่ทำการเกษตร..................60.86 % พืชไร่...................................... - % ไม้ผล - ไม้ยืนต้น......................61.34 % ข้าว.........................................38.57 % พืชผัก.................................... - % รูปที่ 23-6 การทำเกษตร 2) ป่าไม้....................................21.17 % เขตอนุรักษ์พันธ์สัตว์ป่า................27.31 % อุทยานแห่งชาติ..........................16.44 % พื้นที่ป่าอนุรักษ์............................56.25 % รูปที่ 23-7 พื้นที่ป่าไม้และเพื่อการอนุรักษ์ 3) ที่อยู่อาศัย.............................. 2.56 % 4) แหล่งน้ำ.................................0.05 % 5) อื่นๆ.....................................15.36 % รูปที่ 23-8 การใช้ประโยชน์จากที่ดิน
ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลามีพื้นที่การเกษตรทั้งหมด 5,169.75 ตารางกิโลเมตร และมีพื้นที่ที่เหมาะสมกับการเพาะปลูกพืชต่างๆ 3,221.27 ตารางกิโลเมตรหรือคิดเป็นร้อยละ 62.31 ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมด พื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกข้าว 1,794.80 ตารางกิโลเมตร (55.71 %) พื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกพืชผัก - ตารางกิโลเมตร ( - %) พื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกพืชไร่ - ตารางกิโลเมตร ( - %) พื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกไม้ผล-ไม้ยืนต้น 1,426.77 ตารางกิโลเมตร(44.29.%) รูปที่ 23-9 การใช้ปะโยชน์ที่ดินหลักด้านการเกษตร พื้นที่ที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก ส่วนใหญ่จะกระจายอยู่ในบริเวณตอนกลางและด้านตะวันออกของพื้นที่ลุ่มน้ำ โดยเฉพาะบริเวณสองฝั่งลำน้ำต่างๆ ซึ่งรวมแล้ว ประมาณ 37.92 % ของพื้นที่ทั้งลุ่มน้ำ ในการทำการเกษตร พบว่าการใช้พื้นที่ปลูกพืช ส่วนใหญ่จะเป็นการปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้นบนพื้นที่ที่ไม่มีความเหมาะสม ส่วนข้าวได้ปลูกบนพื้นที่ที่มีความเหมาะสมอยู่แล้ว
พื้นที่ที่มีศักยภาพพัฒนาระบบชลประทาน พื้นที่ที่มีศักยภาพการพัฒนาระบบชลประทานในลุ่มน้ำนี้ ส่วนใหญ่จะกระจายอยู่ในบริเวณตอนกลาง และด้านตะวันออก โดยเฉพาะบริเวณสองฝั่งลำน้ำต่างๆ โดยมีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 2,075 ตารางกิโลเมตร และคิดเป็นร้อยละ 64.43 ของพื้นที่การเกษตรที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก หรือร้อยละ 40.15 ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมด ตารางที่ 23-5 ตารางเปรียบเทียบพื้นที่การเกษตรกับพื้นที่ที่มีศักยภาพสำหรับพัฒนาระบบชลประทาน
การประเมินความต้องการน้ำ การประเมินความต้องการน้ำ จากการศึกษาด้านเศรษฐกิจและสังคม ได้คาดคะเนอัตราการเจริญเติบโตของประชากร ทั้งที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองและนอกเขตเมือง รวมทั้งความต้องการน้ำสำหรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม ช่วงปี 2544-2564 สรุปได้ตามรูปที่ 23-10 ชลประทาน รักษาระบบนิเวศ ปริมาณน้ำ (ล้าน ลบ.ม.) อุตสาหกรรม อุปโภค - บริโภค รูปที่ 22-10 สรุปแนวโน้มปริมาณความต้องการน้ำแต่ละประเภท
ปัญหาของลุ่มน้ำ • ด้านอุทกภัย สภาพการเกิดอุทกภัยในลุ่มน้ำนี้ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ∶- 1) อุทกภัยที่เกิดในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนและลำน้ำสาขาต่าง ๆ เกิดจากการที่มีฝนตกหนักและน้ำป่าไหลหลากจากต้นน้ำลงมามาก จนลำน้ำสายหลักไม่สามารถระบายน้ำได้ทัน ประกอบกับมีสิ่งกีดขวางจากเส้นทางคมนาคมขวางทางน้ำ และมีอาคาร ระบายน้ำไม่เพียงพอ พื้นที่ที่เกิดน้ำท่วมเป็นประจำได้แก่ อำเภอสะเดา อำเภอรัตภูมิ อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา และอำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง 2.) อุทกภัยที่เกิดในพื้นที่ราบลุ่ม เกิดบริเวณที่เป็นพื้นท่าบลุ่มและแม่น้ำสายหลักตื้นเขิน มีความสามารถในการระบาย น้ำไม่เพียงพอ ทำให้ไม่สามารถระบายน้ำลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ พื้นที่ที่เกิดน้ำท่วมเป็นประจำ ได้แก่ อำเภอเขาชัยสน อำเภอตะโหมด และอำเภอป่าบอน กิ่งอำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
ด้านภัยแล้ง ปัญหาภัยแล้งในลุ่มน้ำนี้เกิดจากภาวะฝนทิ้งช่วงยาวนาน ทำให้พื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทานเกิดความแห้งแล้ง ขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค และทำการเกษตร รวมถึงการใช้น้ำในกิจกรรมอื่นๆด้วย ตามข้อมูล กชช.2ค. ปี 2542 ในลุ่มน้ำนี้มีจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด 1,030 หมู่บ้าน พบว่ามีหมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำทั้งหมด 600 หมู่บ้าน (ร้อยละ 58.25) โดยแยกเป็นหมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำเพื่อทำการเกษตร จำนวน 294 หมู่บ้าน (ร้อยละ 28.54) และหมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำทั้งเพื่ออุปโภค-บริโภคและการเกษตร จำนวน 306 หมู่บ้าน (ร้อยละ 29.71) หมู่บ้านที่ประสบภัยแล้ง ส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดพัทลุง 325 หมู่บ้าน หรือคิดเป็นร้อยละ 54.17 ของหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งทั้งหมด หมู่บ้านที่มีน้ำอุปโภค-บริโภค แต่ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร หมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค และน้ำเพื่อการเกษตร รูปที่ 23-10 แสดงลักษณะการกระจายตัวของหมู่บ้านที่ประสบปัญหาภัยแล้ง
แนวทางการแก้ไข ปัญหาการเกิดอุทกภัย และภัยแล้งในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา มีลักษณะคล้ายกับพื้นที่ลุ่มน้ำอื่นๆ คือการผันแปรของปริมาณน้ำฝน ส่งผลให้เกิดความแห้งแล้งในช่วงที่ฝนทิ้งช่วง ในทางกลับกันเมื่อมีฝนตกหนักก็ทำให้เกิดน้ำไหลหลากท่วมพื้นที่อยู่อาศัย และพื้นที่การเกษตร การแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงมีแนวทางแก้ไขในภาพรวมโดยสรุปดังนี้. 1) การก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง และขนาดเล็กในแต่ละลุ่มน้ำสาขาที่มีศักยภาพ เพื่อเก็บกักปริมาณน้ำหลากในฤดูฝน และส่งน้ำให้กับพื้นที่ที่มีความต้องการน้ำในช่วงฤดูแล้งของลุ่มน้ำสาขานั้นๆ 2) เพิ่มประสิทธิภาพ โครงการก่อสร้างระบบส่งน้ำ และกระจายน้ำให้ทั่วถึง 3) ขุดลอกลำน้ำสายหลัก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ 4) ปรับปรุงประสิทธิภาพการระบายน้ำ 5) ควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณเขตตั้งเมือง และพื้นที่โดยรอบมิให้ลุกล้ำแนวคลองและลำน้ำสาธารณะ 6) ก่อสร้างถังเก็บน้ำ สระเก็บน้ำประจำไร่นา ฯลฯ ในพื้นที่อยู่ห่างไกลจากแหล่งน้ำ / นอกเขตชลประทานตามความเหมาะสมของพื้นที่ --------------------------------