1.01k likes | 2.08k Views
สิทธิประโยชน์ สำหรับคนพิการ. สิทธิประโยชน์สำหรับคนพิการ. คนพิการ ที่ได้รับการจดทะเบียนคนพิการตาม พ.ร.บ. การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 จะได้รับการสงเคราะห์ตาม พ.ร.บ. ดังนี้
E N D
สิทธิประโยชน์สำหรับคนพิการสิทธิประโยชน์สำหรับคนพิการ
สิทธิประโยชน์สำหรับคนพิการสิทธิประโยชน์สำหรับคนพิการ คนพิการ ที่ได้รับการจดทะเบียนคนพิการตาม พ.ร.บ. การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 จะได้รับการสงเคราะห์ตาม พ.ร.บ. ดังนี้ 1. การสงเคราะห์และฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในสถานสงเคราะห์ 10 แห่งใน 6 จังหวัด คือจังหวัดนนทบุรี ราชบุรี สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ปทุมธานี
สิทธิประโยชน์สำหรับคนพิการ (ต่อ) ศูนย์ฝึกอาชีพ 8 แห่งใน 7 จังหวัด คือจังหวัด สมุทรปราการ ขอนแก่น เชียงใหม่ นครศรีธรรมราช ลพบุรี อุบลราชธานี หนองคาย และศูนย์พัฒนาอาชีพคนพิการ (โรงงานในอารักษ์) 1 แห่ง คือจังหวัดนนทบุรี ใน 10 สาขาวิชาชีพ หลักสูตร3 เดือน 6 เดือน 9 เดือน 10 เดือนและ 1 ปี
2. การให้การสงเคราะห์กายอุปกรณ์และเครื่องช่วยความพิการ 3. เงินสงเคราะห์ครอบครัว 4. การให้ความช่วยเหลือด้านการฝึกอาชีพแก่คนพิการในชุมชน 5. การจัดหางานให้ทำ 6. การกู้ยืมเงินเพื่อประกอบอาชีพ
ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียวสำหรับคนพิการ 1.กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ สะพานขาว กรุงเทพมหานคร 2.สำนักบริการสวัสดิการสังคม ภายในกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ สะพานขาว กรุงเทพมหานคร โทร. 0-2659-6258 3. สำนักงานพัฒนาสังคมและสวัสดิการกรุงเทพ 1 (ป้อมปราบ) โทร. 0-2223-2391
4. สำนักงานพัฒนาสังคมและสวัสดิการกรุงเทพ 2 (ดินแดง) โทร. 0-2245-2700 5. สำนักงานพัฒนาสังคมและสวัสดิการกรุงเทพ 3 (คลองเตย) โทร. 0-2249-1972 6. สำนักงานพัฒนาสังคมและสวัสดิการกรุงเทพ 4 (บางขุนเทียน) โทร. 0-2451-1816 7. สำนักงานพัฒนาสังคมและสวัสดิการกรุงเทพ 5 (คลองจั่น) โทร. 0-2374-6710
8. สำนักงานพัฒนาสังคมและสวัสดิการกรุงเทพ 6 (ห้วยขวาง) โทร. 0-2277-2527 9. สำนักงานพัฒนาสังคมและสวัสดิการกรุงเทพ 7 (ตลิ่งชัน) โทร. 0-2223-2390 10. สำนักงานพัฒนาสังคมและสวัสดิการกรุงเทพ 8 (มีนบุรี) โทร. 0-2540-7722 หรือที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ในวันและเวลา
ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียวสำหรับคนพิการ การให้บริการของศูนย์ฯ 1.การบริการข้อมูลและให้คำปรึกษาแนะนำในเรื่องต่าง ๆเช่น สิทธิประโยชน์คนพิการตามกฎหมาย การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของคนพิการ
ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียวสำหรับคนพิการ การให้บริการของศูนย์ฯ (ต่อ) 2.การจดทะเบียนคนพิการ 3.การบริการจัดหางานให้คนพิการ 4.บริการกู้ยืมเงินกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการเพื่อประกอบอาชีพ
5.การสงเคราะห์และช่วยเหลือคนพิการ เช่น เงินสงเคราะห์ครอบครัวคนพิการ เครื่องอุปโภคบริโภค เงินยังชีพคนพิการ รถเข็นนั่งสำหรับคนพิการ รถสามล้อชนิดโยกสำหรับคนพิการ
6. การสงเคราะห์และช่วยเหลือราษฎรผู้ได้รับความเดือดร้อนทุกกลุ่มเป้าหมาย อาทิ สงเคราะห์เด็กภายในครอบครัว สงเคราะห์ผู้มีรายได้น้อยและไร้ที่พึ่ง
สิทธิประโยชน์คนพิการที่จะได้รับจากสำนักงานประกันสังคมสิทธิประโยชน์คนพิการที่จะได้รับจากสำนักงานประกันสังคม คนพิการ ในความหมายของสำนักงานประกันสังคมคือผู้ประกันตนทุพพลภาพซึ่งแพทย์สั่งให้เป็นผู้ทุพพลภาพ มี2กรณีดังนี้
สิทธิประโยชน์คนพิการที่จะได้รับจากสำนักงานประกันสังคม(ต่อ)สิทธิประโยชน์คนพิการที่จะได้รับจากสำนักงานประกันสังคม(ต่อ) มี2กรณีดังนี้1. ทุพพลภาพจากการเจ็บป่วย หรือ ประสบอันตราย เนื่องจากการทำงาน(กองทุนเงินทดแทน)2. ทุพพลภาพจากการเจ็บป่วย หรือประสบอันตรายไม่เนื่องจากการทำงาน (กองทุนประกันสังคม)
กรณีทุพพลภาพ กรณีทุพพลภาพเนื่องจากการทำงาน ได้รับค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทน จำนวน 60% ของค่าจ้างรายเดือนในการหยุดพักรักษาตัวและค่าทดแทน 60% ของค่าจ้างรายเดือน กรณีทุพพลภาพเป็นเวลาไม่เกิน 15 ปีเงินค่าทดแทน 60% ของค่าจ้างรายเดือนไม่ต่ำกว่า 2,000.-บาทและไม่เกิน 12,000.-บาทต่อเดือน
กรณีทุพพลภาพไม่เนื่องจากการทำงานกรณีทุพพลภาพไม่เนื่องจากการทำงาน -ต้องจ่ายเงินสมทบ ครบ 3 เดือน ภายใน 15 เดือน -รับเงินทดแทนการขาดรายได้เดือนละ 50% ของค่าจ้าง ตลอดชีวิต -รับค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท • เบิกค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์(ตามประเภทและอัตราในประกาศ)
หากตาย - จ่ายค่าทำศพ 40,000 บาท แก่ผู้จัดการศพ - จ่ายเงินสงเคราะห์แก่ทายาทเท่ากับ 3 เท่าของเงินทดแทนการขาดรายได้ ถ้าส่งเงินสมทบครบ 36 เดือนขึ้นไปก่อนทุพพลภาพเท่ากับสิบเท่าของเงินทดแทนการขาดรายได้ ถ้าส่งเงินสมทบครบ 10 ปี ขึ้นไปก่อนทุพพลภาพ
เอกสารที่ใช้ -แบบ สปส. 2-01/3- ใบรับรองแพทย์ระบุการทุพพลภาพ- ประวัติการรักษาจาก รพ.ทุกแห่ง- แผนที่บ้าน- ได้รับการตรวจร่างกายโดยแพทย์ผู้ขึ้นทะเบียน
เอกสารที่ใช้ (ต่อ) • บัตรประชาชน, บัตรรับรองสิทธิ, บัตรประกันสังคม - สำเนาสมุดเงินฝากธนาคารหน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร) - ยื่นเรื่องภายใน 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิ
การขึ้นทะเบียนคนพิการการขึ้นทะเบียนคนพิการ ตามพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 และกฎระทรวงอื่นๆ ที่ออกตามความในพระราชบัญญัติ ได้กำหนดประเภทคนพิการ และกำหนดให้คนพิการได้รับการคุ้มครอง สงเคราะห์ ฟื้นฟูสมรรถภาพ และพัฒนา ด้วยวิธีทางการแพทย์ การศึกษา อาชีพ และสังคม
การขึ้นทะเบียนคนพิการ (ต่อ) สาระสำคัญของพระราชบัญญัตินี้มีความมุ่งหมายที่จะให้คนพิการ ได้รับการพัฒนาให้เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าทั้งทางเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ การฟื้นฟูสมรรถภาพครอบคลุมคนพิการทุกประเภทความพิการโดยทั่วถึงทุกชุมชน
การขึ้นทะเบียนคนพิการ (ต่อ) และกำหนดขอบข่ายการบริการให้สอดคล้องรองรับกับสิทธิประโยชน์ และบริการที่รัฐหรือส่งเสริมให้ภาคเอกชนจัดให้คนพิการตามกฎมาย
มาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ กำหนดให้คนพิการที่ประสงค์จะได้รับสิทธิในการสงเคราะห์ ฟื้นฟูสมรรถภาพ และพัฒนารวมทั้งสิทธิประโยชน์อื่นๆ ที่คนพิการพึ่งได้รับตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ยื่นขอการจดทะเบียนคนพิการตามระเบียบคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ว่าด้วยการจดทะเบียนคนพิการ พ.ศ. 2537
สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับจากการขึ้นทะเบียนผู้พิการสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับจากการขึ้นทะเบียนผู้พิการ ด้านการแพทย์ คนพิการมีสิทธิได้รับการรักษา พยาบาล บำบัด และฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อแก้ไข หรือปรับสภาพความพิการ กายอุปกรณ์ และเครื่องช่วยคนพิการ เช่น เก้าอี้เข็น ไม้ค้ำยัน เครื่องช่วยเดิน และแขน - ขาเทียม เป็นต้น
สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับจากการขึ้นทะเบียนผู้พิการ (ต่อ) ด้านการแพทย์ (ต่อ) รวมทั้งคำแนะนำปรึกษาจากแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย จากสถานพยาบาลของรัฐ เช่น สถานีอนามัย โรงพยาบาลประจำอำเภอ โรงพยาบาลประจำจังหวัด และโรงพยาบาลจิตเวช เป็นต้น
ด้านการศึกษา คนพิการมีสิทธิเข้าเรียนในสถานศึกษาของรัฐทั่วประเทศ ทั้งในระบบโรงเรียน และระบบการศึกษานอกโรงเรียน ซึ่งให้บริการฝึกอาชีพพื้นฐานสำหรับคนพิการด้วย
ด้านสังคม - คนพิการมีสิทธิขอรับบริการต่างๆ ได้จากกรมประชาสงเคราะห์ หรือสำนักงานประชาสงเคราะห์จังหวัด ดังต่อไปนี้ - คนพิการที่ประสบความทุกข์ยากเดือดร้อนมีสิทธิได้รับบริการช่วยเหลือ และสงเคราะห์ รวมทั้งคำแนะนำปรึกษาตามความเหมาะสม
ด้านสังคม (ต่อ) - คนพิการที่มีความพิการรุนแรง และไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้ มีสิทธิขอรับเงินเบี้ยยังชีพคนละ 500 บาทต่อเดือน - คนพิการที่ไม่มีผู้อุปการะเลี้ยงดู และไม่มีที่อยู่อาศัย มีสิทธิขอรับบริการเลี้ยงดูในสถานสงเคราะห์ของกรมประชาสงเคราะห์ได้
ด้านสังคม (ต่อ) - คนพิการที่ไม่สามารถขอรับกายอุปกรณ์ หรือเครื่องช่วยคนพิการบางประเภทได้จากสถานพยาบาลของรัฐ มีสิทธิขอรับได้จากกรมประชาสงเคราะห์ และสำนักงานประชาสงเคราะห์จังหวัด เช่น รถสามล้อชนิดมือโยก และเก้าอี้เข็นสำหรับเล่นกีฬา เป็นต้น
ด้านอาชีพ คนพิการมีสิทธิได้รับบริการฝึกประกอบอาชีพ จัดหางาน ประสานงานส่งต่อเข้าทำงานในสถานประกอบการต่างๆ และให้คำปรึกษาแนะนำ จากหน่วยงานของกระทรวงแรงงาน และสวัสดิการสังคมที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กรมการจัดหางาน และศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการของกรมประชาสงเคราะห์
ด้านอาชีพ (ต่อ) ซึ่งติดต่อได้ที่สำนักงานประชาสงเคราะห์จังหวัด นอกจากนั้น คนพิการมีสิทธิขอกู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพอิสระจากกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ สำนักงานคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ กรมประชาสงเคราะห์ หรือสำนักงานประชาสงเคราะห์จังหวัดได้ไม่เกินคนละ 20,000 บาท โดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ย และผ่อนใช้คืนภายในระยะเวลา 5 ปี
การจดทะเบียนคนพิการ คนพิการที่ประสงค์จะจดทะเบียนคนพิการ เพื่อนำ “ สมุดประจำตัวคนพิการ ” ไปขอรับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ตาม พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 ต้องดำเนินการ ดังนี้
สถานที่จดทะเบียน • - สำนักงานคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ กรมประชาสงเคราะห์ ถนนกรุงเกษม เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 628 2518 - 9 • สำนักงานประชาสงเคราะห์จังหวัดที่ศาลากลางจังหวัด ซึ่งเป็นภูมิลำเนา หรือจังหวัดที่คนพิการอาศัยอยู่
เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนเอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียน เอกสารที่คนพิการต้องนำไปยื่นที่สถานที่จดทะเบียน ได้แก่ 1. เอกสารรับรองความพิการ ขอได้จากสถานพยาบาลของรัฐ เช่น สถานีอนามัย โรงพยาบาลประจำอำเภอ โรงพยาบาลประจำจังหวัด และโรงพยาบาลจิตเวช เป็นต้น
เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียน (ต่อ) 2. ต้นฉบับ และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวต่างด้าว หรือเอกสารอื่นที่ราชการออกให้ ในกรณีเป็นเด็กที่ยังไม่มีบัตรประจำตัว ให้ใช้ใบสูติบัตรแทนต้นฉบับ และสำเนาทะเบียนบ้าน 1 ใบ 3. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป
การจดทะเบียนแทน คำสั่งศาลในกรณีที่ศาลสั่งให้คนพิการเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือไร้ความสามารถ คำสั่งศาลเรื่องการจัดตั้งผู้ปกครองคนพิการ ในกรณีที่คนพิการไม่มีบิดามารดา หรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครองคนพิการ
การจดทะเบียนแทน (ต่อ) ถ้าคนพิการไม่สามารถไปจดทะเบียนด้วยตนเอง ให้มอบผู้อื่นไปจดทะเบียนแทน โดยผู้จดทะเบียนแทน ต้องนำเอกสารต่อไปนี้ไปสถานที่จดทะเบียน
เอกสารสำหรับจดทะเบียนของคนพิการเอกสารสำหรับจดทะเบียนของคนพิการ - เอกสารของผู้จดทะเบียนแทน ได้แก่ ต้นฉบับ และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวต่างด้าว หรือเอกสารอื่นที่ราชการออกให้
เอกสารสำหรับจดทะเบียนของคนพิการ (ต่อ) - ต้นฉบับ และสำเนาทะเบียนบ้าน 1 ใบ - ใบมอบอำนาจจากคนพิการ หรือหนังสือรับรองจากทางราชการ ซึ่งขอได้จากผู้ใหญ่บ้าน กำนัน และนายอำเภอ เป็นต้น
สมุดประจำตัวคนพิการ - คนพิการที่จดทะเบียนแล้ว จะได้รับสมุดประจำตัวคนพิการ ซึ่งต้องนำไปแสดงเพื่อขอรับสิทธิประโยชน์ต่างๆ
สมุดประจำตัวคนพิการ (ต่อ) - อนึ่งสมุดประจำตัวคนพิการมีอายุ 5 ปี เมื่อหมดกำหนดต้องไปจดทะเบียนใหม่ ถ้าสมุดประจำตัวคนพิการสูญหาย ให้แจ้งความที่สถานีตำรวจ และนำใบแจ้งความไปขอยื่นจดทะเบียนใหม่
ตัวอย่างสมุดประจำตัวคนพิการตัวอย่างสมุดประจำตัวคนพิการ
การต่ออายุสมุดประจำตัวคนพิการการต่ออายุสมุดประจำตัวคนพิการ เมื่อสมุดประจำตัวคนพิการหมดอายุ คนพิการจะต้องดำเนินการต่ออายุสมุดประจำตัวคนพิการ
หลักฐานการต่ออายุสมุดประจำตัวคนพิการหลักฐานการต่ออายุสมุดประจำตัวคนพิการ • สมุดประจำตัวคนพิการเล่มเดิมที่หมดอายุ • สำเนาทะเบียนบ้าน มาขอรับบริการต่อสมุด
ขั้นตอนการต่ออายุสมุดประจำตัวคนพิการการต่ออายุสมุดประจำตัวคนพิการขั้นตอนการต่ออายุสมุดประจำตัวคนพิการการต่ออายุสมุดประจำตัวคนพิการ • ให้คนพิการนำสมุดประจำตัวคนพิการที่หมดอายุ พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านมาขอรับบริการต่อสมุดประจำตัวคนพิการกับเจ้าหน้าที่ตรวจสอบหลักฐานจากทะเบียนคนพิการของจังหวัดจากนั้นเจ้าหน้าที่จะดำเนินการต่ออายุสมุดประจำตัวคนพิการในสมุดเล่มเดิม
โดยไม่ต้องใช้เอกสารรับรองความพิการฉบับใหม่ยกเว้น สภาพความพิการเปลี่ยนแปลงไปให้คนพิการไปขอรับเอกสารรับรองความพิการฉบับใหม่เพื่อใช้ต่ออายุสมุดประจำตัวคนพิการสมุดประจำตัวคนพิการจะมีอายุ 5 ปี นับจากวันออกสมุด
ตัวอย่างการต่ออายุสมุดประจำตัวคนพิการตัวอย่างการต่ออายุสมุดประจำตัวคนพิการ
เงินทุนหมุนเวียนให้คนพิการกู้ยืมเงินทุนหมุนเวียนให้คนพิการกู้ยืม หลักเกณฑ์การให้กู้ยืม ให้คนพิการกู้ยืมเงินเพื่อประกอบอาชีพอิสระรายละไม่เกิน 20,000 บาท กำหนดส่งใช้ภายในเวลาไม่เกิน 5 ปี โดยไม่เสียดอกเบี้ย
คุณสมบัติของผู้กู้ยืมคุณสมบัติของผู้กู้ยืม 1.เป็นคนพิการที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 2.อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี กรณีที่ผู้กู้อายุไม่ถึง 20 ปี จะต้องมีหนังสือยินยอมจากผู้ปกครอง 3.ได้รับการฝึกอาชีพแล้ว หรือมีความสามารถประกอบอาชีพได้
คุณสมบัติของผู้กู้ยืม (ต่อ) 4.มีความขยันขันแข็งในการประกอบอาชีพและประพฤติตนเรียบร้อย 5.สามารถชำระหนี้ได้จากการประกอบอาชีพ 6. ไม่มีหนี้ค้างชำระจากเงินทุนนี้ หรือเงินอื่น ๆ ที่สืบทราบได้ว่าจะเป็นผลกระทบต่อการชำระหนี้ได้กับกองทุนฯ เว้นแต่คณะอนุกรรมการเห็นเป็นอย่างอื่น 7.มีภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่ในจังหวัดที่ขอกู้
เอกสารที่ต้องนำมายื่นคำร้องขอกู้ยืมเอกสารที่ต้องนำมายื่นคำร้องขอกู้ยืม 1.สมุดประจำตัวคนพิการ (พร้อมสำเนา) 2.สำเนาเอกสารหลักฐานการศึกษา หรือประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตรผ่านการฝึกอบรมวิชาชีพ พร้อมฉบับจริง (ถ้ามี) 3.สำเนาทะเบียนบ้าน (พร้อมฉบับจริง) 4.รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 รูป (กรณีที่พิการทางด้านร่างกายให้ใช้รูปถ่ายเต็มตัว)