400 likes | 764 Views
การพัฒนาศักยภาพและคุ้มครองสิทธิคนพิ การ โดย จินตนา จันทร์บำรุง สำนักส่งเสริมศักยภาพและสิทธิ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชา ติ. การ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการสู่การปฏิบัติ ประจำปี 2557 ของ สำนักส่งเสริมศักยภาพและสิทธิ.
E N D
การพัฒนาศักยภาพและคุ้มครองสิทธิคนพิการ โดย จินตนา จันทร์บำรุง สำนักส่งเสริมศักยภาพและสิทธิ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการสู่การปฏิบัติการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการสู่การปฏิบัติ ประจำปี 2557 ของ สำนักส่งเสริมศักยภาพและสิทธิ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การผลักดันให้เกิดสังคมสวัสดิการ กลยุทธ์ พัฒนาระบบการจัดสวัสดิการสังคมและการคุ้มครองทางสังคม 1. โครงการส่งเสริมการจัดสวัสดิการคนพิการในชุมชน (งบประมาณ 9.5518 ลบ. เป้าหมาย 50,000 คน ) มี 2 กิจกรรม กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพคนพิการโดยชุมชน กิจกรรมที่ 2 สนับสนุนศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพัฒนา และฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในชุมชน (CLC) จำนวน 202 ศูนย์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การผลักดันให้เกิดสังคมสวัสดิการ กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพคนพิการ โดยชุมชน - สนับสนุนชมรม อพมก. จำนวน 76 จังหวัดๆละ 10,000 บาท กรุงเทพฯ 50 เขต(126 ชมรม)
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การผลักดันให้เกิดสังคมสวัสดิการ กิจกรรมที่ 2 สนับสนุนศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพัฒนา และฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในชุมชน (CLC) จำนวน 202 ศูนย์ - สนับสนุนศูนย์ CLC จำนวน 76 จังหวัดๆละ 50,000 บาท (ศูนย์ 152 ศูนย์ละ 20,000 บาท และ สนับสนุนจังหวัดละ 10,000 บาท)
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การผลักดันให้เกิดสังคมสวัสดิการ (ต่อ) 2. โครงการสนับสนุนการจัดบริการผู้ช่วยคนพิการ (งบประมาณ 10 ล้านบาท เป้าหมาย 3,000 คน) จัดสรรให้จังหวัดดำเนินการ 7.0515 ลบ. จำนวน 76 จังหวัด สนับสนุนค่าตอบแทน ( เดือนต.ค.56 - ม.ค.57) (เดือน กพ.-กย. 57 สนับสนุนจากเงินกองทุนฯ) • สนับสนุนการบริหารหน่วยจัดบริการผู้ช่วยคนพิการ จว.ละ 4,000 บ. • การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การผลักดันให้เกิดสังคมสวัสดิการ (ต่อ) 3. โครงการสนับสนุนการดำเนินงานศูนย์บริการคนพิการ (งบประมาณ 4.0336 ลบ. เป้าหมาย 1,000 คน) • การประชุมซักซ้อมแนวทางการจัดบริการของศูนย์บริการคนพิการทั่วไปและระดับจังหวัด ( 4 ภาค ) • การสนับสนุนจัดบริการของศูนย์บริการคนพิการ(นำร่อง 21 จังหวัดๆละ 30,000 บาท ได้แก่ พะเยา ลำพูน ขอนแก่น ร้อยเอ็ด ชลบุรี ลพบุรี ชัยนาท ตรัง นครศรีธรรมราช สระบุรี นนทบุรี นครราชสีมา ศรีสะเกษ พัทลุง อุบลราชธานี นครพนม สมุทรสงคราม นครสวรรค์ ภูเก็ต ลำปาง และเชียงใหม่ ) • การติดตามการดำเนินงานของศูนย์บริการคนพิการ • การจัดทำมาตรฐานการดำเนินงานและการให้บริการ
ศูนย์บริการคนพิการ • พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2556 มาตรา 20 /3 ให้จัดตั้งศูนย์บริการคนพิการ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ตามพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น
ประเภทศูนย์บริการคนพิการประเภทศูนย์บริการคนพิการ ศูนย์บริการคนพิการ มี 2 ประเภทได้แก่ 1. ศูนย์บริการคนพิการทั่วไป 2. ศูนย์บริการคนพิการระดับจังหวัด 1. ศูนย์บริการคนพิการทั่วไป ศูนย์บริการคนพิการที่จัดตั้งโดยองค์กรด้านคนพิการ หรือองค์กรอื่นใดที่ให้บริการคนพิการซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐานตามมาตรา 6( 10) ราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้บริการแก่คนพิการในระดับพื้นที่ หรือตามประเภทความพิการ หรือให้บริการแก่คนพิการเป็นการเฉพาะในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
ประเภทศูนย์บริการคนพิการประเภทศูนย์บริการคนพิการ 2. ศูนย์บริการคนพิการระดับจังหวัด ศูนย์บริการคนพิการที่จัดตั้งโดยสำนักงาน เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานเกี่ยวกับการจัดบริการของศูนย์บริการคนพิการทั่วไป และดำเนินการอื่นเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการภายในจังหวัด
หน้าที่ศูนย์บริการคนพิการทั่วไปหน้าที่ศูนย์บริการคนพิการทั่วไป 1. ให้บริการข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ สวัสดิการ และความช่วยเหลือตามที่คนพิการร้องขอ และตามที่หน่วยงานของรัฐกำหนด รวมทั้งการให้คำปรึกษาหรือช่วยดำเนินการเกี่ยวกับการใช้สิทธิประโยชน์แก่คนพิการ 2. เรียกร้องแทนคนพิการให้ได้รับสิทธิประโยชน์สำหรับคนพิการ หรือขอให้ขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัตินี้ 3. ให้ความช่วยเหลือในการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐาน การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ การฝึกอาชีพ และการจัดหางานให้แก่คนพิการ
ศูนย์บริการคนพิการทั่วไปศูนย์บริการคนพิการทั่วไป 4. ให้บริการความช่วยเหลือคนพิการ หรือผู้ที่มีแนวโน้มว่าจะพิการให้ได้รับการดูแลรักษาพยาบาล และฟื้นฟู หรือได้รับเครื่องมืออุปกรณ์ตามความต้องการจำเป็นพิเศษเฉพาะบุคคล 5. ประสานความช่วยเหลือคนพิการ กับหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบเพื่อให้ความช่วยเหลือคนพิการ ตามประเภท ความพิการ 6. ปฎิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น หรือตามที่คณะกรรมการหรือสำนักงาน หรือศูนย์บริการระดับจังหวัดมอบหมาย
หน้าที่ศูนย์บริการระดับจังหวัด • 1. สำรวจ ศึกษา วิเคราะห์ และติดตามสภาพและปัญหาเกี่ยวกับคนพิการในพื้นที่จังหวัด • 2.ประสาน คัดกรอง และส่งต่อคนพิการ หรือผู้ที่มีแนวโน้มว่าคนพิการ ให้แก่ ศูนย์ หน่วยงานของรัฐ และเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้รับการดูแล รักษาพยาบาลและฟื้นฟูสมรรถภาพที่เหมาะสม
หน้าที่ศูนย์บริการระดับจังหวัด • 3. ประสาน และขอความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐ หรือเอกชนที่เกี่ยวข้องเพื่อนำนโยบาย และยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ และจัดทำแผนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต คนพิการจังหวัด รวมทั้งบูรณาการแผนดังกล่าวเข้ากับแผนพัฒนาจังหวัดหรือท้องถิ่น
หน้าที่ศูนย์บริการระดับจังหวัด • 4. จัดทำทะเบียน ฐานข้อมูล และให้บริการข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการภายในจังหวัด • 5.ส่งเสริม สนับสนุน กำกับดูแล และอำนวยความสะดวกด้านอาคาร สถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ ยานพาหนะ เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ตลอดจนบริการวิชาการแก่ศูนย์ องค์กรคนพิการ หรือองค์กรอื่นใดเพื่อให้บริการแก่คนพิการ
หน้าที่ศูนย์บริการระดับจังหวัด • 6. ให้บริการความช่วยเหลือ เพื่อให้คนพิการ เข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากสิทธิตามที่กฎหมายกำหนด เฉพาะกรณีไม่มีศูนย์ให้บริการในเรื่องนั้น • 7. ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และรายงานเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของคนพิการ รวมทั้งดำเนินการขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การผลักดันให้เกิดสังคมสวัสดิการ (ต่อ) การสร้างและขยายโอกาสเพื่อความเสมอภาคและเป็นธรรมทางสังคม กลยุทธ์ 1. โครงการส่งเสริมและคุ้มครองการเข้าถึงสิทธิคนพิการ (3 กิจกรรม) (งบประมาณ 16.8100 ลบ. เป้าหมาย 4,000 คน) กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริมและพัฒนาล่ามภาษามือ - สนับสนุนค่าตอบแทนล่ามภาษามือ จัดสรรให้จังหวัดดำเนินการ จำนวน 1.0400 ลบ. จำนวน 49 จังหวัด + เงินกองทุนฯ - ประเมินเพื่อการพัฒนาทักษะและพัฒนาศักยภาพล่ามภาษามือ ที่จดแจ้ง - ติดตามและทบทวนแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาบริการล่ามภาษามือ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2555 – 2559)
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การผลักดันให้เกิดสังคมสวัสดิการ (ต่อ) กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมและสนับสนุนปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่ อาศัยสำหรับคนพิการ - สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยสำหรับคนพิการ จัดสรรให้จังหวัดดำเนินการ จำนวน 9.2400 ลบ. จำนวน 76 จังหวัด + เงินกองทุน กิจกรรมที่ 3 สนับสนุนอุปกรณ์ เพื่ออำนวยความสะดวก สำหรับคนพิการ - จัดตั้งและสนับสนุนศูนย์คลินิกซ่อมรถโยกรถเข็นสำหรับ คนพิการ 47 ศูนย์ 40 จังหวัด - ฝึกอบรมการซ่อมรถโยกรถเข็นสำหรับคนพิการ 4 ภาค
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การผลักดันให้เกิดสังคมสวัสดิการ (ต่อ) 2. โครงการส่งเสริมการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับ คนพิการและทุกคนเข้าถึง ใช้ประโยชน์ได้ (ยุทธศาสตร์ประเทศ) (งบประมาณ 86.6840 ลบ. เป้าหมาย 30,000 คน) • จัดทำและปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ โดยกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินงาน จำนวนทั้งสิ้น 320 แห่ง(พก. /พมจ. / อบต,,ทต../ สวนสาธารณะ/ สนามกีฬา / วัด /องค์กรคนพิการ /ศูนย์เรียนรู้ในชุมชน)
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การผลักดันให้เกิดสังคมสวัสดิการ (ต่อ) • ติดตามและรวบรวมรายงานผลการสำรวจและแผนปฏิบัติการในการจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการของหน่วยงานราชการตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 19 พ.ค.52 และ 20 พ.ย.55 และหน่วยงานราชการตามบันทึก MOU ) เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี • จัดฝึกอบรมให้ความรู้เรื่อง “การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการขั้นพื้นฐานและการออกตรวจแบบรายการตรวจสอบสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับ คนพิการขั้นพื้นฐานในอาคารสถานที่” ให้แก่ จนท.พมจ, จนท.โยธาธิการและผังเมือง,นายช่างโยธา อปท.และคนพิการ ทั่วประเทศ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การผลักดันให้เกิดสังคมสวัสดิการ (ต่อ) 3. โครงการการเสริมพลังคนพิการและผู้ดูแลคนพิการเพื่อความมั่นคงในชีวิต เพื่อส่งเสริมการรวมกลุ่มประกอบอาชีพของ คนพิการให้คนพิการเข้าถึงสิทธิและอาชีพมีรายได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและเกิดกลุ่มอาชีพที่เข้มแข็ง
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การผลักดันให้เกิดสังคมสวัสดิการ (ต่อ) โครงการที่ 3 การเสริมพลังคนพิการและผู้ดูแลคนพิการเพื่อความมั่นคงในชีวิต • สนับสนุนการรวมกลุ่มประกอบอาชีพของคนพิการ :จัดสรรให้จังหวัดดำเนินการ 2.55 ลบ. จำนวน 37 จังหวัด / 51 กลุ่ม ๆละ 50,000 บาท • การส่งเสริมสหกรณ์กลุ่มอาชีพคนพิการ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การผลักดันให้เกิดสังคมสวัสดิการ (ต่อ) ประชุมเชิงปฏิบัติการ “ส่งเสริมพัฒนาผลิตภัณฑ์ สินค้าและบริการของคนพิการ แนวทางปฏิบัติตามมาตรา 35” • การจัดทำทำเนียบผลิตภัณฑ์ สินค้า และบริการของคนพิการ • การติดตามประเมินผลและนิเทศโครงการ
คุณสมบัติของกลุ่มอาชีพคุณสมบัติของกลุ่มอาชีพ 1. เป็นกลุ่มคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการที่รวมกลุ่มกันเพื่อประกอบอาชีพ และต้องมีสมาชิกกลุ่มอย่างน้อย 12 คนขึ้นไป 2. รวมกลุ่มกันเพื่อประกอบอาชีพในพื้นที่มาไม่น้อยกว่าสามเดือน 3. มีแผนงานหรือโครงการของกลุ่มที่จะดำเนินการต่อไป อย่างชัดเจน 4. ได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์จังหวัด
พื้นที่ดำเนินการส่วนภูมิภาค 37จังหวัด ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคใต้ 1. ชัยนาท 2.นครนายก 3. อ่างทอง 4. จันทบุรี 5. สระแก้ว • เชียงราย • น่าน • อุตรดิตถ์ • พิษณุโลก • สุโขทัย • เพชรบูรณ์ • พิจิตร • กำแพงเพชร • อุทัยธานี • กาฬสินธุ์ • ชัยภูมิ • นครพนม • บุรีรัมย์ • มหาสารคาม • มุกดาหาร • ยโสธร • ร้อยเอ็ด • เลย • สุรินทร์ • หนองคาย • หนองบัวลำภู • อำนาจเจริญ • อุดรธานี • อุบลราชธานี • บึงกาฬ • สกลนคร • ศรีสะเกษ • กระบี่ • ชุมพร • สตูล • นครศรีธรรมราช • พัทลุง
พก.ดำเนินการโอนเงินจัดสรรให้ พมจ.จังหวัด พมจ.พิจารณาคัดเลือกกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็ง พมจ.ประสานกลุ่มอาชีพในการดำเนินกิจกรรมด้านอาชีพ โดยให้กลุ่มอาชีพเสนอกิจกรรม/โครงการ เพื่อขอรับเงินอุดหนุน พมจ.ดำเนินการเบิกจ่ายงบประมาณให้กลุ่มอาชีพ กลุ่มอาชีพดำเนินการจัดกิจกรรมตามโครงการที่ได้รับการอนุมัติ กลุ่มอาชีพรายงานผลการดำเนินโครงการตามแบบฟอร์ม พมจ.จัดส่งสำเนารายงานสรุปผลการดำเนินงานและผล การเบิกจ่าย วิธีดำเนินงาน
งบประมาณในการดำเนินการงบประมาณในการดำเนินการ งบเงินอุดหนุน : ค่าใช้จ่ายดำเนินการ 37 จังหวัด รวม 51 กลุ่มๆ ละ 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) - ดำเนินการเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการประกอบอาชีพของกลุ่ม เช่น ค่าใช้จ่ายในการจัดฝึกอบรมเพิ่มความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ ได้แก่ค่าอาหารกลางวัน/อาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าตอบแทนวิทยากร ค่าพาหนะ และค่าวัสดุอุปกรณ์ในการประกอบอาชีพ
งบประมาณในการดำเนินการ (ต่อ) • หมายเหตุ : เนื่องจากโครงการเสริมพลังคนพิการและผู้ดูแลคนพิการเพื่อความมั่นคงในชีวิตปีงบประมาณ 2557 เป็นโครงการตามยุทธศาสตร์ประเทศ (CS) จึงขอความร่วมมือเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณให้แล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม 2557 เพื่อให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีตามมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2557
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การเสริมสร้างพลังทางสังคม กลยุทธ์ ส่งเสริมบทบาทเชิงสร้างสรรค์ของประชาชนโดยผ่านกลไกของภาคประชาสังคม 1. โครงการส่งเสริมศักยภาพองค์กรและเครือข่ายด้านคนพิการ (งบประมาณ 9.4456 ลบ. เป้าหมาย 200 องค์กร) กิจกรรมที่ 1ส่งเสริมองค์กรและเครือข่ายด้านคนพิการสู่การรับรองมาตรฐาน 1.1 รับสมัครองค์กรเพื่อเข้าสู่การตรวจมาตรฐานฯ ตุลาคม – ธันวาคม 56 1.2 อบรมเตรียมความพร้อมองค์กรในการตรวจประเมินมาตรฐานองค์กร 1.3 ประเมินผลองค์กรด้านคนพิการตามระบบ Coaching
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การเสริมสร้างพลังทางสังคม กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมศักยภาพองค์กรและเครือข่ายด้านคนพิการที่มีมาตรฐานให้มีความเข้มแข็งแบบบูรณาการ 2.1 ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาขีดความสามารถผู้นำองค์กรและเครือข่ายด้านคนพิการที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน ฯ 2.2 สนับสนุนการดำเนินงานโครงการพัฒนาองค์กร คนพิการสู่ความเข้มแข็งให้กับองค์กรที่มีมาตรฐาน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การเสริมสร้างพลังทางสังคม กิจกรรมที่ 3 การตรวจรักษาและการตรวจรับรอง มาตรฐาน องค์กรด้านคนพิการ 3.1 การตรวจเพื่อรักษามาตรฐาน (องค์กรเดิม) และการตรวจเพื่อรับรองมาตรฐาน (องค์กรใหม่) 3.2 พัฒนาระบบฐานข้อมูลองค์กรด้านคนพิการ 3.3 จัดทำแผ่นพับและคู่มือการรับรองมาตรฐานองค์กรด้านคนพิการ