640 likes | 906 Views
เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์. รายงานทางการเงิน Money Report Financial Money Report Managerial Money Report ดัชนีชี้วัดทางการเงิน Financial Indicators. Financial Money Report. งบดุล งบแสดงผลการดำเนินงาน งบทดลอง งบกระแสเงินสดทางอ้อม หมายเหตุประกอบงบ
E N D
เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ • รายงานทางการเงิน Money Report • Financial Money Report • Managerial Money Report • ดัชนีชี้วัดทางการเงิน Financial Indicators
Financial Money Report • งบดุล • งบแสดงผลการดำเนินงาน • งบทดลอง • งบกระแสเงินสดทางอ้อม • หมายเหตุประกอบงบ • โรงพยาบาลจัดทำเป็นรายงาน ส่งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด รวมงบและจัดส่งกองคลัง กระทรวงสาธารณสุข ปีละ 2 ครั้ง
Managerial Money Report • เป็นรายงานทางการเงินที่จัดทำขึ้นเพื่อประโยชน์ในการบริหาร • ประกอบด้วย • งบดุลเพื่อการบริหาร • งบแสดงผลการดำเนินงานเพื่อการบริหาร • งบกระแสเงินสดทางตรง • จัดทำทุก 3 เดือน จากข้อมูลงบทดลองซึ่งเป็น Electronic files จัดส่งให้สำนักพัฒนาการเงินการคลังสาธารณสุข
งบดุลเพื่อการบริหาร • เป็นงบดุลตัดยอด ณ วันที่มีการรายงาน • นำเสนอเปรียบเทียบระหว่างปีงบประมาณนี้และปีงบประมาณที่ผ่านมาในงวดเดียวกัน • ประกอบด้วย • สินทรัพย์ • สินทรัพย์หมุนเวียน • สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน • หนี้สิน • หนี้สินหมุนเวียน • หนี้สินไม่หมุนเวียน • ส่วนของทุน
สินทรัพย์หมุนเวียน • ประกอบด้วย • เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ได้แก่ เงินสด เงินฝากคลัง เงินฝากสถาบันทางการเงิน-ในและนอกงบประมาณ และเงินทดรองราชการ • ลูกหนี้ค่ารักษาพยาบาล-สุทธิ แยกรายกองทุน และวิธีการจ่ายเงิน ได้แก่ การนำลูกหนี้ค่ารักษาพยาบาลที่มีการตั้งค่าเมื่อผู้ป่วยมารับการรักษาพยาบาล หักด้วยค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญของแต่ละกองทุน ซึ่งจะเป็นลูกหนี้ที่น่าจะได้รับเงินจริง ทั้งนี้ควรตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญทุกครั้งที่มีการส่งข้อมูล(ถ้าทำได้) เพื่อให้ยอดสินทรัพย์ใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด • การแยกลูกหนี้รายกองทุนและวิธีจ่าย เพื่อประโยชน์ในการบริหารเงินจากแต่ละกองทุน และจะสอดคล้องกับ Money report อื่นๆ ต่อไป
สินทรัพย์หมุนเวียน • วัสดุคงเหลือแยกเป็น ยา เวชภัณฑ์ และวัสดุการแพทย์คงเหลือ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการรักษาซึ่งเป็นกิจกรรมหลักของโรงพยาบาล และวัสดุคงเหลืออื่นๆ • สินทรัพย์หมุนเวียนอื่นๆ ได้แก่ • ลูกหนี้อื่น ๆ เช่น ลูกหนี้เงินยืม-เงินบำรุง ลูกหนี้เงินยืม-เงินประกันสุขภาพถ้วนหน้า ลูกหนี้ค่าสิ่งส่งตรวจหน่วยงานภาครัฐ หรือบุคคลภายนอก ลูกหนี้ค่าวัสดุ/อุปกรณ์/น้ำยา หน่วยงานภาครัฐ หรือบุคคลภายนอก เป็นต้น หักด้วยค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญของลูกหนี้ดังกล่าว • รายได้ค้างรับ เช่น ดอกเบี้ยค้างรับ รายได้จากงบประมาณงบบุคลากรค้างรับ รายได้จากงบประมาณงบดำเนินงานค้างรับ รายได้ค้างรับอื่น หน่วยงานภาครัฐ เป็นต้น
สินทรัพย์หมุนเวียน • สินทรัพย์หมุนเวียนอื่นๆ ได้แก่ • ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า เช่น ภาษีหักส่งล่วงหน้า ค่าปรับหักส่งล่วงหน้า เงินรับฝากหักส่งล่วงหน้า(เงิน กบข.และ กสจ. ของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลชุมชนซึ่งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหักจากเงินเดือนหรือค่าจ้างไว้) เป็นต้น • สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น เช่น เงินลงทุนอื่น เป็นต้น
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน • ประกอบด้วย • อาคารและสิ่งปลูกสร้าง-สุทธิ ได้แก่ บัญชีที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์ อาคารสำนักงาน อาคารเพื่อการพักอาศัย สิ่งปลูกสร้าง ระบบประปา ระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น หักค่าเสื่อมราคาสะสมของแต่ละรายการ • ครุภัณฑ์-สุทธิ ได้แก่ ครุภัณฑ์สำนักงาน ครุภัณฑ์ยานพาหนะและขนส่ง ครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์และการแพทย์ ครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น หักค่าเสื่อมราคาสะสมของแต่ละรายการ • สินทรัพย์ไม่มีตัวตน-สุทธิ ได้แก่ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สิทธิการเช่า เป็นต้น หักค่าตัดจำหน่ายสะสมของแต่ละรายการ • สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น-สุทธิ ได้แก่ งานระหว่างก่อสร้าง เป็นต้น
หนี้สินหมุนเวียน • ประกอบด้วย • เจ้าหนี้ แบ่งเป็น • เจ้าหนี้การค้า ซึ่งจะรับรู้หนี้สินเมื่อหน่วยงานมีการซื้อสินค้า แบ่งตามประเภทวัสดุ เป็น เจ้าหนี้การค้าค่ายา เวชภัณฑ์และวัสดุการแพทย์ ซึ่งเป็นกิจกรรมหลักของหน่วยงาน เจ้าหนี้การค้าค่าครุภัณฑ์ ซึ่งบ่งบอกภาระหนี้สินจากการลงทุน และ เจ้าหนี้การค้าอื่นๆ เช่น เจ้าหนี้การค้า-ค่าจ้างเหมาบริการ เจ้าหนี้การค้า-วัสดุยานพาหนะและขนส่ง เจ้าหนี้การค้า-วัสดุไฟฟ้าและวิทยุ ค่าสาธารณูปโภคค้างจ่าย เป็นต้น • ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย ได้แก่ ใบสำคัญค้างจ่าย ทั้งเงินงบประมาณ และเงินนอกงบประมาณ ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายอื่น-หน่วยงานภาครัฐ หรือ บุคคลภายนอก เป็นต้น
หนี้สินหมุนเวียน • เจ้าหนี้ค่ารักษาพยาบาลตามจ่าย เป็นจำนวนเงินที่หน่วยงานต้องชำระให้หน่วยบริการอื่นที่ให้การรักษาพยาบาล ทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ของแต่ละกองทุน • เจ้าหนี้ค่าบริการ ได้แก่ เจ้าหนี้ค่าสิ่งส่งตรวจ-หน่วยงานภาครัฐหรือบุคคลภายนอก • เจ้าหนี้อื่นๆ ได้แก่ สำรองเงินชดเชยความเสียหาย (หนี้สินที่ประมาณการขึ้นสำหรับจ่ายชดเชยความเสียหายที่หน่วยงานกระทำต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก)
หนี้สินหมุนเวียน • เงินกองทุน คือ เงินที่ได้รับจากกองทุนประเภทต่างๆ ที่ยังคงเหลืออยู่ ณ วันที่รายงาน ได้แก่ เงินกองทุน UC, เงินรับฝากกองทุน UC, เงินกองทุน UC งบลงทุน , เงินรับฝากกองทุน UC งบลงทุน และเงินกองทุน แรงงานต่างด้าว • เงินรับฝาก ได้แก่ • เงินกองทุนประกันสังคม เนื่องจาก ถูกมองว่าเป็นเงินรับฝากไว้เพื่อจ่ายให้ลูกข่าย ก่อนจึงรับรู้เป็นรายได้ จึงจัดเป็นเงินรับฝาก • เงินมัดจำ ได้แก่ เงินมัดจำค่ารักษา เงินมัดจำประกันสัญญา เงินมัดจำประกันซอง เงินมัดจำประกันผลงาน เงินประกันอื่นๆ • เงินรับฝากอื่นๆ ได้แก่ ภาษีหัก ณ ที่จ่ายค้างจ่ายต่างๆ เงินรับฝากค่าจ้างส่วนกลาง เงินงบประมาณรอโอนให้หน่วยงานในสังกัด เงินรับฝากหักจากเงินเดือน เงินรับฝากรายได้แผ่นดินอื่น เงินรับฝากงบประมาณบุคลากร UC เงินสมทบประกันสังคมส่วนของลูกจ้าง เป็นต้น
หนี้สินหมุนเวียน • รายได้รอการรับรู้ ได้แก่ รายได้เงินช่วยเหลือรอการรับรู้ เช่น เงินช่วยเหลือที่หน่วยงานได้รับจากรัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์กรระหว่างประเทศโดยมีวัตถุประสงค์โดยเฉพาะ เมื่อหน่วยงานสามารถดำเนินงานได้ตามเป้าหมายแล้วจึงจะรับรู้เป็นรายได้เงินช่วยเหลือ เป็นต้น • รายได้รับล่วงหน้า ได้แก่ รายได้แผ่นดินรับล่วงหน้า รายได้ค่าบริการอื่นรับล่วงหน้า รายได้จากเงินกู้ของรัฐบาลรับล่วงหน้า • หนี้สินหมุนเวียนอื่น ได้แก่ ค่าปรับรอนำส่งคลัง เงินเหลือจ่ายปีเก่าส่งคืนรอนำส่งคลัง รายได้ค่าเช่าสถานที่รอนำส่งคลัง รายได้แผ่นดินอื่นรอนำส่งคลัง เงินทดรองราชการรับจากคลัง เงินเบิกเกินส่งคืนรอนำส่งคลัง
หนี้สินไม่หมุนเวียน • ประกอบด้วย • เงินทดรองราชการรับจากคลัง ได้แก่ เงินทดรองราชการรับจากคลัง-ระยะยาว • รายได้รอการรับรู้ ได้แก่ รายได้จากเงินบริจาครอการรับรู้ • หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น ได้แก่ เงินความรับผิดทางละเมิด หนี้สินระยะยาวอื่น เงินรับฝากค่าบริหารจัดการประกันสังคม เงินยืมระยะยาวรับจากหน่วยบริการอื่น เงินมัดจำประกันสัญญา-ระยะยาว สำรองเงินชดเชยความเสียหาย-ระยะยาว
งบแสดงผลการดำเนินงานเพื่อการบริหารงบแสดงผลการดำเนินงานเพื่อการบริหาร • เป็นงบแสดงผลดำเนินงาน หรืองบกำไรขาดทุน ซึ่งแสดงยอดสะสมตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ จนถึงยอด ณ วันที่มีการรายงาน ในที่นี้จะรายงานเป็นงวดๆ ละ 3 เดือน • นำเสนอเปรียบเทียบระหว่างปีงบประมาณนี้และปีงบประมาณที่ผ่านมาสะสมจนถึงงวดเดียวกัน
งบแสดงผลการดำเนินงานเพื่อการบริหารงบแสดงผลการดำเนินงานเพื่อการบริหาร • หลักการคือ แสดงรายได้และรายจ่าย ประกอบด้วย • รายได้จากกิจกรรมหลัก คือรายได้จากการรักษาพยาบาล รวมถึงรายได้จากงบประมาณส่วนบุคลากร โดยมีการปรับยอดด้วยการหักส่วนเกินของลูกหนี้ที่สูงกว่ากองทุนแต่ละกองทุน เพื่อให้รายได้จากแต่ละกองทุนใกล้เคียงกับเงินที่ได้รับจริง และรวมรายได้กองทุนแต่ละกองทุนที่เหลืออยู่เข้าเป็นรายได้ด้วย • รายจ่ายจากกิจกรรมหลัก คือ ต้นทุนค่ารักษาพยาบาล ทั้งรวมค่าเสื่อมราคา และไม่รวมค่าเสื่อมราคา ซึ่งเป็นส่วน Front office • ค่าใช้จ่ายดำเนินการ เป็นส่วนสนับสนุนบริการ หรือ Back office • รายได้ (ค่าใช้จ่าย)อื่นๆ • รายได้จากงบประมาณแผ่นดิน-เงินอุดหนุน
รายได้จากการรักษาพยาบาลรายได้จากการรักษาพยาบาล • จำแนกตามกองทุน และวิธีการจ่ายเงินของกองทุน ได้แก่ • รายได้ UC แบ่งเป็น • รายได้ ค่ารักษาพยาบาล UC ได้แก่ รายได้ค่ารักษา OPD UC ใน Cup และรายได้ค่ารักษา IPDUC ใน Cup ในจังหวัด ต่างจังหวัด ต่างสังกัดสป. • หักส่วนเกินของลูกหนี้ที่สูงกว่ากองทุน UC ได้แก่ หนี้สงสัยจะสูญ-ลูกหนี้ค่ารักษา UC ทุกประเภท และหนี้สูญ-ลูกหนี้ค่ารักษา UC ทุกประเภท • รายได้จากการตามจ่าย UC ได้แก่ รายได้ค่ารักษา OPD UC นอก Cup (ในจังหวัด) ต่างจังหวัด และต่างสังกัดสป. • รายได้จากการจ่ายตรง (Disease Management/Vertical Program)
รายได้จากการรักษาพยาบาลรายได้จากการรักษาพยาบาล • รายได้จากการเบิกต้นสังกัด ได้แก่ รายได้ค่ารักษาพยาบาลพยาบาลเบิกต้นสังกัด รายได้ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในเบิกตรงจากกรมบัญชีกลาง • รายได้จากประกันสังคม ได้แก่ รายได้ค่ารักษาประกันสังคม รายได้ค่ารักษากองทุนทดแทน • รายได้จาก พรบ.ประกันภัยบุคคลที่ 3 • รายได้จากแรงงานต่างด้าว • หักส่วนเกินของลูกหนี้ที่สูงกว่ากองทุนต่างด้าว ได้แก่ หนี้สงสัยจะสูญและหนี้สูญ-ลูกหนี้ค่ารักษา-แรงงานต่างด้าว • รายได้ค่ารักษาพยาบาลอื่นๆ ได้แก่ รายได้ค่ารักษาชำระเงิน รายได้ค่ารักษาอื่น-หน่วยงานภายนอก
รายได้จากการรักษาพยาบาลรายได้จากการรักษาพยาบาล • รายได้งบประมาณส่วนบุคลากร ได้แก่ รายได้งบประมาณงบบุคลากรในส่วนงบประมาณ และในส่วนของงบ UC • รายได้กองทุน UC (ส่วนต่างของลูกหนี้ที่ต่ำกว่ากองทุน UC) ได้แก่ รายได้กองทุนUC รายได้กองทุนUC(CF) ซึ่งเป็นเงินกองทุนที่เหลืออยู่หลังตัดลูกหนี้ UC ในงวดนั้นแล้ว ให้ถือเป็นรายได้ • รายได้กองทุนประกันสังคม(ส่วนต่างของลูกหนี้ที่ต่ำกว่างบประกันสังคม) เช่นเดียวกัน รายได้กองทุน UC • รายได้กองทุนอื่นๆ ได้แก่ รายได้กองทุนแรงงานต่างด้าว หรือกองทุนอื่นๆที่มีลักษณะการเหมาจ่ายล่วงหน้าเช่นเดียวกัน
ต้นทุนค่ารักษาพยาบาล • เป็นรายจ่ายจากกิจกรรมหลักของสถานบริการ ประกอบด้วย • ต้นทุนยา ได้แก่ ยาใช้ไป ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายค่ายาที่ใช้ไป • ต้นทุนเวชภัณฑ์และวัสดุการแพทย์ ได้แก่ เวชภัณฑ์มิใช่ยาใช้ไป วัสดุทางการแพทย์ใช้ไป วัสดุวิทยาศาสตร์การแพทย์ใช้ไป • เงินเดือนและค่าจ้าง(บริการ) ได้แก่ เงินเดือนข้าราชการ เงินประจำตำแหน่งวิชาชีพเฉพาะ เงินประจำตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญ เงินประจำตำแหน่งอื่น เงินตอบแทนพิเศษของข้าราชการผู้ได้รับเงินเดือนถึงขั้นสูงสุดของอันดับ เงินตอบแทนพิเศษของลูกจ้างประจำผู้ได้รับค่าจ้างถึงขั้นสูงสุดของตำแหน่ง ค่าจ้างประจำ ค่าจ้างชั่วคราว เงินเดือนพนักงานราชการ เงินตอบแทนพนักงานราชการ เงินตอบแทนรายเดือนสำหรับข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ ในส่วนของบุคลากรที่ทำงานในงานบริการของสถานบริการ (ในปีงบประมาณนี้ อาจใช้การประมาณการข้อมูลย้อนหลัง)
ต้นทุนค่ารักษาพยาบาล • ค่าตอบแทน(บริการ) ได้แก่ ค่าตอบแทนเงินเพิ่มพิเศษแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกรไม่ทำเวชปฏิบัติ ค่าตอบแทนแพทย์สาขาส่งเสริมพิเศษ ค่าตอบแทนส่งเสริมสุขภาพและเวชปฏิบัติครอบครัว ค่าเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย รพช./สอ. ค่าตอบแทนเพิ่มพิเศษสำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข(พตส.) เงินรางวัลประจำปีสำหรับหน่วยงาน ค่าตอบแทนพยาบาลเวรบ่าย-ดึก(บริการ) เงินตอบแทนในการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข(บริการ) • ค่าสาธารณูปโภคได้แก่ ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าโทรศัพท์ ค่าบริการสื่อสารและโทรคมนาคม ค่าไปรษณีย์และโทรเลข • ค่ารักษาตามจ่าย ได้แก่ ค่ารักษาตามจ่าย UC ในสังกัดสป.และนอกสังกัด สป. ค่ารักษาตามจ่ายประกันสังคม ค่ารักษาตามจ่ายแรงงานต่างด้าว • ต้นทุนค่ารักษาพยาบาลอื่นๆ
ต้นทุนค่ารักษาพยาบาล • ค่าตัดจำหน่าย (บริการ) มูลค่าจากการจำหน่ายอาคารและครุภัณฑ์ ที่เกี่ยวข้องกับงานบริการ ถือเป็นต้นทุนค่ารักษาพยาบาล ได้แก่ ค่าจำหน่าย-อาคารสำนักงาน ค่าจำหน่าย-ยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์และการแพทย์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ครุภัณฑ์งานบ้านงานครัว โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ค่าตัดจำหน่าย-โปรแกรมคอมพิวเตอร์ • ค่าเสื่อมราคา (บริการ) ค่าใช้จ่ายที่รับรู้อย่างเป็นระบบในช่วงอายุการใช้งานของอาคารและครุภัณฑ์ ที่เกี่ยวข้องกับงานบริการ ถือเป็นต้นทุนค่ารักษาพยาบาล ได้แก่ ค่าเสื่อมราคา-อาคารสำนักงาน ระบบประปายานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่งครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์และการแพทย์อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ครุภัณฑ์งานบ้านงานครัว • การจำแนกอาคารและครุภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับงานบริการ ข้างต้น ถือเป็นการประมาณการโดยภาพรวม ในอนาคตอาจมีการแยกที่ชัดเจนกว่านี้
ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน • เป็นรายจ่ายจากกิจกรรมสนับสนุนของสถานบริการ หรือ งาน Back office ประกอบด้วย • เงินเดือนและค่าจ้าง(สนับสนุน) ได้แก่ เงินเดือนข้าราชการ เงินประจำตำแหน่งระดับสูง/ระดับกลาง เงินประจำตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญ เงินประจำตำแหน่งอื่น เงินตอบแทนพิเศษของข้าราชการผู้ได้รับเงินเดือนถึงขั้นสูงสุดของอันดับ เงินตอบแทนพิเศษของลูกจ้างประจำผู้ได้รับค่าจ้างถึงขั้นสูงสุดของตำแหน่ง ค่าจ้างประจำ ค่าจ้างชั่วคราว เงินเดือนพนักงานราชการ เงินตอบแทนพนักงานราชการ เงินตอบแทนรายเดือนสำหรับข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ ในส่วนของบุคลากรที่ทำงานในงานสนับสนุนของสถานบริการ (ในปีงบประมาณนี้ อาจใช้การประมาณการข้อมูลย้อนหลัง)
ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน • ค่าตอบแทน(สนับสนุน) ได้แก่ ค่าล่วงเวลา(สนับสนุน) เงินรางวัลประจำปีสำหรับผู้บริหาร ค่าตอบแทนอื่น • ค่าใช้สอย ได้แก่ ค่าใช้จ่ายด้านการฝึกอบรมในและต่างประเทศ ค่าใช้จ่ายด้านการฝึกอบรมบุคคลภายนอก ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าธรรมเนียม ค่าธรรมเนียมทางกฎหมาย ค่าธรรมเนียมธนาคาร ค่าซ่อมแซมอาคารและครุภัณฑ์ ค่าวัสดุเชื้อเพลิงและหล่อลื่น ค่าจ้างเหมา ค่าจัดพิมพ์ ค่าเบี้ยประชุม ค่าจ้างที่ปรึกษา ค่าเบี้ยประกันภัย วัสดุเชื้อเพลิงและหล่อลื่นใช้ไป ค่าครุภัณฑ์มูลค่าต่ำกว่าเกณฑ์ ค่าใช้จ่ายในการประชุม ค่ารับรอง ค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์-บุคคลภายนอก เงินชดเชยค่างานสิ่งก่อสร้าง ค่าใช้จ่ายด้านสังคมสงเคราะห์
ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน • หนี้สงสัยจะสูญอื่นๆจากการเรียกเก็บ และ หนี้สูญจากการเรียกเก็บ เนื่องจากตัวหนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญที่เกิดขึ้น เกิดจากความไม่มีประสิทธิภาพในการเรียกเก็บ จึงถือเป็นค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงาน ได้แก่ หนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญจาก ลูกหนี้ค่ารักษา-เบิกต้นสังกัดและเบิกคลัง ลูกหนี้ค่าสิ่งส่งตรวจ ค่าตรวจสุขภาพค่าวัสดุ/อุปกรณ์/น้ำยาค่าสินค้า-หน่วยงานภาครัฐและบุคคลภายนอก ลูกหนี้ค่ารักษา-หน่วยงานภาครัฐอื่น ลูกหนี้ค่ารักษา-ชำระเงิน ลูกหนี้ค่ารักษาประกันสังคม-เครือข่ายและนอกเครือข่าย ลูกหนี้ค่ารักษาประกันสังคม-กองทุนทดแทน ลูกหนี้ค่ารักษาประกันสังคม-ค่าใช้จ่ายสูง/อุบัติเหตุ/ฉุกเฉิน ลูกหนี้ค่ารักษา-พรบ.รถ
ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน • ค่าเสื่อมราคา (สนับสนุน) ค่าใช้จ่ายที่รับรู้อย่างเป็นระบบในช่วงอายุการใช้งานของอาคารและครุภัณฑ์ ที่เกี่ยวข้องกับงานสนับสนุน ถือเป็นค่าใช้จ่ายดำเนินงาน ได้แก่ ค่าเสื่อมราคา-อาคารเพื่อการพักอาศัย อาคารเพื่อประโยชน์อื่น สิ่งปลูกสร้าง ระบบโทรศํพท์ ระบบถนนภายใน ครุภัณฑ์สำนักงาน ครุภัณฑ์ไฟฟ้าและวิทยุ ครุภัณฑ์โฆษณาและเผยแพร่ ครุภัณฑ์การเกษตร ครุภัณฑ์ก่อสร้าง ครุภัณฑ์อื่น อาคารและสิ่งปลูกสร้างหรือครุภัณฑ์ไม่ระบุรายละเอียด • ค่าตัดจำหน่าย (สนับสนุน) มูลค่าจากการจำหน่ายอาคารและครุภัณฑ์ ที่เกี่ยวข้องกับงานสนับสนุน ถือค่าใช้จ่ายดำเนินงาน ได้แก่ ค่าจำหน่าย- อาคารเพื่อการพักอาศัย อาคารเพื่อประโยชน์อื่น สิ่งปลูกสร้าง ครุภัณฑ์สำนักงาน ครุภัณฑ์ไฟฟ้าและวิทยุ ครุภัณฑ์โฆษณาและเผยแพร่ ครุภัณฑ์การเกษตร ครุภัณฑ์ก่อสร้าง อุปกรณ์อื่นๆ สินทรัพย์ไม่มีตัวตนอื่น อาคารและสิ่งปลูกสร้างหรือครุภัณฑ์ไม่ระบุรายละเอียด ค่าตัดจำหน่าย-สิทธิการเช่า ค่าตัดจำหน่าย-สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตนอื่น • การจำแนกอาคารและครุภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับงานบริการ ข้างต้น ถือเป็นการประมาณการโดยภาพรวม ในอนาคตอาจมีการแยกที่ชัดเจนกว่านี้
ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน • วัสดุใช้ไป ประกอบด้วย • ค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อวัสดุทุกประเภทจากบุคคลภายนอก หรือจากหน่วยงานภาครัฐ • ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการปรับปรุงวัสดุที่เบิกใช้ไปในระหว่างงวด • ค่าใช้จ่ายวัสดุสำนักงาน วัสดุยานพาหนะและขนส่ง วัสดุไฟฟ้าและวิทยุ วัสดุโฆษณาและเผยแพร่ วัสดุคอมพิวเตอร์ วัสดุงานบ้านงานครัว วัสดุบริโภค วัสดุเครื่องแต่งกายวัสดุก่อสร้าง วัสดุอื่น สินค้า ที่เบิกใช้ไปในระหว่างงวด • ค่าครุภัณฑ์ • สินทรัพย์โอนให้ลูกข่าย(ที่ไม่ใช่ UC) ได้แก่ สินค้า วัสดุ ครุภัณฑ์ เงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ ที่โอนไปรพศ./รพท./รพช./สอ.ซึ่งเป็นลูกข่าย หรือที่เรียกว่า ค่าใช้จ่ายระหว่างกัน
ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน • ค่าใช้จ่ายโครงการ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายตามโครงการ(PP) • ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอื่นๆ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายบุคลากรอื่น เงินช่วยเหลือพนักงานและครอบครัวด้านการศึกษา เงินช่วยเหลือพนักงานและครอบครัวด้านการรักษาพยาบาล บำเหน็จบำนาญ เงินช่วยเหลือด้านการศึกษาและรักษาพยาบาลผู้รับเบี้ยหวัด/บำนาญ
รายได้ (ค่าใช้จ่าย)อื่นๆ • รายได้จากงบประมาณแผ่นดิน-งบลงทุน ได้แก่ รายได้จากเงินงบประมาณไว้ใช้จ่ายเป็นค่าครุภัณฑ์ที่ดินสิ่งก่อสร้างตามที่สำนักงบประมาณกำหนด • รายได้งบลงทุนUC ได้แก่ รายได้กองทุน UC (งบลงทุน) • รายได้จากงบประมาณแผ่นดิน-อื่นๆ ได้แก่ รายได้งบประมาณงบดำเนินการ รายได้งบประมาณงบรายจ่ายอื่น รายได้งบประมาณงบกลาง • รายได้จากการรับบริจาค ได้แก่ เงินหรือสินทรัพย์อย่างอื่นนอกจากสินทรัพย์ถาวรที่ได้รับบริจาคเพื่อไว้ใช้จ่ายในการดำเนินงานซึ่งรับรู้เป็นรายได้ในงวดปัจจุบัน • รายได้ดอกเบี้ย ได้แก่ ดอกเบี้ยรับจากเงินฝากธนาคาร รายได้ดอกเบี้ยเงินฝากที่สถาบันการเงิน รายได้ดอกเบี้ยเงินทดรอง รายได้ดอกเบี้ยอื่น
รายได้ (ค่าใช้จ่าย)อื่นๆ • สินทรัพย์รับโอนจากแม่ข่าย(ไม่ใช่เงิน UC) ได้แก่ สินค้า วัสดุ ครุภัณฑ์ เงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ รับโอนจากสสจ./รพศ./รพท./รพช. นับเป็นรายได้ • รายได้ค่ารักษาพยาบาลส่วนเกิน ได้แก่ รายได้ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยที่เรียกเก็บจากโครงการต่างๆ และเรียกเก็บได้มากกว่าที่จ่ายจริง เช่น รายได้ค่ารักษา UC ส่วนเกิน รายได้ค่ารักษาประกันสังคมส่วนเกิน • หนี้สูญได้รับคืน คือ รายได้ของหน่วยงานที่เกิดจากยอดลูกหนี้ที่หน่วยงานตัดเป็นหนี้สูญไปแล้วในงวดบัญชีก่อนๆแต่ได้รับชำระในงวดปัจจุบัน • รายได้อื่นๆเช่นรายได้ค่าเช่า ได้แก่ รายได้ค่าปรับ รายได้ค่าวัสดุ/อุปกรณ์/น้ำยา-หน่วยงานภาครัฐหรือบุคคลภายนอก รายได้ค่าเช่า รายได้ค่าใบรับรองแพทย์ รายได้ค่าลงทะเบียน รายได้จากโครงการผลิตบุคลากรทางการแพทย์ รายได้ลักษณะอื่น รายได้ค่าธรรมเนียม รายได้ค่าบริหารจัดการโครงการ UC รายได้ค่าบริหารจัดการประกันสังคม เป็นต้น
รายได้ (ค่าใช้จ่าย)อื่นๆ • ค่าใช้จ่ายอื่นๆเช่นขาดทุนจากการจำหน่ายสินทรัพย์, ค่าใช้จ่ายในการบริจาค ได้แก่ ค่ารักษา UC ส่วนขาด ค่าใช้จ่ายอุดหนุนให้กับสสอ. ค่าใช้จ่ายเงินอุดหนุนส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่น ค่าใช้จ่ายอุดหนุนเพื่อการดำเนินงานอื่น ค่าใช้จ่ายเงินอุดหนุนเพื่อการลงทุน ค่าใช้จ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย รายได้แผ่นดินนำส่งคลัง ค่าชดใช้ของเสียหาย ค่าใช้จ่ายโครงการผลิตบุคลากรทางการแพทย์ คืนเงินค่ารักษาพยาบาลอุปกรณ์และอวัยวะเทียม ค่าใช้จ่ายที่ดิน ค่าใช้จ่ายลักษณะอื่น ค่าใช้จ่ายรายการพิเศษนอกเหนือการดำเนินงานปกติ เป็นต้น นับเป็นค่าใช้จ่าย • รายได้จากงบประมาณแผ่นดิน-เงินอุดหนุน คือ รายได้จากเงินงบประมาณไว้ใช้จ่ายเป็นเงินอุดหนุนทั่วไปและอุดหนุนเฉพาะกิจตามที่สำนักงบประมาณกำหนด ถือเป็นรายได้เพิ่มเติมเฉพาะกิจจึงแยกออกมาจากรายได้อื่น และต่อท้ายงบแสดงผลการดำเนินงาน
ข้อสังเกตจาก งบดุลเพื่อการบริหาร และงบแสดงผลการดำเนินงานเพื่อการบริหาร • รายได้สูงกว่า (ต่ำกว่า) ค่าใช้จ่ายสุทธิ ในงบแสดงผลการดำเนินงานเพื่อการบริหาร จะต้องเท่ากับ รายได้สูง (ต่ำ) กว่าค่าใช้จ่ายในงวดปัจจุบันในงบดุลเพื่อการบริหาร เสมอ • จากงบดุลเพื่อการบริหาร จะได้ข้อมูลในส่วนของสินทรัพย์หมุนเวียน ซึ่งจะใกล้เคียงกับความเป็นจริง ถ้ามีการตัดหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญอย่างสม่ำเสมอ • จากงบดุลเพื่อการบริหาร จะได้ข้อมูลในส่วนของหนี้สินหมุนเวียนซึ่งจะจำแนกได้อย่างชัดเจนใน เจ้าหนี้การค้า เจ้าหนี้การตามจ่าย รวมถึงเงินกองทุนต่างๆที่ยังคงค้างเหลืออยู่
ข้อสังเกตจาก งบดุลเพื่อการบริหาร และงบแสดงผลการดำเนินงานเพื่อการบริหาร • งบแสดงผลการดำเนินงานเพื่อการบริหาร ข้อมูลรายได้จากการรักษาจะใกล้เคียงกับรายได้ที่มีการรับเงินจริง มิใช่เป็นแค่ราคาเรียกเก็บ(Charge) เนื่องจากจะต้องมีการหักส่วนเกินของลูกหนี้ที่สูงกว่าเงินที่แต่ละกองทุนจ่ายให้อย่างสม่ำเสมอ • งบแสดงผลการดำเนินงานเพื่อการบริหาร จะให้ข้อมูลต้นทุนค่ารักษาพยาบาล ซึ่งน่าจะเป็น Direct cost ของงานรักษาซึ่งเป็นกิจกรรมหลักของสถานบริการ นำไปวิเคราะห์ในเรื่องต้นทุนได้ • จากงบแสดงผลการดำเนินงานเพื่อการบริหาร จะมองเห็นผลต่างของรายได้รายจ่ายในแต่ละขั้นตอนชัดเจนขึ้น สามารถชี้ชัดได้ว่า การประกอบการส่วนใดที่มีปัญหาทางการเงิน เช่น มีต้นทุนการรักษาสูง หรือมีค่าใช้จ่ายดำเนินงานสูงเป็นต้น • จากรายงานทางการเงินทั้ง 2 รายงาน จะได้ขนาดของปัญหา เช่น ยอดหนี้สิน ยอดเงินสดที่มี ซึ่งจะต้องนำไปพิจารณาต่อไป
งบกระแสเงินสดทางตรง • จัดทำขึ้นจากงบทดลองตามบัญชีเกณฑ์คงค้าง แต่ลักษณะคล้ายรายงานจากบัญชีเกณฑ์เงินสดที่เคยจัดทำกันมา • ซึ่งแสดงผลข้อมูลยอดสะสมตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ จนถึงยอด ณ วันที่มีการรายงาน ในที่นี้จะรายงานเป็นงวดๆ ละ 3 เดือน • ประกอบด้วย • กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน • กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน • กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน
งบกระแสเงินสดทางตรง • กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน ประกอบด้วย • เงินสดรับได้แก่ • จากค่ารักษาพยาบาลแยกตามประเภทสิทธิ และลักษณะการจ่ายเงิน ซึ่งจะเป็น ยอดเงินสดที่แต่ละกองทุนสิทธินั้นๆ โอนเงินสดให้กับสถานบริการ • จากงบประมาณส่วนบุคลากร เป็นยอดเงินงบประมาณส่วนบุคลากร ที่ได้รับ • จากเงินกองทุน UC งบลงทุน เป็นยอดงบลงทุน UC ที่ได้รับ • จากงบประมาณอื่นๆ • จากเงินบริจาค • จากค่ารักษาพยาบาลส่วนเกิน • จากรายได้อื่นๆ
งบกระแสเงินสดทางตรง • เงินสดจ่าย ได้แก่ • ใช้ไปในยาเวชภัณฑ์และวัสดุการแพทย์ เป็นยอดเงินสดที่จ่ายเป็นค่ายาเวชภัณฑ์และวัสดุการแพทย์ ในงวดนั้นๆ • ใช้ไปในเงินเดือนค่าจ้างและค่าตอบแทน (บริการ) • ใช้ไปต้นทุนบริการอื่นๆ ยอดเงินสดที่จ่ายเป็นต้นทุนบริการอื่นๆ • ใช้ไปในค่าใช้จ่ายดำเนินงาน • กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน ได้แก่ เงินสดจ่ายซื้อครุภัณฑ์ เป็นยอดเงินสดที่จ่ายซื้อครุภัณฑ์ ในงวดนั้นๆ • กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน ได้แก่ เงินสดรับจากเงินมัดจำ
ข้อสังเกตจากงบกระแสเงินสดทางตรงข้อสังเกตจากงบกระแสเงินสดทางตรง • เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดคงเหลือณ. วันปลายงวด ในงบกระแสเงินสดทางตรง จะต้องเท่ากับ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ในงบดุลเพื่อการบริหาร เสมอ • จากงบกระแสเงินสดทางตรง จะได้เห็นรายรับและรายจ่ายที่เป็นเงินสดในแต่ละงวด และมีความน่าเชื่อถือ เนื่องจากจัดทำขึ้นจากข้อมูลบัญชีเช่นเดียวกับ งบดุล และงบแสดงผลการดำเนินงาน
ดัชนีชี้วัดทางการเงินดัชนีชี้วัดทางการเงิน • Ratio Analysis • สภาพคล่องทางการเงิน Liquidity Ratio • ประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและการบริหารจัดการ • Profitability Ratio • ตัวชี้วัดกลุ่มนี้ จะบอกเป็นอัตราส่วนซึ่งบ่งชี้ถึงปัญหา แต่ไม่บอกขนาดของปัญหา • Common size analysis • Cost analysis
Liquidity Ratio • อัตราส่วนทุนหมุนเวียน (Current ratio) • บอกความสามารถในการชำระหนี้สินหมุนเวียนด้วยสินทรัพย์หมุนเวียน • คำนวณโดย อัตราส่วนทุนหมุนเวียน (Current ratio)=( สินทรัพย์หมุนเวียนสุทธิ) (หนี้สินหมุนเวียน) • อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick ratio) • บอกความสามารถในการชำระหนี้สินหมุนเวียนด้วยสินทรัพย์หมุนเวียนเร็ว • Quick ratio = ( เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด+ลูกหนี้สุทธิ ) ( หนี้สินหมุนเวียน )
Liquidity Ratio • อัตราส่วนเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดต่อหนี้สินหมุนเวียน (Cash ratio) • บอกความสามารถในการชำระหนี้สินหมุนเวียนด้วยเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด • คำนวณโดย Cash ratio= เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด หนี้สินหมุนเวียน
Liquidity Ratio • Ratio ทั้ง 3 บ่งบอกถึงสภาพคล่องทางการเงิน ณ ขณะนั้น ไม่บ่งบอกถึงสถานการณ์ก่อนหน้า หรือแนวโน้มแต่อย่างใด • โดยปกติจะใช้ ตัวชี้วัดดังกล่าว เพื่อบ่งบอกว่า สถานประกอบการนั้นในขณะนั้นมีสภาพคล่องทางการเงินหรือไม่ โดยจะใช้เป็นตัวชี้วัดตัวแรก เพื่อบ่งบอกสภาพดังกล่าว ก่อนจะไปวิเคราะห์หาสาเหตุโดยตัวชี้วัดอื่นต่อไป • ค่ามาตรฐานที่ใช้(Benchmark) เนื่องจาก โรงพยาบาลของรัฐเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ดังนั้น ค่ามาตรฐานที่ใช้อาจไม่ใช่ค่าสากลเหมือนกรณีเอกชน แนะนำให้หาค่ากลางจากข้อมูลที่จัดเก็บได้ โดยระบุค่ามาตรฐานอยู่ที่ x +2SD และให้แยกค่ามาตรฐานสำหรับโรงพยาบาลแต่ละระดับ โดยแบ่งระดับของโรงพยาบาลตามขนาดเตียง และจำนวนประชากรที่รับผิดชอบ ซึ่งสำนักพัฒนาการเงินการคลังจะคำนวณค่า Benchmark ดังกล่าว และจะประกาศค่าดังกล่าวให้ใช้ต่อไป
ประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและการบริหารจัดการประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและการบริหารจัดการ • ระยะเวลาถัวเฉลี่ยในการเก็บลูกหนี้ค่ารักษา UC (Average Collection period for UC Account Receivables ) • บอกรอบระยะเวลาเฉลี่ยที่มีการชำระหนี้ค่ารักษาพยาบาล UC จากกองทุน UC แสดงความเพียงพอของเงิน UC = ช่วงเวลา(วัน) รายได้ค่ารักษาUC-หนี้สงสัยจะสูญUC-หนี้สูญUC ลูกหนี้ค่ารักษาพยาบาลสิทธิucสุทธิ { }
ประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและการบริหารจัดการประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและการบริหารจัดการ • ระยะเวลาถัวเฉลี่ยในการเก็บลูกหนี้ค่ารักษา non uc (Average Collection period for Non UC Account Receivables ) • บอกความสามารถในการเรียกเก็บหนี้ว่ามีความพยายามในการเปลี่ยนลูกหนี้เป็นเงินสดทำให้มีกระแสเงินมากขึ้น = ช่วงเวลา(วัน) รายได้ค่ารักษา non-UC-หนี้สงสัยจะสูญ non-UC-หนี้สูญ non-UC ลูกหนี้ค่ารักษาพยาบาลสิทธิ non-uc สุทธิเฉลี่ย { }
ประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและการบริหารจัดการประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและการบริหารจัดการ • ระยะเวลาถัวเฉลี่ยการหมุนเวียนของวัสดุคงคลัง (Average Days of non Medical Inventory turnover) • บอกรอบระยะเวลาเฉลี่ยของการใช้การหมุนเวียนของวัสดุคงคลัง แสดงถึงความสามารถในการบริหารจัดการวัสดุคงคลังให้มีเพียงพอแต่ไม่มากเกินไปถ้าค่าได้มากมีแนวโน้มที่จะมีวัสดุคงคลังมากเกินไป = ช่วงเวลา(วัน) (วัสดุใช้ไป/ วัสดุคงคลังเฉลี่ย)
ประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและการบริหารจัดการประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและการบริหารจัดการ • ระยะเวลาถัวเฉลี่ยการหมุนเวียนของค่ายาเวชภัณฑ์และวัสดุการแพทย์คงคลัง (Average Days of Medical Inventory turnover) • บอกรอบระยะเวลาเฉลี่ยของการใช้การหมุนเวียนของยาเวชภัณฑ์และวัสดุการแพทย์ แสดงถึงความสามารถในการบริหารจัดการยาเวชภัณฑ์และวัสดุการแพทย์คงคลังให้มีเพียงพอแต่ไม่มากเกินไปถ้าค่าได้มากมีแนวโน้มที่จะมียาเวชภัณฑ์และวัสดุการแพทย์คงคลังมากเกินไป = ช่วงเวลา(วัน) (ยาเวชภัณฑ์และวัสดุการแพทย์ใช้ไป/ ยาเวชภัณฑ์และวัสดุการแพทย์คงคลังเฉลี่ย)
ประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและการบริหารจัดการประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและการบริหารจัดการ • ระยะเวลาถัวเฉลี่ยในการชำระเจ้าหนี้การค้า (Average Payment Period for Total Account Payables) • บอกรอบระยะเวลาเฉลี่ยของการชำระหนี้เจ้าหนี้การค้าทุกประเภท แสดงถึงความสามารถในการชำระหนี้การค้าทุกประเภทรวมกัน ถ้าค่าได้มากมีแนวโน้มที่จะมีการชำระหนี้ช้า = ช่วงเวลา(วัน) x เจ้าหนี้การค้า มูลค่าวัสดุทั้งหมดที่ซื้อในงวดนี้ หรือ = ช่วงเวลา(วัน) x เจ้าหนี้การค้า ผลรวมเจ้าหนี้การค้าช่องเครดิตงวดนี้ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงงวดนี้
ประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและการบริหารจัดการประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและการบริหารจัดการ • ระยะเวลาถัวเฉลี่ยในการชำระเจ้าหนี้การค้าสำหรับค่ายาเวชภัณฑ์และวัสดุการแพทย์ (Average Payment period for Medical Account Payables) • บอกรอบระยะเวลาเฉลี่ยของการชำระหนี้เจ้าหนี้การค้าประเภทค่ายาเวชภัณฑ์และวัสดุการแพทย์ แสดงถึงความสามารถในการชำระหนี้การค้าประเภทค่ายาเวชภัณฑ์และวัสดุการแพทย์ถ้าค่าได้มากมีแนวโน้มที่จะมีการชำระหนี้ช้า = ช่วงเวลา(วัน) x เจ้าหนี้การค้าค่ายาเวชภัณฑ์และวัสดุการแพทย์ มูลค่ายาเวชภัณฑ์และวัสดุการแพทย์ทั้งหมดที่ซื้อในงวดนั้นๆ หรือ = ช่วงเวลา(วัน) x เจ้าหนี้การค้าค่ายาเวชภัณฑ์และวัสดุการแพทย์ ผลรวมเจ้าหนี้การค้าค่ายาเวชภัณฑ์และวัสดุการแพทย์ช่องเครดิตงวดนี้ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงงวดนี้
ประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและการบริหารจัดการประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและการบริหารจัดการ • ระยะเวลาถัวเฉลี่ยในการชำระเจ้าหนี้ค่ารักษาพยาบาลตามจ่าย (Average Payment period for Account Payables on Refer Patients) • บอกรอบระยะเวลาเฉลี่ยของการชำระหนี้เจ้าหนี้ค่ารักษาพยาบาลตามจ่ายแสดงถึงความสามารถในการชำระหนี้ค่ารักษาพยาบาลตามจ่ายถ้าค่าได้มากมีแนวโน้มที่จะมีการชำระหนี้ช้า = ช่วงเวลา(วัน) x เจ้าหนี้ค่ารักษาพยาบาลตามจ่าย ค่ารักษาพยาบาลตามจ่ายทั้งหมดในงวดนั้นๆ หรือ = ช่วงเวลา(วัน) x เจ้าหนี้ค่ารักษาพยาบาลตามจ่าย ผลรวมเจ้าหนี้ค่ารักษาพยาบาลตามจ่ายช่องเครดิตงวดนี้ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงงวดนี้
ประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและการบริหารจัดการประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและการบริหารจัดการ • การหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร (Fixed Asset Turnover) • บอกสัดส่วนของรายได้กับสินทรัพย์ถาวรที่มี แสดงถึงประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ถาวรให้เกิดผลประกอบการ ถ้าค่าได้มากมีแนวโน้มว่ามีประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์สูง = รวมรายได้จากค่ารักษาพยาบาล รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน