650 likes | 841 Views
Financial Analysis. การวิเคราะห์ทางการเงิน. ใช้ข้อมูลที่ได้จากงบการเงิน ต้องกำหนดว่า จะวิเคราะห์อะไร (What) วิเคราะห์อย่างไร (How) วิเคราะห์เมื่อไร (When) วิเคราะห์ถี่แค่ไหน ใช้เครื่องมือใดในการวิเคราะห์ ขึ้นอยู่กับ “ผู้วิเคราะห์”. การวิเคราะห์ทางการเงินของผู้บริหาร.
E N D
Financial Analysis A.Petcharee Sirikijjakajorn
การวิเคราะห์ทางการเงินการวิเคราะห์ทางการเงิน • ใช้ข้อมูลที่ได้จากงบการเงิน • ต้องกำหนดว่า จะวิเคราะห์อะไร (What) วิเคราะห์อย่างไร (How) วิเคราะห์เมื่อไร (When) วิเคราะห์ถี่แค่ไหน ใช้เครื่องมือใดในการวิเคราะห์ ขึ้นอยู่กับ “ผู้วิเคราะห์” A.Petcharee Sirikijjakajorn
การวิเคราะห์ทางการเงินของผู้บริหารการวิเคราะห์ทางการเงินของผู้บริหาร 1. เพื่อการวางแผนและพยากรณ์ทางการเงิน 2. ช่วยในการตัดสินใจทางการเงินได้ดีขึ้น • การลงทุน • การจัดหาเงินทุน 3. เพื่อควบคุมตรวจสอบและประเมินการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ A.Petcharee Sirikijjakajorn
ขั้นตอนในการวิเคราะห์ทางการเงินขั้นตอนในการวิเคราะห์ทางการเงิน 1. กำหนดจุดมุ่งหมายในการวิเคราะห์ 2. รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องและจำเป็นต้องใช้ 3. เลือกเครื่องมือที่เหมาะสมในการวิเคราะห์ 4. ตีความและแปลความหมาย 5. จัดทำรายงานเพื่อนำเสนอ A.Petcharee Sirikijjakajorn
การเปรียบเทียบ 1. เปรียบเทียบกับข้อมูลในอดีตของตัวกิจการเอง(Past Data) 2. เปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน (Competitors) หรือบริษัทอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกัน 3. เปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน หรือ ค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม (Standard or Industry Average) A.Petcharee Sirikijjakajorn
ขั้นตอนในการวิเคราะห์ทางการเงินขั้นตอนในการวิเคราะห์ทางการเงิน กำหนดจุดมุ่งหมาย รวบรวมข้อมูล เลือกเครื่องมือ การตีความ (ใช้การเปรียบเทียบ) • เปรียบเทียบกับตนเองในอดีต • เปรียบเทียบกับคนอื่น • คู่แข่งขัน • ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม รายงานการวิเคราะห์ A.Petcharee Sirikijjakajorn
ข้อจำกัดในการวิเคราะห์งบการเงินข้อจำกัดในการวิเคราะห์งบการเงิน 1. ความแตกต่างของนโยบายบัญชีที่ใช้จัดทำ งบการเงิน 2. ไม่ได้คำนึงถึงค่าของเงินตามเวลา 3. ไม่ได้สะท้อนถึงความเสี่ยงที่สูงขึ้นของกิจการ ,ความสามารถของผู้บริหารและภาระผูกพันจากสัญญาต่างๆ A.Petcharee Sirikijjakajorn
ข้อจำกัดในการวิเคราะห์งบการเงิน (ต่อ) 4. งบดุลแสดงฐานะการเงิน ณ วันใดวันหนึ่งเท่านั้น แต่ก่อนหน้านั้น หรือหลังจากนั้นจำนวนสินทรัพย์ หนี้สิน และทุนจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา 5. ต้องระมัดระวังเรื่องการตกแต่งตัวเลขในทางบัญชี (Window Dressing) A.Petcharee Sirikijjakajorn
เครื่องมือในการวิเคราะห์งบการเงินเครื่องมือในการวิเคราะห์งบการเงิน 1. อ่านข้อมูลจากงบการเงินโดยตรง 2. วิเคราะห์โดยใช้อัตราส่วนทางการเงิน 3. วิเคราะห์โดยจัดทำแนวโน้ม (ไม่ออกสอบ) 4. วิเคราะห์โดยการย่อขนาด (Common Size) A.Petcharee Sirikijjakajorn
การวิเคราะห์งบการเงินการวิเคราะห์งบการเงิน • การวิเคราะห์ย่อขนาด (Common-Size) • การวิเคราะห์อัตราส่วน (Ratio Analysis) A.Petcharee Sirikijjakajorn
Common-size Statement • แสดงรายการบัญชีแต่ละรายการในงบดุลในรูปร้อยละของสินทรัพย์รวม • แสดงรายการบัญชีแต่ละรายการในงบกำไรขาดทุนในรูปร้อยละของยอดขาย • ข้อดี : ง่ายต่อการอ่านและเปรียบเทียบ A.Petcharee Sirikijjakajorn
ตัวอย่างการคิด Common Size • งบดุล: สินทรัพย์รวม = 4,200 เงินสด = 2,100 Common Size เงินสด = 2,100 = 0.5 หรือ 50% 4,200 • งบกำไรขาดทุน: ยอดขายรวม = 10,000 ดอกเบี้ยจ่าย = 600 Common Size ดอกเบี้ยจ่าย = 600=0.06 หรือ 6% 10,000 A.Petcharee Sirikijjakajorn
การวิเคราะห์โดยใช้อัตราส่วนการวิเคราะห์โดยใช้อัตราส่วน • เปรียบเทียบรายการบัญชีหนึ่งกับรายการบัญชีอื่นที่มีความสัมพันธ์กัน • ผลลัพธ์เป็นร้อยละ, เท่า หรือ รอบ, ระยะเวลา • วัดสภาพคล่อง ภาระหนี้สิน การบริหารสินทรัพย์ กำไร และมูลค่าตลาด A.Petcharee Sirikijjakajorn
1. อัตราส่วนวัดสภาพคล่อง (Liquidity Ratio) • วัดความสามารถในการแปลงสินทรัพย์หมุนเวียนเป็นเงินสดเพื่อชำระหนี้สินหมุนเวียน • เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์หมุนเวียน และหนี้สินหมุนเวียนเป็นหลัก • สภาพคล่อง อาจเกิดจากสินทรัพย์ หรือเกิดจากความสามารถในการกู้ยืม A.Petcharee Sirikijjakajorn
1. อัตราส่วนวัดสภาพคล่อง (Liquidity Ratio) • ดังนั้น ถ้าขาดความสามารถในการกู้ยืม ก็อาจต้องรักษาสินทรัพย์หมุนเวียนไว้มาก แต่ถ้าหากมีความสามารถในการกู้ยืมดี ก็ไม่จำเป็นต้องดำรงสินทรัพย์หมุนเวียนไว้ในจำนวนสูง A.Petcharee Sirikijjakajorn
1.1 อัตราทุนหมุนเวียน (Current Ratio) = สินทรัพย์หมุนเวียน / หนี้สินหมุนเวียน • หน่วยเป็นเท่า • ปกติยิ่งมากยิ่งดี อย่างต่ำควรเท่ากับ 1 เท่า เพราะไม่งั้นเงินทุนหมุนเวียนสุทธิจะติดลบ • แต่สภาพคล่องที่มากเกินพอ หมายถึง เงินลงทุนไปจมอยู่กับสินทรัพย์หมุนเวียนมากไป A.Petcharee Sirikijjakajorn
1.1 อัตราทุนหมุนเวียน (Current Ratio) = สินทรัพย์หมุนเวียน / หนี้สินหมุนเวียน • ปี 2544 = 230,000 / 200,000 = 1.15 เท่า • ปี 2545 = 280,000 / 225,000 = 1. 24 เท่า • ปี 2545 ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม = 1. 5 เท่า A.Petcharee Sirikijjakajorn
1.2 อัตราทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio) = (สินทรัพย์หมุนเวียน – สินค้าคงคลัง) / หนี้สินหมุนเวียน • หน่วยเป็นเท่า • เนื่องจากสินค้าคงคลังเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนที่มีสภาพคล่องต่ำสุด นอกจากนี้ยังเสื่อม ล้าสมัย หรือถูกทำลายได้ • การมีสินค้าคงคลังมากไป แสดงว่าผลิตมากเกินไป • ปกติยิ่งมากยิ่งดี A.Petcharee Sirikijjakajorn
1.2 อัตราทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio) = (สินทรัพย์หมุนเวียน – สินค้าคงคลัง) / หนี้สินหมุนเวียน • ปี 2544 = (230,000 – 80,000) / 200,000 = 0.75 เท่า • ปี 2545 = (280,000 – 100,000) / 225,000 = 0.8 เท่า • ปี 2545 ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม = 1.2 เท่า A.Petcharee Sirikijjakajorn
2. อัตราส่วนการบริหารหนี้สิน (Leverage Ratio) • วัดความสามารถในการชำระหนี้ของกิจการ • บางที เรียกว่า Financial Leverage Ratio • ถ้าเปรียบอัตราส่วนวัดสภาพคล่องเป็นการวัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้น อัตราส่วนการบริหารหนี้สินก็เป็นการวัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะยาว A.Petcharee Sirikijjakajorn
2.1 อัตราส่วนหนี้สิน (Debt Ratio) = หนี้สินรวม / สินทรัพย์รวม • หน่วยเป็น เท่า หรือ ร้อยละ • ยิ่งสูงความเสี่ยงทางการเงินจะสูง ความสามารถในการหาเงินทุนจะต่ำ • แสดงสัดส่วนหนี้สินในโครงสร้างเงินทุน • เมื่อทราบสัดส่วนหนี้สิน ก็สามารถทราบสัดส่วนของเจ้าของได้ เพราะ สินทรัพย์รวม = หนี้สินรวม+ ส่วนของเจ้าของรวม A.Petcharee Sirikijjakajorn
2.1 อัตราส่วนหนี้สิน (Debt Ratio) = หนี้สินรวม / สินทรัพย์รวม • ปี 2544 = (500,000 / 950,000)*100 = 52.63 % • ปี 2545 = (575,000 / 1,080,000)*100 = 53.24 % • ปี 2545 ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม = 50.23 % A.Petcharee Sirikijjakajorn
2.2 อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของ(Debt to Equity Ratio) Debt to Equity Ratio = หนี้สินรวม / ส่วนของเจ้าของ • หน่วยเป็น เท่า หรือ ร้อยละ • แสดงสัดส่วนของเจ้าของว่าเพียงพอชำระหนี้หรือไม่ • ยิ่งสูง ความเสี่ยงทางการเงินยิ่งสูง โอกาสที่จะชำระหนี้คืนแก่เจ้าหนี้จะต่ำ A.Petcharee Sirikijjakajorn
2.2 อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของ(Debt to Equity Ratio) Debt to Equity Ratio = หนี้สินรวม / ส่วนของเจ้าของ • ปี 2544 = (500,000 / 450,000)*100 = 111 % • ปี 2545 = (575,000 / 505,000)*100 = 114 % • ปี 2545 ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม = 97 % A.Petcharee Sirikijjakajorn
2.3 อัตราส่วนกำไรต่อดอกเบี้ยจ่าย (Times Interested Earned) = กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี / ดอกเบี้ยจ่าย • หน่วยเป็นเท่า • วัดความสามารถในการนำกำไรจากการดำเนินงานมาชำระดอกเบี้ยจ่าย • กำไรที่ได้มาเป็นกี่เท่าของดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย • ปกติยิ่งมากยิ่งดี A.Petcharee Sirikijjakajorn
2.3 อัตราส่วนกำไรต่อดอกเบี้ยจ่าย (Times Interested Earned) = EBIT / ดอกเบี้ยจ่าย • ปี 2544 = 725,000 / 105,000 = 6.9 เท่า • ปี 2545 = 963,000 / 112,000 = 8.6 เท่า • ปี 2545 ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม = 9.3 เท่า A.Petcharee Sirikijjakajorn
2.4 ความสามารถจ่ายภาระผูกพัน(Fixed Charge Coverage Ratio) = (EBIT + คชจ.ภาระผูกพัน) / คชจ.ภาระผูกพันก่อนภาษี • หน่วยเป็นเท่า • ภาระผูกพันตามข้อสัญญาต่างๆ เช่น ค่าเช่า ระยะยาว (Lease) ค่างวด (Installment) • วัดว่าธุรกิจมีกำไรเพียงพอที่จะจ่ายค่าใช้จ่ายที่เกิดจากภาระผูกพันต่างๆได้ A.Petcharee Sirikijjakajorn
3. อัตราส่วนบริหารสินทรัพย์ (Asset Management Ratio) • วัดความสามารถในการบริหารสินทรัพย์ของกิจการ เพื่อก่อให้เกิดการขาย • สินทรัพย์หมุนเวียน • สินทรัพย์ถาวร • สินทรัพย์รวม • ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของอัตราหมุนเวียน (Turnover) A.Petcharee Sirikijjakajorn
3.1 อัตราหมุนเวียนสินค้าคงคลัง (Inventory Turnover) = ต้นทุนขาย / สินค้าคงคลัง • หน่วยเป็นเท่า หรือ รอบ • แสดงให้เห็นว่ากิจการสามารถแปลงสินค้าคงคลังออกไปขายได้กี่ครั้ง ในรอบบัญชีหนึ่งๆ • ยิ่งมาก ยิ่งดี เพราะสามารถเปลี่ยนสินค้าคงคลังเป็นเงินสดรับได้เร็ว หรือ มากครั้งในรอบบัญชีหนึ่งๆ A.Petcharee Sirikijjakajorn
3.1 อัตราหมุนเวียนสินค้าคงคลัง (Inventory Turnover) = ต้นทุนขาย / สินค้าคงคลัง • ปี 2544 = 675,000 / 80,000 = 8.44 รอบ • ปี 2545 = 817,000 / 100,000 =8.17 รอบ • ปี 2545 ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม = 9 รอบ A.Petcharee Sirikijjakajorn
3.2 ระยะเวลาขายสินค้าคงคลัง (Days’ Sales Inventory) = 360/ อัตราหมุนเวียนสินค้าคงคลัง • หน่วยเป็นวัน • แสดงให้เห็นว่ากิจการใช้เวลานานเท่าไหร่ในการแปลงสินค้าคงคลังออกไปขาย • ยิ่งน้อย ยิ่งดี เพราะใช้เวลาน้อยวันในการเปลี่ยนสินค้าคงคลังออกไปขาย A.Petcharee Sirikijjakajorn
3.2 ระยะเวลาขายสินค้าคงคลัง (Days’ Sales Inventory) = 360/ อัตราหมุนเวียนสินค้าคงคลัง • ปี 2544 = 360 / 8.44 รอบ = 43 วัน • ปี 2545 = 360 / 8.17 รอบ = 45 วัน • ปี 2545 ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม = 35 วัน A.Petcharee Sirikijjakajorn
3.3 อัตราหมุนเวียนลูกหนี้การค้า (A/R Turnover) = ยอดขายเชื่อ/ ลูกหนี้การค้า • หน่วยเป็นเท่า หรือ รอบ • แสดงให้เห็นว่ากิจการสามารถเก็บเงินจากลูกหนี้ได้กี่ครั้งในรอบบัญชีหนึ่งๆ • ยิ่งมาก ยิ่งดี เพราะสามารถเก็บเงินจากลูกหนี้ได้เร็ว หรือ มากครั้งในรอบบัญชีหนึ่งๆ A.Petcharee Sirikijjakajorn
3.3 อัตราหมุนเวียนลูกหนี้การค้า (A/R Turnover) = ยอดขายเชื่อ/ ลูกหนี้การค้า • ปี 2544 = 1,500,000 / 100,000 = 15 รอบ • ปี 2545 = 1,900,000 / 120,000 = 15.83 รอบ • ปี 2545 ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม = 18 รอบ A.Petcharee Sirikijjakajorn
3.4. ระยะเวลาเก็บหนี้เฉลี่ย (Days’ Sales Outstanding) : DSO = ลูกหนี้เฉลี่ย / ยอดขายเชื่อเฉลี่ยต่อวัน • หน่วยเป็นวัน • บางทีเรียกว่า Average Collection Period : ACP • แสดงให้เห็นว่ากิจการใช้เวลานานเท่าไรในการเก็บเงินจากลูกหนี้การค้า • ยิ่งน้อย ยิ่งดี แสดงว่า ใช้เวลาน้อยวันในการเก็บเงินจากลูกหนี้การค้า A.Petcharee Sirikijjakajorn
3.4. ระยะเวลาเก็บหนี้เฉลี่ย (Days’ Sales Outstanding) : DSO = ลูกหนี้เฉลี่ย / ยอดขายเชื่อเฉลี่ยต่อวัน *** • ปี 2544 = 100,000 / 1,500,000 / 360 = 24 วัน • ปี 2545= 120,000 / 1,900,000 / 360 = 23 วัน ปี 2545 ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม = 20 วัน ***ยอดขายเฉลี่ยต่อวัน = ยอดขายทั้งปี / 360 วัน A.Petcharee Sirikijjakajorn
3.5 อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร (Fixed Assets Turnover) = ยอดขาย / สินทรัพย์ถาวร • หน่วยเป็นเท่า หรือ รอบ • แสดงให้เห็นว่าสำหรับเงินทุกบาทของการใช้สินทรัพย์ถาวร กิจการสามารถก่อให้เกิดยอดขายได้กี่เท่า • ยิ่งมาก ยิ่งดี A.Petcharee Sirikijjakajorn
3.5 อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร (Fixed Assets Turnover) = ยอดขาย / สินทรัพย์ถาวร • ปี 2544 = 1,500,000 / 720,000 = 2.08 รอบ • ปี 2545 = 1,900,000 / 800,000 = 2.38 รอบ • ปี 2545 ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม = 3.4 รอบ A.Petcharee Sirikijjakajorn
3.6 อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม (Total Assets Turnover) = ยอดขาย / สินทรัพย์รวม • หน่วยเป็นเท่า หรือ รอบ • แสดงให้เห็นว่าสำหรับเงินทุกบาทของการใช้สินทรัพย์รวม กิจการสามารถก่อให้เกิดยอดขายได้กี่เท่า • ยิ่งมาก ยิ่งดี A.Petcharee Sirikijjakajorn
3.6 อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม (Total Assets Turnover) = ยอดขาย / สินทรัพย์รวม • ปี 2544 = 1,500,000 / 950,000 = 1.58 รอบ • ปี 2545 = 1,900,000 / 1,080,000 = 1.76 รอบ • ปี 2545 ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม = 2 รอบ A.Petcharee Sirikijjakajorn
4. อัตราส่วนวัดความสามารถในการทำกำไร (Profitability Ratio) • แสดงความสามารถในการทำกำไรของกิจการ ที่เกิดจาก • การใช้สินทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพ • การบริหารการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ • ส่วนใหญ่อยู่ในรูปผลตอบแทน A.Petcharee Sirikijjakajorn
4.1 อัตราส่วนกำไรสุทธิ (Net Profit Margin) = (กำไรสุทธิ / ยอดขาย) * 100 • หน่วยเป็นร้อยละ (%) • แสดงให้เห็นว่าทุกบาทของยอดขายที่เกิดขึ้น ก่อให้เกิดกำไรสุทธิกี่บาท หรือ กี่เปอร์เซนต์ • ยิ่งมากยิ่งดี แต่ถ้าเป็นกรณีลดราคาเพื่อขายเอาปริมาณ ต้องพิจารณาดูอีกที A.Petcharee Sirikijjakajorn
4.1 อัตราส่วนกำไรสุทธิ (Net Profit Margin) = (กำไรสุทธิ / ยอดขาย) * 100 • ปี 2544 = (434,000 / 1,500,000)*100 = 28.93 % • ปี 2545 = (598,000 / 1,900,000)*100 = 31.47 % • ปี 2545 ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม = 35 % A.Petcharee Sirikijjakajorn
4.2 อัตราผลตอบแทนจากกำไรขั้นต้น(Gross Profit Margin) = (กำไรขั้นต้น/ ยอดขาย) * 100 • หน่วยเป็นร้อยละ (%) • หาอัตราผลตอบแทนหลังจากหักต้นทุนการผลิต • แสดงถึงโครงสร้างของต้นทุนต่อยอดขาย • ยิ่งสูง ยิ่งดี แสดงถึงความสามารถในการหารายได้ และควบคุมต้นทุนการผลิตดี A.Petcharee Sirikijjakajorn
4.2 อัตราผลตอบแทนจากกำไรขั้นต้น(Gross Profit Margin) = (กำไรขั้นต้น/ ยอดขาย) * 100 • ปี 2544 = (825,000 / 1,500,000)*100 = 55 % • ปี 2545 = (1,083,000 / 1,900,000)*100 = 57 % • ปี 2545 ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม = 61 % A.Petcharee Sirikijjakajorn
4.3 อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์(Return on Assets : ROA) = (กำไรสุทธิ / สินทรัพย์รวม) * 100 • หน่วยเป็นร้อยละ (%) • แสดงให้เห็นว่าทุกบาทของสินทรัพย์ที่กิจการใช้ ก่อให้เกิดกำไรสุทธิกี่บาท หรือ กี่เปอร์เซนต์ • ยิ่งมากยิ่งดี A.Petcharee Sirikijjakajorn
4.3 อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์(Return on Assets : ROA) = (กำไรสุทธิ / สินทรัพย์รวม) * 100 • ปี 2544 = (434,000 / 950,000)*100 = 45.68 % • ปี 2545 = (598,000 / 1,080,000)*100 = 55.37 % • ปี 2545 ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม = 58 % A.Petcharee Sirikijjakajorn
4.4 อัตราผลตอบแทนส่วนของเจ้าของ (Return on Equity: ROE) = (กำไรสุทธิ / ส่วนของเจ้าของ) * 100 • หน่วยเป็นร้อยละ (%) • แสดงให้เห็นว่าทุกบาทของเงินทุนที่ผู้ถือหุ้นลงไป ก่อให้เกิดกำไรสุทธิกี่บาท หรือ กี่เปอร์เซนต์ • ยิ่งมากยิ่งดี A.Petcharee Sirikijjakajorn
4.4 อัตราผลตอบแทนส่วนของเจ้าของ (Return on Equity: ROE) = (กำไรสุทธิ / ส่วนของเจ้าของ) * 100 • ปี 2544 = (434,000 / 450,000)*100 = 96.44 % • ปี 2545 = (598,000 / 505,000)*100 = 118.42 % • ปี 2545 ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม = 120 % A.Petcharee Sirikijjakajorn
5. อัตราส่วนมูลค่าตลาด (Market Value Ratio) • นำข้อมูลที่ไม่ได้อยู่ในงบการเงินมาช่วยในการคิดคำนวณ • ข้อมูลนั้น คือ ราคาตลาดต่อหุ้นของหุ้นสามัญ (Market price per share) • ข้อมูลที่ปรากฏอยู่บนงบการเงิน คือ ข้อมูลทางบัญชี (Book value) A.Petcharee Sirikijjakajorn