310 likes | 647 Views
IC. เป้าหมายของงาน IC. คุ้มครองผู้ป่วย คุ้มครองเจ้าหน้าที่ ส่งเสริมให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ. ระบบ IC ที่ดี. = มีการนำความรู้ด้านระบาดวิทยาโรงพยาบาลมาปฏิบัติ ได้แก่ การค้นหาความเสี่ยง ศึกษาความเสี่ยง ขจัดหรือลดความเสี่ยงให้เหลือน้อยที่สุด
E N D
เป้าหมายของงาน IC • คุ้มครองผู้ป่วย • คุ้มครองเจ้าหน้าที่ • ส่งเสริมให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ระบบ IC ที่ดี • = มีการนำความรู้ด้านระบาดวิทยาโรงพยาบาลมาปฏิบัติ ได้แก่ • การค้นหาความเสี่ยง • ศึกษาความเสี่ยง • ขจัดหรือลดความเสี่ยงให้เหลือน้อยที่สุด • การค้นหาความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในโรงพยาบาล โดย • การเฝ้าระวัง • ใช้หลักการทางระบาดวิทยา และ • ทำความเข้าใจกับเชื้อที่เป็นสาเหตุ
การขจัด/ลดความเสี่ยง • การตรวจสอบ และจัดการแก้ไขป้องกัน • จัดให้มีแนวทางปฏิบัติงาน • ให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ • ศึกษาปัจจัยเสี่ยง • เรียนรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา
บทบาทใหม่ของงาน IC • เดิมเน้นที่การนับจำนวนการติดเชื้อและการควบคุมให้ผู้คนปฏิบัติตามข้อกำหนด มุ่งลดผลกระทบของการติดเชื้อและความเสี่ยงของเจ้าหน้าที่ ด้วยการกำหนดเป้าหมาย วัดวิเคราะห์ สร้างแนวร่วม และปฏิบัติบนพื้นฐานของหลักฐานวิชาการ
ระบบ IC ที่ได้ผล : องค์ประกอบที่จำเป็น • มี ICN เต็มเวลา 1 คนต่อ 250 เตียง • มีแพทย์ซึ่งได้รับการฝึกอบรมและมีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่อง IC • มีการเฝ้าระวังและป้อนข้อมูลอัตราการติดเชื้อให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ โดยเก็บข้อมูลในจุดที่มีความสำคัญ • ใช้หลักระบาดวิทยา • ให้แพทย์มีส่วนร่วม • เน้นแนวทางปฏิบัติงานที่ให้ผลลัพธ์ดีกว่า • มีคู่มือและการฝึกอบรมที่เพียงพอ
หน้าที่และกิจกรรมของระบบ IC • เฝ้าระวัง (Surveillance) • สุขภาพอนามัยเจ้าหน้าที่ (Employee Health) • ฝึกอบรม (Education) • ให้คำปรึกษา (Consultation) • จัดทำนโยบายและวิธีปฏิบัติ • ดูแลกำกับให้มีการปฏิบัติตามนโยบายวิธีปฏิบัติ (Regulations Guideline Standards) • สอบสวนเมื่อมีการระบาด • พัฒนาคุณภาพ • บริหารจัดการ (Program Management)
Pitfall : ระบบเฝ้าระวัง • ไม่ชัดเจนว่าจะให้เฝ้าระวังเหตุการณ์อะไรบ้าง ในกลุ่มผู้ป่วยใดบ้าง เช่น ผู้ป่วยล้างไตแต่ละแบบ • เก็บข้อมูลแต่แปลผล แปลความหมายของข้อมูลได้น้อย ทำให้ไม่สามารถใช้ข้อมูลในการชักนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง • ไม่มีการแบ่งปันข้อมูลในกลุ่มผู้รับผิดชอบหลัก • ใช้ตัวหารที่ไม่ถูกต้อง ทำให้ไม่สามารถเปรียบเทียบได้ • Passive surveillance ทำให้ได้ข้อมูลต่ำกว่าความเป็นจริง Active surveillance โดย ICN ที่ได้รับการฝึกอบรมจะได้ข้อมูลที่ครบถ้วนมากขึ้น
Pitfall : Employee Health • ขาดระบบจัดเก็บข้อมูลการเจ็บป่วยของเจ้าหน้าที่ว่ามีความสัมพันธ์กับการทำงานหรือไม่ • ขาดการสำรวจพฤติกรรม สภาพแวดล้อม และความเสี่ยงในการทำงานที่อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ • การติดตามสภาวะสุขภาพหลังประสบภาวะเสี่ยง
Pitfall : การทำความสะอาด/การใช้น้ำยา • ไม่มีอ่างล้างมือ • ไม่มีสบู่ ภาชนะใส่สบู่ ไม่มีการระบายที่ดี • ผ้าเช็ดมือใช้แล้วใช้อีก • ไม่ปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนด • การจัดแบ่งพื้นที่ • การนำส่งของสกปรก • การปนเปื้อนจากการคัดแยกผ้าเปื้อน • เวลาสัมผัสนานไม่สอดคล้องกับ spec ที่กำหนด
Pitfall : การดูแลพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง • ห้องผ่าตัด • ห้องคลอด • หอผู้ป่วยวิกฤติ • หน่วยซักฟอก • หน่วยจ่ายกลาง • โรงครัว • หน่วยกายภาพบำบัด • ห้องเก็บศพ
Pitfall : การควบคุมสิ่งแวดล้อม • มีการประเมินความเสี่ยงสิ่งแวดล้อม แต่การนำไปใช้ประโยชน์ ? • การจัดการกับขยะติดเชื้อ / การควบคุมแมลง • การประเมินระบบระบายอากาศ / ความดันอากาศ • การควบคุมฝุ่นละอองระหว่างการก่อสร้าง • การติดตามประสิทธิผลของการกรองอากาศและมาตรการควบคุมฝุ่นละออง • การป้องกันการปนเปื้อนทางอากาศในห้องผ่าตัดเมื่อมีการผ่าตัดผู้ป่วยติดเชื้อวัณโรค • การติดตาม endotoxin ในน้ำที่ใช้สำหรับ hemodialysis
Pitfall : Isolation Precautions • เข้าใจแนวทางไม่ตรงกัน • ขาดการสื่อสารข้อมูล case ที่ควรเฝ้าระวัง • ขาดการกำกับดูแลเมื่อมี case ที่ควรใช้หลัก IP • การจัดพื้นที่รองรับ
Pitfall : Sterilization • การทำความสะอาดเครื่องมือ • การนำส่งเครื่องมือสะอาด – สกปรก • สถานที่และการติดตามตรวจสอบการจัดเก็บเครื่องมือ อุปกรณ์ สารน้ำ • การบรรจุหีบห่อ การทำ marker เพื่อให้ง่ายต่อการทวนสอบ / ขอคืนอุปกรณ์ • การตรวจสอบประสิทธิภาพของเครื่องมืออุปกรณ์ให้ได้มาตรฐาน • การตรวจสอบเครื่องมือระหว่างการทำให้ปราศจากเชื้อ
Pitfall : การติดเชื้อ • ขาดการย้อนมองกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อการติดเชื้อให้ครบถ้วน เช่น • แผนการรักษา/ประเมินซ้ำของแพทย์เพื่อลดวันนอนในการใช้เครื่องช่วยหายใจ • การใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่เหมาะสม / ไม่มีการ feedback การใช้ยาที่ไม่เหมาะสม • การแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการที่ไม่เหมาะสมกับสภาวะของผู้ป่วย • การแทรกแซง/ให้คำปรึกษาของแพทย์ ICN
Pitfall : การพัฒนาคุณภาพ • การปรับปรุงกระบวนการทำได้เฉพาะส่วนของพยาบาล กระบวนการที่อยู่ในความรับผิดชอบของวิชาชีพอื่น ๆ มีน้อย เช่น บทบาทแพทย์ในการลดการใช้เครื่องช่วยหายใจ บทบาททีมเภสัชและห้อง lab ในการ feedback เรื่องยาแก่แพทย์ / ให้ภาพรวม / เกาผิดคน • ใช้ผลลัพธ์ที่มีผลกระทบน้อยในการพัฒนาคุณภาพ ; sepsis – septicemia • การมีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติงานในการกำหนดแผนพัฒนาคุณภาพ
Pitfall : การพัฒนาคุณภาพ • ขาดข้อมูลในการชี้นำเพราะขาดการเชื่อมโยงข้อมูลจากเวชสถิติ / ไม่มีกิจกรรมค้นหา NI จากการทบทวนเวชระเบียนในผู้ป่วยที่ทรุดลงส่งต่อ / ย้ายเข้า ICU โดยไม่ได้วางแผน • การกำหนด target ของเครื่องชี้วัดไม่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพ ทำได้เพียง QA • ? ทักษะความรู้เรื่องระบาดวิทยาของแพทย์และ ICN เพื่อชี้นำกระบวนการสำคัญในการทบทวนปัญหา
Pitfall : ด้านการบริหารจัดการ • แผนประจำปี routine • ปัญหาเรื่องการสื่อสารเป้าหมายและแผนงาน IC ให้รู้ทั่วกัน • การประเมินประสิทธิผล ประสิทธิภาพไม่ครอบคลุมนโยบาย เป้าหมายที่กำหนดไว้ • การกำหนดเนื้อหาเพื่อประเมินทักษะของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบหลักในเรื่องสำคัญไม่ชัดเจน เช่น การเฝ้าระวัง การประเมินผลการแก้ปัญหา การสื่อสารแทรกแซงเมื่อเห็นปัญหา/ความเสี่ยง • กรรมการ IC ไม่มีอำนาจในการจัดการ … บทบาทฝ่ายบริหาร?