50 likes | 632 Views
หมอนหลอดกาแฟลดอาการปวดหลัง. 1. นาง ปิยะวรรณ ดีชู 2. นางอรทัย แสนบน 3. นางสาวกรุณา วงศ์อา มาตย์ 4. นางสาวอุไรรัตน์ แน่นอุดร 5. นางสาวเฉลิมพร ถิตย์ ผาด 6. นางสาว จีรวร รณ สาจันทร์. ที่ปรึกษา : คุณ จันทิ รา วชิ ราภากร หัวหน้าหน่วยห้องคลอด. หน่วยห้องคลอด
E N D
หมอนหลอดกาแฟลดอาการปวดหลังหมอนหลอดกาแฟลดอาการปวดหลัง 1. นางปิยะวรรณ ดีชู 2. นางอรทัย แสนบน 3. นางสาวกรุณา วงศ์อามาตย์4. นางสาวอุไรรัตน์ แน่นอุดร 5. นางสาวเฉลิมพร ถิตย์ผาด 6. นางสาวจีรวรรณ สาจันทร์ ที่ปรึกษา : คุณจันทิรา วชิราภากร หัวหน้าหน่วยห้องคลอด หน่วยห้องคลอด แผนกการพยาบาลสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลศรีนครินทร์ • หลักการและเหตุผล การคลอดเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติแต่สร้างความเจ็บปวดและไม่สุขสบายทางร่างกายอย่างมาก อีกทั้งบรรยากาศในห้องคลอดอาจมีเสียงร้องของสตรีตั้งครรภ์คนอื่นที่ใกล้คลอด ทำให้มีความวิตกกังวล ความกลัวและความตึงเครียด เป็นวงจรเรียกว่า Fear-Tension-Pain cycle ดังนั้นการบรรเทาความเจ็บปวดในระยะรอคลอดจึงจำเป็นอย่างยิ่ง โดยการบรรเทาความเจ็บปวดมีหลายวิธี แต่ที่ใช้ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์มี 2 วิธี คือ 1) การใช้ยาลดปวด แม้เป็นวิธีที่ช่วยให้ลดจากความเจ็บปวด และสามารถพักผ่อนได้ แต่มีผลข้างเคียง เนื่องจากยาสามารถผ่านรกไปสู่ทารกในครรภ์ได้ ถ้าได้รับมากเกินไป หรือได้รับในระยะ 2-3 ชั่วโมงก่อนคลอด ฤทธิ์ของยาจะไปกดศูนย์การหายใจ เมื่อทารกคลอดอาจเกิดภาวะหายใจลำบากหรือภาวะขาดออกซิเจนได้ ส่วนในสตรีตั้งครรภ์ อาจทำให้มีอาการกระวนกระวาย มึนงง คลื่นไส้ ความดันโลหิตต่ำ หรือง่วงนอนตลอดเวลา และผลต่อการคลอด อาจไปกดการทำงานของมดลูก ทำให้การเปิดขยายของปากมดลูกเป็นไปได้ไม่ดี ระยะการคลอดยาวนานขึ้น และ 2) การไม่ใช้ยา เป็นกิจกรรมการพยาบาลที่เป็นบทบาทอิสระของการพยาบาลที่สามารถนำมาใช้ในการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ระยะรอคลอดได้ ซึ่งมีหลายวิธีได้แก่ เทคนิคการหายใจ การสัมผัส การลูบหน้าท้อง การฟังเพลง การนวดและการจัดท่าทาง เพื่อช่วยส่งเสริมความก้าวหน้าของการคลอด และจากการจัดท่านี้ทำให้สตรีตั้งครรภ์ มีอาการปวดหลังและปวดเมื่อยตามร่างกาย ผู้จัดทำโครงการจึงนำหมอนหลอดกาแฟมาช่วยในการจัดท่า เพื่อลดอาการปวดหลังและปวดเมื่อยร่างกายในระยะรอคลอดสำหรับสตรีตั้งครรภ์ระยะปากมดลูกเปิดน้อย เพื่อให้สตรีตั้งครรภ์มีทางเลือกในการบรรเทาปวด โดยไม่ใช้ยาที่หลากหลายมากขึ้น ผลการศึกษา • ระยะเวลาดำเนินการ: วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554 คะแนนความปวดของกลุ่มเป้าหมาย ก่อนและหลังใช้หมอนหลอดกาแฟ จำนวนและร้อยละของกลุ่มเป้าหมาย เกี่ยวกับการใช้หมอนหลอดกาแฟ กลุ่มเป้าหมาย: สตรีตั้งครรภ์ครบกำหนดจำนวน 30 คน ที่มีส่วนนำทารกเป็นศีรษะ, ปากมดลูก เปิด 0-3 cm., มีอาการเจ็บครรภ์คลอด , มีอาการปวดหลังจากการจัดท่า, มดลูก หดรัดตัวน้อยกว่า หรือเท่ากับ 10 นาที และต้องการที่ใช้หมอนหลอดกาแฟ • วิธีทำหมอนหลอดกาแฟ ข. ทำปลอกหมอนหมอนหลอดกาแฟขนาด 30 x40 cm. บรรจุหลอดกาแฟให้เต็ม ค. สวมปลอกหมอนก่อนนำไปใช้ ก. หลอดกาแฟตัดยาว 1 cm. ภาพที่ 1 การทำหมอนหลอดกาแฟ เปรียบเทียบความแตกต่างคะแนนเฉลี่ย (X) ความปวดก่อนและหลังใช้หมอนหลอดกาแฟ ใช้หมอนหลอดกาแฟหนุนรองบริเวณหลัง ในท่านั่งและท่านอน หมอนจะโค้งตามสรีระของหลังทำให้ลดอาการปวดได้ ค่าคะแนนต่ำสุด สูงสุด และค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย ภาพที่ 2 การจัดท่าสำหรับท่านั่ง และท่านอน • ข้อสรุป 1. หลังใช้หมอนหลอดกาแฟคะแนนความปวดหลังการใช้ลดลง คิดเป็นร้อยละ 96.67 และ คะแนนความปวดหลังการใช้หมอนหลอดกาแฟเท่าเดิม คิดเป็นร้อยละ 3.33 2. ค่าเฉลี่ยคะแนนความเจ็บปวด พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความเจ็บปวดก่อนการใช้หมอนหลอดกาแฟเท่ากับ 6.2 + 5.52 และค่าเฉลี่ยคะแนนความเจ็บปวดหลังการใช้หมอนหลอดกาแฟเท่ากับ 3.5 + 2.93 ค่าเฉลี่ยผลต่างระหว่างคะแนนความเจ็บปวดก่อนและหลังการใช้หมอนหลอดกาแฟเท่ากับ 2.7 3. กลุ่มเป้าหมายที่ได้ใช้หมอนหลอดกาแฟให้คะแนนความพึงพอใจคะแนนเต็ม 100 มีค่าเฉลี่ยที่ 81.07 คะแนน 4. กลุ่มเป้าหมายใช้หมอนหลอดกาแฟแล้ว ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าลดอาการปวดหลังได้ บรรเทาอาการปวดหลังได้ คลายอาการปวดหลังได้บ้าง ผ่อนคลาย สบายขึ้น หลังไม่ร้อน รองแล้วไม่ขยับ คิดเป็นร้อยละ 96.67 และรู้สึกปวดเหมือนเดิม คิดเป็นร้อยละ 3.33 5. กลุ่มเป้าหมาย ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า หมอนหลอดกาแฟดีกว่าหมอนทั่วไป เพราะหมอนหลอดกาแฟนิ่มกว่าและนุ่มกว่าหมอนทั่วไป ใช้แล้วผ่อนคลาย สุขสบายมากขึ้น คล้ายกับนวดหลังและช่วยลดอาการปวดหลังได้ดีกว่าหมอนทั่วไป ข้อเสนอแนะ 1. จากการวิเคราะห์นวัตกรรม การใช้หมอนหลอดกาแฟ พบว่าสามารถลดอาการปวดหลังได้ เนื่องจากคล้ายกับการนวดหลัง จึงเสนอแนะให้นำไปใช้ในผู้ป่วยกลุ่มอื่นที่มีอาการปวดหลังจากการนอนนานๆ เช่น กลุ่มที่ถูกจำกัดการเคลื่อนไหวให้นอนพักเฉพาะที่เตียง และกลุ่มอัมพฤกษ์ อัมพาต 2. หมอนหลอดกาแฟช่วยในการลดปวดได้ แต่หมอนควรมีขนาดใหญ่และเล็ก เพื่อให้สตรีตั้งครรภ์สามารถเลือกใช้ได้ ตามความชอบและความเหมาะสมในแต่ละบุคคล ปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จ มีความตั้งใจที่จะแสวงหาวิธีการใหม่ ๆ ในการดูแลผู้รับบริการ ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหาร ได้รับความร่วมมือจากเพื่อนร่วมงานในการดำเนินงาน