1.22k likes | 3.6k Views
บทบาทพยาบาลในการดูแลผู้สูงอายุ. โดย นางสาววราภรณ์ ดีกัลลา ( พยาบาล ) นางกุลนิดา รัตนนลิน (หัวหน้าหอผู้ป่วย) หอผู้ป่วย 84 ปี ชั้น 9 ตะวันออก. ความหมายของผู้สูงอายุ. พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 หมายถึง บุคคลซึ่งมีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปและมีสัญชาติไทย
E N D
บทบาทพยาบาลในการดูแลผู้สูงอายุบทบาทพยาบาลในการดูแลผู้สูงอายุ โดย นางสาววราภรณ์ ดีกัลลา(พยาบาล) นางกุลนิดา รัตนนลิน (หัวหน้าหอผู้ป่วย) หอผู้ป่วย 84 ปี ชั้น 9 ตะวันออก
ความหมายของผู้สูงอายุความหมายของผู้สูงอายุ • พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 หมายถึง บุคคลซึ่งมีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปและมีสัญชาติไทย • องค์การสหประชาชาติ ให้ความหมายว่า ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปนับตามปีปฏิทินและถือเป็นข้อตกลงในวงการระหว่างประเทศ • สถาบันวิจัยประชากรและสังคมให้ความหมายว่า ผู้ที่มีอายุ 65 ปี ( สุชาดา ทวีสิทธิ์,2553 )
นักการศึกษา แบ่งเป็น • ผู้สูงอายุวัยต้น (early old age) อยู่ระหว่าง 65 – 74 ปี • ผู้สูงอายุวัยกลาง (middle old age) อายุระหว่าง 75 – 84 ปี • ผู้สูงอายุวัยปลาย (late old age) มีอายุ 85 ปีขึ้นไป
Eliopoulos&Charlotte,2005 • ผู้สูงอายุวัยต้น (young-old ) อยู่ระหว่าง 65 – 75 ปี • ผู้สูงอายุ (old) อายุระหว่าง 75 – 85 ปี • ผู้สูงอายุมาก (old- old ) มีอายุ 85 – 100 ปี • ผู้สูงอายุมากมาก ( very –old) มีอายุ มากกว่า100 ปี
ลักษณะของความสูงอายุ • ประกอบด้วย -เป็นสิ่งที่ปรากฏเสมอ - ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง - เป็นความเสื่อมที่เกิดจากปัจจัยภายใน
ด้านจิตใจที่เกี่ยวข้องกับความสูงอายุด้านจิตใจที่เกี่ยวข้องกับความสูงอายุ • พฤติกรรมที่แสดงออกส่วนหนึ่งอาจเป็นผลจากการที่วัยนี้ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างทั้งจากภาวะสุขภาพที่เสื่อมถอยลง คนชรา คือ ผู้ที่กระบวนการคิดถึงอนาคตข้างหน้าเหี่ยวเฉาลง จู้จี้ขี้บ่น หงุดหงิด กังวลง่ายเรียกร้องความสนใจ ชีวิตล้มเหลว ผิดหวัง หวาดหวั่นต่อความตาย
สังคมผู้สูงอายุ(Aging Society) • องค์การสหประชาชาติ ให้คำนิยามว่า ประเทศใดมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นสัดส่วนเกิน 10% หรือ อายุ 65 ปี ขึ้นไปเกิน 7% ของประชากรทั้งประเทศ ถือว่าประเทศนั้นเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ • ประเทศไทยเข้าสู่สังคผู้สูงอายุ ตั้งแต่ ปี 2548
ภาระจากโ รค ความเจริญก้าวหน้า ทางโทคโนโลยี/วิทยาการ ต้องการบริการสุขภาพ สังคมผู้สูงอายุ เศรษฐกิจ บริการสังคม อัตราการเกิดลดลง ภาระพึ่งพิง
ปัญหาสำคัญในผู้สูงอายุปัญหาสำคัญในผู้สูงอายุ • นอนไม่หลับในเวลากลางคืน • มีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ • การพลัดตกหกล้ม • ปัญหาอื่นๆ เช่น Delirium ภาวะท้องผูก เป็นต้น
บทบาทพยาบาลในการดูแลผู้สูงอายุบทบาทพยาบาลในการดูแลผู้สูงอายุ พยาบาลมีบทบาทในการดูแลผู้สูงอายุด้วยกันหลายอย่าง ที่สำคัญ ได้แก่ • ผู้ช่วยฟื้นคืนสภาพ (Healer) ในระยะแรกจะเน้นการดูแลความสุขสบายและความเข้าใจ แต่เมื่อความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามา จึงเกิดการดูแลแบบองค์รวม ทำให้ผู้ดูแลต้องตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างกาย จิต จิตวิญญาณ และการฟื้นหาย บทบาทของพยาบาลจึงชัดเจนขึ้นในเรื่องการฟื้นฟูสภาพให้ผู้ป่วยมีสุขภาพที่ดี
บทบาทพยาบาลในการดูแลผู้สูงอายุบทบาทพยาบาลในการดูแลผู้สูงอายุ 2. ผู้ดูแล (Caregiver) ในบทบาทนี้พยาบาลต้องใช้ความรู้ทางทฤษฎีมาประยุกต์ กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้สูงอายุ ส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ ตลอดจนติดตามความรู้ความก้าวหน้าและนำมาตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยแต่ละคน
บทบาทพยาบาลในการดูแลผู้สูงอายุบทบาทพยาบาลในการดูแลผู้สูงอายุ • เป็นผู้ให้ความรู้ (Educator) พยาบาลสูงอายุจะต้องเตรียมความพร้อมที่จะช่วยแลกเปลี่ยนความรู้และสะท้อนถึงความชำนาญในการดูแลผู้สูงอายุ การเป็นผู้มีความรู้ จะหมายถึงด้านวิชาชีพจนถึงความรู้ทั่วไป เช่น ความเป็นผู้สูงอายุ พยาธิสรีรภาพ ยาที่ใช้ในผู้สูงอายุ แหล่งทรัพยากรที่จำเป็น ซึ่งพยาบาลจะต้องใช้เทคนิคการสื่อสาร การฟัง การมีปฏิสัมพันธ์ การทำให้กระจ่าง การเป็นพี่เลี้ยง การตรวจสอบ และการประเมินผล
บทบาทพยาบาลในการดูแลผู้สูงอายุบทบาทพยาบาลในการดูแลผู้สูงอายุ • เป็นผู้พิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุ (Advocator) การพยาบาลผู้สูงอายุผู้พิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุ รวมถึงการช่วยให้ผู้สูงอายุมีสิทธิมีเสียง ได้รับบริการความสะดวกจากชุมชนจากผลประโยชน์ที่ผู้สูงอายุควรจะได้รับ เช่น สิทธิในการรับบริการทางสุขภาพและสังคมเท่าเทียมกับคนอื่นๆ หรือสิทธิที่ควรได้รับการคุ้มครองจากผู้แสวงหาผลประโยชน์จากผู้สูงอายุในรูปแบบต่างๆ
บทบาทพยาบาลในการดูแลผู้สูงอายุบทบาทพยาบาลในการดูแลผู้สูงอายุ • ผู้พัฒนา (Innovator) การพยาบาลผู้สูงอายุมีความจำเพาะ ดังนั้นโอกาสในการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ และนำมาซึ่งรูปแบบในการดูแลที่แตกต่างกัน ผู้นำของการเปลี่ยนแปลง พยาบาลควรตระหนักถึงความพยายามในการที่จะทดลองปฏิบัติเพื่อให้เกิดการพัฒนาการปฏิบัติพยาบาลใหม่ และมีแนวทางซึ่งขึ้นอยู่กับความเป็นจริง บทบาทนี้จึงเป็นบทบาทของผู้ค้นคิดและภาวะผู้นำ
นอนไม่หลับในเวลากลางคืนนอนไม่หลับในเวลากลางคืน 1. ใช้เทคนิคและการบำบัดดังนี้ • ตื่นนอนให้เป็นเวลาในแต่ละวัน • งดการใช้สารกระตุ้นระบบประสาท เช่น กาแฟ บุหรี่ สุรา เป็นต้น • หลีกเลี่ยงการงีบเวลากลางวันเข้านอนเมื่อรู้สึกง่วงจริงๆ • ใช้ที่นอนสำหรับการนอนเท่านั้น • ลุกจากที่นอนเมื่อไม่สามารถหลับได้ใน 20-30 นาที แล้วกลับมานอนใหม่เมื่อรู้สึกง่วง 2. ให้รับประทานอาหารจากธรรมชาติที่มี L-tryptophan ซึ่งเป็น Natural sedative พบในโปรตีนจากพืชและสัตว์ จึงแนะนำให้ผู้สูงอายุดืมน้ำเต้าหู้ก่อนนอน
นอนไม่หลับในเวลากลางคืนนอนไม่หลับในเวลากลางคืน 3. แนะนำผู้สูงอายุฝึกการผ่อนคลายด้วยวิธีต่างๆ เช่น ฟังเพลงที่ทำให้ รู้สึกผ่อนคลาย หรือสวดมนตร์ เป็นต้น 4. จัดห้องนอนให้เงียบ เพราะเสียงจะกระตุ้นให้ตื่นตัว ขัดขวางการนอน หลับ ปรับอุณหภูมิห้องให้สบาย 5. ให้ผู้สูงอายุได้ผึ่งแดด ได้มีการศึกษาวิจัยโดยนำผู้สูงอายุที่เป็นโรค สมองเสื่อมไปตากแดด 2 ชั่วโมง พบว่าทำให้ช่วงเวลานอนยาวขึ้น 6. อย่าดื่มน้ำมากในตอนเย็นและค่ำ หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์และอาหารที่ มีคาเฟอีน เพราะมีฤทธิ์ในการขับปัสสาวะ และกระตุ้นระบบประสาท
อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ • ช่วยสนับสนุนให้ผู้สูงอายุขับถ่ายปัสสาวะได้สะดวก ได้แก่ ปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้แสงสว่างเพียงพอ พื้นสะอาด ไม่ลื่น มีราวเกาะเดิน หากไปห้องน้ำไม่ได้อาจจะหาหม้อนอน กระโถน กระบอกปัสสาวะ หรือเก้าอี้นั่งสำหรับขับถ่ายไว้ใช้สะดวก • ใช้เทคนิคช่วยได้แก่ - ขับถ่ายให้เป็นเวลา กระตุ้นให้ขับถ่ายทุก 2 ชั่วโมง หากสามารถ ทำได้ให้เพิ่มเวลาเป็นทุก 3-4 ชั่วโมง - กระตุ้นให้ดื่มน้ำวันละ 1.5-2 ลิตร และจำกัดน้ำหลัง 18 นาฬิกา - ฝึกกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานโดยใช้เทคนิค Kegel exercise ช่วยลด ปัญหา Stress incontinence
การพลัดตกหกล้ม การป้องกันการพลัดตกหกล้ม 1. ประเมินภาวะสุขภาพ โดยการซักประวัติและตรวจร่างกายเพื่อหาสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับการหกล้ม เช่น การมองเห็น การได้ยิน เป็นต้น 2. ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุให้แข็งแรงได้แก่ ด้านโภชนาการ ระวังผลข้างเคียงของยา และเสริมสร้างความมั่นคงให้กับผู้สูงอายุ 3. จัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย โดยแก้ไขสาเหตุภายนอกที่ทำให้หกล้มง่าย เช่น แสงสว่างที่เพียงพอ พื้นไม่มีลวดลาย ไม่ลื่น ไม่ควรเป็นพื้นต่างระดับ ขั้นบันไดเหมาะสม และควรมีราวยึดหรือที่จับเกาะบริเวณบันได
Derilium 1. ประเมินอาการและอาการแสดง ควรประเมินความผิดปกติได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก เพื่อให้สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้ทัน 2. จัดหาอุปกรณ์ที่ช่วยในเรื่องความจำ เช่น นาฬิกา ปฏิทิน รูปครอบครัว 3. ดูแลให้ผู้สูงอายุมีแว่นตา หรือมีเครื่องช่วยฟัง เพื่อให้การรับความรู้สึกทางการมองเห็นและการได้ยินถูกต้อง 4. จัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบสงบ แสงสว่างเพียงพอไม่จ้าหรือมืดเกินไป
Derilium 5. บอกหรืออธิบายทุกครั้งว่าจะทำอะไร เพื่ออะไร 6. หลีกเลี่ยงการผูกยึดผู้ป่วย เพราะจะยิ่งทำให้ผู้ป่วยกระสับกระส่ายมากขึ้น 7. พยาบาลที่เข้ามาดูแลควรเป็นผู้ที่ผู้ป่วยคุ้นเคย เพื่อป้องกันอาการสับสน 8. ระวังผู้ป่วยทำอันตรายตนเองและผู้อื่น
ภาวะท้องผูก 1. แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหาร เพราะจะช่วยให้อุจจาระอ่อนตัว และกระตุ้นการขับถ่าย 2. แนะนำให้ดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้วเป็นอย่างน้อย การดื่มน้ำส้ม น้ำมะนาว น้ำลูกพรุน ก็ช่วยให้อุจจาระอ่อนตัว 3. แนะนำให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ช่วยให้ลำไส้มีการเคลื่อนไหวที่ดี ทำให้การขับถ่ายสม่ำเสมอ 4. ฝึกการขับถ่าย โดยกำหนดเวลาที่แน่นอนในแต่ละวัน ครั้งละ 10 นาที เพื่อนั่งถ่ายอุจจาระ เช่น เวลาตื่นนอนตอนเช้า หรือ 30 นาทีหลังอาหารเช้า
Thank you For Your Attention