1 / 16

ตำบลสุขภาพดี (ด้านส่งเสริมสุขภาพ)

ตำบลสุขภาพดี (ด้านส่งเสริมสุขภาพ). นางขอขวัญ ธนเอกพงษ์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ.

imelda
Download Presentation

ตำบลสุขภาพดี (ด้านส่งเสริมสุขภาพ)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ตำบลสุขภาพดี(ด้านส่งเสริมสุขภาพ)ตำบลสุขภาพดี(ด้านส่งเสริมสุขภาพ) นางขอขวัญ ธนเอกพงษ์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ

  2. ตำบลสุขภาพดี หมายถึง ตำบลที่มีระบบและกลไกการบริหารจัดการการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพ ควบคุมป้องกันโรค และเฝ้าระวังภาวะสุขภาพของประชาชนตามชุดสิทธิประโยชน์ตามกลุ่มวัย อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล โดยวัดจากเกณฑ์คุณลักษณะตำบลสุขภาพดี 5 ด้าน ครอบคลุม 5 กลุ่มวัย เป้าหมาย : ร้อยละ 20 ของตำบลในแต่ละอำเภอ

  3. เกณฑ์คุณลักษณะ 5 ด้านพื้นฐาน ตำบลสุขภาพดี

  4. คุณลักษณะที่ 1 มีภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานฯ 1.1 การมีคำสั่งคณะกรรมการ ประกอบด้วย ตัวแทนจาก 3 ภาคส่วนดังนี้ - ภาครัฐ (เช่น รพสต. , PCU , โรงเรียน เป็นต้น) - ท้องถิ่น (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายในตำบล - ภาคประชาชน (อสม./ผู้นำชุมชน/องค์กรพัฒนาเอกชน/องค์กรศาสนา) 1.2 มีรายงานการประชุมของคณะกรรมการฯ อย่างน้อยไตรมาส ละ 1 ครั้ง 1.3 นำผลการวิเคราะห์สถานการณ์ มากำหนดปัญหาและแนวทางแก้ไขมาใช้ในการดำเนินงาน 1.4 มีการมอบหมายผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานฯ โดยประธานคณะกรรมการ เช่น นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือผู้มีอำนาจสูงสุดในตำบลเป็นประธาน

  5. คุณลักษณะที่ 2 มีการจัดการข้อมูล 2.1 มีข้อมูลในด้านปัจเจกบุคคล ระบบบริการสุขภาพ สถานะสุขภาพในระดับชุมชน 2.2 มีการวิเคราะห์ข้อมูลในด้านปัจเจกบุคคล ระบบบริการสุขภาพ สถานะสุขภาพในระดับชุมชน 2.3 มีการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาด้านส่งเสริมสุขภาพและควบคุมป้องกันโรคในระดับพื้นที่ 2.4 มีทีมปฏิบัติการช่วยเหลือภาวะฉุกเฉิน/ภาวะวิกฤตระดับตำบล เช่น SRRT, MCATT, OSCC ฯลฯ

  6. คุณลักษณะที่ 3 มีการจัดทำแผนงานโครงการและประเมินผล 3.1 มีเป้าหมายและแผนปฏิบัติการงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน ควบคุมโรค และภัยสุขภาพ อย่าง น้อย 1 เรื่อง (ตามการจัดลำดับความสำคัญ) 3.2 มีปฏิทินการดำเนินงาน 3.3 มีปฏิบัติการร่วมกับท้องถิ่นและภาคประชาชน 3.4 มีผู้รับผิดชอบติดตามประเมินผลการดำเนินงาน 3.5 มีรายงานผลการดำเนินงาน

  7. คุณลักษณะที่ 4 มีการระดมทรัพยากร 4.1 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล อบต. มีการจัดสรรทรัพยากร เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน ควบคุมโรค และภัยสุขภาพ อย่างเป็นรูปธรรม 4.2 กองทุนหลักประกันสุขภาพ มีการจัดสรรทรัพยากร เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน ควบคุมโรค และ ภัยสุขภาพอย่างเป็นรูปธรรม

  8. คุณลักษณะที่ 5 มีผลสำเร็จจากการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันควบคุมโรค และเฝ้าระวังภาวะสุขภาพ มีผลสำเร็จจากการดำเนินงาน ตามกลุ่มวัย ดังนี้ 1. กลุ่มแม่และเด็ก 2. กลุ่มวัยเรียน 3. กลุ่มวัยทำงาน 4. กลุ่มวัยสูงอายุ 5. กลุ่มคนพิการและด้อยโอกาส

  9. ผลสำเร็จตำบลสุขภาพดี กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มแม่ 1. หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนหรือเท่ากับอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ร้อยละ 60 2. มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว อย่างน้อย 6 เดือน ร้อยละ 60 กลุ่มเด็ก 3. เด็กมีพัฒนาการสมวัย(อนามัย55) ร้อยละ 60 4. เด็กมีภาวะโภชนาการส่วนสูงตามเกเกณฑ์และรูปร่างสมส่วน ร้อยละ 60 5. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กผ่านเกณฑ์คุณภาพ อย่างน้อย 1 แห่งต่อตำบล

  10. ผลสำเร็จตำบลสุขภาพดี กลุ่มวัยเรียน 1. เด็กวัยเรียน ได้รับการประเมิน SDQ โดยครู ร้อยละ 80 2. เด็กวัยเรียนได้รับการตรวจสุขภาพตามมาตรฐานโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง ร้อยละ 80 3. เด็กวัยเรียน มีฟันแท้ผุไม่เกินร้อยละ 40 4. เด็กวัยเรียน มีภาวะอ้วน (ไม่รวมเริ่มอ้วน) ไม่เกินร้อยละ 7 5. เด็กวัยเรียน มีภาวะเตี้ย (ไม่รวมค่อนข้างเตี้ย) ไม่เกินร้อยละ 5 6. โรงเรียนผ่านเกณฑ์โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับทอง ร้อยละ 50 ของโรงเรียนทั้งหมด

  11. ผลสำเร็จตำบลสุขภาพดี กลุ่มวัยทำงาน 1. ร้อยละ 85 ของรอบเอวในชายที่มีค่าปกติ 2. ร้อยละ 70 ของรอบเอวหญิงที่มีค่าปกติ 3. ร้อยละของประชากรกลุ่มปกติได้รับการคัดกรองหา DM/HT มากกว่าร้อยละ 90 4. มีชมรมสร้างสุขภาพที่มีกิจกรรมออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างต่อเนื่องในระดับตำบล อย่างน้อย 1 ชมรม 5. ร้อยละของหมู่บ้านมีการดำเนินงานลดหวาน มัน เค็ม ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 30 6. มีวัดส่งเสริมสุขภาพผ่านเกณฑ์คุณภาพระดับพื้นฐาน อย่างน้อย 1 แห่งต่อ ตำบล

  12. ผลสำเร็จตำบลสุขภาพดี กลุ่มวัยสูงอายุ 1. มีข้อมูลผู้สูงอายุตามกลุ่มศักยภาพตามความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน 2. มีการบริการคัดกรองภาวะซึมเศร้า/สมองเสื่อม 3. มีการดำเนินกิจกรรม 3อ 2ส (อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย/งดสูบบุหรี่ งดดื่มสุรา) 4. มีชมรมผู้สูงอายุผ่านเกณฑ์ชมรมผู้สูงอายุคุณภาพ 5. มีอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุในชุมชน อย่างน้อย 1 คน/หมู่บ้าน

  13. ผลสำเร็จตำบลสุขภาพดี กลุ่มวัยสูงอายุ (ต่อ) 6. มีบริการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้านที่มีคุณภาพ (Home health Care) โดยบุคลากรสาธารณสุข 7. มีบริการส่งเสริม ป้องกันทันตสุขภาพในระดับตำบล 8. มีระบบการดูแลผู้สูงอายุ กลุ่มที่ 2 (ติดบ้าน) และผู้สูงอายุ กลุ่มที่ 3 (ติดเตียง) 9. มีบริการดูแลด้านสังคม จิตใจในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า/สมองเสื่อม 10.มีกิจกรรมดูแลผู้สูงอายุในชุมชนทุกกลุ่มโดยการดำเนินการ/สนับสนุนขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น อย่างน้อย 1 กิจกรรม

  14. ผลสำเร็จตำบลสุขภาพดี กลุ่มคนพิการ 1. คนพิการได้รับการขึ้นทะเบียนคนพิการตามกฎหมาย มากกว่าร้อยละ 80 2. คนพิการด้านการเคลื่อนไหว ได้รับกายอุปกรณ์ และช่วยให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันในสังคมได้ มากกว่า ร้อยละ 30 3. คนพิการได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ และพัฒนาทักษะกายใจ ร้อยละ 80 4. คนพิการที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ได้รับการติดตามเยี่ยมบ้าน(Home Health Care) โดยบุคลากรด้านสาธารณสุข อย่างน้อย ปีละ 2 ครั้ง ร้อยละ 80 5. คนพิการทุกประเภทมีผู้ดูแลในครอบครัว/ชุมชน 6. มีบริการดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทั้งในหน่วยบริการและ/หรือในชุมชน อย่างน้อย 1 รูปแบบ

  15. เงื่อนไข - ทุกตำบลดำเนินการพัฒนาไปพร้อมๆกันทุกแห่ง - ตำบลที่มีผลการประเมินอย่างน้อย ร้อยละ 80 คือ ได้คะแนน 40 คะแนนขึ้นไปถือว่าผ่านเกณฑ์ - คัดเลือกตัวแทนตำบลที่ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 20 ของตำบลในอำเภอ ส่งให้จังหวัดสุ่มประเมินเพื่อรับการประเมินรับรอง - ผลคะแนนที่ได้จากตำบลที่เป็นตัวแทนถือเป็นคะแนนรวมของอำเภอ (ทั้งโรงพยาบาล และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ) - ตำบลที่ผ่านเกณฑ์จะมีการรับรองผลการดำเนินงานอย่างน้อย 2 ปี - สะสม ภายใน 5 ปีให้มีการดำเนินงานผ่านเกณฑ์ครบ ร้อยละ 100 ของตำบลในแต่ละอำเภอ

  16. สวัสดีค่ะ

More Related