60 likes | 222 Views
N. S. P. EU ห้ามใช้สาร DMF ในเฟอร์นิเจอร์และรองเท้าหนัง. การทุ่มตลาดสินค้าเมืองจีน. ปัญหาค่าลากสินค้าเข้าสนามบิน. MD Says.
E N D
N S P EU ห้ามใช้สาร DMF ในเฟอร์นิเจอร์และรองเท้าหนัง การทุ่มตลาดสินค้าเมืองจีน ปัญหาค่าลากสินค้าเข้าสนามบิน MD Says
ปัจจุบัน ภาวะตลาดเฟอร์นิเจอร์และเครื่องหนังในต่างประเทศมีอัตราการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น เฉพาะอย่างยิ่ง การแข่งขันด้านราคาและคุณภาพของสินค้า ทั้งจากสินค้าที่ผลิตในเอเชีย เช่น จีน,เวียดนาม และแถบตลาดยุโรป เช่น สหราชอาณาจักร,โปแลนด์,ฟินแลนด์,สวีเดนเนื่องจากสินค้าดังกล่าว จำเป็นต้องมีสารเคมีบางตัวสำหรับการฆ่าเชื้อราที่แฝงเข้ามาทำลายในช่วงอากาศชื้น ซึ่งบางครั้งสารเคมีเหล่านี้ก็นำอันตรายมาสู่ผู้คนได้เช่นกัน ทางสหภาพยุโรปก็เลยประกาศข้อห้ามเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่าสำนักข่าว eubusiness รายงานว่าเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2552 ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปมีมติเห็นชอบห้ามใช้สาร Dimethylfumarate (DMF) ในสินค้าเฟอร์นิเจอร์หนังและเครื่องหนังที่วางจำหน่ายในสหภาพยุโรปโดยสาร DMF เป็นสารที่บรรจุในถุงขนาดเล็กที่อยู่ในเฟอร์นิเจอร์และกล่องรองเท้า เพื่อฆ่าเชื้อราที่จะทำลายสินค้าเฟอร์นิเจอร์หนังและรองเท้าหนังในช่วงการขนส่งและการเก็บรักษาในที่มีอากาศชื้น ซึ่งปัจจุบันผู้ผลิตของยุโรปถูกห้ามใช้สารดังกล่าวแล้ว แต่ผู้ผลิตจากต่างประเทศยังได้รับอนุญาตให้ใช้สารดังกล่าวในสินค้าที่ส่งออกมายุโรป แต่หลังจากที่พบว่าผู้บริโภคในฝรั่งเศส ฟินแลนด์ โปแลนด์ สวีเดน และสหราชอาณาจักร ที่ถูกหรือจับต้องสารดังกล่าว จะมีปัญหาสุขภาพอย่างรุนแรง ก่อให้เกิดการระคายเคือง เช่น อาการคันผิวหนัง ระคายเคือง ผิวแดงไหม้ และในบางกรณีเกิดอาการหายใจติดขัดคณะกรรมาธิการยุโรปที่ดูแลผู้บริโภคจึงได้เสนอเรื่องเข้าที่ประชุมประเทศสมาชิกเป็นการเร่งด่วน และจะมีผลครอบคลุมประเทศสมาชิกทุกประเทศ ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการฯ จะเสนอร่างต่อรัฐสภาและสภายุโรปเพื่อให้ความเห็นชอบขั้นสุดท้ายต่อไป ซึ่งเมื่อมีผลใช้บังคับแล้วสินค้าที่วางจำหน่ายในตลาดยุโรปจะไม่สามารถใช้สารดังกล่าวได้ ส่วนสินค้าที่วางขายในปัจจุบันก็จะถูกเรียกเก็บทั้งหมดทันทีทั่วยุโรปดังนั้น ผู้ประกอบการไทยควรติดตามและเตรียมการผลิตที่ไม่ใช้สาร DMF ในสินค้าดังกล่าวเพื่อมิให้เกิดผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าไปยุโรป หากพบว่ามีปัญหาก็สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ www.snp.co.th หรือโทรศัพท์สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 02-333-1199 # 102 ติดต่อ คุณปรีชาญ เงินกระโทก ฝ่ายการตลาด S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก
จากประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2552 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 14 มกราคม 2552 เป็นที่ชัดเจนยิ่งขึ้นว่าสินค้าผ้าทอทำด้วยฝ้ายและผ้าทอที่ทำด้วยเส้นใยสั้น โพลีเอสเตอร์ ที่มีแหล่งกำเนิดจากสาธรณรัฐประชาชนจีนว่า มีพิกัดอัตราอากรประเภทย่อยที่ 5208.11.00000 และ 5208.12.00000 และ 5513.11.00000 โดยระบุ ชนิด/เบอร์ , จำนวนเส้นด้ายยืนและจำนวนเส้นด้ายพุ่ง/นิ้ว และหน้ากว้าง (นิ้ว) หากผู้ประกอบการนำเข้าผู้ใดมีคุณสมบัติตรงตามประกาศนี้ ก็ต้องชำระอากรเพิ่มเติมจากปกติอีกซึ่งเรียกอากรนี้ว่า อากรเพื่อการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนสินค้าผ้าทอที่ทำด้วยฝ้ายและผ้าทอที่ทำด้วยเส้นใยสั้นโพลีเอสเตอร์ ที่มีแหล่งกำเนิดเกิดจากสาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งผลิตจาก 1. Weiqiao Textile Company Limited ในอัตราร้อยละ 7.76 ของราคา ซี.ไอ.เอฟ.(C.I.F.) 2. ผู้ผลิตรายอื่นในอัตราร้อยละ 10.01 ของราคา ซี.ไอ.เอฟ.(C.I.F.) ทั้งนี้มีผู้ประกอบการนำเข้าที่มีการนำเข้าประมาณเดือนกันยายน 2551 ได้ถูกเรียกเก็บอากรดังกล่าวไว้แล้วหากสินค้าดังกล่าวไม่เข้าข่ายที่ระบุไว้ตามประกาศฉบับที่ 2 พ.ศ. 2552 ท่านสามารถไปขอคืนอากรที่ชำระไว้ในส่วนของการทุ่มตลาดฯ ได้ ณ ท่าที่นำเข้าไว้ ได้ตลอดเวลาทำการของกรมศุลกากร ทั้งนี้หากผู้ประกอบการไม่พอใจกับคำวินิจฉัยชั้นที่สุดของคณะกรรมการตามประกาศฉบับที่ 2 พ.ศ.2552 สามารถอุทธรณ์ต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่าประเทศได้ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คุณสธร เกิดบุญมาก/QMR /Tel. 02-333-1199 ต่อ 105 S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก
การส่งออกสินค้าออกนอกประเทศโดยผ่านทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมินั้น ค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งที่ผู้ประกอบการไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้เลยก็คือ ค่ากรรมกรลากสินค้าเข้าไปชั่งน้ำหนัก เพราะผู้ที่ได้รับอนุญาตให้นำสินค้าไปช่างได้นั้น จะถูกจำกัดอยู่เพียงแต่คนงานหรือเจ้าหน้าที่ของ Agent ที่ได้รับอนุญาตและมีบัตรที่ได้รับการอนุมัติจากการท่าอากาศยานเท่านั้น เมื่อไม่กี่วันมานี้ บริษัทฯได้รับการติดต่อเพื่อขอคำแนะนำมาจากผู้ประกอบการรายหนึ่ง ที่ได้รับผลกระทบจากค่ากรรมกร Load สินค้าที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ผู้ประกอบการรายนี้ได้เปิดเผยให้บริษัทรู้ว่า ทุกครั้งที่ผู้ประกอบการประสงค์จะทำการส่งออกสินค้าผ่านออกทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิจะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในส่วนของค่ากรรมกรยกสินค้าทุกครั้งไป ในมูลค่าที่ไม่เท่ากันและค่อนข้างสูงมากในแต่ละครั้ง (ประมาณ 400 – 500 บาท/รถกระบะ 1 คัน หรือ ประมาณ 800 – 900 บาท/รถ 6 ล้อ 1 คัน) ทำให้ผู้ประกอบการต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไว้เอง เพราะไม่สามารถเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากผู้ซื้อต่างประเทศได้ บริษัทฯจึงให้คำแนะนำไปว่าหากผู้ประกอบการไม่ต้องการมาแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่ไม่แน่นอนในลักษณะนี้ ผู้ประกอบการควรแจ้ง Forwarder หรือ Agent ไปเลยว่า ให้แจ้งค่าใช้จ่ายในส่วนนี้รวมไปกับค่า Freight ไปเลย (แล้ว Agent หรือ Forwarder จะเป็นผู้จัดหาคนงานมาให้เองเลย) เพราะถึงแม้ว่าจะยังต้องมาเสียค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เหมือนเดิม (ยังไงก็ต้องจ่ายอยู่ดี!!) แต่ก็ยังสามารถควบคุมให้ตัวเลขดังกล่าวคงที่ได้ หากผู้ประกอบการท่านใดต้องการคำแนะนำในส่วนนี้เพิ่มเติม กรุณาติดต่อเข้ามาได้ที่ คุณเฉลิม เนียมกลิ่น 02-333-1199 ต่อ 501 ได้ตลอดเวลาทำการ S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก
S สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพียง 1 เดียว N ในช่วง พ.ศ.2528 เป็นต้นมา สมัยที่ประเทศไทยมีนายกฯที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ทำให้ประเทศของเรามีเงินคงคลังมากมาย อาทิเช่น ยุคของพลเอก เปรม ติณนสูลานนท์ เป็นต้น ในช่วงนั้นรัฐบาลมีทีมเศรษฐกิจที่มีความเชี่ยวชาญ มีความสามารถที่สามารถเก็บสะสมเงินคงคลังไว้เป็นจำนวนมากส่งผลให้สภาพเศรษฐกิจของประเทศไทยดำเนินไปได้ด้วยดี มีความมั่นคง เมื่อเศรษฐกิจไทยมั่นคง รัฐบาลก็สามารถดำเนินนโยบายต่างๆได้อย่างคล่องตัว เช่น การส่งเสริมผู้ประกอบการที่นำเข้า และส่งออกให้สามารถใช้สิทธิประโยชน์ได้หลายประเภทในครั้งเดียว ยกตัวอย่างเช่น การขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ เเละ ในขณะเดียวกันก็สามารถขอชดเชยขณะส่งออกได้ เข้าสู่ยุคปัจจุบันที่รัฐบาลใช้จ่ายหมดไปกับโครงการประชานิยมจำนวนมาก ทำให้เงินคงคลังของรัฐน้อยลงจนกระทั่งหลายปีที่ผ่านมา รัฐบาลจึงเปลี่ยนนโยบายการให้สิทธิประโยชน์ เหลือเพียงให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้นำเข้า เเละส่งออกได้เพียงประเภทเดียวโดยให้ผู้ส่งออกเลือกรับสิทธิประโยชน์ได้เพียงอย่างเดียว ทั้งนี้ เพราะว่าทุกๆสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่มีการใช้นั้น รัฐบาลจะเป็นผู้ที่ต้องรับภาระในที่สุด P ต่อหน้า 2
หน้า 2 ด้วยความที่สิทธิประโยชน์ทางภาษี สามารถเลือกใช้ได้เพียงหนึ่งเดียว ดังนั้น ผู้ประกอบการควรจะมีความรู้ เเละความเข้าใจในการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อการตัดสินใจที่ถูกต้อง ผู้ประกอบการที่นำวัตถุดิบเข้ามา ผลิต เเละส่งออก ในขณะที่ส่งออกนั้น สามารถเลือกใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ตามมาตรา 19 ทวิเพื่อขอคืนภาษี หรือเลือกใช้ สิทธิการขอชดเชยขณะส่งออกก็ได้ ทั้งนี้ เนื่องจากอัตราอากรขาเข้านั้นได้ลดลงเรื่อยๆ เพราะประเทศไทยได้ไปทำสนธิสัญญา FTA กับประเทศต่างๆมากมาย ทำให้ภาษีลดลง เเละมีผลให้การขอคืนภาษีอาจจะได้น้อยกว่าการขอชดเชยก็เป็นได้ในกรณีนี้ เเต่ผู้ประกอบการบางรายไม่เคยตรวจสอบว่าของที่นำเข้านั้น อัตราภาษีเหลือเพียง 0% ไปเเล้ว ซึ่งการที่นำสินค้าที่มีอัตราภาษีเหลือเพียง 0% มาโดยการใช้สิทธิ BOI นั้น เป็นการใช้สิทธิซ้อนกัน เเละทำให้เสียสิทธิไปโดยใช้เหตุ สิทธิประโยชน์เหล่านี้เป็นเรื่องจำเป็นที่ผู้ประกอบต้องมีความรู้ เเละความเข้าใจ พิจารณาเเละตัดสินใจให้ดีในสภาพเศรษฐกิจเเบบนี้ หรือเพียงโทรศัพท์มาที่ 02-333-1199 เพียงท่านบอกข้อมูลก่อนการนำเข้า หรือส่งออก เพื่อที่เราจะได้ทำการตรวจสอบ เเละเปรียบเทียบให้ท่านอย่างรอบคอบก่อน เพื่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก