680 likes | 934 Views
ความก้าวหน้าของข้าราชการครูฯ การมีและเลื่อนวิทยฐานะ. ตำแหน่งและวิทยฐานะของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา. การมี วิทย ฐานะข้าราชการครูฯ (ปัจจุบัน) ชำนาญการ 266 , 093 คน 61.46% ชำนาญการพิเศษ 100, 818 คน 23.29% เชี่ยวชาญ 1 , 275 คน 0 . 29%
E N D
ความก้าวหน้าของข้าราชการครูฯความก้าวหน้าของข้าราชการครูฯ การมีและเลื่อนวิทยฐานะ
ตำแหน่งและวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งและวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
การมีวิทยฐานะข้าราชการครูฯ (ปัจจุบัน) ชำนาญการ 266,093 คน 61.46% ชำนาญการพิเศษ 100,818 คน 23.29% เชี่ยวชาญ 1, 275 คน 0.29% เชี่ยวชาญพิเศษ 2 คน 0.00% ไม่มีวิทยฐานะ 64,755 คน 14.96% รวม 432,942 คน 100.00%
มาตรา 54 การให้มีวิทยฐานะและการเลื่อนวิทยฐานะต้องเป็นไปตามมาตรฐานวิทยฐานะและ ผ่านการประเมินตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่ ก.ค.ศ. กำหนด
หลักเกณฑ์การประเมินวิทยฐานะ 1. ที่ ศธ 0206.3/ว 25 ลว. 29 ธ.ค. 48 2. ที่ ศธ 0206.3/ว 26 ลว. 30 ธ.ค. 48 3. ที่ ศธ 0206.2/ว 2 ลว. 29 ก.พ. 51 4. ที่ ศธ 0206.4/ว 17 ลว. 30 ก.ย. 52
ก.ค.ศ.กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ ตามหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ ศธ 0206.4/ว17 ลงวันที่ 30 กันยายน 2552
ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2552 เป็นต้นไป
ยกเลิกหลักเกณฑ์และวิธีการฯ ที่กำหนดไว้เดิม ว 25 ปี 2548 ว 26 ปี 2548 ว 2 ปี 2551
หลักเกณฑ์ 1. คุณสมบัติ 1.1 ดำรงตำแหน่ง/วิทยฐานะตามมาตรฐานวิทยฐานะ 1.2 ภาระงานขั้นต่ำ • ครูต้องมีภาระงานสอนขั้นต่ำ ตามที่ส่วนราชการกำหนด • ตำแหน่งอื่นต้องมีภาระงานเต็มเวลา 1.3 ปฏิบัติงานตามหน้าที่ ย้อนหลัง 2 ปี ติดต่อกัน นับถึงวันยื่นคำขอ
2. ผู้ขอฯ ต้องผ่านการประเมิน 3 ด้าน ดังนี้ ด้านที่ 1 ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ด้านที่ 2 ด้านความรู้ความสามารถ ด้านที่ 3 ด้านผลการปฏิบัติงาน
ด้านที่ 1 ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และ จรรยาบรรณวิชาชีพ (100 คะแนน) พิจารณาจาก • การมีวินัย • การประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี • การดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม • ความรักและศรัทธาในวิชาชีพ • ความรับผิดชอบในวิชาชีพ
ให้ผู้ขอฯ รายงานพฤติกรรมที่แสดงถึง ความเป็นผู้มีวินัย คุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ตามแบบ ก.ค.ศ.2 และรวบรวมเอกสารหลักฐานอ้างอิงไว้ที่สถานที่ปฏิบัติงาน เพื่อรอรับการประเมิน
เมื่อเขียนรายงานพฤติกรรมเมื่อเขียนรายงานพฤติกรรม ตามแบบ ก.ค.ศ. 2 แล้ว ให้นำเสนอผู้บังคับบัญชา/คณะกรรมการสถานศึกษา/คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อรับรองการเป็นผู้มีวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
หลักฐานอ้างอิง 1. สำเนาประวัติการรับราชการ (ก.พ.7) 2. วุฒิบัตร เกียรติบัตรฯลฯ เกี่ยวกับการมีวินัย และการมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างวินัยฯ 3. อื่น ๆ
ด้านที่ 2 ด้านความรู้ความสามารถ (100 คะแนน) ส่วนที่ 1 ความสามารถในการปฏิบัติงาน ตามหน้าที่ความรับผิดชอบ (60 คะแนน) ส่วนที่ 2 การพัฒนาตนเอง (40 คะแนน)
ให้ผู้ขอฯ รวบรวมเอกสารหลักฐาน เกี่ยวกับการพัฒนางานในหน้าที่ และการพัฒนา ตนเอง โดยเก็บไว้ที่สถานที่ปฏิบัติงานเพื่อรอรับ การประเมิน
ครูผู้สอน ส่วนที่ 1 การเป็นผู้มีความสามารถในการจัด การเรียนการสอน พิจารณาจาก - หลักสูตร - แผนการจัดการเรียนรู้ - สื่อ/นวัตกรรม - แฟ้มสะสมผลงานคัดสรร
ส่วนที่ 2 การพัฒนาตนเองเพื่อเพิ่มพูนความรู้ และทักษะในสาขาหรือกลุ่มสาระที่ รับผิดชอบ พิจารณาจาก 2.1 การศึกษาค้นคว้าหาความรู้ ด้วยวิธีการต่าง ๆ 2.2 ผลการทดสอบจากหน่วยงาน หรือสถาบันทางวิชาการ
2.3 การประมวลความรู้และการ นำไปใช้สอน 2.4 การให้บริการทางวิชาการ และวิชาชีพ
ด้านที่ 3 ด้านผลการปฏิบัติงาน (100 คะแนน) ส่วนที่ 1 ผลการพัฒนาคุณภาพ (60 คะแนน) - ผู้เรียน (ครู) - การบริหารจัดการสถานศึกษา (ผู้บริหาร) - การนิเทศการศึกษา (ศึกษานิเทศก์)
ครูพิจารณาจาก - ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน - ผลประเมินหรือผลการทดสอบ ระดับเขต/ประเทศ - ผลการพัฒนาผู้เรียนด้านอื่น ๆ - ปริมาณ คุณภาพและสภาพของงาน
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในสาขาวิชา/กลุ่มสาระ- การเรียนรู้ที่เสนอขอรับการประเมินของปีปัจจุบัน 1.2 ค่าทีเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในสาขาวิชา/ กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สอน 1.3 ผลการประเมินและหรือผลการทดสอบของ สาขาวิชา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สอนในระดับเขต/ ประเทศ
2. ผลการพัฒนาผู้เรียนด้านอื่น ๆ - ด้านสุขภาพ ร่างกาย - ด้านสติปัญญา - ด้านอารมณ์ - ด้านสังคม
3. ปริมาณงานและสภาพของงาน 3.1 ปริมาณงาน - จำนวนชั่วโมงที่สอนต่อสัปดาห์ - จำนวนกลุ่มสาระการเรียนรู้/ สาขาวิชา และระดับชั้นที่สอน - จำนวนผู้เรียนที่สอน - ปฏิบัติงานอื่น (ถ้ามี)
3.2 สภาพของงาน - นักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ - นักเรียนที่มีความหลากหลายทางเศรษฐกิจ/ วัฒนธรรม - สถานศึกษาตั้งอยู่ในพื้นที่ปกติ - สถานศึกษาตั้งอยู่ในพื้นที่ภูเขา หรือเกาะ - สถานศึกษาตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีลักษณะพิเศษ
โดยผู้ขอฯ ต้องรายงาน ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ตามแบบ ก.ค.ศ.3/1
ส่วนที่ 2 ผลงานทางวิชาการ ซึ่งเป็นรายงานการศึกษา ค้นคว้า หรือ ผลการวิจัย หรือผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ที่มีจุดมุ่งหมายในการแก้ปัญหาและหรือพัฒนา งานในหน้าที่ความรับผิดชอบ (40 คะแนน)
จำนวนผลงานที่เสนอขอรับการประเมินจำนวนผลงานที่เสนอขอรับการประเมิน - ชำนาญการพิเศษ ไม่น้อยกว่า 1 รายการ - เชี่ยวชาญ ไม่น้อยกว่า 2 รายการ (งานวิจัย อย่างน้อย 1 รายการ) - เชี่ยวชาญพิเศษ ไม่น้อยกว่า 2 รายการ (งานวิจัยและพัฒนา อย่างน้อย 1 รายการ)
การประเมินผลงานทางวิชาการ พิจารณาจาก 1. คุณภาพของผลงานทางวิชาการ (20 คะแนน) - ความถูกต้องตามหลักวิชาการ - ความสมบูรณ์ของเนื้อหาสาระ - ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ - การจัดทำ การพิมพ์และการจัดรูปเล่ม
2. ประโยชน์ของผลงานทางวิชาการ (20 คะแนน) - ประโยชน์ต่อผู้เรียน ครู บุคลากร- ทางการศึกษา การจัดการศึกษา หน่วยงานการศึกษา และชุมชน - ประโยชน์ต่อความก้าวหน้าทางวิชาการ และการเผยแพร่ในวงวิชาการ
3. คณะกรรมการประเมินมี 2 ชุด ชุดที่ 1 ประเมินด้านที่ 1 และด้านที่ 2 ชุดที่ 2 ประเมินด้านที่ 3
4. คณะกรรมการชุดที่ 1 - ประเมินด้านที่ 1 (ด้านวินัยฯ) และด้านที่ 2 (ด้านความรู้ความสามารถ) โดยให้ไปตรวจสอบและประเมิน ณ สถานศึกษา
ให้คณะกรรมการฯ บันทึกผลการประเมิน จุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา ลงในแบบประเมินด้วย ส่งผลการประเมินให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
5. คณะกรรมการชุดที่ 2 ตั้งจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. ให้ความเห็นชอบ (ผู้ขอ 1 ราย มีกรรมการประเมิน 3 คน) ประเมินด้านที่ 3 ทั้ง 2 ส่วน (ผลการพัฒนาคุณภาพฯ และผลงานทางวิชาการ)
เกณฑ์การตัดสิน เกณฑ์การตัดสิน
วิธีการ - การขอรับการประเมิน ให้ยื่นคำขอได้ตลอดปี รอบปีละ 1 ครั้ง - ให้ส่งคำขอพร้อมเอกสารหลักฐานด้านที่ 3 (ด้านผลการปฏิบัติงาน) จำนวน 4 ชุด - ผู้ที่จะเกษียณอายุราชการ ให้ยื่นคำขอก่อนจะเกษียณฯ ไม่น้อยกว่า 6 เดือน
- ให้ผู้ขอฯ สามารถพัฒนาผลงานด้านที่ 1 และด้านที่ 2 ได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ครั้งละ ไม่เกิน 3 เดือน หากไม่ผ่านถือว่า ไม่อนุมัติ - หากผ่านด้านที่ 1 และด้านที่ 2 จึงจะประเมินผลงานด้านที่ 3
- ผู้ขอฯ สามารถปรับปรุงผลงานด้านที่ 3 ทั้ง 2 ส่วน ได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ไม่เกิน 6 เดือน (ผลการประเมินต้องผ่านเกณฑ์จากกรรมการ ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 คน ) และครั้งที่ 2 ไม่เกิน 3 เดือน - หากส่งเกินเวลาอาจเสียสิทธิ์
การอนุมัติ - ไม่ก่อนวันที่ สพท. รับคำขอฯ - ถ้ามีการพัฒนาด้านที่ 1 หรือด้านที่ 2 หรือปรับปรุงด้านที่ 3 ให้อนุมัติไม่ก่อนวันที่ สพท./สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้รับหนังสือที่ส่งรายละเอียดในการพัฒนาหรือปรับปรุงครบถ้วนสมบูรณ์ครั้งหลังสุด
- ถ้าประเมินไม่แล้วเสร็จ ภายใน 1 ปี สพท./สำนักงาน ก.ค.ศ. ต้องแจ้งผู้ขอฯ ทราบ และเร่งรัด การดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะ - ต้องได้รับเงินเดือนห่างขั้นต่ำไม่เกิน 1 ขั้น - ต้องผ่านการพัฒนาก่อนการแต่งตั้ง ตามมาตรา 80 ด้วย (เฉพาะวิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ และวิทยฐานะเชี่ยวชาญ)
ผลการพิจารณาให้ถือเป็นอันสิ้นสุดผลการพิจารณาให้ถือเป็นอันสิ้นสุด
ปัจจุบันมีการประเมินวิทยฐานะปัจจุบันมีการประเมินวิทยฐานะ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด รวม 3 หลักเกณฑ์
2. ตามเกณฑ์พัฒนา หรือe -Training
3. ตาม ว 17 ปี 2552 (คำขอฯ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2552)
หน้าที่และความรับผิดชอบของ อ.ก.ค.ศ.ฯ
1. พิจารณาคุณสมบัติและเอกสาร หลักฐานของผู้ขอรับการประเมิน 2. พิจารณาคุณสมบัติและกลั่นกรอง ผลงานทางวิชาการ (วิทยฐานะเชี่ยวชาญ)
3. ตั้งคณะกรรมการประเมินชุดที่ 1 เพื่อประเมินด้านที่ 1 และด้านที่ 2 4. ตั้งคณะกรรมการประเมินชุดที่ 2 เพื่อประเมินด้านที่ 3
5. ให้คำปรึกษา แนะนำ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงาน 6. พิจารณาผลการประเมิน