710 likes | 1.05k Views
การสร้างและการหาประสิทธิภาพชุดการสอน วิชาเครื่องรับวิทยุ ตามหลักสูตร ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา พุทธศักราช 2545 (ปรับปรุง พ.ศ . 2546). นายสิทธิเดช กิตติวิริยะการ. ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาไฟฟ้า ภาควิชาครุศาสตร์ไฟฟ้า
E N D
การสร้างและการหาประสิทธิภาพชุดการสอน วิชาเครื่องรับวิทยุ ตามหลักสูตร ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา พุทธศักราช 2545 (ปรับปรุง พ.ศ.2546) นายสิทธิเดช กิตติวิริยะการ ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาไฟฟ้า ภาควิชาครุศาสตร์ไฟฟ้า บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ปีการศึกษา 2548 KMITNB- 2548 1
บทที่ 1 บทนำ 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา สรุปปัญหาหลักๆ เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนวิชาเครื่องรับวิทยุได้ดังต่อไปนี้ 1. หลักสูตรวิชาเครื่องรับวิทยุ ขาดรายละเอียดของเนื้อหาวิชา วิธีการสอน สื่อการเรียนการสอน ใบทดสอบ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ จึงทำให้แนวทาง การสอนและการวัดผลสัมฤทธิ์ของอาจารย์ ผู้สอนแตกต่างกันยังผลให้นักศึกษาได้รับเนื้อหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่เหมือนกัน KMITNB- 2548 2
บทที่ 1 บทนำ 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา สรุปปัญหาหลักๆ เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนวิชาเครื่องรับวิทยุได้ดังต่อไปนี้ 2.วิชาเครื่องรับวิทยุ ถ้ามีแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เป็นมาตราฐานเดียวกัน จะทำให้อาจารย์ผู้สอนมีการประเมินผลผู้เรียนว่าบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้และมีมาตรฐานเดียวกัน และการดำเนินการเรียนการสอนตรงตามหลักสูตร KMITNB- 2548 3
บทที่ 1 บทนำ 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา สรุปปัญหาหลักๆ เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนวิชาเครื่องรับวิทยุได้ดังต่อไปนี้ 3. ถ้าหากบางภาคเรียนมีการเปลี่ยนแปลงผู้สอน โดยผู้สอนที่เปลี่ยนแปลงเคยสอนวิชาเครื่องรับวิทยุมาก่อนหน้านี้แล้วสามารถกลับมาสอนวิชานี้ได้ โดยช่วยลดเวลาในการเตรียมการสอนวิชานี้ลงได้ KMITNB- 2548 4
บทที่ 1 บทนำ 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ซึ่งปัญหาต่างๆ ในการเรียนการสอนดังกล่าวมาในข้างต้นนี้ สามารถ นำเทคโนโลยีทางการศึกษาเข้ามามีบทบาทในการลดและแก้ไขปัญหา โดยวิธีหนึ่งที่สามารถแก้ปัญหาเรื่องเนื้อหามีความยากในการอธิบาย และการมีเวลาเรียนที่จำกัด คือ การใช้ชุดการสอนที่สร้างขึ้น เพื่อทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้โดยมีมาตรฐานเดียวกัน ทำให้ผู้เรียนเกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด KMITNB- 2548 5
บทที่ 1 บทนำ 1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.2.1เพื่อสร้างชุดการสอนวิชาเครื่องรับวิทยุ รหัสวิชา 2104-2209 ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา พุทธศักราช 2545 ( ปรับปรุง พ.ศ 2546 ) 1.2.2เพื่อคำนวณหาประสิทธิภาพของชุดการสอนที่สร้างขึ้น KMITNB- 2548 6
บทที่ 1 บทนำ 1.3 สมมุติฐานการวิจัย ชุดการสอนที่สร้างขึ้นใช้สอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์มาตราฐานที่กำหนด 80/80 และเมื่อสื่อการสอนนี้เสร็จจะได้เป็นสื่อกลางของทุก โรงเรียนจะได้ใช้เป็นสื่อกลางในการเรียนการสอนต่อไป KMITNB- 2548 7
บทที่ 1 บทนำ 1.4 ขอบเขตการวิจัย • 1.4.1ชุดการสอนภาคทฤษฎีเรื่องเครื่องรับวิทยุเอฟเอ็ม 1 ชุด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ วิชาเครื่องรับวิทยุ รหัสวิชา 2104-2209 โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ • 1.4.1.1คู่มือครู ประกอบด้วย แผนการสอน • เอกสารประกอบการเรียน • 1.4.1.2สื่อการสอน เป็นชุดสาธิตเครื่องรับวิทยุเอฟเอ็ม และ • โปรแกรมนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ ( Power Point ) KMITNB- 2548 8
บทที่ 1 บทนำ 1.4 ขอบเขตการวิจัย • 1.4.2ชุดการสอนภาคทฤษฎีเรื่องเครื่องรับวิทยุเอฟเอ็ม • มี 8 หัวข้อเรื่องเลือกทำ 4 หัวข้อเรื่องดังนี้ • 1.4.2.1เครื่องรับวิทยุเอฟเอ็ม • 1.4.2.2เครื่องรับวิทยุเอฟเอ็มแบบสเตอริโอมัลติเพล็กซ์ • 1.4.2.3 ภาคขยายเสียงเครื่องรับวิทยุ • 1.4.2.4 การปรับแต่งเครื่องรับวิทยุเอฟเอ็ม KMITNB- 2548 9
บทที่ 1 บทนำ 1.5 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย 1.5.1ประชากรเป็นนักศึกษาแผนกช่างอิเล็กทรอนิกส์ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพของสถานศึกษาเอกชน สำนักงานคณะกรรมการ อาชีวศึกษา 1.5.2กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาแผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ของโรงเรียนพระรามหกเทคโนโลยีลงทะเบียนวิชาเครื่องรับวิทยุ ในปีการศึกษา 2548 ภาคเรียนที่ 1จำนวน 45 คน KMITNB- 2548 10
บทที่ 1 บทนำ 1.6 ข้อตกลงเบื้องต้น 1.6.1 การวิจัยครั้งนี้ไม่คำนึงถึงความแตกต่างด้านเพศ อายุ สติปัญญา พื้นฐานทางเศรษฐกิจ สังคม อารมณ์ ช่วงเวลาเรียน และสถานที่ตั้งของสถานศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง 1.6.2การวิจัยครั้งนี้ถือว่ากลุ่มตัวอย่างมีพื้นฐานทางด้านการเรียนและได้ศึกษา ทำใบทดสอบ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเรียน ด้วยความตั้งใจที่เท่าเทียมกัน 1.6.3 การทดสอบเพื่อหาประสิทธิภาพ ให้ยึดถือชุดการสอนที่ผู้วิจัยได้จัดทำขึ้นเป็นหลัก 1.6.4การกรอกแบบสอบถามของผู้เชี่ยวชาญ ถือว่าได้กระทำไปตามดุลยพินิจจากความจริงใจ ซึ่งแสดงความรู้สึกอันแท้จริงของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ KMITNB- 2548 11
บทที่ 1 บทนำ • 1.7 คำจำกัดความที่ใช้ในการวิจัย 1.7.1ชุดการสอนหมายถึงชุดการสอนทฤษฎีประกอบคำบรรยาย หรือชุดการสอนสำหรับครูที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งประกอบด้วย คู่มือครู และสื่อการสอน คือ ชุดสาธิตเครื่องรับวิทยุเอฟเอ็มและโปรแกรมนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ 1.7.2ประสิทธิภาพของชุดการสอน หมายถึง ความสามารถของ นักศึกษาที่ได้จากชุดการสอนโดยการคำนวณในการทำใบทดสอบหลังบทเรียน และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 80/80 KMITNB- 2548 12
บทที่ 1 บทนำ • 1.7 คำจำกัดความที่ใช้ในการวิจัย 1.7.3เกณฑ์ที่กำหนด 80/80 หมายถึง การกำหนดระดับเกณฑ์ ประสิทธิภาพของชุดการสอนที่คาดหวังของผู้วิจัยที่กำหนดขึ้น โดยกำหนดดังนี้ 80 ตัวแรก หมายถึง ประสิทธิภาพทางการเรียนระหว่างเรียน โดยคิดจากคะแนนที่นักศึกษาสามารถทำใบทดสอบได้ถูกต้อง โดยคิดเฉลี่ยเป็นร้อยละ 80 ตัวหลัง หมายถึง ประสิทธิภาพทางการเรียนภายหลังการเรียนโดยคิดจากคะแนนที่นักศึกษาสามารถทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ถูกต้อง โดยคิดเฉลี่ยเป็นร้อยละ KMITNB- 2548 13
บทที่ 1 บทนำ • 1.7 คำจำกัดความที่ใช้ในการวิจัย 1.7.4คู่มือครู หมายถึง โครงสร้างการสอนหรือแผนการสอน ใบเนื้อหา ใบทดสอบ เฉลยใบทดสอบ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ และเฉลยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ 1.7.5ใบทดสอบ หมายถึง ใบทดสอบที่ให้นักศึกษากระทำหลัง บทเรียนจบในแต่ละหัวข้อเรื่อง เพื่อประเมินผลความก้าวหน้าทางการเรียนของนักศึกษา 1.7.6ชุดสาธิตเครื่องรับวิทยุเอฟเอ็ม หมายถึง ชุดสาธิตเครื่องรับวิทยุเอฟเอ็ม ที่แสดงการทำงานของแต่ละภาค โดยแสดงเป็นบล็อกไดอะแกรมย่อยๆ ในแต่ละส่วนสามารถวัดรูปสัญญาณทำให้เห็นภาพของสัญญาณจริงขณะทำงานได้ KMITNB- 2548 14
บทที่ 1 บทนำ • 1.7 คำจำกัดความที่ใช้ในการวิจัย 1.7.7 โปรแกรมนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ ( Power Point )หมายถึง สื่อที่ใช้ประกอบการสอนประเภทโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในลักษณะการนำเสนอประกอบการบรรยาย โดยอธิบายวงจรของ บล็อกไดอะแกรมย่อยภายในแต่ละภาคของชุดสาธิตเครื่องรับวิทยุเอฟเอ็ม โปรแกรมจะทำหน้าที่แสดงการทำงานของวงจรทีละขั้นอย่างต่อเนื่องทำให้เห็นภาพการทำงานของวงจรได้อย่างชัดเจนพร้อมทั้งคู่มือการใช้สื่อ 1.7.8แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ หมายถึงแบบทดสอบที่ให้นักศึกษากระทำภายหลังจากการเรียนด้วยชุดการสอนจบแล้วทุกเรื่อง KMITNB- 2548 15
บทที่ 1 บทนำ • 1.7 คำจำกัดความที่ใช้ในการวิจัย 1.7.9ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง คะแนนที่ได้จากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ในชุดการสอนเรื่องเครื่องรับวิทยุเอฟเอ็ม ในส่วนของทฤษฎีเท่านั้น 1.7.10นักศึกษา หมายถึง นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกช่างอิเล็กทรอนิกส์ โรงเรียนพระรามหกเทคโนโลยีที่ลงทะเบียนวิชาเครื่องรับวิทยุในปีการศึกษา 2548 ภาคเรียนที่ 1 จำนวน 45 คน 1.7.11ผู้เชี่ยวชาญ หมายถึง ผู้ที่มีประสบการณ์ด้านการสอน และมีวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี หรือผู้ที่มีประสบการณ์ ด้านการออกแบบสื่อการเรียนการสอน อย่างน้อย 5 ปี KMITNB- 2548 16
บทที่ 1 บทนำ 1.8 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ชุดการสอนวิชาเครื่องรับวิทยุ รหัสวิชา2104-2209ในหัวข้อเรื่อง หลักการของเครื่องรับวิทยุเอฟเอ็ม หลักการของเครื่องรับวิทยุเอฟเอ็มแบบ สเตอริโอมัลติเพล็กซ์ หลักการของภาคขยายเสียงเครื่องรับวิทยุการปรับแต่งเครื่องรับวิทยุเอฟเอ็ม ตามหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา พุทธศักราช 2545 ( ปรับปรุง พ.ศ 2546 ) จะส่งผลให้นักศึกษาลดจินตนาการในการเรียนหัวข้อเรื่องนี้ ทำให้นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสูงขึ้น บรรลุวัตถุประสงค์ตรงตามหลักสูตรที่ได้กำหนดไว้ลดปัญหาในการใช้สื่อการเรียนการสอน และลดเวลาในการเตรียม การสอนในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงผู้สอนในบางภาคเรียน KMITNB- 2548 17
บทที่ 2 ผลงานวิจัยและงานเขียนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เอกสารและงานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างชุดการสอนนี้ แบ่งออกเป็น 6 หัวข้อดังต่อไปนี้ 1. ความหมายของชุดการสอน 2. ประเภทและส่วนประกอบของชุดการสอน 3. ประโยชน์และคุณค่าของชุดการสอน 4. ขั้นตอนการสร้างชุดการสอน 5. หลักเกณฑ์ในการเลือกสื่อการเรียนการสอน 6. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง KMITNB- 2548 18
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัย เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดการสอน วิชาเครื่องรับวิทยุ เรื่อง เครื่องรับวิทยุเอฟเอฟเอ็ม โดยผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยและรวบรวมข้อมูลตามขั้นตอนดังนี้ 1. การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 2. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 3. การดำเนินการทดลองและเก็บข้อมูล 4. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล KMITNB- 2548 19
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรของการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาแผนกช่างอิเล็กทรอนิกส์ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 โรงเรียนพระรามหกเทคโนโลยี กลุ่มตัวอย่างได้จากการเลือกแบบเจาะจง ( Purposive Sampling ) จำนวน 45 คน KMITNB- 2548 20
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย สรุปตารางวิเคราะห์น้ำหนักความสำคัญของเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน KMITNB- 2548 21
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย สรุปตารางวิเคราะห์น้ำหนักความสำคัญของพฤติกรรมจากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน KMITNB- 2548 22
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย สรุปตารางวิเคราะห์หลักสูตรวิชาเครื่องรับวิทยุ KMITNB- 2548 23
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย สรุปจำนวนข้อสอบที่ต้องการ 50 ข้อ KMITNB- 2548 24
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ข้อสอบที่ต้องออกตามตารางหลักสูตรจำนวน 135 ข้อ KMITNB- 2548 25
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ตัวอย่าง แบบประเมินความสอดคล้องของข้อสอบ : วิชาเครื่องรับวิทยุ KMITNB- 2548 26
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ผลสรุปการประเมินความสอดคล้องของข้อสอบจากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ค่า IOC ที่ถือว่าใช้ได้ หรือข้อคำถามนั้นวัดได้ตรงต้องมีค่า 0.5 ขึ้นไป ผลสรุปการประเมินความสอดคล้องของข้อสอบจากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ได้ข้อสอบจำนวน 117 ข้อ KMITNB- 2548 27
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย โดยทั่วไปมักจะแบ่งกลุ่มผู้เข้าสอบออกเป็น 3 กลุ่ม แบ่งให้กลุ่มเก่งมีจำนวน 27 %กลุ่มกลาง 46 % และกลุ่มอ่อน 27 % ผลการวิเคราะห์ค่าความยากง่ายและค่าอำนาจจำแนกแบบทดสอบ 117 ข้อ ค่าความยากง่ายที่ใช้จะยึดเอาค่า P ระหว่าง 0.2 ถึง 0.8 ค่าอำนาจจำแนกที่ถือว่าจำแนกคนเก่งคนอ่อนได้นั้น D ต้องมีค่าตั้งแต่ 0.2 ขึ้นไป KMITNB- 2548 28
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ผลการวิเคราะห์ค่าอำนาจจำแนกตัวลวงของแบบทดสอบที่ผ่านเกณฑ์ 92 ข้อ ได้ข้อสอบที่ผ่าน ( ICQ ) และการทดลองใช้ จำนวน 92 ข้อ ครอบคลุมเนื้อหาตามตารางวิเคราะห์หลักสูตร KMITNB- 2548 29
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ผลการวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ 117 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นควรมีค่ามากกว่า 0.7 KMITNB- 2548 30
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย นำข้อสอบที่ผ่าน ( ICQ ) และการทดลองใช้ จำนวน 50 ข้อ ครอบคลุมเนื้อหาตามตารางวิเคราะห์หลักสูตร มาใช้เป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ นำข้อสอบที่ผ่าน ( ICQ ) และการทดลองใช้ ที่ครอบคลุมเนื้อหาตามตารางวิเคราะห์หลักสูตร มาใช้เป็นใบทดสอบ KMITNB- 2548 31
บทที่ 4 ผลของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้สร้างชุดการสอน วิชาเครื่องรับวิทยุ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง และหาประสิทธิภาพของชุดการสอนที่สร้างขึ้น โดยชุดการสอนนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วนด้วยกันคือ 1.ชุดการสอน ซึ่งประกอบด้วย คู่มือครู และสื่อการสอน คือ ชุดสาธิตเครื่องรับวิทยุเอฟเอ็มและโปรแกรมนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ 2.เอกสารประกอบการสอน ได้แก่ เอกสารสำหรับนักเรียน ซึ่งประกอบด้วย ใบเนื้อหา ใบทดสอบและแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ KMITNB- 2548 32
บทที่ 4 ผลของการวิจัย เอกสารประกอบการเรียนวิชาเครื่องรับวิทยุ คู่มือครู วิชาเครื่องรับวิทยุ KMITNB- 2548 33
บทที่ 4 ผลของการวิจัย แผงสาธิตเครื่องรับวิทยุเอฟเอ็ม KMITNB- 2548 34
บทที่ 4 ผลของการวิจัย โปรแกรมนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ KMITNB- 2548 35
บทที่ 4 ผลของการวิจัย แสดงส่วนประกอบของชุดการสอน KMITNB- 2548 36
บทที่ 4 ผลของการวิจัย ผลของการหาประสิทธิภาพของชุดการสอนจากใบทดสอบหลังเรียนแต่ละหัวข้อเรื่อง KMITNB- 2548 37
บทที่ 4 ผลของการวิจัย ผลของการหาประสิทธิภาพของชุดการสอนจากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ KMITNB- 2548 38
บทที่ 4 ผลของการวิจัย ผลของการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของชุดการสอน จากการหาค่าของประสิทธิภาพของชุดการสอน วิชาเครื่องรับวิทยุ ที่ผู้วิจัยได้สร้างที่ มีประสิทธิภาพ 82.77/81.29 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 KMITNB- 2548 39
บทที่ 4 ผลของการวิจัย ผลของการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของชุดการสอน จากผลการวิเคราะห์ข้อมูล จึงสามารถจะสรุปเป็นค่าประสิทธิภาพของ ชุดการสอน วิชาเครื่องรับวิทยุซึ่งเป็นเครื่องมือวิจัยในครั้งนี้ได้ว่า 1. ประสิทธิภาพของขบวนการสอน คิดเป็นร้อยละจากการทำ ใบทดสอบ ( E1 )= 82.77 2. ผลสัมฤทธิ์ของการเรียนคิดเป็นร้อยละจากการทำแบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ ( E2 ) = 81.29 3.ค่าประสิทธิภาพของชุดฝีกอบรม ( E1/E2 ) = 82.77/81.29 KMITNB- 2548 40
บทที่ 4 ผลของการวิจัย ผลการเปรียบเทียบค่าประสิทธิภาพของชุดการฝึกอบรมกับเกณฑ์ที่กำหนด KMITNB- 2548 41
บทที่ 4 ผลของการวิจัย ผลการเปรียบเทียบค่าประสิทธิภาพของชุดการฝึกอบรมกับเกณฑ์ที่กำหนด ผลการเปรียบเทียบค่าประสิทธิภาพของชุดการสอนกับเกณฑ์ที่กำหนด จะพบว่า ค่าเฉลี่ยของประสิทธิภาพการสอนจากการทำใบทดสอบมีค่ามากกว่า ร้อยละ 80ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ค่าเฉลี่ยของประสิทธิภาพการสอนจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ มีค่ามากกว่าร้อยละ 80ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 KMITNB- 2548 42
บทที่ 4 ผลของการวิจัย ผลการหาค่าสหสัมพันธ์ ( Correlations : rxy ) ของชุดการสอน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ rxyเป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่าสองสิ่งใดมีความสัมพันธ์กันมากน้อยเท่าไร ถ้าสองสิ่งสัมพันธ์กันสมบูรณ์แบบไปทางเดียวกัน จะมีค่า +1.0 จากการคำนวณหาค่าสหสัมพันธ์ที่ได้มีค่าเท่ากับ 0.697 แสดงให้เห็นว่าผลการทดสอบที่ไปในทิศทางเดียวกันกล่าวคือ คะแนนของใบทดสอบ แต่ละหัวข้อ และคะแนนของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์นั้นมีความสัมพันธ์กันอยู่ในเกณฑ์ดี KMITNB- 2548 43
บทที่ 4 ผลของการวิจัย ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนของคะแนนกับกลุ่มนักศึกษา ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว จากค่า F ที่เปิดตารางที่ df = 2 และ df2 = 42 ที่ ค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีค่า 3.22 แต่ค่า F ที่ได้มีค่า 28.52 ซึ่งมากกว่า F ที่เปิดจากตารางที่ค่าระดับนัยสำคัญทางสถิติน้อยกว่า 0.05แสดงว่าคะแนนจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ในแต่ละกลุ่มนักศึกษาแตกต่างกัน และต้องทำการเปรียบเทียบพหุคูณ ( Post hoc ) เพื่อหาว่านักศึกษากลุ่มใดแตกต่างกันบ้าง KMITNB- 2548 44
บทที่ 4 ผลของการวิจัย ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนของคะแนนกับกลุ่มนักศึกษา แสดงผลเปรียบเทียบพหุคูณด้วยวิธีเชฟเฟ่ ( Multiple Comparisons Scheffe‘ ) ที่ค่านัยสำคัญเท่ากับ 0.018 ซึ่งมีค่าน้อยกว่า 0.05 ในส่วนของกลุ่ม นักศึกษาในกลุ่มเก่งกับกลุ่มนักศึกษาในกลุ่มปานกลาง แสดงว่าคะแนนจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ของกลุ่มนักศึกษาในกลุ่มเก่งมากกว่ากลุ่มนักศึกษาในกลุ่มปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 KMITNB- 2548 45
บทที่ 4 ผลของการวิจัย ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนของคะแนนกับกลุ่มนักศึกษา แสดงผลเปรียบเทียบพหุคูณด้วยวิธีเชฟเฟ่ ( Multiple Comparisons Scheffe‘ ) ส่วนคะแนนจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในกลุ่มเก่งกับนักศึกษาในกลุ่มอ่อน และนักศึกษาในกลุ่มปานกลางกับนักศึกษาในกลุ่มอ่อน เมื่อนำมาเปรียบเทียบกันที่ค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีความแตกต่างกันมากกว่าทางสถิติที่ระดับ 0.05 KMITNB- 2548 46
บทที่ 4 ผลของการวิจัย ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนของคะแนนกับกลุ่มนักศึกษา แสดงการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเครื่องรับวิทยุ ผลการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ นักศึกษากลุ่มเก่งมีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์คิดเป็นร้อยละ สูงที่สุด อันดับรองลงมาคือ นักศึกษากลุ่มปานกลาง และนักศึกษากลุ่มอ่อนตามลำดับถือว่าแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ สามารถแยกกลุ่มนักศึกษาออกเป็นกลุ่มต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและเมื่อนักศึกษาเรียนจบ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นทุกกลุ่มถือว่าชุดการสอนนี้ประสบผลสำเร็จทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นจริง KMITNB- 2548 47
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 5.1 สรุปผลการในวิจัย การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างและคำนวณหาประสิทธิภาพของชุดการสอน วิชาเครื่องรับวิทยุ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ได้แก่นักศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ โรงเรียน พระรามหกเทคโนโลยี ที่ลงทะเบียนเรียนในวิชานี้ในภาคเรียนที่ 1/2548 ทั้งนี้ผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง ( Purposive sampling ) จำนวน 45 คน KMITNB- 2548 48
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 5.1 สรุปผลการในวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ชุดการสอนวิชาเครื่องรับวิทยุ ซึ่งประกอบด้วย คู่มือครู และสื่อการสอน คือ ชุดสาธิตเครื่องรับวิทยุเอฟเอ็มและโปรแกรมนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ เอกสารประกอบการเรียน ได้แก่ เอกสารสำหรับนักเรียนซึ่งประกอบด้วย ใบเนื้อหา ใบทดสอบและแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น KMITNB- 2548 49
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 5.1 สรุปผลการในวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้นำชุดการสอนที่สร้างขึ้นไว้ทดลองใช้กับผู้เรียนวิชาเครื่องรับวิทยุ ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา พุทธศักราช 2545 ( ปรับปรุง พ.ศ. 2546 ) ในหัวข้อเรื่องหลักการของเครื่องรับวิทยุเอฟเอ็ม หลักการของเครื่องรับวิทยุ เอฟเอ็มแบบสเตอริโอมัลติเพล็กซ์ หลักการของภาคขยายเสียงเครื่องรับวิทยุการปรับแต่งเครื่องรับวิทยุเอฟเอ็ม จำนวน 45 คน ในภาคการเรียนที่ 1/2548 จำนวน 16 คาบ/คาบละ 50 นาที หลังการเรียนเสร็จ ในหัวข้อเรื่องแล้วได้ผู้เรียนทำใบทดสอบของแต่ละหัวข้อเรื่องและเมื่อเรียนครบทั้ง 4 หัวข้อเรื่องแล้วจึงให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน KMITNB- 2548 50