210 likes | 344 Views
สำนักโครงการขนาดใหญ่ กรมชลประทาน. ลุ่มน้ำชี ที่ตั้ง ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ลุ่มน้ำ ภูมิอากาศ ปริมาณน้ำท่า-น้ำฝน - ตารางเปรียบเทียบน้ำท่า-น้ำฝน ในกลุ่มลุ่มน้ำ ทรัพยากรดิน การใช้ประโยชน์ที่ดิน พื้นที่ทำการเกษตร. พื้นที่ที่มีศักยภาพพัฒนาระบบชลประทาน การประเมินความต้องการน้ำ
E N D
สำนักโครงการขนาดใหญ่ กรมชลประทาน ลุ่มน้ำชี • ที่ตั้ง • ลักษณะภูมิประเทศ • พื้นที่ลุ่มน้ำ • ภูมิอากาศ • ปริมาณน้ำท่า-น้ำฝน - ตารางเปรียบเทียบน้ำท่า-น้ำฝน ในกลุ่มลุ่มน้ำ • ทรัพยากรดิน • การใช้ประโยชน์ที่ดิน • พื้นที่ทำการเกษตร. • พื้นที่ที่มีศักยภาพพัฒนาระบบชลประทาน • การประเมินความต้องการน้ำ • ปัญหาของลุ่มน้ำ • ด้านภัยแล้ง • แนวทางแก้ไข ส่วนอำนวยการและติดตามประเมินผล
4. ลุ่มน้ำชี ที่ตั้ง ลุ่มน้ำชี ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ทิศเหนือติดกับลุ่มน้ำโขง ทิศใต้ติดกับลุ่มน้ำมูล ทิศตะวันออกติดกับลุ่มน้ำโขงและลุ่มน้ำมูล ส่วนทิศตะวันตกติดกับลุ่มน้ำป่าสัก รูปที่ 4-1 แสดงที่ตั้งลุ่มน้ำชี
ลักษณะภูมิประเทศ ตามรูปที่ 4-2 ลักษณะภูมิประเทศของลุ่มน้ำชี ประกอบไปด้วยเทือกเขาสูง ทิศตะวันออกและทิศเหนือคือเทือกเขาภูพาน ทิศตะวันตกคือเทือกเขาดงพญาเย็น พื้นที่ตอนกลางเป็นที่ราบถึงลูกคลื่นลอน และมีเนินเล็กน้อยทางตอนใต้ของลุ่มน้ำ แม่น้ำชีมีต้นกำเนิดมาจากเขายอดชีในเทือกเขาเพชรบูรณ์ ไหลผ่านจังหวัดเพชรบูรณ์ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร แล้วไหลไปบรรจบกับแม่น้ำมูลที่จังหวัดอุบลราชธานี รูปที่ 4-2 สภาพภูมิประเทศในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำชี
พื้นที่ลุ่มน้ำ ตารางที่ 4-1 ขนาดของพื้นที่ลุ่มน้ำย่อย ลุ่มน้ำชีมีพื้นที่รวมทั้งสิ้นประมาณ 49,476 ตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็น 20 ลุ่มน้ำย่อย ตามตารางที่ 4-1 และรูปที่ 4-3 แสดงลุ่มน้ำย่อย 4.11 4.10 4.09 4.12 4.02 4.03 4.08 4.07 4.06 4.04 4.05 รูปที่ 4-3 แสดงลุ่มน้ำย่อย
พื้นที่ลุ่มน้ำ ตารางที่ 4-1 ขนาดของพื้นที่ลุ่มน้ำย่อย (ต่อ) ลุ่มน้ำชีมีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 49,476 ตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็น 20 ลุ่มน้ำย่อย ตามตารางที่ 4-1 และรูปที่ 4-3 แสดงลุ่มน้ำย่อย 4.18 4.17 4.14 4.13 4.15 4.19 4.20 4.16 4.21 รูปที่ 4-3 แสดงลุ่มน้ำย่อย
ปริมาณน้ำฝน ลุ่มน้ำชีมีปริมาณน้ำฝนผันแปรตั้งแต่ 900 มิลลิเมตร จนถึง 1,700 มิลลิเมตรโดยมีปริมาณน้ำฝนทั้งปีเฉลี่ย 1,174 มิลลิเมตร ลักษณะการผันแปรของปริมาณน้ำฝนรายเดือนเฉลี่ยได้แสดงไว้ตามตารางที่ 4-3 และมีลักษณะการกระจายของปริมาณน้ำฝนของลุ่มน้ำย่อยต่างๆ ตามรูปที่ 4-4 ตารางที่ 4-3 ปริมาณน้ำฝนและน้ำท่าเฉลี่ยรายเดือน รูปที่ 4-4 ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายเดือนในแต่ละลุ่มน้ำย่อย รูปที่ 4-5 ปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยรายเดือนในแต่ละลุ่มน้ำย่อย ปริมาณน้ำท่าลุ่มน้ำชีมีพื้นที่รับน้ำทั้งหมด 49,476 ตารางกิโลเมตร จะมีปริมาณน้ำท่าตามธรรมชาติรายปีเฉลี่ย 11,244 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามตารางที่ 4-3 และคิดเป็นปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ยต่อหน่วยพื้นที่รับน้ำฝน 7.21 ลิตร/วินาที/ตารางกิโลเมตร ตารางที่ 4-3 และ ตามรูปที่ 4-5 แสดงปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยรายเดือนของแต่ละลุ่มน้ำย่อย
ภูมิอากาศ ข้อมูลภูมิอากาศที่สำคัญของลุ่มน้ำนี้ได้แสดงไว้แล้ว ตามตารางที่ 4-2ซึ่งแต่ละรายการจะเป็นค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และค่าเฉลี่ยเป็นรายปี ตารางที่ 4-2 แสดงข้อมูลภูมิอากาศที่สำคัญ
ตารางเปรียบเทียบ ปริมาณน้ำฝน - ปริมาณน้ำท่า
ทรัพยากรดิน พื้นที่ลุ่มน้ำชี สามารถจำแนกประเภทชนิดดินตามความเหมาะสมของการปลูกพืชออกได้ 4 ประเภท ซึ่งมีลักษณะการกระจายของกลุ่มดิน ตามรูปที่ 4-6 ซึ่งแต่ละกลุ่มดินจะมีจำนวนพื้นที่ ตามคารางที่ 4-4 ตารางที่ 4-4 รูปที่ 4-6 การแบ่งกลุ่มดินจำแนกตามความเหมาะสมใช้ปลูกพืช
การใช้ประโยชน์จากที่ดินการใช้ประโยชน์จากที่ดิน 1) พื้นที่ทำการเกษตร...................... 62.99 % พืชไร่.................................... 34.64 % ไม้ผล-ไม้ยืนต้น...................... 0.03 % ปลูกข้าว............................... 64.63 % อื่นๆ...................................... 0.70 % รูปที่ 4-7 การทำเกษตร 2) ป่าไม้......................................... 28.44 % เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า..............08.85 % อุทยานแห่งชาติ........................14.92 % พื้นที่ป่าอนุรักษ์.........................76.23 % รูปที่ 4-8 พื้นที่ป่าไม้และเพื่อการอนุรักษ์ 3) ที่อยู่อาศัย............................... 2.68 % 4) แหล่งน้ำ.................................. 2.30 % 5) อื่นๆ........................................ 3.59 % รูปที่ 4-9 ที่อยู่อาศัยและอื่น ๆ
พื้นที่ทำการเกษตร ลุ่มน้ำชีมีพื้นที่ที่ทำการเกษตรทั้งหมดถึง 31,163 ตารางกิโลเมตร และมีพื้นทีเหมาะสมกับการเพาะปลูก 20,883 ตารางกิโลเมตร หรือ คิดเป็นร้อยละ 67.01 พื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกข้าว 15,239.85 ตารางกิโลเมตร (72.97%) พื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกพืชผัก 7.79 ตารางกิโลเมตร ( 0.04%) พื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกพืชไร่ 5,564.06 ตารางกิโลเมตร (26.64%) พื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกไม้ผล-ไม้ยืนต้น 72.24 ตารางกิโลเมตร (0.35%) รูปที่ 4-10 การใช้ประโยชน์ที่ดินหลักด้านการเกษตร พื้นที่ที่เหมาะสมกับการเพาะปลูกส่วนใหญ่ จะอยู่ตลอดบริเวณที่ราบสองฝั่งลำน้ำของแม่น้ำชีและสาขาต่างๆ ซึ่งรวมกันแล้วประมาณร้อยละ 42.21 ของพื้นที่ทั้งลุ่มน้ำ ในการเพาะปลูกพืชในปัจจุบันในลุ่มน้ำชี ส่วนใหญ่ที่ปลูกข้าวและพืชผักได้ปลูกบนพื้นที่ที่มีความเหมาะสมดีอยู่แล้ว แต่การปลูกพืชผักและการปลูกพืชไร่ยังปลูกบนพื้นที่ที่ไม่มีความเหมาะสมอยู่
พื้นที่ที่มีศักยภาพพัฒนาระบบชลประทานพื้นที่ที่มีศักยภาพพัฒนาระบบชลประทาน พื้นที่ที่มีศักยภาพการพัฒนาระบบชลประทาน ในพื้นที่ลุ่มน้ำชี ส่วนใหญ่จะอยู่ตลอดบริเวณที่ราบสองฝั่งลำน้ำของแม่น้ำชีและสาขาต่างๆ โดยมีพื้นที่ 12,241 ตารางกิโลเมตร และคิดเป็นร้อยละ 58.62 ของพื้นที่การเกษตรที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก หรือร้อยละ 39.28 ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมด ตารางที่ 4-5 ตารางเปรียบเทียบพื้นที่การเกษตรกับพื้นที่ที่มีศักยภาพสำหรับการพัฒนาเกษตรชลประทาน
การประเมินความต้องการน้ำการประเมินความต้องการน้ำ จากการศึกษาด้านเศรษฐกิจและสังคม ได้คาดคะเนอัตราการเจริญเติบโตของประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองและนอกเขตเมือง รวมทั้งความต้องการน้ำสำหรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม ช่วงปี 2544-2564 สรุปได้ตามรูปที่ 4-11 ชลประทาน ปริมาณน้ำ (ล้าน ลบ.ม.) รักษาระบบนิเวศ อุปโภค - บริโภค อุตสาหกรรม รูปที่ 4-11 สรุปแนวโน้มปริมาณความต้องการน้ำแต่ละประเภท
ปัญหาของลุ่มน้ำ • ด้านอุทกภัย สภาพการเกิดอุทกภัยในลุ่มน้ำนี้ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ∶- 1) อุทกภัยที่เกิดในบริเวณลุ่มน้ำตอนบนและลำน้ำสาขาต่างๆ เกิดจากการที่มีฝนตกหนักและน้ำป่าไหลหลากจากต้นน้ำลงมามาก จนลำน้ำสายหลักไม่สามารถระบายน้ำได้ทัน ประกอบกับมีสิ่งกีดขวางจากเส้นทางคมนาคมขวางลำน้ำ และมีอาคารระบายน้ำไม่เพียงพอ พื้นที่ที่เกิดน้ำท่วมเป็นประจำได้แก่ อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น อำเภอเขาวง และอำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ 2) อุทกภัยที่เกิดในพื้นที่ราบลุ่ม เกิดบริเวณที่เป็นพื้นที่ราบลุ่ม และมีแม่น้ำสายหลักตื้นเขิน มีความสามารถระบายน้ำไม่เพียงพอ ทำให้ไม่สามารถระบายน้ำลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ พื้นที่ที่เกิดน้ำท่วมเป็นประจำ ได้แก่ อำเภอบ้านเขว้า อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ อำเภอมัญจาคีรี อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ อำเภออาจสามารถ อำเภอธวัชบุรี อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร
ด้านภัยแล้ง ปัญหาภัยแล้งในลุ่มน้ำชี เกิดจากภาวะฝนทิ้งช่วงยาวนาน ทำให้พื้นที่การเกษตรนอกเขตชลประทานเกิดความแห้งแล้ง ขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภคและการเกษตร ตามข้อมูล กชช.2ค. ปี 2542 ลุ่มน้ำชีมีหมู่บ้านทั้งหมด 8,137 หมู่บ้าน พบว่ามีหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้ง จำนวน 4,808 หมู่บ้าน (ร้อยละ 59.09) โดยแยกเป็นหมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร 2,658 หมู่บ้าน (ร้อยละ 32.67) และหมู่บ้านที่ขาดแคลนทั้งน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภคและการเกษตร 2,150 หมู่บ้าน (ร้อยละ 26.42) โดยหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นถึง 1,207 หมู่บ้าน หรือคิดเป็นร้อยละ25.10 ของหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งทั้งหมด หมู่บ้านที่มีน้ำอุปโภค-บริโภค แต่ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร หมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค และน้ำเพื่อการเกษตร รูปที่ 4-12 แสดงลักษณะการกระจายตัวของหมู่บ้านที่ประสบปัญหาภัยแล้ง
แนวทางการแก้ไข ปัญหาการเกิดอุทกภัยและภัยแล้งในลุ่มน้ำชีมีลักษณะคล้ายกับพื้นที่ลุ่มน้ำอื่นๆคือการผันแปรของปริมาณน้ำฝนส่งผลให้เกิดความแห้งแล้งในช่วงที่ฝนทิ้งช่วงในทางกลับกันเมื่อมีฝนตกหนักก็ทำให้เกิดน้ำไหลหลากท่วมพื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่การเกษตรการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงมีแนวทางแก้ไขในภาพรวมโดยสรุปดังนี้ 1) ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในพื้นที่ตอนบนของลำน้ำสาขาที่สำคัญ บริเวณลุ่มน้ำชีตอนบนและลำน้ำยังเพื่อเก็บกักและชะลอปริมาณน้ำไหล หลากในช่วงฝนตกหนัก 2) ก่อสร้างระบบส่งน้ำและสูบน้ำเพื่อกระจายน้ำใหักับพื้นที่ที่ประสบภัยแล้งและอยู่ไม่ห่างจากลำน้ำสายหลักมากนัก 3) ปรับปรุงประสิทธิภาพการระบายน้ำและกักเก็บน้ำในลำน้ำสายหลัก 4) ปรับปรุงประสิทธิภาพการระบายน้ำและสิ่งกีดขวางทางน้ำ 5) ควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณเขตตัวเมืองป้องกันการบุกรุกล้ำแนวลำน้ำ สาธารณะ 6) อนุรักษ์พื้นที่ต้นน้ำ 7) ขุดสระประจำไร่นาตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง _________________________