1 / 10

กีฬาพื้นบ้านไทย

กีฬาพื้นบ้านไทย. จัดทำโดย เด็กหญิงชมพูนุท แก้วมาเมือง เลขที่ 22 เด็กหญิงนวพรรษ์ ดวงเกตุ เลขที่ 29 เสนอ อ. ฐิตาพร ดวงเกตุ. ซิกโก๋งเก๋ง. ชื่อ ซิก โก๋งเก๋ง ภาค ภาคเหนือ จังหวัด  พะเยา

indivar-sam
Download Presentation

กีฬาพื้นบ้านไทย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กีฬาพื้นบ้านไทย จัดทำโดย เด็กหญิงชมพูนุท แก้วมาเมือง เลขที่ 22 เด็กหญิงนวพรรษ์ ดวงเกตุ เลขที่ 29 เสนอ อ. ฐิตาพร ดวงเกตุ

  2. ซิกโก๋งเก๋ง ชื่อ ซิกโก๋งเก๋ง ภาค ภาคเหนือ จังหวัด พะเยา อุปกรณ์    โก๋งเก๋งทำจากไม้ไผ่ ท่อนปลายของไม้รวก หรือไม้ซาง ตัดให้สูง ประมาณ ๒-๒.๕ เมตร ใช้มีดตัดเจาะกิ่งไผ่ที่เป็นปมอยู่ข้อตาไผ่ออกให้หมด แต่ต้องเหลือไว้ตรงข้อแรกของไม้ไผ่ให้เป็นปมอยู่ เหลาข้ออื่นๆ ให้เรียบเพื่อสะดวกในการจับถือ หาปล้องไม้ไผ่ที่ใหญ่กว่า ๒ ท่อนแรก ตัดให้เหลือข้อปล้องไว้ด้านหนึ่งยาวประมาณ๑๕-๓๐ เซนติเมตร จำนวน ๒ ท่อน เจาะรู ๒ ด้าน เสร็จแล้วนำไปสวมเข้ากับไม้ ๒ ท่อนแรก โดยให้ไม้ที่สวมนั้นไปค้างติดอยู่กับข้อตาไผ่ที่เหลือไว้ แล้วใช้ผ้าพันตรงไม้ ๒ ท่อนประกบกันให้แน่น วิธีการเล่น   ใช้มือถือไม้โก๋งเก๋งตั้งขึ้นให้ตรง แล้วค่อยก้าวเท้าใดเท้าหนึ่ง ขึ้นเหยียบบนไม้โก๋งเก๋ง ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เท้าซ้ายขึ้นก่อน แล้วก้าวเท้าขวาตามตั้งตัวให้สมดุลแล้วค่อย ๆ ก้าวเท้าใดเท้าหนึ่งออกไป ถ้าล้มก็ขึ้นใหม่เดินใหม่จนคล่อง

  3. ชนกว่าง ชื่อ ชนกว่าง ภาค ภาคเหนือ จังหวัด เชียงใหม่ ในบรรดาการละเล่นพื้นบ้านทางภาคเหนือโดยเฉพาะการละเล่นที่เกี่ยวข้องกับสัตว์นั้น การเล่นชนกว่างนับได้ว่าเป็นที่นิยมไม่น้อยกว่าการชนไก่ กัดปลา ชนวัว หรือวิ่งควาย ของภาคอื่น ๆกว่าง  เป็นแมลงปีกแข็งชนิดหนึ่งอยู่ในตระกูลด้วงมี ๖ ขา แต่ละขามีเล็บสำหรับเกาะยึดกิ่งไม้ ใบไม้ได้อย่างมั่นคงกว่างบางชนิดมีเขา บางชนิดไม่มีเขา บางชนิดไม่นิยมนำมาเลี้ยง บางชนิดนิยมเลี้ยงไว้ดูเล่นเช่น กว่างซาง กว่างงวง กว่างกิ กว่างกิอุ และกว่างอี้หลุ้ม อุปกรณ์ในการเล่น   กว่างที่นิยมนำมาเลี้ยงไว้ชนนั้นจะเป็นกว่างตัวผู้และมีเขาทั้งบนและล่าง ปลายเขาจะแยกออกเป็นแฉกและแหลมคม เขาบนติดกับส่วนหัวไม่สามารถขยับได้ ส่วนเขาล่างสามารถขยับหนีบได้ซึ่งส่วนเขานี้เองคืออาวุธสำคัญในการต่อสู้กับศัตรู

  4. หมากเก็บ ชื่อ หมากเก็บ ภาค ภาคกลาง จังหวัด กรุงเทพมหานคร อุปกรณ์สำหรับเล่น  คือ ก้อนหิน หรือก้อนกรวดที่มีลักษณะกลม ๆ โอกาสหรือเวลาที่เล่น     การเล่นหมากเก็บไม่ได้จำกัดโอกาสและเวลา จะเล่นเมื่อใดก็ได้ ที่ว่างเว้นจากภารกิจประจำวัน เพื่อความเพลิดเพลินและสนุกสนาน คุณค่า/แนวคิด/สาระ    ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก ฝึกความว่องไว ไหวพริบ ความระมัดระวัง และฝึกสายตาอีกด้วย

  5. ชักเย่อ ชื่อ ชักเย่อ ภาค ภาคกลาง จังหวัด ฉะเชิงเทรา วิธีการเล่น   แบ่งผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย ๆ ละกี่คนก็ได้ตามแต่จะตกลงกัน เมื่อแบ่งพวกได้แล้วก็ขีดเส้นแบ่งแดน หัวแถว (ถ้าเป็นชายเรียกพ่อหลัก ถ้าเป็นหญิงเรียกแม่หลัก) ของทั้งสองฝ่ายเหยียดแขนจับไม้ยึดแนวขนานกับพื้นทั้งสองมือ ไม้จะนอนขนานกับเส้นแบ่งแดน ลูกน้องของแต่ละฝ่ายเกาะเอวหัวแถวเรียงต่อ ๆ กัน เริ่มเล่นต่างฝ่ายพยายามดึงให้ฝ่ายตรงข้ามหลุดล้ำเข้ามาในแดนตน ฝ่ายใดหลุดล้ำถือเป็นฝ่ายแพ้ เมื่อแพ้ทั้งสองฝ่ายก็จะเริ่มต้นเล่นเพลงระบำกัน พอจบก็เริ่มชักเย่อกันใหม่

  6. งูกินหาง ชื่อ การเล่นงูกินหาง ภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัด ร้อยเอ็ด อุปกรณ์การเล่นหางงูที่ทำจากผ้าหรือกระดาษขมวดเป็นเกลียวยาวเท่าๆ กัน ๒ หาง สนามที่และสนามเล่น สถานที่เป็นพื้นที่โล่งราบเรียบ ขนาดประมาณ ๑๕ x ๑๕ เมตร สนามเล่นทำเส้นเป็นวงกลมรัศมี ๖ เมตร ผู้เล่นมีจำนวน ๘-๑o คน แบ่งผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายที่ ๑ จะต้องเป็น “พ่องู” ๑ คน ฝ่ายที่ ๒ มี “แม่งู” ๑ คน ที่เหลือเป็น“ลูกงู” ซึ่งผู้เล่นเป็นลูกงูจะต้องเกาะเอวผู้เล่นเป็นแม่งู จากนั้น พ่องูเริ่มถามว่า “แม่งูเอ๋ย” แม่งูและลูกงูก็ร้องตอบว่า“เอ๋ย” พอช่วงท้ายพ่องูถามว่า “กินหัว กินหาง” แม่งูตอบว่า “กินกลางตลอดตัว” ผู้เป็นพ่องูจะไล่จับลูกงูจากปลายแถว ฝ่ายแม่งูจะต้องกางมือเพื่อป้องกันลูก หากลูกงูตัวใดถูกพ่องูดึงจนหลุดออกจากแถวไป ก็จะต้องออกจากการเล่น ผู้เล่นที่เหลือก็เริ่มเล่นกันอีกจนกว่าลูกงูจะถูกจับจนหมด

  7. หมากขุม ชื่อ หมากขุม ภาค ภาคใต้ จังหวัด นครศรีธรรมราช อุปกรณ์ในการเล่น ๑) รางหมากขุม เป็นรูปเรือทำจากไม้ ยาวประมาณ ๑๓๐ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๒๐ เซนติเมตร มีหลุมเรียงเป็น ๒ แถว หลุมกว้างประมาณ ๗ เซนติเมตร ลึกประมาณ ๔ เซนติเมตร มีด้านละ ๗ หลุม เรียกหลุมว่า เมือง หลุมที่อยู่ปลายสุดทั้งสองข้างเป็นหลุมใหญ่กว้างประมาณ ๑๑ เซนติเมตร เรียกว่า หัวเมือง ๒) ลูกหมาก นิยมใช้ลูกสวดเป็นลูกหมากใส่ลูกหมากหลุมละ ๗ ลูก จึงต้องใช้ลูกหมากในการเล่น ๙๘ ลูก ๓) ผู้เล่นมี ๒ คน

  8. กำทาย ชื่อ กำทาย ภาค ภาคใต้ จังหวัด พังงา อุปกรณ์การเล่น ๑. อุปกรณ์ในการเล่นมีดังนี้ (ใช้อย่างหนึ่งอย่างใด) ๑) ยางเส้น ๒) เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ๓) เมล็ดสวาด ๔) เมล็ดสวด ๕) ลูกนู (ก้อนดินกลม) วิธีการเล่น ๑) เมื่อสัญญาณการเล่นเริ่มขึ้นทุกคนจะกอบหรือกำของที่อยตรงหน้านั้น โดยไม่ให้คนอื่นเห็นว่ามีจำนวนเท่าใด๒) ให้ทายที่คนว่าของในมือของทุกคนเมื่อรวมกันแล้วมีจำนวนเท่าใด๓) เมื่อทายเสร็จทุกคนแบมือออกและนับของในมือของทุกคน ใครทายถูกได้เป็นกรรมสิทธิ์ในของนั้น ถ้าทายถูกหลายคนใช้วิธีหารแบ่งกัน ถ้ามีเศษให้รวมไว้เป็นกองกลาง เพื่อเล่นหนต่อไป

  9. รีรีข้าวสาร รีรีข้าวสาร     เล่นกี่คนก็ได้ ผู้เล่น ๒ คนยืนหันหน้าเข้าหากันโน้มตัวประสานมือกันเป็นรูปซุ้ม ส่วนผู้อื่นเกาะเอวต่อ ๆ กันตามลำดับ หัวแถวจะพาลอดใต้ซุ้มมือพร้อมกับร้อง         เมื่อร้องถึงประโยคที่ว่า คอยพานคนข้างหลังไว้ ผู้ที่ประสานมือเป็นซุ้มจะลดมือลงกันคนสุดท้ายไว้ ซึ่งคนสุดท้ายจะถูกคัดออกไปจากแถว แล้วจึงเริ่มต้นเล่นใหม่ทำเช่นนั้นจนหมดคน รีรีข้าวสาร รีรีข้าวสาร สองทะนานข้าวเปลือก           เด็กน้อยตาเหลือก เลือกท้องใบลาน           คดข้าวใส่จาน คอยพานคนข้างหลังไว           รีรีข้าวสาร สองทะนานข้าวเปลือก           เด็กน้อยตาเหลือก เลือกท้องใบลาน           คดข้าวใส่จาน คอยพานคนข้างหลังไว

  10. มอญซ่อนผ้า มอญซ่อนผ้า เล่นกี่คนก็ได้ ผู้เล่นจะนั่งล้อมวงกัน มีคนหนึ่งสมมุติเป็น “มอญ” ถือผ้าอาจเป็นผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าอื่นที่มีขนาดไม่โตนักสามารถเก็บซ่อนได้ เดินหรือวิ่งไปรอบ ๆ วง ผู้ที่นั่งล้อมวงจะร้องบทร้องพร้อมกัน(ดูหัวข้อเพลงประกอบการเล่น)  มอญซ่อนผ้า มอญซ่อนผ้า           ตุ๊กตาอยู่ข้างหลัง           ไว้โน่นไว้นี่ ฉันจะตีก้นเธอ           มอญซ่อนผ้า ผู้ที่เป็น “มอญ” จะต้องคอยสังเกตว่าผู้นั่งล้อมวงคนใดเผลอจะเอาผ้าที่ถือไว้วางข้างหลังผู้ นั้นแล้วเดินหรือวิ่งต่อไป ทำทีเหมือนกับยังไม่ได้วางผ้าหากผู้ถูกวางข้างหลังยังไม่รู้ตัว เมื่อผู้เป็น “มอญ” เดินหรือวิ่งมาถึงจะหยิบผ้านั้นตีผู้ที่นั่งอยู่ ซึ่งผู้ที่ถูกตีจะต้องรีบลุกออกจากที่นั่งวิ่งหนีไปรอบวงครบ 1 รอบ จึงกลับเข้านั่งที่ตามเดิม ผู้ที่เป็น “มอญ” จะถือผ้าเดินหรือวิ่งรอบ ๆ วง เพื่อจะวางผ้าซ่อนไว้ข้างหลังผู้นั่งคนอื่นต่อไป ในทางกลับกันหากผู้นั่งที่ถูกวางผ้าข้างหลังรู้ตัว ก็จะหยิบผ้าและลุกขึ้นวิ่งไล่ตีผู้เป็น “มอญ” ไปรอบวง ซึ่งผู้เป็น “มอญ” จะต้องรีบวิ่งหนีและเข้านั่งแทนที่ผู้ที่วิ่งไล่ และผู้ที่ได้ผ้าก็จะเป็น“มอญ” ซ่อนผ้าคนอื่นต่อไป          ตุ๊กตาอยู่ข้างหลัง           ไว้โน่นไว้นี่ ฉันจะตีก้นเธอ

More Related