510 likes | 1.49k Views
โครงการเชื่อมต่อระบบ E-RADIO LINK ไปยังโทรศัพท์มือถือ SMART PHONE (E-RADIO LINK TO SMART PHONE) ในสภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน โดย นายวินัย ฉายากุล ตำแหน่งวิศวกรไฟฟ้า สื่อสารชำนาญการ กองวิศวกรรมการแพทย์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. GPU SCORE TEST. หลักการและเหตุผล.
E N D
โครงการเชื่อมต่อระบบE-RADIO LINKไปยังโทรศัพท์มือถือSMART PHONE (E-RADIO LINK TO SMART PHONE) ในสภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน โดย นายวินัย ฉายากุล ตำแหน่งวิศวกรไฟฟ้าสื่อสารชำนาญการ กองวิศวกรรมการแพทย์กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
หลักการและเหตุผล เดิม เทคโนโลยียังไม่ก้าวหน้ามากนัก ประกอบกับการคมนาคม ก็เป็นไปอย่างยากลำบาก วิทยุสื่อสารจึงเป็นเครื่องมือเดียวที่สามารถทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างสถานบริการสาธารณสุขที่อยู่ห่างไกลสามารถติดต่อประสานงานกับโรงพยาบาลประจำอำเภอ หรือโรงพยาบาลประจำจังหวัดนั้นๆได้อย่างรวดเร็ว โดยหมวดงานวิศวกรรมสื่อสาร ได้ทำการออกติดตั้ง ซ่อมบำรุงสายอากาศเสาอากาศรวมทั้งเครื่องวิทยุสื่อสาร ให้กับทุกสถานีในเขตรับผิดชอบของ ศูนย์วิศวกรรมการแพทย์ที่ 6 เชียงใหม่ ปัจจุบันเทคโนโลยีด้านการสื่อสารได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ความนิยมใช้วิทยุสื่อสารจึงลดน้อยลงไป หันไปใช้โทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์ กันมากขึ้น แต่เมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้นมา ระบบ Internet และโครงข่ายโทรศัพท์ อาจจะไม่สามารถใช้งานได้เฉพาะในพื้นที่ที่เกิดภัยพิบัติ จะมีเพียงระบบวิทยุสื่อสารซึ่งเป็นโครงข่ายสื่อสารพื้นฐานเท่านั้นที่ยังสามารถใช้งานได้ เมื่อเกิดภาวะวิกฤติเช่นนั้น แต่ในยามปกติระบบ Internet ก็สร้างประโยชน์ให้กับงานสื่อสารเป็นอย่างมาก
ทำให้กองวิศวกรรมการแพทย์ได้ พัฒนาระบบ E-Radio ขึ้นมา ต่อเชื่อมกับวิทยุสื่อสาร [E-Radio link] ก็ทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีไม่ว่าจะอยู่ไกลเพียงใดก็สามารถติดต่อกันได้โดยไม่จำกัดระยะทาง ต่อมาเมื่อมีเครื่องโทรศัพท์มือถือ Smart Phone มีราคาถูกลงและได้รับความนิยมมากขึ้น หมวดงานวิศวกรรมสื่อสาร ศูนย์วิศวกรรมการแพทย์ที่ 6 เชียงใหม่ จึงได้มีแนวคิดที่จะพัฒนาระบบโทรศัพท์ มือถือSmart Phone ให้สามารถเชื่อมต่อเข้ากับระบบวิทยุสื่อสาร และระบบ E-Radio link ซึ่งจะได้เป็นประโยชน์ในการสื่อสารเพิ่มขึ้นอีกช่องทางหนึ่ง ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ให้กับผู้บังคับบัญชาระดับสูงรวมถึงแม่ข่ายและลูกข่ายสามารถที่จะใช้โทรศัพท์ มือถือSmart Phone ร่วมในการเฝ้าฟังรวมถึงได้รับรู้ รับทราบเหตุการณ์ ต่างๆที่เกิดขึ้น และสามารถติดต่อสื่อสารไปยังสถานที่เกิดเหตุต่างๆได้อย่างสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
ปัจจัยสนับสนุนแนวคิด อุทกภัย
ข้อมูลประกอบจากกรมทรัพยากรธรณีข้อมูลประกอบจากกรมทรัพยากรธรณี กรมทรัพยากรธรณี ได้ศึกษาและรวบรวมข้อมูลด้านการสำรวจรอยเลื่อนมีพลัง พบว่า ประเทศไทยมีแนวรอยเลื่อนใหญ่ๆ อยู่หลายแนวด้วยกัน สามารถจัดกลุ่มรอยเลื่อนที่สำคัญได้ 3 แนว ตามทิศทางการวางตัวและการเคลื่อนที่ คือ กลุ่มรอยเลื่อนที่วางตัวในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ กลุ่มรอยเลื่อนที่วางตัวในทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ และกลุ่มรอยเลื่อนที่วางตัวอยู่ในทิศเหนือ-ใต้ ที่ครอบคลุ่มพื้นที่ในประเทศไทยจำนวน 22 จังหวัด
รอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทยรอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย ที่มา: จากกรมทรัพยากรธรณี
รอยเลื่อนมีพลังในภาคเหนือรอยเลื่อนมีพลังในภาคเหนือ ที่มา: จากกรมทรัพยากรธรณี
แผนที่แสดงพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวในประเทศไทยแผนที่แสดงพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวในประเทศไทย ที่มา: จากกรมทรัพยากรธรณี รูปที่ 2
พื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มและรอยเลื่อนภาคเหนือพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มและรอยเลื่อนภาคเหนือ พื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม 8 จังหวัดภาคเหนือ รอยเลื่อนแม่จัน รอยเลื่อนแม่อิง เชียงราย รอยเลื่อนพะเยา รอยเลื่อนปัว รอยเลื่อนแม่ทา พะเยา รอยเลื่อนแม่ยม รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ น่าน รอยเลื่อนเถิน แม่ฮ่องสอน ลำปาง แพร่ ลำพูน ระดับความเสี่ยง เสี่ยง เสี่ยงน้อย ไม่เสี่ยง ที่มา: จากกรมทรัพยากรธรณี
รถถ่ายทอดสัญญาณผ่านดาวเทียม (Mobile Station) .
ลักษณะการทำงานโครงข่ายพื้นฐานลักษณะการทำงานโครงข่ายพื้นฐาน ศูนย์สั่งการ(ศูนย์วิศวกรรมการแพทย์ที่6(เชียงใหม่) สามารถติดต่อสื่อสารระบบVHF/FMกับสถานีวิทยุ แม่ข่าย 8 จังหวัดคือจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่านและจังหวัดแม่ฮ่องสอน(สสจ.หรือรพท.รพศ.) ซึ่งสามารถติดต่อสื่อสารระหว่างจังหวัดผ่านREPEATORที่ติดตั้งที่สถานีเรดาร์บนยอดดอยอินทนนท์ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นจุดสูงที่สุดในประเทศ(2565เมตรจากระดับน้ำทะเล)
ภาพแสดงการเชื่อมต่อวิทยุคมนาคมผ่านชุด INTERFACE ไปยังระบบE-RADIO TO SMARTPHONE
วงจรINTERFACE ภาพแสดงการเชื่อมต่อวิทยุคมนาคมผ่านชุด INTERFACEไปยังระบบE-RADIO TO SMARTPHONE
E-RADIO LINK TO ZELLO 0.1uf speaker microphone
หลักการทำงานของระบบ E-RADIO LINK TO SMARTPHONE E-RADIO LINK TO SMARTPHONEคือระบบที่สามารถเชื่อมสถานีวิทยุสื่อสารเข้ากับระบบ INTERNET (E-RADIO LINK)และโครงข่ายโทรศัพท์มือถือ (SMARTPHONE)โดยมีอุปกรณ์ INTER PHASE เป็นตัวเชื่อมต่อ สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ผ่านระบบ Voice over IP (VoIP) โดยใช้อินเทอร์เน็ตเป็นระบบเชื่อมต่อถึงกัน โปรแกรมนี้ชื่อว่า ZELLO ทำให้เราสามารถติดต่อสื่อสารได้กว้างไกลขึ้นถึงระดับข้ามประเทศข้ามภูมิภาค โดยที่เราแค่คุยผ่านโทรศัพท์มือถือ(SMARTPHONE)ได้ทุกระบบปฏิบัติการเช่น ANDROID, BLACKBERRY, IPHONE กับวิทยุแบบมือถือ หรือผ่านคอมพิวเตอร์(PC)เท่านั้นเอง
ความหมายของE-RADIOและวิธีการติดตั้งและใช้งานโปรแกรม e-Radio หมายถึง วิทยุคมนาคมที่ทำการถ่ายทอดสัญญาณผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์อาศัยเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการถ่ายทอดสัญญาณระยะไกล ประโยชน์ของระบบ e-radio e-radio หมายถึง วิทยุคมนาคมที่ทำการถ่ายทอดสัญญาณผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์อาศัยเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในการถ่ายทอดสัญญาณระยะไกล ระบบสื่อสารทางวิทยุคมนาคมสามารถที่จะติดต่อได้ระยะไม่ไกลเนื่องจากข้อจำกัดในเรื่องของพื้นที่และความสามารถของเครื่องวิทยุคมนาคมรวมถึงระบบสายอากาศ ซึ่งการจะทำให้ระบบสื่อสารสามารถติดต่อได้ไกลขึ้นจะต้องอาศัยทรัพยากรและทุนที่สูงมาก แต่ในปัจจุบันระบบเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ระบบโครงข่ายมีความก้าวหน้ามาก และรวมทั้งสามารถจัดหาระบบได้ง่ายดังนั้น ระบบ e-radio เป็นอีกวิธีการในการแก้ปัญหาระบบสื่อสารที่อาศัยเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในการถ่ายทอดสัญญาณระยะไกล
ระบบ E-radio ทำอะไรได้บ้าง และมีประโยชน์อย่างไร 1. สามารถสื่อสารโดยการผ่านระบบคอมพิวเตอร์ระยะไกล2. สามารถสื่อสารผ่านระบบวิทยุคมนาคม3. สามารถถ่ายทอดสัญญาณเสียง สำหรับการประชุม4. สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายระบบวิทยุคมนาคมต่างเครือข่ายได้อย่างสะดวก5. การประยุกต์ใช้ในสำนักงาน แทนระบบโทรศัพท์6. ลดค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสารของสำนักงาน สะดวกสำหรับการใช้งาน7. สามารถติดต่อสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว และเป็นแหลง่ รวมข่าวสารในยามจำเป็น
วิธีการติดตั้งและใช้งานโปรแกรม e-Radio วิธีการติดตั้งและใช้งานโปรแกรม e-Radio1. ดาวน์โหลดโปรแกรม e-Radio สำหรับใช้งานด้วยคอมพิวเตอร์ท่านสามารถ Download ได้บน website 2. ตั้งค่าโปรแกรม และหมายเลข e-Radio Server 3. ติดตั้งและตั้งค่าโปรแกรมไมโครโฟน 4. ทดสอบสัญญาณกับสถานีในระบบ e-Radio
วิธีการติดตั้งและใช้งาน Application Zello • Zelloเป็น Application ที่รันบนสมาร์ทโฟน ใช้จำลองให้สมาร์ทโฟนเป็นวิทยุสื่อสาร ที่คุยกันผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก มีผู้ใช้มากพอสมควร เราสามารถทำห้องคุยส่วนตัวได้เอง • Zello Walkie-talkie App เป็นโปรแกรมที่ครอบคลุมหลายระบบปฏิบัติการเช่น iPhone Android BlackBerry PC • การเชื่อมต่อคล้ายๆ E-radio link เพียงแต่ ไม่มี com port ในการควบคุมการทำงานของระบบกดคีย์ส่งTX • ขั้นตอนการเปลี่ยนsmart phoneให้เป็นวิทยุสื่อสาร ก่อนอื่นก็ต้องมีโทรศัพท์ที่มีระบบปฏิบัติการ iPhone Android BlackBerry PC จากนั้นสมัคร gmail เสร็จแล้วเข้าเว็บไซต์http://www.zello.com/ยกตัวอย่างถ้าโทรศัพท์ใช้ระบบปฏิบัติการ androidก็ดาวน์โหลด Zello android หลังจากติดตั้งเสร็จก็ให้ทำการลงทะเบียน ชื่อ พาสเวิร์ด อีเมล์ กรอกลงไปตามลำดับ จนเสร็จสิ้น หลังจากนั้น เราสามารถคุยได้เหมือนวิทยุสื่อสาร โดย หาคนที่เราจะคุยด้วย ที่ลงทะเบียนใว้แล้ว และ เข้าไปคุยในช่องที่ตั้งชื่อห้องใว้แล้ว หรือ จะสร้างห้องคุยกันเอง(Create a neww channel) สามารถ ใช้คุยได้โดยผ่านช่องทางSim net หรือ WIFI สำหรับท่านที่อยากลองคุย ก็ลอง add a channel เป็นช่อง cm6 สามารถคุยในกลุ่มได้เหมือนวิทยุสื่อสารโดยไม่ต้องติดตั้งเสา และ ระยะทางก็ไม่เป็นอุปสรรคเลยสำหรับ Application ตัวนี้ คุ้ม ดี ที่สำคัญเป็น Application Freeware เชิญร่วมเฝ้าฟังได้ที่channel cm6 เป็นห้องe-radio link to smart phone(เชื่อมต่อระบบวิทยุสื่อสารเข้ากับระบบinternetและโครงข่ายโทรศัพท์มือถือ) ของศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัดเชียงใหม่ ( ศูนย์เวียงพิงค์ ) 1669 ใช้ในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS) โดยมีสถานี e-radio link to smart phone ตั้งอยู่ที่ศูนย์วิศวกรรมการแพทย์ที่6เชียงใหม่
คำสั่งต่างของZello available – โหมด รับส่งทั่วไป Solo - โหมด รับส่งทั่วไป Busy – โหมด ส่งได้ แต่รับไม่ได้ Existing Zello account – ในกรณีเคยลงทะเบียนไว้แล้ว New Zello account – ในกรณีลงทะเบียนใหม่ Check availability – ตรวจสอบว่านามเรียกขานใช้ได้หรือไม่ Fine a channel - ค้นหา channel Trending channel – channel ที่มีคนสร้างไว้แล้ว
คำสั่งต่างของZello Create a new channel – สร้างห้องขึ้นใหม่ open – ไม่มีระบบป้องกัน Zelect owner moderators and approved users cantalk – ระบบป้องกันที่ต้องป้อนรหัสผ่านถึงจะใช้งานได้ owner and moderators cantalk – ระบบป้องกันที่ต้องได้รับการอนุญาติจากเจ้าของห้องเป็นรายๆไป
ขั้นตอนการเปลี่ยนsmart phoneเป็นวิทยุสื่อสารติดตั้งแอปพลิเคชั่น
ขั้นตอนการเปลี่ยนsmart phoneเป็นวิทยุสื่อสารติดตั้งแอปพลิเคชั่น
ขั้นตอนการเปลี่ยนsmart phoneเป็นวิทยุสื่อสารลงทะเบียน
ขั้นตอนการเปลี่ยนsmart phoneเป็นวิทยุสื่อสารลงทะเบียน
ขั้นตอนการเปลี่ยนsmart phoneเป็นวิทยุสื่อสารรูปภาพพร้อมนามเรียกขานของเรา
ขั้นตอนการเปลี่ยนsmart phoneเป็นวิทยุสื่อสารแสดงรายละเอียดข้อมูลต่างๆของผู้ใช้งาน
ขั้นตอนการเปลี่ยนsmart phoneเป็นวิทยุสื่อสารเข้าสู่ช่องใช้งาน
ขั้นตอนการเปลี่ยนsmart phoneเป็นวิทยุสื่อสารแอปพลิเคชั่นพร้อมใช้งาน
ขั้นตอนการเปลี่ยนsmart phoneเป็นวิทยุสื่อสารสภาวะรับ(PTT.RX) สีเขียว-สภาวะส่ง(PTT.TX) สีแดง
ขั้นตอนการเปลี่ยนsmart phoneเป็นวิทยุสื่อสารแสดงจำนวนผู้ใช้งาน(USER)
ขั้นตอนการเปลี่ยนsmart phoneเป็นวิทยุสื่อสารแสดงไฟล์เสียงการติดต่อสื่อสารที่บันทึกไว้
ระบบ E-radio to Smartphone ทำอะไรได้บ้าง และมีประโยชน์อย่างไร 1. สามารถสื่อสารโดยการผ่านระบบโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนได้ไม่จำกัดระยะทาง2. สามารถสื่อสารผ่านระบบE-radioและวิทยุคมนาคม3. สามารถถ่ายทอดสัญญาณเสียงสำหรับการประชุมรวมถึงข้อความsmsและรูปภาพได้4. การประยุกต์ใช้ในพื้นที่ร่วมกับระบบวิทยุสื่อสาร จะเอื้อประโยชน์ให้กับ ผู้บังคับบัญชาระดับสูงรวมถึงแม่ข่ายและลูกข่ายสามารถที่จะใช้โทรศัพท์ มือถือSmart Phone ร่วมในการเฝ้าฟังรวมถึงได้รับรู้ รับทราบเหตุการณ์ ต่างๆที่เกิดขึ้น และสามารถติดต่อสื่อสารไปยังสถานที่เกิดเหตุต่างๆได้อย่างสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
เครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับสถานีE-RADIO TO SMARTPHONE
ชำนาญวิเชียร ศูนย์วิศวกรรมการแพทย์ที่ 6 (เชียงใหม่) 191/1 หมู่ 4 ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ 50180 ที่ทำงาน 0-5311-2220-1,มือถือ 090-0493797 ทางLineid:09042511หรือE-Mail chamnan1390@hotmail.com