470 likes | 801 Views
การเขียนรายงานวิชาการ. “ การเขียนรายงานวิชาการ ”. การเรียนในมหาวิทยาลัย. มุ่งให้นักศึกษารู้จักค้นคว้า. รวบรวมความรู้. สื่อให้ผู้อื่นเข้าใจ. เขียนเป็นรายงาน. จุดมุ่งหมายในการทำรายงาน. 1. ฝึกฝนให้รักการเรียน ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง 2. ส่งเสริมให้มีความคิดริเริ่ม แสดงความคิดอย่างมีเหตุผล
E N D
การเขียนรายงานวิชาการการเขียนรายงานวิชาการ
“ การเขียนรายงานวิชาการ ” การเรียนในมหาวิทยาลัย มุ่งให้นักศึกษารู้จักค้นคว้า รวบรวมความรู้ สื่อให้ผู้อื่นเข้าใจ เขียนเป็นรายงาน
จุดมุ่งหมายในการทำรายงานจุดมุ่งหมายในการทำรายงาน 1. ฝึกฝนให้รักการเรียน ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง 2. ส่งเสริมให้มีความคิดริเริ่ม แสดงความคิดอย่างมีเหตุผล 3. ค้นหาความรู้ในเรื่องที่ตนเองสนใจ 4. รู้จักวิเคราะห์เรื่องราวต่าง ๆ ได้ 5. ฝึกฝนทักษะทางการใช้ภาษา 6. เป็นพื้นฐานของการค้นคว้าเพื่อการเขียนรายงาน ในระดับสูง
ความหมายของรายงานวิชาการความหมายของรายงานวิชาการ รายงานวิชาการ คือ ผลการศึกษาค้นคว้าเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งผู้เขียนรายงานได้ทำขึ้นตามระเบียบแบบแผนอันเป็นที่นิยม
แหล่งข้อมูลที่ใช้ค้นคว้าเพื่อเขียนรายงานแหล่งข้อมูลที่ใช้ค้นคว้าเพื่อเขียนรายงาน 1. หนังสือ 2. ดรรชนีวารสาร 3. บทความจากหนังสือพิมพ์
4. ซีดี-รอม (CD-Rom) 5. สารานุกรม 6. โสตทัศนูปกรณ์ 7. อินเตอร์เน็ต
ขั้นตอนการเขียนรายงาน มี 5 ขั้น ดังนี้ 1. ก่อนที่จะลงมือเขียน : นักศึกษา ได้หัวข้อเรื่อง มา 2 ทาง คือ อาจารย์มอบหมายให้ หรือ นักศึกษากำหนดเอง 2. การรวบรวมข้อมูล : แหล่งข้อมูล คือ ห้องสมุด ต่างๆ เมื่อค้นได้ข้อมูลแล้วให้จดบันทึก ถ่าย เอกสาร เพื่อเก็บรวบรวมไว้ เรียกว่าข้อมูลดิบ
3. การวางโครงร่างการรายงาน : นำข้อมูลดิบ มาวาง โครงร่างของรายงาน วางเรื่องราวให้มีเนื้อหา สัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง 4. การกำหนดระยะเวลาที่ใช้ในการเขียน : วางแผน กำหนดระยะเวลา การเขียนรายงาน ให้เสร็จทัน ตามเวลาตามกำหนดส่ง
5. การลงมือเขียนรายงาน : ลงมือเขียนตามโครง เรื่องที่กำหนด หากมีตอนใดคิดว่ามีเนื้อหาไม่ สมบูรณ์ให้ค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ รายงานที่สมบูรณ์
ข้อควรระวังในการใช้คำข้อควรระวังในการใช้คำ 1. ใช้คำที่ตรงกับความหมายมากที่สุด 2. ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย 3. หลีกเลี่ยงคำต่างประเทศ หรือ คำทับศัพท์ 4. ไม่ใช้คำกำกวม คำที่มีความหมายหลายนัย 5. ไม่ใช้คำผิดหลักภาษา ที่เป็นคำบุรพบท เช่น แก แต่ ต่อ
6. ใช้คำที่เป็นปัจจุบัน อย่าใช้คำผิดสมัยนิยม 7. ไม่ใช้คำที่หรูหราเกินไป หรือ คำที่ต่ำทราม 8. ไม่ตัดคำ หรือ ย่อคำ จนเสียความหมาย 9. ไม่ใช้คำที่ยืดยาว 10. ถ้าจะใช้คำราชาศัพท์ ควรระมัดระวัง อย่าใช้ผิด
ส่วนประกอบของรายงานวิชาการส่วนประกอบของรายงานวิชาการ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1. ส่วนประกอบตอนต้น 2. ส่วนเนื้อเรื่อง 3. ส่วนประกอบตอนท้าย ส่วนประกอบเหล่านี้จะเรียงกันตามลำดับแผนภาพต่อไปนี้
การเรียงลำดับส่วนประกอบ ข อ ง ร า ย ง า น
7. บรรณา นุกรม 9. อภิธาน ศัพท์ 6. เนื้อเรื่อง 2. ใบปกรอง 1. ปกนอก 3. ปกนอก 12. ปกนอก 5. สารบัญ 4. หน้าชื่อเรื่อง 11. ใบ ปกรอง 8. ภาค ผนวก 10. ดัชนี
1. ส่วนประกอบตอนต้น 1.1 ปกนอก หรือ หน้าปก (Cover) 1.2 ปกรองปก 1.3 หน้าชื่อเรื่อง หรือ หน้าปกใน (Title Page) แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ * ส่วนบน เป็นชื่อหัวข้อรายงาน * ส่วนกลาง เป็นข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียน * ส่วนล่าง เป็นข้อมูลเกี่ยวกับวิชาที่ทำรายงาน
1.4 คำนำ (Preface) 1.5 สารบัญเนื้อหา (Table of Content) 2. ส่วนเนื้อเรื่อง 2.1 ส่วนเนื้อหา เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของรายงาน 2.2 ส่วนอ้างอิง เป็นส่วนที่อ้างอิงแหล่งที่มา ของข้อมูล เช่น ฟุตโน๊ต
3. ส่วนประกอบท้าย 3.1 บรรณานุกรม (Bibliography) 3.2 ภาคผนวก (Appendix) 3.3 อภิธานศัพท์ (Glossary) 3.4 ดัชนี หรือ ดรรชนี (Index) อนึ่ง รายงานทางวิชาการบางฉบับอาจจะไม่จำเป็นต้องทำภาคผนวกอภิธานศัพท์ และดัชนีก็ได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของรายงานแต่ละเรื่อง
แผนภูมิขั้นตอนการทำรายงานอย่างละเอียดแผนภูมิขั้นตอนการทำรายงานอย่างละเอียด
1. เลือกเรื่องและวัตถุประสงค์ (กำหนดขอบเขต) เริ่มต้น 2 สำรวจแหล่งข้อมูลพื้นฐานคัดเลือกและอ่านอย่างสังเขป ทำบรรณา นุกรม ไม่พอ 3. วางโครงร่าง ทำบันทึกการอ่าน (รวบรวมข้อมูล) 4. ทำโครงเรื่องที่สมบูรณ์ขั้นสุดท้าย ศึกษาเอกสารเพิ่มเติม 5.ลงมือเขียนตามโครงเรื่อง 6. เรียบเรียงส่วนอื่นๆ ให้ครบถ้วน 7. เรียบเรียงบรรณานุกรมที่สมบูรณ์ขั้นสุดท้าย 8. ตรวจสอบความเรียบร้อย 9. เข้าเล่มสมบูรณ์ 10.จบ
จรรยาบรรณของนักศึกษา/นักวิจัย/นักค้นคว้า จรรยาบรรณที่เป็นพื้นฐานและควรทราบ ได้แก่ 1. ควรมีความซื่อสัตย์โดยไม่แอบอ้างเอาความคิด ผู้อื่นมาเป็นของตนเอง 2. เก็บรักษาความลับของข้อมูลบางอย่างที่ไม่ควร เปิดเผย 3. คำนึงถึงผลเสียต่อผู้อื่น และเคารพสิทธิส่วนบุคคล
ปัญหาที่พบ ในการทำรายงาน 1. นักศึกษาขาดความสนใจในการทำรายงาน 2. นักศึกษาไม่ไดตั้งใจค้นหาข้อมูล 5. การทำงานแบบขอให้เสร็จแบบขอไปที 3. ขาดการประสานงานกันในกลุ่มทำงาน 4. ขาดการวางแผนในการทำงาน
ตัวอย่าง รูปแบบรายงาน
(ตัวอย่างปกนอกและหน้าชื่อเรื่อง)(ตัวอย่างปกนอกและหน้าชื่อเรื่อง) ไข้เลือดออก สุภาวดี รังสีอุทัย รหัส 1440603060 Section 1441 เลขที่ 87 คณะมนุษยศาสตร์ เสนอ อาจารย์ดี สอนเก่ง รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชา ศป. 105 (ทักษะการศึกษา)ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2545มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
(ตัวอย่าง) คำนำ รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชา ศป. 105 ทักษะการศึกษา ที่จัดทำขึ้นเพื่อเสนอความรู้เกี่ยวกับเรื่องไข้เลือดออก ซึ่งมีโทษถึงขั้นทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้แต่ถ้ารู้จักวิธีป้องกันและทำลายยุงลาย ก็จะช่วยให้ปลอดภัยจากโรค ผู้เขียนจึงได้พยายามค้นคว้าหาข้อมูลจากเอกสารหลายฉบับ เพื่อให้รายงานมีเนื้อหาที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ผู้เขียนหวังว่า รายงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ สุภาวดี รังสีอุทัย 25 สิงหาคม 2545
(ตัวอย่าง) สารบัญ คำนำ.…….….………………..….…………..….........….........…. ก ความรู้เกี่ยวกับยุง………………………………….….…………. 1 ยุงเป็นพาหะนำโรค…………………….………………………… 2 วัฏจักรวงจรชีวิตยุง…...………………….…….….….…….…… 4 อาการของโรคและโทษของไข้เลือดออก……………….………… 6 วิธีป้องกันและกำจัดยุง…………………….…………………….. 12 บรรณานุกรม……….…….…….…………….………………….. 16
(ตัวอย่าง) บรรณานุกรม กระทรวงสาธารณสุข. “ไข้เลือดออกกำลังระบาด.” ใกล้หมอ. 18 : 10 (ตุลาคม 2537) : 28 - 29. “เจ้ายุงตัวร้าย.” มติชนสุดสัปดาห์. 20 : 1045 (28 สิงหาคม - 3 กันยายน 2543) : 9. ลักษณา หลายทวีวัฒน์ และคณะ. “การทดลองการพ่นฝอยละอองโดยใช้สาร Bti และสารผสม Bti กับ Deltacide เพื่อควบคุมยุงายในจังหวดขอนแก่น.” วารสารมาลาเรีย. 23 : 3 (พฤษภาคม - มิถุนายน 2541) : 119 - 128. ลำดวน นำศิริกุล. “ไข้เลือดออก.” แม่และเด็ก. 21 : 312 (กุมภาพันธ์ 2541) : 134 - 135. สมบูรณ์ ขอสกุล. “ควบคุมไข้เลือดออกเฉลิมพระเกียรติ.” มติชน. (7 ธันวาคม 2542) : 7.
การนำเสนอรายงาน การเตรียมการพูด การจัดระเบียบเรื่องที่พูด การนำเสนอรายงานอย่างมีประสิทธิภาพ การเขียนรายงาน ให้ความรู้ความคิด ให้ข้อเสนอแนะ จุดมุ่งหมายของการนำเสนอรายงาน ให้ข้อมูลที่เป็นสาระ/ประโยชน์ที่ได้จากการศึกษา
1. เลือกเรื่องพูด และ กำหนดขอบเขตการพูด 8. การวิเคราะห์ ประเมินผล 2. วิเคราะห์ผู้ฟัง 7. การนำเสนอ การพูด 3. ตั้งจุดมุ่งหมายใน การพูดให้ชัดเจน 4. ค้นคว้ารวบรวม เนื้อหาที่จะพูด 6. ฝึกซ้อมก่อน พูดจริง 5. จัดระเบียบเรื่องที่จะพูด//เตรียมประเด็น/โครงเรื่อง หลักในการเตรียมการพูด
ขั้นตอนการนำเสนอรายงานขั้นตอนการนำเสนอรายงาน 1. การจัดระเบียบเรื่องที่พูด/จัดทำโครงการเรื่อง/ ประเด็น ** วิธีจัดโครงเรื่อง - เลือกเรื่อง/ประเด็นหลัก - เลือกหัวข้อหลัก ๆ ให้คลุมแต่ละประเด็นที่จะพูด - จัดลำดับหัวข้อในแต่ละประเด็นให้สอดคล้อง ต่อเนื่องและสนับสนุนใจความสำคัญ - เขียนโครงเรื่อง
** ประโยชน์ - การพูดไม่วกวน - ได้ทดสอดความเป็นเหตุเป็นผลของการพูด - เห็นความสัมพันธ์ของรายละเอียดที่เลือก - ควบคุมเวลาที่จะพูดในแต่ละประเด็น - ช่วยให้จดจำแนวความคิด/เรื่องราวที่จะพูด
** การเขียนโครงเรื่อง** - ตั้งคำถาม - ยกตัวอย่าง - ยกข้อสงสัย - คำนำ = 10 % เป็นการเกริ่น/ขึ้นคำนำ เนื้อเรื่อง = 81 - 85 % เป็นหัวใจของการพูด เป็นประเด็นหลักบางเรื่องที่จะพูด เพราะฉะนั้น ต้องชัดเจน ก่อให้เกิดความเข้าใจโดยการเรียงเนื้อหาตาม เวลา สถานที่ เหตุผล ฯลฯ - เน้น/ย้ำ - ทบทวนประเด็น สำคัญอย่างยิ่ง - ให้ข้อคิด สรุป = 5 - 10 % เป็นการปิดท้ายเรื่อง การสรุป อย่างประหยัด ประทับใจผู้ฟัง
2. การฝึกซ้อมก่อนพูดจริง - ช่วยให้เกิดความพร้อมและเชื่อมั่นในตนเอง - ช่วยให้คุ้นเคยกับเนื้อหาที่จะพูด - ช่วยกะเวลาในการพูดให้เหมาะ - ฝึกพูดเดี่ยว/กลุ่ม- ฝึกใช้โสตทัศนูปกรณ์ เพื่อช่วยปรับปรุงข้อบกพร่อง
4. การวิเคราะห์ ประเมินผล 3. การนำเสนอ = ไม่พูดแบบท่อง/อ่าน - ผู้ฟัง (อาจารย์ เพื่อนนักศึกษา) - การพูด/นำเสนอเนื้อเรื่อง ที่เตรียมไว้นำเสนอเดี่ยว/ทีม
- อธิบาย - เปรียบเทียบ ความสัมพันธ์ แผนภูมิ - เผยแพร่ข่าวสารข้อมูลจำนวนมากให้เข้าใจง่าย - แสดงความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนไป แผนสถิติ แผนที่ - ให้ความรู้ แผ่นโปสเตอร์ - สื่อความคิด/เรื่องราว ภาพสไลด์ - ใช้ประชาสัมพันธ์/แจงรายละเอียด โสตทัศนูปกรณ์ ประกอบการพูด
- เขียนอธิบายได้ - เลื่อน/ซ้อนทับกันได้ - เพิ่มสีสันในแผ่นโปร่งใสได้- ใช้ในห้องสว่างได้ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ - เผยแพร่ข่าว/ความคิด - ประชาสัมพันธ์ - ประทับใจ/จดจำได้นาน 83% ภาพยนตร์ - อัดเสียง - เปิดฟัง - ใช้ประกอบการพูด/ฝึกพูด เทปบันทึกเสียง - บันทึกภาพและเสียง - ประกอบการพูดและวิจารณ์ วีดิทัศน์/วิดีโอเทป
หลักและวิธีใช้สื่อ (โสตทัศนูปกรณ์ในการพูด) 1. อย่ายืนบังผู้ฟัง 2. สิ่งที่นำมาแสดงต้องมีขนาดใหญ่ เห็นและ ฟังได้ชัดเจน 3. สอดคล้อง/เกี่ยวข้องกับเรื่องที่พูด 4. แสดงข้อมูลง่าย ๆ + เข้าใจทันที 5. ใช้ถ้อยคำกระทัดรัด 6. ประณีต มีสีสันดึงดูดใจ
7. แต่ละชิ้นการสื่อสารความคิดเดี่ยว 8. ต้องสร้างความเข้าใจ+สื่อความคิดเห็นที่ชัดเจน แก่ผู้ฟัง 9. การพูดเพื่อโน้มน้าวใจ สื่อนั้นต้องช่วยให้ผู้ฟัง เกิดการยอมรับง่ายขึ้น (+ ข้อเท็จจริงที่นำมาพูด สนับสนุน) 10. คำนึงว่า สื่อนั้นเป็นเพียงเครื่องมือประกอบ การพูดให้เข้าใจยิ่งขึ้น จะใช้แทนการพูดไม่ได้
เลือกสื่อ/โสต ที่มีความเหมาะสม ควรทดลองใช้สื่อ/ ก่อนการใช้จริง หันหน้า หาผู้ฟังใน ขณะใช้สื่อ ควรใช้สื่อที่มี ศักยภาพ/สื่อ ความหมายชัดเจน ข้อแนะนำในการใช้สื่อประกอบการพูด สื่อจะมีประสิทธิภาพขึ้นกับ ผู้พูด+โสตทัศนูปกรณ์+วิธีการใช้
คุณประโยชน์ของการใช้โสตทัศนูปกรณ์ประกอบการพูดคุณประโยชน์ของการใช้โสตทัศนูปกรณ์ประกอบการพูด ช่วยดึงดูดความสนใจ+รักษาความสนใจ ช่วยให้ข้อมูลน่าเชื่อถือและเข้าใจง่ายขึ้น ช่วยให้ผู้ฟังจดจำข้อมูลได้ดี
- เขียนรายงาน - นำเสนอรายงาน การเตรียม 1. แบ่งกลุ่ม ๆ ละ 10 คน 2. จัดประชุมกลุ่ม เพื่อ ก. แบ่งหน้าที่ - ประธาน - เลขานุการ - ผู้ค้นคว้าข้อมูล - ผู้เขียน/เรียบเรียง รายงาน/เข้าเล่ม - ผู้นำเสนอรายงาน ข. เลือกหัวข้อรายงาน - น่าสนใจ/มีประโยชน์ - มีข้อมูลมากพอ - ใช้สื่อประกอบได้ดี
ค. เตรียมนำเสนอรายงาน โดยกำหนด - ผู้เขียนเค้าโครงเรื่องที่จะนำเสนอ - ผู้เตรียมสื่อโสตทัศนูปกรณ์ประกอบการพูด - ผู้นำเสนอรายงาน ง. ฝึกซ้อมก่อนพูดจริง - เดี่ยว - กลุ่ม 2-3 คน 3. นำเสนอ รายงาน 10-15 นาที - เดี่ยว - - กลุ่ม 2-3 คน -
- อาจารย์ - นักศึกษา 4. วิเคราะห์ประเมินผลการพูด ก. ทำความเข้าใจเกณฑ์การประเมิน ข. วิเคราะห์การพูด/การนำเสนอรายงาน โดยเทียบกับเกณฑ์ ค. พิจารณาให้คะแนนร่วมกัน - เดี่ยว - - กลุ่ม 2-3 คน -
การประเมินผลการนำเสนอรายงานของเพื่อนการประเมินผลการนำเสนอรายงานของเพื่อน ก. ชื่อผู้ประเมิน/กลุ่มที่ประเมิน..…......รหัส….....……Sect..…......… ข. วัน/เดือน/ปี ที่ระเมิน……………….....…......……………………. กลุ่มที่ 1 : รายงานรื่อง………………………………………………………… : รายชื่อกลุ่มที่รายงาน 1……………………... 6…………….……….. 2…………………….. 7…………….……….. 3……………………... 8…………….……….. 4……………………... 9…………….……….. 5……………………... 10…………….……... : พิจารณาแล้วขอให้คะแนนการรายงานของกลุ่มนี้…………คะแนน : ด้วยเหตุผล ดังนี้………………………………………………………. ……………………………….……………………………………….
หมายเหตุ การประเมินผลให้พิจารณาจากหัวข้อ ดังนี้ 1. ความพร้อมของกลุ่มในการรายงาน 2 คะแนน 2. อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบหรือลักษณะของการรายงาน ที่ช่วยให้น่าสนใจและช่วยให้เข้าใจ เนื้อหาของเรื่องได้ดี (การใช้โสตฯ/น้ำเสียง/การแสดง) 2 คะแนน 3. มีเนื้อหา/ตัวอย่างที่ชัดเจน และสามารถอธิบายให้ผู้ฟัง เข้าใจรายละเอียด 4 คะแนน 4. ความสามารถในการตอบข้อซักถามของผู้ฟัง 2 คะแนน รวม 10 คะแนน