1 / 47

ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ

ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ. 1. “ ส่วนราชการ ”: สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นหรือเทียบเท่าซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรมแต่มีหัวหน้า ส่วนราชการซึ่งมีฐานะเป็นอธิบดี.

Download Presentation

ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ 1.

  2. “ส่วนราชการ”: สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นหรือเทียบเท่าซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรมแต่มีหัวหน้า ส่วนราชการซึ่งมีฐานะเป็นอธิบดี “บุคลากรของรัฐ” : ข้าราชการทุกประเภท รวมทั้งพนักงาน ลูกจ้างของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ 2.

  3. “เจ้าหน้าที่” : บุคลากรของรัฐที่ได้รับมอบหมายให้ ปฏิบัติงาน “เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานลักษณะพิเศษ” : บุคคล ซึ่งมิได้เป็นบุคลากรของรัฐ ได้รับแต่งตั้งจาก หัวหน้าส่วนราชการ ผู้จัดการประชุมระหว่างประเทศให้ปฏิบัติงานในการประชุมฯ 3.

  4. “การฝึกอบรม”: การอบรม ประชุม / สัมมนาทางวิชาการ / เชิงปฏิบัติการ บรรยายพิเศษ ฝึกศึกษา ดูงาน ฝึกงาน ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อพัฒนาบุคคลหรือ เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ไม่มีการรับปริญญา / ประกาศนียบัตรวิชาชีพ “การประชุมระหว่างประเทศ” : ประชุม / สัมมนาระหว่างประเทศที่ส่วนราชการ / หน่วยงานของรัฐ รัฐบาลต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ จัด / ร่วมจัดในประเทศไทย โดยมีผู้แทนจาก 2 ประเทศ ขึ้นไปเข้าร่วมประชุม / สัมมนา 4.

  5. “การดูงาน” : การเพิ่มพูนความรู้ / ประสบการณ์ด้วยการสังเกตการณ์ ซึ่งกำหนดไว้ในโครงการ / หลักสูตร หรือในแผนการจัดการประชุมระหว่างประเทศ ให้มีการ ดูงาน ก่อน ระหว่าง หรือหลัง รวมถึง โครงการ / หลักสูตรที่มีเฉพาะการดูงานภายในประเทศ “ผู้แทน” : ผู้แทนประเทศไทย และที่ปรึกษาของผู้แทน ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี หรือได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีเจ้าสังกัด ประธานรัฐสภา หัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณ 5.

  6. การฝึกอบรมแบ่งเป็น 4 ประเภท ระดับต้น :ผู้เข้าอบรมเกินกึ่งหนึ่งเป็นบุคลากรของรัฐซึ่งเป็นข้าราชการระดับ 1 – 2 หรือเทียบเท่า ระดับกลาง :ผู้เข้าอบรมเกินกึ่งหนึ่งเป็นบุคลากรของรัฐ ซึ่งเป็นข้าราชการระดับ 3 – 8 หรือเทียบเท่า ระดับสูง :ผู้เข้าอบรมเกินกึ่งหนึ่งเป็นบุคลากรของรัฐซึ่งเป็นข้าราชการระดับ 9 ขึ้นไป หรือเทียบเท่า บุคคลภายนอก : ผู้เข้าอบรมเกินกึ่งหนึ่งมิใช่บุคลากร ของรัฐ 6.

  7. การฝึกอบรม บุคคลภายนอกจัดได้เฉพาะ การฝึกอบรม ในประเทศเท่านั้น 7.

  8. โครงการ / หลักสูตร การฝึกอบรมที่ส่วนราชการเป็นผู้จัด หรือจัดร่วมกับหน่วยงานอื่น ต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณก่อน • การจัดฝึกอบรม การเดินทางไปจัด(เจ้าหน้าที่) และ การเข้ารับการฝึกอบรม (ผู้เข้าอบรม) ต้องได้รับอนุมัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการอนุมัติเดินทางไปราชการและ การจัดการประชุมของทางราชการ 8.

  9. บุคคลที่จะเบิกค่าใช้จ่ายได้บุคคลที่จะเบิกค่าใช้จ่ายได้ • ประธานในพิธีเปิด-ปิด แขกผู้มีเกียรติ • และผู้ติดตาม • 2. เจ้าหน้าที่ • 3. วิทยากร • 4. ผู้เข้ารับการฝึกอบรม • 5. ผู้สังเกตการณ์ ค่าใช้จ่ายให้ส่วนราชการผู้จัดเป็นผู้เบิกจ่ายแต่ถ้าจะเบิกจ่ายจากส่วนราชการต้นสังกัด ให้ทำได้เมื่อ ส่วนราชการผู้จัดร้องขอและส่วนราชการต้นสังกัดยินยอม 9.

  10. เช่น ค่าใช้จ่ายในการจัดฝึกอบรม • ค่าใช้และตกแต่งสถานที่ • ค่าใช้จ่ายพิธีเปิด – ปิด • ค่าวัสดุ เครื่องเขียน อุปกรณ์ฯลฯ • ให้ส่วนราชการผู้จัดฝึกอบรมใช้ดุลพินิจเบิกจ่ายได้ เท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็น เหมาะสมและประหยัด ยกเว้น ค่าสมนาคุณวิทยากร ค่าอาหาร ค่าเช่าที่พัก และค่าพาหนะ • ค่าใช้จ่ายที่ไม่ต้องทำตามระเบียบพัสดุ ได้แก่ ค่าอาหารว่าง-เครื่องดื่ม ค่าอาหาร ค่าเช่าที่พัก 10.

  11. ค่าสมนาคุณวิทยากร หลักเกณฑ์การจ่าย บรรยาย ไม่เกิน 1 คน อภิปราย / สัมมนาเป็นคณะ ไม่เกิน 5 คน แบ่งกลุ่ม- ฝึกภาคปฏิบัติ - อภิปราย - ทำกิจกรรม วิทยากรเกินที่กำหนดให้เฉลี่ยจ่าย ไม่เกินกลุ่มละ 2 คน 11.

  12. การนับเวลาบรรยาย • นับตามเวลาที่กำหนดในตารางการฝึกอบรม • ไม่ต้องหักเวลาที่พักรับประทานอาหารว่าง • แต่ละชั่วโมงการฝึกอบรมต้องไม่น้อยกว่า 50 นาที • ชั่วโมงการอบรมไม่ถึง 50 นาที แต่ไม่น้อยกว่า 25 นาที ให้เบิกค่าสมนาคุณวิทยากรได้กึ่งหนึ่ง 12.

  13. อัตราค่าสมนาคุณวิทยากรอัตราค่าสมนาคุณวิทยากร 13.

  14. จะจ่ายสูงกว่านี้ อยู่ในดุลพินิจของ หัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณ • วิทยากรสังกัดส่วนราชการเดียวกับผู้จัด ให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าส่วนราชการ ผู้จัดที่จะจ่ายได้แต่ไม่เกินอัตราที่กำหนด 14.

  15. ค่าอาหาร ให้เบิกเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 15.

  16. ค่าอาหาร(ต่อ) 16.

  17. ค่าเช่าที่พัก • - ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ระดับต้น / กลาง / บุคคล ภายนอก • - ผู้สังเกตการณ์ • - เจ้าหน้าที่ ระดับ 8 ลงมา • จัดให้พัก 2 คนขึ้นไปต่อห้อง ยกเว้นมีเหตุจำเป็น หรือไม่เหมาะสม • - ผู้สังเกตการณ์ / เจ้าหน้าที่ ระดับ 9 ขึ้นไป • จัดให้พักห้องพักคนเดียวได้ 17.

  18. ระดับการฝึกอบรม ค่าเช่าห้องพักคนเดียว ค่าเช่าห้องพักคู่ 1.การฝึกอบรมระดับต้น ระ ระดับกลาง และ บุคคลภายนอก 2.การฝึกอบรมระดับสูง ไม่เกิน๑,๒๐๐ ไม่เกิน๒,๐๐๐ ไม่เกิน๗๕๐ ไม่เกิน๑,๑๐๐ อัตราค่าเช่าที่พักในการฝึกอบรมในประเทศ (บาท : ;วัน : คน) • ประธาน แขกผู้มีเกียรติ ผู้ติดตาม และวิทยากร จัดให้พักและค่าเช่าที่พัก ตามความเหมาะสมได้ 18.

  19. ค่ายานพาหนะ • 1. ใช้ยานพาหนะของส่วนราชการผู้จัด/ ยืมจากส่วนราชการอื่น / หน่วยงานอื่น เบิกค่าน้ำมันเท่าที่จ่ายจริง • 2. ใช้ยานพาหนะประจำทาง / เช่าเหมายานพาหนะ ให้จัดประเภทยานพาหนะ ดังนี้ • ระดับต้น / บุคคลภายนอก จัดตามสิทธิ ระดับ 5 • ระดับกลาง จัดตามสิทธิระดับ 6 • ระดับสูง จัดตามสิทธิระดับ 10 ยกเว้น เครื่องบินใช้ชั้นธุรกิจ แต่ถ้าเดินทางไม่ได้ให้ใช้ ชั้นหนึ่ง • โดยให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็น และประหยัด 19.

  20. กรณีส่วนราชการผู้จัดไม่จัดอาหาร / ที่พัก / ยานพาหนะให้ส่วนราชการผู้จัดจ่ายเงินในส่วนที่ขาดตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาเดินทาง ให้แก่ - ประธาน แขกผู้มีเกียรติ และผู้ติดตาม - วิทยากร - เจ้าหน้าที่ - ผู้สังเกตการณ์ และผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่เป็นบุคลากรของรัฐให้เบิกจากต้นสังกัด 20.

  21. การคำนวณเบี้ยเลี้ยง กรณีการฝึกอบรม มีการจัดอาหาร ให้นับเวลาตั้งแต่ออกจากที่อยู่ / ที่ทำงาน จนกลับถึง ที่อยู่ / ที่ทำงาน 24 ชั่วโมงคิดเป็น 1 วัน หรือเกินกว่า 12 ชั่วโมง คิดเป็น 1 วัน ให้หักค่าเบี้ยเลี้ยงที่คำนวณได้มื้อละ 1 ใน 3 ของอัตรา เบี้ยเลี้ยงเดินทางเหมาจ่าย 21.

  22. ตัวอย่างคำนวณ เบี้ยเลี้ยงระหว่างฝึกอบรมมีการจัดอาหาร หลักสูตรอบรม 2 วัน จัดอาหารกลางวันให้มีการพักแรม ออกจากบ้าน (วันที่ 1) 05.00 น. กลับถึงบ้าน (วันที่ 2) 22.00 น. รวมเวลา 41 ชม. ได้รับเบี้ยเลี้ยง 2 วัน 22.

  23. กรณีจัดฝึกอบรมบุคคลภายนอก และส่วนราชการ • ไม่จัดอาหาร / ที่พัก / ยานพาหนะ • ให้จ่ายเงินให้แก่ผู้เข้าฝึกอบรมที่มิใช่บุคลากรของรัฐ ดังนี้ • * ค่าเบี้ยเลี้ยง • - ไม่จัดอาหารทั้ง 3 มื้อจ่ายไม่เกิน120 บาท / วัน/ คน • - จัดอาหารให้ 2 มื้อจ่ายไม่เกิน 40 บาท / วัน / คน • - จัดอาหารให้ 1 มื้อจ่ายไม่เกิน 80 บาท / วัน / คน • * ค่าเช่าที่พัก เหมาจ่ายไม่เกิน 500 บาท / วัน /คน • * ค่าพาหนะ จ่ายจริงหรือเหมาจ่าย (อยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้าส่วนราชการผู้จัด) • ห้ามเบิกค่าเครื่องบิน 23.

  24. ค่าใช้จ่ายของผู้เข้ารับการฝึกอบรมค่าใช้จ่ายของผู้เข้ารับการฝึกอบรม ค่าลงทะเบียน เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง กรณีค่าลงทะเบียน รวมค่าอาหาร / ที่พัก / ยานพาหนะทั้งหมด หรือหน่วยงานผู้จัด จัดเลี้ยงอาหาร / ที่พัก / ยานพาหนะทั้งหมด ให้งดเบิกค่าใช้จ่าย กรณีไม่จัดอาหาร / ที่พัก ยานพาหนะ ให้เบิกส่วน ที่ขาดหรือส่วนที่มิได้ออกให้ตามพระราชกฤษฎีกา ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ 24.

  25. กรณีผู้เข้าฝึกอบรมเดินทางไปฝึกอบรมต่างประเทศ โดยได้รับความช่วยเหลือ ให้เบิกค่าใช้จ่ายสมทบ ไม่เกินวงเงินที่ได้รับความช่วยเหลือ ดังนี้ ค่าเครื่องบิน • ได้รับไป – กลับ : งดเบิก • เที่ยวเดียว : เบิกอีกหนึ่งเที่ยวชั้นเดียวกันแต่ไม่สูงกว่าสิทธิ ค่าที่พัก • จัดให้ : งดเบิก ต่ำกว่าสิทธิ : เบิกเพิ่มส่วนที่ขาด / ไม่เกินสิทธิ 25.

  26. ค่าเบี้ยเลี้ยง • ได้รับต่ำกว่าสิทธิ : เบิกสมทบได้ไม่เกินสิทธิ • มีการจัดเลี้ยง ระหว่างฝึกอบรม เบี้ยเลี้ยงคิดเหมือน อบรมในประเทศ ค่าเครื่องแต่งตัว • ต่ำกว่าสิทธิ : เบิกเพิ่มส่วนที่ขาด / ไม่เกินสิทธิ 26.

  27. ค่าเครื่องแต่งตัวในการเดินทางไปฝึกอบรมต่างประเทศค่าเครื่องแต่งตัวในการเดินทางไปฝึกอบรมต่างประเทศ • เบิกได้เฉพาะผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่เป็นบุคลากรของรัฐ / • เจ้าหน้าที่ 27.

  28. กรณีจ้างจัดฝึกอบรม • หลักเกณฑ์ / อัตรา ตามที่ระเบียบกำหนด • วิธีการจัดจ้าง ตามระเบียบพัสดุ • ใช้ใบเสร็จรับเงินผู้รับจ้าง เป็นหลักฐานการ เบิกจ่าย 28.

  29. การเทียบตำแหน่ง • ประธาน แขกผู้มีเกียรติ เจ้าหน้าที่ วิทยากร ผู้สังเกตการณ์ ที่มิใช่ บุคลากรของรัฐ 1. ผู้ที่เคยรับราชการมาแล้วเทียบเท่าระดับตำแหน่งครั้งสุดท้ายก่อนออกจากราชการ 2. บุคคลที่กระทรวงการคลังเทียบตำแหน่งไว้แล้ว 3. วิทยากร - ระดับต้น / กลาง เทียบเท่าระดับ 8 - ระดับสูง เทียบเท่าระดับ 10 เว้นแต่ เป็นบุคคลตาม 1. ให้ใช้ชั้นยศที่สูงกว่าได้ 4. นอกเหนือจากนี้ให้หัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณพิจารณา โดยยึดหลัก ของกระทรวงการคลัง 29.

  30. การเทียบตำแหน่ง (ต่อ) • ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ที่มิใช่บุคลากรของรัฐ • - การฝึกอบรมระดับต้น ซี 1 – 2 • - การฝึกอบรมระดับกลาง ซี 3 – 8 • - การฝึกอบรมระดับสูง ซี 9 ขึ้นไป 30.

  31. การเบิกจ่ายค่าพาหนะ ไป – กลับ ระหว่าง ที่อยู่ / ที่พัก / ที่ทำงาน กับที่ฝึกอบรม ให้อยู่ ในดุลยพินิจของหัวหน้า ส่วนราชการผู้จัด / ต้นสังกัด 31.

  32. กรณีไม่สามารถปฏิบัติตามระเบียบได้ ให้หัวหน้า ส่วนราชการใช้ดุลยพินิจให้เบิกจ่ายได้ 32.

  33. ค่าใช้จ่ายในการจัดงานค่าใช้จ่ายในการจัดงาน จัดงานตามแผนงาน/โครงการ ตามภารกิจปกติ ตามนโยบายของทางราชการ เช่น วันคล้ายวันสถาปนาส่วนราชการ งานนิทรรศการ แถลงข่าว ประกวดหรือแข่งขันฯ หัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณพิจารณาอนุมัติให้เบิกจ่ายได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นเหมาะสม ประหยัด 33.

  34. กรณีจ้างจัดงาน อยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้าส่วนราชการเจ้าของ งบประมาณ วิธีการจัดจ้างทำตามระเบียบพัสดุ ใช้ใบเสร็จรับเงินของผู้รับจ้างเป็นหลักฐานการจ่าย 34.

  35. ค่าใช้จ่ายในการ ประชุมระหว่างประเทศ 35.

  36. บุคคลที่จะเบิกค่าใช้จ่ายได้บุคคลที่จะเบิกค่าใช้จ่ายได้ • ประธานในพิธีเปิด/ปิด แขกผู้มีเกียรติ และผู้ติดตาม • เจ้าหน้าที่ • เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานลักษณะพิเศษ • วิทยากร • ผู้เข้าร่วมประชุม 35.

  37. ค่าใช้จ่าย ก่อน ระหว่าง และหลังการจัดประชุมฯ เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น เหมาะสมและประหยัด ยกเว้น - ค่าสมนาคุณวิทยากร - เงินรางวัลของเจ้าหน้าที่ - ค่าอาหาร - ค่าเช่าที่พัก - ค่าพาหนะ เบิกจ่ายตามระเบียบฯ 36.

  38. ส่วนราชการผู้จัดการประชุมฯ เบิกค่าอาหาร ที่พัก และยานพาหนะได้เท่าที่จ่ายจริง ดังนี้ 1. ผู้เข้าร่วมประชุมเป็นบุคคลระดับรัฐมนตรี หรือสมาชิกรัฐสภา ขึ้นไป โดยเป็นดุลพินิจของหัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณ 2. บุคคลภายนอกจาก 1 เบิกได้ไม่เกิน - ค่าอาหารและเครื่องดื่ม ครบทุกมื้อ ไม่เกิน 1,200 บาท/วัน/คน - ไม่ครบทุกมื้อ ไม่เกิน 800 บาท/วัน/คน 37.

  39. ค่าเช่าที่พัก ไม่เกิน 2,000 บาท/วัน/คน • ค่าพาหนะจ่ายจริง โดยเป็นดุลพินิจของหัวหน้าส่วนราชการเจ้าของบประมาณ 38.

  40. ค่าสมนาคุณวิทยากร ใช้หลักเกณฑ์ ของการฝึกอบรม ส่วนอัตราให้อยู่ ในดุลพินิจของหัวหน้าส่วนราชการตามความจำเป็นและเหมาะสม 60 39.

  41. เงินรางวัลเจ้าหน้าที่ (เฉพาะวันที่ ปฏิบัติงาน) ไม่เกิน 200 บาท/วัน/คน  เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานลักษณะพิเศษ ให้เบิกจ่ายค่าตอบแทน (เฉพาะวันปฏิบัติงาน) ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่หัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณกำหนด 40.

  42. ค่าใช้จ่ายที่ผู้จัดการประชุมเรียกเก็บค่าใช้จ่ายที่ผู้จัดการประชุมเรียกเก็บ - ค่าลงทะเบียน - ค่าธรรมเนียม - ค่าใช้จ่ายทำนองเดียวกัน ให้เบิกจ่ายเท่าที่จ่ายจริง 41.

  43. กรณีค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้รวม ค่าอาหาร ค่าเช่าที่พัก หรือค่าพาหนะของ ผู้เข้าร่วมประชุมไว้ทั้งหมด หรือส่วนราชการผู้จัดการประชุมออก ค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด ให้ผู้เข้าร่วมประชุมงดเบิกค่าใช้จ่าย 42.

  44. กรณีไม่ได้รวมค่าอาหาร ค่าเช่าที่พัก หรือค่าพาหนะฯ หรือส่วนราชการ ผู้จัดการประชุมไม่ออกค่าใช้จ่ายให้ ทั้งหมดหรือบางส่วน ให้เบิกค่าใช้จ่าย ทั้งหมดหรือเฉพาะส่วนที่ขาดจาก ส่วนราชการต้นสังกัด 43.

  45. กรณีส่วนราชการผู้จัดการประชุมได้รับความช่วยเหลือค่าใช้จ่ายจากที่อื่นให้เบิกจ่ายค่าใช้จ่ายสมทบ ได้เฉพาะส่วนที่ขาด 44.

  46. การจ้างจัดการประชุมฯ ให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณ และให้ใช้ ใบเสร็จของผู้รับจ้างเป็นหลักฐานการเบิกจ่าย 45.

  47. ขอบคุณและสวัสดี นางนิโลบล แวววับศรี ผู้อำนวยการกลุ่มกฎหมายและระเบียบด้านค่าใช้จ่ายในการบริหาร โทร. 0-2270-0300 Fax 0-2273-9609 E-mail NILOBOWA@cgd.go.th 46.

More Related