1.05k likes | 1.56k Views
แนวทางการจัดซื้อ สินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม. การประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ ครั้งที่ 1/2553. วันพุธที่ 18 สิงหาคม 2553 เวลา 9.30 – 12.00 น . ณ ห้องประชุม 202 อาคารกรมควบคุมมลพิษ. อภิพร เกศกนกวรกิจ
E N D
แนวทางการจัดซื้อ สินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ ครั้งที่ 1/2553 วันพุธที่ 18 สิงหาคม 2553 เวลา 9.30 – 12.00 น. ณ ห้องประชุม 202 อาคารกรมควบคุมมลพิษ อภิพร เกศกนกวรกิจ ฝ่ายคุณภาพสิ่งแวดล้อมและห้องปฏิบัติการ กรมควบคุมมลพิษ
วาระการประชุม วาระที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ วาระที่ 2 เรื่องเพื่อทราบ 2.1 คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ 2.2 การดำเนินงานที่ผ่านมาของโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดซื้อจัด จ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ และการ ดำเนินงานตามแผนส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ ปี 2551-2554 วาระที่ 3เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา 3.1 ผลการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมปี 2551 – 2552 เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการควบคุมมลพิษ และคณะรัฐมนตรี 3.2 ร่างเกณฑ์สินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (เพิ่มเติม) จำนวน 12 ประเภท 3.3 การขยายผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างสินค้า และบริการที่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ ปี 2551-2554 วาระที่ 4 เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
วาระที่ 2.1 คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ
วาระที่ 2.2 การดำเนินงานที่ผ่านมาของ โครงการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดซื้อจัด จ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ และ การดำเนินงานตามแผนส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ ปี 2551-2554
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้หน่วยงานภาครัฐดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2551 • ขยายผลดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้เป็นตามเป้าหมายที่กำหนด ได้แก่ การขยายจำนวนหน่วยงานภาครัฐ และการเพิ่มปริมาณสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม • ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการดำเนินงานตามแผนส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของภาครัฐปี 2551-2554
เป้าหมายจำนวนหน่วยงานภาครัฐเป้าหมายจำนวนหน่วยงานภาครัฐ ร้อยละ
เป้าหมายปริมาณการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเป้าหมายปริมาณการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ร้อยละ
จำนวนหน่วยงานภาครัฐ เข้าร่วมดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในปี 2551 จนถึงปัจจุบัน จำนวน 118 หน่วยงาน จากหน่วยงานภาครรัฐระดับกรมหรือเทียบเท่าทั้งหมดจำนวน 150 หน่วยงาน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 78.67 ในปี 2553 จำนวนหน่วยงานภาครัฐที่เข้าร่วม ร้อยละ 2551 2552
ผลการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมผลการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เชิงปริมาณ
ผลการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมผลการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มูลค่าสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของหน่วยงานภาครัฐที่เข้าร่วม ปี2551 ~ 50.49 ล้านบาท ปี 2552 ~ 864.47 ล้านบาท เชิงมูลค่า
การจัดทำเอกสารเผยแพร่ และฐานข้อมูลสินค้าที่เป็นมิตรฯ
การจัดทำเกณฑ์ข้อกำหนดสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (เพิ่มเติม) จำนวน 12 ประเภท ได้แก่ คอมพิวเตอร์เครื่องปรับอากาศเครื่องโทรสารสมุดเฟอร์นิเจอร์ไม้น้ำมันเชื้อเพลิง ถังพลาสติกรองรับมูลฝอย รถยนต์น้ำมันหล่อลื่นสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงสถานีบริการรถยนต์และบริการงานพิมพ์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้หน่วยงานภาครัฐดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2551 • ขยายผลดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้เป็นตามเป้าหมายที่กำหนด ได้แก่ การขยายจำนวนหน่วยงานภาครัฐ และการเพิ่มปริมาณสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม • ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการดำเนินงานตามแผนส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของภาครัฐปี 2551-2554
แผนส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปี 2551-2554 ประกอบด้วย 1. มาตรการสำหรับภาครัฐ 2. มาตรการสำหรับภาคผู้ผลิต ผู้จำหน่ายและ ผู้ให้บริการ 3. มาตรการสำหรับภาคการทดสอบรับรอง 4. มาตรการสำหรับภาคการศึกษา และ ประชาสัมพันธ์
มาตรการสำหรับภาครัฐ กำหนดนโยบายการจัดซื้อสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จัดทำแนวทางดำเนินงานสำหรับภาครัฐในการจัดซื้อ และจัดทำดัชนีวัดปริมาณของสินค้าฯ กำหนดลักษณะเฉพาะหรือเกณฑ์รายสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติม ทุกปี จากการดำเนินการตามนโยบายมีการตอบรับเข้าร่วมดำเนินงานจากหน่วยงานภาครัฐระดับกรมจนถึงปัจจุบันคิดเป็นร้อยละ 78 ของหน่วยงานภาครัฐระดับกรมทั้งหมด จัดตั้งคณะอนุกรรมการส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ จัดทำเกณฑ์ข้อกำหนดฯสินค้า/บริการเพิ่มเติมจำนวน 12 สินค้า (อยู่ระหว่างรอเข้าคณะอนุกรรมการฯ)
มาตรการสำหรับภาครัฐ ปรับปรุง แก้ไข พัฒนา กฎหมาย ระเบียบ และระบบการบริหารงาน พัฒนาแนวทางสำหรับภาครัฐในด้านกลไกทางการเงินหรือ Green Financeและมาตรการภาษี พัมนาระบบสารสนเทศและฐานข้อมูลสินค้าฯ ติดตามประเมินผลการดำเนินงานทั้งในภาครัฐและเอกชน เสริมสร้างองค์ความรู้ และความตระหนักในการจัดซื้อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กรมบัญชีกลางมีหนังสือเวียนถึงหน่วยงานภาครัฐ ให้สามารถจัดซื้อสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตามเกณฑ์ฯ โดยให้ดำเนินการตามคู่มือฯ จัดทำฐานข้อมูลสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยภาครัฐสามารถค้นหาสินค้า และรายงานผลได้ผ่านเวปไซต์ มีการติดตามประเมินผลการจัดซื้อจัดจ้างฯ ของหน่วยงานภาครัฐทุก 6 เดือน มีการจัดสัมมนา และฝึกอบรมให้กับเจ้าหน้าที่ภาครัฐ อย่างต่อเนื่อง
มาตรการสำหรับภาคผู้ผลิตมาตรการสำหรับภาคผู้ผลิต กำหนดทิศทางและแนวทางของสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เสริมสร้างความรู้และความเข้าใจสำหรับภาคผู้ผลิต และผู้ให้บริการ ส่งเสริมและสนับสนุน ด้านการเงิน และการตลาด รวมถึงมาตรการด้านภาษี สร้างเครือข่ายผู้ผลิต และผู้ให้บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สนับสนุนกลไกด้านราคาให้สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสามารถจำหน่ายได้ ส่งเสริมด้านราคาสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีการจัดสัมมนาฯ ให้กับผู้ผลิตเกี่ยวกับการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้ผู้ผลิตมีการจำหน่ายหรือใช้สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดเป็นภาพลักษณ์ขององค์กร มีการจำหน่ายสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในมุมจำหน่ายสินค้าสีเขียว (Green Corner)เช่น 7-11 และคาร์ฟูร์ เป็นต้น เพื่อให้เกิดความสะดวกในการเลือซื้อ
มาตรการสำหรับภาคการทดสอบรับรองมาตรการสำหรับภาคการทดสอบรับรอง ผลักดันการกำหนดเกณฑ์ข้อกำหนดและแนวทางตรวจสอบของสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เสริมสร้างกลไกในการป้องกันและควบคุมสินค้าที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การพัฒนาปรับปรุงระบบฉลากสิ่งแวดล้อม การพัฒนาปรับปรุงระบบการตรวจรับรองมาตรฐานสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พัฒนา ปรับปรุง ระบบกำกับ ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลสินค้าฯ ประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (LCA) คพ. ให้คำปรึกษากับผู้ผลิตเกี่ยวกับการค้นหาห้องปฏิบัติการที่ผู้ผลิตสารถนำสินค้าเข้าไปทดสอบ ให้เป็นไปตามเกณฑ์ข้อกำหนดฯ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ฉลากสิ่งแวดล้อมประเทศไทย (ฉลากเขียว) มีการปรับปรุงมาตรฐาน และกระบวนการในการจัดทำ และให้การรับรองเพื่อให้ผู้ผลิตสามารถขอการรับรองรวดเร็วและเป็นไปตามมาตรฐาน มีการประเมินวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ของสินค้าที่คัดเลือกจากที่จัดทำเกณฑ์ข้อกำหนดฯได้แก่ หลอดฟลูออเรสเซนต์ กระดาษชำระ เฟอร์นิเจอร์เหล็ก เฟอร์นิเจอร์ไม้ และน้ำมันหล่อลื่นรถยนต์ เจรจากับบริษัทห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด (Central lab)ในการเป็นหน่วยงานทดสอบรับรองผลิตภัณฑ์
มาตรการสำหรับภาคการศึกษา และประชาสัมพันธ์ เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักในการใช้สินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมสนับสนุน ให้ภาครัฐ สถานศึกษา และองค์กรเอกชน จัดกิจกรรม ส่งเสริมสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สร้างระบบคุ้มครองผู้บริโภค และกลไกรับประกันคุณภาพของสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สนับสนุนและส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์แสดง และจำหน่ายสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประสานความร่วมมือกับสื่อมวลชน เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ วิทยุ เอกสารเผยแพร่ คู่มือการจัดซื้อจัดจ้างฯ Directoryสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จัดฝึกอบรม สัมมนา Roadshowและจัดมหกรรมสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (eco product fair) อย่างต่อเนื่อง จัดกิจกรรมยกย่องหน่วยงานภาครัฐที่มีผลการจัดซื้อจัดจ้างดีเด่นและผู้ประกอบดารที่มีการผลิตและจำหน่ายสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีนโยบายในการใช้สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมภายในองค์กร
มติคณะอนุกรรมการฯ .....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
วาระที่ 3.1 ผลการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมปี 2551 – 2552 เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการควบคุมมลพิษ และคณะรัฐมนตรี
จำนวนหน่วยงานภาครัฐเข้าร่วมดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในปี 2551 จนถึงปัจจุบัน จำนวน 118 หน่วยงาน จากหน่วยงานภาครรัฐระดับกรมหรือเทียบเท่าทั้งหมดจำนวน 150 หน่วยงาน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 78.67 ในปี 2553 ร้อยละ 2551 2552
รวบรวมผลการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของหน่วยงานภาครัฐที่เข้าร่วมดำเนินการฯ ในปีงบประมาณ 2551 - 2552 เป้าหมายปริมาณการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการฯ ร้อยละ
ผลการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมผลการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เชิงปริมาณ
ผลการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมผลการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มูลค่าสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของหน่วยงานภาครัฐที่เข้าร่วม ปี2551 ~ 50.49 ล้านบาท ปี 2552 ~ 864.47 ล้านบาท เชิงมูลค่า
สาเหตุ ปริมาณการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไม่เป็นไปตามเป้าหมาย บางสินค้า สินค้า • การผลิตและจำหน่ายสินค้าประเภทนั้นๆ ที่เป็นไปตามเกณฑ์ข้อกำหนดสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมออกสู่ตลาดมีจำนวนน้อย ทำให้ภาครัฐไม่สามารถหาสินค้าได้ตรงตามเกณฑ์ข้อกำหนดฯ • สินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องโทรสาร ที่มีการเปลี่ยนรุ่นเร็ว ผู้ผลิตไม่มีการขอการรับรองฉลากเขียว • เจ้าหน้าที่ภาครัฐไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับเกณฑ์ข้อกำหนดในแต่ละข้อของสินค้าโดยเฉพาะสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าที่มีส่วนประกอบทางเคมี ซึ่งมีเกณฑ์ข้อกำหนดที่ละเอียดและมีผลวิเคราะห์จากห้องปฏิบัติการ เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร เจ้าหน้าที่จึงไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าสินค้าหรือบริการที่จัดซื้อเป็นไปตามเกณฑ์ข้อกำหนดสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมรือไม่ • สินค้าประเภทนั้นๆ ยังไม่มีผู้ยื่นขอการรับรองฉลากเขียวหรือมีน้อยในตลาด • ดังนั้น พบว่าหากสินค้าที่ได้รับฉลากเขียวและมีแพร่หลายในตลาด เจ้าหน้าที่จัดซื้อส่วนใหญ่จะเลือกซื้อสินค้าที่ได้รับฉลากเขียว
สาเหตุ ปริมาณการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไม่เป็นไปตามเป้าหมาย บางสินค้า บริการ • บริการโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันโรงแรมที่ได้รับเกียรติบัตรใบไม้เขียวมีจำนวน 147 แห่ง และมีราคาค่อนข้างสูง (เกินอัตราที่ภาครัฐสามารถเบิกได้) ดังนั้นภาครัฐหากต้องการที่ใช้บริการโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จะต้องมีการตรวจสอบตามเกณฑ์ข้อกำหนดฯ ซึ่งอาจไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน จึงควรจะมีหน่วยงานที่ให้การทดสอบรับรอง โรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม • บริการทำความสะอาด มีน้ำยาทำความสะอาด ซึ่งหน่วยงานภาครัฐที่ต้องการจัดจ้างต้องตรวจผลทดสอบจากห้องปฏิบัติการ ที่บริษัทบริการทำความสะอาดส่งให้ ซึ่งปัจจุบันเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานนั้น ส่งให้ คพ. ช่วยตรวจสอบ จึงควรจะมีหน่วยงานที่ให้การทดสอบรับรอง • บริการเช่าเครื่องถายเอกสาร บริษัทมีการนำเครื่องมือ 2 มาให้ภาครัฐเช่าเป็นรายปี ซึ่งปัจจุบันฉลากเขียวยังไม่มีการับรอง ซึ่งทาง คพ. ได้ตรวจสอบตามเกณฑ์ฯ ในแต่ละข้อ แต่หน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ไม่สามารถตรวจสอบเกณฑ์ฯ ดังกล่าวได้ เนื่องจากเกณฑ์ข้อกำหนดละเอียดและดูผลทดสอบทางไฟฟ้าค่อนข้างยาก
มติคณะอนุกรรมการฯ .....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
วาระที่ 3.2 ร่างเกณฑ์สินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (เพิ่มเติม) จำนวน 12 ประเภท
การศึกษาคัดเลือกสินค้าและบริการ • สินค้าและบริการที่ภาครัฐจัดซื้อจัดจ้าง • มีการจัดซื้อจัดจ้างในปริมาณมาก ( 20 อันดับต้น) • อยู่ในร่างแผนส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมปี 2551-2554 สินค้าและบริการที่คัดเลือกเบื้องต้น • ความเหมาะสมทางด้านเทคนิค (การปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตให้มี • ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลงกว่าปัจจุบัน) • ความเหมาะสมด้านสิ่งแวดล้อม (พิจารณาผลกระทบของสินค้าและบริการ • ตลอดวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์) • -ความเหมาะสมด้านเศรษฐศาสตร์ (พิจารณาความคุ้มค่าของผลประโยชน์ที่จะ • ได้รับ จากการปรับปรุงการผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยคำนึงถึง • 1) มีทางเลือกสินค้าและสามารถมีสินค้าทดแทน • 2) มีคุณภาพสมารถหาซื้อได้ทั่วไป • 3) มีปริมาณการซื้อในภาครัฐสูง
การจัดทำเกณฑ์ข้อกำหนดสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมการจัดทำเกณฑ์ข้อกำหนดสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่มาการจัดทำเกณฑ์ข้อกำหนดสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม • สินค้า/บริการ ที่ยังไม่มีมาตรฐานฉลากเขียว หรือ • มีจำนวนยี่ห้อน้อยกว่า 2 ราย ที่ผ่านมาตรฐานฉลากเขียว หรือ • ไม่มียี่ห้อที่สามารถปฏิบัติตามมาตรฐานฉลากเขียวได้ในระยะแรก ทบทวนเอกสาร • ศึกษามาตรฐานต่างประเทศและในประเทศที่เกี่ยวข้องในแต่ละสินค้า/บริการ • ศึกษาข้อกำหนดของโครงการฉลากเขียว • ร่างเกณ์ข้อกำหนดสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ระดมความคิดเห็น • แบบสอบถามของสินค้า/บริการ และส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง • จัดประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้ผลิต ผู้เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และเอกชนของสินค้า/ บริการ แต่ละประเภท • ร่างเกณ์ข้อกำหนดสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
การเลือกซื้อสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของภาครัฐการเลือกซื้อสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ เกณฑ์ข้อกำหนดฯ หมายเหตุ : เกณฑ์ข้อกำหนดที่จัดทำเพิ่มเติม มีรถยนต์ : ที่ได้รับฉลากเขียวจำนวน 2 บริษัท
ตัวช่วย/เครื่องมือ เพื่อการจัดซื้อสีเขียว; • ฉลากเขียว • ฐานข้อมูลสินค้าที่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม (www.pcd.go.th) • คู่มือจัดซื้อสินค้าและบริการที่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม • รายการสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม Green Products Directory
ขั้นตอนการตรวจประเมินสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมขั้นตอนการตรวจประเมินสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผู้ผลิต / ผู้แทนจำหน่ายสินค้าและบริการทั้ง 17 ประเภท ยื่นขอความจำนงในการให้ทาง คพ. ตรวจสอบสินค้าหรือบริการ ว่าเป็นไปตามเกณฑ์ข้อกำหนดสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือไม่ คพ. ตรวจสอบหลักฐานที่ทางผู้ผลิต / ผู้แทนจำหน่ายยื่นให้ ตามเกณฑ์ข้อกำหนดสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หากเอกสารที่ยื่นมาไม่ครบถ้วน คพ. จะแจ้งให้ทางบริษัททราบและให้นำหลักฐานมายื่นเพื่อตรวจสอบเพิ่มเติม เอกสารครบถ้วนและเป็นไปตามเกณฑ์ข้อกำหนดฯ คพ. จะแจ้งให้ทางบริษัททราบ และนำรายชื่อสินค้าและบริการ แสดงบนฐานข้อมูลฯ เพื่อให้ภาครัฐสามารถดูสินค้าและบริการ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมผ่านทางเว็บไซต์ได้
ขั้นตอนการตรวจประเมินสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมขั้นตอนการตรวจประเมินสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เจ้าหน้าที่ภาครัฐกรอกข้อมูลลงในแบบรายงานผลการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการ ผ่านทางระบบฐานข้อมูลในเวบไซต์ www.pcd.go.thหรือ ผ่านทางแบบรายงานผลฯ และส่งมาให้ คพ. คพ. ตรวจสอบสินค้าและบริการที่เจ้าหน้าที่ภาครัฐกรอกลงใน แบบรายงานผล ว่าเป็นไปตามเกณฑ์ข้อกำหนดสินค้าและบริการ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือไม่ หากสินค้าและบริการไม่ตรงกับข้อมูลที่มีอยู่ในฐานข้อมูลฯ หรือ เป็นสินค้าและบริการที่ คพ. ไม่เคยตรวจหลักฐานมาก่อน คพ. จะขอเอกสาร / หลักฐานเพิ่มเติมจากผู้ผลิต / ผู้แทนจำหน่าย หรือสืบค้นในเวบไซต์ของบริษัทนั้น หากสินค้าและบริการเป็นไปตามเกณฑ์ข้อกำหนดฯคพ. จะนำไปแสดง บนฐานข้อมูลฯ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ภาครัฐสามารถตรวจสอบสินค้าและบริการ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมผ่านทางเวบไซต์ได้
เกณฑ์ข้อกำหนดสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (เพิ่มเติม) 1 เครื่องปรับอากาศ 2 น้ำมันเชื้อเพลิง 3 สมุด 4 คอมพิวเตอร์ 5 ถังพลาสติกรองรับมูลฝอย 6 รถยนต์นั่ง 7 เครื่องโทรสาร 8 น้ำมันหล่อลื่น 9 เฟอร์นิเจอร์ไม้ 10 สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง 11 สถานีบริการรถยนต์ (เปลี่ยนถ่ายน้ำมันหล่อลื่น) 12บริการงานพิมพ์เอกสาร
เกณฑ์ข้อกำหนดเครื่องปรับอากาศที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เกณฑ์ข้อกำหนดเครื่องปรับอากาศที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม • ได้การรับรองคุณภาพตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม • ต้องประหยัดพลังงานไฟฟ้า โดยต้องได้รับฉลากเบอร์ 5 ของ กฝผ. • มีระดับเสียง (Sound Pressure Level) ของเครื่องปรับอากาศ ตามที่กำหนด • มีสัญลักษณ์บ่งบอกประเภทของพลาสติกบนชิ้นส่วนพลาสติกที่มีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 100 กรัม หรือที่มีพื้นที่ผิวไม่น้อยกว่า 100 ตารางมิลลิเมตร สัญลักษณ์ที่ใช้ควรเป็นไปตาม ISO 11469 เพื่อสะดวกต่อการคัดแยกเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ • ชิ้นส่วนพลาสติกที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศที่มีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 25 กรัม ต้องไม่มีสาร โพลีโบรมิเนตเต็ด ไบฟีนีล (polybrominated biphenyls ;PBB), โพลีโบรมิเนตเต็ด ไดฟีนีล อีเทอร์ (polybrominateddiphenylethers ;PBDE), คลอโรพาราฟินส์ (chloroparaffins),คลอริเนต โพลีเมอร์ (chlorinate polymer)หรือ โบรมิเนตโพลีเมอร์ (brominate polymer)หรือ สารประกอบคลอโรออร์กานิก (chloro organic compound)หรือ โบรโมออร์กานิก (bromo organic) • สีที่ใช้สำหรับผลิตภัณฑ์ต้องไม่มีโลหะหนักหรือสารประกอบของโลหะหนัก ได้แก่ ปรอท ตะกั่ว แคดเมียม โครเมียม (VI)
เกณฑ์ข้อกำหนดเครื่องปรับอากาศที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เกณฑ์ข้อกำหนดเครื่องปรับอากาศที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม • สารทำความเย็นที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ต้องไม่ใช้ สารซี เอฟ ซี (CFCs) • บรรจุภัณฑ์ • บรรจุภัณฑ์กระดาษ ต้องทำมาจากเยื่อเวียนทำใหม่ (recycled pulp) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 • ไม่ใช้ หมึก สี เม็ดสี (pigment) หรือ สารเติมแต่ง (additive) อื่นๆ ที่มีส่วนผสมของโลหะหนักพวกตะกั่ว ปรอท แคดเมียม และโครเมียม • วัสดุป้องกันการกระแทก ต้องไม่ใช้สารซี เอฟ ซี (CFCs) เป็นสารเป่าโฟม
เกณฑ์ข้อกำหนดเครื่องปรับอากาศที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เกณฑ์ข้อกำหนดเครื่องปรับอากาศที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม • สารทำความเย็นที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ต้องไม่ใช้ สารซี เอฟ ซี (CFCs) • บรรจุภัณฑ์ • บรรจุภัณฑ์กระดาษ ต้องทำมาจากเยื่อเวียนทำใหม่ (recycled pulp) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 • ไม่ใช้ หมึก สี เม็ดสี (pigment) หรือ สารเติมแต่ง (additive) อื่นๆ ที่มีส่วนผสมของโลหะหนักพวกตะกั่ว ปรอท แคดเมียม และโครเมียม • วัสดุป้องกันการกระแทก ต้องไม่ใช้สารซี เอฟ ซี (CFCs) เป็นสารเป่าโฟม
เกณฑ์ข้อกำหนดน้ำมันเชื้อเพลิงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เกณฑ์ข้อกำหนดน้ำมันเชื้อเพลิงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม • ให้พิจารณาเลือกใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่มีส่วนผสมของเอธานอลในสัดส่วน • ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 9 โดยปริมาตรสำหรับเครื่องยนต์ประเภทที่จุดระเบิดด้วยประกายไฟ โดยมีคุณลักษณะเป็นไปตามที่กำหนดในประกาศกรมธุรกิจ • พลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ พ.ศ. 2549 • ให้พิจารณาเลือกใช้น้ำมันไบโอดีเซลที่มีส่วนผสมสารเติมแต่งในไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 4โดยมีคุณสมบัติเป็นไปตามประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน พ.ศ. 2550 โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 25 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2543
เกณฑ์ข้อกำหนดน้ำมันเชื้อเพลิงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เกณฑ์ข้อกำหนดน้ำมันเชื้อเพลิงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม • ให้พิจารณาเลือกใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่มีส่วนผสมของเอธานอลในสัดส่วน • ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 9 โดยปริมาตรสำหรับเครื่องยนต์ประเภทที่จุดระเบิดด้วยประกายไฟ โดยมีคุณลักษณะเป็นไปตามที่กำหนดในประกาศกรมธุรกิจ • พลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ พ.ศ. 2549 • ให้พิจารณาเลือกใช้น้ำมันไบโอดีเซลที่มีส่วนผสมสารเติมแต่งในไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 4โดยมีคุณสมบัติเป็นไปตามประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน พ.ศ. 2550 โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 25 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2543
เกณฑ์ข้อกำหนดสมุดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เกณฑ์ข้อกำหนดสมุดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม • 1.กระดาษที่ใช้ทำสมุดต้องทำจากเยื่อเวียนทำใหม่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 • 2. กระดาษที่ใช้ทำสมุดจะต้องมีคุณลักษณะที่ต้องการดังนี้ • 2.1 ค่าความสกปรก ไม่มากว่า 20 ตารางมิลลิเมตรต่อตารางเมตร • 2.2 ค่าความขาวสว่างอยู่ในช่วงร้อยละ 70-80 • หมึกพิมพ์ที่ใช้กับผลิตภัณฑ์ต้อง • - มีปริมาณสารอินทรีย์ระเหยง่าย ไม่เกินร้อยละ 4 โดยน้ำหนัก • - มีปริมาณ ตะกั่ว ปรอท แคดเมียมและเฮกซะวาเลนซ์โครเมียม รวมกันได้ไม่เกิน 100 พีพีเอ็ม (ppm) • - มีส่วนผสมของน้ำมันปิโตรเลียมกลั่น (petroleum distillate) ได้ไม่เกินร้อยละ 25 โดยน้ำหนัก • - ไม่มีส่วนผสมของเบนซีนและตัวทำละลายฮาโลจีเนตเตท (halogenated solvent) • 4. กาวที่ใช้ทำเล่ม ต้องไม่มีส่วนผสมของตัวทำละลายอะโรมาติก (aromatic solvent) ตัวทำละลายฮาโลจีเนตเตท (halogenated solvent) และบอแร็กซ์ (borax) ปรอท ตะกั่ว แคดเมียม เฮกซะวาเลนซ์โครเมียม และมีฟอร์มัลดีไฮด์ ได้ไม่เกินร้อยละ 0.02 โดยน้ำหนัก • 5. สีที่ใช้เคลือบสันห่วงต้องไม่มีโลหะหนัก ได้แก่ ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม และเฮกซะวาเลนซ์โครเมียมโครงการการจัดทำมาตรการควบคุมคุณภาพสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากวัสดุเหลือใช้ , 2548
เครื่องปรับอากาศที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเครื่องปรับอากาศที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ขอบเขต “เครื่องปรับอากาศ” ในที่นี้กำหนดเฉพาะ “เครื่องปรับอากาศชนิดติดผนังห้อง ซึ่งมีขีดความสามารถทำความเย็นรวมสุทธิไม่เกิน 12,000 วัตต์ (หรือ 3.412 ตัน) และ เครื่องปรับอากาศสำหรับห้อง แบบแยกส่วน ระบายความร้อนด้วยอากาศ ที่ประกอบด้วยเครื่องอัดก๊าซโดยตรง (positive displacement compressor) ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งมีขีดความสามารถทำความเย็นรวมสุทธิไม่เกิน 12,000 วัตต์”
คอมพิวเตอร์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมคอมพิวเตอร์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ขอบเขต คอมพิวเตอร์ในที่นี้ ครอบคลุมเฉพาะ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer: PC) ได้แก่ คอมพิวเตอร์ชนิดตั้งโต๊ะ (Desktop) คอมพิวเตอร์ที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ (Portable) รวมถึงบริการเช่าเครื่องคอมพิวเตอร์
เกณฑ์ข้อกำหนดสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเกณฑ์ข้อกำหนดสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความปลอดภัยทางด้านไฟฟ้าโดยต้องผ่านการทดสอบความปลอดภัยทางไฟฟ้าของเครื่องคอมพิวเตอร์ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม บริภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศเฉพาะด้านความปลอดภัย มาตรฐานเลขที่ มอก. 1561 หรือ ตามมาตรฐาน IEC 60950 หรือ EN 60950 หรือCAN/CSA 60950 หรือ UL 60950 หรือ AS/NZS 60950 หรือJIS C 6950/J60950 : Safety of information technology equipment หรือ มาตรฐานอื่นที่เทียบเท่า มีความปลอดภัยทางด้านไฟฟ้าโดยต้องผ่านการทดสอบความเข้ากันได้ทางสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Compatibility: EMC) มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม บริภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ : ขีดจำกัดสัญญาณรบกวนวิทยุ มาตรฐานเลขที่ มอก. 1956 หรือ ตามมาตรฐานอุปกรณ์สำนักงาน CISPR 22 หรือ EN 55022 หรือ CAN/CSA-CISPR 22 หรือ FCC/CISPR 22 หรือ ULCISPR 22 หรือ AS/NZS CISPR 22: Information technology equipment-Radio disturbance characteristics-Limits and methods of measurement หรือ มาตรฐานอื่นที่เทียบเท่า
เกณฑ์ข้อกำหนดสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเกณฑ์ข้อกำหนดสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กำหนดเวลาและกำลังไฟฟ้าที่เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้ในการเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะการใช้พลังงานต่ำต้องผ่านมาตรฐาน Energy Star ระดับเสียงของเครื่องคอมพิวเตอร์ต้องไม่เกิน 55 เดซิเบลเอ (dB(A)) อุปกรณ์และชิ้นส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์ต้องไม่มีส่วนประกอบของแคดเมียม ตะกั่ว ปรอท และ เฮกซะวาเลนซ์โครเมี่ยม ส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นพลาสติกกันไฟต้องไม่มีสารพีบีบี (Polybrominated biphenyls : PBB) , พีบีดีอี (Polybrominated diphenyl ethers : PBDE) และ คลอโรพาราฟิน (Chloroparaffins) เป็นส่วนประกอบ แบตเตอรี่ในเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊กต้องมีส่วนประกอบของตะกั่วไม่เกิน 15 มิลลิกรัม/กิโลกรัมแคดเมียมไม่เกิน 5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และปรอทไม่เกิน 5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
เกณฑ์ข้อกำหนดสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเกณฑ์ข้อกำหนดสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ชิ้นส่วนพลาสติกที่มีน้ำหนักมากกว่า 25 กรัม และมีพื้นที่ผิวมากกว่า 200 ตารางมิลลิเมตร (ไม่รวมชิ้นส่วนพลาสติกใช้ซ้ำ) ต้องมีคุณลักษณะดังนี้ 8.1 เปลือกภายนอกและโครงสร้างที่เป็นพลาสติกของผลิตภัณฑ์ ต้องสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 โดยน้ำหนัก 8.2 มีสัญลักษณ์บ่งบอกประเภทพลาสติกตามมาตรฐาน ISO 11469 หรือ มอก. 1310 8.3 หลังจากแยกชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์แล้วต้องเห็นสัญลักษณ์บ่งบอกประเภทพลาสติก อย่างชัดเจน
เกณฑ์ข้อกำหนดสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเกณฑ์ข้อกำหนดสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม บรรจุภัณฑ์ 9.1 วัสดุที่ใช้ทำบรรจุภัณฑ์ ต้องไม่มีส่วนผสมของ PVC และสารประกอบฮาโลเจน ต้องไม่ใช้สาร CFCs เป็นสารเป่าโฟมในกระบวนการผลิต 9.2 วัสดุป้องกันการกระแทก ต้องไม่มีส่วนผสมของ PVC และสารประกอบฮาโลเจน ต้องไม่ใช้สาร CFCs เป็นสารเป่าโฟม หากใช้กระดาษ ต้องมีส่วนผสมของเยื่อเวียนทำใหม่ร้อยละ 100 ในกรณีที่ใช้บริการเช่าเครื่องคอมพิวเตอร์ ผู้ให้เช่าบริการต้องนำเครื่อง หรือชิ้นส่วนที่หมดสภาพการใช้งานไปกำจัดให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ