410 likes | 712 Views
สมาชิก. นายรณพร ตุ๊เสงี่ยม เลขที่ 9 นางสาวพิมพ์ชนก พัฒน ประเสริฐ เลขที่ 17 นางสาว ศรัณ ยา คุ้มไพ รันต์ เลขที่ 19 นางสาว สุพิชญา ขัณ ทะ วัตร์ เลขที่ 20 นางสาวศศิวิมล กมลลิ้มสกุล เลขที่ 25. หน่วยการเรียนรู้ที่ 3. เลือกซื้อคอมพิวเตอร์อย่างไรให้เหมาะสม.
E N D
สมาชิก • นายรณพร ตุ๊เสงี่ยม เลขที่ 9 • นางสาวพิมพ์ชนก พัฒนประเสริฐ เลขที่ 17 • นางสาวศรัณยา คุ้มไพรันต์ เลขที่ 19 • นางสาวสุพิชญาขัณทะวัตร์ เลขที่ 20 • นางสาวศศิวิมล กมลลิ้มสกุล เลขที่ 25
เลือกซื้อคอมพิวเตอร์อย่างไรให้เหมาะสมเลือกซื้อคอมพิวเตอร์อย่างไรให้เหมาะสม
เลือกซื้อคอมพิวเตอร์อย่างไรให้เหมาะสมเลือกซื้อคอมพิวเตอร์อย่างไรให้เหมาะสม การเลือกชื้อคอมพิวเตอร์ ก่อนอื่นผู้ซื้อควรคำนึงวัตถุประสงค์หลัก หรือความต้องการในการใช้คอมพิวเตอร์ในด้านต่าง ๆ ของตนเองไม่ว่าจะเป็นสำหรับการทำงาน หรือเพื่อความบันเทิง เนื่องจากงานต่างๆ จะมีส่วนสำคัญในการพิจารณาเลือกชื้ออุปการณ์ให้ตรงตามความต้องการ ซึ่งในปัจจุบันนี้ ผู้ใช้ทั่วไปนิยมกำหนดรายละเอียดและเลือกซื้ออุปกรณ์ต่างๆ ด้วยตนเอง เพื่อให้ได้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตรงตามความต้องการมากที่สุด อีกทั้งยังเป็นการควบคุมงบประมาณในการซื้อได้อีกทางหนึ่งด้วย เราอาจจำแนกคอมพิวเตอร์ออกตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 3 ประเภทได้ดังนี้
1.งานด้านเอกสาร รายงาน หรือสำนักงาน คอมพิวเตอร์ในระดับนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่มีความต้องการใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะงานทั่วๆไปเช่น การพิมพ์งาน การดูหนัง ฟังเพลง และการใช้อินเตอร์เนท ซึ่งงานเหล่านี้ สามารถเลือกส่วนประกอบในระดับราคาประหยัด จะทำให้ได้เครื่องคอมพิวเตอร์ตามต้องการในระดับราคาที่ประหยัด
งานด้านเอกสาร รายงาน หรือสำนักงาน
2.งานด้านกราฟิก ออกแบบสิ่งพิมพ์ และสื่อมัลติมีเดีย คอมพิวเตอร์ในระดับนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการทำงานในระดับมืออาชีพ เช่น วิศวกรสถาปนิกออกแบบอาคาร Graphic Designer หรือต้องการตัดต่อภาพยนตร์ซึ่งผู้ซื้อที่มีความต้องการในระดับนี้มักจะมีงบประมาณในการเลือกซื้อที่มากเพียงพอในการเลือกซื้ออุปกรณ์รวมถึงอุปกรณ์เฉพาะด้าน ตามที่ต้องการจึงทำให้ราคานั้นอาจอยู่ในระดับค่อนข้างสูง
งานด้านกราฟิก ออกแบบสิ่งพิมพ์ และสื่อมัลติมีเดีย
3. เล่นเกมคอมพิวเตอร์ และบันเทิงเป็นหลัก คอมพิวเตอร์ในระดับนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ในการฟังเพลง ดูภาพยนตร์ ในระดับคุณภาพเสียงแบบดิจิตอลหรือเล่นเกมส์แบบ 3 มิติโดยเฉพาะ ซึ่งจะนิยมเลือกส่วนประกอบที่มีประสิทธิภาพในระดับปานกลาง แต่เน้นอุปกรณ์เฉพาะด้าน ใช้ CPU ความเร็วปานกลาง แล้วเลือกVGA Card ที่ระดับความเร็วสูง และเลือกลำโพงในระดับที่ดีพอควร
เล่นเกมคอมพิวเตอร์ และบันเทิงเป็นหลัก
การเลือกหน่วยประมวลผลกลางการเลือกหน่วยประมวลผลกลาง • ซีพียู (CPU) หรือ โปรเซสเซอร์ (Processor)เป็นอุปกรณ์ชิ้นหลัก เปรียบเสมือนเป็นสมองของคอมพิวเตอร์ ซีพียูจะมีหน้าที่ประมวลผลคำสั่งต่างๆ ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาให้มีความเร็วที่สูงกว่าเดิมมาก และมีจำนวนแกน Core มากขึ้น ปัจจุบันมีผู้ผลิต CPU 2 ค่ายดัง ได้แก่ Intel และAMD
การเลือกเมนบอร์ด • เมนบอร์ด (Main Board)หลังจากเลือกค่ายผู้ผลิตได้แล้ว ขั้นต่อไปจะเป็นจะเป็นการเลือก Main board ที่ต้องการใช้งาน โดยต้องเลือกให้รองรับกับ CPU ที่เลือกไว้ โดยยี่ห้อที่เป็นที่นิยมได้แก่ Asus, Gigabite, Intel, … ซึ่งการเลือกเมนบอร์ดจะต้องดูข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์อื่นๆ ด้วยว่ารองรับอะไรบ้าง
การเลือกหน่วยความจำแรมการเลือกหน่วยความจำแรม • แรม (RAM) หรือ หน่วยความจำ (Memory)การเลือก RAM จะพิจารณาในเรื่องของ ประเภทของ RAM ซึ่งปัจจุบันจะนิยม DDR3 ที่มีความเร็วสูกว่า DDR2 จากนั้นจะความจุของ RAM ปัจจุบัน RAM ที่จะเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ควรต่ำกว่า 2 GB ส่วนเรื่องจำนวน Slot, ความเร็ว RAM อาจจะต้องพิจารณาร่วมกับข้อจำกัดของ Main Board ด้วย สำหรับการรับประกันส่วนใหญ่จะ Life Time กันหมดแล้ว ยี่ห้อที่เป็นที่นิยมได้แก่ Kingston, Kingmax, …
การเลือกฮาร์ดดิสก์ • ฮาร์ดดิส (Harddisk)การเลือก Harddiskมักจะดูที่ความจุเป็นหลัก ส่วนการเชื่อมต่อปัจจุบันจะเป็นแบบ SATA II เกือบทั้งหมดแล้ว อีกอยากที่ควรสนใจคือระยะเวลารับประกัน ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 3-5 ปี สำหรับคุณสมบัติอื่น เช่น ขนาด 3.5 นิ้ว ความเร็ว 7,200 รอบต่อวินาที ส่วนยี่ห้อที่นิยมได้แก่ Seagate, Western, …
การเลือกจอภาพ • ขนาดหน้าจอ (Size) ขึ้นต่ำแนะนำให้ซื้อ 20 นิ้วขึ้นไป เวลาวัด จะวัดในแนวเส้นทแยงมุม ไม่ได้วัดจากซ้ายไปขวา • ความละเอียด (Resolution) อย่างน้อยก็ควรเป็นระดับ HD หรือ 1920 x 1080 • สัดส่วนหน้าจอ (Aspect Ratio) ส่วนใหญ่จะมีขนาด 16:9 ซึ่งเราเรียกว่า Widescreen หรือจะเลือกแบบเดิมๆ คือ 5:4 ซึ่งมีชื่อว่า Squre (หน้าจอรุ่นใหม่ส่วนใหญ่เป็น Widescreen ซึ่งเหมาะสำหรับการดูวีดีโอเป็นหลัก) • ขนาด Pixel (Pixel Pitch) ยิ่งมีขนาดเล็ก ยิ่งให้ความคมชัดสูงขึ้น เช่น 0.277 x 0.277 mm เป็นต้น ข้อสังเกต ยิ่งขนาดของ Pixel เล็กมากเท่าไหร่ ราคาก็แพงขึ้นเป็นเงาตามด้วยเช่นกัน • ความคมชัด (Contrast) ยิ่งมาก ยิ่งคมชัด ตัวอย่างเช่น Contrast 10,000,000:1 กับ 20,000,000:1 เป็นต้น 20,000,000 ย่อมแสดงความสว่างของภาพได้ดีกว่า
การเลือกจอภาพ • ความมืด ความสว่าง (Brightness) จะอยู่ประมาณ 200 – 300 cd/m2 • พอร์ต (Ports) การเชื่อมต่อ เป็นอีกสิ่งสำคัญที่ผู้ซื้อจอ ไม่ควรละเลย เพราะจะเป็นตัวบ่งบอกราคา และความคมชัดได้อีกอย่างหนึ่ง พอร์ตพื้นฐานที่มีคือ VGA / DVI / D-Sub และล่าสุดของพอร์ตก็คือ HDMI • เวลาในการแสดงผล (Response Time) ส่วนใหญ่ก็อยู่ประมาณ 5 msถ้ามากก็ยิ่งนานกว่าจะแสดงผลได้
การเลือกกราฟิกการ์ด • การ์ดจอ (Display Adapter) หรือ กราฟิคการ์ด (Graphic Card)การเลือกการ์ดจอให้พิจารณาจากการใช้งานเป็นหลัก กรณีที่ไม่ได้เอาไปเล่นเกมส์ หรือ งานออกแบบ 3 มิติ คุณสามารถเลือกซื้อการ์ดจอธรรมดาๆ มาใช้ได้เลย ส่วนที่ควรสนใจคือ ควรตรวจสอบเรื่องการเชื่อมต่อ (Slot) ว่ารองรับกับMainboard ที่คุณเลือกหรือไม่ เช่น AGP, PCI Express ที่สำคัญคือ ถ้าเมนบอร์ดของคุณมีการ์ดจอออนบอร์ดอยู่แล้ว คุณไม่จำเป็นต้องซื้อการ์ดจอเลย (สังเกตุได้จากดูว่าเมนบอร์ดมีช่องต่อสายจอให้หรือเปล่า) สำหรับยี่ห้อให้ดูที่ ชิปเซต (Ship Set) ที่นิยมได้แก่ ATi, Nvidia , Intel
การรับประกันสินค้า • ระยะเวลาในการรับประกัน ระยะเวลาในการรับประกันสินค้าขึ้นอยู่กับคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วนอุปกรณ์แต่ละชิ้น ซึ่งตามปกติแล้วคอมพิวเตอร์แบบประกอบเองมักมีการรับประกัน 1 ปี แต่ถ้าเป็นเครื่องยี่ห้อ (Brand Name) ซึ่งมีราคาแพงกว่าอาจมีการรับประกันถึง 3 ปี ถ้าหากเรามีงบประมาณไม่เพียงพอ การเลือกซื้อแบบประกอบเองก็เป็นทางเลือกที่ดี ทั้งนี้ ถ้ามีความเข้าใจในรายละเอียดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์แล้วจะพบว่าชิ้นส่วนอุปกรณ์ภายในชิ้นมีการรับประกันมากกว่านั้นอีก ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อเรามากโดยมีรายละเอียดในการประกันชิ้นส่วนอุปกรณ์ดังนี้ คือ
การรับประกันอุปกรณ์ที่ยาวนานที่สุดและมีระยะเวลารับประกันแตกต่างจากชนิดอื่นการรับประกันอุปกรณ์ที่ยาวนานที่สุดและมีระยะเวลารับประกันแตกต่างจากชนิดอื่น
-ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk)ผู้ผลิตที่มีชื่อเสียง คือ Seagate และ Quantum ซึ่งนำเข้าโดยบริษัทอินแกรมและดีคอมพิวเตอร์ ซึ่งฮาร์ดดิสก์ของทั้งสองบริษัทดังกล่าวเป็นที่นิยมใช้กันมากในบ้านเรา เนื่องจากมีราคาถูกและแข็งแรงทนทานประกอบกับการรับประกันนานถึง3 ปี ถ้าเสียหายใน 1 เดือนแรก บริษัทจะเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์ใหม่ให้ทันที การรับประกันโดยทั่วไปไม่ครอบคลุมถึงฮาร์ดดิสก์ไหม้ เพราะเสียบแหล่งจ่ายไฟผิดขั้ว หรือเสียบเพราะทำหล่นหรือกระแทกอย่างแรง
-เมนบอร์ด (Main board)ส่วนใหญ่จะมีการรับประกันขั้นต่ำ 1 ปี แต่ถ้าเป็นเมนบอร์ดที่มีชื่อเสียงจะมีการรับประกันถึง 3 ปี ซึ่งมีราคาสูงกว่าเล็กน้อยแต่ก็คุ้มค่า เมื่อเปรียบเทียบกับเวลาในการรับประกัน ซึ่งจะรับประกันในกรณีที่เสียจากการใช้งานตามปกติเท่านั้น ไม่รวมถึงความเสียหายที่เกิดจากความผิดพลาดของเราเอง เช่น ไหม้ เนื่องจากเสียบแหล่งจ่ายไฟผิดขั้ว เสียบการ์ดลงไปอย่างแรงทำให้เมนบอร์ดหักหรือลายวงจรขาด เป็นต้น โดยทั่วไปถ้าเมนบอร์ดเสียภายในเวลา 1 เดือนร้านจะเปลี่ยนให้ใหม่ (Clamed)ถ้าเสียหายหลังจากนั้นทางร้านจะส่งซ่อมโรงงาน และให้เรามารับกลับเมื่อซ่อมเสร็จแล้ว
- ซีพียู (CPU) ซึ่งซีพียูที่มีชื่อเสียง คือ ค่ายของ Intelนำเข้าโดยบริษัทอินแกรมและดีคอมพิวเตอร์ส่วนซีพียูของค่าย AMDนำเข้าโดยบริษัท Power Highlandและค่ายของ VIA ซึ่งซีพียูของทั้งสามบริษัทนี้มีการรับประกันสินค้า 3 ปี ส่วนซีพียูที่นำเข้าโดยผู้ค้ารายย่อยอื่นๆ มีการรับประกันเพียง 1 ปี ดังนั้นก่อนซื้อควรพิจารณาดูให้ดี แต่ตามปกติแล้วซีพียูมักจะเสียหายยากกว่าอุปกรณ์ชนิดอื่นๆ นอกจากเราจะทำการโอเวอร์คล็อกมาเกินไปจนทำให้เกิดความร้อนสูง หรือในกรณีที่เราเสียบขาซีพียูลงใน Slotหรือ Socket ผิดด้าน จะทำให้ซีพียูไหม้ ซึ่งไม่อยู่ในเงื่อนไขการรับประกันเช่นเดียวกับเมนบอร์ด โดยทั่วไปถ้าซีพียูเสียหายภายใน 1 เดือน ทางร้านจะเปลี่ยนให้ใหม่ แต่ถ้าเสียหายหลังจากนั้นทางร้านจะส่งคืนโรงงานรอการเคลมประกันต่อไป
- หน่วยความจำหรือแรม (RAM)จะแบ่งออกเป็น 2 เกรด คือ เกรดดีจะมีการรับประกันตลอดอายุการใช้งาน (Livetime Warranty)ประเภทนี้จะมีราคาแพงกว่าแรมชนิดอื่น ซึ่งมักจะเป็นแรมเกรดทั่วไปที่รับประกันเพียง 1 ปี แต่แรมชนิดทั่วไปนี้จะมีราคาถูกกว่าแรมเกรดดีมาก - ฟล็อปปี้ดิสก์ (Floppy Disk)ส่วนใหญ่มีการรับประกัน 1 ปี บางยี่ห้อซึ่งมีราคาถูกมากจะรับประกันเพียง 1 เดือนเท่านั้น ดังนั้นก่อนจะซื้อควรสอบถามทางผู้ขายให้แน่ใจเสียก่อน
- ซีดีรอม (CD-ROM) รับประกัน 1 ปี แต่ถ้าหากเสียหาย หรือมีปัญหาก็ให้รีบส่งทางร้านภายใน 15 วัน ทางร้านจะเปลี่ยนสินค้าใหม่ ถ้าหลังจากนั้นคงต้องส่งเคลมประกันที่โรงงานและมารับกลับเองเมื่อซ่อมเสร็จ - การ์ดจอ และการ์ดเสียง (Video & Sound Card) รับประกัน 1 ปี ส่วนใหญ่อุปกรณ์ประเภทนี้มักไม่เสียง่าย แต่จะมีปัญหาในเรื่องของการเสียบการ์ดไม่แน่น ทำให้ไม่มีภาพปรากฏบนหน้าจอเท่านั้น
-แหล่งจ่ายไฟ (Power Supply)รับประกัน 1 ปี ซึ่งแหล่งจ่ายไฟบางครั้งมีผลต่อการทำงานของเครื่องเช่นกัน
สติ๊กเกอร์รับประกัน • สติ๊กเกอร์รับประกันที่กำหนดเวลาเริ่มต้นในการรับประกัน • สติ๊กเกอร์รับประกันที่กำหนดเวลาสิ้นสุดในการรับประกัน
1.สติ๊กเกอร์ที่กำหนดเวลาเริ่มต้นการรับประกัน ซึ่งเป็นแบบที่นิยมกันมากกว่าเพราะง่ายต่อการบันทึกวันเริ่มต้นรับประกันไป เนื่องจากอุปกรณ์แต่ละชิ้นมีระยะเวลาในการรับประกันไม่เท่ากัน สติ๊กเกอร์แบบนี้ที่บริเวณด้านล่างมักจะมีคำว่า Warranty Void If Remove หมายความว่า รับประกันจะสิ้นสุดลง เมื่อมีการแกะหรือฉีกสติ๊กเกอร์ออกจากตัวสินค้านั้น ดังนั้นเมื่อซื้อสินค้าควรจะตรวจดูสติ๊กเกอร์รับประกันด้วยว่า ยังอยู่หรือติดไว้ในตำแหน่งที่เหมาะสมหรือไม่
2.สติ๊กเกอร์กำหนดเวลาสิ้นสุดการรับประกัน รับเป็นรูปแบบสติ๊กเกอร์ที่อำนวยความสะดวกสำหรับผู้ซื้อ เนื่องจากจะทราบเวลาสิ้นสุดการรับประกันสินค้าได้ อย่างชัดเจนจากการเขียนลงบนสติ๊กเกอร์นั้นแต่ทางร้านไม่นิยมใช้แบบนี้ เนื่องจากต้องระบุวันที่สิ้นสุดการรับประกันลงไป ซึ่งมีโอกาสที่จะเขียนผิดพลาดได้ง่าย วันสิ้นสุดการรับประกันในสินค้ามักมีตัวอักษรภาษาอังกฤษเขียนไว้ว่า EXPIRE อยู่ด้วยเสมอ
การดูแลรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์การดูแลรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ • การดูแลรักษาซีพียูการทำความสะอาดฝุ่นผงที่ติดอยู่ ควรหลีกเลี่ยงการใช้มือหรืออุปกรณ์ทำความสะอาดทุกชนิดที่สัมผัสโดยตรง ถ้ามีฝุ่นจับหนาแน่นแนะนำให้ใช้พัดลมหรือเป่าลมใส่ตามซอกและบนแผงวงจรให้สะอาด
การดูแลรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์การดูแลรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ • การดูแลรักษาเมนบอร์ดเมื่อมีการถอดอุปกรณ์เมนบอร์ดออกจากเครื่องควรพยายามถอดออกอย่างระมัดระวัง และควรทำการปัดฝุ่นให้สะอาด ระวังอย่าให้เมนบอร์ดโดนน้ำหรือตกหล่น เพราะจะทำให้อุปกรณ์บนเมนบอร์ดเกิดชำรุด ทำให้เมนบอร์ดใช้งานไม่ได้
การดูแลรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์การดูแลรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ • การดูแลรักษาจอภาพ • อย่าให้วัตถุหรือน้ำไปกระทบหน้าจอคอมพิวเตอร์ • ควรเปิดไฟที่จอก่อนที่สวิทซ์ไฟที่ CPU เพื่อ boot เครื่อง • ไม่ควรปิด ๆ เปิด ๆ เครื่องติด ๆ กัน เมื่อปิดเครื่องแล้วทิ้งระยะไว้เล็กน้อยก่อนเปิดใหม่ • ควรปรับความสว่างของจอภาพให้เหมาะสมกับสภาพของห้องทำงาน • เมื่อมีการเปิดจอภาพทิ้งไว้นาน ๆ ควรจะมีการเรียกโปรแกรมถนอมจอภาพ (Screen Sever) ขึ้นมาทำงานเพื่อยืดอายุการใช้งานของจอภาพ
การดูแลรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์การดูแลรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ • การดูแลรักษาการ์ดแสดงผล ถอดการ์ดแสดงผลออกมาแล้วใช้ยางลบถูตรงบริเวณหน้าสัมผัสที่เป็นสีทองเพื่อเป็นการลบเอาคราบฝุ่นต่างๆ ที่เกาะอยู่ออกไป ส่วนนอกเหนือจากนั้นก็นำแปลงมาปัดฝุ่นตามการ์ดแสดงผลออกไป
การดูแลรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์การดูแลรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ • การดูแลรักษาเมาส์ใช้แผ่นรองเมาส์ และถอดลูกกลิ้งในเมาส์ออกมาเพื่อทำความสะอาด เนื่องจากลูกกลิ้งจะสะสมสิ่งสกปรกต่างๆไว้ภายในเมาส์ ทำให้ลูกกลิ้งไม่สามารถเคลื่อนที่ไปโดยอิสระ
การดูแลรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์การดูแลรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ • การดูแลรักษาแป้นพิมพ์ 1.ปัดฝุ่นและทำความสะอาดเป็นประจำ 2.อย่าทำน้ำหกถูกแผงแป้นพิมพ์ 3.คลุมผ้าทุกครั้งหลังการใช้งาน
การดูแลรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์การดูแลรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ • การดูแลรักษาฮาร์ดดิสก์ 1.ไม่ควรนำแผ่นดิสก์ไปไว้ในที่ที่มีความชื้นสูงหรือเปียก 2.ไม่ควรนำแผ่นดิสก์ไปเข้าใหล้กับวัตถุที่มีสนามแม่เหล็ก 3.ไม่ควรนำแผ่นดิสก์ไปวางไว้ในที่ที่มีอุณภูมิสูงหรือที่ที่มีแสงแดดส่องถึง 4.ไม่ควรขีดหรือเขียนสิ่งใดลงบนแผ่นดิสก์ 5.ไม่ควรงอแผ่นดิสก์ 6.ห้ามนำแผ่นดิสก์ออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ ในขณะที่กำลังอ่านข้อมูล
การดูแลรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์การดูแลรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ • การดูแลรักษาซีดีรอมไดรฟ์ ไม่ควรนำแผ่นซีดี ที่เสียแล้ว หรือมีรอยขีดข่วนมากๆ มาอ่าน เพราะอาจทำให้หัวอ่านชำรุดได้ รวมถึงการใช้น้ำยาล้างหัวอ่านผิดประเภทด้วย ใช้น้ำยาทำความสะอาดสำหรับเครื่องคอมฯ เช็ด บริเวณด้านนอก โดยอาจใช้พู่กันเล็กๆ ช่วยในการปัดฝุ่นออกเสียก่อน จากนั้นจึงใช้น้ำยาทำความสะอาดเช็คเครื่องคอมฯ
การดูแลรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์การดูแลรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ • การดูแลรักษาพัดลมระบายความร้อน การรักษาความสะอาดพัดลมโดยการปัดด้วยแปรง หรือที่เป่าฝุ่นจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพัดลมระบายความร้อน
สมาชิก นายรณพร ตุ๊เสงี่ยม เลขที่ 9 นางสาวพิมพ์ชนก พัฒนประเสริฐ เลขที่ 17 นางสาวศรัณยา คุ้มไพรันต์ เลขที่ 19 นางสาวสุพิชญาขัณทะวัตร์ เลขที่ 20 นางสาวศศิวิมล กมลลิ้มสกุล เลขที่25