520 likes | 732 Views
การศึกษาผลกระทบของมาตรการภาษี ต่อการลงทุนของภาคการผลิต. ณพล สุกใส. 1. ที่มาและความสำคัญของปัญหา. ภาษีมีความสำคัญทั้งในแง่ของการเป็นแหล่งหารายได้ของรัฐบาลเพื่อนำมาใช้จ่ายตามเป้าหมายและโครงการต่างๆ เช่น การบริการสาธารณะ การศึกษา สาธารณสุข
E N D
การศึกษาผลกระทบของมาตรการภาษีต่อการลงทุนของภาคการผลิตการศึกษาผลกระทบของมาตรการภาษีต่อการลงทุนของภาคการผลิต ณพล สุกใส
1. ที่มาและความสำคัญของปัญหา • ภาษีมีความสำคัญทั้งในแง่ของการเป็นแหล่งหารายได้ของรัฐบาลเพื่อนำมาใช้จ่ายตามเป้าหมายและโครงการต่างๆ เช่น การบริการสาธารณะ การศึกษา สาธารณสุข • ภาษียังเป็นเครื่องมือของนโยบายเศรษฐกิจ ทั้งเป้าหมายการกระตุ้น สร้างเสถียรภาพ การกระจายรายได้ • การใช้มาตรการภาษี จึงกระทบต่อการผลิต และระบบเศรษฐกิจโดยรวม 2
จึงสนใจศึกษาผลกระทบของภาษีที่กระทบต่อภาคการผลิต และระบบเศรษฐกิจ เช่น การลงทุน การสะสมทุน การจ้างงาน การบริโภค ปริมาณผลผลิต เป็นต้น • โดยกำหนดระบบภาษีที่พยายามให้สอดคล้องกับความจริงลงในแบบจำลอง คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีกำไรจากการขาย • จากการที่ระบบภาษีในระบบเศรษฐกิจมีผลต่อการบิดเบือนการตัดสินใจของประชาชน รวมทั้งมีผลต่อการสะสมทุน ซึ่งย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามอัตราผลตอบแทนของทุนที่เปลี่ยนแปลงจากผลของอัตราภาษีแต่ละชนิด 3
ขณะที่ในระบบเศรษฐกิจหนึ่งๆ ประชาชนมีการสะสมทุนได้หลายวิธี ผ่านสินทรัพย์ต่างๆ ที่เอกชนเป็นผู้ออก ซึ่งเมื่ออัตราภาษีเปลี่ยนแปลงจะกระทบต่อผลตอบแทนของสินทรัพย์แต่ละชนิดแตกต่างกันไป • จึงต้องการศึกษาผลของการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษี ต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างแหล่งเงินทุนของภาคการผลิต • โดยแบบจำลองนี้สมมติให้ระบบเศรษฐกิจมีสินทรัพย์ 2 ชนิด คือ หุ้น (Equity) และพันธบัตรเอกชน (Corporate bond) 4
2. วัตถุประสงค์ของการศึกษา • เพื่อศึกษาผลกระทบของมาตรการภาษีของรัฐบาลต่อดุลยภาพทั่วไปของระบบเศรษฐกิจ • เพื่อศึกษาผลกระทบของมาตรการภาษีของรัฐบาลต่อระดับของหนี้ต่อหุ้น (Debt-equity ratio) ของภาคการผลิต 5
3. ขอบเขตของการศึกษา • กำหนดให้ระบบเศรษฐกิจประกอบด้วย 3 ภาค ได้แก่ ภาคครัวเรือน ภาคการผลิต และภาครัฐบาล • ระบบเศรษฐกิจประกอบด้วยภาษีทั้งหมด 4 ประเภท คือ • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Personal income tax) • ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate income tax) • ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value added tax) • ภาษีกำไรจากการขาย (Capital gain tax) 6
4. วรรณกรรมปริทรรศน์ • การกำหนดแบบจำลองใช้ General equilibrium model: ภาคการผลิต ครัวเรือน รัฐบาล • เนื่องจาก การสะสมทุนเป็นพฤติกรรมของภาคครัวเรือน การเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีที่เกี่ยวกับผลตอบแทนในสินทรัพย์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสะสมทุนของภาคครัวเรือน [Abel and Blanchard (1983)Bovenberg (1986) Osterberg (1989) Turnovsky (2000) และ Hassett and Hubbard (2002)] 7
แบบจำลองที่อธิบายผลของภาษี ส่วนใหญ่มุ่งศึกษาเฉพาะภาษีบางประเภท เช่น งานของ Atkinson and Stiglitz (1980) Goulder and Summers (1989) Abel (1982) • ส่วน Turnovsky (2000) และ Hassett and Hubbard (2002) Brock and Turnovsky (1981) ถือว่าครอบคลุม • จึงใช้แบบจำลองของ Turnovsky (2000) เป็นต้นแบบ • แบบจำลองการลงทุนของภาคการผลิต Blanchard and Fischer (1989) Demers, Demers, and Altug (2003) แบ่งแบบจำลองการลงทุนเป็น 2 แบบคือ แบบที่ไม่ Adjustment cost และแบบที่มี Adjustment cost • Adjustment cost คือ ต้นทุนของการปรับระดับการสะสมทุนจากปัจจุบันไปในเวลาถัดไป เช่น การติดตั้ง ปรับปรุงเครื่องจักร โดยที่เงื่อนไขการลงทุนที่เหมาะสมต้องพิจารณาจาก Adjustment cost และ ผลได้จากการสะสมทุน [Blanchard (1989), Romer (2001), Turnovsky (2000)] 8
โครงสร้างแหล่งเงินทุนของภาคการผลิตBrock and Turnovsky (1981) และTurnovsky (2000) แสดงให้เห็นว่าเมื่อไม่มีต้นทุนของการออกพันธบัตรแล้ว จะทำให้ภาคการผลิตตัดสินใจเลือกขายหุ้น (Equity) หรือขายพันธบัตรเอกชน (Corporate bond) เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเลือกแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนของเงินทุนต่ำกว่า • Osterberg (1989) กล่าวว่าการขายพันธบัตรเป็นการแสวงหาเงินทุนจากภายนอกภาคการผลิต ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะสามารถขอกู้เงินได้โดยปราศจากข้อจำกัด • Myers (1977) และ Mao (2003) ถ้ามีหนี้เดิมสูงการก่อหนี้ใหม่จะมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้น • Osterberg (1989) กำหนดให้การขายพันธบัตรมี Agency cost ซึ่งขึ้นอยู่กับสัดส่วนของหนี้ต่อหุ้น ผลจึงทำให้สามารถอธิบายผลของการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีต่อ Debt-equity ratio ได้ 9
5. กรอบแนวคิดทางทฤษฎี • ข้อสมมติของแบบจำลอง • ภาคครัวเรือน • ภาคการผลิต • ภาครัฐบาล • ดุลยภาพของระบบเศรษฐกิจ • เงื่อนไขที่เหมาะสมของภาคครัวเรือน • เงื่อนไขที่เหมาะสมของภาคการผลิต • เงื่อนไขดุลยภาพของระบบเศรษฐกิจ 10
แบบจำลองเป็น Discrete time model ตั้งแต่ ถึง • ระบบเศรษฐกิจประกอบด้วยภาคครัวเรือน ภาคการผลิต และ ภาครัฐบาล • ระบบเศรษฐกิจเป็นแบบ Decentralized economy • ภาษีในระบบเศรษฐกิจประกอบด้วย 4 ประเภท • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Personal income tax) • ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value added tax) • ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate income tax) • ภาษีกำไรจากการขาย (Capital gain tax) ข้อสมมติของแบบจำลอง 11
ครัวเรือนตัดสินใจตลอดช่วงเวลา ตั้งแต่ ถึง เพื่อเลือกระดับการบริโภค การทำงาน การสะสมทุนผ่านการถือพันธบัตรเอกชน และการถือหุ้น ที่ทำให้ได้รับความพึงพอใจสูงสุด • โดยที่ • สมการงบประมาณอธิบายการใช้จ่ายเพื่อบริโภคและการสะสมทุนที่ไม่เกินระดับความมั่งคั่งที่มีอยู่ในแต่ละช่วงเวลา ภาคครัวเรือน (1) (2) 12
Optimality conditions • อัตราการทดแทนส่วนเพิ่ม (Marginal rate of substitution) ระหว่างการบริโภคและการทำงาน เท่ากับ ราคาเปรียบเทียบระหว่างอัตราค่าจ้างหลังหักภาษีกับราคาสินค้าที่รวมภาษีแล้ว • อัตราผลตอบแทนของการบริโภค (Rate of return on consumption) เท่ากับ อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรหลังหักภาษี (After-tax rate of return on bonds) • อัตราผลตอบแทนของการบริโภค (Rate of return on consumption) เท่ากับ อัตราผลตอบแทนของผลตอบแทนจากหุ้นหลังหักภาษี (After-tax rate of return ondividends) บวก อัตราผลตอบแทนจากมูลค่าสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นอย่างแท้จริงหลังหักภาษี (After-tax rate of return on the real capital gains) 13
ผู้ผลิตตัดสินใจเลือกระดับการผลิตที่ทำให้ได้รับผลกำไรสูงสุด ตลอดช่วงเวลา ถึง มีค่าสูงที่สุด • กำหนดฟังก์ชั่นการผลิต คือ • ข้อสมมติ คือ เป็น Constant returns to scale และ Marginal product มากกว่า 0 และมีลักษณะเป็น Diminishing marginal product คือ ภาคการผลิต (3) 14
กำไรเบื้องต้น (Gross profit ) ของการดำเนินกิจการ คือ ผลต่างของรายได้จากการขายสินค้า กับ ค่าจ้างแรงงาน และ Adjustment cost คือ • Adjustment cost คือ ต้นทุนของการปรับระดับการสะสมทุน จากที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นระดับที่มีในเวลาถัดไป ซึ่งหมายถึง ต้นทุนจากการติดตั้ง ปรับปรุงปัจจัยทุนของภาคการผลิต [Obstfeld and Rogoff (1996), Turnovsky(2000)] (4) 15
ในแบบจำลองที่ไม่มี Adjustment cost เงื่อนไขการใช้ปัจจัยทุนที่เหมาะสม คือ ใช้ปัจจัยทุนที่ระดับที่ทำให้ อัตราผลตอบแทนของทุนเท่ากับ MPK ในทุกๆ ระยะเวลาการผลิต • แต่ข้อสมมติที่มี Adjustment cost ทำให้ภาคการผลิตไม่สามารถเลือกใช้ปัจจัยทุนตามเงื่อนไขดังกล่าวได้ • เนื่องจากต้องคำนึงถึงผลที่เกิดจากการลงทุน ซึ่งนอกจาก จะมีผลผลิตส่วนเพิ่มจากปัจจัยทุนแล้ว ยังต้องคำนึงถึงผลได้จากการสะสมทุน และต้นทุนส่วนเพิ่มของการลงทุนด้วย [Obstfeld and Rogoff (1996), Barro and Sala-i-Martin(2003)] 16
โดยที่การลงทุนมี Adjustment cost คือ ที่เกิดขึ้นจากการปรับระดับของการสะสมทุน • สมการของการลงทุนที่รวมกับ Adjustment cost คือ • โดยที่ Adjustment cost เป็น Nonnegative, Linearly homogeneous, Convex function คือ • เงื่อนไขที่ค่าเริ่มต้น คือ Adjustment cost มีค่าต่ำที่สุดเท่ากับ 0 เมื่อการลงทุนเป็น 0 คือ และ (5) 17
สมการ (4) เป็นผลกำไรที่ยังไม่ได้จัดสรรผลตอบแทนของการใช้ปัจจัยทุน • โดย Gross profit ถูกจัดสรรเป็นภาษีที่ต้องจ่ายให้รัฐบาลผลตอบแทนของพันธบัตร เงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้น กำไรสะสม ต้นทุนการกู้ยืมจากภายนอก ซึ่งก็คือ Agency costs • สมมติให้การสะสมทุนในแต่ละช่วงเวลาเพิ่มขึ้นตามขนาดของการลงทุน โดยไม่มีการเสื่อมค่าของการสะสมทุน (6) (7) 18
โดยการใช้จ่ายเพื่อการลงทุนได้จากกำไรสะสม การขายหุ้น และพันธบัตร คือ • ภาษีที่ภาคการผลิตจ่ายให้รัฐบาล คือ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่คิดจากผลกำไรหลังการชำระหนี้ (8) (9) 19
Agency cost คือ ต้นทุนที่ภาคการผลิตต้องเผชิญจากการกู้ยืมเงินจากภายนอก นอกเหนือจากส่วนที่ต้องจ่ายในรูปดอกเบี้ยของพันธบัตร • เมื่อหนี้สูงขึ้น ความเสี่ยงที่จะไม่สามารถจ่ายชำระหนี้ได้ จะสูงขึ้นดังนั้น ผู้ให้กู้จะยอมให้กู้ก็ต่อเมื่อได้ผลตอบแทนสูงขึ้นด้วย • ดังนั้น เมื่อ Debt-equity ratio สูงขึ้น Agency costs จะสูงขึ้น • สมมติให้ เป็น Convex function คือ • ภาคการผลิตต้องเลือก Debt-equity ratio ที่เหมาะสมที่ทำให้ต้นทุนของเงินทุนมีค่าต่ำที่สุด 20
แทนค่าสมการ (8) (9) และ ลงในสมการ (5) • โดยที่ • เมื่อ คือ Debt-equity ratio • สมการ (10) เป็นสมการเป้าหมายของภาคการผลิต คือ ต้องการให้กำไรสุทธิหลังหักภาษี ลบเงินลงทุน ซึ่งก็คือ กระแสเงินสดสุทธิ มีค่าสูงสุดตลอดช่วงเวลาดำเนินกิจการ (10) (11) 21
Optimality conditions • ผลผลิตส่วนเพิ่มของแรงงาน (Marginal product of labor) เท่ากับอัตราค่าจ้างที่แท้จริง • ต้นทุนส่วนเพิ่มของการลงทุน (Marginal cost of investment) เท่ากับมูลค่าหรือผลตอบแทนส่วนเพิ่มของทุน (Marginal value of capital or Shadow price of capital (q)) • ต้นทุนของทุน (Cost of capital) เท่ากับผลผลิตส่วนเพิ่มของปัจจัยทุนหลังภาษี (After-tax marginal product of capital) รวมกับ ผลได้ส่วนเพิ่มของการลงทุน และอัตราการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าของทุน 22
รัฐบาลทำหน้าที่ดุลการใช้จ่ายของรัฐบาลให้เท่ากับรายรับภาษีรัฐบาลทำหน้าที่ดุลการใช้จ่ายของรัฐบาลให้เท่ากับรายรับภาษี ภาครัฐบาล (12) 23
เงื่อนไขที่เหมาะสม: ภาคครัวเรือน (1) (2) (13) 24
จากสมการ (14) และ (15) ได้ (14) (15) (16) (17) (18) 25
เงื่อนไขที่เหมาะสม: ภาคการผลิต (10) (6) (19) 26
(20) (21) (22) 27
แทนค่าสมการ (21) ลงในสมการ (22) ได้เงื่อนไขการใช้ปัจจัยทุนที่เหมาะสมของการใช้ปัจจัยทุน คือ • ต้นทุนของทุน เท่ากับ ผลรวมของ • ผลผลิตหน่วยสุดท้ายของปัจจัยทุนหลังหักภาษี • ผลได้ของการลงทุน คือ ผลได้จากปัจจัยทุนที่สร้างขึ้นใหม่ หักลบด้วยต้นทุนของการลงทุน (Adjustment cost) • อัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาเงาของการลงทุน (23) 28
ดุลยภาพของระบบเศรษฐกิจดุลยภาพของระบบเศรษฐกิจ • เงื่อนไขเหล่านี้ กำหนดการบริโภค การจ้างงาน และการลงทุน (14) (24) (25) (26) (27) (25) 29
การเปลี่ยนแปลงของการสะสมทุน และ Shadow price of capital • ดุลยภาพของผลผลิต (28) (29) (30) 30
6. ผลการศึกษา พิจารณาผลของการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีใน 2 ประเด็น • ผลของการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีต่อระบบเศรษฐกิจ • ผลของการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีต่อต่อ Debt-equity ratio 31
จากเงื่อนไขดุลยภาพ เมื่อพิจารณา ณ ระดับ Steady state ซึ่งไม่มีการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรต่างๆ จะได้ ผลการศึกษา:การเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีต่อระบบเศรษฐกิจ (31) (32) (33) (34) 32
จากสมการ (31) – (33) และ (34) นำมาวิเคราะห์ผลกระทบของภาษีต่อการเปลี่ยนแปลง • อัตราผลตอบแทนของทุนที่แท้จริง (Real cost of capital) • สัดส่วนของทุนต่อแรงงาน (Capital-labor ratio) • การจ้างงาน • การบริโภค • ปริมาณผลผลิต • การสะสมทุน 33
ผลต่ออัตราผลตอบแทนของทุนที่แท้จริง + + + + (34) • เพิ่มขึ้น ทำให้รายได้จากการทำงาน และผลตอบแทนของการออมหลังหักภาษีจะลดลง การสะสมทุนจึงลดลง ดังนั้น จึงสูงขึ้นเพื่อจูงใจให้ครัวเรือนมีการออมมากขึ้น • เพิ่มขึ้น ทำให้ อำนาจซื้อของครัวเรือนจะลดลง ดังนั้น หากต้องการรักษาอำนาจซื้อเดิมไว้จึงต้องลดการออมลง ดังนั้น จึงสูงขึ้นเพื่อจูงใจให้ครัวเรือนมีการออมมากขึ้น 34
เพิ่มขึ้น ทำให้ผลตอบแทนของการออมหลังหักภาษีจะลดลง การสะสมทุนจึงลดลง ดังนั้น จึงสูงขึ้นเพื่อจูงใจให้ครัวเรือนมีการออมมากขึ้น • เพิ่มขึ้น ทำให้แรงจูงใจในการผลิตของภาคการผลิตลดลง ปริมาณการนำทุนมาใช้จึงลดลง ดังนั้น ราคาของทุนจึงลดลง คือ ลดลง 35
ผลต่อสัดส่วนของทุนต่อแรงงาน - + + (35) + + • เพิ่มขึ้น ทำให้ ลดลง เนื่องจากต้นทุนของการใช้ทุนสูงขึ้นโดยเปรียบเทียบ ภาคการผลิตจึงลดการใช้ปัจจัยทุนลง และหันมาใช้ปัจจัยแรงงานเพิ่มขึ้น • เพิ่มขึ้น ทำให้อัตราผลตอบแทนของทุนลดลง ภาคครัวเรือนจึงมีการสะสมทุนลดลง ดังนั้น ในระยะยาวระบบเศรษฐกิจจึงมีการสะสมทุนลดลง จึงทำให้ ลดลง 36
เมื่อ เพิ่มขึ้น ทำให้ ลดลง • เนื่องจาก เมื่ออัตราภาษีเพิ่มขึ้น และทำให้ภาคการผลิตใช้ปัจจัยทุนลดลง และหันมาใช้ปัจจัยแรงงานเพิ่มขึ้น ทำให้ Marginal product of labor ลดลง ตามหลักของการลดลงของผลผลิตส่วนเพิ่ม • นอกจากนี้ เมื่อ เพิ่มขึ้น ยังทำให้อัตราค่าจ้างหลังหักภาษียิ่งลดลงด้วย • ผลต่ออัตราค่าจ้างหลังหักภาษี 37
พฤติกรรมด้านครัวเรือนพฤติกรรมด้านครัวเรือน • Income effect: เมื่อการพักผ่อนเป็นสินค้าปกติ ดังนั้น ถ้าอัตราภาษีเพิ่มขึ้นแล้วทำให้ค่าจ้างลดลง ดังนั้น ครัวเรือนจะเลือกการพักผ่อนลดลง และมีอุปทานแรงงานเพิ่มขึ้น • Substitution effect: เมื่อค่าจ้างลดลง ครัวเรือนจะมีต้นทุนของการพักผ่อนลดลง จึงมีแรงจูงใจให้พักผ่อนเพิ่มขึ้น (ซื้อการพักผ่อนมากขึ้น เมื่อราคาการพักผ่อนลดลง) • ผลต่อการจ้างงาน ? (36) + - 38
ถ้าสมมติให้การพักผ่อนเป็นสินค้าปกติ Substitution effect จะมีขนาดมากกว่า Income effect ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า แรงงานจะทำงานลดลงเมื่ออัตราภาษีเพิ่มขึ้น พฤติกรรมด้านนายจ้าง • แม้ว่าอัตราค่าจ้างจะลดลง และจูงใจให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นได้ก็ตาม แต่เนื่องจาก ผลของอัตราภาษีที่เพิ่มขึ้นทำให้ดุลยภาพของผลผลิตลดลง ดังนั้น การใช้ปัจจัยการผลิตรวมถึงปัจจัยแรงงานจึงลดลง ด้วยเหตุผลทั้งสองด้าน การจ้างงานดุลยภาพจึงลดลงเมื่ออัตราภาษีเพิ่มขึ้น 39
เมื่อ เพิ่มขึ้น ทำให้การบริโภคลดลง เนื่องจาก • เนื่องจากการบริโภคเป็นสินค้าปกติ (Normal good) ดังนั้น เมื่อรายได้ลดลงจากการเพิ่มอัตราภาษี จึงทำให้การบริโภคลดลง • อัตราภาษีเพิ่มขึ้น ทำให้อัตราผลตอบแทนของทุนเพิ่มขึ้น ดังนั้น ครัวเรือนจึงมีการออมเงินเพิ่มขึ้น และลดการบริโภคลง • ปริมาณผลผลิตหลังจากผลของภาษีที่สูงขึ้น ทำให้ปริมาณผลผลิตลดลง ดังนั้น การบริโภคจึงลดลง • ผลต่อการบริโภค - (37) + - 40
เมื่อ เพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณผลผลิตลดลง • เนื่องจาก เมื่ออัตราภาษีเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ปัจจัยทุน และการจ้างงานในระบบเศรษฐกิจลดลง ดังนั้น เมื่อมีการนำปัจจัยการผลิตมาใช้ในกระบวนการผลิตลดลง จึงส่งผลให้ปริมาณผลผลิตลดลง • ผลต่อการปริมาณผลผลิต - (38) + - 41
เมื่อ เพิ่มขึ้น ทำให้การสะสมทุนลดลง • เนื่องจาก การสะสมทุนมาจากส่วนต่างระหว่างปริมาณผลผลิตกับปริมาณการบริโภค ดังนั้น เมื่อปริมาณผลผลิตลดลง จึงทำให้การสะสมทุนลดลง • ผลต่อการปริมาณผลผลิต - (39) - + 42
ข้อสมมติของแบบจำลองกำหนดให้มีสินทรัพย์ในระบบเศรษฐกิจ 2 ชนิด ได้แก่ พันธบัตร (Corporate bond) และหุ้น (Equity) • ภาคการผลิตต้องการใช้เงินทุนจากทั้ง 2 แหล่ง โดยที่ทำให้ต้นทุนของเงินทุนที่เผชิญอยู่ที่ระดับที่ต่ำที่สุด • ต้นทุนของหุ้น คือ เงินปันผล • ต้นทุนของพันธบัตร คือ อัตราดอกเบี้ย และ Agency cost ผลการศึกษา:การเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีต่อ Debt – equity ratio 43
จากสมการ (34) คือ • เงื่อนไขของ Debt-equity ratio ที่เหมาะสม คือ ระดับที่ต้นทุนส่วนเพิ่มของเงินทุนจากพันธบัตร เท่ากับ ต้นทุนส่วนเพิ่มของเงินทุนจากหุ้น • ดังนั้น เมื่อ Differentiating สมการ (34) เทียบกับ และกำหนดเท่ากับ 0 จะได้สมการกำหนดเงื่อนไขที่เหมาะสมของ (34) (40) 44
สมการ (40) อธิบายว่า ระดับ Debt-equity ratio ที่เหมาะสม คือ ระดับที่ต้นทุนส่วนเพิ่มของทุนจากพันธบัตร (ต้นทุนของอัตราดอกเบี้ย รวมกับต้นทุนส่วนเพิ่มของ Agency cost) เท่ากับต้นทุนส่วนเพิ่มของทุนจากหุ้น (ต้นทุนของการจ่ายเงินปันผล ) • ซึ่งเมื่ออัตราภาษีเปลี่ยนแปลง ต้นทุนของทุนจากแต่ละแหล่งจะเปลี่ยนแปลง และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับ Debt-equity ratio ที่ยังทำให้ต้นทุนของทุนมีค่าต่ำที่สุด 45
จากสมการ (40) กำหนดเป็นเงื่อนไข • จากเงื่อนไขนี้ เมื่อ เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนส่วนเพิ่มของทุนจากพันธบัตรเพิ่มสูงขึ้นกว่าต้นทุนส่วนเพิ่มของทุนจากหุ้น • ดังนั้น ภาคการผลิตจึงลดการใช้เงินทุนผ่านการขายพันธบัตรลง และหันมาใช้เงินทุนผ่านการขายหุ้นเพิ่มขึ้น เพื่อให้ตนเองยังคงเผชิญกับระดับต้นทุนของเงินทุนที่ต่ำที่สุด ดังนั้น Debt-equity ratio จึงลดลง การเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อ Debt – equity ratio 46
จากสมการ (40) กำหนดเป็นเงื่อนไข • จากเงื่อนไขนี้ เมื่อ เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนส่วนเพิ่มของทุนจากพันธบัตรเพิ่มสูงขึ้นกว่าต้นทุนส่วนเพิ่มของทุนจากหุ้น • ดังนั้น ภาคการผลิตจึงลดการใช้เงินทุนผ่านการขายพันธบัตรลง และหันมาใช้เงินทุนผ่านการขายหุ้นเพิ่มขึ้น เพื่อให้ตนเองยังคงเผชิญกับระดับต้นทุนของเงินทุนที่ต่ำที่สุด ดังนั้น Debt-equity ratio จึงลดลง การเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลต่อ Debt – equity ratio 47
จากสมการ (40) กำหนดเป็นเงื่อนไข • กระทบต่ออัตราผลตอบแทนของหุ้นเพียงชนิดเดียว ต่างจากภาษีชนิดอื่นๆ ที่การเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีจะกระทบต่ออัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์ทั้งสองชนิด • จากเงื่อนไขนี้ เมื่อ เพิ่มขึ้น จะส่งผลให้ Debt-equity ratio เพิ่มขึ้น เนื่องจาก เมื่อเพิ่มจะทำให้ผลตอบแทนสุทธิหลังหักภาษีที่ครัวเรือนได้รับจากการลงทุนในหุ้นลดลง การเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีกำไรจากการขายต่อ Debt – equity ratio 48
7. สรุปผลการศึกษา สรุปผล: การเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีต่อระบบเศรษฐกิจ 49
สรุปผล: การเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีต่อ Debt – equity ratio 50