230 likes | 1.07k Views
Colostomy VS เข็มขัดแชมป์. ตึกนิติรักษ์. ความสำคัญของการพัฒนา. เป็นผู้ป่วยนิติจิตเวชที่มีพยาธิสภาพทางกาย ซึ่ง เปิดช่องทางการขับถ่ายทางหน้าท้อง กิจวัตรประจำวันด้านการขับถ่ายอุจจาระเปลี่ยนไป เป็นโรคทางผิวหนัง มีความบกพร่องในการดูแลตนเอง เนื่องจากมีอาการทางจิตมาก
E N D
ColostomyVSเข็มขัดแชมป์ ตึกนิติรักษ์
ความสำคัญของการพัฒนา • เป็นผู้ป่วยนิติจิตเวชที่มีพยาธิสภาพทางกาย ซึ่ง เปิดช่องทางการขับถ่ายทางหน้าท้อง กิจวัตรประจำวันด้านการขับถ่ายอุจจาระเปลี่ยนไปเป็นโรคทางผิวหนัง • มีความบกพร่องในการดูแลตนเอง เนื่องจากมีอาการทางจิตมาก • ใช้ต้นทุน / ค่าใช้จ่ายในการดูแลสูง ( ใช้สิทธิบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า )
ตารางแสดง : ระยะเวลาและจำนวนครั้งของการทำความสะอาด และการเปลี่ยนแป้นฐาน colostomy ก่อนการพัฒนา หมายเหตุ : - หากเปลี่ยนแป้นฐานและทำความสะอาดด้วยจะใช้เวลา เฉลี่ย 30 นาที / ครั้ง ( แป้นฐาน Colostomy อันละ 145 บาท )
วัตถุประสงค์ - เพื่อลดจำนวนครั้งของการเปลี่ยนแป้นฐาน colostomy - เพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่ายสำหรับแป้นฐาน colostomy - เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนทางกายบริเวณที่ทำ colostomy และสามารถดำเนินการปิดช่องทางการ ขับถ่ายทางหน้าท้องตามระยะแผนการรักษาได้ เพื่อให้ผู้ป่วย ขับถ่ายได้ตามปกติ
ตัวชี้วัด - จำนวนครั้งการเปลี่ยนแป้นฐาน colostomyลดลง - ค่าใช้จ่ายสำหรับแป้นฐาน colostomyลดลง - ผู้ป่วยสามารถไปดำเนินการปิดช่องทางการขับถ่าย ทางหน้าท้องตามระยะแผนการรักษาได้ และ สามารถขับถ่ายได้ตามปกติหลังผ่าตัด
กระบวนการ / วิธีการพัฒนา • ศึกษาข้อมูลจากตำราการดูแลผู้ป่วยที่ทำ Colostomy ประชุมทีมดูแลและ เขียนแนวทางปฏิบัติ สื่อสารให้ทีมทราบเพื่อให้ปฏิบัติเป็นไปแนวทางเดียวกัน • ให้การดูแลผู้ป่วยตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนด พบว่า มีรอยรั่วซึมของเหลวออกมาจากรอบๆฐาน Colostomy
กระบวนการ / วิธีการพัฒนา (ต่อ) • นำปัญหาที่พบ มาพูดคุยในทีม ปรึกษา พูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิธีการดูแลผู้ป่วยที่ทำ Colostomy จากผู้ที่มีประสบการณ์ตรง ( มีบิดาป่วย ) เสนอแนะให้ใช้ผ้าก๊อสวางรอบฐาน Colostomy เมื่อทำแล้วพบ ผิวหนังมีรอยแดง เปื่อย • พาผู้ป่วยไป ตรวจตามแพทย์นัดปรึกษาผู้ชำนาญการ ซึ่ง • ให้ยาทาอุดรอยรั่ว เมื่อยาหมด พบปัญหาเช่นเดิม
จึงเป็นจุดกำเนิด.....ต้นความคิดจึงเป็นจุดกำเนิด.....ต้นความคิด
ภาพผู้ป่วย ก่อนพัฒนา ยังไม่มีเข็มขัดคาด ฐาน colostomy
กระบวนการ / วิธีการพัฒนา (ต่อ) • พัฒนาการดูแล โดยทำที่รัดคล้ายเข็มขัดนักมวย โดยใช้ • วัสดุ อุปกรณ์ที่มีอยู่มาดัดแปลง คือ ปกแฟ้มพลาสติกนำมา • เจาะรู และนำผ้าสำหรับทำผ้าผูกมัดมาเย็บติดกัน และติด • กาวตีนตุ๊กแก นำมาคาดคล้ายเข็มขัด
เข็มขัดรัดฐาน colostomy หลังพัฒนาแบบที่ 1
เข็มขัดรัดฐาน colostomy หลังพัฒนาแบบที่ 1 ผล ไม่มีรอยรั่วซึม แต่ผู้ป่วยรู้สึกอึดอัด เนื่องจากแน่น เข็มขัดไม่ยืดหยุ่น
กระบวนการ / วิธีการพัฒนา (ต่อ) • พัฒนา / ปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น โดยปรับเปลี่ยนสายเข็มขัดใหม่ ใช้เป็นสายรัดยาง ( Elastic ) เพื่อช่วยยืดหยุ่นสายรัดไม่ให้รัดบริเวณท้องผู้ป่วยมากเกินไป และเพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายขึ้น
เข็มขัดรัดฐาน colostomy หลังพัฒนาแบบที่ 2
เข็มขัดรัดฐาน colostomy หลังพัฒนาแบบที่ 2
ผลลัพธ์ - จำนวนครั้งของการเปลี่ยนแป้นฐาน colostomy ลดลงประหยัดเวลามีเวลาให้บริการผู้ป่วยรายอื่นมากขึ้น • ใช้วัสดุสิ้นเปลือง / วัสดุทางการแพทย์ และ แป้นฐาน colostomy ลดลง เนื่องจากจำนวนครั้งของการเปลี่ยนลดลง
ผลลัพธ์ ( ต่อ ) - ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนทางผิวหนัง ไม่มีรอยแดงเปื่อย และสามารถไปดำเนินการปิดช่องทางการขับถ่ายทางหน้าท้องตามระยะแผนการรักษาได้ แพทย์นัดไปนอน ร.พ 17 ธันวาคม 2550 ผ่าตัด 18 ธันวาคม 2550 กลับมาอยู่ที่สถาบัน ฯ 2 มกราคม 2551 ผู้ป่วยสามารถขับถ่ายได้ตามปกติผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนทางผิวหนัง ไม่มีรอยแดงเปื่อย
ผู้ป่วยหลังผ่าตัด 18 ธ.ค 50 - ปัจจุบัน ภาพลักษณ์ผู้ป่วยดีขึ้น
ตารางแสดงการเปรียบเทียบระยะเวลาและจำนวนครั้งของ การทำความสะอาดและการเปลี่ยนแป้นฐาน colostomy ก่อนและหลังพัฒนา
สิ่งที่ได้ • ได้ทบทวนการดูแลผู้ป่วยที่ทำ colostomy ( เฉพาะราย ) - ผู้ป่วยมีกิจวัตรประจำวันด้านการขับถ่ายอุจจาระได้ตามปกติเหมือนผู้อื่น • ได้นวัตกรรมใหม่ สำหรับผู้ป่วยที่ทำ colostomy • ได้ข้อคิดการทำงานเป็นทีม ..ทุกความคิดมีความหมาย ต่อการพัฒนา