140 likes | 418 Views
ตัวชี้วัดโครงการควบคุมป้องกัน โรคขาดสารไอโอดีน. นายแพทย์ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๓. ตัวชี้วัดผลลัพธ์. สัดส่วนของหญิงตั้งครรภ์ที่มีระดับไอโอดีนในปัสสาวะต่ำกว่า ๑๕๐ ไมโครกรัมต่อลิตร ไม่เกินร้อยละ ๕๐
E N D
ตัวชี้วัดโครงการควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนตัวชี้วัดโครงการควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน นายแพทย์ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ๒๑ธันวาคม ๒๕๕๓
ตัวชี้วัดผลลัพธ์ • สัดส่วนของหญิงตั้งครรภ์ที่มีระดับไอโอดีนในปัสสาวะต่ำกว่า ๑๕๐ ไมโครกรัมต่อลิตร ไม่เกินร้อยละ ๕๐ • ระดับฮอร์โมนกระตุ้นต่อมธัยรอยด์ในทารกแรกเกิด (Thyroid Stimulating Hormone : TSH) มากกว่า ๑๑.๒ มิลลิยูนิตต่อลิตร ไม่เกินร้อยละ ๓
ตัวชี้วัดระดับกระบวนการตัวชี้วัดระดับกระบวนการ ๑. ร้อยละ ๑๐๐ ของเกลือบริโภคตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขจากแหล่งผลิตในประเทศ มีการเติมไอโอดีน และร้อยละ ๘๐ ของแหล่งผลิต / นำเข้า / สถานที่จำหน่าย มีการผลิต / นำเข้า / จำหน่ายเกลือบริโภคที่มีปริมาณไอโอดีนไม่น้อยกว่า ๓๐ มิลลิกรัมต่อเกลือบริโภค ๑ กิโลกรัม ๒. ความครอบคลุมการใช้เกลือบริโภคเสริมไอโอดีนคุณภาพของครัวเรือนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๐ ๓. ร้อยละ ๑๐๐ ของหญิงตั้งครรภ์ได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีน ๔. ร้อยละ ๑๐๐ ของชุมชน / หมู่บ้านในทุกจังหวัดเข้าสู่กระบวนการ “ชุมชน/หมู่บ้านไอโอดีน”
ระบบเฝ้าระวัง ติดตามและประเมินผล
ระบบเฝ้าระวังคุณภาพเกลือบริโภค • จากแหล่งผลิต / นำเข้า • โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นผู้รับผิดชอบ • ดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในจังหวัดที่มีโรงงาน / แหล่งผลิต / นำเข้า ปีละครั้ง โดยการเก็บตัวอย่างเกลือบริโภคส่งให้หน่วยเคลื่อนที่เพื่อความปลอดภัยด้านอาหารส่วนภูมิภาค หากผลิตภัณฑ์ไม่ได้มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด และมีการดำเนินการทางด้านกฎหมาย ให้ส่งตัวอย่างตรวจวิเคราะห์ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ • ณ แหล่งจำหน่าย • โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นผู้รับผิดชอบ • ดำเนินการตามแผนการเก็บตัวอย่างของหน่วยเคลื่อนที่ฯทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น ๑,๓๐๐ ตัวอย่าง
ระบบเฝ้าระวังคุณภาพเกลือ • ตรวจคุณภาพเกลือเสริมไอโอดีนที่ครัวเรือน • โดยสำนักโภชนาการ กรมอนามัย เป็นผู้รับผิดชอบ • ดำเนินการตามแผนการตรวจสอบคุณภาพเกลือในครัวเรือนของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด โดยสุ่มตรวจคุณภาพเกลือเสริมไอโอดีนที่ครัวเรือนทุกอำเภอๆละ ๓๐๐ ครัวเรือน ปีละ ๒ ครั้ง ในเดือนธันวาคม และมิถุนายน
ระบบเฝ้าระวังภาวะขาดสารไอโอดีนในประชากร • ติดตามการได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์ • โดยสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย ในประเด็นการบริหารจัดการ ความครอบคลุม ความคล่องตัว และความพึงพอใจ • ตรวจไอโอดีนในปัสสาวะหญิงตั้งครรภ์ • โดยสำนักโภชนาการ กรมอนามัย เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการตามระบบเฝ้าระวัง โดยสุ่มตรวจระดับไอโอดีนในปัสสาวะหญิงตั้งครรภ์จังหวัดละ ๓๐๐ ราย ทุกจังหวัดในช่วง ๓ ปีแรก (พ.ศ. ๒๕๕๓ – ๒๕๕๕) • ติดตามผลการตรวจคัดกรองสุขภาพทารกแรกเกิด ( TSH) ในทุกจังหวัด • โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นผู้รับผิดชอบการตรวจคัดกรองและตรวจยืนยัน
หมู่บ้านไอโอดีน เกณฑ์ชุมชน/หมู่บ้านไอโอดีน • ชุมชน / หมู่บ้าน มีนโยบายและมาตรการควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน • ผู้นำชุมชนและแกนนำชุมชน / หมู่บ้าน และประชาชน รับรู้ ตระหนัก และปฏิบัติ เรื่องการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนได้ • มีการสุ่มตรวจคุณภาพเกลือเสริมไอโอดีน ณ แหล่งผลิต สถานที่จำหน่าย ร้านอาหาร ครัวเรือน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน ปีละ ๒ ครั้ง
แนวทางปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะไอโอดีนเกิน ๑. ติดตามตรวจสอบคุณภาพการผลิตเกลือเสริมไอโอดีนให้มีปริมาณไอโอดีนในระดับที่เหมาะสม (๓๐ – ๕๐ ppm) ๒. ประเมินพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน แหล่งไอโอดีนที่ประชาชนได้รับมาจากแหล่งใดบ้าง ประชาชนบริโภคไอโอดีนมากเกินความเหมาะสมหรือไม่ ๓. ติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์ระดับไอโอดีนในปัสสาวะ ๔. ติดตามเฝ้าระวังอัตราคอพอกในประชากร ๕. ติดตามเฝ้าระวังผู้ที่มีอาการเข้าได้กับ Iodine-induced hyperthyroidism และ Autoimmune hypothyroidism หรือ Hashimoto’s thyroiditis
แนวทางปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะไอโอดีนเกิน ความต้องการไอโอดีนต่อวันในแต่ละกลุ่มอายุ ทารกแรกเกิด - ๕ ปี ๙๐ ไมโครกรัม* เด็กวัยเรียนอายุ ๖ - ๑๒ ปี ๑๒๐ ไมโครกรัม* เด็กวัยรุ่น ๑๓ - ๑๘ ปีและผู้ใหญ่ ๑๕๐ ไมโครกรัม* หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร ๒๕๐ ไมโครกรัม** ไม่ควรได้รับไอโอดีนเกินวันละ ๕๐๐ ไมโครกรัม *กองโภชนาการ กรมอนามัย พ.ศ. ๒๕๔๖ **WHO/UNICEF/ICCIDD ๒๐๐๗
แนวทางปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะไอโอดีนเกิน รายบุคคล กรณีพบว่ามีผู้ที่เป็นคอพอกหรือต่อมธัยรอยด์โต ผู้ที่มีปัญหา hyperthyroidism หรือ hypothyroidism ๑) ซักประวัติการได้รับไอโอดีน ประวัติโรคประจำตัว ๒) ตรวจ T4และ/หรือ FT4 และ TSH ๓) แนะนำการบริโภคไอโอดีนในปริมาณที่เหมาะสม ๔) ให้การรักษาทางการแพทย์ตามภาวะผิดปกติของผู้ป่วย
แนวทางปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะไอโอดีนเกิน รายพื้นที่(MUIC > ๒๕๐ µg/l ในหญิงตั้งครรภ์) ๑)ทบทวนสถานการณ์การบริโภคหรือได้รับสารไอโอดีนในกลุ่มประชากร ๒) ตรวจสอบการบริหารจัดการเรื่องยาเม็ดเสริมไอโอดีนที่ไม่เป็นไปตามแนวทางที่ กำหนดไว้ หรืออัตราส่วนของการผสมน้ำยาไอโอดีนเข้มข้นในน้ำดื่มเสริมไอโอดีนเฉพาะในพื้นที่ทุรกันดาร ๓) ดำเนินการแก้ไขตามสาเหตุที่ตรวจพบ
แนวทางในการเฝ้าระวังและแก้ปัญหาภาวะไอโอดีนเกินแนวทางในการเฝ้าระวังและแก้ปัญหาภาวะไอโอดีนเกิน ผลกระทบต่อร่างกายจากการได้รับไอโอดีนในปริมาณที่ไม่เหมาะสม พฤติกรรมการบริโภค ข้อมูลภาวะไอโอดีนของพื้นที่ เกลือ -ปริมาณบริโภค(กรัมต่อวัน) -ปริมาณไอโอดีนในเกลือ (ไมโครกรัมต่อเกลือ 1 กรัม) แหล่งอาหารที่มีไอโอดีน -ปริมาณอาหารที่บริโภค -ปริมาณไอโอดีน (ไมโครกรัมต่อหน่วย) น้ำดื่มเสริมไอโอดีน -ปริมาณที่ดื่มต่อวัน -ความเข้มข้นของไอโอดีน ยาเม็ดเสริมไอโอดีน -จำนวนเม็ด -ปริมาณไอโอดีนต่อเม็ด ยารักษาโรคที่มีไอโอดีน -จำนวนเม็ด -ปริมาณไอโอดีนต่อเม็ด ฯลฯ คิดเป็นผลรวมของปริมาณไอโอดีนที่ได้รับต่อวัน และระยะเวลาที่ได้รับต่อเนื่อง ไอโอดีนในปัสสาวะของกลุ่มประชาชนในพื้นที่ - เด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก - เด็กวัยเรียน - หญิงตั้งครรภ์ (อาจมีการเฝ้าระวังในกลุ่มประชากรนอกเหนือจาก 3 กลุ่ม ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่) อัตราคอพอก* - เด็กวัยเรียน - ประชากรทั่วไป (ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่) ผู้ที่มีปัญหา hyperthyroidism* ชีพจรเต้นเร็ว น้ำหนักลด เหนื่อยง่าย มือสั่น ฯลฯ ผู้ที่มีปัญหา hypothyroidism* อาการไม่ชัดเจน อาจพบอาการเหล่านี้ได้แก่ เหนื่อยล้า ซึมเศร้า น้ำหนักเพิ่มทนความหนาวเย็นไม่ค่อยได้ ง่วงผิดปกติ เส้นผมหยาบและแห้ง ผิวแห้ง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ขาบวม รอบตาบวม ชีพจรเต้นช้า ฯลฯ * ผลกระทบต่อร่างกายจากการได้รับไอโอดีนมากเกินไปอาจตรวจพบได้ทั้งในลักษณะของอาการคอพอก hyperthyroidism หรือ hypothyroidism ขึ้นอยู่กับปริมาณไอโอดีน และระยะเวลาที่ได้รับไอโอดีน
ไอโอดีนมีคุณค่า เสริมปัญญาคนทุกวัย ขอบคุณครับ