1.16k likes | 1.42k Views
กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (กองทุน อบต. / เทศบาล).
E N D
กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (กองทุน อบต./เทศบาล)
มาตรา ๔๗ ( พรบ.หลักประกันสุขภาพฯ) “เพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพให้กับบุคคลในพื้นที่ โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น ให้คณะกรรมการสนับสนุนและประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำหนดหลักเกณฑ์ เพื่อให้องค์กรดังกล่าวเป็นผู้ดำเนินงาน และบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่โดยให้ได้รับค่าใช้จ่ายจาก กองทุน”
คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพฯคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพฯ เห็นชอบหลักเกณฑ์การสนับสนุนให้ อบต.หรือเทศบาลดำเนินการและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2549 สปสช. ออกประกาศดำเนินงาน
บันทึกความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของ อปท. ในเรื่องการบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพและสวัสดิการชุมชนในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ของ ๗ หน่วยงาน/องค์กร เมื่อ 19 มีค. 2550 (สปสช. สธ. พม. มท. สมาคม อบจ. แห่งประเทศไทย สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย และสมาคม อบต. แห่งประเทศไทย)
ให้ อปท. สมทบงบประมาณเข้าระบบหลักประกันสุขภาพฯ ตามประกาศคณะกก.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยตั้งแต่งบปี 2550เป็นต้นไป ให้ อบต./เทศบาล ตั้ง งบประมาณสมทบไว้ในรายจ่ายงบกลางประเภทรายจ่ายตามข้อผูกพัน หนังสือที่ มท.0891.3/ว1110 ลวท.3เมย.2550
จัดตั้งกองทุนประจำทุกพื้นที่ เพื่อเป็นกลไกสนับสนุนการดำเนินงานสาธารณสุขชุมชน อย่างต่อเนื่อง เน้นการสร้างสุขภาวะของประชาชนและชุมชน โดยการ มีส่วนร่วมของประชาชน อปท. และจนท.สาธารณสุข กระจายอำนาจให้ อปท. ภายใต้การมีส่วนร่วมของประชาคมและการสนับสนุนทางวิชาการจากหน่วยงานต่างๆ แนวทางดำเนินงาน
วัตถุประสงค์ของกองทุนฯวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ 1. เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุข ของหน่วยบริการหรือสถานบริการอื่น สถานบริการทางเลือกในพื้นที่ โดยเน้นการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลปฐมภูมิ ที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต 2. เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้พิการ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในพื้นที่ สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ ตามประเภทและขอบเขตของบริการสาธารณสุขที่กำหนด
3. เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้กลุ่มประชาชนหรือองค์กรประชาชนในพื้นที่ จัดทำกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค หรือการฟื้นฟูสมรรถภาพให้แก่ประชาชนในพื้นที่ 4. เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกัน สุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ต้องไม่เกินร้อยละ ๑๐ ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดของกองทุนหลักประกันสุขภาพในรอบปีงบประมาณนั้น และในกรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเพื่อซื้อครุภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องโดยตรง ครุภัณฑ์นั้นจะต้องมีราคาไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาทต่อหน่วย
ที่มาของเงินทุน เงินค่าบริการสาธารณสุขที่ได้รับจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในส่วนของการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด (40 บาทต่อประชากร) เงินอุดหนุนที่ได้รับจากองค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาล หรือที่ได้รับจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น เงินสมทบจากชุมชนหรือกองทุนชุมชน รายได้อื่นๆหรือทรัพย์สินที่กองทุนได้รับมาในกิจการของกองทุน
สัดส่วนเงินสมทบ • อบต.ขนาดใหญ่หรือเทศบาลสมทบไม่น้อยกว่า ร้อยละ 50 ของค่าบริการสาธารณสุขที่ได้รับจากกองทุนหลักประกัน ฯ • อบต.ขนาดกลางสมทบไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของค่าบริการสาธารณสุขที่ได้รับจากกองทุน ฯ • อบต.ขนาดเล็กสมทบไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของค่าบริการสาธารณสุขที่ได้รับจากกองทุน ฯ
องค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาล ที่ได้รับการสนับสนุนให้ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ต้องมีคุณสมบัติดังนี้ (๑) มีความประสงค์เข้าร่วมบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ (๒) มีการดำเนินกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพและป้องโรคในพื้นที่มาก่อนแล้ว และมีการจัดทำแผนและดำเนินการกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยการมีส่วนร่วมของภาคีต่างๆในพื้นที่ (๓) มีความพร้อมในการอุดหนุนเงินหรืองบประมาณตามอัตราส่วนที่กำหนด
คณะกรรมการบริหารกองทุนคณะกรรมการบริหารกองทุน ผอ.โรงพยาบาลชุมชนและสาธารณสุขอำเภอ เป็นที่ปรึกษา 1. นายก อบต.หรือนายกเทศมนตรี เป็นประธาน 2. ผู้ทรงคุณวุฒิในพื้นที่ จำนวน ๒ คน เป็นรองประธาน 3. สมาชิกสภา อบต.หรือสภาเทศบาลที่สภาฯ คัดเลือก จำนวน 2 คน เป็นกรรมการ 4. หัวหน้าหน่วยบริการปฐมภูมิในพื้นที่ เป็นกรรมการ 5. ผู้แทน อสม. ในพื้นที่คัดเลือกกันเอง 2 คน เป็นกรรมการ
6. ผู้แทนหมู่บ้าน/ชุมชนที่ประชาชนหมู่บ้าน/ชุมชน เลือกกันเอง ไม่เกิน 5 คน เป็นกรรมการ 7. ผู้แทนศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพ ประชาชนหรือศูนย์รับเรื่องร้องเรียนอิสระในพื้นที่ หน่วยละ ๑ คน (ถ้ามี) เป็นกรรมการ 8. ปลัด อบต. หรือปลัดเทศบาลหรือ เจ้าหน้าที่อื่นที่นายก อบต. หรือนายกเทศบาล มอบหมาย เป็นกรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการอยู่ในตำแหน่งคราวละ 2 ปี คณะกรรมการอาจหมดอายุการทำงานก่อนกำหนด โดยคำสั่งของ สปสช.
การพ้นจากตำแหน่งของคณะกรรมการบริหารกองทุนการพ้นจากตำแหน่งของคณะกรรมการบริหารกองทุน พ้นจากตำแหน่งตามวาระ ตาย ลาออกหรือย้ายไปดำรงตำแหน่งหรือทำอาชีพในพื้นที่อื่น เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ เป็นบุคคลล้มละลาย
หน้าที่คณะกรรมการ บริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ รับผิดชอบการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการจัดทำบัญชีเงินหรือทรัพย์สินในกองทุนหลักประกันสุขภาพ ให้เป็นไปตามที่กำหนด ดำเนินการให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ในความรับผิดชอบสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขทั้งที่บ้าน ในชุมชนหรือหน่วยบริการได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ จัดทำข้อมูลและแผนดำเนินงานที่เกี่ยวกับปัญหาสาธารณสุข กลุ่มเป้าหมายและหน่วยบริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง
5. จัดทำสรุปผลการดำเนินงาน รายงานการรับจ่ายและเงินคงเหลือของกองทุนหลักประกันสุขภาพ เมื่อสิ้นปีงบประมาณเพื่อเสนอสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและองค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาลภายในเดือนธันวาคมของทุกปี แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อดำเนินงานที่เกี่ยวข้องได้ตามความจำเป็น กองทุนหลักประกันสุขภาพใด ที่ไม่มีเงินสมทบจาก อบต. หรือเทศบาล หรือไม่มีการดำเนินกิจกรรมใดๆ ต่อเนื่องตั้งแต่ ๒ ปี ขึ้นไป สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติอาจประกาศยุบเลิกกองทุนหลักประกันสุขภาพนั้นได้ และให้โอนเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนหลักประกันสุขภาพดังกล่าวเป็นของหน่วยบริการปฐมภูมิของรัฐในพื้นที่นั้น ตามวิธีการที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
สนับสนุนงบประมาณเป็นรายปีแก่หน่วยบริการ( สอ.หรือ รพช.) ในเขตพื้นที่ เพื่อพัฒนาคุณภาพบริการในชุมชน สนับสนุนค่าใช้จ่ายให้แก่หน่วยบริการหรือสถานบริการอื่น สถานบริการทางเลือกเพื่อจัดบริการให้กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้พิการ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในเขตพื้นที่ ให้เข้าถึงบริการสาธารณสุขในด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสมรรถภาพ การบริการปฐมภูมิได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ เงินระบบ(กองทุน)ฯ อาจใช้จ่ายได้ภายใต้กรอบแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรมที่คณะกรรมการอนุมัติ ดังนี้
3. สนับสนุนค่าใช้จ่ายให้กลุ่มประชาชนหรือองค์กรประชาชนในเขตพื้นที่จัดทำกิจกรรมที่เกิดจากความริเริ่มของประชาชนในชุมชนท้องถิ่นเอง เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค หรือการฟื้นฟูสมรรถภาพให้แก่ประชาชนในเขตพื้นที่ 4. สนับสนุนค่าใช้จ่ายเพื่อบริหารหรือพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพทั้งนี้ ต้องไม่เกินร้อยละ ๑๐ ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดของระบบหลักประกันสุขภาพในรอบปีงบประมาณนั้น เงินระบบ(กองทุน)ฯ อาจใช้จ่ายได้ภายใต้กรอบแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรมที่คณะกรรมการอนุมัติ ดังนี้ (ต่อ)
- สปสช. โอน 40 บ./หัว – อบต./เทศบาล สมทบ 20,30,50% ส่งเสริมสุขภาพ - คัดเลือก อบต./เทศบาลที่ผ่านเกณ์ - ทำข้อตกลง ชี้แจงทำความเข้าใจ – แต่งตั้ง กก.บริหารกองทุน – เปิดบัญชี ธนาคาร ฟื้นฟูสมรรถภาพ กองทุนหลักประกันสุขภาพอบต. และเทศบาล ป้องกันโรค บริการปฐมภูมิ คณะ กก.บริหารกองทุน ผู้ป่วยเรื้อรัง กลุ่มเสี่ยง เด็ก/เยาวชน สตรี คนพิการ ผู้สูงอายุ แผนสุขภาพชุมชน ประชาชน ชุมชนมีส่วนร่วม
ภาพรวมการดำเนินงาน หลักเกณฑ์เห็นชอบเมื่อ 27 กพ. 49 การพัฒนาศักยภาพ จัดทำข้อตกลงร่วมกับ สนง.สาขาเขต ทำบันทึกความร่วมมือ 7 องค์กร - อบรมวิทยากรแกนนำ 75 จว. - อบรม กก. บริหารกองทุน – อบรมบันทีกข้อมูล on line - จัดทำคู่มือวิทยากร/ กก. - ถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบ ขยายปี 53 พท.ที่พร้อมทั่วประเทศ อบต./เทศบาล 3,935 พื้นที่ ปี 2552 เครื่องมือพัฒนา/ค้นหานวัตกรรม - รายงานไตรมาส/ ประจำปี - ประเมินผลเชิงนโยบาย บริหารจัดการ - ใช้แผนที่ยุทธศาสตร์บริหารจัดการ ติดตามสนับสนุน – จัดทีมนวัตกรรม จว./พื้นที่ อบต./เทศบาลสมทบงบ 20,30,50 % สปสช.โอนงบ 40 บ./หัว
จัดทำข้อมูลชุมชน แผนที่ยุทธศาสตร์ แผนสุขภาพชุมชน การดูแลผู้สูงอายุ ผป.เรื้อรังและคนพิการในชุมชน การป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เอดส์ วัณโรค การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของคนในชุมชน บทบาทของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่กับการสนับสนุนระบบสุขภาพในพื้นที่
แนวทางการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่แนวทางการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
มีคณะกรรมการกองทุนฯโดย สปสช.เป็นผู้ออกคำสั่งแต่งตั้ง เงินของกองทุนฯมีอย่างน้อย 2 ส่วน(สปสช.,อบต./เทศบาล) มีแผนงาน/โครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการกองทุนฯทั้ง 4 ประเภท รายงานผ่านระบบออนไลน์ http://tobt.nhso.go.th องค์ประกอบการดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
ประชุมคณะกรรมการกองทุนฯประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ 1.กองทุนใหม่(ประชุมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง) ครั้งที่ 1 ชี้แจงเป้าหมาย วัตถุประสงค์ แนวทางบริหารจัดการ ยกร่างระเบียบกองทุนตัวอย่างมีที่(http://tobt.nhso.go.th) ครั้งที่ 2 เห็นชอบ ประกาศใช้ระเบียบกองทุนฯ พิจารณาข้อมูลสุขภาพโดยทำแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ แผนสุขภาพชุมชน ประชาสัมพันธ์กองทุน ครั้งที่ 3 พิจารณาและอนุมัติโครงการ ครั้งต่อไป อย่างน้อยทุก 2 เดือน รายงานความก้าวหน้า รายงานการเงิน ติดตามการบันทึกผ่านระบบออนไลน์ http://tobt.nhso.go.th การดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
2.กองทุนเก่า ต.ค.-ธ.ค. สรุปผลการดำเนินงานปีที่ผ่านมา กำหนดกรอบแผนงาน/โครงการปีต่อไป พิจารณาโครงการ ม.ค.-ก.ย. พิจารณาโครงการระหว่างปี ติดตามผลการดำเนินงาน รายงานการเงินรายไตรมาส ติดตามบันทึกผลงานผ่านระบบออนไลน์ ทบทวนปัญหาสาธารณสุข การดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
เลขานุการกองทุนจัดทำระเบียบวาระการประชุม และบันทึกรายงานการประชุม การประชุมแต่ละครั้ง องค์ประชุมต้องไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง และใช้ความเห็นชอบร่วมกันของกรรมการเป็นเกณฑ์ วาระประจำการประชุมแต่ละครั้ง มีรายงานการรับ-จ่ายเงินให้ที่ประชุมรับทราบ บันทึกรายงานเป็นลายลักษณ์อักษรรูปแบบใดก็ได้ เพื่อเก็บรักษาไว้ใช้อ้างอิงและตรวจสอบ โดยมอบให้ประธาน เลขานุการเป็นผู้ลงนาม รับผิดชอบความถูกต้อง สมบูรณ์ ครบถ้วน การดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
ลักษณะกิจกรรม ที่ขอสนับสนุนเงินกองทุนฯ 1.การจัดบริการตามชุดสิทธิประโยชน์ 2.สนับสนุนแก่หน่วยบริการสาธารณสุขตามแผนงาน/โครงการ 3.สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพโดยประชาชนและชุมชนท้องถิ่น 4.กิจกรรมบริหารกองทุน พัฒนาศักยภาพกรรมการ พัฒนาระบบบริหารจัดการ(ครุภัณฑ์ 20,000บาทต่อหน่วย ค่าตอบแทนกรรมการไม่เกิน 200 บาท/ครั้ง)
ประกาศ สปสช.เรื่องแนวทางการรับเงิน การจ่ายเงิน เก็บรักษาเงิน จัดทำบัญชี ลว 16 ธ.ค.2552 หนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุดที่ มท 0891.3/ว 1110 ลว 3 เม.ย. 2550 แหล่งเงินกองทุนฯ -สปสช. สนับสนุนเป็นรายปี -อบต./เทศบาล เมืองพัทยา สมทบตามอัตราที่ สปสช.กำหนด ในรายจ่ายงบกลาง ประเภทรายจ่ายตามข้อผูกพัน -เงินสมทบจากชุมชน กองทุนชุมชน -รายได้อื่นๆ หรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการดำเนินกิจกรรมของกองทุนฯ “เปิดบัญชีไว้กับ ธ.ก.ส. ประเภทบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ชื่อกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต./เทศบาล......... อ........จ..........” ผู้มีอำนาจเบิกจ่าย 2 ใน 4 การบริหารงบประมาณ การรายงานการเงิน กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
การรับเงินกองทุนฯ รับได้ 4 ลักษณะ 1.เงินสดหรือรับเงินโดยการโอนผ่านทางธนาคาร 2.เช็ค 3.ตั๋วแลกเงิน 4.ธนาณัติ ให้คณะกรรมการมอบหมายกรรมการคนหนึ่ง เป็นผู้รับผิดชอบนำเงินส่งเข้าบัญชีเงินฝากกองทุนฯภายใน ๓ วันทำการธนาคาร
หลักฐานการรับเงินของกองทุนฯหลักฐานการรับเงินของกองทุนฯ 1.กองทุนออกใบเสร็จรับเงินในนามคณะกรรมการให้กับบุคคล กลุ่มบุคคลหรือนิติบุคคล 2.รับเงินค่าบริการสาธารณสุขจาก สปสช.ให้ใช้หนังสือแจ้งการโอนจาก สปสช.เป็นหลักฐานแล้วออกใบเสร็จรับเงิน 3.การรับเงินสมทบจาก อปท.ให้ใช้สำเนาใบนำฝากเงินของธนาคารเป็นหลักฐาน แล้วออกใบเสร็จรับเงินตามข้อ 2 ส่งให้ อปท. ทั้งนี้ คณะกรรมการอาจกำหนดให้มีหลักฐานการรับเงิน ในรูปแบบอื่นเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นควร
การสั่งจ่ายเงินของกองทุนฯการสั่งจ่ายเงินของกองทุนฯ สั่งจ่ายเงินของกองทุนฯ แยกประเภทรายจ่ายตามกิจกรรม 4 ประเภท 1.ค่าใช้จ่ายเพื่อจัดซื้อชุดสิทธิประโยชน์ 2.ค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนแก่หน่วยบริการ 3.ค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนองค์กร ภาคี ประชาชน ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันควบคุมโรค 4.ค่าใช้จ่ายเพื่อการบริหารจัดการกองทุน กิจกรรม 1-3 ไม่กำหนดสัดส่วน แต่กิจกรรมที่ 4 ไม่เกินร้อยละ 10 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดในปีงบประมาณนั้นๆ
วิธีการจ่ายเงินกองทุนฯ รับได้ 4 ลักษณะ 1.เงินสดหรือรับเงินโดยการโอนผ่านทางธนาคาร 2.เช็ค 3.ตั๋วแลกเงิน 4.ธนาณัติ
หลักฐานการจ่ายเงินกองทุนฯหลักฐานการจ่ายเงินกองทุนฯ 1.การจ่ายเงินให้กับบุคคล กลุ่มบุคคล นิติบุคคล ให้มีหลักฐานใบสำคัญการจ่ายเงิน ให้ผู้มีสิทธิรับเงิน ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานทุกครั้ง 2.การจ่ายเงินให้กับหน่วยงานราชการหรือเอกชน หน่วยงานนั้นๆออกใบเสร็จรับเงินให้กับกองทุน และเก็บเป็นหลักฐานประกอบการจ่ายเงิน 3.การจ่ายเงินโดยโอนผ่านธนาคาร ให้เก็บหลักฐานการนำเงินเข้าบัญชีเป็นหลักฐาน คณะกรรมการกองทุนฯอาจกำหนดให้มีหลักฐานการจ่ายเงินรูปแบบอื่นเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร
การเก็บรักษาเงินสด คณะกรรมการอาจมอบหมายให้ประธานกรรมการหรือเลขานุการ เก็บรักษาเงินสดไว้เพื่อสำรองจ่ายภายในวงเงินไม่เกิน 10,000 บาท
ระบบบัญชีกองทุน 1.วันที่กองทุนได้รับเงินจาก สปสช.หรือ อปท. ให้ถือเป็นวันเริ่มระบบบัญชีของกองทุนฯ 2.รอบระยะเวลาบัญชี ให้ถือตามปีงบประมาณ 3.ระบบบัญชีของกองทุนฯ ให้แยกการจัดทำบัญชีออกจากระบบบัญชี ออกจากระบบบัญชีของ อปท. แต่การบันทึกให้บันทึกตามระบบบัญชีของ อปท. โดยรายงานผ่านระบบออนไลน์ http://tobt.nhso.go.thทุกเดือน กองทุนฯจัดพิมพ์เก็บไว้ทุกเดือน เสนอต่อคณะกรรมการกองทุนฯ และเก็บไว้ให้ สตง.ตรวจสอบ
ระบบรายงานการเงิน ผลการดำเนินงานกองทุน กองทุนรายงานผ่านระบบออนไลน์ http://tobt.nhso.go.th การเงิน 1.รายงานการรับจ่ายเงินประจำเดือน และพิมพ์รายงานเสนอประธานกรรมการ เลขานุการ ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานแล้วจัดเก็บไว้ 2.รายงานการเงินรายไตรมาส กองทุนจัดพิมพ์จากระบบออนไลน์ให้ประธานกรรมการ เลขานุการ ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน จัดทำเป็น 2 ชุด ชุด 1 เก็บไว้เป็นหลักฐานที่กองทุน ชุด 2 จัดส่งให้ อปท. ไตรมาส 1 วันที่ 10 ม.ค. ไตรมาส 2 วันที่ 10 เม.ย. ไตรมาส 3 วันที่ 10 ก.ค. ไตรมาส 4 วันที่ 10 ต.ค. ผลการดำเนินงาน 1.รายงานเมื่อแผนงาน/โครงการผ่านการอนุมัติ 2.เมื่อมีการเบิกจ่ายตามแผนงาน/โครงการ
รายงานสรุปผลการดำเนินงานกองทุนประจำปีรายงานสรุปผลการดำเนินงานกองทุนประจำปี กองทุนรายงานให้เสร็จสิ้นภายในเดือนธันวาคมของทุกปี โดยมีองค์ประกอบของรายงาน อย่างน้อย 1.ข้อมูลทั่วไป 2.สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการ 3.รายงานสรุปผลรายงานการเงิน จัดส่งให้ อปท. 1 ชุด เก็บไว้ที่กองทุน 1 ชุด
ลักษณะการจ่ายเงินกองทุนลักษณะการจ่ายเงินกองทุน ก่อนจ่ายเงินกองทุน ต้องมีองค์ประกอบครบ 4 องค์ประกอบ 1)คณะกรรมการกองทุน แต่งตั้งโดย สปสช. 2)มีงบประมาณสมทบจาก สปสช. และ อปท. 3)มีระเบียบการใช้เงินกองทุน ที่ผ่านมติเห็นชอบจากคณะกรรมการกองทุนฯ 4)มีแผนงาน/โครงการผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการกองทุนฯ กองทุนฯอาจทดรองจ่ายให้ผู้รับผิดชอบโครงการ 3 ลักษณะ 1.จ่ายตามข้อตกลง -จ่ายบางส่วน -จ่ายเต็มจำนวน ตามที่คณะกรรมการเห็นสมควรเป็นรายข้อตกลง 2.จ่ายตามใบยืม -จ่ายบางส่วน -จ่ายเต็มจำนวน แต่มีการส่งเอกสารประกอบการใช้เงินยืม 3.จ่ายตามกิจกรรม จ่ายหลังมีกิจกรรมตามกิจกรรม โครงการแล้ว กองทุนเป็นผู้รับผิดชอบจัดทำเอกสารการเบิกจ่ายเองทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมบริหารจัดการกองทุน เช่น ประชุมกรรมการ จัดหาวัสดุ
การติดตามและประเมินผลการติดตามและประเมินผล วัตถุประสงค์ เกิดการพัฒนาบริหารจัดการกองทุนให้มีประสิทธิภาพ 1.แบบประเมินการบริหารจัดการกองทุน A+ 90-100 คะแนน เป็นกองทุนที่มีศักยภาพสูงและเป็นศูนย์เรียนรู้ A 70-89 คะแนน เป็นกองทุนที่มีศักยภาพดี B 50-69 คะแนน เป็นกองทุนที่มีศักยภาพปานกลาง C<50 คะแนน เป็นกองทุนที่ยังขาดความพร้อม ต้องเร่งพัฒนา 2.แบบประเมินความพึงพอใจและการรับรู้ข้อมูลข่าวสารประชาชน กองทุนฯควรสำรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
หน่วยงานสาธารณสุขใน พท. (สสจ. สสอ. สอ. รพช.) รับรู้ เข้าใจ และร่วมติดตามสนับสนุนการดำเนินงานในพื้นที่อย่างเข้มแข็งโดยทีมวิทยากรจังหวัด ขยายพื้นที่ อบต. หรือเทศบาลที่มีความพร้อมและสนใจร่วมดำเนินงานปี 2553 (มีงบสมทบ/มีคณะกก.บริหาร/มีข้อมูลสุขภาพ/มีกิจกรรมพัฒนากรรมการบริหาร) ทุกพื้นที่มีการประชุมคณะกรรมการฯ มีการอบรมพัฒนาศักยภาพของกรรมการฯ มีการจัดทำแผนสุขภาพชุมชนหรือแผนที่ยุทธศาสตร์และทำกิจกรรม(เน้นโรคเบาหวาน ความดัน โลหิตสูง เอดส์ วัณโรค คนพิการ ผู้สูงอายุ) มีการบันทึกรายงานผลการดำเนินงานรายไตรมาส รายปีและรายงานการเงิน มีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง เป้าหมายแนวทางที่อยากให้เกิดปี 2554
ทุกจังหวัดรวบรวมข้อมูลพื้นที่ที่มีผลงานประสบการณ์โดดเด่นเพื่อเป็นต้นแบบศึกษาเรียนรู้อย่างน้อย 1-2 แห่ง มีการถอดบทเรียนเพื่อเผยแพร่ ทุกพื้นที่มีและใช้ระบบสารสนเทศข้อมูลสุขภาพชุมชนและกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพของกลุ่มเป้าหมายต่างๆ เพื่อประสานข้อมูลกับหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ กับ สปสช. ส่วนกลาง สาขาเขตและสาขาจังหวัด มีการติดตามค้นหานวัตกรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีรายงานผลงานรายไตรมาส รายปีจากทุกพื้นที่ เป้าหมายแนวทางที่อยากให้เกิดปี 2554 (ต่อ)
กองทุน อบต./เทศบาลบูรณาการร่วมกับ กองทุนพัฒนาระบบปฐมภูมิ กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพฯ และกองทุนบริหารโรคเรื้อรังเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพในพื้นที่ ร่วมมือกับหน่วยงานสาธารณสุข อสม. ผู้ทรงคุณวุฒิในพื้นที่พัฒนากิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่ มีระบบอาสาสมัครดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ คนพิการ คนด้อยโอกาสให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และประชาชนในพื้นที่มีความรู้ เข้าใจและมีส่วนร่วมดำเนินการ ท้องถิ่นมีการบริหารจัดการสุขภาพในชุมชนได้ครอบคลุม เข้มแข็งมากขึ้น เป็นท้องถิ่นชุมชนสุขภาวะ ประชาชนสุขภาพดีขึ้น มีนวัตกรรมสุขภาพชุมชนของกองทุนต้นแบบ เพื่อศึกษาเรียนรู้ เผยแพร่สู่สาธารณะ พัฒนาร่วมกับกองทุนสวัสดิการชุมชน ให้มีความต่อเนื่องและยั่งยืน ทิศทางกองทุนปี 2554
อบต. และเทศบาลทุกแห่งร่วมดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ทุกกองทุนมีข้อมูลสุขภาพกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ มีแผนสุขภาพชุมชน แผนที่ยุทธศาสตร์ชุมชนร่วมกับหน่วยบริการ ทุกกองทุนมีการตรวจคัดกรอง สร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรคเรื้อรัง เน้นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต โรคมะเร็ง โรคเอดส์ ทุกกองทุนมีกิจกรรมและอาสาสมัครดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ คนพิการ คนด้อยโอกาสร่วมกับหน่วยบริการและท้องถิ่น ทุกกองทุนมีการติดตามประเมินผลกองทุนโดยคณะทำงาน จว. อำเภอ เขต ประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ และมีรายงานการเงินทุกไตรมาส และประจำปี ทุกจังหวัดมีพื้นที่กองทุนต้นแบบเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จัดการความรู้ ทุกภูมิภาคมีศูนย์การเรียนรู้และขยายผลเป็นเครือข่ายเรียนรู้ทั่วประเทศ เป้าหมายกองทุนปี 2554
ตัวชี้วัดกองทุนฯ มีข้อมูลสุขภาพชุมชนในพื้นที่ มีแผนสุขภาพชุมชน หรือ แผนที่ยุทธศาสตร์ชุมชน มีการสมทบงบประมาณรายปีตามเกณฑ์ มีกิจกรรมตรวจคัดกรองผู้ป่วย DM / HT มีการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการ ผู้สูงอายุ มีรายงาน รายไตรมาส และ ประจำปี
ผู้บริหาร อบต. และเทศบาลเห็นชอบและประสงค์เข้าร่วมดำเนินงาน มีการดำเนินกิจกรรมและจัดทำแผนด้านสุขภาพหรือแผนที่ยุทธศาสร์ในพื้นที่มาก่อนแล้ว มีการจัดเวทีประชาคม ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานกองทุนให้ประชาชนในพื้นที่ทราบและร่วมดำเนินงาน มีการตั้งงบประมาณหรือสมทบงบประมาณปี 2554 แล้ว มีการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ มีข้อมูลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ แนวทางการประเมิน อบต./เทศบาล ที่พร้อมเข้าร่วมดำเนินงานปี 2554
กองทุนฯ เก่ามีการบันทึกข้อมูลและจัดส่งรายงานประจำปี/รายงานทางการเงิน มีความพร้อมสมทบเงินและแต่งตั้งคณะกรรมการฯตามประกาศฉบับแก้ไขหลักเกณฑ์ ภายในเดือนตุลาคม 2552 มีแผนสุขภาพชุมชนหรือแผนที่ยุทธศาสตร์ของกองทุนที่ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมต่อเนื่องทุกปี ประธานกรรมการ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและเลขานุการผ่านการอบรมเพิ่มศักยภาพการบริหารกองทุน หลักเกณฑ์การต่ออายุกองทุนฯเก่า
ผู้บริหาร อบต.และเทศบาล เห็นชอบและประสงค์เข้าร่วมดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่โดยมีหนังสือแสดงความพร้อมของผู้บริหาร อบต.และเทศบาล มีการตั้งงบประมาณหรือสมทบเงินในปี 2554 และเปิดบัญชีรองรับ มีความพร้อมในการตั้งหรือคัดเลือกคณะกรรมการบริหารกองทุนแบบมีส่วนร่วม มีนโยบายหรือมีแผนจัดทำข้อมูลชุมชน แผนชุมชนหรือแผนที่ยุทธศาสตร์ในพื้นที่ กรรมการ,เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและเลขานุการผ่านการอบรมเตรียมความพร้อม ความเข้าใจกองทุน หลักเกณฑ์การคัดเลือกกองทุนฯใหม่
อบต./เทศบาล ส่งหนังสือแสดงความจำนงไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบคุณสมบัติ อบต./เทศบาล ส่งหลักฐานการจัดตั้งกองทุน(ข้อตกลง,บัญชีกองทุน,รายชื่อคณะกรรมการ) ขั้นตอนการจัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพ ระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
ไม่มีเงินสมทบจาก อบต./เทศบาล หรือไม่มีกิจกรรมดำเนินงานต่อเนื่อง 2 ปี ขึ้นไป สปสช.ประกาศยุบเลิก โดยทรัพย์สินที่เหลือตกเป็นของหน่วยบริการปฐมภูมิตามวิธีการที่ สปสช.กำหนด การยุบเลิกกองทุนหลักประกันสุขภาพ ระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่