791 likes | 1.24k Views
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย กรณี ตาม ม.40 แห่งประมวลรัษฎากร. วิทยากร : ธงชัย ยางงาม. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เจตนารมณ์ แนวคิด ข้อกฎหมาย และ และ หลักการ แนวปฎิบัติ. เจตนารมณ์ของกฎหมายภาษีอากร หัก ณ ที่จ่าย.
E N D
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย กรณี ตาม ม.40 แห่งประมวลรัษฎากร วิทยากร :ธงชัย ยางงาม
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เจตนารมณ์ แนวคิด ข้อกฎหมาย และ และ หลักการ แนวปฎิบัติ
เจตนารมณ์ของกฎหมายภาษีอากร หัก ณ ที่จ่าย • เป็นมาตรการป้องกัน การหลบ (Tax Evasion) และ/หรือ การเลี่ยงภาษี (Tax Avoidance) • เพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบ (Auditing)และ การบริหารจัดเก็บ (Administration) • ผลทางจิตวิทยาเป็นการบรรเทาภาระในการคำนวณและเสียภาษีสิ้นรอบบัญชี
แนวคิด และ หลักการ การหักภาษี ณ ที่จ่าย • เป็นการชำระภาษีล่วงหน้า (Advance or Prepaid Tax Payment) • ไม่ใช่การชำระภาษีในขั้นตอนสุดท้าย (Certainly Not a Final Tax Payment) • ความเสี่ยงมาก หักภาษี ณ ที่จ่ายมาก* • ผู้ไม่มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมาย ไม่ต้องถูกหัก ณ ที่จ่าย • Advance) Tax Payment • Payer as collecting agent • Higher Rates Deduction for Non
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือ วิธีการเสียภาษีวิธีหนึ่งที่ กม. กำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้ ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายก่อนจ่ายเงินได้ให้กับผู้มีเงินได้ • หักจากเงิน ทรัพย์สินประโยชน์ที่คำนวณเป็นเงินได้ • ผู้จ่ายเป็นผู้หักส่งรัฐบาล • ถือเป็นเครดิตในการเสียภาษีของผู้รับ • มีเฉพาะบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล
ข้อกฎหมาย และ แนวปฏิบัติ การหักภาษี ณ ที่จ่ายจากการจ้างแรงงาน ม.50 (ประกอบกับม.40, 42ทวิ,47และม.48) ม. 3 เตรส คำสั่งกรมสรรพากรที่ ทป. 4/2528
(บททั่วไป) ม. 3 เตรส ให้อำนาจอธิบดีวางหลักเกณฑ์ในการ หักภาษี ณ ที่จ่าย บุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล (บทเฉพาะ) ม.50 (บทเสริม) ทป. 4/2528 กรณีมิได้มีบัญญัติไว้ที่อื่นใด
กฎหมายที่ใช้บังคับในการหัก ณ ที่จ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 1. ม.50 แยกตามประเภทเงินได้ 2. ม.3 เตรส ให้อำนาจออก ท.ป.4/2528 ให้บางรายมีสิทธิหักบางรายการได้
บุคคลที่อยู่ภายใต้บังคับของภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามประมวลรัษฎากร • ใครเป็นผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ( ผู้จ่ายเงิน ) • ใครเป็นผู้มีหน้าที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย (ผู้มีเงินได้) • ความรับผิดตามกฎหมายกำหนดไว้ ตาม ม. 54 และ ม. 27
เงินอะไรที่จ่ายแล้วต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายบ้าง เงินได้ตาม. 40 แห่งประมวลรัษฎากร ได้บัญญัติไว้ (1) (2) (3) (4) (5) (6) (7) และ (8)
เงินได้พึงประเมิน มาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (1) คือเงินได้ที่เกิดจากการจ้างแรงงาน ไม่มุ่งต่อผลสำเร็จของงานที่ทำ เช่น เงินเดือน โบนัส ค่าล่วงเวลา
เงินได้พึงประเมิน มาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (2) คือเงินได้ที่เกิดการรับทำงานให้ หรือจากตำแหน่งหน้าที่งานที่ทำ มุ่งต่อผลสำเร็จของงานที่ทำ เช่น ค่านายหน้า เป็นคณะกรรมการในหน่วยต่างๆ นอกจากงานที่ทำ
เงินได้พึงประเมิน มาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (3) คือเงินได้ที่เกิดจากขายลิขสิทธิ์ สิทธิต่างที่กฎหมายกำหนดไว้
เงินได้พึงประเมิน มาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (4) คือการนำทรัพย์สินไปลงทุนแล้วเกิดเงินได้ เช่นการนำเงินไปฝากธนาคารแล้วได้ ดอกเบี้ย การนำเงินไปลงทุนแล้วได้ เงินปันผล เป็นต้น
เงินได้พึงประเมิน มาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (5) คือผลประโยชน์หรือเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน เงินได้ที่เกิดจากการผิดสัญญาเช่าซื้อ เงินได้จากการผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน
เงินได้พึงประเมิน มาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (6) คือเงินได้ที่เกิดการประกอบวิชาชีพอิสระ
เงินได้พึงประเมิน มาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (7) คือเงินได้ที่เกิดการรับเหมา โดยนำสัมภาระสำคัญไปประกอบการรับเหมาด้วย
เงินได้พึงประเมิน มาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (8) คือเงินได้ที่เกิดจากการธุรกิจ การพาณิชย์ หรือในทางอุตสาหกรรม เช่นการขายอสังหาริมทรัพย์ การให้บริการของร้านเสริมสวย
ค่าแรงงานจากการจ้างงาน 40 (1) คำนวณหักตามมาตรา 50 แห่งประมวลรัษฎากร คือ อัตราก้าวหน้าของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ม.48 โดยคำนวณจาก เงินได้สุทธิ (เงินพึงประเมิน ม. 40 หักค่าใช้จ่าย ม.42ทวิถึงม.46และค่าลดหย่อนได้ตาม ม.47)
หลักเกณฑ์ในการหักค่าลดหย่อน ม. 47 แห่งประมวลรัษฎากรรายการหักลดหย่อนกรณีต่าง ๆ มีดังนี้ • ค่าลดหย่อน • 1. ผู้มีเงินได้ส่วนตัว 30,000 • 2.คู่สมรส (สามี/ภริยาของผู้มีเงินได้) 30,000 • 3. บุตร (มีเงื่อนไข) คนละ 15,000
หลักเกณฑ์ในการหักค่าลดหย่อน ม. 47 แห่งประมวลรัษฎากรรายการหักลดหย่อนกรณีต่าง ๆ -ต่อ- • 4. เบี้ยประกันชีวิต (มีเงื่อนไข) ตามจ่ายจริง < 100,000 • 5. เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ < 10,000 หักค่าลดหย่อนตามจ่ายจริงแต่ไม่เกิน10,000บาท (ส่วนที่เกิน 10,000 แต่ไม่เกิน 490,000ให้ถือเป็นเงินได้ที่ได้รับการยกเว้น)
หลักเกณฑ์ในการหักค่าลดหย่อน ม. 47 แห่งประมวลรัษฎากรรายการหักลดหย่อนกรณีต่าง ๆ -ต่อ- • 6. ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ตามจ่ายจริง < 100,000 (มีเงื่อนไข) • 7. เงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ตามจ่ายจริง
หลักเกณฑ์ในการหักค่าลดหย่อน ม. 47 แห่งประมวลรัษฎากรรายการหักลดหย่อนกรณีต่าง ๆ -ต่อ- 8. เงินที่นำไปซื้อหน่วยกองทุนรวมสำรองเลี้ยงชีพ(RMF)นำมาถือเป็นค่าลดหย่อนได้ตามจ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมินหรือไม่เกิน 500,000 บ. รวมถึงเงินที่นำไปซื้อหน่วยกองทุนรวมระยะยาว(LTF) นำมาถือเป็นค่าลดหย่อนได้ตามจ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมินหรือไม่เกิน 500,000 บ. (ทั้ง2 กองรวมไม่เกิน1,000,000 บาท)
หลักเกณฑ์ในการหักค่าลดหย่อน ม. 47 แห่งประมวลรัษฎากรรายการหักลดหย่อนกรณีต่าง ๆ -ต่อ- 9.กรณีบุพการี(พ่อ+แม่)ที่ไม่มีเงินได้หักค่าลดหย่อนคนละ 30,000แต่รวมกันไม่เกิน120,000บ. 10. คู่สมรส บุตร บิดา มารดา (ที่อยู่ในอุปการะ) ที่พิการ หักค่าลดหย่อนคนละ 60,000 บาท
หลักเกณฑ์ในการหักค่าลดหย่อน ม. 47 แห่งประมวลรัษฎากรรายการหักลดหย่อนกรณีต่าง ๆ -ต่อ- 11. เงินบริจาค หักค่าลดหย่อนได้ตามจ่ายจริง (มีเงื่อนไข)
หลักเกณฑ์ในการคำนวณเงินได้สุทธิตามอัตราก้าวหน้า ม. 48 แห่งประมวลรัษฎากร • ช่วงเงินได้สุทธิ อัตราภาษี (%)ภาษีสะสม • 1 - 100,000 (5%) ยกเว้น - • 100,001 - 150,000 (10 %) ยกเว้น 150,001 - 500,000 10% 35,000 • 500,001 - 1,000,000 20% 135,000 • 1,000,001 - 4,000,000 30% 1,035,000 • 4,000,001 ขึ้นไป 37%
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 แห่งประมวลรัษฎากรกำหนดไว้ใน คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.96/2543 1. ม40 (1) (2) เงิน / ทรัพย์สิน / ประโยชน์ ที่อาจ คำนวนเป็นเงินได้ เช่น เงินเดือนค่าจ้างโบนัส ภาษีที่นายจ้างออกให้อาหาร-บ้านพักฟรี วิธีการ คำนวน -เงินได้ x จำนวนครั้งที่จ่ายเงิน คำนวณภาษีตามปรกติ ได้ภาษีเท่าไร/ จำนวนครั้งที่จ่ายเงิน -มีเศษให้เอาไปรวมกับครั้งสุดท้าย
จำนวนครั้ง ถ้ารายวัน X365 รายสัปดาห์ X52 รายเดือน X 12 รายปักษ์ X 26 รายไตรมาศ X4 -ถ้าเข้าทำงานตั้งแต่ต้นปี หรือทำงานต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมาให้คำนวณเสมือนตลอดปี ใช้หลัก 12 X 12หาร
-ถ้าเริ่มทำงานกลางปีหรือระหว่างปี ให้ใช้หลักเดือนที่จ่ายจริงX เดือนที่จ่ายจริงหาร -ถ้าเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินได้ที่จ่ายระหว่างปี เช่น เงินเดือนเพิ่มหรือเงินเดือนลด ถ้าเป็นการเริ่มงานตั้งแต่ต้นปีให้คำนวณเสมือนทำงานตลอดปี (ใช้หลัก 12 X 12 หาร) -ถ้ามีเงินเพิ่มพิเศษ เช่น โบนัส ให้เอาเงินโบนัสบวกกับเงินได้เสมือนทั้งปีแล้วคำนวณภาษีได้ภาษีเท่าไหร่ ให้เท่ากับ X แล้วคำนวณภาษีเฉพาะเงินเดือนตลอดปีให้เท่ากับ Y ภาษีเฉพาะโบนัสจะเท่ากับ X - Y
-ถ้าจ่ายเงินได้เป็นคราว ๆ ไม่สม่ำเสมอ เช่น กรณีค่านายหน้าขายที่ดิน ให้เอาเงินได้ครั้งที่ 1 คำนวณภาษีตามปกติ พอได้ค่านายหน้าครั้งที่ 2 ให้เอาเงินได้ทั้งสองครั้งมารวมกัน แล้วคำนวณภาษี แต่ภาษีหัก ณ ที่จ่ายครั้งที่ 2 ที่นำส่ง จะเท่ากับการคำนวณภาษีครั้งที่ 2 ลบครั้งที่ 1 -กรณีเงินได้ข้ามปี เช่น บรรจุเข้าทำงานใหม่ เงินตกเบิกข้ามปี ถูกออกจากงาน หรือมีข้อโต้แย้ง ยืดเยื้อ จ่ายเงินข้ามปี ให้ถือว่าเงินได้ของปีใดให้เสียภาษีของปีนั้น (ก่อน 31 มี.ค.ของปีถัดไป)
-ถ้าเริ่มทำงานกลางปีหรือระหว่างปี ให้ใช้หลักเดือนที่จ่ายจริงX เดือนที่จ่ายจริงหาร -ถ้าเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินได้ที่จ่ายระหว่างปี เช่น เงินเดือนเพิ่มหรือเงินเดือนลด ถ้าเป็นการเริ่มงานตั้งแต่ต้นปีให้คำนวณเสมือนทำงานตลอดปี (ใช้หลัก 12 X 12 หาร) -ถ้ามีเงินเพิ่มพิเศษ เช่น โบนัส ให้เอาเงินโบนัสบวกกับเงินได้เสมือนทั้งปีแล้วคำนวณภาษีได้ภาษีเท่าไหร่ ให้เท่ากับ X แล้วคำนวณภาษีเฉพาะเงินเดือนตลอดปีให้เท่ากับ Y ภาษีเฉพาะโบนัสจะเท่ากับ X - Y
ตัวอย่างการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตัวอย่างการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หัก ณ ที่จ่าย กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 96/2543
ตัวอย่างที่ 1 กรณีจ่ายเงินได้พึงประเมินเป็นรายเดือน เดือนละเท่า ๆ กันตลอดปีภาษี ตามข้อ 1 (1) (2) (3) • ปีภาษี 2542 นาย ก. ได้รับเงินเดือน ๆ ละ 30,000 บาท นาย ก. ได้แจ้งสถานะการหักลดหย่อนไว้ดังนี้ • ภรรยาไม่มีเงินได้ และบุตรกำลังศึกษา 2 คน • ต้องจ่ายเบี้ยประกันชีวิตในเดือนกรกฎาคม 2542 จำนวน 9,600 บาท และ ต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมฯ ที่จะต้องจ่ายทั้งปี จำนวน 13,200 บาท • ผู้จ่ายเงินได้ ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและนำส่งแต่ละเดือน ดังนี้
วิธีคำนวณ • เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี = 30,000 x 12 = 360,000.- บาท • หัก ค่าใช้จ่าย (40 % ไม่เกิน 60,000 บาท) = 60,000.- บาท • คงเหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย = 300,000.- บาท
หัก ค่าลดหย่อนส่วนตัว 30,000.- บาท • ค่าลดหย่อนคู่สมรส 30,000.- บาท • ค่าลดหย่อนบุตรศึกษา 2 คน 34,000.- บาท • ค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต 9,600.- บาท • ค่าลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมฯ 13,200.- บาท = 116,800.- บาท • คงเหลือเงินได้สุทธิ = 183,200.- บาท
ภาษีเงินได้ทั้งปี (150,000 ได้รับยกเว้น) + (33,200 X10%) = 3,320.- บาท • ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายแต่ละเดือน 3,320 หาร 12 = 276.66 บาท • เหลือเศษ = 0.006 บาท • จำนวนเงินที่เหลือเศษให้รวมกับเงินภาษี • ที่จะต้องหักไว้ครั้งสุดท้ายในเดือนธันวาคม • = 276.66 + (0.006 x 12) = 276.73บาท • สรุป ผู้จ่ายเงินได้จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายของ นาย ก. ในกรณีนี้ ดังนี้ • เดือนมกราคม ถึง พฤศจิกายน เดือนละ = 276.66 บาท • เดือนธันวาคม = 276.73 บาท
ตัวอย่างที่ 2 กรณีมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินได้พึงประเมินที่จ่ายระหว่างปีภาษี ตามข้อ 1 (4) และการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย เดือนธันวาคมตามข้อ 2 • จากตัวอย่างที่ 1 ถ้านาย ก. ได้รับเงินเดือนตั้งแต่เดือนตุลาคม 2542 เป็นเดือนละ 60,000 บาท ผู้จ่ายเงินได้ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ดังนี้
วิธีคำนวณ • เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี = 60,000 x 12 = 720,000.- บาท • หัก ค่าใช้จ่าย (40 % ไม่เกิน 60,000 บาท) = 60,000.- บาท • คงเหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย = 660,000.- บาท • หัก ค่าลดหย่อน (30,000 + 30,000 + 34,000 + 9,600 + 13,200)= 116,800.- บาท • คงเหลือเงินได้สุทธิ = 543,200.- บาท • ภาษีเงินได้ทั้งปี (150,000 ได้รับยกเว้น) + (350,000 X10%) + (43,200 X 20%) = 43,640.- บาท
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป 43,640 หาร 12 = 3,636.66 บาท • สำหรับในเดือนธันวาคม ให้ปรับปรุงการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ดังนี้ : • ภาษีที่ต้องเสียทั้งปีจากเงินได้ที่ได้รับจริง (คำนวณจากเงินเดือน ๆ ละ 30,000 บาท 9 เดือน • และเดือนละ 60,000 บาท 3 เดือน) .............= 12,320.- บาท • ภาษีเงินได้ที่ต้องหัก ณ ที่จ่าย และนำส่งไว้แล้ว (ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนพฤศจิกายน) • = (276.66 X 9) + (3,636.66 X 2) = 9,763.26 บาท • เป็นภาษีที่ต้องหัก ณ ที่จ่าย ในเดือนธันวาคม= 12,320 - 9,763.26 = 2,556.74 บาท
สรุป ผู้จ่ายเงินได้จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายของ นาย ก. ในกรณีนี้ ดังนี้ • เดือนมกราคม ถึง กันยายน เดือนละ = 276.66 บาท • เดือนตุลาคม ถึง พฤศจิกายน เดือนละ = 3,636.66 บาท • เดือนธันวาคม = 2,556.74 บาท
ตัวอย่างที่ 3 กรณีมีการจ่ายเงินพิเศษเป็นครั้งคราวในระหว่างปีภาษี ตามข้อ 1 (5) • จากตัวอย่างที่ 1 ถ้าในเดือนมีนาคม 2542 นาย ก. ได้รับเงินโบนัสอีก จำนวนหนึ่งเป็นเงิน 90,000 บาท ผู้จ่ายเงินได้จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เดือนมีนาคม 2542 ดังนี้
วิธีคำนวณ • เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี = 30,000 x 12 = 360,000.- บาท • บวก เงินโบนัส = 90,000 X 1 = 90,000.- บาท • รวมเงินได้พึงประเมิน = 450,000.- บาท • หัก ค่าใช้จ่าย (40 % ไม่เกิน 60,000 บาท) = 60,000.- บาท • คงเหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย = 390,000.- บาท • หัก ค่าลดหย่อน (30,000 + 30,000 + 34,000 + 9,600 + 13,200)= 116,800.- บาท • คงเหลือเงินได้สุทธิ = 273,200.- บาท
ภาษีเงินได้ทั้งปีของเงินเดือนรวมเงินโบนัส ภาษีเงินได้ทั้งปี (150,000 ได้รับยกเว้น) + (123,200 X10%) = 12,320.- บาท • หัก ภาษีเงินได้ทั้งปีเฉพาะเงินเดือน (ตามตัวอย่าง 1) = 3,320.- บาท • คงเหลือภาษีเงินได้ของโบนัส = 9,000.- บาท • บวก ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายเงินเดือนของเดือนมีนาคม (ตามตัวอย่าง 1) = 276.66 บาท • รวม ภาษีต้องหัก ณ ที่จ่าย เดือนมีนาคม = 9, 276.66 บาท
สรุป ผู้จ่ายเงินได้จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายของ นาย ก. ในกรณีนี้ ดังนี้ • เดือนมกราคม ถึง กุมภาพันธ์ เดือนละ = 276.66 บาท • เดือนมีนาคม = 9, 276.66 บาท • เดือนเมษายน ถึง พฤศจิกายน เดือนละ = 276.66 บาท • เดือนธันวาคม = 276.73 บาท
ตัวอย่างที่ 4 กรณีจำนวนคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมินไม่สม่ำเสมอตลอดปีภาษี ตามข้อ 1(6) • จากตัวอย่างที่ 1 นาย ก. ได้รับเงินเดือนและได้รับเงินค่าล่วงเวลาตาม จำนวนวันที่ทำงาน • เดือนมกราคมได้รับค่าล่วงเวลา 6,500 บาท • เดือนกุมภาพันธ์ได้รับค่าล่วงเวลา 5,200 บาท • ผู้จ่ายเงินได้ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายดังนี้
มกราคม • เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี = 30,000 x 12 = 360,000.- บาท • บวก ค่าล่วงเวลาเดือนมกราคม = 6,500.- บาท • รวมเงินได้พึงประเมิน = 366,500.- บาท • หัก ค่าใช้จ่าย (40 % ไม่เกิน 60,000 บาท) = 60,000.- บาท • คงเหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย = 306,500.- บาท • หัก ค่าลดหย่อน (30,000 + 30,000 + 34,000 + 9,600 + 13,200)= 116,800.-บาท • คงเหลือเงินได้สุทธิ = 189,700.- บาท
ภาษีเงินได้ทั้งปีของเงินเดือนรวมค่าล่วงเวลา (150,000 ได้รับยกเว้น) + (39,700 X10%) = 3,970.- บาท • หัก ภาษีเงินได้ทั้งปีเฉพาะเงินเดือน (ตามตัวอย่าง 1) = 3,320.- บาท • คงเหลือภาษีเงินได้ของค่าล่วงเวลาเดือนมกราคม = 650.- บาท • บวก ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายเงินเดือนของเดือนมกราคม = 276.66 บาท • รวมภาษีต้องหัก ณ ที่จ่ายเดือนมกราคม (650 + 276.66 ) = 926,66 บาท
กุมภาพันธ์ • เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี = 30,000 x 12 = 360,000.- บาท • บวก ค่าล่วงเวลาเดือนมกราคม = 6,500.- บาท • บวก ค่าล่วงเวลาเดือนกุมภาพันธ์ = 5,200.- บาท • รวมเงินได้พึงประเมิน = 371,700.- บาท
หัก ค่าใช้จ่าย (40 % ไม่เกิน 60,000 บาท) = 60,000.- บาท • คงเหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย = 311,700.- บาท • หัก ค่าลดหย่อน (30,000 + 30,000 + 34,000 + 9,600 + 13,200)= 116,800.- บาท • คงเหลือเงินได้สุทธิ = 194,900.- บาท • ภาษีเงินได้ทั้งปีของเงินเดือนรวมค่าล่วงเวลา (150,000 ได้รับยกเว้น) + (44,900 X10%) = 4,490.- บาท
หัก ภาษีเงินได้ทั้งปีเฉพาะเงินเดือน (ตามตัวอย่าง 1) = 3,320.- บาท • ภาษีเงินได้ของค่าล่วงเวลา = 1,170.- บาท • หัก ภาษีเงินได้ค่าล่วงเวลาเดือนมกราคม = 650.- บาท • คงเหลือภาษีเงินได้ค่าล่วงเวลาเดือนกุมภาพันธ์ = 520.- บาท • ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายเงินเดือนของเดือนกุมภาพันธ์ = 276.66 บาท • รวมภาษีต้องหัก ณ ที่จ่ายเดือนกุมภาพันธ์ (520 + 276.66 ) = 796.66 บาท